ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

วัดสระบัวแก้ว

วัดสระบัวแก้ว

ประวัติความเป็นมา

เดิมสิมประจำหมู่บ้านเป็นสิมน้ำอยู่ที่หนองใต้ ต่อมาในสมัยพระครูวิบูลย์พัฒนานุยุต (หลวงปู่ผุย) เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างสิมบกหลังนี้ขึ้น โดยนำรูปแบบมาจากสิมวัดบ้านยาง ต.บัวมาศ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ในการนี้ทางวัดได้ขุดสระเอาดินไปสร้างสิม ปัจจุบันจึงกลายเป็นสระบัวขนาดใหญ่จึง ได้เรียกชื่อวัดว่า วัดสระบัวแก้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕  ประชากรเป็นชาวไท-ลาว ๒ กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกอพยพมาจาก อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

ที่ตั้ง

บ้านวังคูณ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

อาคารเสนาสนะ

สิมวัดสระบัวแก้ว เป็นอาคาร ก่อผนังก่ออิฐถือปูน ผนังด้านยาวมีความยาวเป็น ๔ ห้องภาพ ส่วนด้านกว้างแบ่งออกเป็น ๒ ห้องภาพ แต่ละห้องภาพมีเสาหลอกคั้น โดยที่มีเสาจริงซ่อนอยู่ในกำแพง ด้านหน้าสิมมีการต่อชานเฉลียงพาไลคลุมด้วยหลังคาฝาหีบ  รูปทรงเดิมที่เป็นต้นเเบบยังปรากฎให้เห็นที่พระอุโบสถบ้านยาง ต.บัวมาศ  อ.บรบือ จังหวดมหาสารคาม  แต่เดิมเมื่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดสระบัวแก้ว รูปทรงของตัวอาคารและ หลังคา มีรูปแบบเหมือนกับวัดบ้านยาง  แต่เนื่องจากหลังคาเกิดชำรุด เสียหาย จากพายุ และฟ้าผ่าหลายครั้งชาวบ้านจึงมีมติ  ให้แปรรูปทรงของหลังคา ทำให้ไม่เห็นเค้าเดิมของหลังคาฝา หีบที่ลรัางขึ้นมาตั้งแต่แรก
ตรงเชิงบันไดทางขึ้นสู่พระอุโบสถ  ประดับด้วยประติมากรรมสงห์หมอบทั้งซ้ายขวาด้านหน้าทั้งสองมีรูปปั้นคนนั่งเหยียดเท้า  รูปปั้นคนทั้งสองนี้ล้วนเป็นฝีมือของหลวงพ่อผุยพระอุปัชฌาย์วัดสระบัวแก้ว  รูปแบบของสิงห์และคน หลวงพ่อผุยได้จำลองมาจากวัดบ้านยางเช่นกัน ห้องภาพกลาง มีประตูไม้ บานประตู ๒ บาน เปิตเข้าด้านใน  มีลวดลายประดับกรอบประตูอย่างเรียบง่ายขนาบด้วย ลวดลายเครือเถาสลับซ้ายขวา  แซมด้วยภาพสัตว์  เช่น  ค้างคาว นก กระรอกและลิง  ภาพสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้เข้าใจว่าอาจจะนำมาตกเเต่งเพิ่มเติมช่วงหลัง เพราะลวดลายปรากฏให้เห็นเฉพาะด้านซ้ายเท่านั้น เหนือกรอบหน้าต่างส่วนกลาง เขียนเป็นภาพราหูอมจันทร์ซ้ายขวาปร กอบด้วยภาพของเทวดาขณะรายรำ  ผิวกายเป็นสีขาว เช่น เดียวกับสีของพื้นพนัง  ประดับด้วยเครื่องทรงที่เป็นสีเหลืองหรือเหลืองจำปาแทนการใช้ทองคำเปลว  แล้วตัดเส้นในรายละเอียดด้วยเส้นที่บางเบา นำหนักที่เข้มเด่นขึ้นก็คือสีครามเข้มหรือสีน้ำเงินของเครื่องแต่งกาย

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

เป็นสิมทึบพื้นบ้านประยุกต์โดยช่างพื้นบ้าน (รุ่นหลัง) เป็นสิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์ แบบมีเสารับปีกนก แล้วถูดัดแปลงเฉพาะ ส่วนหลังคาที่เป็นจั่วชั้นเดียวยื่นยาออกไปอีกทางด้านหน้า ส่วนปีกนกก็ทำยาวตามออกไปล้อมรอบด้านหน้าทั้งหมด ทำให้ได้พื้นที่ใช้สอยด้านหน้าสิมอีกไม่ตำกว่า ๓๐ ตารางเมตร ลักษณะพิเศษของสิมหลังนี้ก็คงจะอยู่ที่ระเบียงแก้ว ซื่งยกพื้นสูง  ๗๐ ซม บนฐานปัทม์ เป็นสิมมหาอุดแบบเดียวกับสิมทึบพื้นบ้านของอีสานโดยทั่ว ๆ ไป มีประตูด้านหนัาประตูเดียว แปลนรูป ๔ หลี่ยมผืนผ้า ยาว ๓ ช่วงเสา มีหน้าต่างขนาดเล็กด้านข้างด้านละ ๒ บาน  ฐานแอวขันสูง ๑ เมตร บันไดปั้นปูน รูปสิงห์ (ตัวมอม) เฝ้าอยู่ ๑ คู่ บานประตูมีอกเลาและทำวงกรอบล่างบนให้โค้งล้อกันแบบศิลป พื้นบ้านแท้ ๆ คุณค่าสุดยอดของสิมหลังนี้อยูที่ภาพจิตรกรรมผนัง หรือฮูปแต้ม ซึ่งปรากฏอยู่ทั้งภายในเเละภายนอกสิม มีอักษรตัวธรรม เขียนบรรยายภาพกำกับอยู่ ฮูปเเต้มภายนอก เป็นเรื่องพระรามชาดกทั้ง ๔ ผนัง ส่วนภายในซึ่งมีอายุอ่อนกว่า เป็นรูปพระพุทธประวัติและสินไซบางตอน ช่างแต้มผนังด้านนอกมีชื่อว่า จารย์ทองมา, จารย์น้อย และจารย์ดี          ฮูปแต้มเหล่านี้เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า  ยังมีสีสันสดใสในแบบศิลปะพื้นบ้านของอีสานมาจนถึงปัจจุบันนี้  สามารถเดินดูได้โดยไม่เบื่อ ปัจจุบันทางวัดยังให้สิมหลังนี้ทำสังฆกรรมอยู่ นับว่าเป็นสิมสำคัญอีกหลังหนึ่งของอีสาน ที่นักศิลปกรรมทั้งหลายไม่ควรพลาด ควรหาโอกาสไปทัศนาเป็นอย่างยิ่ง (อ.วิโรฒ)

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

สิมวัดสระบัวแก้ว เป็นอาคาร ก่อผนังก่ออิฐถือปูน ผนังด้านยาวมีความยาวเป็น ๔ ห้องภาพ ส่วนด้านกว้างแบ่งออกเป็น ๒ ห้องภาพ แต่ละห้องภาพมีเสาหลอกคั้น โดยที่มีเสาจริงซ่อนอยู่ในกำแพง ด้านหน้าสิมมีการต่อชานเฉลียงพาไลคลุมด้วยหลังคาฝาหีบ  รูปทรงเดิมที่เป็นต้นเเบบยังปรากฎให้เห็นที่พระอุโบสถบ้านยาง ต.บัวมาศ  อ.บรบือ จังหวดมหาสารคาม  แต่เดิมเมื่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดสระบัวแก้ว รูปทรงของตัวอาคารและ หลังคา มีรูปแบบเหมือนกับวัดบ้านยาง  แต่เนื่องจากหลังคาเกิดชำรุด เสียหาย จากพายุ และฟ้าผ่าหลายครั้งชาวบ้านจึงมีมติ  ให้แปรรูปทรงของหลังคา ทำให้ไม่เห็นเค้าเดิมของหลังคาฝา หีบที่ลรัางขึ้นมาตั้งแต่แรก

ตรงเชิงบันไดทางขึ้นสู่พระอุโบสถ  ประดับด้วยประติมากรรมสงห์หมอบทั้งซ้ายขวาด้านหน้าทั้งสองมีรูปปั้นคนนั่งเหยียดเท้า  รูปปั้นคนทั้งสองนี้ล้วนเป็นฝีมือของหลวงพ่อผุยพระอุปัชฌาย์วัดสระบัวแก้ว  รูปแบบของสิงห์และคน หลวงพ่อผุยได้จำลองมาจากวัดบ้านยางเช่นกัน ห้องภาพกลาง มีประตูไม้ บานประตู ๒ บาน เปิตเข้าด้านใน  มีลวดลายประดับกรอบ ประตูอย่างเรียบง่ายขนาบด้วย ลวดลายเครือเถาสลับซ้ายขวา  แซมด้วยภาพสัตว์  เช่น  ค้างคาว นก กระรอกและลิง  ภาพสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้เข้าใจว่าอาจจะนำมาตกเเต่งเพิ่มเติมช่วงหลัง เพราะลวดลายปรากฏให้เห็นเฉพาะด้านซ้ายเท่านั้น เหนือกรอบหน้าต่างส่วนกลาง เขียนเป็นภาพราหูอมจันทร์ซ้ายขวาปร กอบด้วยภาพของเทวดาขณะรายรำ  ผิวกายเป็นสีขาว เช่น เดียวกับสีของพื้นพนัง  ประดับด้วยเครื่องทรงที่เป็นสีเหลืองหรือเหลืองจำปาแทนการใช้ทองคำเปลว  แล้วตัดเส้นในรายละเอียดด้วยเส้นที่บางเบา นำหนักที่เข้มเด่นขึ้นก็คือสีครามเข้มหรือสีน้ำเงินของเครื่องแต่งกาย

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)

บรรยากาศของภาพเขียนส่วนใหญ่จะสว่างสดใสเกิดจากการประสานของรูปและสีสันอาจเป็นผลลืบ เนื่องมาจากช่างแต้มอีสานส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้พื้นผนังตัวอาคารเป็นสีขาว
สีที่ปรากฏได้เเก่ เหลือง คราม ดินแดง เขียว  ฟ้า ดำ สีที่เด่น คือ สีคราม เหลือง  เขียว ในส่วนที่ช่างแต้มประสงค์จะแทนค่าของสีทองช่างแต้มจะใช้สีเหลืองลงแทนการปิดทองคำเปลว สัญลักษณ์ของ เมฆจะเป็นสีคราม เขียว และ ดินแดง
ห้องภาพซ้ายขวา ที่ขนาบห้อง กลางนั้น สีผิวของตัวละครจะใช้สีเหลือจำปาทั้งอ่อนและแก่  ตัวละครบางส่วนจะใช้ผิวกายขาว หากเป็นผิวกายสีขาว  จะตัดเส้นรอบนอกด้วยดำ  หากเป็นเหลืองลงจะตัดเส้นด้วยเหลืองเข้ม สีดินแดง หรือสีดำ
สีผมโดยทั่วไปจะเป็นสีดำ  ตัวละครบางตัวจะมีสีผมเป็นสีฟ้าอ่อน

องค์ประกอบภาพ มีการแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอน ๆ ช่างแต้มจะใช้เส้นแถบเป็นตัวแบ่งเรื่องเส้นแถบเปรียบได้เส้นฐานของเนื้อเรื่องหรือสินเทา ซึ่งเป็นตัวคั่นระหว่างองค์ประกอบของแต่ละตอนโดยทั่วไปแล้ว        ฮูปแต้มอีสานไม่ปรากฏว่ามีสินเทา สินเทานี้มีรูปร่างเหมือนกับสายฟ้าแลบ สามารถเห็นได้ในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัมกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นี่คือหลักฐานที่เเสดงให้เห็นว่า การสร้างงานศิลปะของช่างแต้มอีสานได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว  ดังเช่น อิทธิพลสำคัญของรูปทรงเจดีย์อีสานที่มีลักษณะเด่น  เป็นต้นว่าพระธาตุศรีสองรัก  อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย หรือพระธาตุขามแก่นอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สิ่งที่สะดุดตาและเกิดความประทับใจเป็นพิเศษสำหรับฮูปแต้มวัดสระบัวแก้วก็คือ ช่างแต้มดูออกจะมีอิสระเสรีสามารถที่จะแสดงฝีมือของตนได้อย่าง เต็มที่ต่อการเขียนภาพต้นไม้  ใบไม้  และภาพสัตว์นานาชนิด เทคนิคการเขียนจะไม่ซำซ้อนกันเลย ภาพรายละเอียดของใบไม้  ต้นไม้ คล้ายกับงานจิตกรรมตะวันตกในสมัยอิมเพรสชั่นนิสม์ (impressionism) สังเกตุได้จากฝีแปรงการแตะแต้ม