ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

วัดท่าคก

ประวัติความเป็นมา

วัดท่าคก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นคุ้มวังน้ำวน  ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “คก”  จึงใช้นิมิตหมายอันนี้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดท่าคก”  ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีถนนตัดผ่านยังไม่ได้เป็นอำเภอ วัดท่าคกจึงตั้งอยู่ในเมืองๆ หนึ่ง เรียกว่า เชียงคาน ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก ตามตำนานเล่ากันว่า บิดาของพระศรีอัคฮาด และชาวบ้านชวยกันสร้างวัดขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๗ เมตร ยก ๑๓.๖๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑  พระอาจารย์พา รูปที่ ๒ พระอาจารย์ดี รูปที่ ๓ พระอาจารย์สาย รูปที่ ๔ พรไหล รูปที่ ๕ พระบุญมี  รูปที่ ๖ พระศรีจันทร์ วิลาโภ รูปที่ ๗ พระสายใจ  อคฺคปุญฺโญ  รูปที่ ๘ พระคำมี  คมฺภีโร  รูปที่ ๙ พระมหาเมฆ  ญาณพุทฺโธ  พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๒๗ รูปที่ ๑๐ พระเสถียร  สุธีโร  พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๓ รูปที่ ๑๑ พระธีรพันธ์  สนฺติธมฺโม  รักษาการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมา

ที่ตั้ง

วัดท่าคก  ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕  บ้างเชียงคาน  ถนนชายโขง หมู่ที่ ๒ ตำบลเชียงคาน  อำเภอเชียงคาน  จังหวัดเลย  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน โฉนดที่ดิน เลขที่๑๗๐ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น ๓ ศอก จดถนนชายโขง ทิศใต้ประมาณ ๑ เส้น ๑๕ วา ๑ ศอก จดที่ดินชาวบ้าน ทิศตะวันออกประมาณ  ๑ เส้น ๕ วา ๑ ศอก จดซอย  ๒๑ ทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น ๓  วา จดซอย  ๒๒

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

เป็นสิมทึบมีมุขหน้า มีประตูเข้าด้านหน้าและด้านข้าง สิมยังคงใช้งานอยู่ ได้รับการดูแลรักษาและบูรณะเรื่อยมา มีลวดลายประดับสวยงาม

คันทวยรูปนาค

มอมสิงห์ และนาคเฝ้าทางขึ้นสิม

ประตู และหน้าต่าง ช่องระบายอากาศของสิม

ภายในสิม มีพระพุทธรูปโลหะประดิษฐานอยู่

พระไม้ที่เก็บรักษาไว้ในสิมเป็นพระไม้ที่เกิดจากช่างที่มีฝีมือดี

ใบเสมาบริเวณรอบวัด