“สินไซ บุญข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน ประจำปี 2562” เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2562 ณ วัดไชยศรี ต.สาวะถี จ.ขอนแก่น ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมมอบเกียรติบัตรให้กับเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม โดยมี อ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา รักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมในกิจกรรม โดยกิจกรรมเริ่มด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก “พระครูบุญชยากร” เจ้าอาวาสวัดไชยศรี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยวิทยากรท้องถิ่นร่วมกันบอกเล่าวิถีความเป็นมา และการปรับตัวของชุมชนให้เข้ากับยุคสมัยโดยไม่ละทิ้งสิ่งที่เรียกว่าประเพณี พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานจากองค์ความรู้ท้องถิ่น โดยฐานการเรียนรู้มีทั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนสาวะถี และแหล่งเรียนรู้ภายในวัดไชยศรี อาทิ ฐานการเรียนรู้หมอลำ ฐานการเรียนรู้ฮูปแต้ม ฐานการเรียนรู้ข้าวจี่ ฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ ฐานการเรียนรู้โนนเมือง ฐานการเรียนรู้เหล่าพระเจ้า ฐานการเรียนรู้ปู่ตา ฐานการเรียนรู้บายศรี [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="6565,6570,6575,6574,6569,6571,6572,6573,6568,6567,6566,6564,6563,6562"] จากนั้นเป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานจากโรงเรียนสาวะถีพิทยาสรรค์ โรงเรียนนครขอนแก่น และวงโปงลางสินไซ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกันนี้ นักศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="6589,6587,6585,6584,6582,6583,6588,6586,6599,6598,6590,6597,6596,6594,6591,6592,6593,6581,6580,6579,6578,6577"] ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ตั้งแต่เวลา 04.00 น. ชาวบ้านชุมชนสาวะถี และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันปั้นข้าวจี่สามัคคีตุ้มโฮม พร้อมนำข้าวจี่เหล่านั้นไปทำบุญตักบาตร และการแสดงหมอลำพันปี จากศิลปินพื้นบ้านและศิลปินในชุมชน และพิธีทำบุญตักบาตรข้าวจี่ [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="6608,6614,6613,6612,6611,6610,6609,6607,6606,6605,6604,6603,6602,6601"] สำหรับ บุญข้าวจี่ งานบุญเดือน 3 ในประเพณี ฮีต 12 คอง 14 จารีต และสิ่งดีงามที่ชาวอีสานถือปฏิบัติ และร่วมสืบทอดกันมานับร้อยนับพันปี ถือเป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษที่สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน โดยบุญข้าวจี่จะจัดขึ้น ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะร่วมกันปั้นข้าวจี่ในช่วงเช้าตรู่ และตักบาตรข้าวจี่นั้นแก่พระสงฆ์ โดยเฉพาะงาน “สินไซ บุญข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยร่วมกับเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการผลักดันกลไกลการขับเคลื่อนศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรม เป็นแนวคิดเชิงนโยบายที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นทุนทางศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามในอดีตที่ถูกหลงลืม ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ด้วยการหยิบยกประเพณีที่ดีงามในอดีตที่ถูกหลงลืม ด้วยการฟื้นฟู ค้นหาคุณค่าและความหมายที่ซ่อนอยู่ สู่การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย
– ความเป็นมาของบุญข้าวจี่ –
มีเรื่องเล่าในพระธรรมบทได้กล่าวไว้ว่า นางปุณณทาสี นางทาสผู้คอยรับใช้เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ในวันหนึ่งเศรษฐีได้ให้นางซ้อมข้าว ซึ่งมีจำนวนมากเหลือเกิน นางปุณณทาสีซ้อมข้าวตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นอย่างไม่หยุดหย่อน ด้วยความเหน็ดเหนื่อย และหิวโหยยิ่งนัก จึงใช้รำข้าวที่เหลือเศษจากการซ้อมข้าว ป่นเป็นแป้งจี่แล้วนำไปเผาไฟจนสุก เพื่อประทังความหิวโหย จากนั้นนางได้ออกเดินเพื่อที่จะไปตักน้ำในลำธาร ระหว่างทางได้พบกับองค์พระศาสดา นางเกิดความเลื่อมใสในบุญบารมีขององค์พระศาสดา และคิดว่าไม่ได้ทำบุญไว้แต่ชาติปางก่อนและในชาตินี้ก็ยังไม่ได้ทำกุศลใดๆ เลย จึงนำแป้งจี่ไปถวายแด่องค์พระศาสดา ด้วยความเป็นนางทาส เป็นคนที่ยากจนข้นแค้น ในใจจึงเกรงว่าองค์พระศาสดาจะไม่เสวยเพราะเป็นเพียงแป้งป่นแห้งๆ ที่ไม่มีคุณค่าใด แต่พระพุทธองค์ทราบถึงความตั้งใจของนางตลอดมา จึงได้เสวยแป้งจี่นั้นต่อหน้านาง เมื่อเสวยเสร็จแล้วโปรดอนุโมทนากถาแก่นาง จนสำเร็จโสดาปัตติผล ด้วยอานิสงฆ์นางจึงไปเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนาจะทำข้าวจี่ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสร้างบุญบารมี
]]>