ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง

ประวัติความเป็นมา

วัดศรีบุญเรือง สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๔๐ ตามประวัติวัดกล่าวว่าจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าสร้างตั้งแต่สมัยล้านช้าง พระเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นผู้สร้าง แต่ตามหลักศิลาจารึกซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าอุโบสถได้จารึกเอาไว้ว่า ปี จ.ศ. ๔๗๐ พระวรวงศาธรรมิกราชได้เป็นผู้สร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระอธิการน้อย พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๕ รูปที่ ๒ พระอธิการปัน พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๕๗ รูปที่ ๓ พระอธิการเพ็ง พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๐ รูปที่ ๔ พระอธิการหา รูปที่ ๕ พระอธิการที่รูปที่ ๖ พระอธิการพงษ์ รูปที่ ๗ พระอธิการวรรณ รูปที่ ๘ พระอธิการเป็น รูปที่ ๙ พระมหาจูม อินฺทวํโส พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐ รูปที่ ๑๐  พระอธิการทองมี กนฺตสีโล พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๗ รูปที่ ๑๑ พระมหาสะอาดอภิชาโต พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๑ รูปที่ ๑๒ พระมหาบุญสินธุ์  จิตปุญฺโญ พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๑๔ รูปที่ ๑๓ พระอธิการบุญ อตฺตคุตฺโต พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๕  รูปที่ ๑๔ พระอธิการภพ จนฺทโสภโณ  พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๒ รูปที่ ๑๕ พระอธิการวัลลภ สุเมโธ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมา

ที่ตั้ง

วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เลขที่  ๘๗๒ บ้านศรีบุญเรือง  ถนนมีชัย หมู่ที่ ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย  จังหวัดหนองคาย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๑๙ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๐๙๐ เลขที่ดิน ๕ อาณาเขต ทิศเหนือ จดแม่น้ำโขง ทิศใต้  จดถนนมีชัย ทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก จดถนนพระใส อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ๓ หลัง และศาลาอเนกประสงค์ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย  พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ๓ องค์ พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ปางห้ามญาติ ซุ้มเทวะทรงช้างสามเศียร ยอดฉัตร ๒ ยอด พระไม้ขนาดเล็กปางมารวิชัย ๘ องค์ พระจามรีหินทรายดา พระพุทธรูปไม้ฐานหินปางมารวิชัย พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ปางมารวิชัย พระพุทธรูปปางมารวิชัย แก่นปูนและพระพุทธชินราชปางมารวิชัย เนื้อทองเหลือง

อาคารอเนกประสงค์อยู่ตรงข้ามกับโบสถ์

ภาพด้านหน้า และ ด้านข้าง

ลวดลายประดับด้วยการเขียน ซุ้มโค้งของหน้าต่างประดับด้วยกระจกกลม

เสาปูนปั้นเป็นบัวหงาย และโครงสร้าง

บรรยากาศภายในอาคาร

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

ภาพด้านหน้า ด้านข้าง และ ด้านหลัง มีประตูทางเข้าด้านหน้า 3 ประตู และด้านข้าง 1 ประตู

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

ช่อฟ้า โหง ลำยอง หางหงส์ ทำจากไม้แกะสลักช่างพื้นบัาน หน้าบันเป็นลายปูนปั้น

แขนนางไม้ และ ลายปูนปั้น เหนือประตูทางเข้า

แขนนางไม้ และ ลายปูนปั้น เหนือประตูทางเข้า

ภายในสิม

เสาและเพดานมีการบูรณะคล้ายสิมทางหลวงพระบาง และล้านนา

พระปางนาคปรก สำริด และ หินแกะสลัก