บทความโดย คณิตตา คลังทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานวิจัย ศูนย์วัฒนธรรม
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นงานบุญประเพณีประจำปีของชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยจะถือเอาวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หากปีใดเป็นปีอธิกมาสให้เลื่อนไปเดือนแปดหนสอง (วันเข้าพรรษา) เป็นช่วงวันเข้าพรรษาอยู่ในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกเข้าพรรษาเบิ่งบานพุทธศาสนิกชนจึงได้นำดอกเข้าพรรษามาร่วมในพิธีดังกล่าว ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง นายมาลาการสังเกตเห็นฉัพพรรณรังสี (“ฉัพพรรณรังสี” คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 6 สี คือ (1) สีนีละ – สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน หรือสีน้ำเงิน (2) สีปีตะ – สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง (3) สีโรหิตะ – สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน (4) สีโอทาตะ – สีขาวเงินยวง (5) สีมัญเชฏฐะ – สีแสดเหมือนหงอนไก่ (6) สีประภัสสร – สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน)) ฉายประกายรอบพระวรกาย จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง ตัดสินใจจะนำดอกมะลิที่มีไปถวายพระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแด่พระพุทธองค์สร้างอานิสงส์ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม
อ้างอิง : ประคอง นิมมานเหมินทร์ 2542 : 2255 ; คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2544 : 168-172 https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=45 https://www.stou.ac.th/Offices/rdec/nakornnayok/Main/OnlineExhibitions/Saraburi/SaraburiPage1.html ภาพประกอบ http://www.yaikintiew.com/blogs/464 http://www.ecpms.net/g478kex8?key=0f22c1fd609f13cb7947c8cabfe1a90d&psid=14270953 http://www.madchima.org/forum/index.php?action=profile;u=2;area=showposts;sa=topics;wap2;start=2065]]>