ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สินไซบุญข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน

โดย ศิรเมศร์ พิทยาธรดรรชนี นักศึกษาฝึกประสบการณ์

ถ้าหากเราได้พูดถึงงานบุญในภาคอีสานอย่างที่เราไม่รู้จัก เพราะเพียงเราไม่ใช่คนในพื้นที่ภาคอีสาน แต่เราได้เข้ามาสัมผัสและทราบถึงรายละเอียดต่างๆของงานบุญ ประเพณี วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมต่างๆ นับได้ว่าสิ่งเหล่านี้ได้ซ่อนอะไรหลายอย่าง ทั้งความความงดความของกาลเวลาที่แม้เวลาจะแปรเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือการสืบทอดประเพณีอันดีงามยังคงอยู่ สืบต่อกันมาในหลายชั่วอายุคนจากบรรพบุรุพ จนถึงปัจจุบันลุกหลายยังคงได้รับความงดงามทางวัฒนธรรมเหล่านั้น และ ยังคงปฏิบัติต่อกันอยู่ และอีกสิ่งในงานบุญซึ่งเป็นภาษาติดปากที่ชาวบ้านได้เรียกกัน ที่เราได้เข้าไปสัมผัสและพบเห็น คือความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านในพื้นที่ ที่เข้ามาช่วยกันในงานบุญ มีความสมัครสมานสามัคคีที่จะร่วมให้งานสำเร็จเสร็จสิ้น บุญข้าวจี่ เป็นอีกประเพณีหนึ่งในสิบสองประเพณีของชาวภาคอีสาน หรือ ที่ชาวภาคอีสานเรียกกันว่า ฮีต 12 คลอง 14 ถือได้ว่าเป็นมรดกทางประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน และเป็นอีกสิ่งที่หาไม่ได้ในภูมิภาคอื่นๆ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานมีการธำรงอาชีพเกษตรกรรม ตามสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง จึงมีการทำบุญมีประเพณี เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขตามความเชื่อของชาวภาคอีสาน จะมีการจัดบุญประจำทุกๆเดือน ส่งผลให้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ถูกส่งต่อตั้งแต่ อดีตมาถึงปัจจุบันยังคงพบเห็น ฮีต 12 คลอง 14 ในภาคอีสาน บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญที่ถูกจัดขึ้นในเดือนสาม ภายหลังจากการทำบุญวันมาฆะบูชา จะเป็นการร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านและในชุมชน นำข้าวจี่  คือ ข้าวเหนียวนึ่งสุก นำมาปั้นเป็นก้อนกลม สอดไส้น้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาล คลุกเคล้าปรุงรสชาติด้วยเกลือ เสียบไม้ ย่าง ชุบไข่ไก่ซึ่งตีไว้เคล้าให้เข้ากัน การทำข้าวจี่นี้ชาวบ้านจะทำตั้งแต่เช้ามือจนสว่างและนำมาถวายพระ บุญข้าวจี่เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ยังคงอยู่สืบสานต่อกันมา ไม่ใช่ประเพณีที่ถูกวางไว้ตั้งไว้และแตะต้องไม่ได้ถ้าหากเป็นเช่นนั้น ประเพณีนี้ถูกแช่แข็งไว้ คนรุ่นหลังจะไม่สามารถได้เห็นความงดงามของวัฒนธรรมที่คนรุ่นก่อนๆได้ทำไว้ การแปรผันแปรเปลี่ยนของกาลเวลา แม้ว่าเวลาจะเปลี่ยนไปประเพณีเหล่าอาจจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังคงอยู่ และนี่คือความสวยงามโดยไม่ต้องรังสรรค์หรือประดิษฐ์มากมาย  และแม้ว่าสิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ อาจจะคงปฏิบัติอยู่ อาจจะแค่ในชุมชน ในตำบล ในภูมิภาค แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ถ้าหากประเพณีนี้ได้ถูกถ่ายทอดให้คนภูมิภาคอื่นๆได้รับรู้ความงดงามของประเพณี วิธีขั้นตอนการทำ การลงมือปฏิบัติ อีก 500 ปีผ่านไป ประเพณีนี้ก็ยังจะคงอยู่สืบต่อไป ดังนั้นแล้วเรามีสิ่งที่งดงามทางวัฒนธรรมแล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักของคนของคนต่างภูมิภาค ของคนในประเทศไม่ใช่แค่คนในภูมิภาคหรือ ชุมชนเท่านั้น การได้ไป สัมผัสกับประเพณีบุญข้าวจี่ ที่บ้านสาวะถี ต.สาวถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ทำให้เห็นถึงความงดงามทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถได้พบเห็นในภาคอื่นๆ ถ้าคุณคิดถึงวัดคือ  คือการแค่ ทำบุญสวดมนต์ ตักบาตรแล้วละก็อาจจะเข้าใจผิดไป เพราะในภาคอีสานมี ประเพณีในทุกๆเดือน สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่ยังคงอยู่]]>