ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ชาว มข. สร้างมหากุศลร่วมทอดกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี ๒๕๖๑

รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานนำกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่นทอดถวาย ณ วัดสว่างสุทธาราม บ้านหนองกุง อ.เมือง จ.ขอนแก่น พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น พุทธศาสนิกชนชุมชนวัดสว่างสุทธาราม และคณะศรัทธาจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมในพิธีทอดถวายกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านโดยมีพระครูกมลกิตติสาร (กอง กมโล) เจ้าอาวาสวัดสว่างสุทธาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับจำนวนเงินที่พุทธศาสนิกชนชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น และพุทธศาสนิกชนชุมชนวัดสว่างสุทธาราม และคณะศรัทธาจากจังหวัดใกล้เคียง ร่วมทำบุญในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๒,๑๒๒,๒๕๓.๒๕ บาท [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="6057,6056,6053,6054,6052,6055,6058,6051,6050,6048,6049,6031,6032,6034,6033,6030,6038,6044,6043,6039,6041,6042,6047,6046,6045,6037"] ทั้งนี้ได้มีพิธีทำบุญตักบาตรและสมโภชองค์กฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ ณ อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น พุทธศาสนิกชนชุมชนวัดสว่างสุทธาราม ร่วมในพิธี โดยมีการแสดงธรรมเทศนาจากพระราชประสิทธิคุณ (หลวงปู่สุนันท์ สุภาจาโร) รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดเทพปูรณาราม บ้านหนองบัวดีหมี ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น และมหรสพสมโภชจากสมาคมหมอลำจังหวัดขอนแก่น และนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญคือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพุทธศาสนา ได้มีการส่งเสริมให้นักศึกษามีชมรม หรือจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรมทางด้านพุทธศาสนา เพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียน ในขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีกิจกรรมทางพุทธศาสนาเป็นประจำทุกๆ ปี โดยเฉพาะการสร้างกุศลด้วยการทอดถวายกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกปีหลังจากออกพรรษา อีกทั้งได้มีการส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในปีนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ได้ร่วมทอดกฐิน ณ วัดสว่างสุทธาราม อ.เมือง จ.ขอนแก่น หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทำมาอย่างต่อเนื่องและคำนึงถึงชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกทั้งเป็นการผสานบทบาทระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและวัดที่อยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งในหลายโอกาสวัดได้ให้ความอนุเคราะห์กับทางมหาวิทยาลัย และเป็นพื้นที่ให้บริการสาธารณะประโยชน์ต่อชุมชนโดยรอบ รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า กฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี ๒๕๖๑ นี้ ได้นำมาทอดที่วัดสว่างสุทธาราม บ้านหนองกุง อ.เมือง จ.ขอนแก่น พร้อมนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา รวมถึงพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญสร้างกุศล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการให้ความสำคัญและเล็งเห็นถึงชุมชนที่อยู่รอบรั้วมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ซึ่งพิธีทอดกฐินเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เเละเป็นประเพณีที่สำคัญในฮีต ๑๒ ของชาวอีสาน โดยเชื่อกันว่าการสร้างบุญกฐินจะช่วยให้เกิดความเจริญงอกงามในพระพทุธศาสนา เกิดสาธารณะประโยชน์ทั้งการบูรณปฏสังขรวัดวาอาราม ทำนุบำรุงศาสนา ซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานของวัฒนธรรมไทยและอีสาน พระครูกมลกิตติสาร (กอง กมโล) เจ้าอาวาสวัดสว่างสุทธาราม ได้อนุโมทนาบุญกับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมพิธีทอดถวายกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยลัยขอนแก่นได้ทอดถวายกฐิน นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่พุทธศาสนิกชนชุมชนวัดสว่างสุทธารามและใกล้เคียง โดยเฉพาะชาวบ้านหนองกุงและชาวขอนแก่นทุกหมู่เหล่า จึงขออนุโมทนาอำนวยอวยพรให้ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพุทธษสนากชนทั้งหลาย จงมีความสุข ความเจริญ ด้วยลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ   วัดสว่างสุทธาราม ตั้งอยู่บ้านหนองกุง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จ.ขอนแก่น สาเหตุที่ได้ชื่อว่าวัดสว่างสุทธาราม เนื่องมาจากปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ช่วงเวลากลางคนภายในบรเวณวัดสว่างสุทธารามจะมีแสงสว่างไสวไปทั่วบริเวณวัด รวมไปถึงต้นไม้ใบหญ้า เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็น ทั้งเด็กเล็กคนหนุ่มสาว ตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่จะพากันมาดูวัดออกแสง และจะเก็บใบไม้ใบหญ้าไว้บนหัวนอน เพื่อสักการะบูชาเกิดความเป็นสิริมงคล ระยะเเรกวัดมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๓ ไร่ ๒ งาน แต่ปัจจุบันขยับขยายเพิ่มเติม เนื่องจากมีชาวบ้านบริจาคเนื้อที่เป็นจำนวน ๔๘ ไร่ ๓ งาน มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระประธาน ๑ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางทรมานกาย บำเพ็ญทุกรกิริยา ส้รางเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ๕ องค์ ปัจจุบันมีพระครูกมลกิตติสาร (กอง กมโล) เป็นเจ้าอาวาส]]>