ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ร่วมเรียนรู้รากศิลปวัฒนธรรมแห่งความม่วนซื่นในการสัมมนาวิชาการ “ขอนแก่น – ลาวศึกษา” : “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน-ลาว

นายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานฝ่ายไทย และนายคำไพ พันธุ์ทองดี รักษาการกงสุลใหญ่ สปป.ลาว ประจำประเทศไทย ณ จ.ขอนแก่น เป็นประธานฝ่าย สปป.ลาว โดยมี รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ เป็นผู้กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม ผศ.ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร ผศ.กฤตภัทร ถาปาลบุตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิชาการอิสระ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมและมรดกร่วมอีสาน-ลาว เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๑ ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="5789,5788,5787,5786,5785,5784,5783,5782,5781,5780,5779,5778,5777,5775"] ทั้งนี้การประชุมสัมมนาวิชาการเริ่มด้วยการบรรยายพิเศษโดย อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ นักเขียนประจำในเครือมติชน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ร่วมให้องค์ความรู้ในเรื่อง “หมอแคนหมอลำ ต้นทางสร้างสรรค์วรรณกรรมนานาชาติพันธุ์” นอกจากนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน-ลาว วิทยากรโดย รศ.วีณา วีสเพ็ญ  ผศ.ดร.เจริญชัย ชนไพโรจน์  หมอแคนสมบัติ สิมหล้า และอาจารย์อ้น แคนเขียว พร้อมการแสดงศิลปวัฒนธรรม เสียงลำเสียงแคน โดย หมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน หมอลำราตรี ศรีวิไล หมอแคนสมบัติ สิมหล้า หมอแคนอ้น แคนเขียว สมาคมหมอลำจังหวัดขอนแก่น และการแสดงจากเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="5795,5793,5794,5791,5792"] นายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมมรดกร่วมทางวัฒนธรรมว่า การจัดประชุมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีและเป็นเวทีในการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียน จากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้เกี่ยวกับแคน พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ และสืบสานเรื่องราวของแคนให้ยั่งยืน ซึ่งแคนถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีการสร้างสรรค์มาตั้งแต่ยุคบรรพกาลจากชนชาวอีสาน-ลาวล้านช้าง ซึ่งทำหน้าที่สร้างความสนุกสนาน บรรเลงท่วงทำนองที่ไพเราะและมีความหลากหลายอันเกิดภูมิปัญญาทรงคุณค่าแก่ชนรุ่นหลัง นายคำไพ พันธุ์ทองดี รักษาการกงสุลใหญ่ สปป.ลาว ประจำประเทศไทย ณ จ.ขอนแก่น กล่าวถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศเพื่อนบ้านและเครือข่ายด้านการต่างประเทศว่า การจัดประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสานอีสาน-ลาว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสานสัมพันธภาพอันดีระหว่างประเทศ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมรดกร่วมทางวัฒนธรรม ลดข้อจำกัดของเขตแดน ขจัดเงื่อนไขของพรมแดนและเห็นพ้องต้องกันทางวัฒนธรรม และถิอเป็นโอกาสอันดีในการอนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริม และสร้างสัมพันธภาพอันดีให้แนบแน่น รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ กล่าวว่า สำหรับการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง “แคน” มนต์เสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมอีสานอีสาน-ลาว จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด ลงลึก รากฐานมรดกวัฒนธรรมมนต์เสน่ห์ของเสียงแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญและผูกพันกับชาวอีสานและชาวลาว มาอย่างยาวนาน ในหลากหลายแง่มุม ทั้งด้านทำนอง จังหวะ เครื่องดนตรี การนำไปใช้รวมไปถึงงานวรรณกรรมที่ก่อเกิดจากการได้ยินได้ฟังเสียงแคน เป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการต่างประเทศ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์ข้อมูลลาว และความร่วมมือของสโมสรนักเขียนภาคอีสาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ในการจัดการสัมมนาที่สร้างประโยชน์และคุณค่าเพื่อต่อยอดศิลปวัฒนธรรมระหว่างสองฝั่งโขง]]>