ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดโกเสยเขต

ประวัติความเป็นมา

วัดโกเสยเขต  หรือวัดโกเสยเขต  สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐  โดยพระเฉพาะพรหมมาโกสโล  ได้นำศรัทธาญาติโยมในหมู่บ้านบุกเบิกที่วัดจนราบเตียน  แล้วได้สร้างเสนาสนะขึ้น  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เขตวิสุคามสีมา  กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร  การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกธรรม  เปิดสอน  พ.ศ. ๒๕๐๕  โรงเรียนพระปริยัตติธรรมแผนกบาลี  เปิดสอน  พ.ศ. ๒๕๒๘  โรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญ  เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๒๗  และโรงเรียนผู้ใหญ่วัด  เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๐๕

ที่ตั้ง

เลขที่ ๑ บ้านปะโค  ถนนแก้วจรวุฒิ  หมู่ที่ ๑  ตำบลปะโค  อำเภอเมืองหนองคาย  จังหวัดหนองคาย  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่  ๖ไร่  ๒ งาน  ๑๘ ตารางวา  โฉนด เลขที่ ๔๕๐๖๓  อาณาเขต  ทิศเหนือประมาณ ๑๙ วา  ๑ ศอก  จดทางสาธารณะ  ทิศใต้ประมาร  ๑๑ วา  ๒ ศอก  จดทางสาธารณะ  ทิศตะวันอกประมาณ  ๓ เส้น  ๑๐วา  ๒ ศอก  จดถนนแก้ววรวุฒิ  ทิศตะวันตกประมาณ ๓ เส้น  ๑๐วา  ๒ ศอก  จดที่ดินนายอ้ม  นายน้อย  นายบุญธรรม  นายทองมี

อาคารเสนาสนะ

อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ  ศาลาการเปรียญ  กุฏิสงฆ์  ๓ หลัง  ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปสำริด

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระอธิการปุย  พนมใหญ่
รูปที่ ๒ พระอธิการทุม  บุตรโท
รูปที่ ๓ พระอธิการเบ้า
รูปที่ ๔ พระอธิการอ้วน บุตรโท
รูปที่ ๕ พระปลัดอาน บุตรโท
รูปที่ ๖ พระอธิการลือ  สุวัณโณ
รูปที่ ๗ พระครูอดุลศีลพรต
รูปที่ ๘  พระสมุห์พิบูลย์ สุจิตโต  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

เป็นสิมซึ่งมีความชำรุดทรุดโทรมสูงมาก ทางวัดอยากรื้อถอนนานแล้ว แต่ว่ามักเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีแก่ผู้ทำการรื้อถอนมาโดยตลอด ทางวัดเกรงว่าสิมเก่าหลังนี้จะหักโค่นลงจึงได้ปลูกต้นไม้ไว้รอบสิมเพื่อประคองไม่ให้แตกหักพังทะลายลง

ภาพด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

โหง่ และ หางหงส์ ปูนปั้น

หน้าบันลายปูนปั้น

ซุ้มประตูทางเข้าและบานประตูแกะสลัก

หน้าต่างลายพันธุ์พฤกษา บัวหัวเสาลายกลีบบัว และเชิงชายลายดอกรัก

ผนังปูนปั้นหน้าประตูสิมด้านซ้าย และขวา

ผนังด้านนอกปั้นปูนเป็นอุบะพวงดอกไม้

ซุ้มหน้าต่างปั้นรูปเทพนม

บนซุ้มหนาต่างมีกันสาด

แขนนางปูนปั้นแบบต่างๆ ช่างปั้นใส่จินตนาการที่หลากหลายได้อย่างน่าสนใจ

ภายในสิม

พระประธาน และ ฐานชุกชี

บานหน้าต่างตอนปิด และ ตอนเปิด มีการแกะสลักด้านนอก ฝีมือแบบพื้นบ้าน