homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดพระพุทธบาทบัวบก

ประวัติความเป็นมา

วัดพระพุทธบาทบัวบก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อวัดพระบาทภูกู่เวียง หรือวัดกู่เวียงเป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี พระสีทัต ได้รับอาราธนาจากพุทธศาสนิกชนให้มาเป็นผู้นำพุทธศานิกชน บูรณะเจดีย์และสร้างวัดขึ้นใหม่โดยใช้หินภูเขาเผาให้สุกผสมกับยางไม้ ยางมงและหนังสัตว์ที่เน่าและหัวกล้วยเน่ามาผสมกันนำมาก่อสร้างเสนาสนะและมีพระคำผง พระคำเม้า เป็นช่างแกะสลักลายต่าง ๆ บนองค์เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทด้วย การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ.๒๕๐๖

 

ที่ตั้ง

บ้านติ้ว หมู่ที่ ๖ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๕๐๐ ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒๕ ไร่

อาคารเสนาสนะ

อาคารเสนาสนะประกอบ ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ กว้าง ๑๘  เมตร ๔๘  เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๗
หอสวดมนต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น กว้าง ๑๘ เมตร ๔๘  เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๓  จำนวน ๕ หลัง
เป็นอาคารปูชนีวัตถุมี เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทบัวบก รอยพระพุทธบาท
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ๒ องค์ พระพุทธรูปปางประทานพร ๑ องค์ และพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ๑ องค์

 

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ

รูปที่ ๑ พระสีทัต พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๓  
รูปที่ ๒ พระดาว พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๔
รูปที่ ๓ พระอธิการเสนอ สุสํวโร พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๐๗ 
รูปที่ ๔ พระด้วง จนฺทวโร พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๒๐  
รูปที่ ๕ พระครูพุทธบทบริรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา

 
 



 

 


 
 
 
S
 

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง

เป็นสิมก่ออิฐถือปูนสร้างต่อจากเพิงหินซึ่งได้ใช้วางพระพุทธรูปบูชาไว้ในอดีต มีช่องลมเล็กๆ ด้านข้างซ้ายขวาด้านละ 3 ช่อง ส่วนที่มีการประดับตกแต่ง คือ หน้าบันปั้นปูน

 
 
 

 

ภาพภายในสิม

คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากใน บริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”

ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่าง ๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลัง ๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง “นางอุสา-ท้าวบารส” เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมา และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย (http://www.tour.co.th/tour.php?p_id=75&t_id=2423)