ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สืบสานตำนาน ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ “บุญข้าวจี่ เดือนสาม”

โดย ชนิดา วงษา นักศึกษาฝีกประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ฮีตหนึ่งนั้น เมื่อเวลาย่างมาถึงเดือนสามคนอีสานคงคุ้นชินกับบุญประเพณีบุญใหญ่ที่ยึดถือปฏิบัติตามฮีตประเพณีโบราณมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจวบจนปัจจุบัน คือคำผญาบอกเล่าเอาไว้ในตอนหนึ่งที่ว่า  “ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยังสินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม ” ฮีตหนึ่งนั้น เมื่อเวลาย่างมาถึงเดือนสามคนอีสานคงคุ้นชินกับบุญประเพณีบุญใหญ่ที่ยึดถือปฏิบัติตามฮีตประเพณีโบราณมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจวบจนปัจจุบัน คือคำผญาบอกเล่าเอาไว้ในตอนหนึ่งที่ว่า  “ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยังสินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม ” [caption id="attachment_4934" align="aligncenter" width="381"] ขอบคุณภาพ WordPress.com[/caption] ตามคำบอกเล่าแต่เดิมกล่าวไว้ว่า มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทำนาเสร็จสิ้น  ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์  สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า  ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี  ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ  ครั้นถวายแล้วนางคิดว่า พระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี  จึงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดอาสนะ แล้วทรงประทับนั่งฉันท์  ณ  ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็บรรลุโสดาบันปัตติผลด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่  ชาวอีสานจึงเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าว จึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา จวบจนปัจจุบันนี้บุญข้าวจี่ก็ยังคงเป็นบุญใหญ่ที่ชาวอีสานบ้านเราเมื่อถึงยามเดือนสาม ก็จะพากันเอาข้าวมารวมกันที่วัด และจี่ข้าวร่วมกันเพื่อถวายพระสงฆ์ถือเป็นการทำบุญสร้างกุศลของชาวอีสานมาช้านาน ๒๗ มกราคม ๒๕๖๑ สำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมมือกับชาวบ้านในตำบลสาวะถี นักเรียน และนักศึกษามาร่วมการทำบุญ ร่วมกันทำกิจกรรมที่วัดไชยศรี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกิจกรรมในช่วงเช้าและบ่ายจะเป็นกิจกรรมการเข้าเรียนรู้ตามฐานต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๘ ฐานการเรียนรู้ และผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณตาที่อยู่ประจำฐานปู่ตา ปู่ตา ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านสาวะถีเชื่อกันว่าท่านคือผู้ปกปักรักษาชาวบ้านให้อยู่ดีมีสุขหากลูกหลานจะเดินทางไปที่ไหน หรือแม้กระทั่งใครจะทำการค้าขายก็ต้องมากราบไหว้ขอพรให้ปู่นั้นช่วยดลบันดาลให้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ ค้าขายร่ำรวย เมื่อสมหวังแล้วลูกหลานก็กลับมาตอบแทนปู่ด้วยการนำสิ่งของมาถวายปู่ โดยจะต้องให้พ่อจ้ำประจำหมู่บ้านเป็นผู้ทำพิธี หรือถ้าจะพูดเป็นภาษาบ้าน ๆ ก็คือช่วยสื่อสาร พูดคุยกับปู่นั่นเอง

“ พ่อจ้ำ ” ที่ชาวบ้านเรียกนั้น ใช่ว่าจะเป็นได้ทุกคน บุคคลที่จะสามารถเป็นพ่อจ้ำ หรือหมอจ้ำ นั้นต้องเป็นบุคคลที่ปู่เป็นผู้เลือกเองโดยการเข้าทรงใคร คนนั้นจะคือบุคคลที่ปู่พอใจก็จะได้มาเป็นพ่อจ้ำ หรือหมอจ้ำต่อไป การเดินทางของเหล่าผู้ผจญภัยอย่างน้อง ๆ นักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ บ้างก็เดินแค่ไม่กี่ก้าวก็ถึง บ้างก็เดินเป็นระยะทางกว่า ๒ – ๓ กิโลเมตรกันเลยทีเดียวแต่ทุกคนมิได้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับระยะทางที่ไกลกันเลยสักนิด แต่กลับรู้สึกสนุกสนานที่ได้พบเจอกับเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียนที่อยู่ทีมเดียวกัน แต่ละทีมจะต้องเข้าไปเรียนรู้ทุก ๆ ฐาน โดยจะมีปราชญ์ชาวบ้านของหมู่บ้านเป็นผู้ที่ให้ความรู้กับเด็ก ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ได้มีเนื้อหาให้พูดตามแต่ปราชญ์ท่านพูดให้ความรู้จากประสบการณ์ของแต่คนที่รู้จักคุ้นเคยกับพื้นที่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังความรู้จากฐานปู่ตาแล้วเด็ก ๆ ก็มุ่งหน้าไปฐานที่ ๒ นั่นก็คือ ฐานโนนเมือง ฐานนี้เป็นพื้นที่ที่ปราชญ์ชาวบ้านเล่าว่า“ โนนเมืองที่เรียกกันนั้น ก็มาจากพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเนินสูง ที่ชาวบ้านใช้ทำการเกษตร จากนั้นก็ได้มีชาวบ้านขุดพบเศษอิฐ และเครื่องปั้นดินเผาโบราณมากมายในบริเวณนั้น จึงเรียกว่า “โนนเมือง” ที่มาจากลักษณะเป็นเนินสูง ซึ่งชาวอีสานจะเรียกว่า โนน เมื่อทุกคนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของฐานโนนเมืองกันแล้ว เราก็จะมุ่งหน้าไปฐานต่อไป

นั่นก็คือ ฐานเหล่าพระเจ้า เป็นฐานที่เราต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปฐานนี้ยาวนานมาก เป็นฐานที่อยู่ท้ายหมู่บ้าน ระหว่างทางเราก็จะพบกับหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ สถานที่ที่แตกต่างกัน ทั้งทุ่งนาที่มีแต่กอฟางข้าวเพราะผ่านช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวมาแล้ว เราจึงสามารถเดินเหยียบกอฟางไปตามทุ่งนาได้อย่างสบายตามสไตล์คนอีสานบ้านเราที่คุ้นเคยกับท้องไร่ ท้องนา เดินไปสักพักก็เลยเขตทุ่งนามาเจอกับถนนคอนกรีตที่แตกต่างกับ ทุ่งนาที่เราผ่านมา ไม่มีลมเย็น ๆ พัดผ่านให้เราได้คลายร้อนเลยสักนิดแต่ก็พบว่ามีบ้านเรือนของชาวบ้าน ที่มีรูปร่างลักษณะการก่อสร้างที่ต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่ที่พบเห็นนั้น จะเป็นบ้านไม้สองชั้น ด้านล่างเป็นอิฐที่ฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ผู้คนที่พบเห็นก็ตื่นตาตื่นใจที่เห็นเด็ก ๆ มีกิจกรรมดี ๆ ให้เข้าร่วม ระหว่างทางที่เราเดินไปทุกคนต่างมองไปที่เดียวกันทันที เหมือนที่ตรงนั้นคือสวรรค์มาโปรดพวกเราแท้ ๆ ทุกคนมุ่งมั่นเป็นอย่างมากเพื่อจะไปถึงจุดหมายที่เรามองเห็นอยู่อีกแค่ ไม่กี่ก้าว ต่างคนต่างรุมเข้าไปตรงด้านหน้าของกระท่อมเล็ก ๆ ที่มีผู้หญิงร่างใหญ่อยู่ในตัวกระท่อมถึงสองคน ในใจผู้เขียนก็แอบสงสัยว่า อยู่ตั้งสองคนกับของอีกมากมาย คือสุดยอดเลยแต่ทั้งสองคนทำได้แค่ยืนอยู่กับที่และหันหน้าหันหลังเพื่อยื่นน้ำหวานให้กับลูกค้าแค่นั้น เพราะคงไม่มีพื้นที่เหลือให้หญิงร่างใหญ่ทั้งสองคนได้ขยับหรือเคลื่อนไหวไปที่อื่นอีกแล้ว ทุกคนได้น้ำหวานมาดื่มเพื่อคลายความร้อนของอากาศที่แสนจะร้อนอบอ้าว พอให้มีแรงเดินต่อไปที่ฐานเหล่าพระเจ้า และในที่สุดเราก็เดินลัดเลาะตามห้วย หนอง คลอง บึง ทุ่งนา ป่าคอนกรีตมาจนถึงที่หมายของเรา แต่สิ่งที่ทุกคนกำลังบอกกับผู้เขียนผ่านทางสายตานั่นก็คือ ความเหนื่อยล้า ความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินในระยะทางอันแสนไกล แต่ทุกคนก็ยังอดทนเดินกลับไปยังวัดไชยศรีเพื่อไปทานข้าว เติมพลังเพื่อลุยต่อในตอนบ่ายอีกรอบ

มาถึงรอบบ่ายเราก็เติมพลังมาอย่างเต็มที่ ในรอบบ่ายนี้เรามีอีก ๔ กิจกรรมฐานในเราได้ร่วมสนุกและเก็บเกี่ยวความรู้กัน แต่ฐานที่เรียกเสียงผู้คนและสร้างความเพลิดเพลินได้มากที่สุดก็คือ ฐานหมอลำ เสียงดนตรี เสียงแคน เสียงพิณที่ทั้งไพเราะและมีจังหวะที่สนุกสนาน หมอลำถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน นั่นก็คือสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของชาวอีสานอีกด้วย ชาวอีสานชอบความสนุกสนานครื้นเครง และมีน้ำใจไมตรี มักจะทำบุญเนื่องจากมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย หากเราส่งสมบุญตั้งแต่เรายังมีชีวิต เมื่อครั้นตายไปเราก็จะได้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีฐานการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียน นักศึกษาทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานหัตถกรรมโบราณ นั่นก็คือ การทำพานบายศรี จากใบตองที่ผู้เฒ่าผู้แก่ทำไว้ถวายพระ เมื่อถึงวันศีล วันพระ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะทำพานบายศรี หรือที่คนอีสานเรียกกันว่า ขันหมากเบ็ง ซึ่งคนอีสานนั้นมีความผูกพันและเชื่อว่า เมื่อเราเกิดมาเราจะมีขวัญตามตัวมาด้วย คนโบราณจึงได้ทำพานบายศรีที่ทำจากใบตอง มีหมอพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีสู่ขวัญ การทำพานบายศรีจึงมีแต่สมัยโบราณกาลมา และภาพที่เห็นคือการสอนของผู้เฒ่าที่ใส่ใจทุกรายละเอียด และทุกคนมีความมุ่งมั่นในการฝึกฝนทำพานขันหมากเบ็ง อย่างตั้งอกตั้งใจ เพื่อให้ผลงานของตัวเองออกมาสวยและประณีตที่สุด

พอมาถึงช่วงเย็นหลังจากที่เราร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ครบทั้งหมดแล้ว ต่างคนต่างเหนื่อยล้า แต่ก็ไม่หวั่นเพราะกิจกรรมตอนเย็นถือเป็นกิจกรรมที่ทุกคนรอคอยรวมถึงชาวบ้านที่มาร่วมงานด้วย กิจกรรมในช่วงเย็นนี้เป็นกิจกรรมการแสดงของน้อง ๆ นักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ และการแสดงจากคณะสินไซ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาทำการแสดงเป็นชุดสุดท้าย ชาวบ้านที่สนใจก็นั่งปูเสื่อเพื่อชมการแสดงอยู่กลางลานวัด เป็นภาพของความเรียบง่าย บนพื้นฐานชีวิตของชาวอีสานบ้านเราที่รักการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นจารีต ตามฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่ชาวอีสานถือว่าการได้ร่วมทำบุญในฮีตต่าง ๆ เป็นบุญใหญ่ เป็นมหากุศลอย่างใหญ่หลวง อีกทั้งการได้มาร่วมทำบุญข้าวจี่ บุญเดือนสามในครั้งนี้ ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผู้เขียนอย่างมาก    นอกจากการฝึกประสบการณ์การทำงานในสำนักงานอย่างเดียว ผู้เขียนยังได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของพวกเราชาวอีสานให้คงอยู่สืบไป]]>