เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา

บุญออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ดนอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภิกษุสงฆ์จะแสดงอาบัติและว่ากล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานยังมีกิจกรรม กันอีกหลายอย่าง ทั้งประเพณีตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตามต้นไม้ บางแห่งนําต้นอ้อย หรือไม้ไผ่มามัดเป็นเรือจุดโคมแล้ว นําไปลอยในแม่น้ำที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาสําหรับหมู่บ้านที่อยู่ไกล แหล่งน้ำจะนิยมทําปราสาทผึ้งหรือผาสาดผึ้งทําจากกาบกล้วย ประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทําเป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่งปราสารททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่มาถวายที่วัดอย่างสนุกสนาน

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้จาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมและธรรมะแก่ประชาชน หรือ เพื่อแสวงหาความสงบวิเวกในการปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องกลับมาค้างแรมที่วัดและให้ภิกษุหาผ้านุ่มห่มใหม่มาผลัดเปลี่ยน

พิธีกรรม

ในเช้ามืดวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 พระสงฆ์จะไปรวมกันที่อุโบสถเพื่อแสดงอาบัติต่อกัน จากนั้นจะทําวัตรและทําปวารณาแทนการสวดปาฏิโมกข์ (ปวารณา คือ พิธีกรรมทางศาสนาทสงฆ์ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกับการปวารณาจะทําในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษาจึงเรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณาหรือวันมหาปวารณา (จากพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2538) ส่วนชาวบ้านก็จะเตรียมข้าวปลาอาหาร เพื่อให้ทําบุญตักบาตรที่วัดในตอนรุ่งเข้าและถวายผ้าจํานําพรรษาแด่ภิกษุสามเณร ตอนค่ำมีการเวียนเทียน

วิดีทัศน์ "บุญเดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา"


มหาวิทยาลัยขอนแก่น l ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม l สำนักวัฒนธรรม