ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์

บทความโดย วิทยา วุฒิไธสง นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพโดย ณัฐวุฒิ จารุวงศ์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์

พระกริ่งและพะชัยวัฒน์เป็นตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์มาจากที่ใด เพาะอะไรพระคณาจารย์โบราณได้สร้างสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันหลักของพระพุทธศสานา พระพุทธศาสนาเป็นศสานาที่มีประชาชนศรัทธาและเคารพนับถือเป็นจำนวนมากศาสนาหนึ่ง โดยเฉพาะประชาชนในทวีปเอเชียองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็นพระพระบรมศาสดา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าได้ถึงวาระดับขันธ์ปรินิพพานมาแล้ว ๖๒๔ ปี บรรดา พุทธสาวกมีความเห็นแตกแยกกันในหลักคำสอนเมื่อมีเหตุผลดังนั้นพุทธสาวกทั้งหลาย จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อทำการสังคายนาในหลักคำสอนและได้เกิดความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยึดถือในการปฏิบัติและมีความเห็นว่าต้องยึดถือในพระวินัยอย่างเคร่งครัด จึงเกิด “นิกายลัทธิหินยาน” อีกฝ่ายมีความเห็นว่าต้องยึดหลัดพระอภิธรรมซึ่งไม่เคร่งครัดในด้านพระวินัย และถือว่าการกระทำด้วยเหตุผลและเป็นผลต่อการอนุเคราะห์ยกเว้นได้ ความเห็นเช่นนี้ทำให้เกิดเป็น “นิกายลัทธิมหายาน” ในลัทธิมหายานได้แปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งบดสวดมนต์เป็นภาษาของตัวเอง แต่ลัทธินิกายหินยานเป็นการยึดถือพระบาลีอย่างเคร่งครัด

พระพุทธเจ้าพระองค์ที่มีนามว่า “พระไภษัชยคุรุ” เป็นพระพุทธองค์ที่พุทธศาสนิชนที่นับถือลัทธิมหายานนับถือมากดังที่ปรากฏในข้อความหนังสือ “กำเนิดพระกริ่ง” ที่เขียนโดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ในหนังสือ “ชีวิต” ฉบับที่ ๕ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ความหมาย ตอนหนึ่งว่า “อันที่จริงพระกริ่งก็คือ พระปฏิมาพระไภษัชคุรุพุทธเจ้านั่นเองพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิ มหายานยิ่งนัก ปรากฏพระประวัติอยู่ ในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง คือ พระพุทธไภภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลประณิธานสูตร” สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระศากยมุนีพุทธเสด็จประทับ ณ กรุงเวสาลี สุขโฆสวิหาร พร้อมด้วยพระมหาสาวก ๔,๐๐๐ องค์ พระโพธิสัตว์ ๓๖,๐๐๐ องค์ และพระราชาธิบดี เสนาอำมาตย์ ตลอดจนปวงเทพโดยสมัยนั้นและพระมัญชุศรีผู้ธรรมราชาบุตร อาศัยพระพุทธภินิหารลุกขึ้นจากที่ประทับทำจีวรเฉลียงบ่าข้างหนึ่ง ลงคุกพระชาณุกับแผ่นดิน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระสมเด็จพระโลกนาถเจ้า ประคองอัญชลีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์โปรดประทานพระธรรมเทศนา พระพุทธนามและมหามูลปณิธานและคุณวิเศษอันโอฬารแห่ง ปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อยังผู้สดับพระธรรมกถานี้ ให้ได้รับหัตถประโยชน์บรรลุถุงสุขภูมิ” ความสุขในกาลใด ที่เราได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีสัตว์เหล่าใดที่ยากจนปราศจากอาภรณ์นุ่งห่ม อันความหนาวร้อนและเหลือบยุงเบียดเบือน ทั้งกลางวันและกลางคืน หากได้สดับนามแห่งเราและหมั่นรำลึกถึงเราไซร้ เราจักได้สิ่งที่ปรารถนาและจักบริบูรณ์ด้วยธนสารสมบัติสรรพอาภรณ์เครื่องประดับและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ ฯลฯ พระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ตรัสต่อไปว่า พรไภษัชยคุรุ มีพระโพธิสัตว์ผู้ใหญ่ ๑๒ องค์ คือพระสุริยไวโรจนะและพระจันทรไวโรจนะ เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ช่วยของพระไภษัชยคุรุพระพุทะเจ้าเบื้องปลายแห่งประสูติ ทรงแสดงอานิสงส์ของการบูชาพระไภษัชยคุรุว่า “ผู้ใดก็ดีได้บูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสแล้ว ก็เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปราศจากภัยบีฑา ไม่ฝันร้าย ศาสตราวุธทำอันตรายมิได้ยาพิษทำอันตรายมิได้ ฯลฯ” ในเวลาตรัสพระคาถา พระบรมศาสดาทรงพระทัยเข้าสมาธิ ชื่อ “สรวลสัตวทุกขภินทนาสมาธิ” ปรากฏรัศมีไพไรจน์ขึ้นเหนือพระเกตุมาลา แล้วจึงตรัสพระคาถามหาธารณี  

การกำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย

  ในพุทธศาสนาได้แบ่งเป็นลัทธินิกายใหญ่สองนิกาย ในพุทธศาสนาลัทธินิกายมหายาน พุทธสาวกได้เคารพและศรัทธาในพระพุทธเจ้าเพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง คือ พระไภษัชยคุรุ ซึ่งมีความปรารถนาในการที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ในโลก เมื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของพระไภษัชยคุรุได้ปรากฏ จึงเกิดการสร้างพระพุทธรูปไภษัชยคุรุขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเพื่อกราบไหว้สัการบูชาขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปที่สาวกลัทธินิกายมหายาน เคารพนับถือมากได้ปรากฏมีพระปฏิมาของพระไภษัชยคุรุบูชากันทั่วไปในวัดของ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ทิเบต เกาหลี เวียดนาม และประเทศเขมรและเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเทศไทยเพิ่งจะมาเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ เมื่อยุคกรุงสุโขทัย อาณาจักรศรีวิชัยซึ่งตั้งแคว้นอยู่บนคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ พ.ศ.๑๒๐๐ – ๑๗๐๐ รวมระยะ ๖๐๐ ปี เป็นอาณาจักรที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายในหมู่เกาะชวา มลายู จนมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนประเทศเขมรปรากฏมีพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและลัทธิพราหมณ์เจริญแข่งกันพระมหากษัตริย์ของประเทศเขมรหรือขอมในสมัยนั้นบางองค์เป็นพุทธมามกะบางองค์เป็นพราหมณ์มกะ ใน พ.ศ.๑๕๔๖ – ๑๕๙๒ “พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑”ซึ่งเป็นกษัตริย์เขมรที่ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้วมีพระนามว่า “พระบรมนิวารณบท” ลัทธิมหายานไม่เฟื่องฟูในสมัยพระองค์มากนักเนื่องจากสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยังมีกษัตริย์อีกพระองค์คือ “พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๔๘ พระองค์ทรงเป็นมหายานพุทธมามกะโดยแท้จริง ทรงพยามยามจรรโลงพุทธศาสนาลัทธิมหายานให้ซึมซับเข้าไปในจิตใจของประชาชนทรงเป็นพระมหาราชาธิราชองค์สุดท้ายของประเทศเขมร เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์และประเทศเขมรก็เข้าสู่ยุคเสื่อมพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระองค์ ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองใหม่ชื่อ “นครชัยศรี” คือปราสาทพระขรรค์สำหรับเป็นพุทธสถานประดิษฐานพระปฏิมาอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ อันเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณาซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันพระชนกแล้วทรงสร้างปราสาทตาพรหม ประดิษฐานพระปฏิมาปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์แห่งปัญญาอุทิศแด่พระวรราชมารดา มีจารึกว่าปราสาทตาพรหมเป็นอาวาสสำหรับพระมหาเถระ ๑๘ องค์และสำหรับพระภิกษุ ๑,๗๔๐ รูป แล้วทรงสร้างปราสาทบายนเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสนองพระองค์เอง

การปรากฏศิลาจารึกตาพรหมว่า “พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ได้สร้างโรงพยาบาลคือ “อโรคยาศาลา” เป็นทานทั่วพระราชอาณาจักรถึง ๑๐๒ แห่ง ด้วยทรงเคารพนับถือพระไภษัชยคุรุ ทรงพยายามอนุวัติตามพระพุทธจริยาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น นอกจากนั้นยังได้สร้างรูปพระปฏิมา “ชยพุทธมหานาถ” พระราชทานไปประดาฐานไว้ในเมืองอื่นๆ ๒๓ แห่ง ทรงสร้างธรรม ศาลา ขุดสระ สร้างถนนจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ “พระกริ่งปทุม” ของเขมรได้สร้างขึ้นอย่างแพร่หลายทุกยุคในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่ออุทิศบูชาแด่พระพุทธไภษัชยคุรุ และได้มีการสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ในการสร้างได้มีพิธีปลุกเสกประจุฤทธิ์เข้าไปตามกระบวนลัทธิมหายาน การปรากฏในพระพุทะไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาราชามูลปรณิธานสูตร พระกริ่งปทุมจึงมีฤทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังลัทธิพุทธมหายานเสื่อมสูญคติการสร้างพระกริ่งยังคงสืบทอดกันมา และกลับมาแพร่หลายในหมู่ชาวไทย ลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเขมร เพราะมีอาณาบริเวรประเทศติดต่อกัน แต่เมื่อนานเข้าก็ลืมประวัติเดิม วิการสร้างแบบเดิม เพราะพระสูตรมหายานเป็นภาษาสันสกฤตเลือนหายไปตามพุทธลัทธิมหายาน ต่อมาพระเกจิอาจารย์ท่านได้ดัดแปลงวิการสร้างใหม่ตามแบบไสยเวทมีการลงพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นที่โลหะซึ่งก็บังเกิดผลศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามาตรว่าทำขั้นตอนให้ถูกต้องตามพิธีกรรมใหม่นี้จริงๆส่วนเม็ดกริ่งในองค์พระนั้นน่าสันนิษฐานได้ ๒ ประการ โดยประการแรกเพื่อสัญลักษณ์แห่งพระพุทธภาวะ และประการที่สองตามคติที่ว่าถ้าได้สดับพระนามจะได้รับความโชคดีจึงได้บรรจุเม็ดกริ่งไว้เพราะเมื่อสั่นองค์พระจะได้บุญสองต่อผู้สั่นเท่ากับได้เจริญภาวนาถึงพระไภษัชยคุรุ ส่วนผู้ที่ได้ยินก็ได้รับบุญด้วย อนึ่งในบรรดาผู้นับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทะไภษัชยคุรุพบว่า พระกริ่งบางสมัยหรือบางสำนักเป็นพระพุทธรูปนั่งแบบปาง “มารวิชัย” พระหัตถ์ข้างซ้ายแทนที่จะถือ “วัชระ” กลับถือ บาตรน้ำมนต์ ผลสมอ ฯลฯ เหตุก็เพราะผู้สร้างคงมีประสงค์จะให้มีความหมายในทางบูชาแล้วป้องกันสรรพโรคาพาธและความอัปมงคล สำหรับประเทศไทย การสร้างพระกริ่งปรากฏเป็นหลักฐาน ก่อนยุครัตนโกสินทร์ มีบางท่านกล่าวอ้างว่า “ควรสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะมีตำราพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ” เป็นเครื่องมือแต่ “ตำราพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ” ได้มีการบันทึกไว้ในตอนท้ายของตำราว่า “เป็นพระยันต์ที่ใช้สำหรับลงหล่อพระพุทธรูปที่สำคัญ” แต่พระคณาจารย์ในยุคต่อมานำเอาพระยันต์ ๑๐๘ และนะ ๑๔ นะ มาลงผสมในหล่อโลหะเพื่อความขลังของพระกริ่งหรือพระชัยวัฒน์หล่อขึ้น

ส่วนพระกริ่งหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่า จะต้องถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดบวรนิเวศฯ ด้วยหลักฐานข้อมูล พิจารณา คือ ๑. ประการแรก จากคำบอกเล่าของผู้ที่เกิดทันสมัย (หมอสุภา มีทองคำ) ได้บอกกล่าวเล่าให้พระคุณหนุ (อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร) ฟังว่า “สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว ได้สร้างพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๑โดยจัดพิธีขึ้นบริเวณหน้ากุฏิคณะ ๑๑ สร้างครั้งแรกเพียง ๙ องค์หมายเลขกำกับทุกองค์” ๒. ประการที่สอง ในขณะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสฺเทว) ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๔๑ สมเด็จพระมหาสมรเจ้าพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาเยี่ยม เมื่อทรงทราบ รายละเอียดถึงพระอาการของโรคแล้วทรงรับสั่งว่า “เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯสมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ท่าน ทรงพระอธิษฐานอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำ ขอให้เป็นน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้อหิวาตกโรคกินหายปกติเป็นปกติ” ปรากฏว่าอาการป่วยค่อยทุเลาลงเป็นลำดับและหายเป็นปกติในที่สุด

ที่กล่าวมาทั้งหมดพระกริ่งได้มีวิวัฒนาการถือกำหนดขึ้น ณ สถานที่ใดก่อน ทั้งหมดที่เสนอมามิใช่ข้อยุติ เป็นเพียงข้อมูลและหลักฐานที่ผู้เขียนศึกษาค้นคว้าตามความสามารถเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คำบอกเล่าและการสันนิษฐานจากแหตุและผลเท่านั้น

]]>