โดยกิจกรรมเริ่มด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก “พระครูบุญชยากร” เจ้าอาวาสวัดไชยศรี ในประเด็นการเรียนรู้ศฺลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและการเชื่อมโยงสู่การพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ต่อด้วยการเสวนาวัฒนธรรมในประเด็นสินไซ บุญข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน โดยวิทยากรผู้มากประสบการณ์ นำโดย พระครูบุญชยากร เจ้าอาวาสวัดไชยศรี ผศ.ชอบ ดีสวนโคก อดีตผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยายลัยขอนแก่น ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยายลัยขอนแก่น โดยมี นายวรศักดิ์ วรยศ นักวิชาการวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมกันบอกเล่าวิถีความเป็นมา และการปรับตัวของชุมชนให้เข้ากับยุคสมัยโดยไม่ละทิ้งสิ่งที่เรียกว่าประเพณี พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานจากองค์ความรู้ท้องถิ่น โดยฐานการเรียนรู้มีทั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนสาวะถี และแหล่งเรียนรู้ภายในวัดไชยศรี อาทิ ฐานการเรียนรู้หมอลำ ฐานการเรียนรู้ฮูปแต้ม ฐานการเรียนรู้บายศรี จากนั้นเป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานจากวงโปงลางสินไซ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="8909,8914,8913,8912,8911,8910,8898"]นอกจากนี้ยังมีการระดมสร้างสรรค์และเขียนผ้าผะเหวดโดยอาศัยแนวคิดจากฮูปแต้มวัดไชยศรี โดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการเขียนผ้าถวายผะเหวดจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ ประกอบด้วย ๑) กัณฑ์ทศพร ๒) กัณฑ์หิมพานต์ ๓) กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๔) กัณฑ์วนปเวศน์ ๕) กัณฑ์ชูชก ๖) กัณฑ์จุลพน ๗) กัณฑ์มหาพน ๘) กัณฑ์กุมาร ๙) กัณฑ์มัทรี ๑๐) กัณฑ์สักบรรพ ๑๑) กัณฑ์มหาราช ๑๓) กัณฑ์ฉกษัตริย์ และ ๑๓) กัณฑ์นครกัณฑ์ มีวิธีการเขียนโดยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในความถนัดด้านศิลปะที่แตกต่างกันออกไป เช่น การเขียนประติมากรรม การทำภาพพิมพ์ เป็นต้น นอกจากนี้ทุกคนจะต้องมีพื้นฐานความสามารถในการเขียนรูปได้ โดยใช้ความรู้ทัศนธาตุ (Elements of art) ในเรื่องของเส้น สี องค์ประกอบ รูปแบบและรูปทรง มีเทคนิคในการหยิบยืมวัฒนธรรมในท้องถิ่น มาสร้างเป็นนวัตกรรม ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเรียนรู้ศิลปะพื้นถิ่นของอีสาน คือ กิจกรรมฝาผนังภายในสิม หรือ ฮูปแต้ม จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเขียนผ้าถวายพระเวส เป็นสิ่งประจำท้องถิ่นของคนอีสาน ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ การวาด และสามารถนำไปใช้งานได้จริง สามารถนำมาประยุกต์เนื้อหาเกี่ยวกับมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นมหาชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ใช้ในการถวายในช่วงเช้า วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เพื่อเป็นกุศลผลบุญในครั้งนี้ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
[gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="8916,8919,8917,8918,8922,8921,8923,8925,8924,8915"]ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ น. ชาวบ้านชุมชนสาวะถี และฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศูนย์วัฒนธรรม พร้อมเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม โดยมี พระครูบุญชยากร เจ้าอาวาสวัดไชยศรี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โดยมี รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมเป็นเกียรติและถวายผ้าผะเหวด ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์โดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมด้วย อ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ ผศ.เขม เคนโคก รักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม อ.ดร.ปิยนัส สุดี รักษาการแทน รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักเรียน นักศึกษา และเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมจากชุมชนในเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมในกิจกรรม โดยมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตรข้าวจี่ ฟังหมอลำพันปั และพิธีถวายผ้าผะเหวด
[gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="8929,8898,8899,8900,8928,8927"]สำหรับ บุญข้าวจี่ งานบุญเดือน ๓ ในประเพณี ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ จารีต และสิ่งดีงามที่ชาวอีสานถือปฏิบัติ และร่วมสืบทอดกันมานับร้อยนับพันปี ถือเป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษที่สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน โดยบุญข้าวจี่จะจัดขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะร่วมกันปั้นข้าวจี่ในช่วงเช้าตรู่ และตักบาตรข้าวจี่นั้นแก่พระสงฆ์ โดยเฉพาะงาน “สินไซ บุญข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยร่วมกับเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการผลักดันกลไกลการขับเคลื่อนศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรม เป็นแนวคิดเชิงนโยบายที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นทุนทางศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามในอดีตที่ถูกหลงลืม ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ด้วยการหยิบยกประเพณีที่ดีงามในอดีตที่ถูกหลงลืม ด้วยการฟื้นฟู ค้นหาคุณค่าและความหมายที่ซ่อนอยู่ สู่การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย
]]>