ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตักบาตรดอกไม้ : อานิสงส์บุญแห่งการถวายพุทธบูชา ศรัทธาแห่งชาวพุทธ

บทความโดย คณิตตา คลังทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานวิจัย ศูนย์วัฒนธรรม

ประเพณีตักบาตรดอกไม้  เป็นงานบุญประเพณีประจำปีของชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยจะถือเอาวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หากปีใดเป็นปีอธิกมาสให้เลื่อนไปเดือนแปดหนสอง (วันเข้าพรรษา) เป็นช่วงวันเข้าพรรษาอยู่ในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกเข้าพรรษาเบิ่งบานพุทธศาสนิกชนจึงได้นำดอกเข้าพรรษามาร่วมในพิธีดังกล่าว ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง นายมาลาการสังเกตเห็นฉัพพรรณรังสี (“ฉัพพรรณรังสี” คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 6 สี คือ (1) สีนีละ – สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน หรือสีน้ำเงิน (2) สีปีตะ – สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง (3) สีโรหิตะ – สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน (4) สีโอทาตะ – สีขาวเงินยวง (5) สีมัญเชฏฐะ – สีแสดเหมือนหงอนไก่ (6) สีประภัสสร – สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน)) ฉายประกายรอบพระวรกาย จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง ตัดสินใจจะนำดอกมะลิที่มีไปถวายพระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแด่พระพุทธองค์สร้างอานิสงส์ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม นายมาลาการจึงได้โปรยดอกมะลิไปยังพระพุทธองค์ 2 กำมือ เกิดอภินิหารดอกมะลิลอยวนอยู่เหนือพระเศียร 3 รอบ แล้วรวมกันเป็นเพดานลอยเป็นแพคุ้มกันแดดแก่พระพุทธองค์ เมื่อโปรยอีก 2 กำมือ ดอกมะลิก็ลอยวน 3 รอบอีก แล้วไปรวมเป็นแพอยู่ทางด้านปฤษฎางค์ นายมาลาการได้โปรยมะลิอีก 2 กำมือ ดอกมะลิก็ลอยวนเวียน 3 รอบ แล้วไปรวมเป็นแพอยู่ทางด้านซ้ายพระหัตถ์ของพระพุทธองค์ แล้วมะลิทั้ง 8 กำมือก็หันขั้วเข้าหาพระวรกายพระพุทธองค์ และหันกลีบออกภายนอก เว้นเป็นช่องไว้ทางด้านหน้าสำหรับพุทธดำเนินเท่านั้น หลังจากนั้นนายมาลาการได้นำดอกมะลิหว่านโปรยบูชาพระพุทธองค์ เดินตามพระองค์ไป ซึ่งเป็นไปด้วยความปีติ 5 ประการ และได้เข้ายังพุทธรัศมีของพระองค์ จากนั้นจึงได้ก้มลงถวายบังคม ครั้นภรรยานายมาลาการทราบความก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้หลบหนีออกจากบ้านไป แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ได้ปูนบำเหน็จรางวัลความดีความชอบแก่นายมาลาการ นับแต่นั้นมา ชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข เรื่องราวจากพุทธตำนานนี้เองทำให้เกิดการตักบาตรดอกไม้ และ “ประเพณีตักบาตรดอกไม้” เป็นประจำทุกปีในวันเข้าพรรษา จวบจนกระทั่งปัจจุบัน ประเพณีตักบาตรดอกไม้ในประเทศไทย ปัจจุบันการตักบาตรดอกไม้ในประเทศไทย ปรากฏเป็นประเพณีถือปฏิบัติในวันเข้าพรรษาที่วัดหลายแห่งในภาคกลาง เช่นที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ วัดจินดามณี จ.สิงห์บุรี (ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวไทยพวนที่บ้านแป้ง ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “ประเพณียายดอกไม้”) และ ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา วัดพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ประเพณีตักบาตรดอกไม้แบบ “ท้องถิ่น” ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีชื่อเสียง โดยเฉพาะการนำ “ดอกเข้าพรรษา” หรือ “ดอกหงส์เหิน” (ลักษณะของดอกและเกสรเหมือนตัวหงส์ที่กำลังเหินบิน) มาทำบุญใส่บาตรพระภิกษุ ซึ่งตามจริงแล้วนั้นการนำดอกไม้ถวายพระหรือบูชาพระจะทำเมื่อใดก็ได้ แต่ที่ชาวพระพุทธบาทปฏิบัติกันเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา คือ เมื่อถึงฤดูฝนจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่งขึ้นตามเชิงเขา ดอกชนิดนี้มีลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือต้นขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ บางต้นก็มีดอกสีเหลือง บางต้นก็มีดอกสีขาว บางต้นก็มีดอกสีม่วง ดอกชนิดนี้จะขึ้นเฉพาะหน้าฝนเข้าพรรษาเท่านั้น ชาวบ้านจะเก็บดอกชนิดนี้มาถวายพระ และเรียกดอกนี้ว่า ดอกเข้าพรรษา

โดยสำหรับที่ วัดบวรนิเวศ ดอกไม้ที่ใช้ในประเพณี ตักบาตรดอกไม้จะมีความแตกต่างกับที่วัดพระพุทธบาท เพราะที่วัดบวรนิเวศนิยมใช้ ดอกบัว ใส่บาตร อันเนื่องมาจากในพุทธประวัติตอนต่างๆ มีการถวายดอกไม้เป็นประจำโดยเฉพาะดอกบัว และจากพุทธปาฏิหาริย์มักปรากฏดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาททุกย่างก้าวที่ พระองค์เสด็จไป โดยเฉพาะตอนประสูติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าดอกบัวมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงถือกันว่า ดอกบัวเป็นดอกไม้ประธานของดอกไม้ทั้งปวง แต่นอกจากดอกบัวแล้วก็ยังมีดอกไม้อื่นๆ ที่พุทธศาสนิกชนนำมาใส่บาตรด้วยเช่นกัน อาทิ ดอกกุหลาบ พุทธรักษา มะลิ กล้วยไม้ เบญจมาศ เป็นต้น ซึ่งก็เป็นไปตามความสะดวกและศรัทธาของแต่ละคน และเมื่อถึงเวลาเริ่มการตักบาตรดอกไม้ พระภิกษุสงฆ์จะสะพายย่ามค่อยๆ เดินเรียงแถวมารับบิณฑบาตดอกไม้ เมื่อพุทธศาสนิกชนใส่บาตรดอกไม้จนเต็มย่ามแล้ว ก็จะมีผู้ช่วยช่วยเอาดอกไม้ออกมาใส่รถเข็นหรือภาชนะที่ใหญ่รวมกันไว้ก่อน เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สามารถรับบิณฑบาตได้ครบทุกคน ส่วนในจังหวัดลพบุรี ก็มีประเพณีตักบาตรดอกไม้เช่นกันแต่จะเรียกประเพณีนี้ว่า ประเพณียายดอกไม้ โดยมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ มีวิถีความเป็นอยู่ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานานเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวเวียงจันทน์ ประเทศลาว บรรพบุรุษของชาวชุมชนบ้านแป้ง ซึ่งอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ได้…คำว่า “ยาย” นั้นเป็นสำเนียงที่เพี้ยนมาจากภาษาลาวจากคำว่า “หย่าย” ที่แปลว่า การแจกจ่ายหรือการให้ ดังนั้น คำว่า “ยายดอกไม้” จึงหมายถึงการให้หรือการถวายดอกไม้ให้แก่พระภิกษุสงฆ์เพื่อนำไปบูชาพระพุทธเจ้านั้นเอง ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยงานด้านส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้จัดประเพณีบุญเดือน 5 : แห่พุทธบูชาสมมาอาวุโส (งานสงกรานต์มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ภายใต้แนวคิด “ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่” ผสมผสานวัฒนธรรมประเพณี สืบสาน และอนุรักษ์คุณค่าอันดีงานของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการจัดงานได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากปีที่ผ่าน มาโดยในปีนี้ (2562) การจัดงานเริ่มในช่วงเวลาเย็น จัดให้มีกิจกรรมมากมาย อาทิ การทำบุญตักบาตร การประกวดขบวนแห่ การประกวดนางสังขาน การประกวดตบประทาย (ก่อเจดีย์ทราย) เป็นต้น ซึ่งการตักบาตรในช่วงเย็นนั้นหากเป็นการตักบาตรโดยทั่วไปแล้วประชาชนส่วนใหญ่ก็จะมักนำอาหารมาเพื่อร่วมตักบาตร แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวพระสงฆ์ไม่สามารถฉันท์ภัตตาหารได้เนื่องจากล่วงเลยเวลาแล้วนั้น จึงแนวความคิดในการนำประเพณีการตักบาตรดอกไม้เพื่อเป็นกิจกรรมในการน้อมนำกุศลบุญ พร้อมร่วมใจนำดอกไม้มาประดับตกแต่งยังเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาอีกด้วย
อ้างอิง :
ประคอง นิมมานเหมินทร์ 2542 : 2255 ; คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2544 : 168-172
https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=45
https://www.stou.ac.th/Offices/rdec/nakornnayok/Main/OnlineExhibitions/Saraburi/SaraburiPage1.html
ภาพประกอบ
http://www.yaikintiew.com/blogs/464
http://www.ecpms.net/g478kex8?key=0f22c1fd609f13cb7947c8cabfe1a90d&psid=14270953
http://www.madchima.org/forum/index.php?action=profile;u=2;area=showposts;sa=topics;wap2;start=2065
]]>