ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บุญหมั่น คำสะอาด (จิตรกรรม)

EmbeddedImage (2)

บุญหมั่น คำสะอาด

นายบุญหมั่น คำสะอาด เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2482 ณ จังหวัดมหาสารคาม เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านการวาดรูป

และขีดเขียนตั้งแต่ยังเด็กๆ ด้วยความชื่อชอบในงานศิลปะจึงได้เข้าศึกษาทางศิลปกรรมที่โรงเรียนเพาะช่างพอจบการศึกษา ในปี

พุทธศักราช 2505 ได้เข้ารับราชการเป็นครูสอนที่โรงเรียนการช่างสตรีมหาสารคาม(วิทยาลัยอาชีวศึกษาในปัจจุบัน)ในตำแหน่งครูวาดเขียนด้วยความที่ท่านเป็นคนทีความมุ่งมั่นจึงได้สั่งสอนศิษย์ที่มีคุณภาพออกมาหลายรุ่นอีกทั้งยังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายอย่างต่อเนื่อง ผลงานของท่านมีลักษณะเฉพาะตัว โดยใช้ลวดลานเครืออีสาน ผสานผ่านเรื่องราว ที่ได้หยิบยกตำนานความเชื่อ ในวิถีท้องถิ่นมานำเสนอได้อย่างน่าสนใจ ผลจากการทุ่มเทได้ทำให้ท่านได้รับรางวัล ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อนนายบุญหมั่น คำสะอาด นอกจากเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญในตำนานจิตกรรมแล้ว ยังมีความสามารถในดานการลำและวรรณกรรมพื้นบ้าน มีผลงานการแต่งหนังสือ อาทิ อดีต กลอนลำปรัชญาอีสาน ลายไทยอีสาน ภาษาอีสานแปลเป็นภาษาไทยเป็นต้น นอกจากนั้นความเป็นผู้ที่ชอบเก็บรวบรวมสะสมโบราณวัตถุ สิ่งของที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัตถุสิ่งของพื้นบ้าน โดยเฉพาะเขาสัตว์ ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตอีสาน จึงเป็นที่มาของพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน มรดกชิ้นสำคัญที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษารากเหง้าของบรรพชน ผ่านวัตถุสิ่งของที่จัดแสดง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียนได้รับหารปรับปรุงโฉมใหม่โดยภรรยาและลูกๆพร้อมที่จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ในเร็ววันนี้

นายบุญหมั่น คำสะอาด ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 26 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2544 ด้วยวัย 63 ปี ถึงแม้วันนี้ท่านจะได้เสียชีวิตไปแล้วแต่ด้วยชีวิตและผลงาน เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ได้มีคุณูปการก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อสังคม และวงการศิลปะร่วมสมัยอีสาน

นายบุญหมั่น คำสะอาด จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2548จากสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ไว้เป็นเกียรติประวัติแด่ครอบครัวคำสะอาดต่อไป