เดือนเจ็ด บุญซําฮะ

บุญซําฮะหรือชําระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทําบุญชําระจิตใจให้สะอาดและเพื่อ ปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้านบาง ท้องถิ่นเรียกประเพณีนี้ว่าบุญเบิกบ้านซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพากันนําภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุ สงฆ์และร่วมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไปจาก หมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็นสิริมงคล

มูลเหตุของพิธีกรรม

มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิด "ทุพภิกขภัย" ข้าวยากหมากแพงประชาชนขาดแคลนอาหารเพราะฝนแล้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายเพราะความหิว ซ้ำร้ายอหิวาตกโรคหรือ "โรคห่า" ก็ระบาดทําให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากันเดินทางไปนิมนต์ พระพุทธเจ้าให้มาปัดเป่าภัยพิบัติครั้งนี้ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองไพสาลีก็เกิดฝน "ห่าแก้ว" ตกลงมาอย่างหนักจนน้ําฝนท่วมแผ่นดินสูงถึง หัวเข่าและน้ำฝนก็ได้พัดพาเอาซากศพของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ไหลล่องลอยลงแม่น้ำไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าทรงทําน้ำพระพุทธมนต์ใส่บาตร แล้วมอบให้พระอานนท์นําไปประพรมทั่วเมือง โรคภัยไข้เจ็บก็สูญสิ้นไปด้วย เดชะพระพุทธานุภาพ ดังนั้นคนลาวโบราณรวมทั้งไทยอีสานจึงทํา บุญซําฮะขึ้นในเดือน 7 ของทุกๆ ปี พิธีกรรม พอถึงวันทําบุญชาวบ้านทุกครัวเรือนจะนําดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำมนต์ ขันใสกรวด ทรายและเฝ้าผูกแขน มารวมกันที่ศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกปะรําพิธีขึ้นกลางหมู่บ้าน ตกตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดชัยมงคลคาถา (ชาวอีสานเรียกว่า ตั้งมุงคุน) เช้าวันรุ้งขึ้นจะพากันทําบุญตักบาตรเลี้ยงพระถวายจังหันเมื่อ พระสงฆ์ ฉันเสร็จแล้วจะให้พรและประพรมน้ำพุทธมนต์ให้แก่ทุกคนที่มาร่วมทําบุญ จากนั้นชาวบ้านจะนําขันน้ำมนต์ด้ายผูกแขน ขันกรวดทรายกลับไปที่ บ้านเรือนของตนเองแล้วนําน้ำมนต์ไป ประพรมให้แก่ทุกคนในครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือนและวัวควาย เอาด้ายผูกแขน ลูกหลานทุกคนเพราะเชื่อ ว่าจะนําความสุขและสิริมงคลมาสู่สมาชิกทุกคน ส่วนกรวดทรายก็จะเอามาหว่านรอบๆ บริเวณบ้านและที่สวนที่นา เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร และสิ่ง อัปมงคล

วิดีทัศน์ "บุญเดือนเจ็ด : บุญซำฮะ"


มหาวิทยาลัยขอนแก่น l ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม l สำนักวัฒนธรรม