บุญตา ภูวงษ์นาม
นายบุญตา ภูวงษ์นาม เกิดเมื่อพุทธศักราช 2496 ที่บ้านโคกกลางใหญ่ ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดศรีตาลเรือง หลังจบการศึกษาแล้วมาเป็นคนเลี้ยงควายใช่ชีวิตอยู่ในท้องทุ่งเป็นสวนใหญ่ เมื่อครั้งยังเป็นเด็กเคยฝึกเล่นลิเก กับคณะในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นคณะลิเกสมัครเล่น แสดงเรื่อง “ สุริยวงศ์” โดยแสดงเป็น “ สาวสนม” ออกแสดงรับจ้างบางในบางโอกาส นับเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจที่ยากมาแสดงหมอลำในระยะหลัง ราวพุทธศักราช 2485
เมื่ออายุย่างเข้า 20 ปีจึงได้เริ่มหัดลำเป็นครั้งแรก เป็นการเรียนรู้แบบครูพักลักจำ เมื่ออายุได้ 24 ปี ด้วยความเป็นนักร้างสรรค์อยู่ในตัวเองเลยมีความคิดที่อยากตั้งคณะหมอลำของตัวเองขึ้นจึงรวมกับเพื่อนอีก 2 คน คือนายประพันธ์ ผาอินยวน และนายตำ ดอนน้อมโม้ รวมตัวกันตั้งคณะขึ้น และเชิญชวนลูกพี่ลูกน้อง และญาติมิตรในหมู่บ้านมาฝึกซ้อมเป็นนักแสดง เรื่องที่นำมาฝึกซ้อมและออกแสดงมีอยู่เพียงเรื่องเดียวคือ “ สินไช” ซึ่งได้ชื่อหากลอนลำสินไซมาจากร้านคลังนานาธรรมในสมัยนั้นโดยติดใจเนื้อหาที่มีความสนุกสนานสอดแทรกคติ อีกทั้งตัวละครในสินไซ มีมาก จึงเลือกเรื่องสินไซเป็นเรื่องแสดงหลัก และเป็นเรื่องเดียวที่ใช่แสดงตลอดมาชาวจึงมากเรียกติดปากว่าหมอลำสินไซ แต่ชื่อคณะที่แท้จริงคือคณะ “บุญตาประพันธ์ศิลป์”
แรงบันดาลใจในการเลือกสินไซมาเป็นเรื่องที่นำเสนอเพียงเรื่องเดียว เพราะเห็นว่ามีความสนุกเหมาะที่จะเป็นหมอลำที่คนดูนิยม โดยได้นำมาเรียบเรียงเปรียบเทียบกับภาพเขียนที่ปรากฏอยู่บนผนังสิมวัดศรีตาลเรืองซึ่งนายบุญตามีความคุ้นเคยเมื่อครั้งที่บวชเป็นพระ จากรูปเขียนสินไซจึงได้ประยุกต์มาใช่แบบเครื่องแต่งกายในหมอลำสินไซและยังได้ประยุกต์เพิ่มเติมเข้ากับสมัยนิยม คือรูปแบบการแต่งกายที่แหวงแนวจากประเพรีนิยมผสมแบบสากลนิยม คือการนุ่งเสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น (ขาสามส่วน) นับว่าเป็นสิ่งที่สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากในยุคสมัยนั้น หมอลำสินไซ จึงทุกเรียกจากคนดูอีกอย่างหนึ่งว่า “หมอลำกกขาขาว” หลังจากฝึกซ้อมการแสดงกว่าหนึ่งปีจึงได้ออกแสดงเป็นครั้งแรกที่วัดศรีตาลเรือง ในงานบุญสังฆทาน และหลังจากนั้นก็มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่องที่สำคัญได้โอกาสไปแสดงที่นครเวียงจันทร์ ในระยะแรกนั้นการแสดงไดดำเดินไปร่วม 10 ปี สมาชิกส่วนหนึ่งได้แยกย้ายไปมีคู่ครองจึงได้ปิดตัวลง ถึงพุทธศักราช 2500 จึงได้รวมตัวกันอีกครั้งในยุคฟื้นฟูในยุคนี้หมอลำสินไซ เป็นรูปแบบการแสดงพื้นบ้านประยุกต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง นับเป็นความฟื้นฟูที่สุดของหมอลำสินไซก็ว่าได้จนมีคณะหมอลำสินไซหลายคณะเกิดขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์ลูกหลานของนายบุญตาและทีมงาน
หมอลำคณะบุญตาประพันธ์ศิลป์ มีทั้งสิ้นรวม 10 คณะ จากความนิยมดังกล่าวคณะบุญตาประพันธ์ศิลป์จึงได้มีประกาศออกตระเวนแสดงไปในหลายจังหวัดอัจฉริยภาพของบุญตา ภูวงษ์นาม ในด้านศิลปะการแสดง คือผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่ารำที่มีรูปแบบเฉพาะซึ่งเกิดจากการประผสมศิลปะนาฏศิลป์ลิเก รำโทน และหมอลำ เข้าด้วยกนอย่างกลมกลืนเป็นรูปแบบใหม่ ในด้านเครื่องแต่งกายได้ประยุกต์เข้ากับแนวสากลนิยมจนเป็นสิ่งแปลกใหม่กระตุ้นเร้าความสนใจของคนดูเป็นยิ่งนัก ในความเป็นนักบุกเบิกริเริ่ม สร้างสรรค์แสดงหมอลำแนวประยุกต์นี้ ได้นำความสำเร็จมาสู่นายบุญตา ภูวงษ์นาม ในช่วงวัยหนุ่มของอาชีพศิลปิน รวมการแสดงหมอลำอาชีพกว่า 50 ปี นับเป็นผู้มีความสามารถในความเป็นต้นแบบ เป็นผู้ยึดมันในธรรมจริยธรรมที่ดีงามแนวทางการประพฤติปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีต่อทีมงานตามครรลอง ฮีตคองอีสานอย่างเข้มงวด ด้วยจิตวิญญาณของศิลปินที่แท้ ปัจจุบันนายบุญตา ภูวงษ์นามเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ที่รอวันให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปต่อยอดองค์ความรู้ ที่นับวันจะสูญหาย ด้วยความยิ่งดีเป็นผู้ถ่ายทอดที่ไม่หวังสินจ้างใดๆ
นายบุญตา ภูวงษ์นาม จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสานสาขาศิลปะการแสดง (ลำสินไซ) ประจำปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น