ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

[สกู๊ป] "สะออนเสียงลำ ลำนำเสียงแคน"

โดย ณัฐวุฒิ จารุวงศ์ ร่วมด้วย คณิตตา คลังทอง สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อกว่าวถึงวลีที่ว่า “เมืองเสียงแคนดอกคูณ” คำตอบที่ผู้คนเชื่อมโยงและนึกถึงเป็นลำดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น “ขอนแก่น” สิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์และความเป็นขอนแก่นคือประเพณีและวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานเทศกาลอันยิ่งใหญ่ที่หลอมรวมศิลปวัฒนธรรมและวัฒนธรรมให้เข้ากับความร่วมสมัยในระดับนานาชาติคืองานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ในงานมีกิจกรรมมากมายทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความบันเทิง ในแบบฉบับของชาวอีสาน โดยเฉพาะการจัดประกวดที่สะท้อนความหลากหลายในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน อาทิ การประกวดพานบายศรี กลองยาว สรภัญญ์ทำนองอีสาน โปงลาง รวมภึงการสาธิตด้านศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ และอีกหนึ่งไฮไลท์การประกวดที่สำคัญของงานคืดการประกวด “เดี่ยวแคน” ซึ่งการประกวดนี้ได้จัดขึ้นในช่วงระยะหนึ่งและห่างหายไปในปัจจุบัน ในปี 2560 นี้ ภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่นนำโอกาสอันดีนี้ร่วมฟื้นฟูสิ่งที่ห่างหายจากเวทีแห่งนี้ไปเนิ่นนานให้กลับมาโลดแล่นในงานเทศกาลไหมฯ อีกครั้งหนึ่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสำนักวัฒนธรรม และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จับมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ร่วมฟื้นฟูการประกวด “เดี่ยวแคน” ภายในคุ้มวัฒนธรรม ในงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น โดยในปี 2560 ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2560 การประกวดเดี่ยวแคนได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ห่างหายไปจากเวทีคุ้มวัฒนธรรมเนิ่นนานหลายปี [caption id="attachment_3278" align="aligncenter" width="640"]นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผ้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผ้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม[/caption] นายบัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ รักษาการในตำแหน่งผ้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กล่าวถึงที่มาของการจัดการประกวดและวัตถุประสงค์ว่า การจัดการประกวดเดี่ยวแคนในงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2559 อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าขอนแก่นเป็นดินแดนแห่งเสียงแคนดอกคูณ ซึ่งก็อยากให้เสียงแคนดังไปทั่วแผ่นดิน โดยการประกวดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเยาวชนและประชาชนทั่วไป อยากให้เยาวชนได้ร่วมสืบสานความเป็นหมอแคนของเมืองหมอแคน ส่วนประชาชนทั่วไปก็จะได้มีเวทีในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของขอนแก่นและอีสานจึงได้มีการประกวดในครั้งนี้ขึ้นมา โดยในปีนี้เป็นการฟื้นเวทีการประกกวดเดี่ยวแคนขึ้นมาอีกครั้งที่จัดในงานไหมฯ หลังจากที่หายไปหลายปีซึ่งในปีนี้เป็นปีเริ่มต้นก็จะพิจารณาว่าได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมงานมากน้อยเพียงใด ในปีต่อๆ ไปจะมีการพัฒนา เพิ่มความอลังการ ยิ่งใหญ่ให้มากยิ่งขึ้น การจัดประกวดเดี่ยวแคนในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประกวดการเดี่ยวแคน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ภายในจังหวัดขอนแก่น อาทิ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด สถาบันการศึกษาที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน รวมไปถึงชุมชนใกล้เคียง นายบัญชา พระพล กล่าวเพิ่มเติมถึงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เล็งเห็นความสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรมให้มีมิติที่หลากหลายยิ่งขึ้น “ความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมภายในคุ้มวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จึงได้เชิญสถาบันการศึกษาภายในจังหวัดขอนแก่นเข้ามามีบทบาท โดยแบ่งกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเข้ามานำเสนอ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ประสานกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบการจัดประกวดการเดี่ยวแคน ส่วนสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้แบ่งการจัดกิจกรรม การประกวด และการสาธิตเกิดการมีส่วนร่วมของทั้งจังหวัดขอนแก่น” [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="3269,3268,3267,3266,3265,3264,3263"] สำหรับการประกวด “เดี่ยวแคน” แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และประเภทประชาชนทั่วไป โดยเกณฑ์การประกวดคณะกรรมการจะพิจารณาจากความไพเราะ เทคนิคการนำเสนอ ความถูกต้องเหมาะสม ลีลาในการเป่าแคน รวมถึงการรักษาเวลา โดนผู้เข้าประกวดแต่ละท่านจะมีเวลาทั้งสิ้น 10 นาทีในการเป่าแคนซึ่งมีการกำหนดไว้ 2 ลาย คือลายสุดสะแนนซึ่งเป็นลายชั้นครูของการเป่าแคน และลายตามถนัดของผู้เข้าประกวด [caption id="attachment_3277" align="aligncenter" width="640"]อ.อาทิตย์ กระจ่างศรี อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.อาทิตย์ กระจ่างศรี อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์[/caption] อ.อาทิตย์ กระจ่างศรี อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะกรรมการตัดสินการประกวด ได้เล่าถึงแนวทางการตัดสินและการพิจารณาท่วงทำนองลายแคน ลีลา รวมถึงเทคนิคของหมอแคนแต่ละท่านที่จะสามารถเอาชนะใจคณะกรรมการว่า การตัดสินการประกวดเดี่ยวแคนในครั้งนี้ได้มีการกำหนดเกณฑ์จะพิจารณาความไพเราะ เทคนิคในการเป่า หากหมอแคนท่านใดมีความสามารถในการประยุกต์ หรือเสริมลายต่างๆ ให้มีความไพเราะส่วนนี้ก็จะได้รับการพิจารณาการให้คะแนนเช่นกัน ส่วนลีลาในการเป่าหากมีความน่าสนใจก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะทำให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นอีกด้วย ด้านลายบังคับคือลายสุดสะแนน ซึ่งเป็นลายที่มีความยาก เป็นลายชั้นครูของแคน มีความหลากหลายในด้านของทำนองโดยหมอแคนสามารถนำไปประยุกต์ได้อย่างหลากหลาย ตัวแทนคณะกรรมการตัดสินการประกวดเดี่ยวแคน เพิ่มเติมว่า ในฐานะคณะกรรมการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประกวดเดี่ยวแคนครั้งนี้จะได้เห็นความแปลกใหม่จากผู้เข้าประกวด โดยปกติการเดี่ยวแคนก็จะเป็นการเป่าเพียงอย่างเดียวเพื่อดูว่าลายแคนนั้นๆ มีความยากง่ายเพียงใด หมอแคนบางท่านหากมีเทคนิคส่วนตัวเข้ามาเสริมในการแสดงในครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่ดีมาก เดี่ยวแคน - 011 การเปิดรับสมัครการประกวดเดี่ยวแคนได้รับความสนใจจากหมอแคนทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก๋าจากจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวทีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้หมอแคนได้แสดงความสามารถและโชว์ลวดลายท่วงทำนองแคนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งมีช่วงอายุที่หลากหลายจากรุ่นเด็กชายสู่รุ่นคุณปู่ล้วนให้ความสนใจและร่วมประชันการเดี่ยวแคนในครั้งนี้ [caption id="attachment_3276" align="aligncenter" width="400"]เด็กชายภานุวัฒน์ ศรีชุม ผู้เข้าประกวดเดี่ยวแคน ประเภทเยาวชน เด็กชายภานุวัฒน์ ศรีชุม ผู้เข้าประกวดเดี่ยวแคน ประเภทเยาวชน[/caption] หมอแคนรุ่นจิ๋วอายุน้อยที่สุดในการร่วมประชันการเดี่ยวแคน “เด็กชายภานุวัฒน์ ศรีชุม” ผู้เข้าประกวดเดี่ยวแคน ประเภทเยาวชน บอกว่า สนใจการประกวดเดี่ยวแคนและคุณครูที่โรงเรียนแนะนำให้เข้ามาประกวด โดยส่วนตัวคิดว่าลายสุดสะแนนเป็นลายแคนที่ยาก และใช้เวลาการฝึกซ้อมพอสมควรประมาณ 1-2 เดือน และเป็นหนึ่งสมาชิกของวงโปงลางที่โรงเรียน การเรียนรู้ในเรื่องของการเป่าแคนศึกษาจากหมอแคนในโทรทัศน์ สิ่งที่ทำให้ชื่นชอบการเป่าแคนส่วนหนึ่งเป็นเพราะบรรพบุรุษปู่ย่าตายายเป่าแคนจึงมีความสนใจในการเป่าแคน ซึ่งก็เริ่มเป่ามาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และจะพัฒนาตนเองในการเป่าแคนอย่างต่อเนื่อง [caption id="attachment_3275" align="aligncenter" width="640"]เดี่ยวแคน - 012 นางสาวมุกดา ทองโคตร ผู้เข้าประกวดเดี่ยวแคนประเภท ประชาชนทั่วไป[/caption] ในส่วนหมอแคนหญิงหนึ่งเดียวบนเวที “นางสาวมุกดา ทองโคตร” ผู้เข้าประกวดเดี่ยวแคนประเภท ประชาชนทั่วไป เล่าจุดเริ่มต้นของการเป่าแคนและความสนใจในการประกวดการเดี่ยวแคนในครั้งนี้ รวมถึงมองว่าผู้หญิงไม่ใช่อุปสรรคในการเป็นนักดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แคน” “เริ่มเป่าแคนมาตั้งแต่อายุ 11 ปี จนขณะนี้อายุ 24 ปี โดยมีความชื่นชอบในเสียงดนตรีพื้นเมือง ตั้งแต่เป็นเด็กจำความได้ตาหรือปู่เป่าแคนที่บ้าน จึงมีความสนใจและเริ่มฝึกหัด ด้วยความเป็นผู้หญิงไม่มีอุปสรรคในการเป่าแคนโดยมองว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็สามารถเป็นนักดนตรีและบรรเลงได้ดีเช่นกัน ทั้งหมดล้วนเกิดจากการฝึกหัด โดยการเป่าแคนในส่วนของผู้หญิงอาจจะไม่สามารถเล่นได้อย่างผู้ชาย แต่ก็ให้มีความเหมาะสม ดูงามทางสังคม เทคนิคส่วนตัวคือพยายามเป่าแคนให้ผู้ฟังเกิดความไพเราะ ไม่ว่าผู้ฟังจะเป็นผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องดนตรีพื้นบ้าน หรือผู้ฟังทั่วไปที่ฟังดนตรีด้วยความสนุกสนาน” [caption id="attachment_3272" align="aligncenter" width="640"]พ่อใหญ่เชียรทอง พ่อใหญ่เชียรทอง[/caption] ด้านพ่อใหญ่เชียรทอง หนึ่งให้ผู้ร่วมชมการประกวดเดียวแคน มองว่า การประกวดเดี่ยวแคนถือได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ เป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นเป็นดินแดนแห่งเสียงแคนดอกคูณ โดยส่วนตัวก็ชื่นชอบการเป่าแคนและมีลูกศิษย์มากมายที่ได้ถ่ายทอดทักษะพื้นฐานการเป่าแคน โดยหลายคนนำไปต่อยอดพัฒนาให้อยู่ในระดับสูงขึ้น ในการเป่าแคนหรือดนตรีพื้นบ้านอื่นๆ อยากให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม และร่วมกันสืบทอดอนุรักษ์ ให้เป็นมรดกของชาวอีสานยาวนานสืบต่อไป [gallery td_select_gallery_slide="slide" ids="3271,3270"] สำหรับผลการประกวด “เดี่ยวแคน” รอบชิงชนะเลิศ ภายในคุ้มวัฒนธรรม งานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2559 ใน รุ่นเยาวชน ชนะเลิศ – นายภูมิอนันต์ พันภูวงศ์ รองชนะเลิศอันดับ 1 – เด็กชายพลาธิป กาละนาด และรองชนะเลิศอันดับ 2 – นายวิทวัส วรรณพงษ์ ในส่วนรุ่นประชาชนทั่วไป ชนะเลิศ – นายโชคชัย ไพรพฤกษ์ รองชนะเลิศอันดับ 1 – ส.อ.สียะตรา คันธี และรองชนะเลิศอันดับ 2 – นางสาวมุกดา ทองโคตร หมอแคนรุ่นเก๋าและหมอแคนรุ่นใหม่ทุกคนที่ร่วมประชันและประสบความสำเร็จดังใจหวังที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในตอนแรก แต่เหนือสิ่งอื่นใด ทุกท่านได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดมรดกภูมิปัญญทางวัฒนธรรมของชาวอีสานให้คงอยู่สืบไป เรื่อง ณัฐวุฒิ จารุวงศ์ ร่วมด้วย คณิตตา คลังทอง | ภาพ อนุศาสตร์ โคตรเพชร/ณัฐวุฒิ จารุวงศ์]]>