ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ทองคำ เพ็งดี (ลำเรื่อง)

ทองคำ เพ็งดี

นายทองคำ เพ็งดี เกิดที่ บ้านตากแดด ตำบลตากแดด อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่4 ที่โรงเรียนบ้านตากแดด อำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุและได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องกลอนเทศน์วรรณกรรมอีสานประมาณ 1 พรรษา ได้ลาสิกขาไปอาศัยอยู่กับวงหมอลำคณะต่างๆในจังหวัดอุบลราชธานี

นายทองดี เพ็งดี เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการขับร้องหมอลำเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดความสามรถทั้งน้าเสียงที่มีเอกลักษณ์ ตลอดทั้งบทบาท และการแสดงที่เป็นฉบับของตนเองสร้างความประทับใจต่อสาธารณชนมากที่สุดในวงการหมอลำของภาคอีสาน ที่ยางจะหาใครเทียบเคียงได้ยิ่งได้มาจับคู่กับหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน ในระยะต่อมา ก็ประกายศิลปินฉายแววออกมาอย่างเด่นชัด ส่งผลให้ได้บันทึกเสียงหมอลำกลอนครั้งแรกคู่กันกับหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน ในปีพุทธศักราช 2502 หลังจากนั้นก็ได้แสดงรวมกันมาโดยตลอดจนกระทั่งได้ตั้งเป็นวงหมอลำหมู่“ คณะรังสิมันต์” ขึ้น ในปีพุทธศักราช 2521 ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างล้นหลาม ทำให้คณะรังสิมันต์โด่งดังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นับเป็นคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนที่ผู้นิยมสูงสุดในประวัติการณ์ของอีสานในยุคสมัยนั้น และยังสามารถกระจายความนิยมออกไปยังทั่วประเทศจากการออกอากาศทางสถานีวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์จนได้รับการบันทึกเป็นแผ่นเสียง และเทปโทรทัศน์ โดย บริษัท ลิเวอร์ราเทอร์ และบริษัทอังกฤษ ตรางูซึ่งผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุกเป็นตำนาน คือ เรื่องพระสุธน- มโนราห์จำปาสี่ต้น นางแตงอ่อน และอีกหลายเรื่อง

หมอลำทองคำ เพ็งดี ได้เป็นแบบอย่าง ค้นคิด หมอลำเรื่องต่อกลอน ทำนองอุบล ซึ่งจะเน้นการเล่นลูกคอหลายชั้น ชวนให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตาม ได้เป็นอย่างดี อันเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการให้เกิดเป็นฉบับเฉพาะหมอลำอุบล นอกจากนั้น ท่านยังมีความพิเศษมากอย่างหนึ่งที่แฟนหมอลำในยุคนั้นรู้จะเป็นอย่างดีคือ การเลียนเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ ได้เหมือนจริง โดยเฉพาะเสียงขันของนกเขา จนได้รับฉายว่า “ นกเขาขัน” ซึ่งมากจะใช้เป็นเสียงประกอบฉากเดินทางในการชมป่า อันเป็นเสน์อย่างหนึ่งของศิลปินยอดนิยมตลอดการท่านี้จนเมื่อปีพุทธศักราช 2537 ท่านได้เสียงชีวิตของท่ามกลางความเศร้าสลด ของบรรดาผู้ชื่นชอบที่เป็นมิตรหมอแคนแฟนหมอลำตัวจริง และรวมถึงประชาชนชาวอีสานที่ทราบข่าว แต่สิ่งที่ท่านได้ฝากเอาไว้ให้กับผืนดินถิ่นอีสานคือ มรดกหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองอุบลที่ท่านเป็นต้นแบบ จึงสมควรสืบสาน และถ่ายทอดให้คงไว้สืบต่อไป

นายทองคำ เพ็งดี จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำเรื่อง) ประจำปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น