โดย ศุภรกาญจน์ อรทัย นักศึกษาฝึกประสบการณ์
เช้าวันที่อากาศแจ่มใส แสงแดดอ่อนๆในยามเช้าส่องลอดผ่านกิ่งต้นไม้น้อยใหญ่สลับกับใบไม้เขียวขจี สายลมพัดปลิวเย็นสบาย เป็นฤกษ์งามยามดี ของชาวพี่น้องบ้านสาวะถีมารวมตัวกัน บอกถึงเวลาบุญข้าวจี่ วัดไชยศรีหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านสาวะถี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สํานักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับเทศบาลและชาวชุมชนสาวะถีพร้อม ด้วยเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมสืบสานประเพณีตามฮีต ๑๒ คอง ๑๔ ใน “งานบุญฮีตเดือน ๓ สินไซ บุญ ข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน การจัดทําแหล่งเรียนรู้ วัฒนธรรมสินไซ ณ วัดไชยศรี” จากวิทยากรท้องถิ่นที่คลุกคลีและเห็นความเป็นไปของชุมชนตลอดมา วัตถุประ1. เพื่อกระตุ้นสํานึกในภูมิปัญญาวัฒนธรรมของตนเอง สู่ภูมิปัญญาบูรณาการ 2.เพื่อนําทนทางวััฒนธรรมไปสร้างสรรคผลงานกระตุ้นเศรษฐกิจในทองถ ิ่น 3. เพื่ออนุรกษั ์ฟื้นฟูศึกษาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอีสาน [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="4979,4976,4978"] ในวันเพ็ญเดือนสามให้ทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน ขนาดเท่ากำปั้นแล้วใช้ไม้ไผ่ที่เหลากลมๆ เสียบตรงกลาง ตามยาวของปั้นข้าวเหนียวแล้วนำไปปิ้งพอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ ย่างไฟจนสุก แล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในศาลาวัด นิมนต์พระมาให้ศีลให้พร แล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระสงฆ์ พร้อมด้วยอาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนา ตอนเย็นมีการเวียนเทียนมาฆบูชาฟังเทศน์ที่วัด ในเดือนสาม อากาศของภูมิภาคอีสาน กำลังอยู่ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟผิงแก้หนาวเมื่อฟืนถูกไฟเผาเป็นถ่าน ชาวบ้านจะเอาข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางไว้บนเตาไฟ เราเรียกว่า ข้าวจี่ มีเรื่องเล่าในพระธรรมบทว่า มีหญิงคนหนึ่งชื่อนางปุณณทาสี เป็นคนยากจนต้องไปเป็นทาสีรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งเศรษฐีให้นางไปซ้อมข้าว นางซ้อมตลอดวันก็ไม่หมด ตกตอนเย็นนางก็จุดไฟซ้อมต่อไป ได้รับความเหน็ดเหนื่อยเป็นอันมาก พอถึงตอนเช้ามานางก็เอารำทำเป็นแป้งจี่ เผาไฟให้สุกแล้วใส่ไว้ในผ้าของตนเดินไปตักน้ำปรารถนาจะบริโภคด้วยตนเอง ครั้นถึงกลางทางได้พบพระศาสดาเกิดความเลื่อมใส คิดว่าเราเป็นคนยากจนในชาตินี้ ก็เพราะมิได้ทำบุญไว้แต่ปางก่อนและชาตินี้เราก็ยังไม่เคยทำบุญเลย เมื่อคิดเช่นนั้นแล้วนางก็น้อมเอาข้าวแป้งจี่นั้นเข้าไปถวายแด่พระศาสดา พระองค์ทรงรับแล้ว และนางคิดอีกว่าพระศาสดาคงไม่เสวย พราะอาหารเศร้าหมอง เมื่อพระศาสดาทรงทราบวารจิตของนางเช่นนั้น พระองค์จึงประทับเสวยต่อหน้าของนาง ครั้นเสวยเสร็จแล้วก็ตรัสอนุโมทนากถาโปรดนางจนสำเร็จโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา กาลํ กตฺวา ครั้นนางทำกาลกิริยาแล้วก็ได้ไปเกิดบนดาวดึงส์สวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ อยู่ในวิมานทองอันผุดผ่องโสภา มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นยศบริวาร ดังนั้น ชาวนาเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจึงพากันทำบุญข้าวจี่ เพราะถือว่าการถวายข้าวจี่มีอานิสงฆ์มาก ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นที่วัดไชยศรี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดและอนุรักษ์กันมายาวนาน เป็นประเพณีบุญเดือนสาม ของชาวอีสานตามประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ ประเพณีชาวอีสานที่มีการร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ความรู้สึกที่ดีต่อกัน กลายเป็นวัฒนธรรมอีสานและการรังสรรค์งานศิลปะ การแสดงดนตรีพื้นบ้าน บุญข้าวจี่วัดไชยศรีมีกิจกรรมที่แสดงออกมาให้ได้เห็นอย่างชัดเจนโดยแบ่งฐานการเรียนรู้ออกเป็นทั้งหมด 8 ผ่านการเรียนรู้ เริ่มจากฐานที่ 1 พิพิธภัณฑ์ รู้สึกตื่นเต้นและสนุกกับการเดินทางมายังสถานที่แรกสิ่งที่เห็นคือโรงเรียนของชุมชน มีต้นไม้น้อยใหญ่รายล้อม จากนั้นก็มีน้องๆมัคคุเทศก์น้อยนำชมสถานที่ภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งนี้แบ่งออกเป็น 3 ห้อง ห้องแรกจะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ของคนในอดีต ห้องที่สองเป็นอุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับการทอผ้า และห้องที่สามจะเป็นเรื่องราวของสินไซวรรณกรรมสองฝั่งโขง ที่กลายเป็นหัวใจของคนที่นี่ และอนาคตข้างหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คงจะสามารถตอบโจทย์ความอยากรู้อยากเห็นของประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ นั่นหมายถึงการจะทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ใช่แค่ที่เก็บของเก่าเหมือนพิพิธภัณฑ์ทั่วไปเท่านั้น ฐานที่ 2 โนนเมือง อากาศที่มีลมพัดผ่านกิ่งก้านของต้นไม้น้อยใหญ่บรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติทำให้รู้สึกสบายใจ โนนเมืองเป็นป่าไม้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ มีต้นไม้ปกคลุมมีต้นไม้น้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก มีชัยภูมิเป็นที่เนินสูง มีลำห้วยตามธรรมชาติกระหนาบข้างเป็นลักษณะครึ่งวงกลม โดยรอบมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติจำนวนมาก ในบริเวณโนนเมือง สันนิษฐานว่าโนนเมืองนี้คงจะเคยเป็นบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ด้วยเหตุว่าลักษณะพื้นที่มีร่องรอยการสร้างวัดและสระน้ำหลายแห่ง ยังมีร่องรอยการพักอาศัยมีเศษอิฐ เตาเผา โบราณมากมาย มีการค้นพบเสมาหินโบราณ มีทั้งจำหลักภาพและไม่จำหลักภาพจำนวนมาก มากสันนิฐานว่า น่าจะเป็นวัดในสมัยก่อน อยู่บริเวณคนละฟากของลำห้วยหนองโง้งลำห้วยตามธรรมชาติที่ไหลผ่านโนนเมือง ( เสมาหินบางส่วนถูกเก็บรักษาไว้ที่ วัดไชยศรี ) นอกจากนั้นชาวบ้านที่ทำการเกษตรแถวนั้นยังมีการพบเครื่องใช้โบราณ อาวุธ พระเครื่อง กระดูกของคนในสมัยก่อน ( เครื่องใช้โบราณที่ค้นพบ ได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดไชยศรี และบางส่วนได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติขอนแก่น ส่วนพระเครื่องผู้เขียนได้ยินมาจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ประกอบร่องรอยการขุดค้นบริเวณอุ่มหมากป้อม บริเวณที่เชื่อว่าเป็นวัดในสมัยก่อน ส่วนอาวุธและเครื่องใช้บางส่วนในช่วงที่มีการขุดลอกลำห้วยนั้นที่พบเจอผู้เขียนได้ยินมาจากคำบอกเล่าว่าผู้รับเหมาได้เอาไปหมด โดยมีชาวบ้านบางคนได้พบเห็นบ้าง) และในช่วงที่มีการขุดลอกลำห้วยหนองโง้ง ฐานที่ 3 ศาลปู่ตา เดินทางต่อไปอีกสักระยะก็เดินมาถึงศาลปู่ตาอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาเป็นเวลานาน เป็นสถานที่สถิตของผีบรรพบุรุษให้มาอยู่ทำหน้าที่คอยดูแลรักษาหมู่บ้านและชาวบ้านให้ปลอดภัย ซึ่งจะมีการติดต่อสื่อสารผ่านทางตัวแทนที่เรียกว่าคนทรง ตาไพร พ่อคำไสย อ่อนทุม และตาทักษิณ (คนทรง) ได้เล่าว่า ในสมัยอดีตสถานที่แห่งนี้นั้นเป็นป่าที่เงียบสงบมีพื้นที่ที่เหมาะกับการตั้งศาลจึงได้มีการพูดคุยกับคนในหมู่บ้านและลงความเห็นกันว่าจะสร้างศาลขึ้น ชาวบ้านทุกคนมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านที่จะคอยคุ้มครองดูแลปกปักรักษาหมู่บ้านและชาวบ้านให้อยู่สุขสบายอีกทั้งยังเพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจ ด้วยความเชื่อของชาวบ้านจึงได้มีการจัดพิธีกรรมขึ้นในช่วงเดือน 6 ของทุกปีจะมีวิธีการไหว้ศาลปู่ตา ฐานที่ 4 เหล่าพระเจ้า ท้องทุ่งที่กว้างใหญ่ มีความร่มเย็นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญต่อชาวบ้านเป็นเวลายาวนานกว่า 100 ปีซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ชาวบ้านมีความเชื่อเดียวกันซึ่งเกิดเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ของเหล่าพระเจ้าก็คือไฟไหม้สามารถไหม้ได้ บริเวณที่แห่งนี้มีความเชื่อว่าห้ามเดินลัดป่านี้และห้ามตัดต้นไม้ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะพบเจอแต่สิ่งที่ไม่ดี ชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านจะจัดงานบุญบั้งไฟเพื่อมาขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และขอให้ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีการจัดทำขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ผลไม้และอาหารคาวหวานอื่นๆเมื่อถึงประเพณีบุญบั้งไฟทุกคนก็จะมารวมตัวกันและจุดบั้งไฟห่างบ้างปะยีนส์ซ้ายขวาขึ้นผิดรูปแสดงว่าภายในปีนี้จะพบเจอสิ่งไม่ดี จากการเดินทางเรียนรู้ทั้ง 4 ฐานในช่วงเช้าเราก็เดินทางกลับวัดไชศรีและรับประทานอาหารกลางวันเพื่อเตรียมพร้อมให้กับการเรียนรู้อีก 4 ฐานการเรียนรู้ เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยทุกๆคนก็ได้รับพลังที่จะพร้อมลุยในช่วงบ่าย ฐานที่ 5 ฮูปแต้ม มองเห็นจิตรกรรมบนฝาผนังของโบสถ์มีความสวยงามและไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน วัดไชยศรี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีโบสถ์หรือสิม ที่มีอายุกว่าร้อยปีเศษ เดิมมุงหลังคาด้วยแผ่นไม้ ซึ่งมีเอกลักษณ์คือ หลังคามีปีกยื่นทั้งสองข้างแบบสถาปัตยกรรมอีสานดั้งเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 หลังคาทรุดโทรมจึงมีการรื้อและทำหลังคาขึ้นใหม่ เป็นแบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น ส่วนฝาผนังทั้งด้านในและด้านนอกยังคงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนัง หรือ “ฮูปแต้ม” ที่ยังคงมีความเด่นชัด ความเพลิดเพลินของการไปชมสิมคือ ได้ชมฮูปแต้มที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านภาพวาด ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของสินไซ ฐานที่ 6 ข้าวจี่ หลังจากได้เรียนรู้และชมความสวยงามฮูปแต้มแล้ว ก็ได้กลิ่นหอมอ่อนๆจากการย่างข้าวจี่ เมื่อนั่งประจำที่แล้ว ก็ลงมือย่างข้าวจี่โดยนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนก้อนและนำไม้มาเสียบและนำไปคลุกกับเกลือจนทั่ว เริ่มย่างข้าวเหนียวจนพอสุกเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ จากนั้นนำไปชุบกับไข่ไก่ให้ทั่วและนำข้าวเหมียวไปย่างไปอีกรอบจนสุก จากนั้นนำไม้ที่เสียบดึงออกแล้วนำน้ำตาลก้อนมาสอดใส่ข้างในเหมือนเป็นไส้ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำข้าวจี่ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วศาลา เพื่อนๆและน้องๆสนุกกับการทำข้าวจี่เป็นอย่างมากทั้งได้รับการเรียนรู้และความอิ่มท้อง ฐานที่ 7 บายศรี เดินทางต่อมาถือฐานบายศรีมองเห็นชาวบ้านและเด็กๆกำลังจดจ่อกับการทำบายศรีด้วยความตั้งใจจริงและยังพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน การทำบายศรีนั้นจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนาการทำพานบายศรีของชุมชนสาาวะถึนั้นเป็นการทำบายศรีแบบดั้งเดิม แต่โบราณใช้ในโอกาสงานบุญ เป็นการทำด้วยความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาตลอดจนประเพณีวิถีชุมชน การนำเอาใบตองมาพับให้เกิดรูปทรงตามต้องการจากนั้นนำมาซ้อนกันและเย็บเสร็จเรียบร้อย ฐานที่ 8 หมอลำ และก็มาถึงฐานสุดท้ายสถานที่สร้างความสนุกสนานสร้างเสียงหัวเราะเฮฮาและครื้นเครงได้อย่างมากนั่นก็คือหมอลำอยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านสาวะถีที่อยู่คู่กันมานับร้อยปี ทุกๆคนต่างรู้ว่าตั้งแต่เกิดมาก็โตมากับเสียงลำเสียงแคน จากหมอลำพื้นในอดีตก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงในยุคไปตามยุคสมัย หมอลำคณะระเบียบวาทะศิลป์มหรสพยอดนิยมตลอดกาลของชาวอีสาน มีการร้องรำทำเพลงกันอย่างคึกคัก ประเพณีบุญข้าวจี่วัดไชยศรีซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้านวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญและเป็นที่รู้จักดีของคนในชุมชนและบุคคลภายนอกได้มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นทำให้มีผู้คนรู้จักและมาเข้าร่วมประเพณีเพิ่มขึ้นทำให้การตลาดการท่องเที่ยวนั้นมีเศรษฐกิจที่ดี ในส่วนของการตลาดการท่องเที่ยวนั้นเราสามารถวิเคราะห์การตลาดการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด 4P นั่นก็คือ 1.ผลิตภัณฑ์ (Product) มีการคิดพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์อยู่บ้างเพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงอนุรักษ์ความดั้งเดิมไว้และตัว packaging มีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่และดูน่าสนใจมากขึ้น 2.ราคา (Price) ราคาสินค้าอยู่ในระดับตามท้องตลาด สามารถเอื้อมถึงกับทุกวัย ปรับเปลี่ยน packaging เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า แต่ราคายังคงเดิม 3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) มีการจัดการด้านการประชาสัมพันธ์สินค้ามากขึ้น เพิ่มช่องทางการจำหน่าย ให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย มีการจัดจำหน่ายกระจายออกไปนอกชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน 4.การส่งเสริมการขาย (Promotion) เพิ่มการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาสินค้าหลากหลายช่องทาง ทั้งในโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ต่างๆ ปากต่อปาก มีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเริมการขาย เพิ่มการบริการขายที่รวดเร็ว สะดวกสบาย การจัดกิจกรรมประเพณีบุญข้าวจี่ของบ้านสาวะถี เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจได้มาเข้าร่วมทำกิจกรรมและเพียงเพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย ผู้คนที่มาเข้าร่วมประเพณีบุญข้าวจี่นั้นยังมาด้วยใจอันบริสุทธิ์และความศรัทธาความตั้งใจจริงความมุ่งมั่นของพุทธศาสนิกชน นอกจากจะมาร่วมกันทำบุญแล้วนั้นยังได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวจี่และความรู้ความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่บ้านสาวะถีและยังสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวบ้านและผู้ที่เดินทางมาทั้งผู้เฒ่าผู้แก่วัยรุ่นหนุ่มสาวและเยาวชนยุคใหม่เพื่อร่วมกันสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมาอย่างยาวนานสืบไป งานบุญข้าวจี่สาวะถี เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญและสนับสนุนประเพณีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อให้ประเพณีที่อยู่คู่กับชาวอีสานมาอย่างยาวนานได้มีการสืบสานกันต่อไป การเดินทางเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำบุญด้วยใจศรัทธาที่แท้จริงได้เดินทางจนครบความรู้สึกดีๆตั้งแต่เช้ารุ่งอรุณชนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าความสุขที่เปี่ยมไปด้วยความศรัทธาความเชื่อและความจริงใจทำให้รู้สึกมีความสุขตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก เป็นวันที่มีค่ายากเกินกว่าที่จะบันทึกใส่สิ่งใดได้นอกจากความทรงจำ]]>