เดือนสาม – บุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทําบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรํา เตรียมไว้ใน ตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการ เทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี
มูลเหตุของพิธีกรรม
มูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาสชื่อปุณณทาสี ได้นําแป้ง ข้าวจี่ (แป้งทําขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจี่เป็นขนมของผู้ต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทําให้ นางปิติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบ อย่างและพากันทําแป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจากในเดือนสามอากาศของภูมิภาคอีสานกําลังอยู่ ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟ ผิงแก้หนาวชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟ แล้วนําข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดงๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทานทําให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ ผู้บวชอยู่วัดอยากให้ได้ รับประทานบ้าง จึงเกิดการทําบุญข้าวจี่ขึ้น ดังมีคํากล่าวว่า “เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา” (พอถึงปลาย เดือนสามภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน้ำอ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดน้ำตา)