วัดศรีมหาโพธิ์
ประวัติความเป็นมา
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นสิมที่ผนัง 3 ด้าน ภายในผนังจะมีธูปแต้มหรือจิตกรรมฝาผนังเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก และภาพเหตุการณ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพเสด็จตรวจหัวเมืองในมณฑลอีสานประทับทั่งอยู่บนเกวียน ภายในวัดยังมีกุฏิเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันทำเป็นห้องสมุดประชาชน สร้างโดยช่างชาวเวียดนาม เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ซึ่งมีซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้ง สวยงามแปลกตา แต่งต่างจากศาลาการเปรียญทั่วไปของพุทธศาสนา
วัดศรีมหาโพธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชาวอำเภอหว้านใหญ่ เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีสำคัญและประเพณีต่างๆของชาวอำเภอหว้านใหญ่ บริเวณโดยรอบวัดศรีมหาโพธิ์ มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำโขงซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฤดูแล้งน้ำโขงบริเวณอำเภอหว้านใหญ่แห้งขอดและจะเกิดเกาะแก่งเล็กน้อยขึ้นตามกลางลำแม่น้ำโขง ประชาชนทั้งสองฝั่งโขงทำไปทำการเกษตรตามเกาะแก่งนั้นเพราะ อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ปุ๋ย ทำให้พืชผักเจริญเติบโตเร็วและสวยงาม นอกจากนี้ยังลำน้ำโขงยังเป็นแหล่งทำการประมงของชาวอำเภอหว้านใหญ่อีกด้วย
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่บ้านหว้านใหญ่ ตำบลหว้านใหญ่ ภายในวัดจะมีโบราณสถานคือ สิมอีสาน(โบสถ์) ที่เก่าแก่
รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง
เป็นลักษณะสิมทึบขนาดเล็กผสมกึ่งสิมโปร่ง มีขนาดความยาว ๔ ช่วงเสา หลังคาตรงจั่วลดชั้นต่อปีกทั้ง ๔ ด้านแบบปั้นหยา ด้านหน้าเป็นมุขโล่ง ๒ ตอน ตอนแรกอยู่ใต้หลังคาปั้นหยาตอนที่ ๒ คลุมด้วยหลังคา ทรงเกย (กะเติ๊บ = ไท ผู้ไท) หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน แกะสลักลวดลายบนเนื้อไม้ตัวโครงสร้างเช่นเดียวกับขื่อและอะเสภายใน ซึ่งนับว่าเป็นการออกแบบพิเศษของสิมหลังนี้ ลวดลายเป็นแบบพื้นบ้านไท-อีสานแท้ มีลักษณะลายก้านดกและลายขัดแบบลายจักสาน ช่างได้เจาะหน้าต่างใส่ลูกกรงกลึง (คล้ายเลียนลูกมะหวดขอม) และช่องเล็ก ๆ ๔ เหลี่ยมอีกข้างละ ๑ ช่อง องค์พระประธานปั้นปูนปางมารผจญขัดสมาธิราบ พุทธศิลป์สวยงามมาก ประดิษฐานองค์พระลูกเข้าไปในผนังประมาณ ๑ ใน ๓ และปั้นปูนด้านข้างเป็นกรอบรอบองค์พระ เป็นที่น่าสังเกตว่า ฐานชุกชี ได้รับการออกแบบพิเศษเฉพาะมีสัดส่วนเสริมสงองค์พระให้สง่างามมากทีเดียว ที่สำคัญสุดยอดของสิมพิเศษหลังนี้คือ ภาพจิตรกรรม ผนัง (ฮูปแต้ม) เบื้องหลังพระประธานอ้อมมาทางซ้าย ขวา จนถึงหน้าต่างทั้ง ๒ ด้าน เป็นฝีมือช่างพื้นบ้านที่สูงส่งมากทีเดียว หน้าจะมีอิทธิพลช่างหลวงอยู่ด้วย) เนื้อหาของฮูปแต้มเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก กล่าวว่า วาดโดยช่างแต้มชาวบ้านน้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ส่วนด้านนอกกวาดเป็นรูปราหูบนฝาผนังด้านเหนือ รูปนกบนผนังด้านใต้
ฐานก่ออิฐฉาบปูนความกว้างภายใน ๔.๑๐ ม. ความยาว (ไม่รวมมุขหน้าคาเกย) ๕.๖๐ ม. ความสูงพื้นดินถึงเชิงชาย ๒.๙๐ ม. ยาวทั้งสิ้นที่ฐานแอวขัน ๙.๙๐ ม. เสาที่รับหลังคาเกยสูงเพียง ๑.๙๐ ม. เสาก่อเป็น ๔ เหลี่ยม แต่งบัวหัวเสาเป็นปูนปั้นรูปกลีบบัว หลังคาทรงจัวสูง เดิมมุงแป้นเกล็ด มาเปลี่ยนเป็นสังกะสีภายหลัง เครื่องบนหลังคาเป็นโครงไม้ทั้งหมด ขนาดของขื่อและเสาแข็งแรงมากคือ ขนาด ๓๐ ซม. x ๓๐ ซม. คันทวยรูปนาคประดับเสาทรง ๔ เหลี่ยม ดูเหมาะเจาะแข็งแรงบึกบึน ส่วนเพิงหน้าเป็นของต่อเติมในภายหลัง แก้ไขจากบันไดขึ้น ๒ ทางเป็นขึ้นด้านหน้าทางเดียว และเสาเหลี่ยมรับเพิงทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้านั้นทำเลียนแบบเสาภายใน แต่มีขนาดเตี้ยมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของสิมหลังนี้
ด้านหน้าและด้านหลัง
รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้
หน้าบัน แขนนาง และซุ้มประตู
ลายสลักไม้ และปูนปั้นประดับ
พระประธานภายใน
ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)
ช่างแต้มวัตศรีมหาโพธิ์มีความเข้าใจในเทคนิคและรสนิยมในงานศิลปะทางด้านจิตรกรรม มีความเข้าใจในความเป็นจิตรกรรม ช่างแต้มจะฉาบสีบาง ๆ ในอาณาบริเวณของพื้นที่ที่เขียนภาพทำให้ภาพส่วนรวมมีบรรยากาศ มีมิติแตกต่างไปจากทฤษฎีแล้วเทคนิคการเขียนภาพตามแบบประเพณีไทยเดิมซึ่งนิยมเขียนภาพในรูปลักษณ์เพียง ๒ มิติ และต่างจากเทคนิคการเขียนภาพทางอีสานที่นิยมให้ฉากหลังช่องภาพเป็นสีขาว
การแบ่งเรื่องแต่ละตอนช่างแต้มจะใช้เส้นแถบสีดำ บางตอนขององค์ประกอบอาจใช้ตัวอาคาร ต้นไม้ ทิวเขา เป็นตัวแบ่งเรื่อง หรือใช้น้ำหนักอ่อนแก่ของสี (chiaroscuro) ช่างแต้มใช้สีส่วนใหญ่ เป็นสีบาง ๆมีการเน้นสีเข้มขึ้นจนเกิดค่าของสิทธิต่างกันบางส่วนที่เป็นค่าของสีที่เข้มเกิดจากการตัดเส้นด้วยสัตว์ในเนื้อที่ของผู้คนหรือส่วนที่เป็นเครื่องแต่งกาย ผิวเนื้อของตัวละคอนเป็นสีขาว มีน้ำหนักเข้มกว่าสีอื่นๆ ปริมณฑลสีขององค์ประกอบภาพรวมมี บรรยากาศเป็นสีดินแดงอมเทาคล้ายกับสีดินทรายสีที่ช่างแต้มใช้ในการเขียนภาพวัดศรีมหาโพธิ์ได้แก่ ขาว ดินแดง และคราม สีที่มีคุณค่าเจือจางช่างแต้มจะใช้เทคนิคโดยการนำสีแท้ผสมกับสีขาวจนเกิดเป็นสีใหม่ หรือลดคุณค่าของสีแท้ด้วยน้ำอันเป็นกรรมวิธีของการเขียนสีน้ำเทคนิคในการเขียนภาพต้นไม้ ช่างแต้มจะนิยมตัดเส้นใบ บางตอนจะใช้กรรมวิธีด้วยการตบสี
การเตรียมพื้นผนัง
การเตรียมพื้นผนังสำหรับการเขียนภาพวัดศรีมหาโพธิ์ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหารมีเทคนิคพิเศษแตกต่างไปจากกรรมวิธีของวัดในเขตลุ่มแม่น้ำโขงและวัดในเขตอีสานกลาง การเตรียมจะใช้ทรายเม็ดละเอียด ซึ่งอาจได้จากริมฝั่งโขงผสมกับตัวประสาน โดยมิได้ผสมสีขาวที่ได้มาจากผงหอยกี้หรือเถ้าสีขาวที่ได้จากไม้เซียก ถือว่าเป็นการรองพื้นไปในตัว ทำให้เกิดสีของพื้นผนังมีลักษณะคล้ายกับผิวของกระดาษทรายชนิดละเอียด วรรณะสีส่วนรวมของผนังจะเป็นสีดินเจือจาง เมื่อช่างแต้มใช้กรรมวิธีของการเขียนสีน้ำและใช้วรรณะของสีเป็นสีดินแดงหรือน้ำตาลทำให้บรรยากาศของภาพส่วนรวมเกิดความรู้สึกนุ่มนวล
หอพระไตรปิฎก
ภายในสิม
พระประธานประดิษฐานอยู่