พิธีกรรม - การเตรียมงาน
1. แบ่งหนังสือ นําหนังสือลําผะเหวดหรือลํามหาชาติ (หนังสือเรื่องพระเวสสันดรชาดก) ซึ่งมีจํานวน 13 กัณฑ์ (หรือ 13 ผูกใหญ่) แบ่ง เป็นผูกเล็กๆ เท่ากับจํานวนพระเณรที่จะนิมนต์มาเทศน์ในคราวนั้นๆ
2. การใส่หนังสือ นําหนังสือผูกเล็กที่แบ่งออก จากกัณฑ์ต่างๆ 13 กัณฑ์ไปนิมนต์พระเณรทั้งวัดในหมู่บ้านตนเองและจากวัด ในหมู่บ้าน อื่นที่อยู่ใกล้เคียงให้มาเทศน์ โดยจะมีใบฎีกาบอกรายละเอียดวันเวลาเทศน์ ตลอดจนบอกเจ้าศรัทธา ผู้ที่จะเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้นๆ ไว้ด้วย
3. การจัดแบ่งเจ้าศรัทธา เพื่อพระเณรท่านเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ผู้เป็นเจ้าศรัทธาก็จะนําเครื่อง ปัจจัยไทยทานไปถวายตาม กัณฑ์ที่ตนเองรับผิดชอบ ชาวบ้านจะจัดแบ่งกันออกเป็นหมู่ๆ เพื่อรับเป็นเจ้าศรัทธากัณฑ์เทศร่วมกัน โดยจะต้องจัดหาที่พักข้าวปลา อาหารไว้คอยเลี้ยงต้อนรับญาติโยมที่ติดตามพระเณร จากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาเทศน์ผะเหวดครั้งนี้ด้วย
4. การเตรียมสถานที่พัก พวกชาวบ้านจะพากันทําความสะอาดบริเวณวัดแล้วช่วยกัน "ปลูกผาม" หรือปะรําไว้รอบๆ บริเวณวัด เพื่อใช้ เป็นที่ต้องรับพระเณรและญาติโยมผู้ติดตามพระเณรจากหมู่บ้านอื่น ให้เป็นที่พักแรมและที่เลี้ยงข้าวปลาอาหาร
5. การจัดเครื่องกิริยาบูชาหรือเครื่องครุพัน ในการทําบุญผะเหวดนั้นชาวบ้านต้องเตรียม "เครื่องฮ้อยเครื่องพัน" หรือ "เครื่องบูชา คาถาพัน" ประกอบด้วยธูปหนึ่งพันดอก เทียนหนึ่งพันเล่มดอกบัวโป่ง (บัวหลวง) ดอกบัวแป้ (บัวผัน) ดอกบัวทอง (บัวสาย) ดอกผัก ตบและดอกก้างของ (ดอกปีบ) อย่างละหนึ่งพันดอก เมี่ยง หมากอย่างละหนึ่งพันคํา มวนยาดูดหนึ่งพันมวน ข้าวตอกใสกระทงหนึ่ง พันกระทง ธุงกระดาษ (ธงกระดาษ) หนึ่งพันธง
6. การจัดเตรียม สถานที่ที่จะเอาบุญผะเหวด
6.1 บนศาลาโรงธรรม ตั้งธรรมมาสน์ไว้กลางศาลาโดยรอบนั้นจัดตั้ง "ธุงไซ" (ธงชัย) ไว้ ทั้งแปดทิศ และจุดที่ตั้ง "ธุงไซ" แต่ละต้นจะต้อง มี "เสดถะสัต" (เศวตฉัตร) "ผ่านตาเว็น" (บังสูรย์) และตะกร้าหนึ่งใบสําหรับใส่ข้าวพันก้อนพร้อมทั้ง "บั้งดอกไม้" สําหรับใส่ดอกไม้แห่ง ซึ่งส่วนมากทําจาก ต้นโสนและใส้ "ธุงหัวคีบ" นอกจากนี้ที่บั้งดอกไม้ยังปีกนกปีกปลาซึ่งสานจากใบมะพร้าวหรือใบตาลไว้อีกจํานวน หนึ่งและตั้งโอ่งน้ำไว้ 5 โอ่ง รอบธรรมาสน์ซึ่งสมมติเป็นสระ 5 สระ ในหม้อน้ำใส่จอกแหน (แหนคือสาหร่าย) กุ้ง เหนี่ยว ปลา ปู หอย ปลูกต้นบัวในบ่อให้ใบบัวและดอกบัวลอยยิ่งดีรวมทั้งจะต้องจัดให้มีเครื่องสักการะบูชาคาถาพันและขันหมากเบ็งวางไว้ตามมุมธรรมาสน์ ณ จุดที่วางหม้อน้ำ ที่สําคัญบนศาลาโรงธรรมต้องตกแต่งให้มีสภาพคล้ายป่า โดยนําเอาต้นอ้อย ต้นกล้วย มามัดตามเสาทุกต้น และขึงด้าย สายสิญจน์รอบศาลา ทําราวไม้ไผ่สูงเหนือศรีษะประมาณหนึ่งศอกเพื่อเอาไว้เสียบดอกไม้แห่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่ห้อยนก ปลาตะเพียน และใช้เมล็ดแห่งของฝากลิ้นฟ้า (เพกา) ร้อยด้วยเส้นด้ายยาวเป็นสายนําไปแขวนเป็นระยะ ๆ และถ้าหากดอกไม้แห่งอื่นไม้ได้ ก็จะใช้เส้นด้ายชุบแป้งเป็ยกแล้วนําไปคลุกกับเมล็ดข้าวสาร ทําให้เมล็ดข้าวสารติดเส้นด้ายแล้วนําเส้นด้ายเหล่านั้นไปแขวนไว้แทน ด้านทิศตะวันออกของศาลาโรงธรรมต้องปลูก "หออุปคุต" โดยใช้ไม้ไผ่ทําเป็นเสาสี่ ต้นสูงเพียงตา หออุปคุตนี้เป็นสมมติว่าจะเชิญ พระอุปคุตมาประทับ เพื่อปราบมารที่จะมาขัดขวางการทําบุญ ต้องจัดเครื่องใช้ของพระอุปคุตไว้ที่นี้ด้วย
6.2 บริเวณรอบศาลาโรงธรรมก็ปัก "ธุงไซ" ขนาดใหญ่ 8 ซุง ปักไว้ตามทิศทั้งแปดซึ่งแต่ละ หลักธุงจะปัก "กรวยไม้ไผ่สําหรับใส่ข้าว พันก้อน" "เสดถะสัด" (เศวตฉัตร) "ผ่านตาเว็น" (บังสูรย์) และ "ขันดอกไม้" เช่นเดียวกับบนศาลาโรงธรรม นอกจากนี้ก็ปักธุงช่อไว้ ณ จุดเเดียวกับที่ปัก "ธุงไซ" อีก ด้วยครั้งถึงเวลาประมาณ 14-15 นาฬิกาของมื้อโฮมหรือวันรวม ผู้เฒ่าผู้แก่จะพากันนําเครื่องสักการะ บูชาประกอบด้วยขันห้าขน แปดบาตรจีวร ร่ม กระโถนกาน้ำ และไม้เท้าเหล็กไปเชิญพระอุปคุตซึ่งสมมติว่าท่านอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอาจ เป็นบึง หนอง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ (ที่อยู่ใกล้วัด) เมื่อไปถึงผู้เป็นประธานจะตั้งนะโมขึ้น 3 จบ กล่าว "สัคเค" เชิญเทวดามาเป็นพยาน แล้วจึงกล่าว
|