ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

ชาว มข. ร่วมเจริญภาวนาสติในกิจกรรมบำเพ็ญบุญบารมีบนวิถีชาวพุทธ ครั้งที่ ๒๖

เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมด้วย นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม ผศ.กฤตภัทร ถาปาลบุตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน ผศ.ภาณุ อุดมเพทายกุล รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม ร่วมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมในบรรยากาศในการปฏิบัติธรรม สำหรับกิจกรรม “บำเพ็ญบุญบารมีบนวิถีชาวพุทธ” เริ่มด้วยมีกิจกรรมการสวดมนต์ทำวัตรเย็น จากนั้นเป็นการแสดงธรรมเทศนาจากพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบโดยในครั้งที่ ๒๖ ได้รับความเมตตาจาก “พระอาจารย์อาคม” วัดอัมพวันม่วงน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมแสดงธรรมเทศนา ทั้งนี้ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมนำกลุ่มนักศึกษา “พี่เลี้ยงน้องใหม่ ประจำปี ๒๕๖๐” กว่า ๒๒๐ คน ร่วมในการเจริญภาวนาสติ ทำวัตรสวดมนต์เย็น และฟังธรรมเทศนา พระอาจารย์อาคม เมตตาแสดงธรรมเทศนาสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ธรรมะอยู่ที่ตัวของทุกกผู้ทุกนาม ทุกความรู้สึกที่อยู่กับทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน เช่นว่า เมื่อเดินมากๆ มักปวดขา แต่มองในทางที่ดี ซึ่งดีมากเพียงใดแล้วที่มีขาให้ปวด ซึ่งเป็นการมองโลกในแง่บวก การมาฟังธรรมะเป็นการเรียนรู้วิชาสำหรับประคองชีพ โดยเฉพาะการที่จะทำตนเองให้ดีได้ควรเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงที่ตนเอง คิดดี ทำดี พูดดี ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งนี้เปิดโอกาสตัวเองและผู้อื่นด้วย “๓ ให้” ได้แก่ ให้รอยยิ้ม ให้น้ำใจ ให้อภัย เชื่อเลยว่าทั้งวันจะพบเจอแต่สิ่งที่ดี ซึ่งเชื่ออีกว่าทุกท่านที่มาร่วมการฟังธรรมเทศนาล้วนเรียกว่าเป็น “ผู้ก่อการดี” สำหรับกิจกรรม “บำเพ็ญบุญบารมีบนวิถีชาวพุทธ” กำหนดจัดต่อเนื่องเป็นประจำในทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน เพื่อเป็นการเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างคุณค่าศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนัก ศึกษาเล็งเห็นความสำคัญของการทำนุบำรุงพุทธศาสนากิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การทำวัตรสวดมนต์เย็น เจริญภาวนา และฟัง ธรรมเทศนา พร้อมร่วมกราบไหว้พระศรี ๕๐ ปี มข. พระพุทธรูปไม้ที่มีหน้าตักใหญ่สุดในอีสาน และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พุทธศิลป์ แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ พระพุทธรูปไม้ เชี่ยนหมาก โบราณ วัตถุเครื่องใช้ในอดีตของชาวอีสาน รวมถึงการร่วมปล่อยปลาสร้างกุศล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.๐ ๔๓๓๓ ๒๗๖๐ ภายใน ๔๒๓๐๑, ๔๔๘๙๓ (กำหนดการจัดกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)]]>