อุทัยทอง จันทร์กรณ์
นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2471 ที่บ้านโนนคูณ (เดิมขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์) ณ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อครั้งเยาว์วัยอยู่นั้น เคยไปชมมหรสพงานต่างๆ ได้แก่ หนังประโมทัย หมอลำ ลิเก และหลังจากได้ชมมหรสพแล้ว เด็กชายอุทัยทอง มักจะนำลีลาท่าทางที่ได้ชมมาแสดงให้บิดามารดาและพี่น้องชม เช่น การรำท่าต่างๆ และสามารถทำได้อย่างอ่อนช้อยงดงาม ถือว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์ในด้านการแสดงแต่ก็ไมได้มีโอกาสศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง ด้วยมีฐานะยากจนจึงได้บวชเรียนเพื่อศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นและเป็นคนที่มีความสารถสูงจึงสามารถอ่านออกเขียนได้แตกฉานในเวลาอันรวดเร็วกว่าเณรรุ่นเดียวกัน แต่เพราะความรักในศิลปะทุกแขนง ถึงแม้ไมได้แสดงในการฟ้อนรำได้ แต่ก็มีสิ่งทดแทนคือการแสดงออกในด้านฝีมือ ทั้งการวาดและการแกะสลักซึ่งมีวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ท่านได้ฝึกปรือฝีมือการวาดและแกะสลักควบคู่กับการเรียนจนมีฝีมือเป็นที่ยอมรับของผู้ได้พบเห็นเมื่อลาสิขาบทได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศลาว และได้เข้ารับราชการที่นครหลวงเวียงจันทร์ เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนศิลปกรรมที่เวียงจันทร์ ในปี 2501 ในระยะที่ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแกะสลักเอาไว้มากมาย ทั้งที่ปรากฏอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผลงานของท่านมีหลากหลายโดยเฉพาะส่วนใหญ่เป็นงานประติมากรรมซึ่งมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยใช้ลวดลายเครืออีสาน ผสานเรื่องราว ที่ได้หยิบยกตำนาน ความเชื่อ ในวรรณกรรมอีสานและพุทธศาสนานำเสนอได้อย่างน่าสนใจด้วยความสามารถเป็นที่ยอมรับในรัฐบาลลาวได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้แทนประเทศลาว ไปตกแต่งซุ้มของประเทศลาวในงานเอกซ์โป 1790 ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมภรณ์จากรัฐบาลลาว และยังได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านศิลปกรรมในราชสำนักลาว และหัวหน้ากองวิชาการโบราณคดีในฐานะที่เป็นครูสอนสิลปะท่านมีลูกศิษย์จำนวนมากในประเทศลาวและในประเทศไทยนายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ นอกจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญในด้านประติมากรรมและจิตรกรรแล้วยังมีความสามารถในด้านการลำและวรรณกรรมพื้นบ้าน ภาษาไทยน้อย และอักษรธรรม และเครื่องดนตรีต่างๆมีการไปแสดงที่ต่างประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถสูงทางด้านประวัติศาสตร์ ทำให้ผลงานของท่านมีมากมายทั้งในเวียงจันทร์และประเทศไทย(อีสาน) ถือได้ว่าเป็นมรดกชิ้นสำคัญ ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาผ่านผลงานศิลปกรรมของท่าน
นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ ได้เสียชีวิตลงเมื่อ พุทธศักราช2545 ด้วยวัย65 ปี ถึงแม้ว่าวันนี้ท่านจะได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยชีวิตและผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์แล้ว่า ได้มีคุณูปการก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายต่อสังคม และวงการศิลปกรรมร่วมสมัย นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมแกะสลักไม้) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2550 จากสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น