มูลเหตุของพิธีกรรม
เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเที่ยวจาริกสอนธรรมไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตลอดทั้งปีไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน แต่ในฤดูฝนนั้น ภิกษุได้เหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย สัตว์ตัว น้อยต่างๆ พลอยถูกเหยียบตายไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้ภิกษุต้องจําพรรษา 3 เดือน ในฤดูฝนโดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่นใดนอกจากในวัดของตน ถ้าภิกษุฝ่าฝันถือว่า "ศีลขาดและต้องอาบัติทุกกฎ" เว้นแต่กรณีจําเป็นที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น บิดามารดา ป่วย เป็นต้น แต่ต้องกลับมาภายใน 7 วันพรรษาจึงจะไม่ขาด
พิธีกรรม
เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนแปดตอนเช้าญาติโยมก็จะนําดอกไม้ธูปเทียน ข้าวปลา อาหาร มาทําบุญตักบาตรที่วัดตอนบ่ายจะนําสบงจีวร ผ้าอาบน้ำ เทียนพรรษา และดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย พระภิกษุที่วัดแล้วรับศีลฟังธรรมพระเทศนาพอถึงเวลาประมาณ 19.00-20.00 น. ชาวบ้านจะนําดอกไม้ธูปเทียนมารวม กันที่ศาลาโรงธรรมเพื่อรับศีล และเวียนเทียนจนครบสามรอบ แล้วจึงเข้าไปในศาลาโรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนาจนจบจากนั้นจะแยกกันกลับบ้าน เรือนของตน ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าก็จะพากันรักษาศีลแปดจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด อันเป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งพระภิกษุจะ ต้องจําพรรษาในวัดของตนเป็นเวลาสามเดือน |