เดือนหก บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับแถน เมื่อถึงเดือนหกเริ่มต้นการทํานาชาวบ้านจะจุดบั้งไฟเป็นการบูชาขอให้พญาแถนบันดาล ฝนให้ตกลงมา ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชนอีสานหลาย ๆ หมู่บ้าน หมู่บ้านเจ้าภาพจะปลูกโรงเรือน เรียกว่า ผามบุญ ไว้ต้อนรับ ชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่น และดูแลจัดหาอาหารสําหรับทุกๆ คน เช้าของวันงานชาวบ้านจะร่วมกันทําบุญ ประกวดประชัน แห่และจุดบั้งไฟที่ตกแต่ง อย่างงดงาม บั้งไฟของหมู่บ้านใดจุด ไม่ขึ้นชาวบ้านหมู่บ้านนั้นจะถูกโยนลงโคลนเป็นการทําโทษ และจะมีการเซิ้งฟ้อนกันอย่างสนุกสนาน และจะมี การเซิ้งปลัดขิกร่วมอยู่ในขบวนด้วยเสมอ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการไล่ผีให้พ้นออก ไปจากหมู่บ้านและเร่งให้แถนส่งฝนลงมาเร็วๆ

มูลเหตุของพิธีกรรม

ตามตํานานพื้นบ้านอีสานเชื่อว่าเป็นการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้พญาแถนรู้ว่าถึงฤดูทํานาแล้วให้พญาแถนบันดาล ให้ฝนตกและมีปริมาณ เพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารพิธีกรรม เมื่อได้ประชุมกําหนดวันจะทําบุญบั้งไฟแล้ว พวกช่างปืนไฟก็จะร่วมทําบั้งไฟ หาง บั้งไฟก่องข้าว ไว้ตามจํานวนและขนาดที่ชาวบ้านศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินซื้อศรัทธา ซื้อ "ขี้เกีย หรือ ขี้เจี้ย" (ดินประสิว) มาทํา "หมื่อ" ปัจจุบันมักจะมีการแข่งขัน บั้งไฟระหว่างคุ้มบอกกล่าวไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ให้ทําบั้งไฟมาแข่งขันกันตามขนาดที่กําหนดอาจเป็น "บั้งไฟหมื่น" (มีน้ำหนักไม่เกิน 120 กิโลกรัม) "บั้งไฟแสน" (มีน้ำหนักมากกวา 120 กิโลกรัม) ก็ได้พอถึง "มื้อโฮมบุญ" หรือวันรวม ชาวบ้านจะจัดทําบุญเลี้ยงพระเพล แล้วจะมี "พิธีฮดสง" พระภิกษุ ผู้มีศีลศึกษาธรรมวินัยมาตลอดพรรษาให้ได้เลื่อนเป็นตําแหน่งสูงขึ้น คือ "ฮด" จากพระภิกษุธรรมดาให้เป็นภิกษุขั้น "อาจารย์" แต่เรียกสั้นๆ ว่า "จารย์" ผู้มีอายุครบบวชถ้าอยากบวช พ่อแม่มักจะจัดให้บวชในเดือนนี้ไปพร้อมๆ กับพิธีนี้ ประมาณเวลา 15.00 น. ของมื้อโฮม นํา "กองฮด" และ "กองบวช" มาตั้งไว้กลางศาลาโรงธรรมทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณ บอกให้ทุกคุ้มนําบั้งไฟมารวมกันที่วัดแต่ละคุ้มจะเอ้บั้งไฟ (ตกแต่งบั้งไฟ) ของตนให้สวยงาม เป็นการประกวดประชันกันเบื้องต้น มีการจัดขบวนการแห่บั้งไฟ และในขณะที่แห่บั้งไฟจะเซิ้งบั้งไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย การเซิ้งบั้งไฟนี้จะมีหัวหน้า กล่าวนําคําเซิ้งเป็นวรรคๆ ไปแล้วให้ผู้เข้าร่วมขบวนแห่ทุกคนกล่าวตาม ขณะที่กล่าวก็รําให้เข้ากับจังหวะเซิ้งนั้นด้วยรุ่งเช้าของวันบุญบั้งไฟ ญาติโยม จะนําข่าวปลาอาหารทั้งขนมหวาน มาทําบุญตักบาตรร่วมกันที่วัด หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้วก็จะนําบั้งไฟมารวมกันที่วัดแล้วนําไปจุดที่ "ค้างบั้งไฟ" (ร้านสําหรับจุดบั้งไฟ) ที่สําคัญเวลาจุดต้องหันหัว บั้งไฟไปทางทุ่งนาหรือหนองน้ำเพื่อป้องกันอันตราย

วิดีทัศน์ "บุญเดือนหก : บุญบั้งไฟ"


มหาวิทยาลัยขอนแก่น l ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม l สำนักวัฒนธรรม