วรรณกรรมอีสานคือสะพานธรรมรัตนะ วรรณกรรมอีสาน ได้ถูกนำมาเป็นสะพานธรรมในวิถีชีวิตและสังคมของหมู่ชนอีสานตั้งแต่อดีต ด้วยเป็นนิทานหรือเรื่องราวที่เล่าขานกันอยู่แล้วเป็นทุนเดิมหรือเป็นชาดกที่ยกมาเล่าเป็นแบบพื้นบ้านก็ตาม เมื่อพุทธศาสนามีอิทธิพลด้านความคิดความเชื่อและการดำเนินชีวิตวิถีสังคมผู้คนมากขึ้น ความต้องการหรือความจำเป็นที่จะทำให้เป็นคนดีและสังคมที่ดีงาม ตามหลักธรรมคำสอน ก็ย่อมจะมีมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นวรรณกรรมอีสานกับธรรมรัตนะ จึงเป็นผลิตผลของการปรับประยุกต์ใช้สื่อสอนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
องค์พุทโธเจ้าทวยเว้าแก่พระอานนท์เถิงอนาคตกาลของพญาศรีโคตรบูรณ ว่าพญาตนนั้นเคยไปอยู่เมืองฮ้อยเอ็ดปากตูซาดหนึ่ง แล้วสิได้ไปเกิดเป็นพญาสุมิตตธรรมวงศา อยู่เมืองมฮุกขนครซาดหนึ่ง มาฮอดซาดนี้สิได้แปงธาตุสถูป เพื่อสิได้บรรจุอุฮังคธาตุ กระดูกหน้าอกขององค์พุทโธเจ้า เนายั้งอยู่ภูกำพร้านี้เอง
เนื้อเฮื่อง
อุฮังคธาตุหรือตำนานพระธาตุพนม มีตำนานเว้าไว้ว่า ก่อนองค์พุทโธเจ้าเสด็จเข้าพระนิพพาน พระพุทธองค์ได้เสด็จมากับพระอานนท์แล้วหยุดอยู่ยั้งแคมหนองคันแท เสื้อน้ำ อันเป็นหม่องตั้งพระธาตุหลวงเมืองเวียงจันทร์ในซุมื้อนี้ พระพุทธองค์ได้แนมเห็นด้วย พระญาณจึงได้ทวยเฮื่องฮาวของขอกบ้านคาเมแถบนี้ออกเป็น 2 ประการ คือ ซ่วงเวลาฮ่วม สมัยกับพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย จักเป็นซ่วงก่อบ้านแปงเมืองเวียงจันทร์ขึ้นบ่อนนั้น พร้อมกับเฮื่องฮาวของพระอรหันต์ได้นำเอาพระธาตุส่วนต่างๆของพระองค์เจ้ามาสถิตย์ไว้บริเวณแถบนี้ ฮวมทั้งการก่อบ้านแปงเมืองออกซื่อว่า เมืองดอยนันทกังฮี (คือ เมืองหลวงพระบางในทุกวันนี้) โดยอิทธิฤทธิ์ของอมรฤาษี โยธิกฤาษี หลังจากหั่นกะเป็นคำทวยในซ่วงเวลาเลยไปทางหน้า แลพระพุทธองค์เจ้าจึงเสด็จย่างย้ายผ่านที่ทางหลายหม่อง ล่องลงใต้แคมแม่น้ำของ จากนั้นเลยเสด็จเข้าสู่ศรีโคตรบูรณแคว้น (ซ่วงอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในทุกวันนี้) แล้วกะพำนักอยู่ดอยกัปปนคีรีหรือภูกำพร้า (ที่ตั้งพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในทุกวันนี้) พญาศรีโคตรบูรณมานิมนต์พระพุทธองค์เข้าไปรับบิณฑบาต ในข่วงเขตเมือง พญาศรีโคตรบูรณเลยมีโอกาสได้ถือบาตรพระพุทธองค์ไปส่งยังภูกำพร้า แล้วกะตั้งความปารถนาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ในคราวนี้พระพุทธองค์ได้ตรัสเว้าทวยอนาคตของพญาศรีโคตรบูรณให้แก่พระอานนท์ฟังว่า พญาตนนี้สิได้ไปเกิดอยู่ยั้งเมืองฮ้อยเอ็ดปากตูซาดหนึ่ง แล้วสิได้ไปเกิดเป็นพญาสุมิตตธรรมวงศา อยู่เมืองมฮุกขนครซาดหนึ่ง มาฮอดซาดนี้พญานั้นสิได้แปงธาตุสถูป เพื่อสิได้บรรจุอุฮังคธาตุ กระดูกหน้าอกของเฮาตถาคต เนายั้งอยู่ภูกำพร้านี้เอง จากนั่นองค์พระพุทโธเจ้าจึงเสด็จกลับ แล้วเข้าไปเมืองหนองหานหลวง (คือ จังหวัดสกลนคร) ทรงเทศนาธรรมโผด ผายพญาสุวรรณภิงคาร พญาตนนี้ได้ขอให้พระพุทธองค์ประทับฮอยพระพุทธบาทไว้เป็นที่ขาบไหว้บูซา เมื่อประทับฮอยพระพุทธบาทแล้ว จึงเสด็จไปสู่ดอยแห่งหนึ่ง เฮี้ยกเอิ้นพระมหากัสปปะ จากนครราชคฤห์ พอพระมหากัสปปะมาถึงจึงตรัสจาเว้าสั่งเสียไว้ว่า เมื่อเฮาตถาคตเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว ให้พระมหากัสสปะเอาอุฮังคธาตุของเฮาตถาคต มาสถิตเนายั้งอยู่ภูกำพร้าแห่งนี้ ตามฮอยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆที่เคยปฏิบัติสืบมา แล้วพระพุทธองค์จึงเสด็จไปสู่ภูกูเวียน (ภูพานในเขตจังหวัดอุดรธานี ในทุกวันนี้)
แต่นั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปสู่ดอยนันทกังฮี แล้วประทานฮอยพระพุทธบาทไว้ แล้วทวยถึงอนาคตกาลว่า ดินแดนขวงเขตแคมหนองคันแทเสื้อน้ำนั้น (ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช) กาลล่วงไปก็จักสูญสลาย แลจักมีพญาตนหนึ่ง (เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาวล้านช้าง) มาทำนุบำฮุงพระพุทธศาสนาให้ฮุ่งเฮืองเหลืองเหลื่อมในขวงเขตนี้ (ที่ประทับอยู่ คือ เมืองหลวงพระบาง) ภายหน้าเมื่อขวงเขตคาเมนี้เสื่อมลง พระพุทธศาสนาก็จักกลับไปฮุ่งเฮืองยังขวงเขตเมืองหนองคันแทเสื้อน้ำแห่งนั้นแล (เมืองเวียงจันทร์) เมื่อทวยเถิงอนาคตดินแดน ขอกคาเมแถวนี้แล้วกะเลยเสด็จกลับพระเชตวันดังเดิม
พอแต่องค์พระพุทโธเจ้า เสด็จปรินิพพาน ล่วงไปได้ปีที 8 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระอรหันตาเจ้า 500 ได้พากันอัญเซิญพระอุฮังคธาตุของพระพุทธองค์มาสู่ภูกำพร้า ผ่านมาเมืองหนองหานหลวง พญาสุวรรณภิงคารกับพญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานหลวงกับเจ้าเมืองหนองหานน้อย ได้ออกมากราบไหว้ แล้วเกิดควมอยากได้พระอุฮังคธาตุไว้บูซาอยู่เมืองของตน จึงพากันก่อธาตุสถูปแข่งกันละหว่างผู้ซายกับแม่ญิง เพื่อสิได้เอาพระอุฮังคธาตุขององค์พระพุทโธเจ้ามาขาบไหว้ แม่ญิงใซ้มารยาล่อผู้ซาย ธาตุสถูปของแม่ญิงจึงสร้างสำเร็จก่อน ออกซื่อว่าธาตุนารายเจงเวง แต่พระมหากัสสปะห้ามไว้บ่ให้เอาพระอุฮังคธาตุไว้บ่อนนี้ ย้อนว่าองค์พระพุทโธเจ้าบ่ได้สั่งคมไว้ กะเลยให้พระอรหันต์เหาะหลบไปเอาพระอังคารธาตุมาให้ใส่ธาตุสถูปไว้บูซาแทน
บัดทีนี้ พระมหากัสสปะกะเลยพาพระอรหันตาซุองค์ ไปสู่ภูกำพร้า เจ้าพญาทั้งสองกะเลยตามพระเถระเจ้าทั้งหลายไปนำ พอมาฮอดแล้วเจ้าพญานันทเสนเมืองศรีโตรบูรณได้มาต้อนฮับขาบไหว้ พอข่าวการมาภูกำพร้าฮู้เถิงพญาจุลณีแลพญาอินทปัตฐ กะเลยพากันมาซ่อยพระเถระเจ้าปั้นอิฐ เผาดิน ก่ออูบมุงเพื่อสิได้ฮักษาพระอุฮังคธาตุของพระพุทธองค์ ตามที่เคยจาเว้าฝากควมกับพระมหากัสสปะไว้แต่เทื่อพุ้น พอแต่ก่ออูบมุง พระอุฮังคธาตุกะเลยแสดงปาฎิหาริย์ให้พระมหากัสปปะฮับฮู้เกี่ยวกับพระประสงค์แห่งองค์พุทโธเจ้า ห้ามบ่ให้มีการฐาปนา พอก่ออูบมุงแล้วจึงเอาพระอุฮังคธาตุเข้าไว้ในอูบมุงนั้นแล้วกะเอาปะตูไม้อัดไว้ เจ้าพญาทั้ง 5 กะเลยอธิษฐานขอให้สำเร็จอรหันตาขีนาสพในกาลเบื้องหน้า พอเจ้าพญาทั้ง 5 กลับบ้านเมือเมืองแล้วพระวิษณุกรรมกะเลยลงมาแกะสลักลายอูบมุง เหล่าเทวดาทั้งหลายกะเลยลงมาบูซาพระอุฮังคธาตุแล้วกะเลยแบ่งเวรกันมาเบิ่งแยงฮักฮาพระอุฮังคธาตุ
เว้าย้อนไปเถิงเจ้าพญาศรีโคตรบูรณ ที่ได้มีโอกาสถือบาตรของพระพุทธองค์เจ้า ว่า ในซ่วงเวลาหม่อกับพระพุทธองค์เจ้าเสด็จเข้าพระนิพพาน เจ้าพญาองค์นี้ได้สิ้นพระชนม์ มรณาม้วยแล้วกะเลยได้ไปเกิดเป็นโอรสเจ้าเมืองสาเกตุ ออกซื่อว่า สุริยะกุมาร
ส่วนทางเมืองศรีโคตรบูรณนั้น เจ้าพญานันทเสนผู้น้องหล่าเลยได้สืบเมืองต่อไป เจ้าเมืองสาเกตุนครนั้นออกซื่อว่า ศรีอมรนี ไปเป็นหมู่ ไปเที่ยวเล่นอยู่กับพญาโยธิกะแห่งเมืองกุรุนทะ กะเลยครองเมืองฮ่วมกัน ออกซื่อเมืองว่า ศรีอโยธยา ตามซื่อของเจ้าพญาทั้งสอง ต่อมาภายหลังเลยได้ออกบวชเป็นผ้าขาวมีอิทธิฤทธิ์หลาย เลยป๋าถิ่มเมืองสาเกตุไว้ พอแต่สุริยกุมารอายุได้ 16 ปี จั่งได้ครองเมืองสาเกตุสืบต่อมา พญาทั้งสองนั้นได้เที่ยวไปตีเมืองต่างๆ ได้ถึงฮ้อยเอ็ด(101) เมืองเลยเอามาอยู่ใต้อำนาจของสุริยกุมาร เมืองสาเกตุเลยได้มีซื่อเอิ้นอีกว่า “เมืองฮ้อยเอ็ดปากตู” สุริยะกุมารได้ทำนุบำฮุงพระศาสนาเป็นอย่างดี สุริยะกุมาร ได้บำฮุงพระพุทธศาสนาอยู่เมืองฮ้อยเอ็ดปากตู จนได้ซื่อว่า สุริยะวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราช พออายุได้ 18 ปี ในซ่วงที่มีการแปงอูบมุงประดิษฐานพระอุฮังคธาตุ (พญานันทเสนครองราชย์ได้ 18 ปี พระมหากัสสปะนำเอาพระอุฮังคธาตุมา ฉะนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาภูกำพร้าก่อนปรินิพพานอย่างน้อย 10 ปี)
ตัวละคร พญาศรีโคตรบูร ผู้ได้มีโอกาสถือบาตรของพระพุทธเจ้า พญานันทเสน พญาสุวรรณภิงคาร พญาคำแดง พญาอินทปัตฐ พญาจุฬณี ผู้สร้างปราสาทสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ต้นฉบับ อาชญาเจ้าพระอุปราชพร้อมด้วยบุตรภรรยาให้จำลองจากฉบับโบราณ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นหนังสือใบลานอักษรไทยที่เคยใช้ในแถบเหนือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้ฉบับนี้มาประทานไว้สำหรับหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๔ กรมศิลปากรให้นายสุด ศรีสมวงศ์ และนายทองดี ไชยชาติ เปรียญ ถ่ายออกจากสำนวนเดิม เรียบเรียงพอให้อ่านเข้าใจได้ทั่วไป มีข้อความแปลกและพิสดารกว่าฉบับที่เคยพิมพ์มาจึงให้ชื่อฉบับพิมพ์ครั้งนี้มา อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม)
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องอุรังคธาตุเป็นนิทานที่เล่าถึงตำนานพระธาตุพนม ตำนานเมือง ตำนานบุคคลต่าง ๆ ทั้งไทยและลาว ซึ่งพระธาตุพนมเป็นสถานที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวอีสาน และเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
องค์พุทโธเจ้าทวยเว้าแก่พระอานนท์เถิงอนาคตกาลของพญาศรีโคตรบูรณ ว่าพญาตนนั้นเคยไปอยู่เมืองฮ้อยเอ็ดปากตูซาดหนึ่ง แล้วสิได้ไปเกิดเป็นพญาสุมิตตธรรมวงศา อยู่เมืองมฮุกขนครซาดหนึ่ง มาฮอดซาดนี้สิได้แปงธาตุสถูป เพื่อสิได้บรรจุอุฮังคธาตุ กระดูกหน้าอกขององค์พุทโธเจ้า เนายั้งอยู่ภูกำพร้านี้เอง
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
เนกขัมมบารมี คือ การมีจิตพร้อมในการปฏิบัติเนกขัมมะ โดยถือศีลปฏิบัติธรรมเป็นปกติ ถือบวชประพฤติตนออกจากกาม ปลอดโปร่งจากสิ่งล่อใจ เย้ายวนต่าง ๆ ที่เรียกว่า “กามารมณ์” ซึ่งบำเพ็ญเข้มข้นขึ้นโดยลำดับ มีเป้าหมายเพื่อสลัดออกจากกาม เป็นอิสระจากกามทั้งสิ้นอาสวกิเลสในที่สุด
เนื้อเฮื่อง
พระเจ้ากาสีกับนางจันทาเทวีเป็นผู้ปกบ้านครองเมือง ซื่อว่าเมืองพาราณสี อยู่กันได้เหิงนานแล้วกะบ่มีพระราชโอรสพระราชธิดาเลย นางจันทาเทวีกะเลยได้ตั้งสัจจะอธิษฐานรักษาศีลอุโบสถ หวังสิได้พระโอรสพระธิดา ผู้มีบุญญาบารมีแก่กล้ามาเกิดนำ ย้อนว่าเดซาผลานิสงส์ฮักษาศีลอุโบสถ เฮ็ดให้ม่องนั่งบัลลังค์ท้าวองค์อินทาเทวราชเกิดฮ้อนฮนขึ้น ท้าวสักกะกะเลยสอดส่องทิพยญาณลงมาเบิ่งว่าเกิดอีหยังขี้นในเมืองมนุษย์ จั่งได้ฮู้ว่า นางจันทาเทวีฮักษาศีลอุโบสถอธิษฐานอยากได้พระโอรสพระธิดาผู้มากด้วยบุญบารมี ท้าวสักกะกะเลยไปทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์เจ้า ผู้เนายั้งนั่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ให้จุติลงไปปฏิสนธิในครรภ์นางจันทาเทวี บ่โดนพระนางจันทาเทวีกะมานลูก พระเจ้ากาสีพร้อมกับชาวเมืองต่างพากันยินดีปรีดา พอแต่ฮอดมื้อประสูติกาล ฟ้าฝนตกต้องไปทั่วเขตแคว้นแดนเมือง รุกขชาติสาขาพากันแตกดอกออกใบจ่อจีจูมงาม จั่งได้พระนามว่า เตมี หมายความว่า ผู้เฮ็ดให้เกิดความซุ่มเย็น ผิวพรรณวรรณะพระองค์กะโฉมเฉลาเกลาเกลี้ยงดี มีแม่นม ๖๔ คน คอยถ่าเบิ่งแงง อายุได้เดือนหนึ่ง พระโอรสบรรทมเทิงตักของพระบิดาที่กำลังตัดสินนักโทษ เฮ็ดให้พระองค์คึดย้อนอดีตชาติปางกี้เก่าหลัง ตั้งแต่ยังเป็นกษัตริย์ปกบ้านครองเมืองอยู่ ๒๐ ปี ได้ลงโทษประหารชีวิตตน จนต้องตกนรกอยู่หลายกัปหลายกัลป์ พระองค์ฮุ่มฮ้อนในใจบ่อยากครองราชย์ต่อจากพระบิดา หาทางสิพ้นให้ได้ มีนางฟ้าผู้หนึ่งอดีตชาติเคยเป็นแม่ของพระองค์ ยามนี้ยังนำมาฮักษาพระองค์อยู่คือเก่า ได้บอกวิธีการอยู่ ๓ อย่าง กะคือ ให้เป็นหง่อย หูหนวก แล้วกะเป็นใบ้ จั่งสิพ้นภยันตรายไปได้
พระเตมีปฏิบัตินำทำตามทุกอย่าง ตั้งแต่ปากกืก หูหนวก เป็นใบ้ ง่อยเปลี้ย ไผอุ้มไปวางไว้ไสกะ บ่ตีงคีงร่าง พระบิดาเกิดสงสัยว่าแต่ก่อนนี้พระกุมารคือบ่เป็นจั่งสี้ เคยยิ้มแย้มแจ่มใสแต่ตอนนี้สังมาเงียบขึมซึมซาแท้ ไผเว้าหยังกะบ่ได้ยิน บางเทื่ออาจสิเป็นย้อนโรคฮ้ายกะได้ ว่าแล้วกะเอิ้นหมอหลวงให้มาเบิ่งอาการ แต่กะบ่พ่อแนวผิดปกติหยัง เลยลองให้พระเตมีอยู่หม่องสกปรกฮกหนา พระองค์กะทนได้ ยามหิวข้าวกะบ่ฮ้องไห้ ยามย่านกะมีอาการหยัง ย้อนว่าย่านมหันตภัยไฟนรกหลายกว่า พระบิดากะบ่มีแนวสิเฮ็ดแล้ว แต่อำมาตย์กะฮับอาสาว่าสิขอลองเบิ่งก่อน เทื่อแรกให้พระเตมีนั่งอยู่ในเฮือนแล้วจุดไฟเผา พระองค์กะบ่ย่าน เอาไปนั่งกลางลานปล่อยช้างตกมันใส่กะบ่ย่าน เฮ็ดจั่งซี่อยู่เป็นปี พระองค์กะเงียบขึมซึมซาอยู่คือเก่า ขนาดช้างเอาฮวงฮัดคีงยกขึ้นว่าสิฟาดเพิ่นกะบ่ย่าน ย้อนว่าเพิ่นอยากม้มบ่อยากเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ลองปล่อยงูมาฮัดเพิ่นกะนั่งซื่อ ๆ คอฮูปปั้น เฮ็ดจั่งซี่อยู่เป็นปี พระองค์กะบ่แสดงอาการอีหยังออกมา ต่อมากะลองให้คนถือดาบเข้ามาสิฟันกะบ่ย่าน ต่อมาให้เพิ่นนั่งอยู่องค์เดียวแล้วกะเฮ็ดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เพิ่นกะเฮ็ดคือจั่ง่ได้ยินหยัง เป็นจั่งซี่อยู่ ๗ ปี ตั้งแต่ ๙ พรรษา จน ๑๖ พรรษา ยามเป็นเด็กน้อยหนุ่งกุมมารคือสิมักใคร่ในกามารมณ์ พระบิดาเลยจัดให้หาผู้สาวมาเล้าโลมเฮ็ดไปสู่แนว บ่าสิกอดจูบลูบคลำ เปิดหม่องนั่นเปิดหม่องนี่ให้เบิ่งแน่ เพิ่นกะเฮ็ดโตบ่เดือดบ่ฮ้อนหยัง ไผสิเฮ็ดหยังเว้าหยัง เพิ่นกะบ่ปากบ่ตีงบ่ไห้บ่ฮ้อง คือเด็กน้อยผู้อื่น
อายุได้ ๑๖ พรรษา โหรหลวงทวยทักว่าเพิ่นโตกาลกิณี ให้เอาไปฝังทั้งเป็น พระเจ้ากาสีกะยอมให้เฮ็ดตามโหรหลวง นางจันทาเทวีขอเวลา ๗ มื้อ วิงวอนอ้อนขอให้พระเตมีเซาเฮ็ดโตพิการ แต่กะบ่มีผลหยัง พระเตมีเกิดสิโตนพระมารดา แต่ต้องอดทนเอาไว้ จนว่านายสุนันท์สารถีพาพระองค์ออกไปฝังนอกเมือง สารถีตั้งใจว่าสิพาไปออกทางประตูทิศตะเว็นตก แต่ไปออกทางทิศตะเว็นออก ไปจอดรถไว้กลางป่าใหญ่คิดว่าเป็นป่าช้า ขนเครื่องทรงพระเตมีวางลงแล้วกะก่นขุม พระเตมีเสด็จลงรถมาลองเบิ่งพละกำลัง จับรถม้ายกขึ้นเลยพระเศียรแล้วแก่ง แล้วตรัสกับสารถีว่าให้ไปบอกว่าพระองค์สิออกบวชอยู่ในป่า พระเจ้ากาสีกับพระนางจันทาเทวีฮู้เรื่องแล้วกะจัดขบวนเอิ้นชาวเมืองไปเข้าเฝ้าพระเตมีนำกัน พระเตมีดาบสเพิ่นกะแสดงธรรมสู่ฟัง พระเจ้ากาสีพระนางจันทาเทวีกัชาวเมืองเกิดศรัทธาอยากออกบวชอยู่นำ บ่ดนกะได้บรรลุสมาบัติ เบิดอายุขัยแล้วกะไปเกิดเทิงพรหมโลก
ตัวละคร พระเตมีย์ ผู้ที่มีความอดทนตั้งมั่นในการทำเพื่อให้ตนเองพ้นจากทุกข์
ต้นฉบับ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยกลาง เพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย ลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ขอนแก่น” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมากจากผู้อ่านมาแล้วแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องรู้จักรอเวลาและอดทนอย่างเพียรพยายามให้ถึงที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ย่อมนำบุคคลนั้นไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
เนกขัมมบารมี คือ การมีจิตพร้อมในการปฏิบัติเนกขัมมะ โดยถือศีลปฏิบัติธรรมเป็นปกติ ถือบวชประพฤติตนออกจากกาม ปลอดโปร่งจากสิ่งล่อใจ เย้ายวนต่าง ๆ ที่เรียกว่า “กามารมณ์” ซึ่งบำเพ็ญเข้มข้นขึ้นโดยลำดับ มีเป้าหมายเพื่อสลัดออกจากกาม เป็นอิสระจากกามทั้งสิ้นอาสวกิเลสในที่สุด
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
วิริยบารมี คือ ความตั้งใจในการเพียรพยายามจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะมีอุปสรรค์ยิ่งใหญ่เพียงใดก็พยายามอย่างเต็มที่โดยไม่ย่อท้อ มีความเพียรที่จะละความชั่ว ประพฤติดี เพียรในการสร้างกุศลเพื่อขัดเกลากิเลส แม้จะต้องตายไปในขณะที่กำลังทำความเพียรพยายามอยู่ก็ตาม
เนื้อเฮื่อง
ก่อนที่พุทธองค์สิได้บรรลุเป็นสัพพัญญูฮู้แจ้งโลกสั่งสอนสงสาร พระองค์ได้เกิดเป็นพระมาหาชนก ชาติที่สองในพระเจ้าสิบชาติ เพื่อที่สิบำเพ็ญวิริยบารมีคือความเพียรให้สุดยอดฮอดปลาย เพียรพยายามจนสุดชีวิต จนได้ประสบพบพ่อกับความสำเร็จ
บ่ท่อแต่นั้น พระพุทธองค์ยังได้เทศนาธรรมคำสอนให้มวลหมู่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้พากันสดับรับฟัง หลังจากแสดงเรื่องพระเตมีสิ้นสุดยุติลงแล้ว องค์ประธีปแก้วยังได้ตรัสเรื่องมาหาชนก ยกมาเป็นอุทาหรณ์ว่า
ยังมีกรุงกว้างนามว่ามิถิลา องค์ราชาอยู่หัวนั้นนามว่า พระมาหาชนก โอรสเกิดก้ำนำพระองค์นั้นมีอยู่ ๒ องค์ ทรงแต่งตั้งนามให้ผู้เป็นอ้ายว่า อริฏฐชนก ผู้น้องนามว่า โปลชนก อริฏฐชนกผู้อ้ายได้เป็นอุปหลาด น้องเป็นเสนาบดี พอแต่พระเจ้ามาหาชนกมอดม้วยมรณา อริฏฐชนกกะได้มาสืบครองเมืองบ้านแทนเจ้าพ่อตน
ต่อมา เกิดเหตุสงครามพี่น้องสองอ้ายน้องกะได้เฮ็ดสงครามกัน น้องคือโปลชนกมีชัยชนะ ตอนนั้นพระมเหสีกำลังมานลูก เลยได้หลบหลีกผีกลี่หนีไปอยู่เมืองกาฬจัมปาก์ อันว่าเมืองนี้ห่างจากมิถิลานครหลายโยชน์ พราหมณ์ทิศาปาโมกข์พาพระนางไปอยู่นำ บ่ดนพระนางกะประสูติพระโอรสมีนามคือจั่งพระอัยกาเจ้าปู่ว่า มาหาชนก พอแต่พระมาหาชนกเติบได้ใหญ่มา มวลหมู่มิตรสหายได้พากันล้อเลียนว่าเป็นลูกกำพร้า พระมาหาชนกกะได้สอบถามความแท้เป็นสิ่งประการได๋ พระมารดากะได้ไขบอกความตามแท้ พอแต่พระองค์ฮู้มูลเหตุเป็นมา อยากสิเฮียนวิซาศาสตร์ศิลป์เอาไว้ หวังสิไปแก้แค้นแทนพระบิดา พระองค์สิเสด็จไปเมืองมิถิลากับพวกพ่อค้าขายทางเรือ ๗๐๐ ลำ แล่นไปได้ ๓ มื้อ เกิดลมพายุใหญ่ เรือทั้งหลายกะได้จ่อมจมลงใต้มหาสมุทร พ่อค้าชาวเรือกะพากันจมน้ำตาย บางคนปลาฮ้ายกัดกิน พระมาหาชนกนั้นเพิ่นเอาน้ำมันลูบไล้ทาคีงปีนขึ้นไปเทิงเสากะโดงเรือแล้วโดดหวิดซุมปลาฮ้าย เบิ่งทิศแงงทางไปเมืองมิถิลาแน่แล้ว พระองค์กะลอยน้ำอยู่โดดเดี่ยวเอกาในมหาสมุทรกว้าง ได้ขวบ ๗ มื้อ พอดี ฮอดมื้อวันศีล พระองค์กะได้สมาทานศีล มื้อนั้น นางมณีเมขลาได้เหาะเหินเวหาอากาศเบิ่งแงงมหาสมุทรใหญ่ได้มาเห็นพระองค์ เกิดความศรัทธาแฮงกล้าในความพยายามคึดอยากซ่อย เลยได้อุ้มเอาพระองค์ขึ้นไปไว้ในเมืองมิถิลา ยามนั้น พระโปลชนกเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วกะเสด็จวรรคต เฮ็ดให้เมืองมิถิลาฮ้างองค์ราชาเจ้าผู้นั่งครอง ยังแต่พระธิดานามว่าสีวลี พราหมณ์ปุโรหิตเลยเฮ็ดพิธีเสี่ยงราชรถหาคู่ให้พระธิดา ราชรถได้ไปหยุดอยู่หม่องที่พระมาหาชนกกำลังบรรทมหลับ ปุโรหิตกับพระธิดากะได้พร้อมใจกันอภิเษกพระมาหาชนกเป็นราชาเจ้าเมืองมิถิลา มีพระนามว่า พระเจ้ามาหาชนก
พระองค์ได้ส่งอำมาตย์ไปรับพระมารดากับทิศาปาโมกข์พราหมณ์ผู้เคยได้เลี้ยงดูตั้งแต่ยังน้อยให้มาอยู่ในวังอย่างมีความสุข ต่อมาพระองค์ได้เห็นสัจธรรมจากบักม่วงสองต้น คือต้นหนึ่งหน่วยดกถืกสอยต่อยฮานก้านกิ่งเสียหาย อีกต้นหนึ่งใบดกบ่มีหน่วยบ่มีไผไปฮะฮานก้านกิ่งสาขา เบิ่งเขียวหนาใบงามได้เพิ่งพิงยามฮ้อน คือจั่งการออกบวช ใจพระองค์นั้นอยากให้ทีฆาวุกุมารผู้เป็นราชโอรสกับอำมาตย์ทั้งหลายรับผิดชอบราชกิจแทนพระองค์ ส่วนพระองค์นั้นกะสิได้ออกบวช บ่ว่าพระนางสีวลีกับชาวเมืองสิคัดค้านต้านพระองค์ไว้จั่งได๋ พระองค์กะออกบวชจนได้
ตัวละคร พระมหาชนก ผู้มีความเพียรพยายาม จนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง
ต้นฉบับ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยกลาง เพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย ลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ขอนแก่น” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมากจากผู้อ่านมาแล้วแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ความพากเพียรนำไปสู่ความสำเร็จได้นั้นต้องเป็นความเพียรที่ประกอบด้วยความรัก ความเข้าใจและความมุ่งมั่นต่องานอย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี
เมตตาบารมี คือ บารมีที่มีจิตใจพร้อมเมตตา แม้ต่อให้ผู้ที่จะทำร้ายตนให้ต้องสูญเสียธนสารสมบัติ เลือดเนื้อและชีวิตก็ตาม เมตตากับทุกคนทั้งที่เป็นคนดี มีประโยชน์เกื้อกูล และคนไม่ดี ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล อย่างเสมอกัน ถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
เนื้อเฮื่อง
พระสุวรรณสามเป็นพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๓ ในพระเจ้าสิบชาติก่อนที่สิมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญเมตตาธรรม ธรรมที่สินำผู้ปฏิบัติไปเถิงความบ่มีภัย เป็นเกราะแก้วป้องกันอันตรายบ่ให้มากรายกล้ำล้ำล่วงได้
แต่ก่อนกี้ มีชายหนุ่มเนื้อนามว่า “ทุกุละ” กับนางนาฏน้อยนามว่า “ปาริกา” เป็นบุตราบุตรีแห่งนายพรานเนื้อ พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายนั้นเห็นต้องพ้องกันว่า ให้แต่งงานเป็นดองกันสา แต่ว่าทั้งหนุ่มสาวเห็นว่าการอยู่กินเป็นเมียผัวนี้มันเป็นทุกข์ แต่กะบ่สามารถสิขืนขัดคัดค้านความต้องการของพ่อแม่ได้ กะเลยต้องยินยอมน้อมรับแต่งงานกันไป แล้วจั่งได้พากันหนีออกบวชไปอยู่ในป่าหิมพานต์
มื้อหนึ่ง ท้าวสักกะฮู้เหตุเภทภัยที่สิเฮ็ดให้ดาบสทั้งสองตาบอด ได้ลงมาบอกว่าให้มีบุตร ให้ดาบสทุกุละลูบท้องดาสินีปาริกาแล้วจั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้บุตร ต่อมาบ่ดนดาบสินีปาริกากะตั้งท้องแล้วคลอดออกมาเป็นบุตรชาย ผิวพรรณวรรณะผุดผ่องปานคำในเบ้า ได้ชื่อว่า “สุวรรณสาม“ เติบได้ใหญ่มาอายุ ๑๖ ปี มื้อหนึ่ง ดาบสทั้งสองพากันออกไปเก็บหมากไม้ ฮอดยามแลงฝนตกแฮงได้พากันเข้าไปหลบลี่หนีฝนอยู่ข้างโพนปลวกใต้ต้นไม้ใหญ่ งูเห่าอยู่ในโพนปลวกออกมาพ่นพิษใส่ดาบสทั้งสองจนตาบอด สุวรรณสามเห็นผิดแผกแปลกใจเลยดั้นด้นออกนำหาจนได้พ่อ พากลับเข้าอาศรม สุวรรณสามได้ผูกเชือกโยงไปหม่องนั่นหม่องนี่ให้ดาบสทั้งสองได้คลำไปเฮ็ดกิจธุระได้ง่ายขึ้น แต่นั้นมา สุวรรณสามกะได้บัวระบัติอุปัฏฐากพ่อแม่เป็นอย่างดี
พระเจ้าปิลยักษ์ กษัตริย์เมืองพาราณสี มักออกไปหาล่าเนื้อในป่าหิมพานต์เพียงพระองค์เดียว ยามแลงมื้อหนึ่งพระองค์เสด็จไปฮอดแม่น้ำมิคสัมมตา เหลียวเห็นฝูงหมู่สัตว์แวดล้อมอ้อมกายสุวรรณสามอยู่ด้วยอำนาจแห่งเมตตาบารมี พระเจ้าปิลยักษ์อยากสิฮู้ว่าเป็นผู้ได๋ เทพยดาหรือนาค เลยยิงศรถืกสุวรรณสามจนได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส แต่บ่ได้คึดเคียดแค้นหรือว่าคิดย่านตาย คิดฮอดแต่บิดามารดาว่าเพิ่นสิเป็นอยู่ต่อไปจั่งได๋ พระเจ้าปิลยักษ์สอบถามได้ฮู้ความตามจริงแล้วกะเลยสำนึกผิด ตกลงปลงใจว่าสิสละราชสมบัติแล้วมาเบิ่งแงงบิดามารดาแทนสุวรรณสาม หลังจากที่สุวรรณสามฝากฝังบิดามารดาจักของแล้วกะสลบไป
พระเจ้าปิลยักษ์เสด็จไปอาศรม ดาบสทั้งสองฮู้ว่าบ่แม่นสุวรรณสาม ปิลยักษ์กะเลยต้องรับสารภาพแล้วพาดาบสทั้งสองไปหาสุวรรณสามที่กำลังนอนสลบอยู่ ดาบสซ้อนเอาทางหัวสุวรรณสาม ดาบสินีซ้อนเอาทางเท้า ทั้งสองกะพาฮ้องไห้คร่ำครวญ ดาบสินิฮู้ว่าคีงสุวรรณสามยังฮุ่ม ๆ อยู่ ฮู้ว่ายังบ่ทันตาย ดาบสทั้งสองได้ตั้งใจอธิษฐานขอเดชาอานิสงส์ทั้งหลายที่สุวรรณสามได้บัวระบัติอุปัฏฐากบิดามารดานี้ ให้พิษบาดแผลหายไป สุวรรณสามฮุ่งเมื่อคีงขึ้น เทพธิดาสุนทรีผู้เคยเป็นมารดาของสุวรรณสามตั้งแต่ชาติปางก่อน เคยปกปักฮักษาคุ้มครองสุวรรณสามกะตั้งจิตอธิษฐานคือกัน สุวรรณสามสามารถลุกขึ้นได้เป็นตาอัศจรรย์ แล้วหน่วยตาของดาบสทั้งสองที่เคยบอดกะเหลียวเห็นได้ดีคือเก่า จากนั้น สุวรรณสามกะได้บอกสอนพระเจ้าปิลยักษ์ให้เฮ็ดดีกับพระชนก พระชนนี พระมเหสี พระโอรสธิดา ข้าราชบริพาร ชาวเมือง อุปถัมภ์บำรุงสมณะชีพราหมณ์ เมตตามวลหมู่สรรพสัตว์ มีกาย วาจา ใจ ที่สุจริตบ่ผิดธรรม
ตัวละคร พระสุวรรณสาม ผู้มีความเมตตา ไม่เคยคิดร้ายต่อสิ่งใด
ต้นฉบับ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยกลาง เพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย ลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ขอนแก่น” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมากจากผู้อ่านมาแล้วแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า คนมีเมตตา คือ คนที่มีความรักและปรารถนาดี ทั้งแก่คนที่เป็นมิตรและศัตรู การมีเมตตาที่ถูกต้องคือ เริ่มต้นจากรักตัวเอง แล้วขยายความรักนั้นสู่บุคคลอื่น
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมีราช ทรงบำเพ็ญอธิฐานบารมี
อธิษฐานบารมี คือ บารมีที่จิตปกติไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสียธนสารสมบัติ บุตร ภรรยา และแม้แต่ต้องสูญเสียชีวิตตนเองด้วย หากตั้งใจในการละชั่ว ประพฤติดี ทำจิตใจให้ผ่องใส แน่วแน่มั่นคงมนากรเจริญกุศล ในการขัดเกลากิเลส เพื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรม แม้ประสบอุปสรรคถึงแก่ชีวิตก็ไม่เปลี่ยนความตั้งใจ
เนื้อเฮื่อง
พระเนมีราชเป็นพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๔ ใน พระเจ้าสิบชาติก่อนสิมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ความเพียรพยายามฮักษาคุณงามความดีเอาไว้ ตั้งอกตั้งใจเฮ็ดแต่แนวดี คันเฮ็ดดีกะได้ดี คันเฮ็ดซั่วกะได้ซั่วสนอง
พระเจ้ากรุงมิถิลาเป็นเผ่าพงษ์วงศ์เชื้อของพระเจ้าเนมีราช คันแม่นองค์ในเหล่าวงศ์นี้ได้ปกบ้านผ่านนครแล้ว ยามได๋ที่เส้นเกศาผมหงอกแล้ว ให้ดกออกมาเบิ่ง พระเจ้าแผ่นดินคันเห็นผมหงอกแล้วกะสิได้สละละวางราชสมบัติให้กับโอรสปกบ้านครองเมืองแทน แล้วราซาพระองค์นั้นกะสิได้ออกผนวชบวชเป็นฤาษีชีไพรบำเพ็ญพรตภาวนาในป่าตลอดชีวิต เป็นประเพณีสืบสร้างจั่งซี่ตลอดมา จนฮอดกษัตริย์องค์สุดท้าย เพิ่นเว้าไว่ว่า ตอนนั้น พระเนมีราชยังเสวยสุขอยู่เทิงสวรรค์ชั้นฟ้า แต่กะได้พิจารณาเห็นว่าจักของกำลังสิสิ้นอายุขัยตายจากเมืองแมนแล้ว สบกับตระกูลนี้กำลังสิเสื่อมย้อนว่าบ่มีผู้ลงมาบำเพ็ญ กะเลยคิดว่า อย่าสิเป็นจั่งซั่นเถาะ เทพบุตรกะเลยได้จุติแต่เมืองฟ้าลงมาเกิดในครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา พอแต่ฮอดขวบสิบเดือนแล้วกะได้ประสูติออกมา โหราจารย์ทั้งหลายกะได้พากันทำนายทายท้วงว่าพระองค์สิได้สืบสร้างคือจั่งเผ่าพงษ์วงศาได้พากันเฮ็ดมา คือจั่ง กงเกวียนกำเกวียนจั่งได๋กะสิหมุนเวียนไปนำกัน เลยขนานนามว่า เนมีราช
พระเจ้าเนมีราชได้สืบสายลายล่องมาแต่พระเจ้ามฆเทวะ ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์สืบเชื้อสายมาได้ ๘๔,๐๐๐ พระองค์แล้ว พระองค์เป็นมักใคร่ใฝ่กุศลสร้างน้ำทำบุญบริจาคทานมาโดยตลอด มีโฮงทานอยู่ ๕ หม่อง คือ ประตูเมือง ๔ แก กับกลางเมืองอีกหนึ่ง รวมกันเป็น ๕ หม่อง บ่ท่อแต่นั้น พระองค์ยังได้ให้โอวาทประกาศคำสอนป่าวเอิ้นชาวเมืองให้สร้างน้ำทำบุญ ฮักษาศีล พระองค์เกิดข้อกังขาสงสัยในเรื่องอานิสงส์ของการให้ทานกับการฮักษาศีลว่าอันได๋มีอานิสงส์หลายกว่ากัน
มื้อหนึ่ง เป้นคืนเพ็ง ๑๕ ค่ำ ท้าวสักกเทวราชได้เหาะเหินเวินฟ้าลงมาตอบข้อสงสัยของพระองค์บอกว่า การฮักษาศีลนี้มีอานิสงส์หลายกว่าการให้ทาน การให้ทานมีอานิสงส?ส่งให้ฮอดสวรรค์ แต่การฮักษาศีลนี้ส่งให้ฮอดพรหมโลก ทั้งการให้ทานฮักษาศีลล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างความดี จั่งซั่นพระองค์สิต้องเฮ็ดไปพร้อมกัน
พอแต่ เทวดาทั้งหลายได้ฮู้เรื่องพระเจ้าเนมีราชแต่ท้าวสักกะแล้ว กะได้ขอให้อัญเชิญพระเจ้าเนมีราชขึ้นมาเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ ท้าวสักกะกะเลยสั่งให้มาตรีเทพบุตรขี่เวชยันตราชรถไปฮับพระเจ้าเนมีราชขึ้นมา
ตอนนั้น พระองค์ประทับอยู่ท่ามกลางเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารทั้งหลาย พร้อมกับรับคำเชิญขึ้นประทับเวชยนตราชรถ มาตรีเทพบุตรได้พาพระองค์เที่ยวท่องล่องลงไปชมเมืองนรกขุมต่าง ๆ มีเวตรณีนรก นรกหมา นรกคูถ นรกน้ำเหลืองน้ำหนอง นรกเบ็ด นรกภูเขาเหล็กแดง นรกบ่อไฟ แล้วจั่งได้พาเหาะขึ้นไปเที่ยวเมืองสวรรค์ บันดาลให้พระองค์เหลียวเห็นสวรรค์ทั้งเบิด แล้วจั่งได้พาไปเข้าเฝ้าท้าวสักกเทวราชอยู่ สุธรรมาเทวสภา ท้าวสักกะได้ชวนพระองค์อยู่เสวยทิพยสมบัติอยู่เทิงสวรรค์ แต่พระองค์กะบ่ได้ยินยอมน้อมรับ บอกไปว่าสิไปสร้างน้ำทำบุญหลาย ๆ
พอแต่พระองค์กลับมายังเมืองมนุษย์แล้ว กะได้เว้าเรื่องนรกสวรรค์ให้หมู่ข้าราชบริพารกับชาวเมืองทั้งหลายสู่ฟัง เฮ็ดให้สู่คนสร้างคุณงามความดีหลายขึ้น พระเจ้าเนมีราชอยู่เสวยราชย์ผาสุกตลอดมา จนว่าฮอดยามเฒ่าเข้าวัยชราพระองค์จั่งได้ออกบวชตามประเพณี อยู่สวนบักม่วงราชอุทยาน พระองค์ได้บำเพ็ญพรหมวิหาร ๔ ได้ฌานสมาบัติ เบิดอายุขัยไปเกิดเทิงพรหมโลก
ตัวละคร พระเจ้าเนมีราช เป็นกษัตริย์ที่ยึดมั่นอยู่ในพระธรรม ให้ทาน รักษาศีล อย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นคุณสมบัติของกษัตริย์ที่ดี
ต้นฉบับ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยกลาง เพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย ลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ขอนแก่น” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมากจากผู้อ่านมาแล้วแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า การแน่วแน่มั่นคงในความดี เป็นสิ่งเกื้อกูลให้ประสบความสำเร็จได้ เหมือนดั่งที่พระเจ้าเนมีราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีขั้นสูงสุด คือทรงแน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
ปัญญาบารมี คือ บารมีในการมีจิตพร้อมที่ใช้ปัญญารักษาธนสารสมบัติ บุตร ภรรยา และชีวิต รวมไปถึงการละความชั่ว ประพฤติดี ทำจิตใจให้ผ่องใส แม้ประสบภัยพิบัติอยู่เฉพาะหน้าก็สามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเที่ยงธรรม
เนื้อเฮื่อง
พระมโหสถเป็นพระโพธิสัตว์ ชาติที่ ๕ ในพระเจ้าสิบชาติก่อนที่สิมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญเพียรสร้างปัญญาบารมี ซ่อยเหลือคน อันว่าปัญญานี้มีค่าหลายกว่าเงินคำกำแก้วเป็นแสนล้าน
ตั้งแต่อตีตาชาติพุ้น พระพุทธเจ้าของเฮาไปเกิดเป็นลูกของเสรษฐีมีเงินสิริวัฒกะกับนางสุมนาเทวี อาศัยอยู่บ้านปาจีนวยมัชคาม ทิศตะเว็นออกมิถิลานคร แคว้นวิเทหะ ตอนนี่คลอดออกมานั้นได้ถือแท่งยาออกมานำ เลยได้ซื่อว่า มโหสถ พอแต่ฝนท่อนยานี้ทาหน้าผากเศรษฐีโรคปวดหัวอยู่สู่มื้อกะเซา เศรษฐีกะได้แจกจ่ายยาให้คนเอาไปกินจนคนฮู้จักกันไปทั่ว มโหสถอายุได้ ๗ ปี ได้สร้างศาลาใหญ่ไว้กลางหมู่บ้าน พอได้เป็นหม่องเซาพักของคนเดินทาง แล้วยังใช้เป็นหม่องตัดสินคดีทั้งหลายได้อย่างฉลากล้ำลื่นคน จั่งคดีลักงัว มโหสถให้งัวกินน้ำตำใบประยงค์ งัวกะฮากออกมา ผู้เป็นเจ้าของงัวสิบอกแนวกินของงัวได้ถืก อีกคดีหนึ่งกะคือผู้หญิงสองคนแย่งลูกกัน มโหสถให้หญิงทังสองดึงแขนของเด็กน้อยเพื่อสิแยงกัน แล้วตัดสินให้ผู้ที่ปล่อยแขนเป้นแม่อีหลีของเด็กน้อย ย้อนว่าผู้หญิงที่ปล่อยมือเด็กน้อยนั้นลิโตน บ่อยากให้ลูกจักของเจ็บโต แสดงว่าเป็นแม่อีหลีของเด็กน้อย
พระเจ้าวิเทหราชเจ้าผู้นั่งเมืองมิถิลา เอาไม้ตะเคียนกลึงยาวคืบหนึ่งให้หาว่าทางได้กกทางได๋ปลาย หวังสิทดสอบปัญญาของมโหสถ มโหสถกะเอาเชือกผูกกลางท่อนแล้วหย่อนลงในน้ำ ทางกกสิจมก่อน สามารถตอบปัญหาของพระเจ้าวิเทหะได้ เลยมีรับสั่งให้เข้าไปหา พระเจ้าวิเทหะเชื่อว่าบิดามารดาจั่งได๋กะต้องดีกว่าลูกแน่นอน มโหสถได้เว้าเรื่องลาออกลูกเป็นม้าอัสดร เพื่อบอกว่าบิดามารดากะบ่ได้ดีกว่าบุตรเสมอไป พระเจ้าวิเทหะพอใจหลาย เลยให้มโหสถเข้ารับราชการ เป็นผู้ที่พระเจ้าวิเทหะกับพระนางอุทุมพรพอพระทัยหลาย
มโหสถอายุได้ ๑๖ ปี ได้ออกเที่ยวหาคู่ครอง เหลียวเห็นผู้สาวลูกชาวนาผู้หนึ่ง อยู่หมู่บ้านอุตตรวยมัชคาม ทางทิศเหนือของเมืองมิถิลา ซื่อว่า อมรกุมารี ฮูปงามทั้งฉลาด มโหสถได้ลองทดสอบเบิ่งแล้วจั่งได้เอามาเป็นเมีย ในตอนที่ยังเป็นข้าราชการอยู่
ปุโรหิต ๕ คน มีเสนกะ ปุกุ กุสะ เทวินท์ กับกามินท์ มีความอิจฉาริษยามโหสถพยายามใส่ความว่ามโหสนี่เป็นกบฏอยู่หลายเทื่อ จนมโหสถได้หนีไปอยู่กับช่างปั้นหม้อทางทิศใต้กรุงมิถิลา เทพประจำเมืองได้เข้ามาซ่อย โดยที่เข้าไปถามปัญหาพระเจ้าวิเทหะ ปุโรหิตทั้ง ๕ คน ตบคำถามบ่ได้ กะเลยได้ไปนำมโหสถมาตอบ พระเจ้าวิเทหะแฮ่งพอใจหลายกว่าเก่า ได้มอบหมายให้เฮ็ดราชกิจต่างประเทศแทนพระองค์ ปกครองกรุงวิเทหิให้ฮุ่งเฮือง แล้วกะได้เฮ็ดหน้าที่สั่งสอนธรรมะพระองค์พร้อม ในประเทศเขตแคว้นแดนชมพูทวีปมีกษัตริย์ปกบ้านครองเมืองอยู่ ๑๐๑ พระองค์ กษัตริย์พระองค์หนึ่งซื่อว่า พระเจ้าจุลลนีคิดการใหญ่มีเกวัฏฏะเป้นผู้ให้คำปรึกษา พระเจ้าจุลลนียกทัพเข้ายึดเมืองทั้งหลายไว้ได้ ยังแต่วิเทหะเมืองสุดท้าย มโหสถได้วางแผนป้องกันเมือง ต่อมาได้ตีทัพพระเจ้าจุลลนีจนพ่ายไป มโหสถเฮ็ดให้พระเจ้าจุลลนียกพระธิดานามว่า ปัญจาลจันที ให้เป็นมเหสีของพระเจ้าวิเทหราช พอแต่พระเจ้าวิเทหะสวรรคตแล้ว มโหสถได้อภิเษกพระโอรสอีกองค์ครองราชย์ต่อ แล้วจั่งได้ขอลาไปรับราชการกับพระเจ้าจุลลนีอยู่เมืองอุตตรปัญจาลนครตามคำขอร้องพระเจ้าจุลลนี แต่นั้นกะอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
ตัวละคร พระมโหสถ ผู้ที่มีปัญญายิ่งนัก สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับบ้านเมืองได้
ต้นฉบับ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยกลาง เพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย ลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ขอนแก่น” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมากจากผู้อ่านมาแล้วแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่าปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ คนมีปัญญาย่อมหาทรัพย์ได้และรักษาไว้ได้ด้วย ส่วนคนที่ไม่มีปัญญาแม้จะมีทรัพย์ก็ยากที่จะรักษาทรัพย์ไว้ได้
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
ปัญญาบารมี คือ บารมีในการมีจิตพร้อมที่ใช้ปัญญารักษาธนสารสมบัติ บุตร ภรรยา และชีวิต รวมไปถึงการละความชั่ว ประพฤติดี ทำจิตใจให้ผ่องใส แม้ประสบภัยพิบัติอยู่เฉพาะหน้าก็สามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเที่ยงธรรม
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระภูริทัตต์ ทรงบำเพ็ญศีลบารมี
ศีลบารมี คือ การบำเพ็ญศีลอย่างเคร่งครัด ใกล้บรรลุเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการบำเพ็ญบารมีนั้น แบ่งเป็นสามระดับคือ บารมี เป็นการบำเพ็ญขั้นต้น อุปบารมี เป็นดารบำเพ็ญบารมีที่เพิ่มขึ้นจากขั้นต้น และปรมัตถบารมี เป็นการบำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุดจนกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพาน
เนื้อเฮื่อง
พระเจ้าพรหมทัตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพาราณสีมีพระโอรสองค์หนึ่ง ได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปราช ต่อมาย่านว่าพระอุปราสิแย่งราชสมบัติ เลยบอกให้ออกไปหาเที่ยวนำหม่องต่าง ๆ พร้อมกับบอกว่า “คันยามได๋พ่อตายแล้ว จั่งมาครองราชย์ต่อ” พระโอรสกะเลยได้ออกไปท่องเที่ยวตามป่าเขาลำเนาไพร ได้ไปเซาพักอยู่ศาลาริมแม่น้ำยมนา คิดว่าสิได้พักผ่อนหย่อนอารมณ์อยู่นั่น เห็นว่าเป็นหม่องดีสงบวิเวกบ่มีคนผ่านไปผ่านมา กะได้ตกลงปลงใจพักอยู่นั้น แล้วมีพญานาคโตหนึ่งจำแลงแปลงร่างเป็นมนุษย์ขึ้นมาเที่ยวนำริมน้ำได้เห็นกับกับพระโอรส เกิดปฏิพัทธ์พอใจใคร่ยินดีได้เสียกันแล้ว จนได้โอรสซื่อว่า “เจ้าสาครพรหมทัต” กับธิดาซื่อว่า “นางสมุททชา”
หลังจากที่พระเจ้าพรหมทัตสวรรคตแล้ว หมู่เสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารกะได้ปรึกษาหารือกันว่าสิเสี่ยงทานราชรถ ย้อนว่าบ่มีไผฮู้ว่าพระอุปราชนั้นอยู่ไส แต่ว่ามีพรานป่าผู้หนึ่งได้เดินทางไปพ่อ บอกว่าไปพักอยู่กับนางนาคหลายมื้อ พระอุปราชนั้นยังบ่ทันตาย ตัวข้าน้อยกะฮู้หม่องเพิ่นอยู่พร้อม แล้วพรานนั้นกะได้พาอำมาตย์ราชบริพารออกไปหาพระโอรสอยู่อาศรม พอแต่พระโอรสฮู้ว่าพระเจ้าพรหมทัตสวรรคตแล้วกะได้รับเชิญให้ครองราชย์ พร้อมกับชวนพระมเหสีนางนาคไปอยู่นำ แต่พระนางกะปฏิเสธ ย่านว่าไปเฮ็ดให้ชาวบ้านชาวเมืองเขาได้รับอันตราย พร้อมทั้งได้ขอเอาบุตรของพระนางกับคืนเมือเมืองนาค
อยู่มามื้อหนึ่ง พระโอรสกับพระธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ เกิดย่านเต่าโตหนึ่ง พระบิดากะเลยบอกให้เอาเต่าไปปล่อยวังน้ำวนแม่น้ำยมุนา เต่าได้จมลงไปฮอดเมืองนาค พวกนาคจับเต่าได้ เต่าออกอุบายว่าเป็นทูตของพระเจ้ากรุงพาราณสี พระองค์ให้มาเข้าเฝ้าท้าวธตรฐเพื่อสิให้พระธิดาของพระองค์เป็นชายาของท้าวธตรฐ เมืองพาราณสีกับเมืองนาคสิได้เป็นดองกัน พอแต่ท้าวธตรฐได้ฟังแล้วก็มีใจยินดี สั่งให้นาค ๔ โต เป็นทูตนำเอาบรรณาการไปถวายพระราชากรุงพาราณสีพร้อมกับขอพระธิดากลับเมืองนาค พระราชาฮู้ข่าวแล้วกะแปลกใจได้บอกกับนาคทั้ง ๔ ว่า “มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธุ์ชาติเชื้อ สิแต่งงานกันได้จั่งได๋” นาคทั้ง ๔ ได้ฟังแล้วกะได้นำความไปบอกกับท้าวธตรฐว่า “พระราชาพาราณสีนั้นเหยียดหยามว่านาคเป็นเผ่าพพันธุ์งูบ่ควรที่สิเป็นคู่กับพระธิดา ท้าวธตรฐได้ฟังจั่งซั่นกะสูนหลาย บอกให้นาคบริวารทั้งหลาย ขึ้นไปเมืองมนุษย์ แผ่พังพานแสดงอิทธิฤทธิ์ไปทั่วทุกหม่องให้ชาวเมืองเกรงย่าน สุดท้ายพระราชากะได้ยอมส่งพระนางสมุททชาไปเป็นชายาของท้าวธตรฐ
พระนางสมุททชานั้นไปอยู่เมืองนาคกะบ่ได้รู้ว่าเป็นเมืองนาค ย้อนว่าท้าวธตรฐสั่งให้นาคบริวารแปลงฮูปเป็นมนุษย์ทั้งหมด นางกะอยู่ดีบ่มีฮ้อนสืบมา จนได้โอรส ๔ พระองค์ นามว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ กับอริฏฐะ พอแต่พระโอรสเจริญวัยใหญ่โตแล้ว ท้าวธตรฐกะได้แบ่งสมบัติให้ครอบครอง เฉพาะ ทัตตะ โอรสองค์ที่ ๒ นั้น มีผญาล้ำเลิศกว่าหมู่ เข้าเฝ้าบิดามารดาอยู่ตลอด ทั้งได้ซ่อยไขปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ ๆ ขนาดปัญหาของเทวดาทัตตะกะสามารถตอบได้ เลยได้ขนานนามว่า “ภูริทัตต์” แปลว่า “ผู้มีปัญญาคือแผ่นดิน” ภูริทัตต์นั้นเคยขึ้นไปเมืองสวรรค์กับพระบิดาอยู่ตลอด เห็นว่าเป็นหม่องที่รื่นรมย์ เลยตั้งใจว่าสิฮักษาศีลอุโบสถเพื่อสิได้เกิดเทิงเทวโลก จากนั้นภูริทัตต์กะได้เริ่มฮักษาศีลอุโบสถ แต่ว่านาคทั้งหลายสร้างความรำคาญ เลยได้ขึ้นไปเทิงเมืองมนุษย์เพื่อฮักษาศีล ภูริทัตต์ได้ขดอยู่จอมโพนปลวกใกล้กับต้นไทรแคมแม่น้ำยมุนา พร้อมทั้งตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “ผู้ได๋อยากได้หนังเอ็นกระดูกเลือดเนื้อกะสิทานให้ ขอแต่ได้ฮักษาศีลให้บริสุทธิ์กะพอ”
ต่อมา มีพรานซื่อว่า “เนสารท” ออกหาล่าสัตว์แถวแม่น้ำยมุนาเห็นภูริทัตต์นาค ได้ถามเบิ่งจนฮู้ความว่า เป็นโอรสของนาคราช ภูริทัตต์ฮู้ว่าพรานเนสารทใจบาปหยาบช้าสิเฮ็ดภัยฮ้ายกับตนได้ ได้บอกกันพรานว่าสิพาไปเสพสุขอยู่เมืองนาค พอแต่พรานกับลูกอยู่เมืองนั้นได้บ่ดนกะเกิดคิดฮอดบ้าน ปรารภกับภูริทัตต์ว่าสิกลับไปเยี่ยมยามญาติพี่น้อง พร้อมกับสิตั้งใจฮักษาศีล ภูริทัตต์กะเลยยอมพาขึ้นไปเมืองมนุษย์คือเก่า
มามื้อหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปในป่าไปพ่อกับฤาษี ได้บวชอยู่รับใช้ฤาษี จนฤาษีพอใจเลยได้สอนมนต์ให้ พราหมณ์เห็นว่าจักของมีมนต์พอเลี้ยงโตได้แล้ว ได้กราบลาฤาษีกลับไป ระหว่างทางนั้นพราหมณ์ได้สาธยายมนต์ นาคทั้งหลายพากันเล่นน้ำอยู่ คิดว่าพญาครุฑมาฟ้าวพากันกลับลงเมืองนาคจนลืม “แก้วสารพัดนึก” ไว้เทิงฝั่ง พราหมณ์เห็นดวงแก้วกะได้หยิบเอาไปนำ ระหว่างทางนั้นพอดีไปพ่อกับพรานเนสารทพร้อมกับลูกกำลังไล่ป่าล่าสัตว์ พรานเนสารทเห็นดวงแก้วนั้นแล้วกะจำได้ว่าภูริทัตต์เคยเอาให้เบิ่งตอนไปเที่ยวเมืองนาค เลยออกปากขอดวงแก้วกับพราหมณ์ มีแนวแลกเปลี่ยนคือ คันอยากฮู้เรื่องหยัง สิบอกเรื่องนั้น ๆ ให้ฮู้ พราหมณ์บอกว่าอยากฮู้หม่องอยู่ของนาค ย้อนว่าจักของมีมนต์จับนาค พรานเนสารทเลยพาไปหม่องที่ภูริทัตต์ฮักษาศีลอยู่ ลูกชายของพรานเกิดความละอายใจที่พ่อคิดบ่ดีกับมิตรเลยหลบหนีไป
พอแต่ภูริทัตต์ฮู้กะบ่ยอมให้ความโกรธเกิดขึ้นได้ ย้อนว่าอยากสิฮักษาศีล พราหมณ์อาลัมพายน์ได้พาภูริทัตต์นาคไปแสดงกลเรี่ยไรเงินได้หลาย
พระนางสมุททชาเกิดผันบ่ดี บ่เห็นภูริทัตต์มาเฝ้าคือเก่า เลยแน่ใจว่าเกิดเหตุฮ้ายกับพระโอรส โอรสทั้งสามอาสาสิออกนำหา สุทัศนะแปลงร่างเป็นฤาษี นำไปจนพ่อพราหมณ์อาลัมพายน์กำลังเปิดแสดงอยู่หน้าราชวังพาราณสี พญานาคภูริทัตต์เห็นฤาษีแปลงกะฮู้ว่าเป็นอ้ายสุทัศนะ เลื้อยมาหมอบอยู่กับเท้าทั้งฮ้องไห้ ฤาษีแปลงวางแผนซ่อย ท้าให้พราหมณ์สู้กับพิษของเขียดซึงเป็นร่างแปลงของนางนาค พิษได้เข้าไปในร่างของพราหมณ์ เฮ็ดให้พราหมณ์เป็นโรคเรื้อน พราหมณ์ย่านแล้วกะได้ปล่อยภูริทัตต์นาค สุทัศนะพร้อมกับภูริทัตต์ได้ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าพาราณสี บอกให้ฮู้ว่าเป็นลูกของพระนางสมุททชาน้องสาวของพระองค์ ภูริทัตต์กลับไปฮักษาโต แล้วได้บอกว่าพราหมณ์กับผู้ครองเรือนปุถุชนคนทั่วไปยังหมกอยู่กับกามคุณ อยากได้ทรัพย์สิน เงินคำกำแก้ว ข้าวปลาอาหาร บ่าวไพร่คือกัน
ตัวละคร พระภูริทัตต์ ผู้ตั้งใจรักษาอุโบสถศีล เพื่อจะได้ไปเกิดในเทวโลก
ต้นฉบับ หนังสือ บารมีสิบชาติชาดก ของ พินิจ หุตะจินดา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า การกระทำความดีมักมีอุปสรรคมาก กว่าจะบรรลุผลหรือประสบผลสำเร็จได้ ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างสูง ในเรื่องนี้ พระภูริทัตโพธิสัตว์ทรงใช้การรักษาศีล
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี
ขันติบารมี คือ มีความอดทนต่อสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ไม่พอใจ และไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติธรรม อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ และสามารถใช้สติปัญญาควบคุมให้อยู่ในอำนาจและเหตุผล และแนวทางความประพฤติที่ตั้งใจไว้เพื่อจุกหมายอันชอบ
เนื้อเฮื่อง
แต่ปางก่อนนั้น พระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็น เจ้าชายจันทกุมาร โอรสของพระเจ้าเอกราช ผู้ปกบ้านครองเมืองปุปผวดี พระบิดาได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปราช เฮ็ดหน้าที่ออกว่าราชการแทนพระองค์ พระเจ้าเอกราชมรปุโรหิตผู้หนึ่งนามว่า กัณฑาหาละ เฮ็ดหน้าที่ให้คำแนะนำกับตัดสินคดีความ ตอนแรก ๆ เฮ็ดหน้าที่ได้ดี แต่ต่อมารับกินสินบน จนเจ้าชายจันทกุมารฮู้เรื่อง ซ่อยให้เจ้าทุกข์ที่บ่ได้รับความเป็นธรรม พระเจ้าเอกราชได้ฮู้เรื่องแล้วกะได้แต่งตั้งให้เจ้าชายจันทกุมารเป็นผู้ตัดสินแทนปุโรหิต เฮ็ดให้ปุโรหิตเกิดความเคียดแค้นคิดหาทางทำลายเจ้าชายจันทกุมารตลอดมา
คืนหนึ่ง พระจ้าเอกราชฝฝันเห็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เห็นท้าวสักกะประทับอยู่ปราสาทมีเทพธิดาแวดล้อมอ้อมกาย ความฝันนี้เฮ็ดให้พระองค์คิดอยากไปเที่ยวเมืองสวรรค์ ปุโรหิตเห็นว่าเป็นโอกาส เลยกราบทูลให้บูชายัญเซ่นสรวงด้วยการเอาพระมเหสี ๔ พระองค์ พระโอรส ๕ พระองค์ พระธิดา ๔ พระองค์ พร้อมทั้งเศรษฐีประจำแคว้น ๔ คน มาโฮมกันไว้ บ่ท่อแต่นั้น พระองค์ยังได้นำพาหนะสำคัญ มีช้าง ม้า งัวอุสุภราช มาเซ่นบูชานำ พระบิดามารดามาวิงวอนอ้อนขอกะบ่ยอม
เจ้าชายจันทกุมารฮู้ว่าพระองค์เป็นต้นเหตุ ย้อนว่าไปขัดข้องหมองใจกับปุโรหิตกัณฑาหาละ พระองค์สิต้องแก้ไขเอง พระองค์ได้ไปวิงวอนอ้อนขอพระบิดาจนใจอ่อน ยอมปล่อยทุกคนถึง ๓ เทื่อ แต่กะถืกปุโรหิตคัดค้าน จนพระเจ้าเอกราชรับสั่งให้จับทุกพระองค์เป็นเทื่อที่ ๔ แล้วพาออกเมืองไป ชาวเมืองพากันฮ้องไห้ ในเมืองถืกความโศกเศร้าปกคลุม เจ้าชายจันทกุมารยืนอยู่ปากขุมบูชายัญ ขอร้องพระบิดาเป็นเทื่อที่ ๔ พระนางจันทาชายาของเจ้าชายได้อ้อนขอ แต่พระเจ้าเอกราชกะบ่ใจอ่อน จั่งได้กะสิบูชายัญให้ได้ ก่อนที่เจ้าชายจันทกุมารสิถืก ประหาร ท้าวสักกะถือกระบองเหล็กเสด็จลงมาม้างพิธี พร้อมกับตำหนิพระเจ้าเอกราช พระเจ้าเอกราชตื่นย่าน สั่งให้ปล่อยสู่คนพร้อมกับสัตว์สู่ตัว ชาวเมืองได้โอกาสพากันเข้ารุมตีปุโรหิจนตาย จากนั้นสิมาปลงพระชนม์พระเจ้าเอกราช แต่ว่าเจ้าชายจันทกุมารมาขวงไว้ทัน แล้วได้เนรเทศไปอยู่หมู่บ้านคนจัณฑาล จั่งได้อภิเษกเจ้าชายจันทกุมารเป็นราชาครองราชย์แทน พระองค์ได้เสด็จไปยามพระบิดาอยู่ตลอด ๆ ปกครองเมืองปุปผวดีให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป
ตัวละคร พระจันทกุมาร เป็นผู้ที่มีปัญญาชาญฉลาด และมีความเมตตา
พระเจ้าเอกราช ผู้เป็นบิดา หูเบา เชื่อคนง่าย
ปุโรหิตกัณฑหาละ เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยา คิดร้ายจนต้องตายเพราะการกระทำอันชั่วของตน
ต้นฉบับ หนังสือ บารมีสิบชาติชาดก ของ พินิจ หุตะจินดา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า ความสัตย์ ความกตัญญูกตเวที แล้วความดีย่อมชนะความชั่ว ดังที่พระจันทกุมารโพธิสัตว์ มีความอดทน อดกลั้น ไม่โกรธกัณฑหาละพราหมณ์ แม้ว่าจะโดนกลั่นแกล้งและอาฆาตแค้นให้ถึงแก่ชีวิตก็ตาม
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระพรหมนารท ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
อุเบกขาบารมี คือ การวางเฉยต่อความสุข ความทุกข์ที่เกิดขึ้น สามารถใช้สติปัญญาควบคุม มีจิตใจแน่วแน่มั่นคง ไม่เอนเอียงด้วยความยินดียินร้าย หรือด้วยจิตใจที่ชอบหรือชัง แม้เผชิญกับความตายก็มีจิตนิ่งสงบได้
เนื้อเฮื่อง
ปางนั้น พระพุทธเจ้าปรารภเรื่องการทรมานชฎิลสามมพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ กับคยากัสสปะ ให้เซาพยศออกบวชเป็นเอหิภิกขุในพพุทธศาสนา พร้อมกับยริวารสองหมื่นคน ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารพร้อมกับพราหมณ์คหบดี ๒๐,๐๐๐ คน ไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า มื้อนั้น พราหมณ์ คหบดี ต่างกะพากันคิดโจษขานเรื่องอุรุเวลกัสสปะสิประพฤติพรหมจรรย์อยู่สำนักของพระศาสดา หรือว่าพระศาสดาสิอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ แล้วอุรุเวลกัสสปะกะได้แสดงให้คนทั้งหลายเห็นว่า ตนได้ยอมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว โดยการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปเทิงอากาศ แล้วกะกลับลงมากราบพระพุทธองค์อยู่ ๗ คำรบ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า แต่ปางก่อนพุ้นพระองค์กะเคยได้เฮ็ดให้อุรุเวลกัสสปะเซาพยศ ยอมรับในพระองค์มาแล้ว ภิกษุทั้งหลายได้พากันอาราธนาใหพระองค์แสดงอดีตนิทาน พระองค์จั่งได้ยกเรื่องพระพรหมนารทมาแสดง
เมืองมิถิลามีพระเจ้าอังคติราชผู้ทรงทศพิธราชธรรมเป็นผู้ปกครอง พระองค์มีพระธิดาพระองค์เดียว นามว่า “รุจา” แล้วกะมีอำมาตย์ฮู้ใจอยู่ ๓ คน ซื่อว่า วิชัยอำมาตย์ สุนามอำมาตย์ แล้วกะอลาตอำมาตย์ มื้อหนึ่ง คืนเพ็งเดือนสิบสอง พระจันทร์แจ้งสว่าง พระองค์ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้งสามว่าสิเฮ็ดหยังที่เกิดประโยชน์ดี อลาตอำมาตย์บอกให้ยกทัพไปตีเอาเมือง สุนามอำมาตย์บอกให้จัดงานเลี้ยง ส่วนวิชัยอำมาตย์นั้นบอกว่าให้ไปสนทนาธรรมกับสมณพราหมณ์ พระเจ้าอังคติราชตกลงไปสนทนาธรรมกับคุณาชีวก นักบวชมีชื่อเสียงผู้คนนับหน้าถือตาหลายในสมัยนั้น
พระองค์ได้เข้าหาสนทนาธรรมกับคุณาชีวก ได้ถามเกี่ยวกับทางไปสวรรค์ ทางไปนรก การปฏิบัติกับบิดามารดา ครู อาจารย์ บุตรภรรยา ผู้เฒ่าผู้แก่ สมณพราหมณ์ พลพาหนะ บ้านเมือง คุณาชีวกกะได้ตอบไปตามความฮู้ความเข้าใจของจักของว่า บุญบ่มี บาปบ่มี บิดามารดาบ่มี สัตว์คนท่อกัน เฮ็ดดีสิได้ดี เฮ็ดซั่วสิได้ซั่วเอง เวียนว่ายตายเกิด ๖๔ กัปกะสิบริสุทธิ์เอง อลาตอำมาตย์เห็นนำว่าบาปบ่มี ผลของบาปบ่มี เขาระลึกชาติได้ว่าชาติที่แล้วเขาเป็นคนฆ่างัว แต่ชาตนี้ได้มาเกิดเป็นในตระกูลขุนนางวีรกะ คนไฮ้ผ้หนึ่งเห็นนำว่าบุญบ่มี ผลของบุญบ่มี เขาระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นเศรษฐี เฮ็ดความดีไว้หลาย แต่ชาตนี้ได้มาเกิดเป็นคนไฮ้ ทั้งสองคนนี้ระลึกชาติได้ชาติเดียวกะเลยหลงผิด พระเจ้าอังคตราชหลงผิดเชื่อคำสอนคุณาชีวก เปลี่ยนจริยาวัตร เซาสร้างคุณงามความดี ใช้ชีวิตสุขสบาย บ่ศึกษาธรรมะ บ่สนใจราชกิจ บ่สนใจชาวเมือง พระธิดาได้ฮู้เรื่องเข้าไปหาพระเจ้าอังคติราช ติเตียนในมิจฉาทิฐินั้น พระธิดาสิเว้าสู่ฟังจั่งได๋กะตามแต่ พระเจ้าอังคติราชกบ่ฟัง พระธิดาได้อ้อนวอนพระพรหมเจ้าผู้มีธรรมทั้งหลายลงมาซ่อยแก้มิจฉาทิฐิของพระเจ้างอังคติราชได้คืนดีคือเก่า
ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งนามว่า นารทะ ได้ยินคำอ้อนวอนเกิดความเมตตา ได้แปลงโตเป็นฤาษีลอยเหาะมาอยู่ต่อหน้าของทั้งสองพระองค์ พระพรหมนารทได้พรรณนาให้เห็นนรกขุมนั้นขุมนี่ จนพระเจ้าอังคติราชเกิดสัมมาทิฐิ เห็นต้องตามธรรมคือเก่า พระธิดาดีใจหลาย สุดท้ายเมืองมิถิลากะเกิดความสุขสงบคือเก่า
ตัวละคร พระพรหมนารท บำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือผู้ที่หนักแน่นในสติอยู่เสมอ มีความเที่ยงธรรมไม่เอนเอียงต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ต้นฉบับ หนังสือ บารมีสิบชาติชาดก ของ พินิจ หุตะจินดา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ไม่ควรคบพาล เพราะจะพาตนไปทำผิดทำชั่ว ควรคบแต่นักปราชญ์ราชบัณฑิต ที่เป็นตนที่มีศีลธรรม ซึ่งจะชักนำให้ทำความดีถูกต้องอันจะทำให้ตนเจริญรุ่งเรือง
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นวิธูร ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี
สัจจบารมี คือ การมีจิตพร้อมในการทำความดี พูดจริง ทำจริง และจริงใจในการปฏิบัติธรรมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนกว่าจะบรรลุสิ่งที่ตนเองปรารถนา
เนื้อเฮื่อง
องค์สมเด็จพระสัพพัญญูพุทธเจ้าประทับอยู่วัดพระเชตะวันมหาวิหาร มื้อนั้น มวลหมู่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ได้โฮมกันสนทนาอยู่ในโรงธรรมศาลา เกี่ยวกับเรื่องที่พระพุทธองค์มีผญาญาณล้ำเลิศ สามารถแก้ไขเรื่องใส่ความของเหล่ากษัตริย์บัณฑิตทั้งหลายจนพากันยอมในสติปัญญาการฮู้แจ้งของพระองค์ แล้วได้พากันขอฮักษาศีลขอบวชจนสุดท้ายกะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า แต่อตีตาชาติปางก่อนพุ้นพระองค์กะเคยได้แก้ไขปัญหามาแล้ว ภิกษุทั้งหลายได้พากันอาราธนาให้แสดงอดีตนิทานสู่ฟัง
ปางนั้น มีพระเจ้าธนญชัยโกรัพยะ ครองเมืองอินทปัตย์ แคว้นกุรุ พระองค์หาความสุขในมิคาชินอุทยาน พระองค์ได้พ่อกับชายแปลงทั้ง ๓ คน คือ ท้าวสักกะ พญาครุฑ พญานาค ทั้ง ๔ คนได้พากันหาที่วิเวกเงียบสงบบำเพ็ญเพียรฮักษาศีลอุโบสถ ยามได้พ่อกันรู้สึกถือคอดี ย้อนว่าในอดีตชาตินั้นเคยเป็นหมู่กันมาก่อน ได้คุยกันเรื่องว่าไผฮักษาศีลดีกว่ากัน แต่ตกลงกันบ่ได้ พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะได้พามาวิธูร วิธูรบัณฑิตได้ตัดสินว่าทั้ง ๔ พระองค์นั้น เฮ็ดดี หนุนให้ศีลดีท่อกัน คันมีพร้อมในไผกะคือจั่งกำเกวียนมั่นอยู่ในดุมเกวียน เฮ็ดให้บาประงับลงได้
หลังจากที่พญานาคได้กลับนาคพิภพ เว่าสู่นางวิมลาฟัง นางเกิดความศรัทธาอยากฟังธรรมจากวิธูรบัณฑิต นางกะทำท่าไข้บอกพญานาคว่าอยากได้หัวใจของวิธูรบัณฑิต นางอิรันทตีผู้เป็นธิดาของพญานาคกับนางวิมลา มีความฉลาดแล้วกะผู้งาม ฮู้ว่ามารดาอยากได้หยังแล้ว กะอาสาขึ้นไปเมืองมนุษย์ เหาะไปภูเขากาลคีรี แล้วกะฮ้องเพลงมีเนื้อความว่า ผู้ได๋เอาหัวใจของวิธูรบัณฑิตมาได้สิยอมเป็นเมีย จวบเหมาะกับยามที่ปุณณยักษ์ขี่ม้ามาพอดี เห็นอิรันทตีนาคีกะคิดมัก ขันอาสาสิเอาหัวใจวิธูรบัณฑิตมาให้นาง ปุณณยักษ์แปลงร่างเป็นชายน้อยไปท้าเล่นสกากับพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ ยามนั้นพระองค์เป็นประธานกำลังประชุมกันกับกษัตริย์ทั่วชมพูทวีป ทั้งสองได้แข่งเล่นสกากัน สุดท้านปุณณกยักษ์กะชนะ ได้ขอของพนันคือ วิธูรบัณฑิต แต่พระองค์บ่ยอม ทั้งสองตกลงกันบ่ได้ เลยเข้าไปให้วิธูรบัณฑิตตัดสิน วิธูรบัณฑิตตัดสินให้ปุณณกยักษ์ชนะ วิธูรบัณฑิตได้แสดงธรรมให้พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ แล้วได้ลาลูกเมีย ให้โอวาทสั่งสอนลูกชายสองคน เกี่ยวกับข้อปฏิบัติของข้าราชการที่ดี จากนั้น ได้เดินทางไปกับปุณณกยักษ์ หว่างทางนั้น ปุณณกยักษ์ได้พยายามฆ่าวิธูรบัณฑิตมาตลอด เป็นย้อนบุญบารมีเฮ็ดให้วิธูรแคล้วคลาดภัย วิธูรบัณฑิตได้แสดงธรรมให้ปุณณกยักษ์ฟังจนเกิดความศรัทธา ปุณณกยักษ์ได้พาไปเมืองนาค ทั้งได้แสดงธรรมให้พญานาคกับนางวิมลา ให้ทั้งสองมีเมตตาต่อนาคบริวาร ปรารถนาให้เขามีความสุข พญานาคกับนางวิมลา ยกนางอิรันทตีได้ปุณณกยักษ์ตามสัญญาเอาไว้ ปุณณกยักษ์ดีใจหลาย แล้วได้พาวิธูรบัณฑิตกลับเมือส่งเมืองมนุษย์คือเก่า
ตัวละคร พระวิฑูรบัณฑิต เป็นอาจารย์สอนธรรมที่มีความปราดเปรื่อง
ต้นฉบับ หนังสือ บารมีสิบชาติชาดก ของ พินิจ หุตะจินดา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ผู้มีสัจจะต่อตนเองและผู้อื่น เป็นคนดี เมื่อประสบภัยย่อมพ้นภัยได้ คำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา”
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี
ทานบารมี เป็นบารมีที่มีจิตใจพร้อมจะให้ทาน สละทรัพย์ภายนอกทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน สิ่งของ สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า และไม่มีเท้า หรือแม้กระทั่งสละชีวิต
เนื้อเฮื่อง
บั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เทศนาพระธัมมจักกัปวัตตนสูตรแก่หมู่ปัจจวัคคีย์แล้ว เลยเสด็จไปกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ เวฬุวนาฮาม อาฮามป่าไผ่ พระพุทธองค์เลยมีพระประสงค์สิไปโปรดพระประยูรญาติ อยู่กรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธองค์เลยได้พาหมู่สงฆ์สาวกสองหมื่นองค์เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เข้าประทับอยู่ ณ นิโครธาฮาม กรุงกบิลพัสดุ์ของพวกศากยวงศ์
พอเถิงเวลาแสดงธรรม พระองค์เล็งเห็นว่าเหล่าพระประยูรญาติทั้งหลายบ่มีใจเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธองค์เพราะหยิ่งทะนงว่าเจ้าของเกิดก่อน ว่าพระพุทธองค์เจ้าเป็นเด็กน้อยเกิดใหม่ เป็นลูกเป็นหลานเถิงแม้สิไปบวชแล้วกะตามแต่ บางพ่องกะว่าจะของนั้นยศถาบรรดาศักดิ์สูง เลยบ่ยอมขาบไหว้พระองค์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเห็นจั่วซั่นแล้วกะเลยทราบว่าพระประยูรญาติทั้งหลายเห็นผิดเป็นชอบ มีทิฐิมานะหลาย เลยแสดงปาฏิหาริย์เสด็จขึ้นเหนือนภาอากาศ เปล่งพระฉัพพรรณรังสี พอแต่พระประยูรญาติเห็น เลยอ่อนข้อขอยอมขาบไหว้เลื่อมใสศรัทธา แล้วแลในซ่วงนั้นด้วยพุทธบารมี ฝนสีแดงนามว่า โบกขรพรรษ เลยขจัดตกลงมาในขวงเขต ทุกประเทศที่ศาลา แม่นว่าไผอยากให้เปียกจั่งสิเปียก ไผบ่อยากเปียกกะบ่เปียก เหล่าพระประยูรญาติ ตลอดเถิงซาวบ้านซาวนิคมซาวเมือง แลเหล่าสงฆ์ทั้งหลายเห็นแจ้งจั่งซั่นต่างอัศจรรย์ใจเป็นที่สุด ดังนั้นแล้วพระพุทธองค์เลยตรัสเว้าว่า ฝนโบกขรพรรษอันขจัดตกลงมานี้เคยตกมาแล้วเทื่อหนึ่งแต่สมัยเฮาตถาคตยังพระซาดเป็นผะเหวดสันดร บัดทีนี้ พระพุทธองค์เจ้าเลยตรัสเว้าเรื่องผะเหวดสันดรสู่ฟัง
ยังมีเทพธิดาตนหนึ่งออกซื่อว่า ผุสดี เป็นอัครเอกมเหสีขององค์อินทาธิราชเจ้า สิเบิดอายุขัยจุติมายังมนุษยโลก อินทาทิราชจอมเทวดา กะเลยให้พรแก่นางแก้วผุสดีมา 10 ข้อ เป็นต้นว่า ให้ได้นามผุสดีดังเก่า ให้ผมเงางามเหลื่อม ให้ได้ลูกผู้มีเกียรติยศ ให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษทั้งหลาย เป็นต้น พอมาเกิดอยู่เมืองมนุษย์นางได้นามว่าผุสดีดังเก่า ได้อภิเษกสมฮดกับพระเจ้าสญซัยแห่งแคว้นสีพี ได้ลูกซายผัดไปคลอดออกอยู่เลาะทางของพ่อค้า เลยออกซื่อว่า เวสสันดร แปลได้ควมว่า ผู้เกิดเลาะทางพ่อค้า คือเป็นผู้บ่เข้าข้างพ่อฮือแม่แต่ประการใด พอแต่พระเวสสันดรอายุได้ 16 พรรษา พระเจ้าสญซัยผู้พ่อเลยให้ครองราชย์กรุงสีพี อยู่มาบ่นานดนเลยได้อภิเษกกับพระนางมะที (มัทรี) เจ้าญิงงามเมืองมัททะ ได้โอรสนำกันผู้หนึ่ง ออกซื่อว่าซาลี กับธิดาหนึ่งน้อย ออกซื่อว่า กัณหา พระเวสสันดรเป็นผู้มีจิตใจใฝ่ทานเลยตั้งโฮงทานหอแจก 6 หม่อง ทานข้าวน้ำซ่ามปลา ตลอดจนทานเงิน คำ ก่ำ แก้ว แก่ซาวบ้านซาวเมืองทั่วหน้าสุคน ต่อมาซาวเมืองกลิงคะ มาขอทานซ้างปัจจัยนาค อันเป็นว้างคู่บ้านคู่เมืองกลิงคะ ย้อนว่าเมืองกลิงคะนั้นฝนฟ้าบ่ตกต้อง แฮ้งเหลือหลาย ผัดว่าได้ซ้างนี้ไปฝนฟ้าคือสิตกทั่วบ้านทั่วเมือง พระเวสสันดรกะเลยยกให้ ซาวเมืองสีพีเกิดบ่พอใจเคียดแค้นไปทูลเว้าสู่พระเจ้าสญชัยฟัง พระเวสสันดรกะเลยถืกเนรเทศหนีจากเมืองออกไป พร้อมพระนางมะทีกับลูกแก้วทั้งสอง เลยพากันบวชถือเพศเป็นฤาษีหนีไปอยู่เขาวงกต
กล่าวเถิงเมืองกะลิงคะนั้น มีพราหมโณเฒ่า ออกซื่อว่า ซูซก มีเมียงามซื่อว่านางอมิตตา มื้อหนึ่งนางอมิตตาเกิดค้านเวียกบ้านเฮือนซาน เลยหาอุบายให้ซูซกไปของกัณหาซาลีมาเป็นคนใซ้ ย้อนฮู้มาว่าพระเวสสันดรนั้นมักแจกมักทาน ซูซก พราหมโณเฒ่านั้นกะเลยออกไปเขาวงกต ตามคำเมียบอก พอไปฮอดตีนเขาเลยพ้อกับพรานเจตบุตร ผู้ที่พระเจ้าเจตราชสั่งให้อาฮักขาดูแลพระเวส ซูซกเลยตั๋วว่าพระเจ้าสญซัยแห่งเมืองสีพีให้มานำพระเวสสันดรกับทั้งเมียแก้วและลูกหล้าสองน้อย เมือบ้านเมือง พรานเจตบุตรหลงกลกะเลยให้เข้าไป ไปพ้อกับอัจจุตฤาษี เลยตั๋วไปอีกว่าสิมาเว้าจาธรรมะนำพระเวสสันดร ซูซกเลยผ่านไป พอไปฮอดเลยถ่าให้ฮอดยามนางมะทีออกไปหาผลาหมากไม้ในป่าดงดอน พอฮอดยามนั้นซูซกเลยไปขอสองหล่ากุมารกุมารีองค์น้อยนำพระเวสสันดรผู้เป็นพ่อ พระเวสสันดรกะยอมยกให้ เทิงคาดค่าโตไว้นำ ซูซกฟ้าวพากัณหาและซาลีออกเดินทากลับก่อนนางมะทีสิมาพ้อ ท้าวสักกะเทวราชย้านว่าสิมีผู้มาขอนางมะทีไปเลยแปลงกายลงมาเป็นพราหมณ์ มาขอนางมะที แล้วกะยกนางมะทีให้คืนแก่พระเวสสันดร พร้อมเทิงให้พร 8 ข้อ แล้วจั่งคืนเมือสวรรค์ซั้นดาวดึงสา
ซูซก พากัณหาซาลีเดินทางไปพ้อทางสองแพร่ง เทวดาอาฮักษ์เลยดลใจให้ซูซกหย่างไปทางเมืองเซตุดร(สีพี) พอแต่มาฮอดเขตเมืองสีพี พระเจ้าสญชัยเห็นหลานน้อยเทิงสองจื่อได้เลยขอไถ่โตจากซูซก พระองค์เลยให้เสนาข้าอำมาตย์ แต่งขบวนซ้าง ม้า รถ คนหย่างมากมายหลายหลากกว่า 12 อักโขเภณี (มากเกินจะนับได้ คือ 1042) ไปเซิญเอาพระเวสสันดรอยู่เขาวงกตคืนมาเมือง พอแต่กษัตริย์ทั้ง 6 พบพ้อกัน ดีใจหลายกะเลยสลบไป บัดทีนี้ฝนโบกขรพรรษเลยขจัดตกลงมาถือกายาเหล่ากษัตริย์เลยฟื้นคืน พอได้สติแล้วเลยพากันเสด็จเมือเมืองสีพี อยู่เย็นเป็นสุขคืนเก่า จนว่าพระเวสสันดรและนางมะทีอายุได้ฮ้อยซาวปี จั่งสิ้นพระซนม์ไป
ตัวละคร พระเวสสันดร ผู้บำเพ็ญบุญบารมีคือการให้ทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ต้นฉบับ มหาชาติที่พบอยู่ในภาคอีสานนั้นมีหลายสำนวน หลายฉบับ แต่ละวัดในแต่ละจังหวัดต่างก็ใช้ฉบับของท้องถิ่นและคัดลอกสืบต่อมา (เพราะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ในพิธีกรรม เรียกว่า “บุญพระเวสส์” หรือ “บุญเผวด”) การคัดลอกนี้อาจจะมีการเพิ่มเติมเสริมแต่งบ้าง หรือย่อให้สั้นเอาเฉพาะใจความสำคัญบ้าง หรือพระภิกษุบางรูปอาจจะแต่งขึ้นมาเป็นสำนวนใหม่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับเดิมของมหาชาติอีสานน่าจะได้รับอิทธิพลมาหาชาติฉบับล้านช้าง เพราะเหตุว่าชวาอีสานส่วนใหญ่ได้รับวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงมาโดยตลอด และพิธีกรรมบุญพระเวสส์ของอีสานนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกันกับพิธีกรรมของอาณาจักรล้านช้างโบราณ ฉะนั้น ต้นฉบับเดิมเรื่องมหาชาติ (ของล้านช้าง) จึงมีการนำมาใช้เทศน์ในภาคอีสาน และภายหลังได้มีการปรับปรุงบ้างดังกล่าว
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า การให้ทานเป็นบารมีอย่างยิ่ง มีอานิสงค์ให้พ้นภัยพิบัติ และให้ได้ในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ
ธรรมจะชนะอธรรม การงานของมนุษย์จะสำเร็จด้วยอริยสัจซึ่งจะต้องไม่เบียดเบียนแรงงานผู้ใด
ทุกคนจะสมบูรณ์ด้วยศีลธรรมและชีวิตอันผาสุกนี้เรียกว่า “ศิวิไลส์”
เนื้อเฮื่อง
กาละนับมื้อส่วย เว้าเถิงเหตุการณ์บ้างเมืองเบื้องหน้าหลังจากพระพุทธองค์เจ้าเข้าสู่พระนิพพาน พระพุทธองค์เจ้าได้ตรัสเว้าแก่พระอานนท์ผู้อุปัฏฐากซ่วงใกล้ที่สิเสด็จเข้าพระนิพพาน
พอแต่พระพุทธองค์เจ้าใกล้สิเข้าปรินิพพาน ได้ตรัสเว้ากับพระอานนท์ว่า เบิ่งสาก่อนอานนท์เอ๋ย สัตว์โลกที่เกิดมาในวัฏฏะสงสารนี่สิพากันหมุนเวียนเข้าสู่ความคับขัน ในซ่วงเคิ่งพุทธกาลคือ เฮาตถาคตล่วงไปแล้วได้ 2500 ปี มวลมนุษย์และสัตว์สิได้พบพ้อภัยพิบัติไปเคิ่งนึ่ง กินเวลากว่า 30 ปี แล้วในซ่วงนี้ยุคนี้ อันได๋กะตามที่มวลมนุษย์บ่เคยพบพ้อกะสิเกิดขึ้นมาให้เห็น ยักษ์หินที่ถืกสาบให้หลับใหลกะสิลุกขึ้นมาอาละวาด ซ่วงกึ่งพุทธกาล ภัยพิบัติของมนุษย์กะสิแฮงกว่าเก่า มนุษยืนอกศาสนากะสิออกมารบราฆ่าฟันกัน เลือดคนตายไหลกองปานสายน้ำ ในเวหาอากาสกะสิเกิดลูกไฟ ตกมาสู่แผ่นดินพอปานฝนตกฟ้าฮั่วเผาผลาญให้มนุษย์พากันตายถิ่มเสีย แต่ละฝ่ายต่างสิทำฮ้ายกัน แผ่นดินแลผืนน้ำกะฮ้อนพอปานเปลวไฟ คนตายไปฝ่ายละเคิ่งสงครามนั้นจั่งสิเซา
ส่วนว่าพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขวนขวายคุณความดี เดินตามทางของพุทธะกะสิสามารถระงับความฮ้อนแฮงแห่งไฟทุกข์ยากสงครามเหล่านั้น แม่นว่าผู้ได๋มีความเคาฮพบูซาพระพุทธศาสนา แลผ้ากาสาวพัตร์กะสิได้ฮับภัยพิบัติเพียงน้อย แต่คันสิให้หลีกพ้นภัยนั้นเสียเป็นบ่ได้ ภัยทั้งหลายของมนุษย์นี่ เฮิ่มเกิดขึ้นในซ่วงศาสนาของเฮาตถาคตล่วงไปได้ 2485 ปีเป็นเค้า ไฟสิลุกลามมาแต่ทางตาเว็นตกไหม้วัดวาอาฮาม สมณะซีพราหมณ์กะสิอดสิอยากทุกข์ยากไฮ้ คนบ้านสิเข้าป่า สัตว์ป่าสิเข้าสู่กรุง เมืองหลวงสิฮ้อนปานไฟ ดวงไฟสิตกจากฟ้าเป็นเพลิงเผาผลาญ เหล็กกล้าสิมาทางมหาสมุทร คนเจ็บซ้ำศึกสงครามสิเข้าสู่บ้าน ทหารสิเป็นเจ้า ข้าวสิขาดแคลน ทั่วทุกแคว้นกะสิอดอยาก หมากพลูสิเบิดเมือง นักปราชญ์เปลื่องสิสูญสิ้น ราซตระกูลเสนาอำมาตย์ราษฎรสิถืออำนาจเป็นธรรม บ่เคารพหลักพระธรรม โลกสิวุ่นวาย คำเว้าจาของคนคดโกงที่เว้าขี้ตั๋วประจบสอพลอสิมีคนเซื่อถือในสังคม สันนิบาตผู้มีศีลธรรมนำประพฤติซอบสิบ่มีเสียง อธรรมสิเว้าว่าผู้ถือธรรมเป็นบ้า
สิเกิดโจรวุ่นวาย โลกสิเป็นน้ำ ผีขมวดสิเข้าสู่เมือง พระเสื้อเมืองสิเข้าป่า เทวดา สิหว่างแมงขี้แหล็กแสนหนึ่ง ผีเสื้อเหล็กโกฏหนี่ง ให้เป็นไข้ภัยผลาญ พอแต่ศาสนาของเฮาตถาคตล่วงไปได้ 2507 ปี คนสิเปลี่ยนจากย่างเป็นคลาน ล่วงเถิ่ง 2508 ปีมะเส็ง ตลิ่งสิพังแผ่นดินอธรรมสิล่มสลายเป็นทะเล ล่วงเถิงปี 2512 ปีฮะกา โลกหมู่มนุษย์สิมืด 7 มื้อ 7 คืน โลกเข้าสู่ความหายนะ แม่นว่าผู้ได๋จำเริญเมตตากรุณา บ่พยาบาทเบียดเบียนข่มเหง ญึดถือเอาคาถาพระตถาคตเจ้ากะสิพ้นโพยภัย เบิ่งสาก่อนอานนท์เอ๋ย เฮาตถาคตนี่มีความสงสารมวลสัตว์โลกเป็นที่สุด ที่มีอายุขัยเคิ่งพุทธกาลอันว่าบุคคลสิเปลี่ยนสภาพจากหย่างเป็นคลาน พอแต่พระศาสนาของเฮาตถาคตล่วงเถิงปี 2513 ปีจอ ดวงอีเกิ้งสิสองแสงสู่โลก พอลวงเถิงปี 2515 ปีซวด กะสิพ้นยุคภัย เวลา 30 ปีแห่งยุคภัยพิบัติในซ่วงเคิ่งพุทธกาล คนอธรรม คือ คนที่บ่อยู่ในศีลธรรมกะสิเบิ่ดไป พวกมิจฉาทิฐิกะสิเบิดไปจากโลก อธรรมสิแพ้ในที่สุด ครุฑสิบินกลับถิ่นสถาพร คนจรสิหลบสู่กรุงบำฮุงธรรม ธรรมสิ ซนะอธรรม เฮากะสิได้อยู่บ้านอยู่เมืองต่อไป เวียกงานการสร้างของมนุษย์สิสำเร็จได้ย้อนอริยสัจโดยบ่เบียดเบียนแฮงงานผู้ได๋ ทุกคนสิสมบูรณ์ด้วยศีลธรรมแล้วมีซีวิตผาสุขฮ่มเย็น เอิ้นว่า “ศิวิไลซ์” สิมีพระมหากษัตริย์ซื่อว่า “ธรรมมิกราซา” กับพระมหาโพธิสัตว์ สิเข้ามาจัดการทำนุบำฮุงพระพุทธศานาให้จำเริญฮุ่งเฮืองยิ่งขึ้นไป พระมหาโพธิสัตว์นั้นสิเกิดเมื่อพุทธศาสนาล่วงไปได้ 2455 ปี ต่อมาเถิงปี 2467 พระมหากษัตริย์ธรรมิกราซาสิเกิดขึ้น เทิงสองพระองค์สิสถิตย์อยู่เบื้องตาเว็นออกของมัชฉิมประเทศ ซ่วงระหว่างปีจอมาต่อปีกุน คือ พุทธศักราช 2513-2514 ผู้มีบุญทั้งสองพระองค์นั้น สิเข้ามำนุบำฮุงพระศาสนาของพระตถาคตโดยแท้ สมณะซีพราหมณ์สิเกิดตามมา 84,000 องค์
เบิ่งสาก่อนอานนท์เอ๋ย เฮาตถาคตนี้สงสารสัตว์โลกเหลือที่สุด โลกสิเดือดสิฮ้อนตามคำทวยของเฮาตถาคตอีหลี เพื่อสิเป็นการเตือนให้สัตว์โลกอยู่ได้ด้วยความบ่ประมาท
ตัวละคร พระพุทธเจ้า ตรัสทำนายอนาคตคก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จสู่นิพพาน
ต้นฉบับ ต้นฉบับของตอนที่ยกมานี้ บอกไว้ในหนังสือ อีสาน ฉบับกาละนับมื้อส้วย หรือ พุทธทำนาย ว่า พุทธทำนายฉบับนี้ มีผู้ถ่ายและแปลเป็นภาษาลาวแบบคำเว้า (พูด) ธรรมดาว่ามาจากศิลาจารึกที่วัดเชตุพน-พุทธคนา ประเทศอินเดีย ไม่ปรากฏชื่อผู้ถ่ายและแปล
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องกาละนับมื้อส่วย หรือ พุทธทำนาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำนายโลกในอนาคต ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อพระอานนท์ก่อนที่จะเสด็จสู่นิพพาน เพื่อจะเตือนให้สัตว์โลกทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ก็จึงฮอดแก่วกว่างทุ่งใหญ่เพนี มีนทีหลวงผ่ากลางหลายห้วย
ขอคำน้อยคาเสียแก่ท้าว ไปบ่ได้นอนหั้นบ่หนี ได้แล้ว
บัดนี้จึงขำเขือกขึ้นบังเกิดเป็นเมือง เรืองเรืองใสเกิ่งดาวดึงส์ฟ้า
มีทั้งคนหลายล้นเพนีหลายโกฎ เยาวโยชน์กว้างเชียงกว้างแม่เมือง
เนื้อเฮื่อง
มีเมืองหนึ่งซื่อว่า เมืองเซียงเงื้อม หลือว่าเซียงใหญ่ มีกษัตริย์ซื่อว่าท้าวขุนเทืองและมเหสีซื่อนางบุสดีปกครองนคร มื่อหนึงขุนเทืองอยากเข้าป่าเข้าดง กะเลยออกท่องแต่เมืองไปดง ๒ เดือน พัดว่าไปพ้อลำน้ำหนึ่ง เป็นสวนพญานาค แล้วบัดนี้กะได้พ้อกับลูกสาวพญานาคซื่อว่า นางแอกใค้ ทังสองกะฮักกัน ขุนเทืองเลยไปบาดาลนำนาง แล้วกะอยู่พุ่น ๒ ปีกว่า
ละหว่างที่ขุนเทืองบ่อยู่นางบุสดีได้เอาหมอมอมาทวยเบิ่งว่าขุนเทืองอยู่บ่อนใด๋ คันได้ฮู้ว่าขุนเทืองอยู่เมืองพญานาคกับลูกสาวพญานาค นางบุสดีกะไปบะกับซุมผี เทิงผีน้ำ ผีตายาย ผีเมือง แล้วกะไปนำท้าวขุนเทืองเมือเมือง ขุนเทืองจั่งลานางแอกใค้และพญานาคเมือเมือง นางแอกใค้กะมาส่งขุนเทืองฮอดท่า ก่อนสิเมือนางจกเอาลูกในท้องแล้วเอาใบตองทึงห่อลูกให้ขุนเทืองเอาไปเลี้ยง ค่อมว่าฮอดเมืองแล้วนางบุสดีเคียดแฮง หาเรื่องเฮ็ดอันตรายใส่ลูกนางแอกใค้ ขุนเทืองเบิ่งทรงบ่เข้าท่าเลยให้เสนาอำมาตย์เอาลูกซายซื่อขุนทึงไปโผดป่า ขุนทึงอยู่ในป่าอย่างสุขซำบายย้อนว่ามีเทวดาและสัตว์ทังหลาย คอยเบิ่งแยงอยู่ จนว่าครบขวบปี ขุนเทืองคึดฮอดขุนทึง จั่งให้พวกอำมาตย์ออกไปเสาะสืบว่ายังอยู่บ่ คันฮู้ว่ายัง กะไปเอิ้นเข้ามาอยู่ในเมือง
พอขุนทึงใหญ่ขึ้นเป็นบ่าวกะอยากพ้อแม่คีง กะเลยถามพ่อเถิงบ่อนอยู่บ่อนเซาของแม่ คันฮู้ว่าเป็นนาคีอยู่เมืองบาดาล กะเลยลาพ่อไปเยี่ยมยามถามข่าวแม่ แล้วกะออกท่องไปนำแนวพ่อเว้าสู่ฟังจนฮอดท่า แล้วกะเอาไม้ตีน้ำเอิ้นซุมนาคให้มาหา คันนาคถามเบิ่งกะฮู้ว่าเป็นลูกของนางแอกใค้ จั่งพาขุนทึงไปเมืองบาดาล ขุนทึงได้พ้อแม่ ตา และยาย อยู่นั่นดนเติบจั่งได้ลาแม่เมือเมืองเชียงเงื้อมของพ่อ นางแอกใค้บอกให้ลาตาแล้วขอของวิเศษเป็นเครื่องติดโตยามเดินดง พัดว่าขุนทึงไปลาตา ตากะได้ให้ของวิเศษ ๓ อย่าง กะคือ หม้อทองแดง ดาบ แล้วกะง้าว แล้วขุนทึงกะมาถามวิธีใซ้กับแม่ นางแอกใค้บอกวิธีใซ้ว่า หม้อนั้นมีซุอย่างอยู่ข้างใน คันอยากได้หยังให้ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วเคาะค่อยๆ แนวที่อยากได้สิออกมา ดาบนั้นใซ้สู้กับผู้ร้าย อันง้าวนั้นให้ลากไปอย่าคอนหลือว่าถือไป คันยามลากแล้วบ่เกี่ยวหยังกะให้ย่างไปเลื่อยๆ ห้ามนอน จั๊กมื่อกะซ่าม แต่คันง้าวไปเกาะหยังแล้ว ให้หยุดนอน คันแม่มาส่งเถิงท่าแล้วก็ท่องไปเฮ็ดนำคำแม่ ย่างอยู่หลายมื่อจนว่าฮอดแม่น้ำใหญ่ง้าวกะเกี่ยวหยุด สิดึงจั่งใด๋กะบ่ไป กะเลยหยุดนอนหม่องนั่น คันตื่นขึ้นหม่องนั่นกะกลายเป็นเมืองใหญ่ ซื่อว่า ศรีสัตนาคนหุต ขุนทึงกะเลยเคาะหม้อทองแดงแล้วกะมีแม่ญิงออกมา ๒ คน ซื่อ ทึง และทอง เลยอภิเษกเป็นมเหสีทั้งสองคน
ขุนทึงครองศรีสัตนาคนหุตอย่างมีควมสุข มื่อหนึ่งขุนทึงออกไปเลาะเถื่อนผู้เดียว ท่องไป ๑๕ มื้อได้ ฮอดป่าหิมพานต์ พ้อซะนีอยู่ใกล้กับอาศรมฤาษี ซะนีกะแปงกายเป็นคนแล้วใส่ยาแฝดให้ขุนทึงฮัก ขุนทึงถืกของ มักนางซะนีหลาย แล้วกะได้อยู่ถ้ำกับซะนีในป่าหิมพานต์นั้น จนว่า ๓ ปี ได้ลูกซายผู้หนึ่งซื่อ อำคา หรือ อู่แก้ว ภายลุนขุนทึงได้ลานางซะนีเมือเมืองศรีสัตตนาคนหุต พร้อมท้าวอำคา ลูกซายและคำมั่นกับนางซะนีว่าสิมาฮับไปอยู่ในเมืองนำ นางทึงและนางทองกะก็ดีเอิกดีใจแฮง และฮักท้าวอำคาคือลูกจะของ บัดแล้วขุนทึงกะได้ไปฮับนางซะนีมาคือจั่งคำมั่นไว้ และสั่งซาวเมืองซุคนให้ผูกหมาไว้ให้ดี อย่าให้ไปเลาะทั่วทีป แต่บัดนางซะนีมาฮอด นางทึง นางทองกะปล่อยหมาไล่สวบนางซะนีหนีเมือไปอยู่ถ้ำคือเก่า ยามขุนทึงเฒ่าซรากาลจั่งอภิเษกท้าวอำคาเป็นกษัตริย์สืบเซื้อมา
ตัวละคร ขุนเทือง ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อมเหสี และรักลูกชายของตน
ขุนทึง ผู้มีบุญญาธิการ มีความซื่อสัตย์ และมีความสามารถด้านศิลปศาสตร์
ต้นฉบับ อยู่ที่วัดชัยภูมิวาราม จ.ชัยภูมิ จารด้วยตัวอักษรไทน้อย อาจารย์พิทูร มลิวัลย์ ได้ถอดเป็นอักษรไทยปัจจุบัน พิมพ์ท่โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ พ.ศ.๒๕๑๑
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ในวรรณกรรมเรื่อง ขุนทึง – ขุนเทือง ปรากฏพิธีกรรมความเชื่อเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของชาวอีสาน
บันแต่ท้าวบรมหลวงกาละเกด เสวยอยู่สร้างเมืองกว้างชอบธรรม
อยู่สนุกล้นโยธาพลไพร่ ก็บ่ทุกข์ยากไร้สังแท้สำราญ
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงเบื้องพาราณสีเมืองใหญ่ มีกษัตริย์ไท้ออกซื่อท้าวสุริวงษ์ มีมเหสีซื่อว่านางเกษ เทิงสองพระองค์มีโอรสซื่อว่าท้าวกาฬเกษ เป็นองค์โพธิสัตว์มาซดซาติไซ้กรรม แล้วกะมีม้ามณีกาบเป็นม้าวิเศษคู่บารมี
อยู่มาฮอดมื้อหนึ่งท้าวกาฬเกษขี่ม้ามณีกาบเหาะออกจากเมืองไปทางป่าหิมพานต์ ซ่วงที่ออกจากเมืองนั้นท้าวกาฬเกษเลยได้พบพ้อกับนกสาฮิกาคู่หนึ่ง เลยฝากความไปว่าให้ไปทูลเสด็จพ่อสุริยวงษ์ว่า สิออกไปเที่ยวป่าหิมพานต์จัก 3 ปีจั่งสิหลบบ้านเมือเมือง พอแต่สั่งความแล้วกะเลยเดินทางไปต่อจนว่าฮอดเมืองผีมนต์ของท้าวผีมนต์กับนางมาลีทอง ท้าวกาฬเกษเลยพักอยู่นอกเมืองสาก่อนเลยพ้อคนฟันฟืนซาวบ้านซาวเมืองผีมนต์ ถามไถ่ได้ฮู้แจ้งเถิงลูกสาวท้าวผีมนต์ ซื่อว่านางมาลีจันทร์ เป็นญิงผู้งามคักเหลือหลาย กะเลยพยามไปหานางอยู่สวนดอกไม้ พอแต่นางมาลีจันทร์มาซมสวนกะเลยได้พ้อกันกับท้าวกาฬเกษพอแต่ท่อนั้นต่างคนกะต่างมักกันตกฮอดยามกลางคืนกะจอบหลอยไปหากัน หลายมื้อลายคืนเข้า ท้าวผีมนต์ผู้เป็นพ่อนางมาลีจันทร์ ฮู้ความแล้วเลยเฮ็ดหอกยนต์ดักยิง ซ่วงที่ท้าวกาฬเกษลักไปหานั่นเอง ท้าวกาฬเกษได้ถืกหอกยนต์ยิง เลยตายใจขาด ก่อนสิตายได้สั่งความนางมาลีจันทร์ว่าอย่าเผาศพ ให้เอาใส่แพลอยลงในนทีแม่น้ำใหญ่ นางมาลีจันทร์กะเลยเฮ็ดตามที่เว้าสั่งความ แพเลยลอยทวนน้ำไปฮดอาศรมพระฤาษี พระฤาษีมาพ้อกะเลยเป่ามนต์คาถาซุบซีวิตให้ท้าวกาฬเกษฟื้นคืนมา พร้อมกันกะเลยได้ให้ดาบแก้วแลธนูวิเศษให้เป็นอาวุธคู่มือ ท้าวกาฬเกษพอได้สิ่งวิเศษแล้วเลยได้กราบลาพระฤาษีหลบไปหานางมาลีจันทร์ ท้าวผีมนต์ฮู้เฮื่องแล้วกะเลยเกิดการฮบฮาฆ่าฟันกันขึ้น ปรากฏว่าทหารยักษ์ทั้งหลายถืกฆ่าตายเบิดเกลี้ยง ยังเหลือแต่ท้าวผีมนต์ผู้เดียวได้ขอยอมแพ้ ท้าวกาฬเกษกะเลยใซ้ดาวแก้วกับธนูซุบซีวิตให้ซุมทหารทั้งหลาย ท้าวผีมนต์กะเลยยกบ้านเมืองให้ครอบครอง แล้วกะยกลูกสาวคือนางมาลีจันทร์ ให้เป็นพระมเหสี
ท้าวกาฬเกษครองเมืองอยู่บ่นานดน กะพานางมาลีจันทร์ออกเดินทางกลบบ้านเมือเมืองพาราณสี ระหว่างทางท้าวกาฬเกษได้พบกับนางยักษ์อันธพาล 3 ตน คือ ยักษ์สาระกัน ยักษ์คันธะยักษ์ แล้วกะยักษ์ขีนีสาระกาย เข้ามาขัดขวางการเดินทางแต่กะถืกท้าวกาฬเกษฆ่าตายแล้วกะ ซุบซีวิตขึ้นมาใหม่ สอนสั่งให้เป็นคนฮู้ผู้ดี อยู่ในศีลกินในธรรม บัดทีนี้ท้าวกาฬเกษกับนางมาลีจันทร์กะเลยพากันเดินทางต่อ จนมาฮอดป่าใหญ่ยามเดิกดื่น ท้าวกาฬเกษกะเลยพามิ่งเมียแก้วหาบ่อนนอนเซามีแฮง เลยไปนอนอยู่เคียงกกไม้ใหญ่กกหนึ่ง ทั้งคู่นอนหลับอยู่นั้น กะเลยมีนางกินรี 3 ตนเป็นลูกเลี้ยงของพระฤาษีมาพ้อเห็นท้าวกาฬเกษเป็นผู้บ่าวฮูปงาม กะเลยเกิดความหลงใหลมักท้าวกาฬเกษ นางทั้งสามกะเลยพากันเอาโตท้าวกาฬเกษหลบไปเมืองกินรีย้อนว่าอยากอยู่กินเป็นผัวเมียกัน ตื่นเซ้ามามื้อใหม่ นางมาลีจันทร์บ่เห็นท้าวกาฬเกษเห็นแต่ม้ามณีกาบ กะเลยพากันออกนำหาท้าวกาฬเกษ หาท่อได๋กะบ่เห็น ม้ามณีกาบเลยบอกให้นางมาลีจันทร์อยู่ถ่าอยู่บ่อนกกไม้ใหญ่หั่น ส่วนจะของกะออกนำหาต่อไป แต่ย้อนว่ากรรมคือการกระทำ กรรมเก่าที่ได้กระทำมาเฮ็ดให้ทั้งสาม ต้องมาพลัดหลงกัน คือว่า ท้าวกาฬเกษหลงใหลในความงามของนางกินรีเลยอยู่เมืองกินนร นางมาลีจันทร์กะออกนำหาตามยถากรรมของตน ส่วนม้ามณีกาบกะออกนำหานายของตนไปอีกทางหนึ่ง นางมาลีจันทร์ซัดเซพเนจรอยู่ในป่าอย่างเป็นตาซิโตน ส่วนทางพระอิศวรเห็นว่านางลำบากอยู่ทุกยาก อยู่ลำพัง กะเลยเสด็จลงมาฮับไปอยู่เมืองนำถ่าท้าวกาฬเกษอยู่หั่น ทางฝ่ายท้าวกาฬเกษพอแต่เบื่อนางกินรีเทิงสามพี่น้องกะคึดฮอดนางมาลีจันทร์ เลยได้หลอยหนีจากเมือง กินรีเทิงสามเลยไปเว้าเฮื่องสู่พ่อฟัง แต่กะบังเอิญว่าม้ามณีกาบกะอยู่อาศรมฤาษีเลยฮู้เฮื่องนำ ฮู้ว่าท้าวกาฬเกษออกจากเมืองกินนรแล้ว กะเลยนำก้นไปหานายของจะของจนพ้อกันแล้วจั่งได้พากันไปนำหานางมาลีจันทร์ต่อไป เทิงสองออกเดินทางมาฮอดเมืองของพระอิศวร กะเลยถามทหารผู้เฝ้าประตูอยู่หั่นจั่งฮู้ว่านางมาลีจันทร์มาถ่าอยู่นี่ดนแล้ว ฮู้จั่งซั่นท้าวกาฬเกษกะเลยควบม้าไปหาพระอิศวร เลยเว้าจาต้านเฮื่องฮาวเทิงเบิดสู่ฟัง แล้วกะฟ้าไปหานางมาลีจันทร์อยู่อุทยานทันที ท้ายที่สุดท้าวกาฬเกษกะเลยได้ฮับนางมาลีจันทร์ไปอยู่นำ ครองเมืองอย่างสงบสุข
ตัวละคร ท้าวกาฬเกษ เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความเมตตา ในตอนที่ทำสงครามกับพวกยักษ์ ท้าวกาละเกิดไดฆ่าพวกยักษ์จนหมด แต่กลับ ช่วยชีวิตและอบรมสั่งสอนพวกยักษ์ให้อยู่ข้างธรรมมะ
นางมาลีจันทร์ เป็นหญิงที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี
ม้ามณีกาบ เป็นม้าวิเศษมีความสามารถมาก มีความซื่อสัตว์ต่อท้าวกาฬเกษและนางมาลีจันทร์
ต้นฉบับ เดิมเป็นต้นฉบับใบลานอักษรไทยน้อย ท่านเจ้าคุณอริยานุวัตรกล่าวไว้ในคำนำว่าได้ต้นฉบับมาจากวัดสว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด และได้ถอดออกเป็นอักษรไทยเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศิริธรรม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ขนาดความยาว ๔๘๐ หน้า ในคำนั้นใช้กล่าวว่า “หนังสือกาละเกดนั้นชาวอีสานนิยมทุกยุคทุกสมัย มักมีไว้ประจำบ้านเรือนและวัดวาอาราม ซึ่งข้าพเจ้าได้ตรวจดูแล้วมีจำนวนหนักเบาตามความนิยม เห็นว่าสำนวนฉบับนี้พอฟังได้ และเป็นสำนวนเอกสำนวนหนึ่ง ” ซึ่งแสดงว่าเรื่องกาละเกดนี้เป็นที่นิยมอ่านกันโดยทั่วไป
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องนี้เน้นให้เห็นคุณธรรมของกษัตริย์ โดยสื่อผ่านตัวท้าวกาฬเกษ นอกจากนั้นยังเน้นให้เห็นการซื่อสัตย์ต่อคนรัก การชดใช้กรรมเก่าซึ่งเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา และแสดงให้เห็นว่าผลแห่งธรรมครองโลก โลกจะพบสันติสุขอย่างแท้จริง ประชาคมจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เจ้าผู้อ่อยม่อยหน้าท้าวก่ำกาดำ บาก็จาคำแข็งต่อยายดีค้อย
ท้าวก็ปากจ้อย ๆ อ้อนอิ่นกินนะรี ข้อยบ่กลัวเกรงสังท่อใยยองน้อย
ชาติที่ดวงคนนี้ยังขวงไว้ก่อนยายเอย เพิ่นสิไหลล่องน้ำต่างให้ซุ่มเย็นหั่นถอน
เจ้าอดสาเลี้ยงข้อยไว้บุญหลายหลอนใหญ่ คุณเจ้ามีหมื่นตื้อเมื่อหน้าข้อยบ่ลืมย่าเอย
ข้อยจักโผดให้เจ้าเป็นสาวสองเทื่อ ข้อยสิให้ผู้บ่าวส่ำน้อยเทียวขึ้นย่องลง หั่นแล้ว
เนื้อเฮื่อง
กล่าวเถิงผัวเมียคู่หนึ่งอยู่นำกันมาดนเติบได้ ๗ ปี ทั้งสองบ่มีลูกเลย กะเลยพากันอธิษฐานขอลูกจากพระอินทร์ โดยเฮ็ดพิธีบูซาและอธิษฐานขอลูกจากพระอินทร์ พระอินทร์กะประทานลูกให้เป็นซาย ก่อนท้องแม่ฝันว่ามีลูกแก้วสีดำตกเข้าปาก ลูกแก้วลอยหนีไปเฮืองแสงแจ้งไปทั่ว คันตั้งท้องกะเกิดลูกเป็นซายโตดำคืออีกา เด็กน้อยเฮ็ดให้ไทบ้านส่าหลาย นางพยายามสิเมี้ยนเด็กน้อยให้สิ้น แต่ผัวกะห้ามไว้
นางอดสาเลี้ยงจนเด็กน้อยอายุได้ ๓ ขวบปี ลูกกะยังบ่ยอมเว้านำ นางเคียดหลาย เลยอ้างคำทวยหมอในบ้าน นางจั่งเอาลูกน้อยไปลอยแพ แพกะพาเด็กน้อยล่องไป ๗ มื้อ ๗ คืน จนว่าไปตกอยู่กลางหาดทรายหลายเดือน พระอินทร์เห็นว่าทุกข์คักทุกข์แหน่กะเลยให้กาดำมาซ่อยและตั้งซื่อให้ว่า ก่ำกาดำ เอาไปไว้อยู่เมืองเป็งจาล ก่ำกาดำไปอาศัยอยู่สวนธิดาเจ้าเมือง และเก็บผลไม้กิน จนมื่อหนึ่งเฒ่ายายเฝ้าสวนมาพ้อเลยเฮ็ดบ่วงไว้ ก่ำกาดำตั๋วว่าติดบ่วง ยายกะเลยเอาก่ำกาดำไปเลี้ยงไว้ คันก่ำกาดำได้อยู่กับยายจำสวน ยายบ่ยอมให้ก่ำกาดำออกไปไส ค่อมว่า คันคนมาพ้อ เพิ่นสิหาว่าเป็นกาลีบ้านกาลีเมือง
ท้าวก่ำกาดำมีความสามารถพิเศษในการฮ้อยดอกไม้และเป่าแคน กะเลยได้ร้อยดอกไม้เป็นฮูปผู้ซายเกี้ยวแม่ญิง ฝากยายจำสวนให้เอาเข้าไปให้นางลุน ลูกสาวหล่าเจ้าเมือง นางลุนพอใจคัก ฮังว่าก่ำกาดำสิแสดงความสามารถให้ยายประจักษ์แล้ว แต่ยายกะบ่ยอมให้ก่ำกาดำได้พ้อผู้คน แฮ่งเป็นกลางเว็น คนกะแฮ่งย่านยามเห็นก่ำกาดำ ก่ำกาดะได้แต่ลี้หนี นางลุนกะอยากเห็นโตคนฮ้อยมาลัย
มื่อหนึ่ง กินรีเฮ็ดอุบายให้ยายพานางมาชมสวน คันก่ำกาดำได้พ้อนาง ก็เกิดควมฮักขึ้น ก่ำกาดำเป็นคนเป่าแคนหม่วน กะเลยเป่าแคนสู่คนฟัง เสียงส่าไปทั่วว่ากินรีเป่าแคนหม่วนไปทั่วเมือง
มื่อนึงก่ำกาดำได้ถอดฮูปงามสง่าไปหานางลุน นางลุนพอใจและฮักก่ำกาดำหลาย ก่ำกาดำว่า เจ้าของมาแต่เมืองอินทปัฐ ทั้งสองคนฮักกัน และก่ำกาดำก็ได้นางลุนเป็นเมีย
เจ้าเมืองฝันว่าซ้างมาไล่คน กินอ้อยกินกล้วยของเมือง จึงให้หาหมอมอ (โหร) มาทวยซะตา
ก่ำกาดำได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ ย้อนว่ามีคนส่ามาฮอดพระกรรณว่าเป่าแคนหม่วน ยามคืนก่ำกาดำไปหานางลุนและได้ขอแหวนกับผ้าสไบมาไว้ คันเมือมาฮอดบ้านกะขอให้ยายไปขอแม่ญิงให้ เจ้าเมืองฮ้องสิเอาสินสอดเงินแสนซั่ง ทองแสนซั่ง ช้างพันโต มีคนขี่พร้อม ข้าฮับใซ้พันคน ขัวเงิน ขัวคำ ค่วมมาแต่บ้านยายฮอดพระราชวัง ย้อนว่าก่ำกาดำเป็นคนดี บ่คิดฮ้ายกับไผ พัดว่าพระอินทร์ฮู้เรื่องกะทรงลงมาซ่อย มีพญานาคมาซ่อยเฮ็ดขัวให้ หาสินสอดซุอย่างมาให้ ในที่สุดก่ำกาดำกับนางลุนกะได้ดองกัน อยู่กินอย่างมีความสุข
ตัวละคร ท้าวก่ำกาดำ เป็นชายร่างกายอัปลักษณ์แต่มีจิตใจที่งดงาม และเป็นผู้มีความสามารถ
ต้นฉบับ ๑. ก่ำกาดำฉบับวัดบ้านนาท่ม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จารด้วยตัวอักษรไทยน้อยความยาว ๕ ผูก ๒๑๔ หน้าลาน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฎมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ก่ำกาดำสำนวนนี้ไม่ปรากฏปีที่จาร
๒. ก่ำกาดำฉบับวัดบ้านหนองท่ม ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จารด้วยตัวอักษรธรรมอีสาน ความยาว ๕ ผูก สำนวนนี้ไม่ปรากฏปีที่จาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ อาจารย์สุภณ สมจิตศรีปัญญา ภาควิชาภาษาไทย วิทยาลัยครู มหาสารคาม ได้ปริวรรตก่ำกาดำสำนวนนี้เป็นภาษาไทยกลาง พิมพ์เป็นรูปเล่ม ความยาว ๑๑๐ หน้า ขนาดหนังสือ ๑๖ หน้ายก ต้นฉบับเดิมยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านหนองท่ม ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
๓. ก่ำกาดำฉบับนายปรีชา พิณทอง ได้ชำระเทียบเคียงจากหลายสำนวนพิมพ์ด้วยอักษรไทยกลาง พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ จัดจำหน่ายโดยโรงพิมพ์ศิริธรรม ถนนชยางกูร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ขนาดหนังสือ ๑๖ หน้ายก จำนวน ๘๓ หน้า
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมในสังคมมนุษย์ประการหนึ่ง คือมนุษย์ไม่ยอมรับความสามารถ ความดีงาม ที่แฝงอยู่ในรูปกายที่อัปลักษณ์ คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้คือเรื่องของคนที่ข้างนอกขรุขระแต่จิตใจงดงามเข้าทำนองที่ว่า ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
บัดนี้เฮาจักมาขอเหล้น สานแนนเต้าข่วง
ใช้แม่หม้อน เมือสิ้งเบิ่งแนน
คันว่าแนนสองเกี้ยว ขอแปลงเป็นคู่
คันบ่ได้ แสนมื้อซิค่อยโอม ฮักเอย
เนื้อเฮื่อง
ท้าวขูลู โอรสเจ้าเมืองกาสี และนางอั้วเคี่ยมธิดาเจ้าเมืองกายนคร ทั้งสองเมืองปองดองกันดี ทั้งเจ้าเมืองและมเหสีต่างกะเป็นเสี่ยวฮักแพงกัน ละเคยให้คำมั่นไว้ว่า คันมีลูกซายลูกสาวฝ่ายใด๋กะซ่างจะสิให้เป็นดองกัน ทั้งท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมเกิดปีเดียวกัน จนว่าใหญ่มานางอั้วเคี่ยมหน้าตางามหลาย ส่าไปฮอดเมืองขุนลางผู้เป็นขอมภูขาก่ำ
บัดนี้ท้าวขูลูใหญ่เติบกะอยากสิมีเมีย กะเลยลาแม่ไปเลาะเมืองกายนคร เอาเครื่องบรรณาการมาเยี่ยมยามเจ้าเมืองพร้อม ท้าวขูลูได้พ้อนางอั้วเคี่ยมกะเกิดฮักกัน ท้าวขูลูประทับอยู่ที่เมืองกายนครได้จั๊กหน่อย จั่งขอลานางอั้วเคี่ยมเมือเมือง แล้วสิส่งผู้เฒ่ามาขอภายลุน
ขุนลางได้ยินคำส่าว่านางอั้วเคี่ยมมีความงามกะเกิดความฮัก กะเลยส่งผู้เฒ่ามาขอนางอั้วเคี่ยม พระมารดานางอั้วเคี่ยมฮับคำ ย้อนว่านางนั้นบ่ถืกกับแม่ท้าวขูลู แต่ตอนนางท้องนางอั้วเคี่ยมนางได้ไปเลาะสวนอุทยานของเมืองกาสี คันเห็นหมากเกี้ยงในสวนอุทยานนางกะอยากกินนำแนวคนแพ้ท้อง แต่มารดาท้าวขูลูบ่ให้ อ้างว่าหมากเกี้ยงยังเหิ่มๆอยู่ นางน้อยใจและกะเคียดหลาย กะเลยตัดขาดจากความเป็นเสี่ยวฮักกัน นางอั้วเคี่ยมได้ฮู้ว่ามารดาฮับคำขอของขุนลาง นางก็เสียใจและบ่ยอมฮับ นางว่าขุนลางเป็นคนบ่อยู่ในฮีตในคอง บ่นับถือพระธรรม แต่ในที่สุดมารดาก็สั่งแม่สื่อไปว่ายอมฮับคำขอของขุนลาง
ทางท้าวขูลูบอกบิดามารดามาขอนางอั้วเคี่ยม คันแม่สื่อของท้าวขูลูเอาสินสอดมาขอ เทือทำอิดมารดาของนางอั้วเคี่ยมบ่ยอมตกลง อ้างว่าตกลงกับทางขุนลางไว้ก่อนแล้ว ท้าวขูลูกะเลยขอให้บิดาส่งแม่สื่อไปสู่ขอนางอั้วเคี่ยมอีกเทือ แล้วกะอ้างคำมั่นที่ว่าไว้สมัยเป็นเสี่ยวกัน เทือนี้พระมารดาท้าวขูลูมานำ แล้วกะเว้าทวงคำมั่นที่เคยว่าจะให้ลูกสาวซายเป็นดองกัน แต่มารดานางอั้วเคี่ยมเว้าไปเถิงแนวเคียดเคียง ตั้งแต่เจ้าของขอหมากเกี้ยงกินเทือนั้น แล้วขอคืนคำมั่นทั้งเหมิด
ในที่สุดกะตกลงกันว่าสิเฮ็ดพิธีเสี่ยงสายแนนว่าเป็นคู่กันบ่ กะฮู้ว่าทั้งคู่เป็นคู่กันแต่ต้องตายจากกัน ทางขุนลางกะส่งคนมาเทียวถามมื่อดอง คันข่าวมื่อดองเถิงหูอั้วเคี่ยม เฮ็ดให้นางเสียใจแฮง นางกะเลยสั่งควมทาสาไปเอิ้นท้าวขูลูมาพ้อนาง ทางมารดานางอั้วเคี่ยมฮู้ว่า ธิดาหลอยพ้อกับท้าวขูลูอยู่สวนอุทยาน นางเคียดหลาย เลยป้อยว่านางอั้วเคี่ยมว่าไปเล่นชู้ นางเสียใจคัก กะเลยผูกกคอตายอยู่อุทยาน คันควมไปฮอดหูเจ้าเมืองและพระมารดาต่างกะเสียพระทัยหลาย กะเอาพระศพเข้าเมืองบำเพ็ญกุศล ขุนลางกะถืกธรณีสูบตาย คันท้าวขูลู ฮู้การตายของนางอั้วเคี่ยมกะเสียใจ เอามีดแทงคอเจ้าของตาย
ตัวละคร ท้าวขูลู ผู้มีบุญญาธิการ เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อคนรัก
นางอั้วเคี่ยม เป็นหญิงงามเรียบร้อยสมเป็นราชธิดาของกษัตริย์
ขุนลาง พระยาขอมที่ใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ
ต้นฉบับ นายปรีชา พิณทอง ได้ถอดจากอักษรตัวธรรมมาเป็นอักษรไทย พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ ในคำนำกล่าวว่าได้ต้นฉบับใบลานมาจากวัดน้ำคำแดง ต.เตย อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เป็นอักษรตัวธรรม ๔ ผูก (จบเรื่อง) จากการพิจารณาแล้ว น่าจะเป็นต้นฉบับที่ใช้เทศน์ แม้ว่าเนื้อเรื่องจะเป็นนิทานประโลมโลกก็ตาม แต่กวีได้เน้นไว้ตอนท้ายเรื่องว่าเป็นชาดก
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี พิธีเสี่ยงสายแนน ที่อยู่ในเรื่องท้าวขูลู นางอั้ว เป็นพิธีเสี่ยงหาเนื้อคู่ ซึ่งเป็นความเชื่อโบราณของชาวอีสาน
ทั้งสองคิดขึ้นได้ว่าความทุกข์ยากในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากผลกรรมที่กระทำไว้กับพระเจ้าพรหมทัต จึงชวนกันไปปลงศพพระเจ้าพรหมทัตที่เมืองพาราณสี เพื่อเป็นการอโหสิกรรม
เนื้อเฮื่อง
ดนมาแล้ว กษัตริย์ขอมพระองค์หนึ่งมีโอรสซื่อท้าวปาจิต คันอายุได้ ๖ พรรษา พระราชบิดาสิจัดการอภิเษกให้ขึ้นครองราชย์ต่อ แล้วกะสิหาราชธิดาจากเมืองต่าง ๆ มาให้เลือกพร้อม พระราชโอรสกะบ่ประสงค์ หมอมอทวยว่า คู่ของเพิ่นอยู่ในท้องแม่ฮ้างอนาถา ให้ท้าวปาจิตท่องไปทิศตะเว็นออกแล้วสิพ้อแม่ฮ้างผู้นั้น โดยสิมีลักษณะให้เบิ่งได้คือ สิมีตะเว็นโค้งเป็นเงาอยู่เทิงหัว ท้าวปาจิตกะออกย่างหาแม่ฮ้างผู้นั้น จนว่าพ้อนางบัว คนบ้านสัมฤทธิ์ ยังมีท้องอยู่มีลักษณะตามแนวหมอมอได้ทวยไว้ กะเลยฝากโตเป็นข้าฮับใซ้ คันนางบัวออกลูก กะเป็นแม่ญิงมีลักษณะดี กะให้ซื่อว่านางอรพิม ท้าวปาจิตกะซ่อยนางบัวเลี้ยงจนใหญ่เป็นสาว ฮูปโฉมงามหลาย
บัดนี้ท้าวปาจิตลาเมือบ้านเมืองไปจัดขันหมากมาขอ พัดว่าขันหมากมาฮอดบ้านกงรถ กะฮู้ควมว่าท้าวพรหมทัตมาลักโตนางอรพิมไปแล้ว ท้าวปาจิตเสียพระทัยแฮงเลยเจิดขันหมากถิ่มลงน้ำเหมิด ท้าวปาจิตแฝงโตเข้าไปในผาสาทท้าวพรหมทัตแล้วเฮ็ดอุบายฆ่าท้าวพรหมทัต แล้วท้าวปาจิตเอานางอรพิมหนีออกมาได้ แต่ละหว่างนั้นท้าวปาจิตถืกนายพรานหลอยฆ่าจนสิ้นพระชนม์ นางอรพิมเสียใจและเคียดหลาย กะเลยฆ่านายพรานให้ตาย แล้วนางกะซุบซีวิตท้าวปาจิตจากยาวิเศษของเทวดา และออกท่องกันไปฮอดแม่น้ำหนึ่ง อาศัยเณรให้ส่งข้ามฟาก เณรตั๋วท้าวปาจิตให้ขึ้นฝั่งก่อน แล้วจั่งตั๋วเอานางอรพิมให้หนีไปนำ นางอรพิมเคียดแฮงกะเลยออกอุบายตั๋วให้เณรขึ้นต้นเดื่อแล้วเอาหนามมาวางแผ่อยู่กกต้นเดื่อนั้น แล้วได้พายเรือหนีไป ย้อนว่าสิไปนำหาท้าวปาจิตแต่กะบ่พ้อ นางเลยอธิษฐานขอแปลงกายเป็นผู้ซาย ฝากหน้าเอิกกับโยนีไว้อยู่ต้นมะโฮง แล้วนำหาผัว จนว่าไปฮอดเมืองจำปานคร นางอรพิมกะได้ปัวธิดาเจ้าเมืองจำปานครให้ฟื้นจากอาการประชวร เจ้าเมืองจั่งยกพระธิดาและเมืองให้ปกครองแต่นางบ่เอ นางกะเลยออกบวช ศึกษาเล่าเรียนจนบรรลุธรรมเป็นสังฆราชของเมืองนั้น แล้วนางได้สร้างศาลาและเขียนฮูปแต้มเรื่องราวของนางกับท้าวปาจิตไว้ฝาศาลา และสั่งควมผู้ดูแลไว้ว่าคันผู้ใดเบิ่งฮูปหมู่นี้แล้วฮ้องไห่ให้บอกให้นางฮู้
ทางท้าวปาจิตได้มาอาศัยกับตายายอยู่สวนหม่องนึงดนเติบ บ่ได้ข่าวนางอรพิมเลย ท้าวปาจิตกะเลยขอลาตายายไปนำหานางอรพิม หมู่เทพเจ้าเหล่าเทวดากะได้แปลงกายเป็นนกแก้วมาซี้ทางให้ แล้วกะท่องไปฮอดศาลาที่นางอรพิมสร้างไว้ คันเห็นฮูปแต้มเทิงฝา ท้าวปาจิตกะไห่ฮ่ำฮีฮำฮอน เฮ็ดให้ได้พ้อกับสังฆราช สังฆราชคันมั่นว่าผัวยังฮักยังซื่อกับเจ้าของอยู่ กะอาสาสิพาท้าวปาจิตไปพ้อกับนางอรพิม สังฆราชเสิกและท่องไปพร้อมกับท้าวปาจิตจนฮอดต้นมะโฮง นางขออวัยวะคืนแล้วอธิษฐานขอคือเพศเป็นแม่ญิงคือเก่า นางว่าควมจริงให้ท้าวปาจิตฟังทั้งเหมิด ทั้งสองคึดขึ้นได้ว่าความทุกข์ยากในเทือนี้ มาแต่กรรมที่เฮ็ดไว้กับพระเจ้าพรหมทัต กะเลยพากันไปปลงศพพระเจ้าพรหมทัตอยู่เมืองพาราณสี เป็นการอโหสิกรรม คันเสร็จพิธีแล้วทั้งสองเมือเมืองท่ามกลางควมยินดีของซุคน ทั้งสองได้รับการอภิเษกให้ครองเมือง และอยู่อย่างสงบสุขสืบไป
ตัวละคร ท้าวปาจิต ชายที่มีความซื่อสัตย์ต่อภรรยา
นางอรพิม หญิงที่มีความซื่อสัตย์ต่อความรักที่มีให้แก่สามี
ต้นฉบับ นิทานเรื่องท้าวปาจิต – นางอรพิม มีโครงเรื่องคล้ายกันกับปาจิตกุมาร ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ในหนังสือชื่อ “ปัญญาสชาดก” ของ อ.ดร. นิยะดา เหล่าสุนทร บอกไว้ว่า ต้นฉบับตัวเขียนปาจิตกุมารกลอนอ่าน ผู้แต่งคือหลวงบำรุงสุวรรณ สมัยที่แต่งอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องท้าวปาจิต นางอรพิม ให้คติเรื่อง วิบากกรรม คือผลของการกระทำ ดังในเรื่องตอนที่ท้าวปาจิตต้องพลัดพรากกับนางอรพิม เพราะว่าเป็นผลของกรรมที่กระทำไว้กับพระเจ้าพรหมทัต
แล้วจึ่งเยื้อนโอฐเว้า ถามข่าวบาคราญ
พระพี่เนาแดนใด ดุ่งมาเถิงน้อง
เคืองใจด้วย อันใดเป็นประโยชน์
จึ่งได้ดั้นด้านมา เถิงน้องที่สถาน
เนื้อเฮื่อง
ดนมาแล้ว เมืองสุวรรณโคมคำ (หรือเมืองเอกธีตา) มีพญาขอมเป็นเจ้าผู้ครองเมืองและมีพระมเหสีซื่อพระนางจันทร์ ทั้งสองพระองค์มีพระธิดาซื่อว่า นางไอ่คำ เป็นแม่ญิงมีฮูปงาม ควมงามของนางคนส่าไปฮอดเมืองต่าง ๆ เฮ็ดให้เจ้าซายต่างเมืองทั้งหลาย กะอยากสิได้นางไอ่คำเป็นเมียเจ้าของ ท้าวผาแดงผู้เป็นเจ้าแห่งเมืองผาโพง คันได้ยินคำส่าเรื่องความงามของนางไอ่คำ กะเกิดมักในโตนางหลาย กะเลยคิดแผนสิผูกไมตรีกับนาง คึดว่าสิลอบส่งแก้วแหวนเงินคำพร้อมผ้าอย่างดีไปให้นาง นางไอ่คำกะยินดีฮับไว้แล้วส่งของมีค่าคืนให้ท้าวผาแดงคือกัน เทิงเซื้อเซิญเอิ้นท้าวผาแดงให้มาพ้อกับนางอยาเมืองเอกธีตานำ ทางท้าวผาแดงคันว่าได้คำเซิญจากนางไอ่คำกะหลอยขี่ม้าเข้าไปพ้อนางในเมือง ทั้งสองได้พ้อกัน เกิดควมฮักแพงกันแล้วได้ครองฮักกัน ท้าวผาแดงกะเลยให้คำมั่นว่าสิมาขอนางไอ่ให้ถืกตามฮีตตามคอง
ว่าไปฮอดเมืองบาดาลศรีสัตนาคหุต มีพญานาคสุทโธนาคเป็นเจ้าผู้ครองเมือง และมีพระโอรสซื่อว่าท้าวภังคี ท้าวภังคีมีควมผูกพันแต่อตีตาซาติกับนางไอ่คำ กะคือ ในอตีตาซาตินั้นท้าวภังคีเกิดเป็นบ่าวคนทุกข์แล้วกะเป็นกืก เป็นขอทานนำบ้าน มื่อหนึ่งท้าวภังคีในอตีตาซาติได้มาขอทานจนฮอดบ้านเศรษฐีใจบุญ จั่งได้ขอเข้ามาอาศัยและซ่อยเฮ็ดงานอย่างเต็มใจและบ่เห็นแก่ความเมื่อยยาก เฮ็ดให้ท่านเศรษฐีเกิดควมฮักแพงหลานจนยอมยกลูกสาวเจ้าของให้กับบ่าวผู้นี้ แล้วว่าลูกสาวของเศรษฐีกะคือนางไอ่คำในซาตินี้ แต่ท้าวภังคีในอตีตาชาติเป็นบ่าวนิสัยบ่คือไผ ย้อนว่าแทนที่สิฮักแพงเมียเจ้าของคือผัวคนอื่น แต่เพิ่นบ่หัวซาแล้วกะบ่เคยฮ่วมหอกับเมียเลย แต่นางกะบ่เคยว่าฮ้ายหลือจ่มให้เลย ซ้ำบ่หนำเฮ็ดนำผัวคือแนวว่าอย่างดีมาตลอด จนมื่อหนึ่งผู้บ่าวคึดฮอดบ้าน กะเลยลาท่านเศรษฐีและพาเมียออกท่องไปยามบ้านเกิด ท่านเศรษฐีผู้เป็นพ่อกะได้จัดเสบียงกับข้าวให้อย่างดี ให้ลูกสาวเจ้าของเป็นผู้คอนเสบียง ละหว่างเดินทางที่ยากลำบาก ผู้บ่าวบ่เคยซ่อยหยังเมียเจ้าของเลย เฮ็ดผู้สาวเหมื่อยล้าเหมิดคีงเหมิดโตจนว่ากับข้าวที่เอาไปนำเหมิดลงกลางทาง คันผู้ซายเห็นต้นเดื่อลูกสุกเต็มต้น ย้อนว่าหิวแล้วกะเหมื่อยเมเข้ากะขึ้นไปเก็บกินต่างข้าว บ่ได้เก็บมาสู่เมียกินแม้แต่น้อย ทางผัวฮั่งว่าเก็บกินบักเดื่อจนอิ่มกะลงมาจากต้นแล้วกะย่างหนีไป ทางเมียกะขึ้นต้นเดื่อหากินคือกัน แต่บัดลงมาตาล่างแล้วบ่พ้อผัว เลยย่างนำหาจนทั่ว แต่หาปานใด๋กะบ่พ้อ สร้างความทุกข์ทรมานใจแกนางหลาย ย้อนความน้อยใจในโซคซะตากับเสียใจย้อนว่าผัวไลถิ่ม นางจั่งอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า เกิดซาติหน้าฉันใด ขอให้ผัวเจ้าของตายอยู่เทิงหง่าไม้ แล้วกะอย่าได้มาเป็นคู่กันอีกเลย
ค่อมว่าแฮงอธิษฐานของนาง ซาติต่อมาผัวนางได้เกิดเป็นพญานาคภังคี นางได้เกิดเป็นนางไอ่คำแม่ญิงผู้งาม พัดว่าย่างเข้ากลางเดือนหก พญาขอมสิจัดงานบุญบั้งไฟ เลยได้มีการบอกบุญไปนำหัวเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ให้เอาบั้งไฟมาจูดแข่งกันอยู่เมืองของพระยาขอม คันบั้งไฟเมืองใด๋ขึ้นสูงกว่าเมืองอื่น เมืองนั้นสิได้รับทรัพย์สมบัติกับนางสนมกำนัลไป มื่องานพญาขอมกำหนด คือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ จนว่าฮอดมื่องานอีหลี ขบวนบั้งไฟจากหัวเมืองน้อยใหญ่กะได้เข้าโฮมงานกัน ฮอดท้าวผาแดง แม้สิบ่ได้ฮับใบบอกบุญแต่กะเอาบั้งไฟมาแข่งในงานนี้พร้อม พญาขอมกะฮับต้อนอย่างดี ฟากพญานาคภังคี คนได้ฮู้ว่าอยู่เมืองมนุษย์สิมีงานบุญบั้งไฟ แต่บ่ได้ฮับใบบอกบุญ กะแปลงกายเป็นกระรอกเผือกเข้ามาเลาะงานในย้อนว่าอยากมาเบิ่งควมงามนางไอ่คำ
งานแข่งจูดบั้งไฟตื่นตาแล้วกะหม่วนซื่นโฮแซวบักขนาด ย้อนว่าซุคนอยากสิฮู้ว่าไผสิมีชัย แล้วกะมีเหล่นทวยท้าวผาแดงกับพญาขอมว่า คันท้าวผาแดงมีชัย พญาขอมสิยกนางไอ่ให้เป็นเมีย บัดว่าแข่งแล้วผากฏว่าบั้งไฟของเมืองอื่นซุขึ้นฟ้าเหมิด เว้นบั้งไฟของพญาขอมกับท้าวผาแดงที่บ่ขึ้นเทิงคู่ ย้อนว่าบั้งไฟของพญาขอมซุ (ไม่ขึ้นเลย) แล้วทางบั้งไฟของท้าวผาแดงนั้นกะแตกกลางบั้ง พญาขอมถือว่าแพ้แต่ว่าเฮ็ดเป็นซื่อๆบ่หัวซา บ่เฮ็ดนำคำเว้า เฮ็ดให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เมือเมืองเหมิด ฮอดท้าวผาแดงกะเมือเมืองผาโพงพร้อมควมทุกข์ ย้อนว่าควมฮักนางไอ่แล้วกะเสียใจย้อนบั้งไฟเจ้าของบ่ขึ้น ทางกระรอกเผือกที่พึงใจฮักนางไอ่ แต่บ่มีโอกาสได้สากโตนาง กะเอาควมฮักเมือเมืองศรีสัตนาคนหุตคือกัน
คันเมือฮอดเมืองศรีสัตนาคนหุต ท้าวภังคีกะบ่เป็นอันกินอันนอน เฝ้าคึดฮอดแต่นางไอ่ จนบ่ทานต่อควมฮักได้อีกต่อไป จั่งขอลาท้าวสุทโธนาคไปหานางไอ่อีกเทื่อ ท้าวสุทโธนาคกะห้ามบ่ให้ไป แต่กะบ่อาจขวงท้าวภังคีไว้ได้ บัดนี้มาฮอดเมืองเอกธีตาอีกเทือ ท้าวภังคีกะแปลงกายเป็นกระรอกเผือกโตเก่า มีกระดิ่งคำแขนยู่คอ ทางบริวารที่นำมากะแปลงกายเป็นสัตว์ต่าง ๆ กระรอกเผือกภังคีขึ้น เต้นสักกะโยงไปมาอยู่เทิงหง่าไม้แคมผาสาทนางไอ่ จนว่ามาคอนอยู่เทิงหง่าไม้แคมป่องเยี่ยมห้องนอนนางไอ่ แล้วเสียงกระดิ่งคำกะดังขึ้น นางไอ่จั่งเปิดป่องเยี่ยมออกไปเบิ่ง คันเห็นกระรอกเผือกกะอยากได้ กะเลยสั่งให้พรานนำจับโตมาให้ คันซั่นพรานกะออกนำหากระรอกเผือกที่เต้นสักกะโยงไปมานำหง่าไม้ บ่มีเหมื่อยบ่มีเซา แต่เฮ็ดจั่งใด๋กะจับบ่ได้ จนว่ากรรมเก่าท้าวภังคีที่เฮ็ดไว้กับนางไอ่ไลมาทัน ยามกระรอกน้อยเต้นมาฮอดต้นเดื่อที่มีลูกสุกห้อยเต็มต้น กะก้มหน้าก้มตากัดกินลูกเดื่อสุกย้อยว่าหิวแฮง ทางพรานแล่นนำมาจ่อ ๆ กะได้โอกาสยิงกระรอกกะเอาหน้าไม้ใส่ลูกดอกอาบยา คันถืกพรานยิง กระรอกเผือกภังคีกะฮู้ว่าเจ้าของสิตายแท้ๆ กะสั่งให้บริวารที่มานำไปบอกพ่อเจ้าของ แล้วก่อนสิขาดใจ กระรอกภังคีได้อธิษฐานว่า ขอให้เนื้อข้อยหอม แซบ แล้วกะมีพอกินสู่คนเหมิดเมือง พรานกะเอาเนื้อกระรอกไปยายสู่ไทบ้านให้ได้กินกัน เว้นแต่ซุมแม่หม้ายที่ไทบ้านขี้เดียดแล้วกะเลยบ่ยอมแบ่งเนื้อกระรอกให้กินนำ
ทางท้าวสุทโธนาคคันได้ฮับข่าวฮ้าย ย้อนว่าเคียดหลายลูกชายตายบ่มีควมผิด กะสั่งข้าไพร่พลนาคทั้งเมืองขึ้นไปเมี้ยนเมืองเอกธีตา เทิงว่าไว้ ไผกินเนื้อภังคีสิตายตกคือภังคีไปนำ ยามนั้นท้าวผาแดงกะเกิดคึดฮอดนางไอ่จนทนอยู่เมืองเจ้าของบ่ได้ กะขี่ม้าซื่อบักสามไปเมืองเอกธีตา และละหว่างทางนั้น ท้าวผาแดงเห็นพญานาคเต็มอากหลาก จนมาฮอดเมืองเอกธีตาและได้พ้อกับนางไอ่ ผาแดงกะเลยเว้าเรื่องพ้อมาให้นางไอ่ฟัง แต่นางไอ่บ่หัวซา ตั้งพาข้าวฮับต้อนท้าวผาแดงอย่างดี แต่คันฮู้ว่ากับข้าวนั้นเฮ็ดจากเนื้อกระรอกท้าวผาแดงกะบ่กิน แล้วเว้าสู่นางไอ่ฟังว่ากระรอกโตนั้นบ่แม่นกระรอกธรรมดาแต่เป็นพญานาคภังคีแปลงกายมา ไผกินเนื้อกระรอกแล้วสิตาย ตกมายามคืน ทัพพญานาคกะมาฮอดเมืองเอกธีตา เฮ็ดให้เมืองทั้งเมืองจม ซาวเมืองกะตื่นฮือ ย่านแฮง แต่ละผู้แต่ละคนกะหาทางหนีตาย ซาวเมืองผู้กินเนื้อกระรอกกะตายตกไปพร้อม ๆ กับเมืองเอกธีตาที่จมลงเป็นหนองน้ำใหญ่ เหตุการณ์เป็นตาย่าและบ่ดีเทื่อนี้เกิดขึ้นเทิงไวเทิงแฮง ท้าวผาแดงกะบอกให้นางไอ่เกียมของที่พอสิติดโตไปได้ บัดนี้กะพานางขี่ม้าหนีออกจากเมืองที่กำลังจม ฟากพญานาคคันได้ฮู้ว่านางไอ่หนีจากเมืองไปแล้วกะฟ้าวนำไปจ่อ ๆ นางไอ่เลยโยนกลองกับฆ้องประจำเมือง แล้วกะแหวนที่ติดโตไปนำถิ่ม ย้อนเข้าใจผิดคึดว่าพญานาคนำมาเอาของ แต่พญานาคกะนำไปบ่เซา จนว่าบักสาม ม้าของท้าวผาแดงค่อย ๆ เหมิดแฮงลง พญานาคนำมาทันกะเลยเอาหางพันโตนางไอ่ตกลงจากม้า เกี่ยนางไปเมืองบาดาล ทางท้าวผาแดงซ่อยนางไอ่ไว้ดนบ่ได้ กะขี่ม้าหนีต่อไป ทัพพญานาคยังไล่บ่เซา จนท้าวผาแดงยอมถิ่มแหวนนางไอ่ย้อนความปลอดภัยของเจ้าของ
คันเมือมาฮอดเมืองผาโพง ท้าวผาแดงก็ได้แต่เสียใจที่ต้องสูญเสียความรักไปต่อหน้าต่อตา กะเลยอธิษฐานต่อเทพเจ้าเหล่าเทวดา ผีฟ้า ผีแมนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า สิขอตายสู้กับพญานาคแล้วเอานางไอ่คืนมา จบคำอธิษฐานท้าวผาแดงกะกลั้นใจตายเทิงผาสาทของเจ้าของ ท้าวผาแดงกะได้เป็นหัวหน้าผีนำทัพผีสู้กับทัพพญานาค สองฝ่ายสู้กัน ๗ มื่อ ๗ คืน บ่มีไผแพ้ไผชนะจักเทื่อ จนท้าวสุทโธนาคเจ้าเมืองบาดาลเพิ่นเฒ่าแล้วบ่อยากเฮ็ดบาปกรรมอีกแล้ว ย้อนว่าอยากไปเกิดในภพของพระศรีอารยเมตไตรย กะเลยไปฮ้องท้าวเวสสสุวัณผู้เป็นใหญ่ให้มาตัดสิน คันท้าวเวสสุวัณฮู้เรื่อง กะเว้าสู่ทั้งสองฟากว่า เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งเหมิดนั้น เป็นมาแต่กรรมเก่าที่ส่งมาฮอดซาตินี้ แต่ละฟากฝั่งกะมีเหตุผลทั้งคู่ ท้าวเวสสุวัณเลยขอให้เซาจองเวรกัน ทั้งผีท้าวผาแดงและพญานาคคันได้ฟังคำสั่งสอนท้าวเวสสุวัณแล้ว กะเข้าใจในมูล จั่งอนุโมทนาแล้วกะขออโหสิฯให้กัน ในที่สุดเหตุการณ์บ่ดีกะเซา เกิดควมเข้าใจและให้อภัยกัน
ตัวละคร ท้าวผาแดง ผู้มีบุญญาธิการ มีความกล้าหาญชาญชัย
นางไอ่คำ หญิงสาวผู้มีความซื่อสัตย์ต่อความรัก
ท้าวภังคี พญายาคหนุ่มที่มีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และรักจริง
ต้นฉบับ นายปรีชา พิณทอง ได้แปลจากภาษาโบราณมาเป็นอักษรไทย และพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ในเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ ปรากฏเรื่องการแข่งขันบั้งไฟ แสดงว่าความเชื่อเรื่องการจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนนั้นมีอยู่ในเรื่องนี้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าในขบวนแห่ประเพณีบุญบั้งไฟ (บุญเดือน ๖) มักจะมีการแต่งกายเป็นท้าวผาแดง และนางไอ่อยู่ด้วย และนอกจากนั้นฉากในเรื่องยังเป็นที่มาของสถานที่ต่าง ๆ เช่น หนองหานใหญ่ หมายถึง จ.สกลนคร และหนองหานน้อย ปัจจุบันคือ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นต้น
“ฮื่นฮื่นเที้ยนคับคั่ง โฮงคำ
เจืองก็วางคำสอนคว่างเยีย ฝูงเหง้า
สูก็เอากันต้านทุกประการ แหนฮ่าง
บัดนี้เมืองใหญ่กว้างมหาโลก ลือเฮา”
เนื้อเฮื่อง
ท้าวฮุ่งและท้าวเจือง เป็นลูกของขุนจอมธรรม เจ้าเมืองสวนตาลหลือว่าเมืองนาสอน คันเกิดมาได้สามปี คนเผ่าพางดกะเอาดาบกับฆ้องเงินคู่หนึ่งมาถวาย ต่อมากะมีผู้เอาช้างเผือกตัวหนึ่งมาถวายแล้วกะเอิ้นว่า “ซ้างเผือกพานคำ” บัดนี้ขุนจอมธรรมกะตายลงไป ท้าวฮุ่งกับท้าวเจืองใหญ่เป็นบ่าว ผู้เป็นแม่กับชาวเมืองสวนตาลกะตั้งให้ท้าวเจืองผู้เป็นอ้ายให้ครองเมืองแทนพ่อ แล้วให้ท้าวฮุ่งเป็นอุปราช ท้าวฮุ่งเฝิกซ้าง ย้อนว่าสิเอาเป็นเฮ็ดเศิกปกปักนคร ลางเทื่อกะขี่ซ้างไปเลาะเล่น จนมื่อหนึ่งท้าวฮุ่งไปพ้อกับนางง้อม ลูกสาวของนางเม็ง เจ้าเมืองเชียงเครือ ท้าวฮุ่งเกิดฮักปองนางง้อมกะเลนแต่งให้เถ้าแก่ไปขอ แต่นางง้อมเอาดองแพงหลาย ท้าวฮุ่งเลยหลอยเข้าหานางง้อม จนได้นางง้อมเป็นเมีย
ว่าไปฮอดท้าวแองกา อยู่เมืองคำวัง ท้าวแองกาเป็นหลานของท้าวกว่า เจ้าเมืองปะกัน (เมือเชียงขวาง สปป.ลาว ในปัจจุบัน) ภายลุนยามพ่อตายแล้ว ท้าวแองกากะได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองคำวัง แล้วกะอยากดองกับผู้สาวงามๆ ย้อนว่าสิสืบเซื้อสายต่อไป ท้าวแองกาฮู้ควมว่ามีแม่ญิงงามซื่อนางอั้ว เป็นลูกสาวของขุนชื่ม เจ้าเมืองเงินยาง (อ.เชียงแสนในปัจจุบัน) กะแต่งทูตไปขอ แต่ท้าวชื่มบ่เห็นงามนำ เทิงบอกว่าสิให้นางอั้วดองกับท้าวฮุ่งผู้เป็นหลาน คันว่าท้าวแองกาฮู้ควมจากทูตกะฟ่าวไปบอกท้าวกว่าอยู่เมืองปะกัน ท้าวกว่าเคียดแฮงกะแต่งให้ทูตไปขออีกเทื่อ แล้วสั่งควมว่าคันบ่เห็นงามนำสิยกทัพไปตีเมือง ฟากท้าวชื่มได้ยินกะสูนคักเลยว่าคืนไปว่า สิบ่ยอมยกลูกสาวให้ซุมแกว ซุมบ่มีเซื้อเดียวกัน ทูตเมือไปบอกท้าวกว่ากับท้างแองกา ท้าวทั้งสองกะเลยยกทัพมาตีเมืองเงินยาง
ทั้งสองเมืองต่อสู้กันบ่มีไผยอมไผ จนว่าทัพท้าวชื่มต้านกำลังท้าวแองกาบ่อยู่เลยถอยทัพเมือคืนเมือง แล้วได้ส่งสาส์นไปเอิ้นเอาท้าวฮุ่งให้มาซ่อยเศิก ท้าวฮุ่งกะได้แต่งทัพแต่เมืองสวนตาลไปซ่อย แล้วนางง้อม กะแต่งทัพซ้าง ๒๐(ซาว) โตไปซ่อยนำ คันทัพท้าวฮุ่งกับทัพนางง้อมไปฮอดเมืองเงินยางกะบุกแล่นใส่ เต้นสักเอาทัพท้าวแองกาที่ล้อมเมืองอยู่จนแตกซะ ท้าวฮุ่งกะเข้าไปตั้งทัพอยู่เมืองเงินยาง มื่อต่อมาท้าวฮุ่งแต่งทัพเมี้ยนข้าเศิกแปนเหมิดออดหลอด ท้าวกว่าตายคาบ่อน ท้าวแองกาถืกขุนเยย แม่ทัพนางง้อมจับได้ แล้วแม่ทัพใหญ่ท้าวแองกากะตาย ทั้งเมืองเงินยาง เมืองสวนตาล และเมืองเชียงเครือโฮมกำลังไล่ซุมข้าเศิกที่หลอยหนีไปจนฮอดบ้านเมืองเก่า ค่อมว่ากำลังพลเมืองมาแต่เมืองเงินยางแต่เดือน ๕ มีนางอั้วและนางอามคาไปส่งเถิงหม่องที่เอิ้นว่าเชียงขวัญ ท้าวฮุ่งกะเลยยกพลไปฮอดท่ายองผาหยอด อยู่บ่อนนี้ได้พ้อซ้างม้าของหุนบังผู้หลอยหนีหลายโต ออกจากหม่องนี้กะไปฮอดภูทุ่มบ่อนอยู่เซาอยู่ซุมเผ่าพวงดำ จากภูทุ่มกะฮอดคามเมืองปะกันในมื่อเดียว เช้ามื่อต่อมา ท้าวฮุ่งกะยกพลเข้าตีเชียงบานจนมีชัย แกวเพิง ท้าวแดดแล้วกะแมนเฮืองถืกจับได้ ทางแกวเฮือกโตนซ้างหนีแล้วไปบอกเมียท้าวกว่าอยู่เมืองปะกัน เมียท้าวกว่ากะแต่งพลออกต้านทัพท้าวฮุ่ง นางกะเลยตายคาบ่อน
ในที่สุดท้าวฮุ่งกะเข้ายึดเมืองปะกันได้ แล้วกะได้แต่งให้อ้ายคว่างเป็นเจ้าปกครองเมืองปะกัน จากนั้นกะเมือเมืองเงินยาง ท้าวฮุ่งให้แม่เจ้าของเป็นผู้ปกครองเมืองเชียงขวัญในเขตเมืองปะกัน
ทางท้าวฮุ่งกะครองเมืองเงินยางได้ ๑๗ ปี และมีลูกซายเกิดจากนางง้อม ๑ คน ชื่อว่าท้าวคำฮุ่ง ซามเพิ่นครองเมืองเงินยางอยู่นั้นกะมีแขกต่างบ้านต่างเมืองเอาบรรณการมาถวายหลาย ต่อมาหุนบังแม่ทัพของท้าวแองกาหลอยหนีไปได้ ไปอาศัยอยู่กับพระยาฟ้าฮว่านอยู่เมืองตุมวาง (หนึ่งในเมืองนำเครื่องราชบรรณการมาถวาย) กะได้ยกพลมาหลอยตีนำคามเมืองประกัน อ้ายคว่างผู้ครองเมืองปะกันกะได้ส่งข่าวไปบอกท้าวฮุ่งให้ฮู้ ท้าวฮุ่งจั่งยกทัพไปปราบหุนบังแล้วกะไล่นำไปจนฮอดเมืองตุมวาง มีเว้ายอมควมกัน ให้ขุนคอนเป็นทูตของท้าวฮุ่ง เข้าไปฮ้องให้พระยาฟ้าฮว่างส่งตัวหุนบังกับอ้ายหิ่งออกมาให้ แต่พระยาฟ้าฮว่านบ่ดห็นงามนำ ค่อมว่า ทั้งสองหนีตายมาเผิ่ง คันเห็นจั่งซั่นท้าวฮุ่งกะเข้าตี ทางพระยาฟ้าฮว่านเบิ่งทรงสิบ่คือเลยส่งแมนสมมาขอยอม แต่ท้าวฮุ่งบ่เซื่อสิตีเอาให้ได้ พระยาฟ้าฮว่านเลยแต่งทหารสองคนขึ้นไปเอิ้นแถนลออยู่เมืองกาหลังให้มาซ่อย แถนลอยกพลมาแล้วทั้งสองฝ่ายกะสู้กัน โฮมแฮงใส่กันบ่มีย่าน แม่ทัพท้าวฮุ่งตายเกือบเหมิด คันเบิ่งทรงสิบ่คือท้าวฮุ่งกะถอยทัพมาตั้งหลักอยู่เมืองปะกันแล้วส่งสาส์นไปบอกท้าวเจืองกับขุนชื่มให้มาซ่อย
เศิกเทื่อนี้แฮงคักแฮงแหน่ นายพวงแม่ทัพของท้าวเจืองคึดว่าคันสู้จนตายเหมิดสิบ่ยังเซื้อ เลยขอท้าวฮุ่งเอาท้าวคำเคื่อง ท้าวคำฮุ่ง แล้วกะนางจอมผู้เป็นแม่ท้าวฮุ่ง ไปอยู่เมืองเงินยาง ฟากท้าวฮุ่งสู้กับแถนลอจนถืกฟันตายคาบ่อน คันท้าวฮุ่งตาย กะไปเกิดเป็นผี เป็นผู้บัญชาการทัพทหารผียกพลขึ้นเมืองแถนผ่านเมืองคาเขียว แองคอนแม่ทัพใหญ่เป็นผู้ไปถามแองกาเรื่องทางสิไปทางไปเมืองฟ้า เลยฮู้ว่าสิต้องไปทางกะไดลิง แล้วกะไต่กะไดไปฮอดแม่น้ำลินคำต่อไป พัดว่าไปฮอดเมืองเลียนพาเมืองของแถนนั้น คันยกกำลังผีตีเอาเมืองเลียนพานได้ แล้วกะมุ่งไปทางแดนสวาง(แดนสรวง)ของพระอินทร์ คันไปฮอดเมืองกองทูล แถนเจ้าเมืองกองทูลออกมานบมาไหว้จากกองทูลไปฮอดเมืองกำมา แถนงวงเจ้าเมืองกำมาออกมาฮับต้อน จนว่าฮอดเมืองสวางซุมแถนทั้งหลายกะพากันออกมานบมาไหว้ ฟากท้าวเจือง ขุนชื่ม ท้าวคำเคื่อง และท้าวคำรุ่ง กะยกพลแต่เมืองเงินยางไปฮาพระยาฟ้าฮว่านอีกเทื่อ พระยาฟ้าฮว่านตายแองแซงแล้วทัพเมืองเงินยางกะเข้ายึดเมืองตุมวางได้สำเร็จ
ตัวละคร ท้าวฮุ่ง และ ท้าวเจือง เป็นกษัตริย์ที่มีความกล้าหาญ สามารถยกทัพเข้ายึดเมืองศัตรูได้สำเร็จ และเป็นที่เคารพนับถือของไพร่ฟ้าประชาชน
ต้นฉบับ อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ท้าวฮุ่งได้ใช้ฮีตบ้านคองเมืองในการปกครองบ้านเมือง และนอกจากนั้นยังพบประเพณีการนับถือผีของชาวภาคอีสานและชาวลาวที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง
อันหนึ่ง เจ้าจง ทศราชแท้ ตั้งอยู่ตามคอง
อย่าได้ ไลบูราณให้ ใส่ใจมั่น
คองกษัตริย์สร้าง เสยเมืองตั้มไพร่
เสี่ยวสหายพี่น้องไห้ เพียรยื้อย่องยาม
เนื้อเฮื่อง
แต่ก่อนกี้ยังมีท้าวฮาบมะนาสวน (ราพณาสูร-ทศกัณฑ์) นั่งเมืองลังกา ท้าวฮาบมะนาสวนคึดอยากเฮียนวิชาศาสตร์ศิลป์กับองค์อินทาเทวราช จึ่งได้เหาะขึ้นฟ้าเข้าเฝ้าฮอดสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พอแต่อินทาไท้ฮู้เหตุความประสงค์กะบ่ทานทัดคัดค้านหยังสักสิ่ง ค่อมว่าท้าวฮาบมะนาสวนมีทศพิธราชธรรม ขอแต่ว่าอย่าไปเว้าอวดโอ้ ให้เอาวิชาความรู้นี้ไปใช้ในทางชอบ แล้ว อินทาไท้จึ่งได้สอนวิชาให้เหมิดเสี่ยง จนท้าวฮาบมะนาสวนแปลงฮูปได้ มื้อหนึ่งพระอินทร์บ่อยู่ ท้าวฮาบมะนาสวนแปลงเป็นพระอินทร์เข้าในห้องนางสุชาดา เชยชมดมดอมนางสุชาดาจนอิ่มเต็มแล้วจึ่งได้ออกไป บ่ทันดน พระอินทร์กะมาห้องนางสุชาดา นางเกิดความสงสัย เลยถามไปว่า พระองค์หัวแต่ไปบ่ดนคือคืนมาอีกแล้ว พระอินทร์ได้ยินเกิดความสงสัยซักถามเบิ่งคักแล้ว สูนให้ท้าวฮาบมะนาสวนแฮง จั่งได๋กล้าเฮ็ดซั่วปานนี้ ต่อมาพระอินทร์ฮู้ว่านางสุชาดาสิเหมิดบุญเทิงสวรรค์แล้ว จึ่งให้นางลงไปเกิดในโลกมนุษย์ใช้หนี้กรรมที่เฮ็ดไว้ ต่อมานางปฏิสนธิในครรภ์ของมเหสีท้าวฮาบมะนาสวน นางให้กำเนิดพระธิดาโสมงามคัก ท้าวฮาบมะนาสวนมีบัญชาให้โหรมาทวยเบิ่งซาตาราศี โหรทวยว่าพระธิดาสิพาความเดือดร้อนมาให้บ้านเมือง เผ่าพงศ์ยักษาพร้อมทังท้าวฮาบมะนาสวนกะสิม้วยมอดมรณาเทื่อนี้ล่ะ บ่ควรเลี้ยงนางไว้ต่อไป ย้อนว่าฮักลูกสาว เลยบ่เชื่อคำโหร สั่งให้เอาพระธิดามาเบิ่งลักษณะให้ดีประกอบคำทำนายอีกเทื่อก่อน ยามที่ท้าวฮาบมะนาสวนเข้าอุ้มราชธิดาน้อยนั้น เกิดเหตุการณ์บ่คาดคึด กะคือ ราชธิดาได้จับมีดแทงพระบิดา ท้าวฮาบมะนาสวนสูนหลาย เห็นดีงามนำคำทำนายของโหร สั่งให้นำนางไปโผดให้ไกลที่สุด เสนาอำมาตย์ฟ้าวฝั่งไปยังป่าหิมพานต์ ได้อุ้มพระธิดาไปวางไว้ในดอกบัวคำกลางสา ย้อนบุญญาธิการของนางเฮ็ดให้ฤๅษีย่างมาผ่อ เก็บนางไปเลี้ยงอยู่อาศรม ให้ซื่อว่า “สีดาจันทะแจ่ม” ฤๅษีตนนี้ได้เนรมิตนิ้วมือให้นางดูดดื่มกินแทนน้ำนมมารดา กาลเวลาผ่านพ้นไป นางสีดาจันทะแจ่มเจริญขวบได้ ๑๒ ปี แฮ่งนับมื้อแฮ่งามไปหน้าบ่มีหม่องติ ฤๅษีได้เลี้ยงดูนางดีสู่อย่างปานพ่อบังเกิดเกล้า ได้เนรมิตผาสาทแก้วพร้อมกับทาสีไว้บัวระบัติรับใช้นางแก้วบ่ห่างคีง
มีพรานผู้หนึ่งเป็นชาวเมืองลังกา ออกไล่ป่ามาหลายมื้อแล้ว แต่กะบ่ได้พอโต จนว่าฮอดขวงเขตเข้าป่าหิมพานต์ ได้ผ้อฤๅษีกับนางสีดาจันทะแจ่มโสมเสลาเกลาเกลี้ยงงามแท้กว่าไผ ได้เข้าไปถามว่านางเป็นลูกเต้าเหล่าเชื้อแม่นผู้ได๋ ฤๅษีเว่าสู่ฟังว่า นางเป็นลูกเลี้ยง ออกมาแต่ดอกบัวคำ พอแต่พรานต่าวเมือ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลท้าวฮาบมะนาสวนว่าผ้อสาวงามปานนางฟ้าอยู่ป่าหิมพานต์ อาศัยอยู่กับฤๅษีผู้เป็นบิดาเพียงสองคน ท้าวฮาบมะนาสวนพอฮู้ข่าวความงามของนางจากพรานป่า กะออกเดินทางไปอาศรมของพระฤๅษี เข้าไปนมัสการฤๅษีพร้อมทั้งรับสั่งว่า พระองค์เป็นกษัตริย์เมืองลังกายินข่าวว่าฤๅษีมีธิดาผู้งามหลาย คิดอยากได้นางไปเป็นเมีย ฤๅษีได้ฟังดังนั้นตอบว่าบ่ขัดข้องแนวได๋ดอก แต่ขอให้ท้าวฮาบมะนาสวนยกธนูทอง คันมีบุญญาธิการพอเป็นคู่ครองของนางกะอาจสิยกได้ง่าย แต่ท้าวฮาบมะนาสวนก็บ่อาจยกธนูทองได้
เว่าฮอดเมืองศรีสัตนาค เจ้าเมืองมอดม้วยไปแล้ว ยังแต่มเหสีกับโอรสอีก ๒ องค์ มีนามว่าพรลักกับพระลาม มีความลออบ่แพ้กัน ชาวประชาได้อภิเษกให้พระลักและพระลามปกครองบ้านเมืองสืบต่อจากบิดา มื้อหนึ่งมีพ่อค้าเดินทางมาแต่เมืองลังกา ได้กราบทูลถึงความงามของนางสีดาจันทะแจ่มที่อยู่ป่าหิมพานต์ พอแต่พระลักพระลามได้ฟังจั่งซั่น กะคึดอยากได้นางมาเป็นเมีย พากันไปกราบลาพระมารดา แล้วทั้งสองกะออกเดินทางออกไปจนกระทั่งฮอดอาศรมพระฤๅษี ด้วยบุญญาธิการกับบุพเพสันนิวาส พระลามสามารถยกธนูทองได้สำเร็จอย่างง่ายดาย พระฤๅษียกนางสีดาจันทะแจ่มให้เป็นมเหสีของพระลาม แล้วจั่งได้พากันลีลาย้ายออกจากอาศรมไป แต่กะหนีบ่ม้มสายตาพรานป่าแห่งเมืองลังกา พรานป่าได้นำความไปกราบทูลท้าวฮาบมะนาสวนให้ทรงทราบ ท้าวฮาบมะนาสวนคิดแค้น ทั้งเสียดายนางสีดาจันทะแจ่ม คึดหาอุบายเอาชนะให้ได้ โดยการเนรมิตเมืองขึ้นมาอย่างสวยงามกลางป่า พอแต่สามกษัตริย์ย่างผ่านมาฮอดผ้อคนผ่านไปมาอยู่เมืองนี้ พระลามกะประหลาดใจว่าเป็นหยังเมืองนี้คือจั่งมาตั้งอยู่กลางป่าลึกจั่งซี่ ตอนมาคือจั่งบ่เห็น คิดว่าพวกผีพวกยักษ์แปลงขึ้นแท้ ๆ พระลามเลยยิงธนูใส่เพื่อทำลายเมืองเนรมิต ท้าวฮาบมะนาสวนได้แปลงกายเป็นกาดำบินเซิ่นไปเซิ่นมา พระลามกวดแก่งธนู กากะพาล้มตายบักหลาย ท้าวฮาบมะนาสวนคึดหาอุบายใหม่ เทื่อนี้แปลงเป็นกวางทอง นางสีดาจันทะแจ่มเห็นกวางทองแล้วกะอยากได้ ร้องขอให้พระลามจับกวางทองตัวนั้นมาให้นาง พระลามจำใจต้องย่างนำกวางทองโดยฝากนางสีดาจันทะแจ่มไว้กับพระลัก พระลามนำกวางทองไปแล้วยิงธนูใส่กวางทอง กวางทองจึ่งฮ้องเลียนเสียงของพระลามก่อนที่จะล้มลงแล้วพระลามเลยใช้มีดตัวหัวกวางทองหิ้วกลับมา พระลักกับนางสีดาจันทะแจ่มได้ยินเสียงกวางร้องคิดว่าเป็นเสียงของพระลามได้รับอันตราย นางร้องขอให้พระลักออกไปซ่อยพระลาม ท้าว ฮาบมะนาสวนคิดว่าเป็นโอกาสดีจั่งได้ลักพาตัวนางสีดาจันทะแจ่มไป ท้าวฮาบมะนาสวนพานางสีดาจันทะแจ่มเหาะผ่านเมืองพระยาครุฑที่เป็นหมู่ของพระลักพระลาม พระยาครุฑผ้อเข้าเลยได้เข้าไปขวง โดยกางปีกบังแสงอาทิตย์จนมืดมิด เพื่อสิเข้าไปแย่งชิงเอาตัวนางสีดาจันทะแจ่มไว้ให้พระลาม ท้าวฮาบมะนาสวนฮู้ว่าพระยาครุฑย่านอิทธิฤทธิ์พระธำมรงค์ที่สวมอยู่นิ้วนางสีดาจันทะแจ่ม ท้าวฮาบมะนาสวนจึงถอดแหวนจากนิ้วของนางแก่งไปถืกปีกพระยาครุฑหัก เฮ็ดให้พระยาครุฑบินบ่ได้ แพ้ให้ท้าวฮาบมะนาสวน ท้าวฮาบมะนาสวนเลยฟ้าวพานางสีดาจันทะแจ่มเหาะหนี
พอแต่พระลามกลับมาบ่เห็นนางสีดาจันทะแจ่มกะได้ออกนำหาจนล้ากะบ่เห็น คิดว่าเสือช้างจับนางกินอยู่กลางป่า บ่ซั่นกะพวกวิทยาธร พรานป่าที่ผ่านมาเห็นเข้าแล้วลักพานางไป พระลามเลยโทษว่าเป็นความผิดของพระลักที่บ่เบิ่งนางไว้ ปล่อยให้นางอยู่กลางป่าผู้เดียว พระลามเด็ดใบไม้แล้วจ่มมนตร์กะฮู้ว่านางสีดาจันทะแจ่มยังบาตาย ฝ่ายพระลักได้เด็ดใบไม้มาจ่มมนตร์คือกัน ย้อนอยากฮู้ว่านางถืกไผลักพาตัวไปไว้หม่องใด๋ จนฮู้ว่า มีพระยายักษ์ทรงอิทธิฤทธิ์ลักพานางเหาะหนีไปทางทิศบูรพา พระลักพระลามจึ่งขี่ม้ามณีกาบเหาะนำไปทันที จนฮอดเมืองพระยาครุฑ พระยาครุฑเว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้พระลักพระลามฟัง ตนกะคึดเสียใจที่ช่วยนางไว้บ่ได้ พระลามได้ซ่อยรักษาปีกให้พระยาครุฑจนคืนมาดีบินได้คือเก่า จึ่งลาพระยาครุฑเดินทางนำหานางสีดาจันทะแจ่มต่อไป จนว่าเมื่อยล้า จั่งเซาพักอยู่ใต้ต้นมณีโคตรที่กำลังออกลูกแดงสุกงามเต็มต้น ต้นมณีโคตรนี้มีหง่าสามหง่าคือ หง่าที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก คันกิน หง่านี้สิผู้งาม หง่าที่ชี้ไปทางทิศใต้ผู้ใด๋กินสิกลายเป็นลิง แล้วกะหง่าที่ชี้ไปทางทิศเหนือคันผู้ใดกินสิกลายเป็นนกกะยาง พระลักพระลามเห็นหมากมณีโคตรสุกงาม ย่อนหิวเลยปีนขึ้นไปเก็บหมากมณีโคตรกิน พระลามได้เก็บกินหมากทิศใต้เลยกลายเป็นลิง ส่วนพระลักกินหมากทางทิศตะวันออกเลยผู้งามกว่าเก่า พอพระลักเห็นพระลามกลายเป็นลิงเลยนั่งไห้ ย่อนว่าลิโตนอ้าย พระลักต้องอยู่เฝ้าลิงพระลามในป่านี้ต่อไปอีก ได้พยายามให้ลิงพระลามกินหง่าที่ชี้ไปทางทิศตะวันออกสิได้กลับมาเป็นคนคิอเก่า แต่ว่าลิงพระลามบ่ยอม ย่อนว่ายังมีกรรมเก่าเฮ็ดให้เหตุการณ์เป็นจั่งซี่
เว่าเถิงฤๅษีอีกตนหนึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้า คิดหวังแนวได่ได้เบิด อาศัยอยู่ในถ้ำมาดน คิดอยากมีเมีย ลงอาบน้ำถูขี้ไคลมาปั้นเป็นหญิงสาว แล้วฮ่ายมนตร์ให้หญิงสาวนี้กลายร่างเป็นหญิงงามที่มีชีวิตจิตใจ ฤๅษีตั้งชื่อให้ว่า นางจันทะแจ่มอินทา“ ฤๅษีอยู่กับนางจันทะแจ่มอินทาในถ้ำอย่างมีความสุข จนว่านางได้กำเนิดบุตรีชื่อ “นางแพงแก้วศรี”
ยังมีพระอาทิตย์ผู้มีอาคมล้ำลึกได้เหาะมายังป่าแห่งนี้ ได้ผ้อกับนางจันทะแจ่มอินทา ผู้เป็นเมียฤๅษี พอดีนางกำลังอาบน้ำอยู่นั้น เห็นว่านางนี้งามหลาย พระอาทิตย์ได้เว่าถาม แต่นางบ่ยอมตอบพร้อมกับแล่นเข้าไปในถ้ำ บ่ได้บอกให้ฤาฮู้ พระอาทิตย์ลี้เบิ่งอยู่ใกล้ ๆ ปากถ้ำ ผ้อว่ามีก้อนหินใหญ่ปิดปากถ้ำอยู่ พยายามซุกท่อได๋กะเปิดบ่ได้ เลยได้นั่งซอมต่อไป พอดีเป็นยามที่ฤาษีสิต้องออกไปหากินนอกถ้ำ พอแต่ฤๅษีสิออกมาแล้ว บ่คิดว่าในป่าดงจั่งซี่สิมีผู้ได๋มาฮอด จั่งฮ่ายมนตร์เสียงดัง แล้วใช้มือยู่ก้อนหินใหญ่ปิดปากถ้ำออกแล้วจั่งย่างต่อไป พระอาทิตย์จำมนตร์นั้นได้เหมิด พระอาทิตย์เลยเปิดปากถ้ำได้ง่าย แล้วได้นางจันทะแจ่มอินทาเป็นเมีย ทั้งสองลักลอบได้เสียกันจนนางจันทะแจ่มอินทาได้กำเนิดบุตรชายฝาแฝด ฤๅษีบ่ฮู้ว่าแฝดนี้บ่แม่นลูกจักของ ดีใจหลายมีลูกชายไว้สืบหน่อแทนแนว พร้อมทั้งได้พร่ำสอนเวทย์มนตร์คาถาต่าง ๆ ให้ลูกจนเบิดเสี่ยง พอลูกชายแฝดเจริญวัยได้ ๑๒ ขวบ จึ่งตั้งชื่อให้ผู้อ้ายว่า “สังคีป” น้องชื่อ “พะลีจันทร์” ทั้งสังคีปกับพะลีจันทร์เรียนศาสตร์ศิลป์กับฤๅษี จนสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างน่าอัศจรรย์ผิดกับมนุษย์ธรรมดา ฤๅษีจึ่งคึดสงสัยว่าลูกทั้งสองคนนี้ต้องบ่แม่นลูกจักของคัก ๆ อีกทั้งรูปร่างหน้าตากะเป็นแปลก ได้เอาลูกสามคนไปเสี่ยงทาย โดยอธิษฐานว่า สิโยนลูกทั้งสามคนนี้ไปกลางแม่น้ำ คันไผเป็นลูกจักของให้ว่ายน้ำกลับมา คันบ่แม่นให้ลอยนำน้ำไป ในที่สุดสังคีปกับพะลีจันทร์ได้ลอยนำน้ำไป ส่วนนางแก้วแพงศรีลอยกลับมาหาฤๅษีผู้เป็นพ่อ ฤๅษีจั่งแน่ใจว่าสังคีปและพะลีจันทร์บ่แม่นลูกจักของ จั่งเนรมิตเมืองให้สังคีปกับพะลีจันทร์ แล้วพานางแก้วแพงศรีกลับมาอาศรม พอแต่นางจันทะแจ่มอินทาบ่เห็นลูกชายฝาแฝดกลับมาจั่งถามหา นางแก้วแพงศรีกะได้เว่าเรื่องให้แม่ฟัง นางฮู้ว่าฤๅษีหาทางกำจัดลูกชายฝาแฝด นางเคียดแค้นหลายจับนางแก้วแพงศรีดึกไปจนฮอดภูหน่วยหนึ่ง นางแก้วแพงศรีต้องย่างป่าผู้เดียวจนว่าฮอดต้นมณีโคตร นางได้กินหมากมณีโคตรหง่าทางทิศใต้จนกลายเป็นลิง ต่อมาลิงนางแก้วแพงศรีกับลิงพระลามได้สมสู่กัน จนนางแก้วแพงศรีตั้งท้อง ออกลูกมาเป็นลิงเผือกชื่อว่า “หุลละมาน” (หนุมาน)
ยังมีควายตัวหนึ่งมีกำลังปานพระยาช้างสาร เป็นพระยาแห่งควายทั้งหลายในป่านี้ ชื่อว่า ควายทัวระพี มีนางควายเป็นบริวารเป็นหมื่น ๆ ตัว พระยาควายมีคำสั่งต่อนางควายทั้งหลายว่า คันนางควายตัวใดคลอดลูกตัวผู้ให้ฆ่าทิ่มเบิด อยู่ต่อมาอีกหลายปี นางพระยาควายได้ตั้งท้อง พอฮอดขวบนางได้ให้กำเนิดควายตัวผู้ ย่อนความรักความลิโตนบ่อยากฆ่าลูกนาง เลยนำลูกไปเสี่ยงไว้ในถ้ำถ้ำหนึ่ง แล้วใช้หินปิดปากถ้ำไว้ พอฮอดยามใกล้ค่ำนางจั่งหลอยไปเบิ่งลูกนางในถ้ำ พร้อมทั้งป้อนอาหารกับนม เฮ็ดจั่งซี่อยู่สู่มื้อ
จนมื้อหนึ่ง ควายทัวระพีถามนางพระยาควายว่า เจ้าตั้งท้องพอคลอดแล้วเอาลูกไปไว้ไส นางตั๋วว่านางคลอดลูกก่อนฮอดขวบ ตอนนี้ลูกตายแล้ว ฝ่ายผัวกะหลงเชื่อคึดว่าเว่าอีหลี หลายปีผ่านไปควายทัวระพีผู้ลูกได้เติบโตเป็นหนุ่ม มีเขาทั้งสองข้างยาวข้างละแปดวา ตัวใหญ่ท่อช้างเก้าศอก มีแฮงหลายปานพระยาช้างสาร มันอยากเห็นหน้าพ่อ นางควายผู้เป็นแม่ได้อธิบายให้ฟังว่าพ่อมีความโหดฮ้ายแล้วมีกำลังมหาศาล ให้เจ้าใหญ่กว่านี้แข็งแรงกว่านี้ก่อนแล้วแม่สิพาไปหาพ่อเจ้า มื้อหนึ่งควายทัวระพีผู้พ่อย่างผ่านหน้าถ้ำไปพร้อมกับนางควายตัวอื่น ๆ ควาย ทัวระพีผู้ลูกแนมเห็นแต่ไกล คิดว่าแม่นพ่อจักของ จึ่งหลอยไปแทกฮอยตีนพ่อ จนต่อมาฮอยตีนจักของใหญ่ท่อพ่อแล้ว ได้ร้องขอให้แม่พาไปหาพ่อ นางจั่งเว่าความเก่งกล้าของพ่อให้ลูกฟังว่า พ่อมีความสามารถมีแฮงหลายกว่าสิมีใผเทียบได้ ขอให้เจ้าหัดเลียนแบบพ่อจนเก่งศุ่อันสู่แนวก่อนแม่จั่งสิพาไป ต่อมาฝึกฝนจนเก่งกล้ามั่นใจในความสามารถของจักของแล้ว จึ่งไปท้าให้พ่อมาสู้กับเจ้าของ จนควายทัวระพีถืกลูกจักของฆ่าตาย ควายทัวระพีผู้ลูกพอแต่ฆ่าพ่อตายแล้วกะเกิดความฮึกเหิมได้ไปท้าสู้กับจอมปลวก ท้าสู้กับต้นโพธิ์ เทพารักษ์ประจำต้นโพธิ์ได้สาปแช่งควายทัวระพีให้ตายย่อนของ้าวของมีคม ควายทัวระพีย่างท้าสู้รบไปเรื่อย ๆ จนบ่มีใผอยากสู้นำ มีแต่คนสาปแช่ง จนย่างไปฮอดเมืองสังคีปพะลีจันทร์ ควายทัวระพีได้ท้ารบกับสังคีป ได้สู้กันอย่างเต็มแฮง บ่มีใผยอมแพ้อ่อนข้อให้กัน สุดท้ายได้ชวนกันไปสู้ในถ้ำ สังคีปจึ่งสั่งพะลีจันทร์ว่า ให้พะลีจันทร์ยืนคองอยู่ปากถ้ำ แล้วให้สังเกตเบิ่งคันเห็นเลือดขุ่นข้นสีแดงเข้มไหลออกมา แสดงว่าเป็นเลือดของควาย แต่คันเป็นเลือดสีแดงสดใส แสดงว่าเลือดของสังคีป ให้พะลีจันทร์ปิดปากถ้ำแล้วฟ่าวหนีไป ระหว่างที่เกิดการสู้รบกันของสังคีปกับควายทัวระพีในถ้ำนั้น ฝนได้ตกลงมาอย่างแฮง ยามนั้นพะลีจันทร์เห็นเลือดแดงไหลปนกับฝนเป็นสีแดงสดพอดี กะรู้สึกเสียใจที่สังคีปแพ้ควายทัวระพี เลยฟ่าวปิดปากถ้ำแล้วย่างกลับเมือง แจ้งข่าวการตายของสังคีปให้ประชาขนฮู้ ทุกคนเศร้าโศกเสียใจ แล้วอัญเชิญให้พะลีจันทร์ขึ้นครองเมืองต่อไป
พอแต่สังคีปฆ่าควายทัวระพีตายแล้ว ได้ฟ่าวย่างออกมาฮอดปากถ้ำเห็นว่าปากถ้ำปิดบ่แกบกะเลยออกมาได้ จึ่งได้กลับไปตัดเอาหัวควายทัวระพีมาโยนจนปากกระตูถ้ำแตกกระจายแล้วจึ่งย่างกลับเข้าเมือง พอมาฮอดเห็นพะลีจันทร์นั่งอยู่กับนางสนมกำนัลกะสูน ไล่ตีพะลีจันทร์ ย่อนความย่านพะลีจันทร์กะฟ่าวหนีออกจากเมืองไปอยู่ป่า เสียใจหลายไห้อยู่ ๔ เดือน จนน้ำตากลายเป็นแม่น้ำชื่อ “ยมนา”
พระลักเฝ้าลิงพระลามอยู่ใต้ต้นมณีโคตรเป็นเวลา ๓ ปี ได้พยายามล่อให้ลิงพระลามกินผลมณีโคตรหง่าที่สิกลายเป็นมนุษย์แต่กะบ่เป็นผล มื้อหนึ่งลิงพระลามได้มากินผลมณีโคตรหง่าทางทิศตะวันออก จั่งกลายร่างเป็นมนุษย์คือเก่า ทั้งพระลักพระลามดีใจหลาย ทั้งสองพี่น้องได้ออกนำหานางสีดาจันทะแจ่มต่อไป ทิ่มลิงนางแก้วแพงศรีกับลิงหุลละมานสองแม่ลูกไว้อยู่ต้นมณีโคตร ยามที่เดินทางอยู่นั้น พระลามรู้สึกกระหายน้ำจึ่งให้พระลักไปฮ่ายน้ำใส่น้ำเต้ามาถวาย พระลักได้ผ้อพะลีจันทร์ฮ้องไห้อยู่ ถามจนได้ความว่าสังคีปไล่ฆ่าพะลีจันทร์ย่านว่าสิแย่งราชสมบัติ พระลักได้ชวนพะลีจันทร์ไปเฝ้าพระลาม พระลามถามความสมัครใจพะลีจันทร์ว่า สิไปนำกันหรือสิกลับไปครองเมืองสังคีป พะลีจันทร์ตอบว่าอยากไปครองเมือง ทั้งอยากขอเพิ่งบารมี จั่งซั่น พระลักพระลาม พะลีจันทร์จึ่งย่างไปเมืองสังคีป สังคีปกับพะลีจันทร์ได้สู้กันแต่บ่มีผู้แพ้ชนะจนทั้งสองอ่อนล้า พระลามเลยฮ่ายมนต์เฮ็ดตำหนิคือเอาปูนมาแต้มเป็นหมายเทิงหลังพะลีจันทร์ เพื่อให้เห็นความแตกต่างกัน เพราะทั้งสองคนเป็นแฝดที่คือกันหลาย ตอนที่กำลังต่อสู้กันอยู่นั้น สังคีปถืกศรพระลามจนตาย พะลีจันทร์จึ่งได้ครองเมือง พระลามคึดฮอดลูกกับเมียที่เป็นลิง จึ่งสั่งให้พระลักกับพะลีจันทร์ไปนำลิงนางแก้วแพงศรีกับลิงหุลละมานเข้าเมือง นางแก้วแพงศรีจึ่งกลายร่างเป็นมนุษย์คือเก่า ส่วนลิงหุลละมานยังมีกรรมเก่า บ่สามารถกลายร่างเป็นมนุษย์ได้คือจั่งแม่ ยังเป็นลิงด่อนคือเก่า
พอนางแก้วแพงศรีกับลูกมาอยู่ในเมืองกับพระลักพระลามแล้ว พระลามได้ใช้ให้หุลละมานไปนำหานางสีดาจันทะแจ่มอยู่เมืองลังกา หุลละมานได้เหาะไปผ้อฤๅษีตาไฟ ได้ถามทางไปเมืองลังกา แล้วฟ่าวเดินทางต่อไปจนฮอดเมืองลังกา ได้แปลงร่างเป็นหนุ่มรูปงามเข้าไปเกี้ยวสาวเมืองลังกา จนผ้อนางสีดาจันทะแจ่ม ได้เว่าให้นางฟังว่าพระลามบอกให้ฟ่าวพานางคืนเมือ ท้าวฮาบมะนาสวนฮู้ข่าวว่าลิงหุลละมานเข้ามาอยู่ในเมืองลังกา สั่งให้เสนาอำมาตย์จับ หุลละมานฆ่า แต่บ่มีใผเฮ็ดหยังหุลละมานได้ ท้ายที่สุดหุลละมานถืกกบ้วงบาศของท้าว ฮาบมะนาสวน พอจับได้ท้าวฮาบมะนาสวนสั่งให้เอาไปฆ่าแต่หุลละมานกะบ่ตาย จึ่งวิธีว่าคันสิฆ่าให้ตายต้องเอาน้ำมันลูบนำขนให้ทั่วตัวแล้วจูดไฟเผา เทื่อนี้หุลละมานจั่งได้เผาเมืองลังกาเป็นเถ้าถ่าน แล้วกลับไปรายงานต่อพระลาม พระลามคิดฮอดนางสีดาจันทะแจ่ม จั่งให้หุลละมานไปถามฤๅษีว่าสิไปทางใด ฤๅษีบอกให้ไปเบิ่งในท้องปลาอานนท์ หุลละมานจึ่งเนรมิตให้บังเกิดเป็นพระอาทิตย์เจ็ดหน่วย แล้วใช้ปากคาบลอยเข้าปากปลาไปในท้องปลา แล้วคาบเอาตำนานออกมา ในตำนานบอกทางข้ามน้ำไปเมืองลังกา พระลามส่งสาส์นไปหาท้าวฮาบมะนาสวนว่า ให้ส่งนางสีดาจันทะแจ่มคืนให้พระลาม คันบ่ส่งคืนสิยกกองทัพมารบให้เมืองลังการาบเป็นหน้ากลอง ท้าวฮาบมะนาสวนได้ถามกลลวงของพระองค์กับท้าวเสตถะราช ท้าวเสตถะราชขอร้องให้บิดาคืนนางสีดาจันทะแจ่มให้พระลามไปโลด บ่จั่งซั่นนางสิเป็นเหตุให้เกิดการชักศึกเข้าบ้าน ท้าวฮาบมะนาสวนสูนหลาย จับท้าวเสตถะราชแกว่งไป แล้วท้าวฮาบมะนาสวนได้เหาะไปขอความซ่อยเหลือจากพวกผียักษ์ ขอให้ซ่อยกันจับพระลักพระลามกับพะลีจันทร์กินเป็นอาหาร
พระรามเตรียมพลทหารเมืองสังคีปให้สร้างสะพานหินข้ามไปเมืองลังกา ตอนที่กำลังสร้างสะพานหินอยู่นั้น หุลละมานได้แปลงร่างเป็นปลาลอยน้ำไปผ้อกับนางมัสสา (มัจฉา) สมสู่กันได้ลูกออกมาชื่อว่าท้าวอุทธา (มัจฉาณุ) มีฤทธิ์เดชคือพ่อ พอหุลละมานกลับไปเฝ้าพระลาม นางมัสสานำหาผัวบ่ผ้อ จั่งพาท้าวอุทธาไปกราบทูลท้าวฮาบมะนาสวนว่านางมีผัวผู้มีอิทธิฤทธิ์ได้วางแผนฆ่าพระลามด้วยการทำสะพานหินข้ามมาเมืองลังกา ท้าวฮาบมะนาสวนดีใจมีลูกเขยกับหลานมีอิทธิฤทธิ์คือกัน
พญาครุฑคิดฮอดพระลามจั่งได้บินมาผ้อ พระลามซวนให้ซ่อยอีกแฮงหนึ่ง พระลามกับพญาครุฑไปหาท้าวเสตถะราช ขอให้พระลามซ่อย ทั้งได้เว่าเรื่องที่สิขวางความคิดของท้าวฮาบมะนาสวนให้พระลามฟัง พระลามได้ร่ายมนต์เสกเป่าจนหายดีแล้ว จั่งได้พากันเดินทางต่อมาผ้อสะพานที่มีคนย่างข้ามไปมา แล้วสะพานนี้กะปี้นกลับเฮ็ดให้คนสัญจรไปมาตกน้ำตาย ท้าวเสตถะราชได้พิจารณาเบิ่งจั่งฮู้ว่าเป็นลิ้นของท้าวฮาบมะนาสวนบ่แม่นสะพานอีหลี หุลละมานได้ฟังจั่งฟ่าวเหาะไปหาท้าวฮาบมะนาสวนแล้วใช้ตีนเตะกะหง่อน เฮ็ดให้ลิ้นของท้าวฮาบมะนาสวนหลุดตกสะพานไป
ต่อมาพอสร้างสะพานแล้ว พระลามกะยกทัพเข้าเมืองลังกาได้ ได้ชนช้างกับท้าวฮาบมะนาสวน ท้าวฮาบมะนาสวนแพ้แล้วได้ไปขอกำลังนำหมู่ชื่อ โมกขะสัก มาซ่อยรบกับพระลาม พระลามถูกหอกโมกขะสัก หุลละมานต้องไปเที่ยวหาเก็บยามาปัวพระลามจนเซาแล้ว พระลามได้ไปรบกับท้าวฮาบมะนาสวนอีก เทื่อนี้พระลามสามารถผาบท้าวฮาบมะนาสวนได้สำเร็จ ได้เวนคืนเมืองลังกาให้ท้าวเสตถะราชครองแทนพ่อ ส่วนพระลามพานางสีดาจันทะแจ่มกลับไปเมืองศรีสัตนาค พร้อมทั้งให้พะลีจันทร์กลับไปครองเมืองสังคีปคือเก่า
ชาวเมืองศรีสัตนาคได้จัดพิธีเสกสมรสให้พระลักพระลามและนางสีดาจันทะแจ่ม ตามราชประเพณี พอแล้วพิธีพะลีจันทร์ได้ลากลับเมือง พระลามใช้ให้พญาครุฑไปเก็บหมากมณีโคตรมาให้หุลละมานกิน พอหุลละมานกินหมากมณีโคตรแล้วจั่งกลายร่างเป็นมนุษย์รูปงาม จากนั้นพระลามจั่งแจกจ่ายหมากมณีโคตรให้ชาวเมืองกิน แล้วพญาครุฑได้ลากลับเมือง
นางสีดาจันทะแจ่มกลับมาอยู่เมืองศรีสัตนาคกับพระลามอย่างมีความสุข จนนางทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน มื้อหนึ่งนางสนมกำนัลในอยากเห็นรูปร่างหน้าตาของท้าวฮาบมะนาสวน นางสีดาจันทะแจ่มจั่งได้วาดรูปท้าวฮาบมะนาสวนให้เบิ่ง พระลามมาผ้อเข้ากะสูนหลายย่อนคิดว่านางคิดฮอดท้าวฮาบมะนาสวน สั่งให้ประหารนางสีดาจันทะแจ่ม พระลักฮู้ว่านางสิให้กำเนิดเลือดเนื้อเชื้อไขพระลาม คิดลิโตนจั่งพานางไปอาศรมฤๅษีผู้เป็นพ่อของนาง แล้วพระลักก็เดินทางกลับหว่างทางได้ฆ่าหมาควกเอาหัวใจไปถวายพระรามตามรับสั่ง ต่อมานางสีดาจันทะแจ่มได้ให้กำเนิดพระโอรส นางเลี้ยงดูพระโอรสเจริญวัยได้ ๑๕ ปี (บ่ฮู้ซื่อ) พระโอรสได้ไปแล่นเล่น ได้ท้าพนันตีคลีแลกข้าวห่อกับเด็กเลี้ยงควาย ย่อนว่าเป็นคนมีบุญญาธิการและมีอิทธิฤทธิ์ เลยเอาชนะเด็กเลี้ยงควายได้สู่เทื่อ พอเด็กเลี้ยงควายบ่มีข้าวกินเลยไห้ไปเว่าสู่พ่อแม่จักของฟัง มื้อหนึ่งชาวบ้านได้นำความขึ้นกราบทูลพระลามให้ฮู้ พระลามได้สั่งให้หุลละมานไปปราบ แต่หุลละมานสู้บ่ได้ ทั้งยังถืกเอาหญ้าคามัดแล้วส่งคืนมา พระลามประหลาดใจที่หุลละมานผู้มีฤทธิ์ต้องพ่ายแพ้ให้เด็กน้อย คิดว่าผู้สิเฮ็ดกับหุลละมานได้ต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการ เลยสั่งให้เสนาอำมาตย์ไปถามว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใผ ในที่สุดพระโอรสได้เว่าให้ฟังว่าเป็นลูกของนางสีดาจันทะแจ่ม อาศัยอยู่กับฤๅษีอยู่กลางป่า แล้วพระลามจั่งฮู้ว่านางสีดาจันทะแจ่มยังบ่ทันตาย มีคำสั่งให้ไปรับนางสีดาจันทะแจ่มพร้อมกับพระโอรสกลับเข้าเมือง
ตัวละคร พระลักและพระลาม เป็นผู้รูปโฉมงดงาม และมีสติปัญญาปราดเปรื่อง
ท้าวฮาบมะนาสวน พญายักษ์มีนิสัยอิจฉาริษยา อยากได้ทุกอย่างมาเป็นของตน
นางสีดาจันทะแจ่ม หญิงผู้มีสิริโฉมงดงาม มีความซื่อสัตย์ต่อสามี
ต้นฉบับ อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ต้นฉบับเรื่องพระลักพระลาม พบในภูมิภาคอีสาน ๒ สำนวน คือ สำนวนฉบับร้อยแก้วและสำนวนฉบับโคลงสาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างเฉพาะสำนวนฉบับโคลงสารที่พระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) วัดมหาชัย อ.เมือง จ.มหาสารคาม ได้ปริวรรตอักษรไทน้อย มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ความยาว ๑๓๓ หน้า ตามคำนำกล่าวว่าได้ต้นฉบับมาจากวัดเหนือ อ.เมือง จ.สกลนคร
สินไซกล้า กุมศาสตร์พระขรรค์ชัย ไกวคมเปียง ผ่าเผลียงเขาม้าง
ปางพุทโธเจ้า เสวยชาติเป็นสินไซ เอาธรรมะ ผาบมารมลายเมี้ยน
สินไซท้าว น้าวศาสตร์ลองศร เสียงศรพระ ดั่งสิพาสะเมรุปิ้น
ครุฑอยู่ฟ้า ดาเฝ้าฝั่งเฟือน นาคอยู่น้ำ ทะยานขึ้นขาบพระองค์ พู้นแล้ว
เนื้อเฮื่อง
ดนมาแล้ว นครเป็งจาลมีพระราซาซื่อว่า พระยากุศราช พระยากุศราชมีน้องสาวหล่าซื่อว่า นางสุมณฑา นางสุมณฑามีฮูปหน้างาม ไทนครเป็งจาลกะมีความสุขซำบาย ว่าไปฮอดยักษ์ตนหนึ่งซื่อว่า ยักษ์กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์ขาเลาะ มื่อหนึ่งยักษ์กุมภัณฑ์แปลงกายเป็นแมลงวัน บินออกไปเลาะจนมาฮอดเมืองเป็งจาล พัดว่าเห็นนางสุมณฑากะเกิดฮักแพงนางหลาย เลยหลอยเกี่ยนางเมือยังเมืองยักษ์นำ พระยากุศราชคันฮู้ว่าน้องสาวเจ้าของถืกยักษ์ลักโตไป กะเสียใจแล้วกะคึดฮอดน้องสาวหลาย จั่งตัดสินใจออกบวชนำหาโตน้องสาว พระยากุศราชคันออกท่องไปนำหม่องต่าง ๆ กะยังบ่พ้อน้องสาว จนมาฮอดบ้านเศรษฐีผู้หนึ่ง เศรษฐีมีลูกสาวทั้งเหมิด ๗ นาง มีหน้าตางามซุคน คันพระยากุศราชมาเห็นกะเกิดมักลูกสาวเทิง ๗ ของเศรษฐี กะเลยเมือเมืองเป็งจาลลาสิกขา แล้วแต่งทหารไปขอลูกสาวเทิง ๗ ของเศรษฐี เศรษฐีดีเอิกดีใจกะยกนางเทิง ๗ ให้เป็นเมียพระยากุศราช เป็นอันว่าพระยากุศราชมีเมียตั้งว่า ๘ คน อยู่กินกันมาดนพระยากุศราชกะบ่มีลูกสืบสกุลจั๊กคน กะเลยให้เมียเทิง ๘ ไปขอลูกกับอินตาเทวราช คันอินตาเทวราชฮู้เรื่องกะให้เทวดาผู้มีบุญญาธิการลงมาเกิด เทวดาองค์แรกลงมาเกิดในท้องนางจันทา นางจันทาออกลูกเป็นสิงห์ ให้ซื่อว่า สีโห เทวดาอีก ๒ องค์ลงมาเกิดในท้องนางลุนผู้เป็นลูกสาวหล่าของเศรษฐี นางลุนออกลูกเป็นแฝด ผู้อิดออกมามีพระขรรค์ออกมานำ ให้ซื่อว่า สินไซ ผู้สองออกมาเป็นหอยสังข์กะตั้งซื่อว่า สังข์ทอง ทางลูกสาวอีกหกคนของเศรษฐีออกลูกเป็นคนธรรมดาบ่อิทธิฤทธิ์หยังเลย เมียเทิงหกย่านว่าลูกซายนางจันทากับนางลุนสิหลื่น ได้ครองเมืองย้อนว่ามีอิทธิฤทธิ์ กะโฮมแฮงกันบังคับให้หมอทวยทูลพระยากุศราชว่าลูกเทิงสามของนางจันทากับนางลุนเป็นโตจังไฮบ้านจังไฮเมือง พระยากุศราชคันฟังจั่งซั่นกะเซื่อคำเมียน้อย กะสั่งให้ทหารไล่นางจันทากับนางลุนเทิงลูกทั้งสามคนออกจากเมืองเป็งจาลไป คันเทวดาฮู้เรื่องเลยเนรมิตเฮียนน้อยให้อยู่กลางดง จนลูกทั้งสามใหญ่เป็นบ่าว ลูกชายทั้งหกของพระยากุศราชกะใหญ่เป็นบ่าวคือกัน พระยากุศราชกะยังคึดฮอดน้องสาวเจ้าของอยู่ จั่งสั่งให้ลูกซายเทิงหกของเจ้าของออกนำหาอาให้พ่อและพาเมือนครเป็งจาลพร้อม ท้าวทั้งหกท่องเข้าดงจนมาพ้อสินไซ สังข์ทอง กับสีโห เก้ากุมารฝอยกันไปเว้ากันมากะฮู้ว่าเป็นพี่น้องกัน เลยดีใจหลาย พากันวางแผนตั๋วให้สินไซไปนำหาอานำกัน สินไซ สังข์ทอง กับสีโห พร้อมกับท้าวทั้งหกกะท่องดงนำหาอา
สินไซ สังข์ทอง และสีโห บ่ย่านหยังย้อนว่ามีฤทธิ์เดช ท้าวทั้งหกย่านภัยอันตรายบักขนาดกะเลยย่างอยู่ทางหลัง ท่องเทื่อนี้ เทิงเก้าคนได้พ้อกับอันตรายต่าง ๆ หลายด่าน มีด่านงูซวง อันเป็นงูฮ้าย มีพิษอันตรายมหาศาล สินไซ สีโห และสังข์ทองกะสู้กับงูซวงจนซนะ ท้าวทั้งหกย่านแฮงจั่งพากันลี่อยู่ในป่า สินไซเหลือโตนเลยให้ท้าวทั้งหกถ่าอยู่นั่นแล้วให้สีโหอยู่เป็นหมู่ คันสินไซกับสังข์ทองท่องมาฮอดแม่น้ำ สังข์ทองกะแปลงโตเป็นเฮือให้สินไซข้ามแม่น้ำ สินไซย่างต่อไปอีก ไปพ้อกับยักษ์ป่า กะสู้กับยักษ์ป่าจนยักษ์ป่าตาย สินไซย่างต่อไปอีก ไปพ้อซ้างสี่โต สินไซกะสู้กับซ้างจนมีซัย สินไซย่างต่อไปอีก ไปพ้อต้นไม้ออกลูกเป็นแม่ญิงซื่อต้นมักกะลีผล สินไซกะสู้กับวิทยาธรเอานารีผลกันจนสินไซซนะ สินไซมักนารีผลกะเลยได้นางนารีผลเป็นเมีย สินไซอยากพ้ออาหลายกะย่างต่อไปอีก ไปพ้อกินรี สินไซมักนางกินรีกะได้นางกินรีเป็นเมีย แล้วกะออกท่องต่อไปอีก จนไปพ้อเมืองยักษ์ ยักษ์กุมภัณฑ์ออกไปหากินนอกเมือง สินไซกะไปบอกข่าวให้นางสุมณฑาฮู้แล้วเอิ้นเอานางสุมณฑาเมือเมืองเป็งจาล นางสุมณฑากะบ่อยากเมือย้อนว่ามาอยู่เมืองยักษ์ดนแล้ว นางกะมีใจฮักยักษ์กุมภัณฑ์ สินไซพยายามเว้าออยให้อาเมือนำ ค่อมว่าคันอาเมือนครพระยากุศราชสิอภัยให้แม่จันทากับแม่ลุนตามคำว่าท้าวทั้งหก พอดียักษ์กุมภัณฑ์มาฮอดกะพ้อสินไซ จั่งได้สู้กัน เทิงสองสู้ได้พอปันกัน บ่มีไผแพ้ซนะ สินไซกะนำสีโหให้มาซ่อย สีโหฮ้องเทื่อเดียวยักษ์กะหนหวย สีโหฮ้องต่อจนว่าหูยักษ์แตกตาย เป็นอันว่าเศิกเทื่อนี้สินไซซนะ นางสุมณฑากะเลยยอมเมือนครเป็งจาล คันว่าเมือมาฮอดเมือง นางสุมณฑาเว้าสู่พระยากุศราชฟังในเรื่องที่เกิดขึ้น พระยากุศราชกะเลยเอิ้นเอานางจันทากับนางลุนเข้าเมืองเป็งจาล คนในเมืองเป็งจาลกะอยู่อย่างมีความสุขตั้งแต่นั้นมา
ตัวละคร สินไซ เป็นผู้มีความกตัญญู กล้าหาญ เสียสละ มุ่งมั่น และมีปัญญาเป็นเลิศ
สังข์ทอง สามารถแปลงกายได้ มีความกล้าหาญ
สีโห หัวเป็นช้าง ลำตัวเป็นราชสีห์ มีพละกำลังมาก มีเสียงเป็นอาวุธ
ต้นฉบับ ต้นฉบับเรื่องสินไซนี้แพร่หลายมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพระเหตุว่าชอบอ่านกันในบุญงันเฮือนดี และในที่ประชุมชน ฉะนั้นจึงมีการอนุรักษ์เป็นอย่างดี กล่าวคือ มีการเก็บรักษาและพยายามคัดลอกต่อ ๆ มา ไม่ให้สูญหาย ต้นฉบับใช้ประกอบการเขียนเรื่องนี้คือ ฉบับของกะซวงทัมกาน ประเทศลาว ตรวจชำระโดยมหาสีลา วีรวงศ์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ และฉบับของโครงการสำรวจรวบรวมวรรณคดีอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ชำระโดยพระปริยัติโกศล (มหาถวัลย์) วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณพระปริยัติโกศล พ.ศ.๒๕๑๙ จากคำนำฉบับปริยัติโกศล กล่าวไว้ว่าใช้ต้นฉบับใบลาน อักษรตัวธรรม ของนางทองมี บ้านอยู่ในเมืองอุบลฯ และต้นฉบับตัวอังษรไทน้อย จากวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ได้ต้นฉบับไปจากจังหวัดอุบลฯ เช่นเดียวกัน ส่วนอีกสำนวนหนึ่งคือ ฉบับที่พระมหาปรีชา พิณทอง พิมพ์
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี คติธรรมที่แทรกอยู่ในเรื่องสินไซคือต้องการจะอธิบาย วิมุติมรรค คือ ทางปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น (กิเลส)
เป็นเสนาแล้วอย่าเบิดดังเหิน อย่าเลินเลินหลายแท่นสิเพพังม้าง
เจ้าขี่ช้างกางห่มเป็นพระยา อย่าฟ้าวลืมชาวเมืองขี่ควายคอนกล้า
ขึ้นปลายตาลแล้วให้เหลียวลงต่ำ ขึ้นยอดสูงยอดด้อแด้ให้เหลียวพื้นแผ่นดิน
ซิเห็นยอดต้นไม้คือพุ่มหมากเขือพริก เทียมดังเห็นหมู่สัตว์เกิดแก่เจ็บตายโดยแท้
เป็นเสนาแล้วให้หลิ่งมองพวกไพร่ เป็นใหญ่แล้วให้หลิ่งตนต่ำต้อยเมืองบ้านจังแมนคอง
เนื้อเฮื่อง
พระโพธิสัตว์เสวยพระซาติเป็นคนทุกข์ยากไฮ้ พ่อแม่เป็นคนขอทาน กำพร้าแม่แต่ยังน้อย พ่อเป็นผู้เลี้ยงจนใหญ่มา สุพรหมโมกขาใหญ่มาพร้อมกับหมาเก้าหางย้อนว่าเกิดพร้อมกัน (สหซาติ) พอพ่อใกล้สิเบิดบุญเลยได้สั่งสุพรหมโมกขาว่า คันแม่นพ่อตายหนีจาก ให้เอาซากศพพ่อไปไว้หัวไฮ่ปลายนาเด้อ
บ่ดนนานมาพ่อของสุพรหมโมกขากะเบิดบุญลง สุพรหมโมกขากะเลยเฮ็ดนำก้นความสั่งของพ่อแต่บ่ทันตาย ย้อนว่าเฮ็ดความดีแทนคุณพ่อ พืชผลในฮั้วสวนไฮ่นางอกงามดีคักจนเป็นตางึด พระอินทร์พอแต่ฮู้เรื่องเลยส่งนางไขฟ้า มาสิงอยู่ในหัวกะโหลกศพแล้วกะให้คอยส่องแยงเฮือนซานบ้านซ่อง ข้าวปลาอาหารยามสุพรหมโมกขาบ่อยู่ ต่อมา สุพรหมโมกขาฮู้เข้าจับโตไว้ได้เลยได้อยู่กินกันเป็นผัวเมีย ความงามของนางไขฟ้าเลื่องลือไปไกลเถิงเจ้าเมืองตุตระนคร เจ้าเมืองผู้มีใจพาลมักมากในกามตัณหา เกิดอยากได้นางไขฟ้ามาเป็นเมีย เลยไปท้าพนันกับสุพรหมโมกขาหลายอย่าง ตั้งแต่ซนไก่ ซนงัว จนฮอดฮอดซนซ้าง แต่กะแพ้สุพรหมโมกขาสุเทื่อ เลยให้สุพรหมโมกขาลงไปอาดอกบัวอยู่เมืองบาดาลของพญานาค สุพรหมโมกขาเลยไปนำคำบอกทางของนางไขฟ้าผ่านเมืองพญามดง่าม เมืองพญายักษ์ แล้วจั่งฮอดเมืองบาดาล ได้เทิงดอกบัวแล้วกะได้ลูกสาวของเมืองทั้งสามมาถวายเจ้าเมืองตุตระพร้อม แต่เจ้าเมืองผู้มักหลายในกามตัณหากะยังอยากได้นางไขฟ้าอยู่เลยคึดหาอุบายใหม่ กะเลยให้คนเฮ็ดกลองขึ้นมาหน่วยหนึ่งแล้วเอาเสนาอำมาตย์มีสลาดเข้าไปอยู่ในหั่นแล้วกะเอาไปฝากไว้อยู่เฮือนของสุพรหมโมกขา ย้อนอยากฮู้ว่ามีอิหยังเป็นของขะลำของสุพรหมโมกขาแหน่ พอสืบฮู้ได้แล้วกะเอากลองหลบมาเมือง แล้วกะเฮ็ดแนวกินขึ้น 4 อย่าง คือ ไข่ ไข่มดง่าม เนื้องู แล้วกะเนื้อหัวใจยักษ์ แล้วบังคับให้สุพรหมโมกขากิน พอแต่กินแล้วเมียทั้งสี่คนเลยเป็นไข่เป็นหนาว อยู่บ่ได้ย้อนผิดของขะลำ เลยหนีเมือเมืองของไผของมัน
ฝ่ายนางไขฟ้ากะออกเดินดงก่อนไปกะสั่งความไว้นำหมาเก้าหาง กับแหวนวงหนึ่ง พอสุพรหมโมกขาหลบมาฮอดบ้านฮู้เฮื่องเบิดสุอย่างแล้วเลยออกนำหานางไขฟ้า เอาหมาเก้าหางไปเป็นหมู่นำ พอไปฮอดแม่น้ำใหญ่หมานั้นเลยให้สุพรหมโมกขาจับหางจนหว่าหางทั้งเก้าขาดเบิดกะฮอดฝั่งพอดี หมาเก้าหางนั้นกะเลยขาดใจตาย สุพรหมโมกขาเลยหย่างต่อไปจนฮอดเมืองอุททุมมัททุวะดี จึงพบพ้อนางไขฟ้า อยู่ได้ดนเติบ แล้วกะหลบมาเมืองตุตระนครพร้อมกับเสนาอำมาตย์ที่เจ้าเมืองอุททุมมัททุวะดีแต่งให้ พอไปเถิงเจ้าเมืองตุตระนครฮู้ข่าวเลยยกทัพมาหวังสิปราบสุพรหมโมกขา แต่เจ้าเมืองตุตระนครเกิดตายในสนามฮบ ซาวเมืองเลยยกให้สุพรหมโมกขาครองเมือง ต่อมาเลยพาอำมาตย์ 4 คน ปลอมโตเป็นนายฮ้อยออกไปหาสั่งสอนคนในเมืองต่างๆ มีเมืองเกตุมะวดี เมืองหงสาวดี เมืองทันตะนคร เมืองคันทิยารัฐ เมืองวิเทหราช เป็นต้น เพื่อสิให้เจ้าเมืองต่างๆอยู่ในศีลในธรรม ถือฮีตคองอันดีงาม แล้วสุพรหมโมกขากะเลยหลบมาครองเมืองตุตระนครจนเบิดบุญ
ตัวละคร สุพรหมโมกขา เป็นคนดี กตัญญูกตเวที
ต้นฉบับ เรื่องสุพรมโมกขานี้ค่อนข้างจะแพร่หลายมากเรื่องหนึ่งของวรรณกรรมอีสาน เพราะเหตุว่าเนื้อเรื่องสนุก เป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว และเป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่สะท้อนภาพของสังคมที่เห็นได้ชัดมากกว่าวรรณกรรมประเภทพุทธศาสนา ต้นฉบับส่วนใหญ่พบมากที่ จ.นครพนม และ จ.อุดรธานี จ.มุกดาหาร จ.หนองบัวลำภู เช่น
-
ฉบับที่ปริวรรตโดย พระอริยานุวัตร วัดมหาชัยอารามหลวง จังหวัดมหาสารคาม
-
วัดโกศลมัชฌิมาวาส ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.นครพนม
-
วัดโพธิ์คำ ต.นาก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
-
วัดทรายทอง ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร
-
วัดอุตตมวราราม ต.หายโศก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
-
วัดศรีสมพร ต.นาวี อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” การรักษาศีลธรรม ประพฤติดี ย่อมประสบผลสำเร็จ ได้รับแต่สิ่งดี ๆ และจะสามารถเอาชนะคนชั่วได้
“โมโหหิว” นี้โทษร้ายแรงมาก
เมื่อบุคคลตกอยู่ในภาวะ “โมโหหิว”
สามารถทำสิ่งชั่วร้ายใด ๆ ได้ง่ายมาก
เนื้อเฮื่อง
อตีตากาลดนมาแล้ว มีครัวหนึ่งเฮ็ดเปิงเฮือนอยู่แคมถ่ง คนครัวเดียวกันยังอยู่ ๒ คน คือแม่กับลูกซายคำแพง สองแม่ลูกมีเฮ็ดนา ฐานะพออยู่พอเซานำแนวไทบ้านเขตคามบ้านนอก ฮอดยามเฮ็ดนา ลูกซายกะออกจากบ้านไปไถนาแต่เซ้าซุมื่อ ทางแม่สิตื่ก่อน มาเฮ็ดกับข้าวไปสู่ลูกซายอยู่ถ่งนา แล้วแม่กะเฮ็ดจั่งซี่ซุมื่อคือกัน สองแม่ลูกอยู่นำกันอย่างปกติสุข
จนมาฮอดมื่อหนึ่ง ลูกซายกะออกไปไถนาคือซุมื่อ ทางแม่กะตื่นแต่เซ้าคือเก่า แล้วเข้าบ่อนคัวกินเฮ็ดกับข้าวอย่างตั้งใจ แต่มื่อนี้เฮ็ดกับข้าวไว้เป็นสองพา พาหนึ่งสิเฮ็ดไปจังหันพระ อีกพาหนึ่งสิเอาไปสู่ลูกซายกินอยู่ถ่งนา คันฮอดยามแล้ว แม่กะเอาข้าวไปจังหันพระก่อน แต่มื่อนั้นเป็นวันศีล วันโกน กะสิมีพีธีกรรมหลาย ซั่วสิแล้วกะดนเติบ คันจังหันพระเสร็จแล้ว แม่กะฟ่าวย่างเมือเฮือนไปเอากับข้าวไปให้ลูกซายอยู่ถ่งนาทันที ทางลูกซายถ่าอยู่ในถ่งนา กะเง้อกะงวกหาแม่ดุ๊ ๆ บ่เห็นแม่มาจักเทื่อ ใจอยู่บ่สุขย้อนว่าหิวข้าวแฮง
จนแม่มาฮอด เพิ่นเว้ากับลูกชายว่า มื่อนี้แม่มาสวย ค่อมว่าแม่ไปเฮ็ดบุญอยู่วัด คันเห็นก่องข้าวในมือแม่ ย้อนว่าหิวหลายจนตาฟาง กะเห็นว่าก่องข้าวมันน้อยโพด เบิ่งทรงข้าวปลาสิบ่พอกิน ลูกซายสูนแฮงจับเอาแอกตีแม่จนแม่บ่ตีง คันเซาสูนแล้ว กะนั่งลงกินข้าว จนว่าอิ่มแอ้แล่ แต่ผากฏว่าข้าวอยู่ก่องข้าวกะทันได้เหมิด หัวกะคึดได้ว่าบ่น่าตีแม่เลน จั่งฟ่าวไปเกี่ยตะกองแม่ขึ้นมา แต่อนิจจา แม่บังเกิดเกล้าบ่หันใจแล้ว ลูกซายฮู้สึกเสียใจแฮงย้อนเจ้าของเฮ็ดแม่ตาย อันผู้เฮ็ดบาปซั่วช้าฆ่าแม่ (มาตุฆาต) นี้นับเป็นบาปที่สุด ฮอดว่าห้ามขึ้นสวรรค์ ห้ามฮอดนิพพาน เพิ่นสำนึกในควมผิดและบาปกรรม กะเลยไปมอบโตกับเจ้าเมือง ยอมฮับสารภาพผิด แล้วขอบวช เจ้าเมืองกะอนุญาตให้บวชได้ ภายลุนบวชเป็นภิกษุแล้ว กะปฏิบัติโตนำพระธรรมวินัยอย่างดี บ่มีศีลขาด หมั่นเจริญเมตตาภาวนา อุทิศบุญกุศลให้แม่ ย้อนว่าเป็นพระดี หมั่นในพระวินัย ซาวบ้านกะให้ควมเลื่อมใสศรัทธา ควมฮอดหูเจ้าเมือง กะได้ถวายตาดคำหลือฟอยคำให้ แล้วกะเอิ้นบ้านนั้นว่า บ้านตาดทอง แล้วพระฮูปนี้กะสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมา เป็นอนุสรณ์แก่โยมมารดา มีซาวบ้านมาซ่อยกันสร้าง จนได้พระธาตุเจดีย์สูงส่ำลำตาลต้นหนึ่ง แล้วเอิ้นว่า พระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ หรือ พระธาตุก่องข้าวน้อย อยู่บ้านตาดทอง จ.ยโสธร
ตัวละคร แม่ ที่รักลูกชายมาก
ลูกชาย ผู้ขาดสติเมื่อมีความโมโห ทำร้ายแม่ตนเองจนถึงแก่ชีวิต
ต้นฉบับ ธวัช ปุณโณทก เรียบเรียงไว้ในหนังสือวรรณกรรมภาคอีสาน เพื่อเป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนี้สอนเรื่อง สติ ความโกรธ โมโห โมโหหิวนี้โทษร้ายแรงมาก เมื่อบุคคลตกอยู่ในภาวะโมโหหิว สามารถทำสิ่งชั่วร้ายใด ๆ ได้ง่ายมาก ตรงกับพุทธสุภาษิตให้รู้ว่า กุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ คนโกรธย่อมมองไม่เห็นธรรมะ จึงอย่าให้ความโกรธเข้ามาครอบงำจิตใจ
เมื่อนั้นแถนจึงเสี่ยงฮู้บุญแห่งฝูงแถน ทั้งหญิงชายซู่คนแวนเผี้ยน
ก็จึงได้ลูกเจ้าแถนหลวงฟ้าคื่น เจ้านั้นบุญมากล้นลือแท้ทั่วแดน
อาจจักไปผาบพื้นเป็นใหญ่ชมพู แท้แหล้ว ชื่อว่าขุนบุรมลูกอินตาเจ้า
จึงซ้ำหลิงล่ำเยี่ยมบุญนาถนางแมน เพื่อให้เป็นเทวีอยู่เผือแฝงท้าว
เนื้อเฮื่อง
พระยาแถนคือท้าวสักกะเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ มีเทพธิดาปิสาเป็นนางธรณี นางเมขลาเป็นผู้ตรวจตราชาวโลกว่าใผเฮ็ดบุญบาปเพื่อรายงานต่อท้าวจตุโลกบาล คนเฮ็ดบุญได้ขึ้นสวรรค์ ส่วนคนทำบาปให้ตกนรก สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นมหาพรหม มีอาณาเขตปกครอง ๘๔,๐๐๐ เมือง มอบหมายให้พระเมศวรประจำอยู่ทิศตะวันออก มโนสิทธิ์ประจำทิศเหนือ พระนารายณ์ประจำทิศตะวันตก และเสนาสิทธิ์ประจำทิศใต้ เฮ็ดหน้าที่เป็นอาจารย์สอนศิลปศาสตร์ให้เมืองตักกะศิลา ในภัทรกัปป์มีพระพุทธเจ้า ๕พระองค์ คือ ในสมัยพระพุทธเจ้านามว่ากุสันทะ เมื่อพระองค์นิพพานแล้ว ชาวมนุษยโลกก็ถึงกาลเสื่อมสลายไป พระพรหมจึงมอบหมายให้ท้าวจตุโลกบาล วิษณุกรรมเทวบุตร นางเมขลาเทพธิดา พร้อมบริวารลงมาเกิดในโลกมนุษย์เอิ้นว่า อุปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) เพราะมิได้บังเกิดจากท้องใคร ให้ปกครองแผ่นดินโดยธรรม ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้านามว่าโกนาคมนะ เมื่อพระองค์นิพพานแล้ว มนุษย์โลกก็กลับเข้าสู่กาลเสื่อมสลายคือเดิม พระพรหมกะส่งเทวดาลงมาเกิดเมืองมนุษย์อีก จนฮอดยุคของพระพุทธเจ้านามว่ากัสสปะ พอพระองค์นิพพานแล้วมนุษย์โลกก็ถึงกาลเสื่อมสลายอีกคือเก่า เป็นยุคคนดีทั้งเบิดบ่มีคนซั่วฮ้าย ยุคศาสนาหมดผีร้ายเข้าครองเมือง โดยมีนางยักษ์นามว่ากังลี ครองเมืองศรีสัตตะนาค (ประเทศลาว) ให้กำเนิดบุตรีนามว่า นางปากกว้าง กับนางผีเสื้อนามว่า นันทะเทวี
เว่าฮอดฤๅษีสองพี่น้อง เฮ็ดเขตเมืองไว้ ๔ มุม คือจั่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมทั้งเฮ็ดก้อนก่ายฟ้าด้วยหิน จากนั้นกะเอาน้ำจากอโนมามาเฮ็ดน้ำมนต์ฮดเสาหลักเมืองทั้ง ๔ แล้วเอาน้ำมนต์ที่เหลืออยู่ไปเก็บไว้ในถ้ำ อธิษฐานจิตให้คนมีบุญท่อนั้นมาเอาน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์น้ำไปฮดหลักเมืองจั่งสิสามารถครอบครองเมืองได้ จากนั้นฤๅษีกะเอิ้นพระยานาค ๑๔ ตน มาชุมกันหม่องก้อนก่ายฟ้า แล้วสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในธรรม สั่งให้นาคหมุนเวียนกันขึ้นมารักษาเมืองทุก ๔ เดือน จากนั้นฤๅษีกะเอิ้นหมู่เทวดา ผีเมืองมาให้รักษาเมือง แล้วตั้งชื่อเมืองว่า เมืองล้านช้าง แต่นั้นสืบมา ต่อมาฤๅษีผู้อ้ายได้ขึ้นไปหาท้าวสักกะ (พระอินทร์) เทิงสวรรค์ ขอให้ส่งเทวดาผู้มีบุญลงมาเกิดในโลกมนุษย์มาปกครองบ้านเมือง พระอินทร์ได้เลือกพระโอรสคือขุนบรมลงมาเกิดในมนุษยโลก มีธิดาของแถนแต่งนามว่าแก้วยมพะราเป็นเทวีฝ่ายขวา และธิดาของแถนสั่งนามว่านางอกแคงเป็นเทวีฝ่ายซ้าย พร้อมกับมอบอาวุธและช้างมงคลให้พร้อมทุกอย่างแล้วกะให้ลงมาเกิดที่มนุษยโลก พระยาแถนได้บอกเขตแดนเมือง ๖ หัวเมือง คือ เมืองแกว อยู่ทางทิศตะวันออก เมืองฮ่ออยู่ทางทิศเหนือ เมืองญวนอยู่ทางทิศตะวันตก เมืองศรีอยุธยาอยู่ทางทิศใต้ เมืองพวนแล้วกะเมืองคำเกิดเพื่อให้ขุนบรมมอบหมายให้บุตรไปครอบครองเมืองต่อไป
ขุนบรมเมืองลงมาอยู่มนุษยโลกแล้วได้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เวลาผ่านไป ๒ ปี ได้มีบุตรจำนวน ๗ คน เกิดจากเทวียมพะรา ๓ คน คือ ขุนลอ ยี่ผาล้าน จุสง และงัวอินทร์ เกิดจากนางเทวีอกแคง ๓ คน คือ ไสพงศ์ ลกกลม และเจ็ดเจื่อง เมื่อปกครองบ้านเมืองไปได้ ๙ ปี สมบัติที่ให้มาจากสวรรค์กะเบิดลงบ่พอใช้ และเกิดความเดือดร้อนย่อนมีเครือเขากาดกับน้ำเต้าปุง ๒ ลูกเกิดขึ้นกลางเมือง เฮ็ดให้แสงตะเว็นสาดบ่ฮอดพื้นเมืองเกิดความหนาวเย็นไปทั่ว จั่งได้ส่งคนขึ้นไปขอคำแนะนำจากพระยาแถน พระยาแถนแนะนำให้ตัดเครือเขากาด แล้วกะเจาะลูกน้ำเต้าปุง ขุนบรมให้เฮ็ดตามนั้นปรากฏว่ามีสรรพสัตว์ไหลออกมาแต่น้ำเต้าลูกแรก ทรัพย์สมบัติไหลออกมาแต่น้ำเต้าลูกที่สอง ย่อนว่าคนออกมาแต่ลูกน้ำเต้า (ลาพุ) จั่งได้เอิ้นว่า ลาว พอตัดเครือเขากาดแล้วมนุษย์กับเทวดากะติดต่อกันบ่ได้ตั้งแต่นั้นมา เครือน้ำเต้ากะกลายเป็นหิน คนที่ออกมาแต่ลูกน้ำเต้าปุงกะกลายเป็นต้นตระกูลไทเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ต่อมามีแนวให้เฮ็ดนำจารีตประเพณี “ขะลำ” สำหรับชาวบ้าน ต่อแต่นั้น ขุนบรมตั้งกฎหมายตามระเบียบการบริหารบ้านเมือง แล้วหาเมียให้กับลูกทั้ง ๗ คน กะคือ ๑. ขุนลอ อภิเษกกับนางเอื้อย ได้เป็นเจ้าครองเมืองล้านช้าง ๒. ยี่ผาลาน อภิเษกกับนางแอด ได้เป็นเจ้าครองเมืองฮ่อ ๓. จุสง อภิเษกกับนางอุรัสสา ได้เป็นเจ้าครองเมืองแกว ๔. งัวอินทร์ อภิเษกกับนางไอ่ ได้เป็นเจ้าอโยธยา ๕. ไสพงศ์ อภิเษกกับนางอาบสร้อย ได้เป็นเจ้าครองเมืองยวน ๖. ลกกลม (ไม่ปรากฏชื่อภรรยา) ได้ครองเมืองคำเกิด และ ๗. เจ็ดเจื่อง อภิเษกกับนางลุน ได้เป็นเจ้าครองเมืองพวน แล้วมอบคนที่รักใคร่ให้เป็นข้าทาสบริวารใกล้ชิด คนที่มีคาถาอาคมเป็นทหาร คนที่รู้ฮีตคองประเพณีเป็นพราหมณ์ ปุโรหิต เฮ็ดพิธีอภิเษกบุตรทั้ง ๗ คนขึ้นครองเมืองแล้วให้โอวาท เสร็จแล้วมอบวัตถุมงคลและเครื่องใช้จำเป็นแก่บุตรทั้ง ๗ คนแล้วให้โอวาทสะใภ้ทั้ง ๗ คน ให้ซ่อยเกื้อกูลกัน เมืองอ้ายอย่ารบเมืองน้อง ให้สืบสกุลฮอดลูกหลาน ใผรบกันขอให้มีอันเป็นไปภายใน ๖ เดือน พอแต่ขุนบรมสวรรคตแล้ว ราชบุตรทั้ง ๗ คน กะอำลาชาวเมืองไปปกครองเมืองของตน เวลาผ่านไปขุนลอได้เอิ้นเจ็ดเจื่องมาปักเขตแดนกัน เขตแดนนี้ใช้มาได้ ๘๔๒ ปี จั่งได้ปักเขตแดนใหม่ นิทานเรื่องขุนบรมกะจบลงท่อนี้แล
ตัวละคร ขุนบรม เป็นพระราชาผู้มีบุญ ปกครองเมืองตามหลักฮีตคอง และสั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี สามารถปกครองได้โดยไม่เกิดสงคราม ชาวเมืองก็มีความสุขสมบูรณ์
ต้นฉบับ พระครูสุเทพสารคุณ (พระพุทธิสารมุณี) ได้ปริวรรตจากอักษรธรรมเป็นอักษรไทย เสร็จเมื่อปี ๒๕๔๖ อยู่ที่หอพุทธศิลป์ วัดธาตุพระอาราหลวง เนื้อเรื่องขุนบรมต้นฉบับเป็นคำกลอนอีสานเหมือนกับวรรณคดีอีสานหลาย ๆ เรื่อง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนี้สอนให้เห็นความเชื่อมต่อกันระหว่างมนุษย์กับเทวดาที่จะตัดขาดจากกันไม่ได้ และสอนให้คนขยันขันแข็งพึ่งตนเองได้
ค้อมว่าสองกล่าวแล้วย้ายย่างลงเฮือน ก็จึ่งเถิงกองฟอนลูกตนมิซ้า
ก็บ่เห็นดูกแท้ทั้งถ่านไฟเผา เห็นแต่ฮอยกองฟอนแผ่นดินดูแห้ม
ก็จึ่งหลิงเห็นต้นจำปาทั้งสี่ เกิดออกตั้งแทนไว้ที่เผา
ก็หากดูงามล้นเป็นใบซ่อนกาบ ง่าก่องค้อมใบซ้อยซื่นงาม
เนื้อเฮื่อง
ณ เมืองจักขิน อันก้วงใหญ่ไพศาลและจำเริญเฮืองฮุ่ง ซาวเมืองซุคนอยู่โฮมกันสุขซำบายดี มีท้าวจักขินเป็นกษัตริย์ครองเมือง มีพระนางแก้วเทวีเป็นพระมเหสี และมีพระธิดาซื่อ ปทุมา เป็นผู้มีโสมงามเกินกั่วแม่ญิงใด
มื่อหนึ่ง แนวบ่ดีกะเกิดขึ้นกับซาวเมืองจักขิน ค่อมว่าพญาฮุ้ง (พญาเอี่ยว) สองตัวผัวเมียมาจับประซาซนกิน แล้วว่ากับซาวเมืองซุคนว่าอีก ๗ มื่อ สิมากินคนให้เหมิดเมือง เฮ็ดให้ท้าวจักขินต้องเอิ้นเสนาอำมาตย์มาซ่อยให้อย่างไว ย้อนว่าสิป่าวฮ้องหาผู้แก้วก้ามาผาบนกยักษ์เทิงสองโต ไผกะซ่างที่เฮ็ดสำเร็จ ท้าวจักขินสิยกเมืองให้ครอง แต่ว่าผ่านไปแล้ว ๓ มื่อกะยังบ่มีผู้ใด๋อาสามาผาบนกยักษ์ ย้อนห่วงควมปอดไพ เจ้าเมืองเหมิดทางสู้กะเลยเอานางปทุมาไปเสี่ยงไว้ในกลองในพระราชวัง ในที่สุดฮุ่งใหญ่กะจับคนกินเหมิด
ว่าไปฮอดท้าวจุลนีแห่งปัญจานคร ได้ออกล่าสัตว์แล้วหลงเข้าไปในเมืองจักขิน กะเห็นเป็นเมืองฮ้าง มีแต่ซากกระดูกกองอากลาก เลยไปตีกลองเอิ้นคนออกมานำเสียงกลอง กะได้ยินเสียงนางปทุมาฮ้องออกมาแต่ในกลอง เลยเอานางออกมา จังซั่นนางจั่งมีอีกซื่อว่านางคำกลอง ท้าวจุลนีเลยได้นางเป็นมเหสีคนที่สองต่อจากนางอัคคี คันนางปทุมาท้องกะได้ประสูติพระโอรส ๔ องค์ นางอัคคีเอาผ้าผูกตา แล้วเอาลูกหมามาเปลี่ยน เทิงใส่ควมนางว่า เป็นซู้กับหมา ท้าวจุลนีกะเลยไลนางออกจากเมืองไปเป็นคนเลี้ยงหมู ทุกข์แฮงเทิงกายเทิงใจ ทางกุมารสี่องค์ถืกนางอัคคีจับใส่ไหลอยน้ำไปคาอยู่สวนดอกไม้ ย่าจำสวนพ้อกะเอาศพทั้งสี่กุมารไปเผา หม่องกองฟอนที่เผานั้นเกิดต้นจำปาขึ้นสี่ต้น นางอัคคีสืบเสาะฮู้เรื่องอีก กะให้เสนามาหย่องถิ่มแล้วให้ลอยน้ำไป จำปาเทิงสี่ต้นลอยไปฮอดอาศรมพระฤๅษี พระฤๅษีซุบซีวิตให้ฟื้นเป็นมนุษย์คือเก่าแล้วสอนาคมต่างๆ ให้ กุมารเทิงสี่คนกะไปสู้ซนะยักษ์มารและมนุษย์ ได้เมืองขึ้นมาหลาย
แล้วทีนี้กะเมือมาหาย่าจำสวน แล้วออกท่องนำหามารดาจนพ้อกัน เลยเว้าเรื่องทังเหมิดสู่แม่ฟัง คันฮู้ว่ากุมารทั้ง ๔ องค์เป็นลูกเจ้าของกะดีใจหลาย แล้วแล้ว แม่ลูก ๕ คน กะไปเข้าเฝ้าท้าวจุลนี กุมารได้ทูลความจริงทั้งหมดให้เพิ่นฮู้ ท้าวจุลนีกะดีใจว่าลูกเจ้าของบ่แม่นลูกหมาคือแนวนางอัคคีว่า เลยให้กุมารทั้งสี่ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากเจ้าของ ทางนางอัคคีถืกลงโทษให้เป็นทาสเลี้ยงหมูซดใซ้กรรม
ตัวละคร ท้าวจุลนี กษัตริย์ที่มีความกล้าหาญ แต่หูเบา เชื่อคำคนง่าย
นางปทุมา พระธิดาที่มีกรรม ต้องพลัดพรากจากบิดมารดา โชคดีที่ท้าวจุลนีช่วยไว้ แต่ก็ต้องมาโดยใส่ร้ายจนถูกเนรเทศออกจากเมือง
นางอัคคี มเหสีใหญ่ของท้าวจุลละนี มีนิสัยขี้อิจฉาริษยา
กุมารทั้งสี่ มีความกล้าหาญ กตัญญูต่อบุพการีของตน
ต้นฉบับ เรื่อง จำปาสี่ต้น ฉบับถอดความจากอักษรธรรมเป็นอักษรไทยปัจจุบัน เรียบเรียงโดย พระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี)
ธวัช ปุณโณทก เรียบเรียงไว้ในหนังสือ วรรณกรรมภาคอีสาน เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ต้นฉบับภาษาลาวชื่อหนังสือ จำปาสี่ต้น เรียบเรียงโดย คณะกรรมการวิทยาศาสตร์สังคม สถาบันค้นคว้าศิลปะวรรณคดีภาษาศาสตร์ เผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๒
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องจำปาสี่ต้น ให้คติเรื่องกรรมที่เกิดจากการกระทำ หรือ วิบากกรรม คือ ถ้ากระทำความดีก็ได้ดี ถ้ากระทำความชั่วก็ได้ชั่ว
หญิงอยู่ในโลกนี้เหลือล้นอเนกนอง ท้าวเอย คันจักเอาเป็นเหง้าเมียขวัญกับประทีป
โสกถืกต้องนางนั้นก็จึงดีแท้ดาย ดีท่อคึดอยากได้เห็นฮูปโฉมงามดังนั่น
เนื้อเฮื่อง
ท้าวคำสอน เป็นกำพร้าอาศัยอยู่นำญาคู พอใหญ่ขึ้นมาญาคูเลยบอกสอนให้ฮู้จักความ ฮู้เบิ่งเอาเมีย กะเลยบอกเถิงลักษณะของแม่ญิงแต่ละอย่าง เป็นต้นว่า
1. ญิงใดสินำโซคลาภมาสู่ผัวและครอบครัว สิเป็นผู้มีวาสนาให้ผัวฮุ่งเฮือง มีความสุข ความเจริญ ฮ่ำฮวยเงินคำ ญาคูว่า ญิงใดเอเลท้องปุ้มหลวงอุ้มบาตร ญิงนั้นลอนท่อเป็นฮูปฮ้ายบุญเจ้าหากมี แท้ตาย
ซายใดได้เข้าอยู่ซ้อนสุขฮ่วมบฮม สมบัติในเฮือนมีพร่ำเพ็งเต็มเหย้า หั้นแล้ว
ญิงใดคอตกปล้องหางตาแดงพอหน่อย เมื่อนางยกย่างย้ายพอด้ามเกิ่งเสมอกัน
แม่นว่าท้าวเข้าไปอยู่ซ้อนเฮียงฮ่วมเป็นเมีย เมื่อใด ยูท่างและทรงความสุขนั่งปองเป็นเจ้า
2. ลักษณะแม่ญิงที่มีความซื่อสัตย์ต่อผัวตนบ่เป็นซู้ ญาคูว่า
หญิงใดหลังตีนสูงขึ้นคือหลังดองเต่า หญิงนั้นใจซื่อแท้ประสงค์ตั้งต่อผัว เจ้าเอย
ก็บ่มักเล่นชู้ชายอื่นมาชม ก็ท่อจงใจรักต่อผัวคีค้อยคีค้อย
ญิงนั้นแม่นซิทำการสร้างอันใดก็เฮืองฮุ่ง แท้แล้ว แสนซิจมอยู่พื้นมาแล้วก็หากฟู
ญิงใดโยนีส้วยดวงปลีกล้วยตีบ ญิงนั้นสุขลื่นล้นคำไฮ้บ่ห่อนมี แท้แล้ว
ก็หากซื่อสัตย์แท้ตั้งต่อผัวตน จักเทียระคาคงอยู่ยืนเถิงเฒ่า หั้นแล้ว
3. ลักษณะแม่ญิงอันโทษ อัปมงคลต่อสามีตลอดจนซีวิตครอบครัวบ่ฮุ่งเฮืองเหลืองเหลื่อม ญาคูว่า
ญิงใดโข้โมหน้าคือชายสักหยาด ญิงนั้นในโลภเลี้ยวเคยม้างศาสนา
มีใจถ่อยแท้บ่หลิ่งเบิ่งทางบุญ
หญิงใดจินจิกหน้าผมแดงทางหน้าผาก ญิงนั้นโสมรูปร้ายเคยม้างศาสนา
จากหั่น ท้าวคำสอนผู้กำพร้า ก็เลยลาญาคูไปหาญิงคนฮู้ผู้ดีมาเป็นเมียครองซ้อน กะเลยได้บพพ้อนางปังคำ เป็นคนจนอยู่ตูบ มีลักษณะถูกโศลงเป็นมิ่งเมียแก้ว ท้าวคำสอนเลยได้ออกปากต้านคุยเว้าต่อนาง เลยได้เป็นเมียท้าวคำสอนนั้นแท่แล้ว
ตัวละคร พระมหาเถระ บุคคลที่สอนท้าวคำสอนเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง
ท้าวคำสอน หนุ่มกำพร้า เฉลียวฉลาดในการเลือกคู่ครอง
ต้นฉบับ เดิมเป็นเอกสารใบลาน อยู่ ณ วัดใดไม่ปรากฏ ในคำนำบอกแต่เพียงว่ามีผู้นำมาถวายท่านเจ้าคุณอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) วัดมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้ชำระออกมาเป็นอักษรไทย และพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรทองการพิมพ์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ท้าวกำพร้าคำสอน คำลอนโบราณอีสาน (เล่มเดียวจบ) เรียบเรียงโดย น้อย ผิวผัน พิมพ์และจำหน่ายที่โรงพิมพ์ขอนแก่นคลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ค่านิยมในการเลือกคู่ครองของชาวอีสานนั้นไม่เน้นเรื่องความงามเป็นหลักแต่กลับเน้นถึงลักษณะของสตรีที่เป็นสิริมงคล ถึงแม้ว่าความงามจะด้อยไปก็ตาม และลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเน้นสตรีที่มีใจบุญสุนทานไม่น้อยกว่าลักษณะอื่นๆ แสดงว่าค่านิยมในการเลือกคู่ครองของชายชาวอีสาน มุ่งที่จะได้คู่ครองที่เป็นภรรยาที่ดี คือเป็นเมียแก้วเมียขวัญ ซึ่งเป็นความปรารถนาของชายโดยทั่วไป และค่านิยมนี้ถึงแม้จะปฏิบัติไม่ได้ดังปรารถนานักก็ตามที
บัดนี้ กล่าวเถิงโพธิสัตว์เจ้าลงมาใช้ชาติ เป็นกำพร้านอนแล้งพ่อตาย
มารดาแก้วคุณโณล้นเกตุ ก็หากมรมิ่งเมี้ยนตายไปพร้อมพร่ำกัน
แม้ว่าวงศาเชื้อตายายอาวปู่ ก็บ่มีผู้เลี้ยงบาท้าวอยู่ดอม
ทุกขะมอดไฮ้เชื้อโคตรวงศา ทั้งตายายกะบ่มีไผเลี้ยง
บาก็อายุได้สิบหกปีขึ้นใหญ่มาแล้ว มีท่อไปเที่ยวบ้านขอข้าวเพิ่นกิน
ขอบ่ได้คืนมาดายเปล่า เจ้าติ่วช้อยเวาวงผู้เดียว
เนื้อเฮื่อง
กล่าวเถิงแต่เทื่อพุ้น ยังมีเมืองหนึ่งมีเด็กน้อยผู้หนึ่งเป็นกำพร้าพ่อแม่ ได้เทียวขอทานซาบ้านกินจนหว่าใหญ่ เป็นบ่าวพอแวงๆแล้วเลยออกจากเมือเฮ้ไฮ่ใส่นาอยู่ตามบ้านนอกขอกคาเม พอแต่ข้าวงามกะมีสัตว์มากิน ไล่จั่งได๋กะบ่ฮู้จักเบิด เอาหยังมาดักกะขาดถิ่มเบิด เลยไปขอเอาสายไหมจากย่าจำสวน (คนสวนของพระราซา) มาแล้วกะเลยจับได้ซ้าง ซ้างกะเลยฮ้องขอซีวิตแล้วบอกว่าสิให้ของวิเศษ คือ ถอดงาซ้างข้างหนึ่งให้ ท้าวกำพร้าเลยปล่อยซ้างไปแล้วเอางามาไว้เฮือน ต่อมาท้าวกำพร้าเลยดักเสือได้ เสือโตนั้นกะฮ้องขอซีวิตแล้วสิยอมเป็นลูกน้องของท้าวกำพร้าสืบต่อไป เสือเลยบอกว่า คันแม่นมีเรื่องหยังสิฟ้าวมาซ่อทันที ต่มากะจับได้อีเห็นอีก อีเห็นกะยอมเป็นลูกน้อง ต่อมากะจับได้พญาฮุ้ง (นกอินทรีย์) พญาฮุ้งกะยอมเป็นลูกน้องอีก โตสุดท้านที่จำได้แม่นผีน้อย มาหลอยกินปลาอยู่ในไซ ผีน้อยกะเลยยอมเป็นลูกน้อง พอแต่ท้าวกำพร้าเอางาซ้างมาไว้เฮือน ในงาซ้างนั้นกะมีหญิงสาวงามคนหนึ่งซื่อว่า นางสีดา อาศัยอยู่ นางเลยออกมาเฮ็ดกับข้าวเฮ็ดอยู่เฮ็ดกินถ่าท้าวกำพร้าผู้ออกไปเฮ็ดนา ต่อมาพอท้าวกำพร้ากะเลยตีงาซ้างนั้นถิ่ม อยากอยู่กินกับนางคือจั่งผัวเมีย ข่าวความงามของนางสีดาฮู้ไปฮอดพระราซา พระราซาเห็นแล้วกะเกิดมักอยากยึดเอาแต่กะย้านคนเขาสิว่า เลยท้าท้าวกำพร้าแข่งขันต่างๆ ถ้าแม่นว่าท้าวกำพร้าแพ้สิยึดเอานางสีดามา แต่คันแม่นว่พระองค์แพ้สิยอมยกเมืองให้เคิ่งหนึ่ง การแข่งขันกะมี ซนไก่ ซนงัว ส่วงเฮือ สุดท้ายท้าวกำพร้ากะซะนะเบิดซุอย่าง การซนงัวหน้าเสือกะแปลงกายมาซ่อย การซนไก่อีเก็นกะแปลงเป็นไก่มาซ่อย กัดไก่พระราซาตาย การแข่งส่วงเฮือนั้น พญาฮุ้งกะแปลงมาเป็นเฮือ เฮ็ดเฮือพระราซาล่มแล้วกินคนเทิงเบิด พอแต่พระราซาตายเล้วกะเลยได้ฮ่วมกันกับบ่างโตหนึ่ง ให้บ่างฮ้องเอิ้นวิญญาณของนางสีดามา ฮ้องที่แฮกนางกะบ่มาย่อนว่าบ่ซำบาย เทื่อที่ 2 เลยสลบไป เทื่อที่ 3 นางเลยไปอยู่นำพวกปีผีทหารของพระราซา ทางฝ่ายท้าวกำพร้ากะเลยปรึกษากัน ผีน้อยว่าอย่าทันเผานางเถอะ คีงยังอุ่นๆอยู่ คือว่า นางนั้นบ่ทันตาย ผีน้องเลยนำเบิ่งเฮื่องที่งเทิงเบิดเลยฮู้ว่าต้องหาวิธีจับบ่างโตนั้น เลยวางแผนจับบ่าง เข้าไปตีสนิทกับบ่าง จากหั่นผีน้อยเลยหลบมาบอกให้นายพรานขายข้อง สิเอาไปบางอย่าง นางกะเลยไปหาบ่างตัวนั้นแล้วบอกว่า ถ้าเธอเข้าไปได้ท่านเข้าไปในห้องนั้น ท่านสิเป็นผู้วิเศษ บ่างอยากแสดงให้เห็นเลยเข้าไปในข้องแล้วกะเอาตีนถีบออกมาอย่างง่ายดาย ผีน้อยเลยเว้ากับบ่างว่า เจ้าแม่เป็นผู้วิเศษอีหลีน้อ บ่างกะเกิดหลงดีใจว่าจะของแม่นผู้วิเศษ ผีน้อยเลยหลบมาหานายกำพร้าบอกว่าให้เอาลวดสานข้องแทนไม้ไผ่ แล้วกะฟ้าวไปหาบ่าง เลยบอกบ่างว่า คันแม่นเจ้าไขข้องหน่วยนี้ได้ ข้อยสิยอมเป็นทาสเจ้าตลอดไป ทางฝ่ายบ่างกำลังหลงจะของกะเลยมุดเข้าข้อ
ลวด แต่ว่าถีบจั่งได๋ ยังจั่งได๋กะบ่ออก ผีน้อยกะเลยหาฝามาปิดแล้วเอาไปให้นายกำพร้า แล้วบังคับให้บ่างฮ้องเอาวิญญาณนางสีดากลับคืนมาคันบ่เอิ้นสิฆ่าบ่างถิ่มเสีย บ่างกะเลยเอิ้นเอาวิญญาณนางสีดาหลบคืนมา ฮ้องเทื่อแฮกมือนางสีดากะสั่นจักหน่อยตีงคีงจักหน่อย พอเอิ้นเทื่อที 2 นางกะฟื้น แต่กะยังคือคนไข้คนโซอยู่ บ่างกะเลยเอิ้นเป็นเทื่อที 3 นางสีดาเลยคืนเป็นปกติคือเก่า พอแต่นางสีดาคืนมาแล้ว บ่างกะเลยขอฮ้องให้นายกำพร้าปล่อยไปเสีย แต่นายกำพร้าย้านว่าคันปล่อยไปแล้วบ่างโตนี้สิหลบไปหาพระราซาแล้วกะสิเอิ้นวิญญาณนางสีดาไปอีก กะเลยตั๋วบ่างว่า ข้อยขอเบิ่งแนวอันเจ้าใซ้เอิ้นวิญญาณแหน่ บ่างผู้ยังหลงใหลในคำซื่นซมยินดีกะเลยแลบลิ้นออกให้เบิ่ง นายกำพร้าเลยใซ้มีดฟันลิ้นบ่างจนขาด บ่างกะเลยบ่สามารถเอิ้นเอาวิญญาณไผไปได้อีก ซาวเมืองเทิงหลายเลยเห็นว่านายกำพร้าผู้นี้เป็นผู้ซนะการแข่งขัน เลยพากันพร้อมใจยกเมืองให้นายกำพร้าครอบครองตามสัญญาของพระราซา มีนางสีดาเป็นมเหสี ทั้งสองพระองค์กะซ่อยกันปกครองบ้านเมือให้อยู่ซุ่มกินเย็น จำเฮิญฮุ่งเฮืองตลาดไป
ตัวละคร ท้าวกำพร้า เป็นพระโพธิสัตว์เสวยชาติมาเพื่อใช้ชาติ ท้าวกำพร้าเป็นผู้ที่มีจิตใจดี มีปัญญาเฉลียวฉลาด
ต้นฉบับ นิทานท้าวกำพร้าผีน้อย คำกลอนโบราณอีสาน เรียบเรียงโดย จินดา ดวงใจ
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องกำพร้าผีน้อย สะท้อนให้เห็นวิถีทางการดำเนินชีวิตของคนภาคอีสาน การทำไร่ทำนา การล่าสัตว์ วิธีการทำหัตถกรรม เช่น ข้องใส่ปลา นอกจากนั้นยังให้คติธรรมทางพุทธศาสนา มีแนวคิดสำคัญตามแนวพุทธปรัชญาว่าด้วยเรื่องกรรม ธรรมะย่อมชนะอธรรม ความกตัญญูความรักในหลากหลายรูปแบบ
ตโต ปฏฺฐาย ตั้งแฮกแต่ย่าเฒ่าผู้นั้นแล ไปกินน้ำฮอยช้างแลก็ทรงครรภ์ได้สิบเดือนแล้ว ก็ประสูติได้ยังลูกชายผู้หนึ่งแล้ว มีบุญสมภารอันมากนักในโลกอันนี้แท้ดีหลีแล แต่นั้นส่วนอันว่า “คันไชยศรีทิพย์” ดวงหนึ่ง ก็ตกลงมาหากุมารน้อยผู้นั้น ก็เป็นประดุจดั่งแก้วมณีโชติมีแล ส่วนอันว่าชื่อแห่งกุมารน้อยผู้นั้น อันคนทั้งหลายหากใส่ชื่อตามคันไชยศรีดวงนั้น ก็ใส่ชื่อว่า “ท้าวคันธนกุมาร” แท้แล
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงบ้านหนึ่งในเมืองศรีสาเกตุ มีสาวทึนทึกอายุอานามกะเป็นสาว ใหญ่เติบแต่บ่มีผัว เฮ็ดอยู่เฮ็ดกินอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ สาวนางนี้มีนากลางนาของไทบ้าน ต่อมาฮอดเวลาฮอดเวลาที่เทวบุตร ผู้เป็นพระโพธิสัตว์สิลงมาเกิดในมนุษยโลก พอฮอดยามเกี่ยวข้าวพระอินทร์กะเลยแปลงกายมาเป็นซ้างใหญ่พญาฉัททันต์ ไปเหยียบย่ำนาข้าวของสาวผู้นั้นจนหมุ่นเบิดแล้วกะเลยหนีไปทางเบื้องหรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ซ้างนั้นกะจ่งฮอยตีนไว้ให้ฮู้ให้เห็น ตื่นเซ้ามานางมาพ้อนาเสียหายกะเลยเสียอกเสียใจแล้วเทิงเคียดหลาย เลยหย่างนำหาสัตว์ว่าแม่โตอีหยังมาเหยียบนาจะของ ระหว่างทางนั้นนางเมื่อยเลยกินน้ำในฮอยตีนซ้างเลยเกิดมีท้องขึ้นมา อยู่ได้หว่างสิบเดือนกะเลยได้ออกลูก ได้ลูกซายเป็นตาฮักตาซัง ฮ่างกายสมบูรณ์แข็งแฮง แล้วกะมีดาบศรีขรรค์ซัยติดโตมานำ นายเลยให้ซื่อลูกซายว่า คันทะนาม ลูกซายกะเลยได้ซ่อยเหลือแม่เฒ่าเฮ็ดเวียกงานการสร้างน้อยใหญ่แต่ยังน้อย พออายุคันทะนามอายุได้ 7 ปีเลยถามหาพ่อ แม่เฒ่าเลยเว้าสู่ฟัง แล้วกะพาไปเบิ่งฮอยซ้างที่แม่ได้กินน้ำจนได้ท้อง พอแต่กำลังเว้ากันอยู่นั้นกะเกิดมียักษ์สิมาตีมาฆ่าแม่เฒ่า คันทะนามกะเลยเอาดาบศรีขรรค์ซัยต่อสู้กับยักษ์ ยักษ์ยอมแพ้กะเลยเอาน้ำเต้าวิเศษให้ แล้วกะเลยบอกหม่องเสี่ยงคำ(ซ่อนทอง) ให้ฮู้ เทิงสองแม่ลูกเลยไปหาคำขุมนั้น พอไปฮอดกะพ้อคำหลายบ่น้อย เฮ็ดให้สองแม่ลูกมีฐานะดีขึ้นแล้วกะแบ่งคำนั้นให้ซาวบ้านนำซุคู่ซุคน
พอแต่ท้าวคันทะนามอายุอานามได้ 16 ปี ข่าวกะล่ำลือว่าท้าวคันทะนามผู้นี้สามารถปราบยักษ์ได้ฮู้ไปฮอดหูขอเจ้าเมืองศรีสาเกตุ พระองค์กะเลยสั่งให้ไปเอาโตท้าวคันธนามมาเข้าเฝ้า แล้วสั่งให้ทดลองหลก(ถอน)ต้นตาล 2 ต้น ที่มันขวางทางอยู่ ท้าว คันทะนามกะหลกได้ แล้วกะเลยเหาะขึ้นเทิงฟ้าอากาศแก่งกกตาลอย่างเต็มแฮง พระยาศรีสาเกตุเห็นจั่งซั่นกะเลยแต่งตั้งให้คันทะนามเป็นอุปฮาดแล้วกะเฮ็ดผาสาดให้เป็นหม่องประทับอยู่ในเมือง ท้าวคันทะนามกะเลยพาแม่เฒ่ามาอยู่นำ แล้วกะเลยเอาน้ำเต้าวิเศษฮดลงในกายแม่เฒ่า แม่เฒ่านั้นกะเลยเป็นสาวงามจนเจ้าเมืองมาขอไปเป็นมเหสี
อยู่มาฮอดมื้อหนึ่ง ท้าวคันทะนามเลยขอลาแม่ไปนำหาพ่อ ท้าวคันทะนามหย่างนำฮอยซ้างไปฮอดเมืองอินทปัดถา ระหว่างทางกะไปพ้อซายฮ้อยเล่มเกวียนกำลังลากเกวียน 500 เล่ม ท้าวคัดทะนามเลยไปประลองโดยดึงเกวีบนเล่มสุดท้ายไว้ ซายฮ้อยเล่มเกวียนดึงบ่ได้กะเลยได้ประลองวิซากัน สุดท้ายซายฮ้อยเล่มเกวียนกะสู้บ่ได้เลยขอติดตามเป็นทาส ต่อมากะไปพ้อซายไม่ฮ้อยกอ ท้าวคันทะนามกะเลยไปประลองกำลังจับไม้ที่กำลังถืกลาก ซายไม้ฮ้อยกอเคียดเลยเกิดการต่าสู้ คันทะนามซะนะ ซายไม้ฮ้อยกอเลยยอมเป็นทาส เทิงสามคนเดินทางไปนำหาพ่อของท้าวคันทะนาม ไปฮอดป่าหิมพานต์ กะเลยแนมเห็นจินายโม้กำลังขุดขวย ขี้ดินฟ้งข่วมน้ำโขงไปตกเลาะเมืองเวียงจันทร์ ท้าวคันทะนามเลยลงไปจับได้ขาจินาโม้ดีด ขาเลยขาด ท้าวคันทะนามกะเลยเอาขาจินายโม้มาหาหมู่เทิงสองคน แล้วพากันไปขอไฟอยู่ตูบของยักษ์ สองคนนั้นถืกยักษ์จับหาขา ท้าวคันทะนามกะเลยเอาดาบศรีขรรค์ซัยต่อสู้ยักษ์จึงยอมแพ้ แล้วกะเลยให้ไม่เท้าวิเศษ กกซี้ตาย ปลายซี้เป็น แล้วกะ พิณวิเศษ ให้แก่ท้าวคันทะนาม ท้าวคันทะนามกะเลยใซ้น้ำเต้าฮดหมู่ทั้งสองจั่งออกเดินทางต่อไปได้
เทิงสามคนเดินทางมาฮอดเมืองขวางทะบุฮี กะพ้อว่าเป็นเมืองฮ้างบ่มีคนอยู่อาศัย หย่างไปกลางเมืองเลยไปพ้อกลองใหญ่หน่วยหนึ่ง เลยลองตีแล้วกะมีเสียงฮ้องของแม่ญิงดังมาแต่ในกลอง กะเลยใว้มีดปาดหน้ากลองออกเลยพ้อสาวงามซื่อว่านางกองสี เป็นลูกาวเจ้าเมือง ที่เจ้าเมืองเอามาเสี่ยงไว้ ให้ฮอดพ้นภัยจากงูซวง ส่วนว่าเจ้าเมืองกับเทิงไพร่พลซาวบ้านซาวเมืองถืกงูซวงกินเบิดแล้ว ย้อนว่าเจ้าเมืองแลซาวเมืองประพฤติผิดฮีตครองธรรม นางกองสีบอกว่า คันแม่นดังไฟขึ้นงูซวงเห็นแล้วกะสิลงมาอีก ท้าวคันทะนามเลยก่อไฟกองใหญ่ให้หุ่งไปฮอดแถน งูซวงเลยพากันลงมาหลายบ่น้อยท้าวคันทะนามกับหมู่ทั้งสองคนเลยซ่อยกันฆ่างูซวงตายถิ่มเบิด ท้าวคันทะนามเลยเอาไม่เท้าวิเศษซุบซีวิตซาวบ้านซาวเมือง ตลอดจนพระราซา กองกระดูกเทิงหลายกะหลบมามีซีวิตคือเก่า พระราซาเลยดีใจ ยกเมืองขวางทะบุฮีแลนางกองสีในแก่ท้าวคันทะนาม ท้าวคันทะนามเลยให้ซาย ไม้ฮ้อยกอเป็นฮุปฮาด ให้นายเกวียนฮ้อยเล่มเป็นนายแสนเมือง
อยู่ต่อมาได้บ่ดน ท้าวคันทะนามกะต้องออกนำหาพ่อต่อไป เลยฝากเมืองขวาง ทะบุฮีไว้กับหมู่เทิงสอง แล้วกะไปฮอดเมืองจำปานคร ได้นางสีไส ลูกสาวมหาเศรษฐีของเมืองนั้นเป็นเมีย ได้ลูกซายนำกันผู้หนึ่งซื่อว่า คัดซะเนก มื้อหนึ่งเจ้าเมืองจำปานครได้เสด็จประพาศป่าไม้ไปพ้อยักษ์ ยักสิจับกิน พระยาจำปาเลยขอซีวิตไว้ แล้วสิให้มนุษย์กินมื้อละคน เจ้าเมืองเลยเอานักโทษไปไว้หอผีให้ยักษ์จับกินมื้อละคน พอเบิดนักโทษเจ้าเมืองเลยคึดว่าสิยอมให้ยักษ์กินจะของเสีย ย้อนว่าคันแม่นไปเอาคนบ่มีความผิดมาให้ยักษ์กินกะสิบ่เบิดเวรเบิดกรรม พอฮู้จั่งซั่น นางสีดา เป็นลูกสาวกตัญญูฮู้คุณพ่อเลยยอมอาสาไปให้ยักษ์กินแทน สุดท้ายพ่อเลยยอมก่อนไปอยู่หอผีเป็นอาหารยักษ์ เลยขอเฮ็ดบุญแจกทานให้แก่ซาวบ้านซาวเมือง พอแต่ทางฝ่ายท้าวคันทะนามเห็นซาวบ้านซาวเมืองพากันฮ้องไห้ฮ่ำฮอน เลยสงสัยแล้วไปถามเฮื่องฮาวนำแม่เฒ่ากะเลยฮู้เฮื่องฮาวเทิงเบิดเลย ตกฮอดยามเดิก ท้าวคันทะนามเลยเหาะไปหานางสีดาอยู่หอผีกลางเมือง แล้วปลอบนางสีดาว่าบ่ต้องย้าน พอแต่ยักษ์มาเถิงท้าวคันทะนามกะเลยฆ่ายักษ์ตาย แล้วเอาซากยักษ์ไปถิ่มอยู่หนองน้ำ แล้วกะมาหานางสีดาอยู่หอผีกลสงเมือง นางเลยขอให้พาไปส่งอยู่ตำหนัก ท้าวคันทะนามเลยว่ามันบ่ดี ย้านซาวบ้านซาวเมืองเอาไปเว้าพื้นนินทาว่านางเฮ็ดมารยาคบซู้ ท้าวคันทะนามเลยลาเมือเฮือนด้วยความฮ่ำฮอนใจ ก่อนสิจากกันท้าวคันทะนามเลยตัดผ้าแสนคำ ไว้ให้นางสีดา ไว้เบิ่งแทนหน้า นางสีดาเลยเอาแหวนให้ตอบแทน เทิงสองเลยลาจากกัน
ฝ่ายทางพระยาเมืองนครจำปาฮู้เฮื่องเทิงเบิด กะดีใจ ฮู้ว่าท้าวคันทะนามเป็นผู้มีบุญวาสนาดี มีฤทธิ์หลาย มีบุญญาธิการมาซ่อยบ้านเมืองจำปานครไว้ได้ เลยยกบ้านเมืองให้ปกครอง ให้นางสีดา ลูกสาวตนให้เป็นมเหสีเบื้องขวา ให้นางสีไล ลูกสาวมหาเศรษฐี เป็นมเหสีเบื้องซ้าย พระยาจำปานครกะเลยให้มีการคบงันสลองการขึ้นตั่งนั่งครองเมืองของท้าวคันทะนาม
ต่อมาท้าวคันทะนามกะเลยล่ำลาเจ้าเมือง เลยออกเดินทางพร้อมกับมเหสีทั้งสองแลซาวเมืองไปนำหาพญาซ้างฉัททันต์พ่อของตน ไปจนฮอดเขตป่าหิมพานต์ กะได้พ้อกับพ่อพญาซ้างฉัททันต์สมใจหมาย พญาซ้างเลยสั่งสอนลูกซายหลายสิ่งหลายอัน แล้วยกงาให้คู่หนึ่ง พอแต่ซ้างพญาฉัททันต์ผู้พ่อเบิดอายุขัย ท้าวคันทะนามเลยเมี้ยนกระดูกหลังฝังกระดูกข้างพ่อของตน แล้วกะเลยขี่ซ้างหลบคืนเมือบ้านเมืองจะของ
ตัวละคร ท้าวคันธนาม เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญยิ่ง มีความเก่งกล้าสามารถในการสู้รบกับศัตรู
ต้นฉบับ ท้าวคันธนาม ปริวรรตโดย นายอัมพร นามเหลา ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา ได้รับการสนับสนุนการปริวรรตจากศูนย์วัฒนธรรม จ.นครราชสีมา
ต้นฉบับท้าวคันธนามที่นายอัมพร นามเหลานำมาศึกษาและปริวรรต คือ ต้นฉบับที่ห้องสมุด วัดบ้านมะเกลือเก่า ต.มะเกลือเก่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ต้นฉบับท้าวคันธนาม อักษรธรรม ๑ ผูก วัดท่าลาด ต.ท่าลาด อ.วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ความกล้าหาญและความชาญฉลาดของท้าวคันธนาม เป็นคุณสมบัติข้อสำคัญของกษัตริย์ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชนทั่วไป และมีตอนที่กล่าวให้เห็นผลของวิบากกรรม คือตอนที่พระยาจำปาต้องหาคนให้ไปเป็นอาหารของยักษ์จึงใช้นักโทษที่กระทำผิด เมื่อนักโทษหมดแล้วพระองค์ก็ไม่อยากนำคนบริสุทธิ์ไปให้ยักกินเพราะกลัวเป็นบาปกรรมติดตัว
เมื่อนั้น ยมราชเจ้า ใจดีชมชื่น
ฮู้ข่าวอ้ายกำพร้า ขันต่ออาสา
ว่าสิลงนำฮู เพื่อสิเอาหอมนั้น
เมื่อนั้น พระก็มีอาชญ์ให้ จัดช่างหาทอง
ให้สูตีทองสาว เร่งเร็ววันนี้
ให้สูตีสาวได้ พันวาแปดหมื่น
กับทั้งช่างยนต์อู่แก้ว วันนี้พร่ำมวล
เมื่อนั้น ช่างทองเจ้า โดยคำยมราช
จัดแต่งตั้งสูบขึ้น คีมพร้อมฮีบตี
เมื่อนั้น ทั้งหลายพร้อม เนืองนันตีต่อย พุ้นเยอ
เนื้อเฮื่อง
จักกว่าเถิงฝ่ายก้ำเมืองใหญ่ลือนาม มื้อหนึ่งนั้นซาวเมืองไปพ้อฮูดินใหญ่ฮูหนึ่งมิกลิ่นหอมออกมาจากฮูนั้น ซาวบ้านซาวเมืองกะเลยอยากฮู้ว่าแม่นฮูหยัง พระราซากะเลยประกาศหาอาสาสมัครลงไปเบิ่งในฮูนั้นมามีหยัง แต่กะบ่มีไผหาญลงไปเบิ่ง ในเวลานั้นมีหนุ่มน้อยผู้หนึ่ง ซื่อว่า เทศจันทร์สมุทร อาศัยอยู่กับย่า ผู้เป็นคนสวนของพระราซา ท้าวเทศจันทร์สมุทรนี้เห็นว่าบ่มีไผหาญลงไปเบิ่ง เลยฮับอาสาพระราซาไปพระราซาเลยให้คนเฮ็ดอู่เหล็กแล้วกะเอาโซ่เหล็กคล้อง ให้ท้าวเทศสมุทรไปอยู่ในอู่เหล็กนั้นแล้วกะหย่อนลง ฮูไป ลงไปกะเลยไปพ้อเมืองหนึ่ง อู่เหล็กไปลงอยู่หม่องเกาะพอดี ท้าวเทศจันทร์สมุทรกะเลยขึ้นกินหมากเดื่ออยู่เทิงต้น เห็นหนูคาบแก้ววิเศษลอยน้ำมาเลยเอาหมากเดื่อโยนให้กินออกห่างไปเรื่อย แล้วเลยหลอยเอาแก้ววิเศษนั้นไป หย่างไปพ้อซายผู้หนึ่งถือน้ำเต้าเหาะมาเลยขอเอาแก้ววิเศษแลกกับน้ำเต้า พอแต่ได้น้ำเต้าแล้วแก้วนั้นกะเหาะลอยหลบมาอยู่นำท้าวเทศจันทร์สมุทรคือเก่า หย่างไปเรื่อยกะเลยไปพ้อคนถือขวน(ขวาน) ถือดาบ ถือขอดหนังเหาะมา ท้าวเทศจันทร์สมุทรกะเลยขอแลกแล้วเทิงเบิดกะเหาะลอยมาอยู่คือเก่า บัดทีนี้ท้าวเทศจันทร์สมุทรนั้นกะเลยได้ของดีติดโตมา 5 อย่าง คือ แก้ว น้ำเต้า ขวน ดาบ แล้วกะขอดหนัง แล้วจั่งเดินทางไปหาย่าจำสวน แล้วสืบหากลิ่นหอม พอฮู้จั่งซั่นย่าจำสวนว่าท้าวเทศจันทร์สมุทรนี่บ่หล่อเหลา เลยพาไปหล่อกายใหม่แล้วกะเลยพาไปสู่ขอนางผมหอม พอแต่นางผมหอมเห็นท้าวจันทรสมุทรผู้ฮูปหล่อกายงาม กะเลยมักกัน แต่พระราซาพ่อของนางผมหอมบ่ยอม ย้อนว่าเคยมีลูกกษัตริย์มาสู่ขอแต่งดองหลายคนแล้ว เลยบอกท้าวจันทร์สมุทรว่า คันแม่นอยากได้กะให้มาฮบเอา ท้าวเทศจันทร์สมุทรกะเลยไปฮบซะนะแล้วเลยได้อยู่กินกับนางผมหอม อยูเมืองนี้มาดดนนานท้าวจันทร์สมุทรกะเลยคึดฮอดบ้านเฮือนซาน เลยพานางผมหอมมาหม่องเกาะที่ลงมา บัดทีนี้ผ้านางผมหอมผืนหนึ่งตกลง ท้าวจันทร์สมุทรเลยไปเอาให้ แต่ขึ้นมาฮางเหล็กบ่ทัน คนดึงขึ้นก่อน นางผมหอมเลยขึ้นมาได้ผู้เดียว แล้วคนทั้งหลายเลยพาไปถวายพระราซา แต่พระราซากะบ่สามารถเข้าใกล้นางได้ ท้าวเทศจันทร์สมุทรกะเดินทางต่อไปเพื่อหาทางขึ้นจนไปพ้อนกกระจอก 2 โต เป็นพระอินทร์แปลงกายลงมา เลยให้ท้าวเทศน์จันทร์สมุทรขึ้นขี่แล้วกะมาปล่อยไว้อยู่นอกเมืองใกล้กับแม่น้ำ พอดีมีนายสะเภามาพ้อเข้ากะเลยได้ฮับท้าวเทศจันทร์สมุทรขึ้นมานำ แล้วท้าวเทศจันทร์สมุทรกะไปอยู่นำย่าจำสวนคือเก่า ส่วนนางผมหอมพอแต่ฮู้ว่าผัวตนหลบมาแล้วกะเลยออกมาอยู่นำ พระราซาฮู้เลยยกทัพมาซิงเอานางผมหอม แต่กะบ่สามารถเอานางไปได้ย้อนว่าแพ้ของวิเศษทั้ง 5 ของท้าวเทศจันทร์สมุทร พระราซาเบิดปัญญากะเลยยอมยกเมืองให้ครองเคิ่งหนึ่ง ท้าวเทศจันทร์สมุทรกะเลยอยู่กับนางผมหอมอยู่เย็นเป็นสุขสืบมา
ตัวละคร ท้าวเทศจันทร์สมุทร เป็นหนุ่มกำพร้าที่มีความกล้าหาญ คือกล้าที่จะอาสาลงไปดูว่ารูนั้นคืออะไร นอกจากนั้นยังมีความเข้มแข็งอดทน มีความสามารถ จนสามารถสู้รบจนชนะพระราชา
ต้นฉบับ พระครูสุเทพสารคุณ (พระพุทธิสารมุณี) ได้ปริวรรตจากอักษรธรรมเป็นอักษรไทย เสร็จเมื่อปี ๒๕๔๖ อยู่ที่หอพุทธศิลป์ วัดธาตุพระอาราหลวง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องความกล้าหาญและความเพียร
ถัดนั้น ท้าวยี่ต้าน ตามแต่คำมัก
กูก็อยากทรงนครหลวง นั่งปองเป็นเจ้า
ให้มีทั้งเวียงหลวงพร้อม แสนวาคุงเมฆ
ผาสารทตั้ง ทรงเท่าแปดหลัง
ให้มีทั้งเสนาพร้อม พลกือแสนโกฏิ์
มาแวดล้อม แฝงเฝ้าซู่ยาม
ให้มีทั้งเทวีพร้อม สาวสนมหกหมื่น
มานั่งล้อม แฝงเฝ้าซู่ยาม
กูจักเชยชมซ้อน นางงามหกหมื่น
คำทุกข์ไฮ้ บ่มีฮู้เมื่อคีง แท้แหล้ว
เนื้อเฮื่อง
กล่าวเถิงเมืองจำปา มีท้าวเกิดในตระกูลซาวไฮซาวนา เพิ่นซื่อว่าท้าวยี่ พ่อเพิ่นนั่นซื่อสุดโท เพิ่นมีอ้ายซื่อท้าวย่า ย่างเข่าเดือนหกยามฝนฮอดฤดูเฮ็ดนา พ่อเพิ่นกะพาลูกซายทั้งสองออกไปเฮ็ดนาคือทุกปี อยู่เทิงถียงนาน้อยเหลียวเบิงข้าวเขียวเต็มท่ง พ่อลูกเว่าจาว่าอากาศดีแบบนี้คึดอยากได้อิหยังหลายที่สุด ผู้พ่อแฮกเฮิ้มเว่า “พ่ออยากได้ข้าวเหนียวฮ้อนๆ ปลาแดกบอง มีบักเขือเป็นผักคุ้ย สิกินให้อิ่มหนำใจ” ท้าวย่าเว่าว่า “ลูกอยากได้ข้าวจี่ปั้นซ่ำคันแทนา ทาไข่ มีนน้ำอ้อยยัดใส้ สินอนกินให้สำราญใจ” ฮอดท้าวยี่บัดเว่าว่า “ลูกอยากได้เป็นราชาครองเมือง มีปราสาท ๘ หลัง อ้อมๆมีอำมาตย์เสนา ข้าทาสบริวาร ๖๐,๐๐๐ นาง” พอท้าวยี่เว่าจบลงท่อนั้น ผู้พ่อกะฮ่ายว่าเว่าเกินฐานะ บ่รู้จักเจียมโตเจ้าของพร้อมทั้งฟาดสั่งสอนไป ท้าวยี่แล่นไห้ไปหาแม่ พอแม่ฮู้เรื่องแม่กะฮ่ายอีกว่าเป็นคนสามหาวบ่เจียมเนื้อเจียมโตแถมยังฟาดซ้ำอีก ท้าวยี่บ่มีหม่องเพิ่งเลยแล่นไปหาลุงอยู่บ้าน ลุงกับป้าฮู้เรื่องเพิ่นกะโอ๋กะออยเอาแล้วฮับมาอยู่นำกัน พร้อมทั้งสู่ขวัญอวยพรให้ได้รับในสิ่งที่อยากได้ พร้อมทั้งให้ควายเผือกไปดูเลี้ยง ๑ โต
จักกล่าวเถิงพระยาล้าน้ำแห่งเมืองเป็งจาล พระมีไก่ขาวคู่บารมี ไก่โตนี้เป็นไก่วิเศษทุก ๓ ปีสิขันเที่ยหนึ่ง บันดาลให้ฝนแก้วมณี ๗ ประการตกลงมาทั่วเมือง จึงเฮ็ดให้เมืองเป็งจาลอุดมสมบูรณ์ ซาวเมืองบ่มีผู้ยากจน แต่มาบัดนี้พระเกิดประซวรกระทันหัน หมอหลวงเพิ่นรักษาโดยยาอิหยังกะบ่หาย โหรหลวงเลยทำนายว่าต้องได้ควายเผือกมาเป็นสัตว์คู่บารมี อาการประซวรจั่งจะเซาขาดได้ เมื่อได้ฮู้ว่ามีควายเผือกโตหนึ่งอยู่ในเมืองจำปา พระจึงสั่งให้อำมาตย์ไปซื้อควายเผือกโตนั้นมาเดี๋ยวนี้ พออำมาตย์กับพวกเดินทางไปฮอดเมืองจำปา กะฟ่าวไปเฮือนท้าวยี่เพื่อขอซื้อควายเผือก ท้าวยี่ได้ถามว่าสัตว์คู่บ้านคู่เมืองเป็งจาลคือสัตว์อิหยัง เมื่อท้าวยี่ฮู้ว่าเป็นไก่ขาว ก็ขอแลกควายเผือกกับไก่ขาว อามตย์กับพวกบ่สามารถตัดสินใจได้ เลยเชิญให้ท้าวยี่เดินทางไปเมืองเป็งจาล เข้าเฝ้าพระราชาและทูลขอโดยเจ้าของเอง ท้าวยี่กับลุงจึงได้ออกเดินทางไม่เมืองเป็งจาลพร้อมกับควายเผือก ยางโดนแรมเดือนจึงเข้าเขตปลายแดนเมืองเป็งจาล ได้หยุดเซาเหมื่อยอยู่เมืองปลายแดนนั้น หม่องเมืองปลายแดนมีเศรษฐีผู้หนึ่งผู้รักษาเมือง เศรษฐีผู้นั้นมีลูกสาวงามซื่อว่าบัวไขมาอายุ ๑๕ ปี ตกดึกยามค่ำในมื่อนั้น
หลังกินข้าวแลงท้าวยี่ก็ไปเที่ยวซอมเบิ่งผู้สาวเมืองเข็นฝ้าย(ปั่นฝ้าย) ท้าวยี่ดีดพิณเสียงม่วนไพเราะเฮ็ดให้ผู้สาวมักผู้สาวหลง มีการจ่ายผญาเกี้ยวโต้ตอบกับผู้สาวอย่างม่วนซื่นเบิดคืน ยามเช้ามีคำซ่าเรื่องผู้บ่าวต่างเมืองผู้มีเสน่ห์ รูปหล่อ เจ้าคารมของท้างยี่ ก็ได้ยินไปฮอดหูสาวบัวไข นางอยากพ้อจึงให้ท้าวยี่มาพ้ออยู่ปราสาท ท้าวยี่บ่ไปพ้อเพราะถือว่าเจ้าของเป็นคนจน สาวบัวไขเลยน้อยใจว่าท้าวยี่บ่ให้ความสนใจเลยเข้าไปหาผู้พ่อ เศรษฐีกะได้เตือนลูกสาวว่าเจ้าของเป็นหญิงบ่ควรนัดผู้ชายมาพ่อ ผิดฮีดคองประเพณี ควรรักนาลสงวนโต เรื่องคู่ครองเป็นเรื่องของบุญกรรมเก่าคราวหลัง ท้าวยี่เป็นผู้มีบุญวาสนาสูงเป็นคนที่พระราชาเชิญให้เข้าเฝ้า เป็นหยังคือไปเชิญแขกอันมีศักดิ์ใหญ่มาพ่อเจ้าของ
เจ้าของสมควรที่จะไปพ่อเขาจั่งถืกต้อง เพื่อเป็นการไถ่โทษจึงให้เตรียมเครื่องขอขมาไว้แล้ว เศรษฐีกะพาลูกสาวพร้อมขบวนบริวารซ้างไปอัญเซิญท้าวยี่ให้เป็นเจ้าเมือง แต่ท้าวยี่บ่รับเป็นเจ้าเมือง แต่ยอมรับสาวบัวไขเป็นเมีย เศรษฐีกะได้จัดพิธีดองให้ทั้งสองในสองมื่อถัดมา เวลาผ่านไป ๗ มื่อท้าวยี่ก็ขอลำลาเมียกับพ่อตา เดินทางเข้าเมืองเป็งจาลเพื่อเข้าเฝ้าเพระราชาตามประสงค์ ออกเดินทางไปบ่โดนกะฮอดเมืองเป็งจาล อำมาตย์กะให้เซาอยู่หม่องสนามชัยแล้วเข้าเฝ้ากราบทูลพระราชาให้ทราบฮู้ ซาวเมืองพากันแตกตื่นมาเบิ่งควายเผือก บัดเข้าเฝ้าพระราชา พระองค์ซื่นซมยินดีในควายเผือกโตนั้นหลาย ท้าวยี่จึงทูลขอแลกกับไก่ขาวพระองค์ พระราชาได้ให้สัญญาว่าอีก ๗ มื่อพระราชาเซาจากอาการประชวร เลายินดีสิแลกกับไก่ขาว เซ้ามา ซาวเมืองพากันประกอบพิธีสู่ขวัญพระราชาให้เซาจากอาการประชวน เวลาผ่านไป ๗ มื่อ พระราชากะเซาจากอาการประชวรอิหลี เดิกมื่อที่ ๗ – ๘ ควายเผือกกะสำแดงฤทธิ์โดยการถ่ายมูลออกมาเป็นแก้วมณี ๗ ประการ พระราชาเพิ่นพอพระทัยอย่างคัก กะเลยตกลงแลกควายเผือกกับได้ขาวให้ท้าวยี่ไป ท้าวยี่กับลุงกะได้ลาพระราชากลับบ้าน พอฮอดบ้านซาวบ้านกะบากันมาหุ่มเบิ่งไก่ขาว เสียงแตกแซวๆสาธุต่อบารมีของท้าวยี่กับความงามของไก่ขาว ยามเช้าท้าวยี่ได้ไปประกอบพิธรบูชาไก่แล้วตั้งจิตอธิฐานของให้ฝนแก้วมณี ๗ ประการตกลงทั่วเมือง ไก่ได้ขันขึ้น ๓ เทื่อ เฮ็ดให้ฝนแก้วมณีตกทั่วเมือง ชาวเมืองพากันเป็นเศรษฐีกันเบิดสุคน บ่มีคนยากคนจน จากนั้นท้าวยี่กะได้อำลาเศรษฐีและพาบัวไขกับบริวารส่วนหนึ่งไปสร้างเมืองใหม่ ออกเดินทางไปได้หลายมื่อกะไปพ้อหม่องดีที่มีแม่น้ำสายใหญ่ ป่ากว่างขวาง กะเลยหยุดประกอบพิธีอธิษฐานสร้างบ้านเมือง ไก่ขาวขันขึ้น ๓ เทื่อ พอมิดเสียงไก่กะเป็นเมืองขึ้นมาทันที
อ่านอวยมากล่าวเถิงเมืองต่างๆ เมื่อฮู้ถึงกิตติศัพท์คำซ่าของท้าวยี่ก็ยกทัพเพื่อชิงเอาเมือง ล้อมเมืองเอาไว้ ท้าวยี่จึงทำพิธีบูชาไก่อธิษฐานให้ฝนแก้วมณีตก และขอให้เจ้าเมืองต่างๆ ได้เป็นมิตรให้ความเคารพนับถือตน พระราชาทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์เห็นความมหัศจรรย์แบบนั้นก็ต่างชื่นชมในบารมีของท้าวยี่ ได้สวามิภักดิ์ต่อท้าวยี่ แม้แต่เมวดาก็พากันชื่นชมและยินดีนำ พระราชาเมืองต่างๆ ก็ขนสมบัตริกลับคืนเมืองของตนไป ต่อมาท้าวยี่กะได้ให้ลุงกลับไปรับป้าพ่อแม่ พี่น้องมาอยู่นำกัน แล้วปูนบำเหน็จให้ได้เป็นใหญ่เป็นโตกันถ้วนหน้า รวมไปทั่งพ่อตา แล้วให้เฮ็ดแนวกินที่แซบที่สุดให่พ่อกับอ้ายที่เพิ่ยเคยอยากกิน พระยาธรรมิก-ราช หรือท้าวยี่ บำเพ็ญทานบารมีสุมื่อบ่มีขาด รักษาศีล ๕ สุมื่อ รักษาศีลอุโบสถในวันพระ ต่อมาบ่โดนนางบัวไขกะได้คลอดลูกผู้หนึ่ง พออายุได้ ๑๖ปี ท้าวยี่กะได้มอบเมืองให้ผู้เป็นลูกช้ายปกครองสืบมา เมื่อเพิ่นสิ้นอายุไขได้ไปเกิดเทิงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตัวละคร พระยาธรรมิกราช ท้าวยี่ เป็นผู้มีความเพียรพยายาม สามารถเฮ็ดในสิ่ที่ตาปรารถนาไห้สำเร็จเสร็จได้ และเมื่อได้เป็นพระราชาแล้วก็ยังบำเพ็ญทานบารมี และบ่ละทิ้งศีล
ต้นฉบับ พระครูสุเทพสารคุณ ได้ปริวรรตจากอักษรธรรมเป็นอักษรไทยเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๖ เก็บไว้อยู่หอพุทธศิลป์ อยู่ที่หอพุทธศิลป์ วัดธาตุพระอาราหลวง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี คำสอนที่พ่อในวรรณกรรมเรื่องนี้คือ สอนในเรื่อง “เกิดเป็นคนควรเพียรพยายามอย่าได้หยุด กรรมมิแม่นสูตรสำเร็จ” กรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเพียรพยายาม
เมื่อนั้นพรานพาแก้วมะโนราลัดล่วงมาแล้วเข้าข่วงคุ้มสวนกว้างพระยอดเมือง ฝูงไพร่ฟ้าทั้งทีบถามเถิง อันนี้นางแนวใดฮูปสวยเหมือนแต้ม เมื่อนั้นศรีทนต์เยี้ยมมะโนราลืมเพศ สมสะอาดอ้างองค์อ้วนดั่งสิบิน มะโนราท้าวทงสะแดดิ้นดั่น เพราะเพื่อจิตสวาทน้องแลแล่วเล่ายาง
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงเมืองเป็งจาล มีกษัตริย์ชื่อ ท้าวอาทิตราช เพิ่นมีมเหสีซื่อนางจันทา ต่อมาพระมเหสีเพิ่นกะได้ตั้งครรภ์ พระโพธิสัตว์ได้ลงมาจุติในครรภ์มเหสี พอพระโอรสประสูติแล้วเพิ่นได้ทรงให้พระนามว่า สีทนต์ บาดเพิ่นประสูติออกมาเพิ่นกะมีอาวุธติดโตเพิ่นออกมาคือธนูมานำ แสดงให้เห็นว่าเพิ่นเป็นผู้มีบารมี
มื่อหนึ่งมีนายพรายผู้หนึ่งไปล่าสัตว์ในปาหิมพานต์ ไปซ่อยกิตตินาคราชให้พ้นจากการรังควานของยักษ์ มื่อหนึ่งนายพรานไปพ่อนางกินรี ชื่อมโนราห์พร้อมกับเอื้ยของนาง ๗ คน มาเล่นน้ำในสระริมเขาไกรลาส นายพรานจึงยืมบ่วงบาศจากพระยานาคไปคล้องนางมโนราห์ได้แล้วนำนางไปถวายแด่ท้าวสีทนต์ ท้าวสีทนต์ยกนางไว้ในตำแหน่งพระมเหสีของเพิ่น ต่อมากะมีโจรมารุกรานนอกเมืองท้าวสีทนต์จึงไปปราบโจร ท้าวอาทิตราชเพิ่นกะได้สุบินว่าไส้เพิ่นได้ไหลออกมาจากท้อง เพิ่นจึงให้หมอโหรได้เบิ่งมอ โหรเพิ่นทำนายว่าจะต้องเอาเนื้อนางมโนราห์มาเซ่นไหว้ผีบ้านผีเมือง นางมโนราห์จั่งออกกลตั๋วว่าขอปีกกับหางคืนแน่เด้อเพราะว่าสิรำให้เบิ่ง ในตอนที่เพิ่นกำลังรำอยู่เพิ่นกะได้บินหนีไปเขาไกรลาส ทางท้าวสีทนต์เพิ่นกะไปปราบโจรอยู่ ๓ เดือนจั่งสำเร็จ กลับมาบ่พ้อนางมโนราห์เพิ่นกะได้ออกนำหา ท้าวสีทนต์เพิ่นกะได้ไปนำหาด้วยความยากลำบาก ไปพ่อพระฤๅษีที่นางมโนราห์ฝากแหวนไว้ พระฤๅษีกะชี้ทางไปทางเขาไกรราชแล้วกะแนะนำ ในเรื่องการกินหมากไม้กะให้กินนำนก สิพ่อเส้นทางยากลำบากให้ปราบโดยการใช้บักนาวเสก ต่อมาพ่องูยักษ์สูงเจ็ดชั่วลำตาลให้ใช้ปืนยิง และขามแม่น้ำที่มีงูจงอาง งูเหลือม เป็นแม่น้ำที่มีพิษ พ้นจากตรงนั้นแล้วให้เกาะหลังนกอินทรีย์ไปจนกว่านกอินทรีย์สิพาบินไปป่าหิมพานต์ของนางมโนราห์ ในที่สุดท้าวสีทนต์เพิ่นกะได้พ้อนางมโนราห์สงดั่งใจเพิ่น
ตัวละคร ท้าวสีทนต์ เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีปัญญาฉลาดเฉลียว กล้าหาญ
นางมโนราห์ เป็นกินรีรูปโฉมงดงาม
ต้นฉบับ นิทานท้าวศรีทนต์ คำกลอนโยราณอีสาน แต่งรวบรวมโดย น้อย ผิวผัน พิมพ์ที่โรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
สีทนต์ มโนราห์ ปริวรรตโดยพระอริยนุวัตร เขมจารี ที่ศูนย์อนุรักษ์ วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย จ.มหาสารคาม เผยแพร่เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องท้าวสีทนต์กับนางมโนราห์ให้คติเรื่องความรัก รักแท้ของท้าวสีทนต์ที่มีต่อนางมโนราห์ การดูแลบุคคลอันเป็นที่รักให้ดีที่สุด ความรักนั้นจักยืนยาวและเป็นรักที่เป็นสุข
ครั้นรำพึงแล้ว ดาบสใจแกล้ว โถมน้ำลงไป เด็ดดอกบัวทอง
เรืองรองสุกใส คืนว่ายบัดใจ เถิงฝั่งคงคา
ดาบสพิศดู เห็นนารีอยู่ ในดอกบุสบา ดาบสชื่นชม
ภิรมย์หนักหนา จึ่งอุ้มนางมา ยังอาศรมพลัน
ค่อยรักษาไว้ นางสอนเจรจา ฉะฉอดทุกอัน ซู้ซู้ซี้ซี้
ระรี่ชมกัน ดาบสใจธรรม์ รักเพียงแสนทวี
จึ่งให้พระนาม ธิดาโฉมงาม ประทุมวดี (งามยิ่งพริ้งเพริศ)
เลิศล้ำนารี สี่ทวีปไม่มี เหมือนอรทรามวัย
เนื้อเฮื่อง
ท้าวโสวัต เป็นโอรสท้าวพรหมทัตกับนางจันทาเทวี เกิดมาพร้อมกับพระขรรค์แล้วกะม้ามณีกาบ พอแต่เจริญวัยได้รับสารเสี่ยงทายหาคู่ของนางประทุมมาล่องมานำน้ำ นางประทุมมาเป็นบุตรบุญธรรมพระฤๅษี ท้าวโสวัตได้นำสารนั้นไปหาพระฤๅษีอยู่อาศรม หวังสิได้พ่อกับนางประทุมมา ทั้งสองได้เสียเป็นเมียผัวกัน
มื้อหนึ่ง ทั้งสองออกไปหาผลหมากรากไม้ในป่า ระหว่างทางนั้นท้าวโสวัตถืกนายพรานลักฆ่า ทั้งได้แย่งนางประทุมมาไป ภายหลังนางประทุมมาลักฆ่านายพราน แล้วระเหเร่ร่อนไปเรื่อยๆ พระฤๅษีท่าทั้งสองคนบ่เห็นกลับมาจั่งได้ออกนำหา ไปพ่อท้าวโสวัตนอนตายอยู่จั่งได้ชุบชีวิตใหม่แล้วสอนวิชาอาคมให้ พอแต่เรียนสำเร็จแล้วท้าวโสวัตได้ออกติดตามหานางประทุมมา จนเลยล่วงหลงเข้าไปในเมืองยักษ์ ลักลอบได้เสียกับลูกสาวยักษ์ชื่อนางสุภะลักษณ์จนตั้งครรภ์ จากนั้นท้าวโสวัตได้หนีออกนำหานางประทุมมาอีก ส่วนนางสุภะลักษณ์นั้นกะได้ออกนำหาท้าวโสวัต แต่กลับได้พ่อกับนางประทุมมาก่อน (นางยักษ์บ่รู้ว่านางประทุมมาเป็นเมียของท้าวโสวัต) ตอนนั้นนางท้องแก่ใกล้สิออกแล้ว นางสุภะลักษณ์ได้ซ่อยเฮ็ดคลอดให้นางประทุมมา ได้ลูกชาย
ต่อมา นางประทุมมาถืกงูกัดตาย นางสุภะลักษณ์จั่งได้เลี้ยงลูกน้อย และร่อนเร่พเนจรเรื่อยไปจนฮอดเมืองกุมารี ทั้งเมืองนั้นมีแต่ผู้หญิง เจ้าเมืองเห็นนาง ได้รับนางไว้เป็นน้องสาว
ฝ่ายนางประทุมมานั้นพระอินทร์ได้ลงมาซ่อยชุบชีวิตขึ้นใหม่ แล้วนางกะได้บวชเป็นชี ท้าวโสวัตนั้นยังนำหานางประทุมมาอยู่ จนมาพ่อกับลูกสาวพญานาค จนได้นางนาคเป็นเมียอีก จั่งได้ออกเดินทางต่อไป
พอแต่ได้พ่อกับนางประทุมมาที่บวชเป็นชีแล้ว จั่งได้ขอให้นางสิกข์ แล้วทั้งสองก็ออกนำหาหานางสุภะลักษณ์ จนได้มาพ่อกับนางอยู่เมืองกุมารี ท้าวโสวัตได้นางกุมารีที่เป็นเจ้าเมืองเป็นเมียอีก แล้วท้าวโสวัตกะออกเดินทางไปนำเอานางนาคอยู่เมืองบาดาลให้มาอยู่ในเมืองมนุษย์นำกัน เขาทั้งหลายได้พากันกลับไปเมืองของท้าวโสวัตแล้วได้ครองราชย์อย่างมีความสุข
ตัวละคร ท้าวโสวัต ท้าวโสวัตเป็นผู้ที่มีความสามารถในการต่อสู้ โดยได้เล่าเรียนวิชากับพระฤๅษี
นางปทุมมา นางสุภลักษณ์ นางนาค และนางกุมารี ภรรยาทั้ง ๔ ของท้าวโสวัต เป็นภรรยาซื้อสัตย์ต่อสามี มีความเกื้อกูลให้กันและกัน จึงไม่มีปัญหาภายในครอบครัว
ต้นฉบับ นิทานท้าวศรีทนต์ คำกลอนโยราณอีสาน แต่งรวบรวมโดย น้อย ผิวผัน พิมพ์ที่โรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
สีทนต์ มโนราห์ ปริวรรตโดยพระอริยนุวัตร เขมจารี ที่ศูนย์อนุรักษ์ วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย จ.มหาสารคาม เผยแพร่เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนี้ให้คติเรื่องของความเชื่อเรื่องบุพเพสันนิวาส ระหว่างท้าวโสวัตกับนางปทุมมา ซึ่งเป็นเรื่องความเชื่อ และเรื่องที่กษัตริย์คือท้าวโสวัต ที่มีมเหสีหลายพระองค์ ก็เป็นเรื่องธรรมเนียมของกษัตริย์ในสมัยโบราณ และท้าวโสวัตก็สามารถดูแลมเหสีทั้ง ๔ องค์ และปกครองบ้านเมืองให้มีความสงบสุข
ท้าวก็แล่นล่วงห้องลงแล้วขี่ปีน ท้าวก็ปีนขึ้นก้น แล้วเลยซูดลงคอ
สองมือจับบายเคาส่งไปคือช้าง พอคราวแล้วปีนลงหัวทางหน้าผาก
ลงสู่พื้น ดินแล้วซ้ำขี่คอ จึ่งได้ชื่อเจ้าว่าท้าวอุ่นงัวทอง
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงฝ่ายเบื้องพระโพธิสัตว์เสวยซาติเป็นงัวใหญ่ เอิ้นว่า งัวคำ เป็นสัตว์เลี้ยงของนายพรานป่า ผู้เลี้ยงงัวคำนี้ ซื่อว่า ท้าวอุ่นหล้า ผู้เป็นลูกซายของนายพรานป่า บ่ดนนานต่อมา พรานป่าได้ผีปอบมาเป็นเมียคนที่สอง ต่อมานางผีปอบนี้จะเลยจับเอาแม่ของท้าวอุ่นหล้ากิน งัวคำเลยพาท้าวอุ่นหล้าหนีไปอยู่หม่องใหม่ ซ่วงการเดินทางได้ซ่อยงูซวงสู้กับพญานาค ได้ซัยซะนะมา ท้าวอุ่นหล้าเลยพานางงัวคำไปขออยู่นำย่าจำสวน ผู้เพิ่นเป็นคนเฝ้าสวน ในกษัตริย์ ท้าวอุ่นหล้าเลยเที่ยวไปพนันซนงัวแล้วจั่งได้ข้าวห่อมาอยู่มากิน หลานเจ้าเมืองกะเอางัวมาซน แต่กะแพ้ท้าวงัวคำ เฮ็ดให้เจ้าเมืองเคียดอย่างคัก เลยสั่งให้ท้าวงัวคำนี้ไปฮบกับปลิงใหญ่ที่เจ้าเมืองเลี้ยงไว้ ท้าวงัวคำฮบกับปลิงใหญ่จนตาย เลยไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่เทิงสวรรค์ซั้นฟ้า แล้วกะถ่าซ่อยท้าวอุ่นหล้าให้ฮอดพ้นจากการจองเวรกรรมของเจ้าเมืองอยู่เสมอ
มาฮอดมื้อหนึ่งเจ้าเมืองทำท่าให้ถางป่าดงกว้างให้แล้วภายในมื้อเดียว เทพบุตรงัวคำกะลงมาซ่อยแล้วทันเวลา ต่อมาเจ้าเมืองกะใหห้ท้าวอุ่นหล้าแปงธาตุก่อเจดีย์ สะพานเงิน สะพานคำกลางน้ำ เทพบุตรกะลงมาซ่อย พอแต่แล้เจ้าเมืองกะเลยไปยืนอยู่เทิงสะพาน สะพานนั้นเกิดหักลงเจ้าเมืองจมน้ำตาย ซาวเมืองเลยพากันเซิญท้าวอุ่นขึ้นตั่งนั่งครองเมืองต่อมา พอแต่ท้าวอุ่นได้เป็นพ่อพระยาเมืองแล้วกะบ่เคยลืมบุญคุณบิดาของตน เลยขอฮ้องให้เทวดาแลพญาครุฑไปฮับพระบิดามาอยู่นำ เลยอยู่ซุ่มกินเย็นสืบมา
ตัวละคร ท้าววัวทอง พระโพธิสัตว์เสวยชาติมาเกิดเป็นวัว มีความซื่อสัตย์และรักเจ้าของ
ท้าวอุ่นหล้า เจ้าของวัวทอง มีความเพียร กตัญญูรู้คุณบิดามารดา
ต้นฉบับ พระครูสุเทพสารคุณ และ พ่อใหญ่ยนต์ คำพิทุม ได้ปริวรรตไว้ ในโครงการ “ปริวรรตอักษรธรรม” (อักษรพื้นเมืองอีสาน) อยู่ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องท้าวอุ่นวัวทอง (หรือท้าวอุ่นงัวทอง) ให้คติเรื่อง ความกตัญญูรู้คุณ เมื่อมีความกตัญญูต่อบุพการีหรือผู้มีพระคุณ ซึ่งเป็นการสร้างบุญ จะทำสิ่งใดก็จะราบรื่น ประสบผลสำเร็จได้เสมอ
พี่ขอ สมมาแก้ว กษัตรีย์แตงอ่อน
โทษพี่ มีมากล้น ขอน้องโผดผาย แด่ท้อน
อันที่ กรรมเวรน้อง ทางหลังลำบาก
พี่บ่ ได้ไตรต้อง ดูแท้เรื่องใด
ท่อแต่ โทสากลุ้ม กวมใจถือโกรธ
จึ่งได้ จำนาถน้อย ไกลบ้านห่างเมือง
ขอให้ขวัญตาน้อง จาคำดอมพี่
แม้นว่าการยากหยุ้ง ตัวอ้ายสิแต่งตาม
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงยามพุ้น นครศรีเมืองใหญ่ เมืองบ่เคยทุกข์ยากไฮ้สมบูรณ์ข้าวน้ำซ่ามปลา ไพร้ฟ้าประซาซนอยู่ดีกินดี เจ้าเมืองซื่อว่าพระยาโกสี และมเหสีซื่อว่านางสุพัน ได้โอรสองค์หนึ่งซื่อว่า มหาวงศ์ เป็นผู้มีฮูปโฉมงามปานเทวดา สมซื่อสมนามที่สิเป็นทายาทของกษัตริย์ ท้าวมหาวงศ์ผู้นี้ เป็นผู้มักตีไก่ อยู่มามื้อหนึ่งเลยได้ขออนุญาตพระราซบิดาออกไปหาต่อไก่ป่า มีขุนนำก้นไปสี่คน คือ ขุนเครือ ขุนคาน ขุนเค่งแล้วกะขุนทุ่มภู่ ซ่วงการเดินทางไปนั้น ท้าวมหาวงศ์เลยไปพ้อ ลูกสาวของแข้โตหนึ่ง ผู้มีฮูปกายเป็นมนุษย์ หน้าตางดงามมีซื่อว่า นางแตงอ่อน ทั้งสองต่างเกิดความฮักใคร่กัน เลยได้แต่งงานอยู่กินกัน ท้าวมหาวงศ์กะเลยได้นางแตงอ่อนมาเป็นมเหสี ต่อมมานางแตงอ่อนได้พระโอรสองค์น้อยหน้าตาเป็นตาฮักตาซัง พอแต่ท้าวมหาวงศ์ไปคล้องซ้างอยู่ป่า นางแตงอ่อนเลยถือมเหสีองค์อื่นๆเกิดความอิจฉาริษยา สับเปลี่ยนโอรสของนางเลยไปเอาแข้มาวางไว้แทน เอาพระโอรสไปลอยน้ำถิ่ม ย้อนว่าบุญญาธิการของพระโอรส เฮ็ดให้เทพบุตรเทพธิดามาพ้อเลยเกิดความสงสาร กะเลยเอาพระโอรสไปเลี้ยงเสีย ให้ซื่อว่าท้าวสุริยวงศ์
พอแต่ท้าวมหาวงศ์เห็นว่าลูกจะของออกมาเป็นแข้ กะเคียดอย่างคักเลยไล่ นางแตงอ่อนออกจากเมือง นางแตงอ่อนเดินทางออกจากเมือง จนไปฮดเมืองนาคที่นางเคยอยู่อาศัย กะได้พบกับท้าวกุมภาผู้เป็นฮ้าย ปกครองเมืองนาคสืบต่อจากพระบิดา นางกะเลยเว้าเฮื่องทั้งเบิดสู่อ้ายฟัง ท้าวกุมภาพอแต่ฮู้เฮื่องเทิงเบิงกะเลยสละเมืองให้ ท้าวกอระกัน ผู้น้องซายปกครองต่อ พานางแตงอ่อนออกบวชเป็นฤาษีซีไพร หาฮ่ำเฮือยนสรรพวิซา มาแก้แค้นท้าวมหาวงศ์ ที่ไล่น้องสาวออกจากเมือง
ฝ่ายทางท้าวสุริยวงศ์ ได้ศึกษาศิลปศาสตร์สรรพวิซาต่างๆ แล้วกะเลยลงมายังพื้นพิภพแล้วกะเลยได้ฮู้ว่ามารดาจะของถืกนางยักษ์ลักพาโตไป เลยไปนำหามารดาอยู่เมืองยักษ์ เกิดการสู้ฮบกับยักษ์จนซนะแล้วกะได้พาพระมารดาหลบมา ซ่วงที่อยู่เมืองยักษ์นั้น ท้าวสุริยวงศ์ ได้พบพ้อกับสาวงาม 4 คนที่นางยักษ์จับโตมา ท้าวสุริยวงศ์เกิดความฮักอยากได้เป็นคู่ซ้อน เลยได้นางทั้งสี่เป็นมเหสี ได้แก่ นางปทุมมา นางอินทะวงศ์ นางหยาดคำ แล้วกะนางคำไหล แต่นั้นท้าวสุริยวงศ์กะเลยพาพระมารดากับมเหสีทั้งสี่ หลบบ้าบเมือง ครองเมืองนครศรีอยู่ซุ่มกินเย็นสืบต่อไป
ตัวละคร ท้าวมหาวงศ์ เป็นกษัตริย์หูเบา เชื่อฟังคำคนง่าย
นางแตงอ่อน เป็นหญิงที่มีจิตใจดี ไม่อิจฉาริษยาเหมือนมเหสีนางอื่น ๆ
ท้าวสุริยง ลูกของท้าวมหาวงศ์กับนางแตงอ่อน มีความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี
ต้นฉบับ ในที่นี้คัดมาจากหนังสือ รวมวรรณคดีอีสาน ของ ปรีชา พิณทอง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนางแตงอ่อนให้คติเรื่องความกตัญญู ถ้ามีความกตัญญู จะทากรสิ่งใดก็ประสบผลสำเร็จ และนอกจากนั้นตัวละครท้าวมหาวงศ์ ยังสะท้อนให้เห็นภาพของการเป็นกษัตริย์ที่ไม่เข้มแข็ง เชื่อคำคนง่าย เชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง ซึ่งตัวละครกษัตริย์แบบนี้พบบ่อยในวรรณกรรมพื้นบ้าน เพื่อเป็นภาพสะท้อนให้เห็นตัวอย่างที่ไม่ดี
แต่นั้น ช้างใหญ่ฮ้ายพระยาอาจฉัตทันต์ อธิษฐานตามบุญเสี่ยงบารมีสร้าง
สาธุเด้อ ไผผู้เป็นลูกแท้ให้ปีนป่ายปลายงา อย่าให้ตกลงมาปีนปลายไปได้
ไผผู้เป็นมารฮ้ายมาปลอมแปลงเกิด ให้ตกลงอย่าค้างทางใต้อ่อนลง
แต่นั้น ผมหอมขึ้นงวงงาของพ่อ นางไต่เต้าไปได้ง่ายดาย
ส่วนว่านางลุนน้อยตกลงเลยพลาด สามเทื่อแท้นางน้อยพลาดลง
เนื้อเฮื่อง
ว่าไปฮอดธิดาเจ้าเมืองเมืองหนึ่ง ซื่อนางสีดา มื่อหนึ่ง นางสีดา เข้าไปเลาะเล่นในดงกับเหล่าเสนาอำมาตย์ นางหิวน้ำแฮงแต่น้ำที่เกียมไว้เหมิด ซามย่างหาน้ำอยู่ บังเอิญงวกไปพ้อน้ำขังอยู่ฮอยช้างแล้วกะฮอยกระทิง นางสีดาเลยก้มลงดูดกินน้ำนั้น ควมหิวน้ำกะหายไป
คันนางสีดาและเหล่าเสนาอำมาตย์เมือมาฮอดเมือง ผ่านมาจั๊กหน่อยนางสีดากะท้อง บ่ฮู้ว่าไผเป็นพ่อเด็กในท้อง พระราซาและมเหสีกะถามหาควมจริง นางกะเว้าสู่ฟังนำแนวที่นางได้พ้อ แล้วคึดว่าลูกน้อยคงสิเป็นลูกของพญาช้าง พญากระทิงหลือบ่ พระบิดาและพระมารดากะบ่ได้ถามหยังอีก ขอให้ได้หลานกะพอพระทัยแล้ว จนว่าฮอด ๙ เดือน นางสีดากะประสูติธิดาแฝด คนเอื้อยให้ซื่อว่า นางผมหอม ย้อนว่าผมของนางมีกลิ่นหอมแต่เกิด คนน้องหล่าให้ซื่อว่า นางลุน ย้อนว่าเป็นน้อง เกิดเทื่อลุน
นางผมหอม เป็นคนนิสัยดี โอบอ้อมอารี มักซ่อยเหลือผู้อื่น บ่คือนางลุน ย่านผู้อื่นได้หลื่นแฮง อิดสาบังเบียด ใจฮ้าย มักขู่เข็นผู้อื่น เทิงมักขู่เข็น(ขู่เข็ญ)แล้วกะเฮ็ดตินางผมหอมอยู่บ่เซา นางผมหอมกับนางลุน ค่อยใหญ่ขึ้นนำอายุขัย คันยังเป็นเด็กน้อน ไปเล่นนำหมู่ กะสิถืกป้อยว่า เป็นลูกบ่มีพ่อ คันใหญ่เป็นสาว กะยังถืกป้อยอยู่ จนทนบ่ไหว ทั้งสองเลยตัดสินใจไปถามควมจริงกับพระมารดา นางสีดากะเว้าความจริงสู่ฟัง ว่าได้ไปกินน้ำในฮอยซ้าง ฮอยกระทิงในกลางป่า เมือมากะท้อง พ่อซุมเจ้ากะคือ พญาช้าง กับพญากระทิง แต่กะบ่ฮู้ว่าไผเป็นลูกซ้าง ไผเป็นลูกกระทิง
นางผมหอมกับนางลุน กะขอมารดาออกนำหาบิดาในดง เทิงสองนางสาละวอน ส่อดุ๊ ๆ เข้า มารดากะเลยให้ไป เทิงสองกะออกท่องเข้าดงนำทางที่มารดาว่าไว้ ท่องมาหลายมื่อ ในที่สุดทั้งสองกะพ้อกับ พญาซ้างใหญ่โตหนึ่ง พญาซ้างเห็นทั้งสองเลยคึดว่าเป็นซุมคนมาฮานเลยว่าสิฆ่าถิ่ม นางผมหอมผู้เป็นเอื้อยกะฮ้องไฮ่ฮ้องขอซีวิต พญาซ้างเกิดควมอยากฮู้ว่า จั่งใด๋สองสาวอันนี้จั่งเข้ามาในดงผิดแนวแม่ญิงคัก นางผมหอมกะเว้าสู่ฟังว่า นางเป็นลูกแม่สีดา กับพญาซ้างและพญากระทิง แล้วนางลุนกะเว้าตัดส่อหล่อขึ้นว่า เจ้าของเป็นลูกของพญาซ้าง นางผมหอมเป็นลูกของพญากระทิง คันสิฆ่าถิ่ม กะฆ่านางผมหอมเถาะ นางผมหอมเว้าคืนว่า ตอนนี้ยังบ่ฮู้ว่าไผเป็นลูกซ้าง ไผเป็นลูกกระทิง เฮาสองอยากพ้อพ่อเลยอุตสาหะเข้ามาท่องในดง ก่อนสิฆ่านาง กะขอให้นางได้พิสูจน์เจ้าของก่อน คันนางบ่แม่นลูกซ้างอีหลีสิฆ่ากะยอม พญาซ้างกะว่าขึ้นว่า ยอมให้พิสูจน์กะได้ คันไผปีนงวงขึ้นขี่คอได้ คนนั้นนั่นหละคือลูกเฮา ว่าแล้วพญาช้างกะตั้งจิตอธิษฐานนำคำว่าแล้วยืนสื่อ ๆ นางลุน หมั่นใจว่าเจ้าของเป็นลูกพญาซ้าง ฟ่าวขึ้นงวง หมายสิขึ้นหลังซ้างให้ได้ แต่ย้อนว่านางเป็นลูกกระทิง เฮ็ดจั่งใด๋ กะปีนขึ้นบ่ได้ มีแต่หมื่นตกลงมาคือเก่า พญาซ้างเลยบอกให้เซาก่อน ฟากนางผมหอม พัดว่าปีนขึ้น กะปีนขึ้นได้บ่ลำบาก แล้วนั่งอยู่เทิงคอช้างได้สำเร็จ ทางนางลุนเห็นว่านางผมหอมปีนขึ้นได้ง่าย กะอยากลองเบิ่งอีกเทื่อ พญาซ้างห้ามกะบ่ฟัง นางลุนกะยังปีนขึ้นบ่ได้
ในที่สุดพญาซ้างกะเลยใซ้ตีนกะทืบนางลุนตาย และเอานางผมหอมผู้เป็นลูกไปอยู่นำ ให้บริวารเอาหินมาสร้างผาสาทหินให้เป็นเฮือนอยู่นางผมหอม เอิ้นว่าผาสาทนางผมหอม นางผมหอมคันดีใจที่ได้พ้อพ่อเจ้าของ แต่กะเหลือโตนนางลุนผู้น้องสาว กะไฮ่ฮ่ำฮอนมาตลอดทาง แต่กะบ่กล้าว่าหยังพญาซ้างผู้บิดา ซ้างกะปัวนิบัตินางผมหอมเป็นอย่างดี ค่อมว่าฮักในธิดา ซ้างกะได้เลี้ยงนางผมหอมอย่างดี จนนางใหญ่เป็นสาว อายุได้ ๑๖ ปี นางเป็นมนุษย์อยู่ผู้เดียวกะฮู้เสิกเดียวดายหลาย ทั้งเจ้าของกะใหญ่แล้ว อยากมีสวามี เลยเขียนสารใส่อูก (หรือผอบ) พร้อมกับผมหอม ลองทวยหาคู่เบิ่ง
ว่าไปฮอดขุนไทย กษัตริย์ฮูปงามกำลังสรงน้ำอยู่กับเหล่าเสนาอำมาตย์ กะงวกไปเห็นอูกลอยน้ำมา บัดพอเปิดออกกะเจอสารแล้วกะเกิดหลงใหลในกลิ่นผมหอมห่วยๆออกมาแต่อูก ถืกใจพึงใจหลายเลยออกนำหาจนพ้อ แล้วกะหลอยได้กัน จนได้บุตรธิดา ๒ คน กะพากันหนีพ่อพญาซ้างไปอยู่เมืองมนุษย์ ซ้างนำหาพ้อแล้วกะล่ำลาสั่งควมนางผมหอม แล้วกะขาดใจตายค่อมว่าฮักลูก นางผมหอม ขุนไท และบุตรธิดา กะเมือเมือง ใซ้เฮือที่เนรมิตจากงาซ้าง ละหว่างทาง นางพรายน้ำกะแปลงกายเป็นดอกบัว ลูกอยากได้กะให้นางผมหอมปลิดให้ เลยถืกนางผีพรายยู้ให้ตกน้ำแล้วจ่มมนต์สะกดขุนไทย แปลงกายเป็นนางผมหอม แล้วเสกนางผมหอมให้เป็นซะนี นางซะนีผมหอมกะว่ายน้ำขึ้นฝั่งแล้วไปอยู่ในป่า ลูกนางผมหอมฮู้ว่าเป็นโตปลอมของเทียม เลยได้ออกท่องดงนำหาแม่จนพ้อแล้วได้ฮู้ว่า ต้องฆ่านางพรายแล้วเอาเลือดมาฮดหัวนางซะนีจั่งสิพ้นมนต์สะกด ลูกๆ กะเลยโฮมกันกับทหารคนสนิทวางแปนฆ่านางพราย พัดว่าตายแล้วกะกลายร่างเป็นนางพรายคือเก่า นางผมหอมและขุนไท กะได้ครองฮักกันอย่างมีความสุข
ตัวละคร นางผมหอม เป็นคนนิสัยดี โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ
นางลุนซึ่งเป็นคนขี้อิจฉา ใจร้าย ชอบรังแกคนอื่น
ต้นฉบับ นิทานนางผมหอม : คำกลอนโบราณภาคอีสาน เรียบเรียงโดย เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) น.ธ. เอก พิมพ์และจำหน่ายที่โรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
วรรณกรรมอีสานเรื่องนางผมหอม เรียบเรียงโดย ชมรมวรรณกรรมอีสาน พิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่นางสมบูรณ์ ดีวาจิน ได้รับพระราชทานปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนางผมหอมให้คติเรื่องกรรมเก่า เรื่องบุพเพสันนิวาส การที่นางสีดาได้ดื่มน้ำที่อยู่ในรอยเท้าช้างและรอยเท้ากระทิงนั้นเป็นกรรมเก่าของนาง
กันแสงพลางทูลองค์พระทรงศักดิ์ โรคน้องเหลือจักรักษา
ด้วยว่าเคยเป็นเช่นนี้มา อยู่พาราเคยแปรแก้คลาย
ได้กินลูกตาคนมีท้อง ทั้งสิบสองคนหมดกำหนดหาย
นี่จากบ้านเมืองมาเอกากาย ไหนจะได้สมหมายคงวายปราณ
เนื้อเฮื่อง
นางสิบสองเป็นลูกเศรษฐี ซึ่งมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับชาวบ้านในตำบลนั้นเป็นอย่างยิ่งแต่เดิมเศรษฐีและเมียยังบ่มีลูก จึงได้อธิษฐานขอลูกจากเทวดา เทวดาจึงให้นางสิบสองมาเกิดเป็นลูกเศรษฐี
เมื่อเศรษฐีมีลูก ๑๒ คน ก็เกิดยากจนถึงขนาดบ่มีอันจะกิน ฐานะที่เคยร่ำรวยกะตกต่ำลงอย่างคัก จนในที่สุดกะออกกลอุบายตั๋วเอาลูกไปปล่อยไว้ในป่า ให้นางทั้งสิบสองคนผจญชีวิตอยู่ในป่า นางสิบสองซึ่งมีนางเภาเป็นคนสุดท้อง นางเภาเพิ่นเป็นคนที่มีหน้าสวยงาม เป็นคนใจดีมีเมตตาผิดกับเอื้อยๆของเพิ่น ทุกคนจั่งใด้รอนแรมอยู่ในป่า แล้วหลงทางเขาไปในเมืองของนางยักษ์ชื่อ สันทะมาลา
กล่าวเถิงนางสันทะมาลาเพิ่นบ่เคยมีลูกมาก่อนเลย กะได้เห็นนางสิบสองคนเข้าก็มีใจเมตตาอยากเลี้ยงไว้จนกระทั่งนางทั้งสิบสองเติบใหญ่เป็นสาว และได้ฮู้ความลับว่านางสันทะมาละเพิ่นเป็นยักษ์ย้อนไปพ่อโครงกระดูกอยู่ในอุโมงค์ใหญ่ นางทั้งสิบสองมีความย่านกลัวจึงได้พยายามหลบหนีออกมาจากอุโมงค์รอดพ้นจากเมืองของนางสันทะมาละ
ในตอนนั้นเป็นเวลาเดียวกันกับที่เจ้าชายรถสิทธิ์ได้เสด็จออกประพาสป่า และได้มาพบกับนางทั้งสิบสองคน พระองค์ก็ทรงพึงพอใจในความงามของนางทั้งสิบสองจึงได้พานางทั้งสิบสองไปเลี้ยงเพื่อนเป็นพระมเหสี เฮ็ดความโกรธแค้นให้นางสันทะมาลาอย่างหลาย ต่อมานางสันทะมาลาได้ออกอุบายที่จะแกล้งนางทั้งสิบสองคน จึงได้แปลงกายเป็นสาวผู้มีคิงงามหยาดฟ้าเข้ามาพ่อ
ท้าวรถสิทธิ์ในเมือง เมื่อท้าวรถสิทธิ์ได้พ่อนางสันทะมาลากลายเป็นสาวงามแบบนั้น ก็เกิดความลุ่มหลงในโตนางสันทะมาลาถึงกับลืมนางทั้งสิบสองคน และได้สั่งให้จับไปขังใว้ในอุโมงค์เมื่อนางทั้งสิบสองคนพยายามบอกว่านางเป็นยักษ์แปลงร่างมาเพิ่นบ่แม่นสาวงามอย่างที่ท้าวรถสิทธิ์เข้าใจแต่อย่างใด นางสันทะมาลาเคียดแค้นนางทั้งสิบสองอย่างหายนางจึงแกล้งล้มป่วยแล้วบอกกับท้าวรถสิทธิ์ว่า จะต้องได้ลูกตาของทั้งสิบสองคนมาเป็นยาปัวรักษาจั่งจะหาย ท้าวรถสิทธิ์ที่กำลังลุ่มหลงในความงามของนางสันทะมาลาเพิ่นกะเชื่อแล้วสั่งให้ควักลูกตาของนางทั้งสิบสองคนเพื่อที่สิเอามาเฮ็ดเป็นโตยาโดยยกเว้นนางเภา นางเภาซึ่งเป็นมเหสีองค์สุดท้ายว่าให้ควักเพียงข้างเดียวเพื่อที่นางจะได้สามารถเห็นโลกนี้ได้จากตาอีกข้างหนึ่ง ต่อมานางเภาเพิ่นกะได้คลอดลูกอยู่ในอุโมงค์ชื่อว่า รถเสน รถเสนเป็นเด็กน้อยที่ฮู้กตัญญูต่อแม่กับป้า ได้แอบหลบหนีออกมาจากอุโมงค์มาหาข้าวกับน้ำไปให้แม่กับป้ากิน
จนมื่อหนึ่งรถเสนได้ไปชนะพนันไก่ตีในหมู่บ้าน และขอข้าวทั้งสิบสองเพื่อที่จะเอาไปให้แม่กับป้าที่อยู่ในอุโมงค์ ซึ่งเป็นที่สงสัยให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างหลาย แต่กะบ่มีไผ๋กล้าเว่าออกมาได้แต่ถ่าเบิ่งว่ารถเสนสิเฮ็ดจั่งใด๋ต่อไป
กล่าวเถิงนางสันทะมาลาทิ่มบ้านทิ่มเมืองเป็นเวลาโดนกะอดที่จะคิดฮอดบ้านเมืองบ่ได้ จึงได้มีราชสาส์น ฮอดนางเมรีที่เป็นลูกของนางที่เลี้ยงมาแต่น้อยคือกับกับนางสิบสอง บอกว่าตอนนี้นางมีความสุขสำบายดี บ่ต้องเป็นห่วง และคิดหาอุบายตลอดว่าสิกลับบ้านเมืองได้จั่งใด๋
ต่อมาท้าวรถสิทธิ์เริ่มสงสัยจากชาวบ้านและอำมาตย์ที่ออกไปนอกหมู่บ้านว่ามีเด็กน้อยหน้าตาดีลักษณะท่าทางแปลกหลายกว่าเด็กน้อยทั่วๆไป กะเริ่มสงสัยและสั่งอำมาตย์ให้พาเด็กน้อยผู้นี้ไปเข้าเฝ้า ขณะนั้นรถเสนก็เริ่มใหญ่เป็นบ่าวแล้วกะเข้าเฝ้าและได้พ่อพระบิดา แล้วได้เล่าความจริงให้ฟังทั้งเบิดว่า ตอนนี้แม่กับป้าตาบอดอยู่ในอุโมงค์ ซึ่งท้าววรถสิทธิ์ยังลุ่มหลงในโตนางสันทะมาลาอยู่กะบ่ได้คิดที่จะซ่อยเหลือหรือว่าเอาโตเอาโตนางทั้งสิบสองออกมาแต่อย่างใด รถเสนจึงคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าของที่จะต้องตอบแทนบุญคุณของแม่กับป้าในเทื่อนี้ให้ได้ ซึ่งได้เฮ็ดความโมโหให้กับนางสันทะมาลาเป็นอย่างหลายเพราะว่าตอนนี้รถเสนเข้ามาเป็นศัตรูอีกผู้หนึ่งแล้ว จึงได้ออกอุบายให้รถเสนถือราชสาส์นของนางไปให้นางเมรี ในสาส์นนั้นเขียนว่าฮอดยามมื่อเวนกะฆ่ายามมื่อเวน ฮอดกลางคืนกะฆ่าตอนกลางคืน แล้วให้ท้าวรถเสนถือไปให้นางเมรีทันที ในระหว่างที่เดินทางไปนั่น รถเสนมีความเมื่อยอ่อนอย่างหลายจึงได้นอนหลับใต้ต้นไม้แต่ใกล้ๆตรงนั้นมีพระฤๅษีองค์องค์หนึ่งอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นพระฤๅษีที่หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรทั้งเบิด กะฮู้ว่ารถเสนต้องไปตายแท้ๆ จึงจัดการแปลงข้อความในสาส์นให้เสียใหม่ คือถ้าไปฮอดยามมื่อเวนให้แต่งงานยามมื่อเวน ถ้าฮอดตอนกลางคืนกะให้แต่งตอนกลางคืน บาดรถเสนตื่นขึ้นกะถือราชสาส์นไปหานางเมรี นางเมรีเมื่ออ่านจบแล้วก็ฮู้สึกสงสัยว่าเป็นหยังนางสันทะมาลาผู้เป็นแม่คือได้ส่งคู่ครองมาให้ รถเสนก็หน้าตาดีเป็นบ่าวฮูปงามพอที่จะเป็นสวามีปกครองเมืองได้ จึงเต็มใจฮับรถเสนให้อยู่ในเมืองตั้งแต่นั้นมา
เมื่อรถเสนได้มาอยู่กินกับนางเมรี นางเมรีกับมีความรักใคร่หึงหวงในโตรถเสนเป็นอย่างคัก ถึงกับสั่งห้ามบ่ให้ออกไปใสมาใสเพราะย่านไม่ฮู้ความลับของนางสันทะมาลาผู้เป็นแม่ที่เพิ่นเลี้ยงเจ้าของมา มื่อหนึ่งรถเสนได้ออกอุบายให้นางเมรีพาเที่ยวชมราชวังให้ทั่ว เพราะอยากสิฮู้ที่เก็บลูกตาของนางทั้งสิบสองคน เมื่อรถเสนถามนางเมรีเพิ่นบ่ฮู้ความจริงว่าเป็นมาจั่งใด๋เพิ่นกะเว่าให้สวามีเพิ่นฟังจนเบิด รถเสนกะพยายามออกอุบายหาทางเอาลูกตากลับคืนไปใส่ให้แม่กับป้าให้ได้ จนกระทั่ง
มื่อหนึ่งรถเสนเพิ่นกะได้โอกาสมอมเหล้านางเมรีจนบ่ได้สติ แล้วเจ้าของกะลอบออกจากราชวังและลักเอาดวงตาของนางทั้งสิบสองแล้วหนีนางเมรีออกมา บาดตื่นขึ้นบ่พ่อรถเสนนางกะฮู้สึกเสียใจว่ารถเสนต้องหนีนางไปแท้ ๆ จึงไปนำออกมาและในตอนที่เกือบจะทันกัน รถเสนกะฮักและสงสารนางแต่ความฮักของแม่กับป้าหลายกว่า จึงได้ใช้ห่อยาวิเศษที่ฤๅษีให้ติดโตมาขว้างลงไป กลายเป็นน้ำกรดกั้นนางเมรีไว้บ่ได้นำรถเสนมาทัน นางเมรีจึงได้อธิษฐานว่าชาตินี้นางนำรถเสนมาด้วยความฮักเมื่อฮอดชาติหน้าขอให้รถเสนเป็นฝ่ายติดตามนางไปบ้าง แล้วนางกะสิ้นใจตาย รถเสนจึ่งเอาตามารักษาแม่กับป้าจนเซาดี และขึ้นไปกราบทูบให้ท้าวรถสิทธิ์ผู้เป็นพระบิดาฮู้เรื่องราวทั้งเบิด นางสันทะมาลาเห็นว่าเจ้าของมีความผิดกะได้ขอชีวิตไว้แล้วอ้างว่าเจ้าของมีลูกอยู่ในท้องกับท้าวรถสิทธิ์ ขอให้เห็นใจแล้วกะเหลือโตน นางเภาจึงมีใจเมตตาได้ขอร้องให้ปล่อยานงไปเสียอย่าได้ฆ่านางเถาะ ท้าวรถสิทธิ์เชื่อเพราะว่าท้าวรถเสนและนางทั้งสิบสองได้ซ่อยกันอ้อนวอน จึงได้ปล่อยนางกลับไปตั้งแต่นั้นมาพ่อแม่ลูกทั้งสิบสองกะได้มีชีวิตอยู่ต่อมาด้วยความสงบสุข
ตัวละคร นางเภา น้องคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง ๑๒ คน มีจิตใจโอบอ้อมอารี
รถเสน เป็นคนที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี
ต้นฉบับ เล่าเรื่องนางสิบสอง เรียบเรียงโดย รศ. วิเชียร เกษประทุม พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องนางสิบสอง หรือรถเสนชาดก ให้คติเรื่องความกตัญญูกตเวทีตา ต่อผู้มีพระคุณต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ ความดีจักส่งผลให้ชีวิตมีความสงบสุข
เจ้าก็ใส่ชื่อน้อย นามหน่อสามชาย
บิดาทั้งมารดา ชื่อรือนามท้าว
ชื่อว่าบัวฮมท้าว กษัตราตนพี่
น้องแจ่มเจ้า บัวเฮียวท้าวเกิดเทียม
โฉมเสลาท้าว บัวฮองโพธิราช
เจ้าก็เกิดฮ่วมท้อง เทวีแก้วแม่เดียว
อันว่าตาเคี่ยมคิ้ว งามเกิ่งเทพา
โฉมบางาม เกิ่งพรมภายฟ้า
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงเมืองพาราณสี พระยาอริยวงศสขึ้นครองราชย์ มีมเหสีนามว่าปทุมมา มีพระโอรสสามพระองค์ชื่อว่า ท้าวบัวฮม ท้าวบัวฮอง และท้าวบัวเฮียว ทั้งสามเป็นผู้มีคิงหล่อเหลางดงามหลาย และพระราชาปกครองบ้านเมื่องอย่างมีความสุขสมบูรณ์ อยู่มามื่อหนึ่งอำมาตย์เฒ่านามว่ากะระกะเพิ่นเห็นว่าพระกุมารทั้งสามเอาแต่เล่นม่วนกันไปมื่อๆ เพิ่นย่านว่าบ้านเมื่องสิล่มจม ย่านบ่มีผู้สืบบัลลังก์ที่เข้มแข็ง เพิ่นกะเลยไปกราบทูลพระราชาให้ทรงสั่งสอนพระกุมาร ให้พระกุมารไปเฮียนศิลปวิทยา ประกุมารทั้งสามเพิ่นกะฮับปาก แต่พออยู่กันสามคนเพิ่นกะได้ปรึกษากันว่าบ่ควรไปเฮียนศึกษาศิลปวิทยา บาดเพิ่นตกลงกันแล้วเพิ่นกะพากันเล่นม่วนคือเก่าเพิ่น อำมาตย์เฒ่ากะออกไปเห็นอีกแฮ่งเคียดหนักกว่าเก่าจึงฟ่าวเข้าไปถวายพระราชา พระราชาเพิ่นกะโกรธคัก เพิ่นกะได้สั่งให้นำพระกุมารสามพระองค์ไปแห่ตีประจารอ้อมเมือง พระราชกุมารเพิ่นกะทรงเคียดน้อยใจ เลยจำใจลาพระราชบิดาและพระราชมารดาไปเสาะแสวงหาหม่องเฮียนศิลปวิทยา ภายหลังกุมารเสด็จออกจากเมืองได้ ๗ ปี เมืองพาราณาสีกะเกิดทุพภิกขภัย แห้งแล้ง ชาวเมืองบ่มีแนวกินสิกิน มีการลักเล็กขโมยน้อยทุกหม่องเฮ็ดให้เกิดความวุ่ยวายเกิดขึ้นไปทั่วเมือง บ่โดนชาวบ้านและสัตว์กะตายกันทั่วเมืองพระราชากะได้เสด็จหนีออกจากเมืองไปถึงกาลอวสานเมืองพาราณาสี
ณ บาดนั้น เหตุที่เป็นจั่งซี่ เพิ่นว่ากรรมเก่าที่พระราชาเพิ่นรับสั่งให้ตีพระราชกุมารทั้งสามโดยบ่มีความผิด ส่วนพระกุมารทั้งสาม มีกรรมเก่าคือ ในชาติก่อนเคยซื้อผ้ากับพ่อค้าผู้หนึ่งมาแล้วจ่ายเงินไปบ่ครบตามราคาที่เขาบอกสิมาจ่ายอีก ๗ มื่อให้หลัง กะบ่มาจ่าย เพราะวิบากกรรมอันนี้เลยเฮ็ดให้ถือทำโทษในครั้งนี้
จักกล่าวเถิงพระราชกุมารทั้งสามเมื่อเดินทางเข้าในป่าใหญ่ ทั้งสามกะเซาค้างแรมในป่าใหญ่เวลาผ่านไปหลายมื่อ จนเข้าไปในเขตเมืองยักษ์ที่มีนางยักษ์หม้ายอยู่โตผู้เดียว เนื่องจากสามีนางตายหนีจากได้หลายปีแล้ว พอนางยักษ์เป็นกุมารทั้งสามกะเกิดความฮักคือลูกชาย จึงได้ฮับทั้งสามคนมาเป็นลูกบุญธรรม นางยักษ์ย่านกุมารทั้งสามสิฮู้ว่าเจ้าของเป็นยักษ์กะบ่กล้าออกไปหาสัตว์กิน แล้วห้ามทั้งสามออกไปเที่ยวเล่นนอกปราสาทเพราะว่าย่านเห็นกองกระดูกสัตว์ต่างๆ นางจึงต้องอดอาหารมา ๗ เดือน จนนางซูบผอมแห้งเหี่ยวไปเบิด ขืนอดต่อไปนางคือสิตายแท้ๆ มื่อหนึ่งจึงอำลาพระกุมารทั้งสามออกไปเที่ยวป่าคนเดียว แต่ก่อนจะออกจากปราสาทกะบ่ลืมกำชับบ่ให้ทั้งสามออกไปเที่ยวเล่นโดยรอบปราสาทคือเก่า และนั่นกะแฮ่งสร้างความสงสัยให้แก่ทั้งสามที่มีมาตั้งแต่
มื่อแรกที่เข้ามาอยู่ในปราสาทแล้ว เพิ่นกะเลยพากันย่างเบิ่ง เมื่อเพิ่นเห็นกองกระดูกสัตว์ต่างๆ เป็นกองพะเนินกันอยู่กะฮู้ว่าแม่บุญธรรมของเจ้าของเพิ่นเป็นยักษ์ เพิ่นกะเลยพากันหนีออกมา ฝ่ายนางยักษ์กลับมาฮอดปราสาทเพิ่นกะบ่พ่อลูกเจ้าของ กะฮู้ว่าทั้งสามคนฮู้แล้วว่าเจ้าของเป็นยักษ์แล้วกะหนีไป ด้วยความฮักที่มีให้เด็กน้อยทั้งสามเพิ่นกะได้ออกนำหา นำไปทั้งกุมารทั้งสามอยู่กลางป่า นางกะอ้อนวอนให้กลับไปอยู่นำกันแต่ทั้งสามกะบ่กลับสุดท้ายนางกะได้จำใจปล่อยให้ทั้งสามเดินทางต่อไป นางได้ให้ทั้งสามเรียนมนต์วิเศษละมอบดาบวิเศษให้ เมื่อเรียนมนต์วิเศษเสร็จแล้วกะชี้บอกเมืองใหญ่ที่อยู่ข้างหน้า เพิ่นย่านสิเป็นอันตรายและเดินทางช้า เพิ่นกะได้เสกกุมารให้กลายเป็นนกแลคำเอาเส้นไหมทองคำผูกคอทั้งสามไว้ ถ้าไผ๋แก้เส้นไหมนี้ได้กะสิกลายเป็นคนคือเก่า แล้วทั้งสองฝ่ายกะแยกจากกันเทิ่งน้ำตา เวลาผ่านไป ๗ มื่อทั้งสามกะบินมาอยู่สวนหลวงของเมืองผาทอง ณ สวนหลวงหม่องนั้นมีชายเฒ่าเฝ้าสวนอยู่คนหนึ่ง ทุกมื่อเพิ่นกะสินำผลไม้ขึ้นไปถวายพระราชาอยู่เป็นประจำ มื่อหนึ่งชายเฒ่าเพิ่นกะเหลียวไปเห็นนกแลคำสามโต จึงนำความไปกราบทูลแด่เหนือหัวในมื่ออื่นเช้า
ณ เมืองผาทองแห่งนี้ พระราชาผู้ครองเมืองมีพระธิดาที่สวยงาม ชื่อว่า สุชาดา บาดนั้นพระองค์ได้รับข่าวดีจากชายเฒ่าเฝ้าสวนและได้รับสั่งให้จับนกทั้งสามโตมาถวายไห้ได้ นายพรายไปดักไว้เทิงต้นไทรที่นกทั้งสามมักมาเกาะจับกินหมากไทรสุก และจบนกโตอ้ายคือท้าวบัวทมได้ในเช้าต่อมา จนนำขึ้นไปถวายพระราชา พระราชาได้มอบรางวัลให้อย่างงาม ชาวบ้านพอฮู้ว่ามีนกแปลก
ประหลาดที่มีสีทองทั้งโตก็พากันแห่มาเบิ่งความงาม พระราชามอบให้พระธิดาสุชาดาเป็นผู้เลี้ยงนกคำแลโตนั้น ฝ่ายนางสุชาดากลับมาห้องกะชื่นชมความงามของนกแล้วกะเห็นเส้นด้ายไหมทองคำผูกอยู่คอนกจึงแก้ออก นกกลายเป็นชายหนุ่มรูปงามมีชื่อว่าท้าวบัวฮม ทั้งสองทำความฮู้จักกันแล้วเกิดมักใคร่กัน เวลายามมื่อเวนนางสิผูกไหมใส่คอตามเดิม แต่พอตกกลางคืนนางกะจะแก้ไหมออก กะสิเป็นชายหนุ่มร่วมเคียงหมอนกับนาง เป็นอยู่แบบนี้โดยบ่มีผู้สงสัยจนเวลาผ่านไป ๔ เดือน พระนางตั้งครรภ์ได้ ๔ เดือน บ่อได้เข้าเฝ้าพระราชาเป็นเวลาหลายเดือนกะย่านเพิ่นสงสัยย่านความแตก มื่อ
หนึ่ง พระราชาบ่พ่อหน้าพระธิดาหลายเดือนกะเลยมีคำสั่งให้เข้าเฝ้า กะเฮ็ดให้ฮู้ความจริง เพิ่นเคียดหลายที่บ่มีผู้ใด๋ฮู้เหตุการณ์ มันผู้ใด๋คือมาหยามบารมีเพิ่นคักแท้ พระธิดาเพิ่นกะบ่ปริปากเว่าออกมา จั่งได้มีรับสั่งไปสืบหาคนผิดมาลงโทษให้ได้ภายใน ๑ เดือน อำมาตย์เพิ่นกะกลุ้มใจหลาย นางศรีจันทราผู้เป็นลูกสาวและเป็นคนสนิทของพระธิดาก็อาสาสืบเรื่องให้จนได้ความจริง อำมาตย์จึงนำความทูนพระราชา พระราชาจึงมีรับสั่งให้พระธิดาและท้าวบัวฮมเข้าเฝ้า ก่อนเข้าเฝ้าท้าวบัวฮมได้ร่ายมนต์เฮ็ดให้พระราชาเกรงกลัวย่านเพิ่นจนยอมมอบพระธิดาและบ้านเมืองให้ครองสืบต่อมา
ท้าวฮมครองราชได้ ๗ เดือน จึงได้ไปอัญเชิญน้องทั้งสองที่สวนทองเข้าเมืองผาทองชาวเมืองจึงต้อนฮับแล้วเฮ็ดพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ เมื่อเซาอยู่เมืองผาทองได้ ๒ ปี ท้าวบัวเฮียวกับท้าวบัวฮองก็อำลาท้าวบัวฮมไปเมืองเสวะกะนคร พอย่างมาฮอดกะเข้าเมืองไปเซาอยู่กับยายขอทานประจำเมือง ท้าวบัวเฮียวได้ยินว่าพระราชามีพระธิดาที่มีฮูปงามนามว่านางบัพพาวันดี เพิ่นกะมีความประสงค์อยากเห็น มื่อหนึ่งเพิ่นเลยลักออกไปพ่อผู้เดียวพอเห็นหน้านางท่อนั้นกะถูกร่ายมนต์ใส่จนกลายเป็นหิน ท้าวบัวฮองบ่เห็นอ้ายกะเลยออกนำหาไปพ่อยืนเป็นหินอยู่เลยนำแก้ววิเศษร่ายมนต์เฮ็ดให้อ้ายฟื้นขึ้นมา คลายมนต์ที่หมอมนต์เฮ็ดไว้จนเบิดสิ้น ท้าวบัวเฮียวกะได้พระนางพลัดพลาเป็น
มเหสีและได้ครองเมืองเสวะกะนครสืบมา ยายขอทานกะได้เป็นใหญ่อยู่สุขสำบาย
กล่าวเถิงเมืองสะรัตถานคร มีพระราชามรธรดารูปงามนางหนึ่งนามว่าศีรษะโรค์ พระนางมีโรคประจำโตที่แปลกประหลาดคือ ถ้าได้กลิ่นผู้ชายสิปวดหัวอย่างหนักพระราชาสงสารพระธิดา จึงได้มีรับสั่งให้ไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เป็นที่เซาที่อยู่ของพระธิดาในดงป่าใหญ่ห่างจากเมืองเป็นระยะเวลา ๓ มื่อ ฝ่ายท้าวบัวฮองเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี จึงขออำลาอ้ายออกไปท่องเที่ยว ท้าวบัวเฮียวจึงได้มอบข้าทาสบริวารให้ไปฮับใช้ ท้าวบัวฮองท่องเที่ยวไปจนฮอดเมืองของนางศีรษะโรค์ แล้วตั้งค่ายพักแรมอยู่บ่ไกลจากเมือง พระนางศีรษะโรค์เมื่อได้ฮู้ชื่อเสียงของท้าวบัวเฮียงจากบริวารแทนที่สิปวดหัวคือเก่าโครเพิ่นกลับหาย กลับกลายเป็นมีความฮักเกิดขั้นอยากสิเห็นหน้าท้าวบัวฮอง จึงได้เขียนสาส์นส่งไปเชิญท้าวบัวฮองเข้าเมือง เมื่อเวลาผ่านไปสองเดือนพระนางศีรษะโรค์จั่งได้ส่งข่าวหาพระราชบิดาฮู้ พระราชาจึงจัดขบวนมาอัญเชิญพระธิดากลับเข้าเมืองและเฮ็ดพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ หลังจากนั้นพระราชากะได้ประกาศรับท้าวบัวฮองเป็นลูกเขย
บุพกรรมของพระนางศีรษะโรค์ ชาติก่อนพระนางเกิดเป็นนางกวาง กวางบัวฮองเป็นสามีกำลังมีลูกในท้องได้แปดเดือนกะเกิดแพ้ท้องอยากกินหญ้าเดียงสามใบกับยอด จึงอ้อนวอนให้สามีไปหามาให้ กว่างสามีเสาะแสวงหาไปจนพ่อนายพราน กว่าสิเอาชีวิตรอดกลับมาได้กะตกกลางคืน นางกวางจึงเคียดว่าสามีไปติดสาวโตอื่นจึงแช่งให้สามีหัวแตกเป็น ๗ เสี่ยง บาดเกิดเป็นคนกะเลยมีโรคปวดหัวติดมานำ เมื่อท้าวบัวฮองได้ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสะรัถานคร ท้าวบัวฮองกะครองเมืองอย่างดีไพร่ฟ้าปรชนอยู๋ดีมีสุข
ตัวละคร ท้าวบัวฮม ท้าวบัวเฮียว ท้าวบัวฮอง ทั้งสามคนมีนิสัยคล้ายกัน คือ ฉลาดเฉลียวแต่ไม่ใฝ่ในการศึกษาหาความรู้ แต่ด้วยการที่เป็นผู้มีบุญญาธิการ และกรรมเก่ามีไม่มาก จึงประสบพบเจอแต่เรื่องดี ๆ
ต้นฉบับ พระครูสุเทพสารคุณ ได้ปริวรรตจากอักษรธรรมเป็นอักษรไทยเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๖ เก็บไว้ที่หอพุทธศิลป์ อยู่ที่หอพุทธศิลป์ วัดธาตุพระอาราหลวง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องนี้มีคติคำสอนทางพระพุทธศาสนาคือ สอนให้เห็นว่าคนที่ประทุษร้ายผู้ที่ไม่มีความผิด มักประสบความพินาศเอง ดังตอนที่เมืองพาราณสีล่มจม นอกจากนั้นยังสอนเรื่องของกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังตอนที่กล่าวถึงบุพกรรมของกุมารทั้งสามและบุพกรรมของพระนางศีรษะโรค์ และสุดท้ายสะท้อนให้เห็นคติความเชื่อและประเพณีของชาวอีสานในเรื่องการบายศรีสู่ขวัญ
ให้พากันเฮียนฮู้ปาณาติบาต เว้นจากการฆ่าสัตว์โดยฮ้ายหมายได้จ่องเวร
บาปนั้นมีโทษมากน้อยตามแต่กระบวนคุณ สัตว์นั้นมีคุณดังงัวควายซ้าง
มันทำนาให้ทังเกวียนลากแก่ มันมีคุณเที่ยงแท้คนได้เบิ่งแยง
กินคุณแล้วสังเล่ากินซิ้นต่อน บ่กูร์ณาท่อกก้อยสังกินชิ้นบ่ล่ำคอย
เนื้อเฮื่อง
แต่บทบั้นพระโพธิสัตว์เสวยซาติเป็นท้าวบุสบา พออายุ 10 ปี กะเลยอ้อนวอนย่าไปซื้อเบ็ดตกปลามาให้ พอแต่ได้เบ็ดตกปลามาแล้วกะเลยหาปลาได้หลายโดยเฉพาะปลาสมอ หรือว่าปลาหมอ กะเอามาหมักเป็นปลาแดก ฝากนายสะเภา(สำเภา) ไปค้าขายอยู่เมืองพาราณสี พระอินทร์ผู้มีความเมตตากะเลยเนรมิตให้ปลาแดกที่มีกลิ่นเหม็นให้หอมหวลตลบอบอวลไปทั่วเมือง นายสะเภากะเลยเอาปลาแดกอันมีกลิ่นหอมไปถวามแก่พระราซาเมืองพาราณสี พระราซานั้นกะเลยหลอยเอาเงินคำก่ำแก้วใส่ในไหปลาแดกแล้วกะเลยเอาปลาแดกเทไว้คือเก่า ฝากไปให้เป็นของกำนันท้าวบุสบา ท้าวบุสบาว่าปลาแดกคือเก่ากะเลยบ่สนใจ บ่ได้เปิดเบิ่งเอาวางไว้สื่อๆ ใซ้ซีวิตอยู่อย่างยากจน ต่อมากะเลยฝากไหปลากแดกที่มีทองคำให้พ่อค้าเอาไปขายเมืองราชคฤห์ พ่อค้ากะเลยเอาไปถวายบรรณาธิการแก่พระราซาเมืองราซคฤห์ พอแต่พระราซาเปิดเบิ่งไหปลาแดกเห็นเงินคำก่ำแก้ว เพชรนิลจินดาหลวงหลาย กะเลยให้โหรหลวงเบิ่งมอทวยว่าดวงซาตาของเจ้าของไหปลาแดกนี่ โหนหลวงเบิ่งมอแล้ว เลยทวยว่าท้าวบุสบาผู้เจ้าของไหปลาแดกนี่เป็นผู้มีบุญญาบารมีหลาย พระราซากรุงราซคฤห์กะเลยส่งพระธิดา คือ นางมาตฟ้า ที่โหรหลวงทวยว่าเป็นเนื้อคู่สายแนนเกี่ยวกัน มาเป็นของกำนัลส่งหลบไปหาท้าวบุสบา พระราซาเอานางมาตฟ้าใส่โพรงงานซ้างทิพย์ไปให้ท้าวบุสบา พอแต่ท้าวบุสบาได้งานซ้างทิพย์กะเลยเอาไปไว้อยู่นอกเมือง นางมาตฟ้าเลยออกจากโพรงงาซ้างมาเนรมิตให้เฮือนซานของท้าวบุสบาดีกว่าเก่า พร้อมกับอยู่กินกันเป็นผัวเมีย ท้าวบุสบาได้เมียงามเลยฮู้ไปฮอดหูของพระเจ้าพรหมทัตอยากได้นางมาตฟ้ามาเป็นมเหสีของจะของ กะเลยใซ้ให้ท้าวบุสบาเอาของไปส่งญาติพี่น้องอยู่ซั้นฟ้าแลเมืองนาฮก(นรก) ท้าวบุสบาเฮ็ดได้ พระเจ้าพรหมทัตกะเลยคึดอยากเฮ็ดได้นำ ท้าวบุสบากะเลยบอกให้เอาไฟเผาจะของ พระเจ้าพรหมทัตเฮ็ดนำความว่าของท้าวบุสบา กะเลยตายถิ่มเสีย ท้าวบุสบากะเลยได้ขึ้นตั่งนั่งครองเมือง เป็นกษัตริย์สืบต่อมา
ตัวละคร ท้าวบุสบา ผู้มีบุญญาธิการ ขยันขันแข็ง และมีปัญญา
ท้าวพรหมทัต เป็นกษัตริย์ที่โง่เขลา เชื่อคำที่คนอื่นบอกจนทำให้ตัวเองถึงแก่ชีวิต
ต้นฉบับ ต้นฉบับอักษรธรรม อยู่ที่วัดม่วงสามสิบ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
ต้นฉบับลำบุสบา อยู่ที่วัดบ้านโด ต.ท่าตูม อ.มือง จ.มหาสารคาม
ฉบับที่ถอดความและเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย และทำเป็นสื่อการเรียนการสอน ชื่อหนังสือ “วรรณกรรมท้องถิ่น” ของ อ. ธวัช ปุณโณทก
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องนี้สอนคติธรรมเรื่องโทษของการหมกมุ่นในกามคุณ คือตอนที่ท้าวพรหมทัตอยากได้นางมาตฟ้าเป็นมเหสีจนขาดสติ คิดชื่อตามคำที่ท้าวบุสบาแนะนำจนตัวเองตาย
สงสารเอยจงพากันรักษาศีลห้า อย่าปองฆ่าฝูงหมู่สัตตา
ให้เมตตาเขาฝูงสัตว์น้อยใหญ่ โผดค้อยค้อยจงดีนา
เนื้อเฮื่อง
เนื้อเรื่องของสมาสสงสารนี้แบ่งออกเป็น ๔ ตอน ได้แก่
ตอนต้นอ้างเอาคุณพระพุทธเจ้า เน้นพระกรุณาคุณที่พยายามบอกทางนิพพานมวลมนุษย์ทั้งหลาย หลังจากนั้นสอนให้มนุษย์ยึดมั่นในศีล ๕ ศีล ๘ เน้นเฮ็ดบุญเฮ็ดทาน เพื่อให้ผลบุญนำสนองชาติหน้า จากนั้น พรรณนาผู้ประพฤติผิดศีลสิได้เสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรก สับกันไปกับการสอนให้ประพฤติชอบ ตามหลักธรรมของศาสนา
สงสารเอยจงพากันรักษาศีลห้า อย่าปองฆ่าฝูงหมู่สัตตา
ให้เมตตาเขาฝูงสัตว์น้อยใหญ่ โผดค้อยค้อยจงดีนา
ตอนสองเว้าฮอดความสุขในนิพพาน กวีจินตนาการเมืองนิพพานคือจั่งเมืองพระศรีอาริย์ เว้าฮอดประชากรในเมือง ความสุข ความสะดวกสบายที่ประชากรได้รับในเมืองนิพพาน จั่งมีต้นกัลปพฤกษ์ ประชากรอยู่ในศีลธรรม ทั้งได้บอกวิธีไปสู่เมืองนิพพาน คือให้ฟ้าวเฮ็ดทาน ยึดมั่นในศีล ๕ ศีล ๑๐ อย่าหลงละเลิงในอบายมุขทั้งหลาย
ผาสารทสูงมีหลายถ้าน เสตสัตรสี่ด้านรุ่งเรืองงาม
กางทุงชัยปักช่อน้อย ลมพัดสร้อยควีมากมาย
ผาสารทคำหลานเสาแก้ว ประดับแล้วรุ่งเรืองงาม
พิดานคำประดับแล้ว กาบแก้วหุ้มโลมคำ
ใบสีสายข่อยห้อย ดอกดวงย้อยอ้ากาบผายใบ
ดอกบัวไขเผยผายกาบอ้า เสตสัตรช่อฟ้า
ประดับอาสน์คานคำ หลังทั้งกลางบุซอดขึ้น
เป็นแผ่นพื้นหลายแซง ขาวเขียวแดงก่ายแก้ว
ตอนสามให้สังฮอมในตัณหากามคุณทั้งหลาย ย้อนว่าสิเฮ็ดให้ไปตกนรก ให้พยายามสละโลกียวิสัยให้หมด ความรักโลกีย์บ่มีแก่นสาร พยายามชี้ให้เห็นอนิจจัง ทุกขา และอนัตตา ในการหลงอยู่ในโลกียสุข มีสมบัติ ลูกเมีย ข้าทาส มวลหมู่นี้เอาติดตัวไปนำบ่ได้ดอก นอกจากบุณบารมีเท่านั้น
สงสารเอยตัณหารักลูกนี้ เหมือนดั่งเชือกผูกคอ
ตัณหารักเมียเหมือนดั่งปอผูกศอก ตัณหารักลูกข้าวของเหมือนดังปลอกสุบตีน
ตอนสุดท้ายเว้าฮอดบุญคุณพ่อแม่บุพการี ให้ลูกหลานเฮ็ดบุญเฮ็ดกุศลไปให้ เปรียบคือสำเภาสิพาไปสู่เมืองนิพพานเปิดประตูรับอยู่ทุกยาม
ตัวละคร ไม่มีตัวละคร เนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นโอวาทสั่งสอนตลอดทั้งเรื่อง
ต้นฉบับ ในหนังสือวรรณกรรมท้องถิ่น ของ ธวัช ปุญโณทก กล่าวไว้ว่า “เนื้อเรื่องประพันธ์เป็นกาบอีสาน มีจำนวน ๑ ผูก เขียนจารด้วยอักษรตัวธรรม” โดยไม่บ่งบอกว่าต้นฉบับนี้อยู่ที่ใด และได้กล่าวอีกว่าเรื่องสมาสสงสารนี้น่าได้แนวคิดมาจาก สํสารสมาสปกรณํ รวมอยู่ในคัมภีร์ประมวนสังสารวัฏ เป็นธรรมเนียมปกรณ์ที่สอนประชาชนชายหญิงให้สังวรในศีลในทาน และหลักธรรมของพุทธศาสนา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องสมาสสงสารส่วนใหญ่เป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนาแบบทฤษฎีหลักธรรม กล่าวคือ ไม่ลุ่มหลงในอยู่ในโลกีย์ ละกิเลสตัณหาทั้งปวง มุ่งสู่โลกุตระอันเป็นความสุขที่แท้จริง
มันสิเป็นไม้ไผ่บ้านเกิดใหม่หงำกอ
สิเป็นช้างลื่นขอให้หมั่นเลิงหารภายหน้า
ให้ลูกดอมตนไว้คือไถนาอย่าฮวมร่อง
ควายสิลื่นแอกน้อยไถสิล่มบ่เสมอ
เนื้อเฮื่อง
เจ้าเมืองอินทะปัตถนครมีพระโอรสผิวเหลืองปานคำ แต่เป็นตุ่มตูดปูดตีดปีดคือจั่ง ขี่คันคาก จั่งได้พระนามว่า ท้าวคันคาก พอท้าวคันคากใหญ่เป็นบ่าวกะอยากได้นางเทวีผู้งามเป็นเมีย พระราชบิดากะพยายามออย ย้อนว่าเจ้าของนั้นฮูปชั่วตัวดำ แต่ท้าวคันคากกะบ่ละความพยายาม จนสุดท้ายท้าวคันคากได้อธิษฐานว่า คัว่าข้าน้อยมีบุญบารมีแต่ชาติเก่าปางหลัง ขอให้ได้หญิงงามมาเป็นเมียตามต้องการ ฮ้อนฮอดพระอินทร์ ได้มาซ่อยเนรมิตผาสาทให้ พร้อมทั้งนำนางแก้วเทวีมาให้เป็นเมียอีกพร้อม แต่เห็นว่าท้าวคันคากนั้นมีรูปร่างอัปลักษณ์ ท้าวคันคากจั่งได้แปลงฮูปเป็นหนุ่มฮูปงาม ทั้งสองได้อาศัยอยู่ผาสารทอินทร์แปลง(เนรมิต) งามปานไพชยนต์ผาสาท พระเจ้าอินทะปัตถนครฮู้เรื่องกะดีใจ เห็นว่าพระราชโอรสหมดเวรหมดกรรมแล้ว ได้เวนราชสมบัติให้ครอบครองเมือง พอแต่อภิเษกแล้วพระยาคันคากกะครองเมือง ซ่อยเหลือชาวเมืองที่ทุกข์ยากปากหมอง ปกครองบ้านเมืองอย่างดี จนเฮ็ดให้ชาวเมืองศรัทธาเลื่อมใสพระยาคันคาก จนลืมบูชาพระยาแถน ฝ่ายพระยาแถนเห็นจั่งซั่นแล้วกะบ่พอใจ ย้อนเห็นว่าท้าวคักคากมีอิทธิฤทธิ์หลาย ย่านว่าสิเป็นภัยต่อเจ้าของ จั่งได้หาอุบายแกล้งบ่ให้ฝนตกลงโลกมนุษย์ โดยการบ่เปิดประตูสระหลวง เฮ็ดให้พญานาคบ่ได้เล่นน้ำ เกิดความเดือดร้อนไปทั่วพื้นพิภพ ท้าวคันคากได้สู้รบกับพระยาแถน การต่อสู้เทื่อนี้ถือเป็นมหายุทธ ใช้เวลาดนแต่กะบ่มีผู้แพ้ชนะ พระยาคันคากวางแผนให้พญานาคไปขดอยู่หางช้างเพื่อหลอยเข้าจู่โจมพระยาแถน พอแต่ช้างฟาดหางแฮง ๆ พญานาคที่ขดตัวอยู่กะฟ่งออกไปฮัดโตพระยาแถนจนตกจากหลังช้าง แล้วเกี้ยวพระยาแถนไว้บักอย่างแน่นหนาบ่สามารถดิ้นหลุดไปได้ จนพระยาแถนขอยอมแพ้ท้าวคันคาก หลังการสู้รบได้เซาลง ท้าวคันคากได้จัดให้มีการประชุมเจรจาตกลงกับพระยาแถน โดยขอให้พระยาแถนเปิดป่องให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำคือเก่า ทั้งต้องกลับไปเบิ่งแงงทุกข์สุขให้กับพวกมนุษย์คือจั่งเคยเฮ็ดมา จากนั้นที่ประชุมกะเริ่มเว่าถึงกำหนดระยะเวลาการเปิดป่อง การเปิดป่องทั้ง ๗ ป่องได้ตลอดเวลานั้น พญานาคสามารถขึ้นไปเล่นน้ำได้ตามความพอใจของตน แล้วฝนกะสิตกตามการเล่นน้ำของพญานาค บางเทื่อมนุษย์ยังบ่อยากได้น้ำฝน พอฝนตกก็สิสร้างความเดือดร้อนให้สู่คน ย้อนว่ามีน้ำหลายโพด ฝ่ายพระยาแถนคิดเบิ่งอยาคราวหนึ่ง จั่งเอ่ยถามที่ประชุมว่า “แล้วสิฮู้ได้จั่งได๋ว่ายามได๋ต้องเปิดป่องเพื่อให้พญานาคขึ้นมาเล่นน้ำ” ท้าวคันคากเลยบอกว่า “เอาจั่งซี่เด้อ พอแต่ฮอดเดือนหกยามเฮ็ดนา พวกมนุษย์อยากได้น้ำฝนเพื่อเฮ็ดนา ท่านกะให้ฝนตกลงมาในยามนี้ คันมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นฟ้าเพื่อเป็นสัญญาณแล้ว ให้ท่านเปิดป่องได้” พญาแถนถามต่อไปว่า “แล้วข่อยสิฮู้ได้จั่งได๋ว่ามีพญานาคขึ้นมาเล่นน้ำแล้ว คันเปิดป่องแต่พญานาคบ่ได้ขึ้นมาเล่นน้ำ ฝนกะสิบ่ตก” ท้าวคันคากตอบว่า “คันฝนตก กบเขียดสิพากันออกมาเล่นน้ำ ส่งเสียงฮ้องไปทั่ว คันท่านได้ยินเสียงกบเขียดมันฮ้อง แสดงว่าฝนได้ตกลงเมืองมนุษย์แล้ว” แต่พระยาแถนกะถามต่ออีกว่า “คันมนุษย์ใช้น้ำฝนพอแล้ว หรืออยากให้ปิดปากป่อง ข่อยสิฮู้ได้จั่งได๋ล่ะ” ท้าวคันคากตอบว่า “ท่านไม่ต้องห่วงดอก คันมนุษย์ได้น้ำพอแล้ว สิส่งสัญญาณขึ้นมาบอกท่าน โดยพวกเขาสิเฮ็ดโหวดขึ้นมาพร้อม ๆ กัน แล้วแกว่งโหวดขึ้นฟ้าส่งเสียงเป็นสัญญาณให้ท่านรู้ว่าได้น้ำพอแล้ว ให้ปิดปากป่องได้” พอแต่ทุกฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้ว ท้าวคันคากกะสั่งให้พญานาคจัดเวรกันขึ้นมาเล่นน้ำทุกปีอย่าได้ขาด จากนั้นกองทัพของท้าวคันคากกะกลับลงมายังโลกมนุษย์ แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาลนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ตัวละคร พระยาคันคาก เป็นผู้มีปัญญา สามารถใช้ปัญญาปกครองบ้านเมืองให้มีความรุ่งเรืองและสงบสุข
ต้นฉบับ มีปรากฏอยู่ทั่วไปเกือบทุกวัดในภาคอีสาน เพราะว่ายังใช้เทศน์ในพิธีกรรม (ขอฝน) เนื่องจากมีความเชื่อว่าฝนไม่ตกตามฤดูกาลนั้น เป็นเพราะพระยาแถนไม่ยอมส่งฝนมาตก พระยาคันคากและสัตว์ทั้งหลายไปปราบพระยาแถน พระยาแถนจึงส่งฝนลงมาตกตามปกติ ชาวบ้านชาวเมืองจึงมีน้ำใช้ในการเกษตรกันทั่วหน้า ฉะนั้นจากความเชื่ออันนี้เอง เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านจึงร่วมกันจัดพิธีกรรมขอฝน เรียกว่า ประเพณีบุญเดือน ๖ หรือบุญบั้งไฟ นิทานพระยาคันคาก (คำกลอนสำนวนภาคอีสาน) เรียบเรียงโดย เตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) พิมพ์และจำหน่ายที่ บริษัท ขอนแก่นคลังนานาธรรม จำกัด
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องพระยาคันคากนี้ มีหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ในตัวละคร พระยาคันคากเป็นผู้ที่มีปัญญา ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้เป็นราชา นอกจากนั้นยังมีคติความเชื่อเรื่องการขอฝนจากพระยาแถน และเป็นที่มาของประเพณีบุญเดือน ๖ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณี ๑๒ เดือน
แต่นั้น ยังมีเมืองใหญ่กว้างเฮียกชื่อพาราณสี กฎุมพีทั้งสองเป็นคู่ครองเพียรสร้าง สองเขือเจ้ากฎุมพีทั้งคู่ อยู่สืบสร้างปางนั้นต่อมา พากันได้ลูกน้อยมาเกิดเป็นชาย มีสองคนเกิดมานำเจ้า สองคนแท้เกิดมางามคล่อง สองพี่น้องงามละห้อยดั่งกัน ผู้พี่นั้นมีชื่อศรีเฉลียว เป็นคนงามดังอินทร์แปลงนั้น คนสองนั้นเป็นชายคือว่าเสียวสวาดเก่งกล้านามเจ้าต่อมา
เนื้อเฮื่อง
เมืองพาราณสี มีเศรษฐีสองผีวเมีย มีลูกชาย ๒ คน ผู้อ้ายชื่อศรีเฉลียว ผู้น้องชื่อเสียวสวาด ลูกชายทั้งสองคนใหญ่เป็นบ่าว ท่านเศรษฐีได้แบ่งเฮือนให้คนละหลัง เสียวสวาดผู้เป็นน้องเลือกเอาหลังสร้างยังบ่แล้ว ฝ่ายศรีเฉลียวเลือกเฮือนหลังสร้างแล้วแล้ว พ่อแม่จั่งได้ทำนายว่า ลูกชายหล่าคือเสียวสวาดเป็นคนที่มีปัญญาสิประสบความสำเร็จในชีวิต ท่านเศรษฐีได้อบรมสั่งสอนลูกชายทั้งสองคนให้ปฏิบัติตนอยู่ในจารีตประเพณีและศีลธรรมที่ดีงาม จนต่อมาพ่อแม่ได้ตายจากไป ลูกชายทั้งสองได้เฮ็ดตามคำสั่งสอนของพ่อแม่อย่างดีตลอดมา มื้อหนึ่งมีเฮือสำเภาต่างเมืองมาจอดเซาอยู่ท่าน้ำเมืองพาราณสี เสียวสวาดได้ขอเดินทางไปค้าขายนำ นายสำเภาได้รับเสียวสวาดไว้เป็นลูกเฮือ เสียวสวาดดีใจหลายจั่งได้ลาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงแล้วออกเดินทางไปกับเฮือสำเภานั้น นายสำเภาได้ให้ความรัก ความเมตตาต่อเสียวสวาดปานลูกเจ้าของเอง พอแต่ออกเดินทาง เฮือสิแล่นผ่านหมู่บ้าน ผ่านเมือง ผ่านป่า วัดวาอาราม หาดทราย พอได้เวลานายสำเภากะสั่งให้เรือจอดเซาพัก ระหว่างนั้นล่ะ เสียวสวาดได้ถามนายเฮือเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เฮือแล่นผ่านมา จั่งถามว่า หมู่บ้านเหล่านี้มีคนอยู่บ่ ในเมืองมีเจ้าเมืองบ่ ป่ามีต้นไม้บ่ ในวัดมีพระบ่ เมืองนี้มีคนเฒ่าบ่ บรรดาลูกเรือได้ยินคำถามที่เสียวสวาดถามนายสำเภา กะพากันหัวอย่างม่วนซื่น เห็นเป็นเรื่องเป็นตาหัว คิดว่าเป็นคำถามที่โง่หลาย นายสำเภาได้เตือนเสียวสวาดว่า เฮาล่องเฮือมานี่เพื่อค้าขาย ควรเว่าแต่เรื่องกำไรขาดทุนหรือสิ่งที่เป็นมงคลท่อนั้น อย่าเว่าไร้สาระอย่าเว่านอกเรื่องนอกราว การเดินทางผ่านไปหลายมื้อ จนเดินทางมาฮอดเมืองจำปาบ้านเมืองของนายสำเภา บรรดาลูกเรือทั้งหลายต่างกะแยกย้ายกันกลับไปเฮือนซานบ้านช่องของจักของ ส่วนเสียวสวาดได้ไปพักอาศัยอยู่กับบ้านนายสำเภา ได้เว่าเรื่องการไปค้าขายให้ลูกเมียของเขาฟัง แล้วเว่าว่าเทื่อนี้มีโชคกว่าที่ผ่าน ๆ มาคือได้ลูกชายจากเมืองพาราณสีมานำผู้หนึ่ง ถือเป็นผู้บ่าวที่ดู๋แฮง เอาการเอางาน หนักเอาเบาสู้ ที่สำคัญคือเป็นคนซื่อสัตย์บุคลิกดี แต่เสียอย่างเดียวคือมักถามในเรื่องบ่มีสาระ ตอนที่นายสำเภาเว่าเรื่องเสียวสวาดอยู่นั้น นางสีไว ลูกสาวผู้งามของนายสำเภากะนั่งฟังอยู่นำ สนใจอยากฮู้ว่าหนุ่มผู้นี้สิถามว่าจั่งได๋ พ่อของนางจั่งเห็นเป็นเรื่องบ่มีสาระ นางจั่งขอให้พ่อเว่าสู่ฟัง พอนางได้ฟังคักแล้วบอกกับพ่อของนางว่า ที่เสียวสวาดถามว่าในเมืองมีเจ้าเมืองบ่ เขาหมายถึงมีผู้ปกครองบ้านเมืองที่มีคุณธรรมในการปกครองบ้านเมืองบ่ ที่ถามว่า ในป่ามีต้นไม้บ่ หมายความว่า มีต้นไม้ที่มีค่ามีราคาบ่ จั่งไม้หอม ไม้แก่นจันทน์ จั่งซี่มีบ่ ที่ถามว่า มีบ้านคนอยู่บ่ หมายความว่า มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่ฉลาดรอบรู้อยู่บ่ ที่ถามว่า ในวัดมีพระบ่ หมายถึงพระสงฆ์ผู้ทรงศีล รอบรู้ พระธรรมวินัย มีบ่ ที่ถามว่า หาดทรายมีหินบ่ หมายความว่า มีหินที่มีคุณค่ามีราคา จั่งเพชรนิลจินดา แก้วมณีไพฑูรย์ต่าง ๆ มีบ่ ที่ถามว่า เมืองนี้มีคนเฒ่าบ่ หมายความว่าคนเฒ่าที่มีศีลธรรมน่าเคารพนับถือ
เมื่อนางสีไวได้อธิบายคำถามของเสียวสวาดให้ผู้เป็นพ่อฟัง เฮ็ดให้พ่อแม่ของนาวสีไวมีความพอใจที่ธิดาของตนมีความเฉลียวฉลาดสามารถล่วงรู้ถึงปัญหาที่เสียวสวาดซักถามเป็นอย่างดี ส่วนโตเสียวสวาดนั้นกะเป็นคนมีผญาหลักแหลมสมชื่อ บ่ได้โง่เง่าคือจั่งคนอื่นเข้าใจ ดังพ่อแม่ของนางสีไวฮักแล้วกะพอใจเสียวสวาดหลาย จนได้ตัดสินใจแต่งงานให้เสียวสวาดกับนางสีไวอย่างดี
ต่อมาเจ้าเมืองจำปา ขาดคุณธรรมปกบ้านครองเมือง เฮ็ดให้ชาวเมืองเกิดความวุ่นวาย บ่มีความสุขไปทุกหนแห่ง ชาวเมืองต่างกะหวาดระแวงว่าสิบ่ได้รับความปลอดภัยทั้งจักของแล้วกะครอบครัว เจ้าเมืองจำปากะระแวงว่าภัยสิเกิดกับเจ้าของ จั่งได้เกณฑ์ชาวเมืองให้มานอนเฝ้าระวังภัยให้พระองค์คืนละห้าร้อยคน พอตกดึกบรรดาพวกเวรยามต่างก็พากันนอนหลับสนิท เจ้าเมืองจำปาสิย่างออกมา แล้วกะใช้ดาบตัดคอพวกเวรยามซุมนั้นให้ตายไปทุกคืน เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วสามคืน มีคนถืกฆ่าตายจำนวนพันห้าร้อยคน ในคืนที่สี่ฮอดเวรของนายสำเภาพ่อตาของเสียวสวาด นายสำเภาฮู้โตดีว่าสิมีชีวิตอยู่อีกมื้อเดียวท่อนั้น หลังจากที่ไปอยู่ยามแล้ว เขาสิถืกฆ่าตาย บ่ได้กลับมาเห็นลูกเมียอีกต่อไป นายสำเภาได้เอิ้นลูกสาว เมียกับลูกเขยมาพร้อมกัน พร้อมกับสั่งลา มอบทรัพย์สมบัติให้ แต่เสียวสวาดบ่ยอมให้พ่อตาไปอยู่ยามรับอาสาสิไปอยู่แทนให้ได้ นายสำเภาเห็นความกตัญญูของเสียวสวาด บ่อาจสิทัดทานได้เลยยอม เสียวสวาดได้ไปอยู่ยามแทนพ่อตาในคืนที่สี่นั้นเอง พอฮอดเวลาเสียวสวาดได้เลือกนั่งยามตรงกับทางผ่านขึ้นลงพร้อมทั้งนั่งบริกรรมภาวนาพระคาถาอยู่ดนจนฮอดเที่ยงคืน เวรยามคนอื่นหลับหมดแล้ว ยามนั้นเป็นเวลาที่เจ้าเมืองจำปาถือดาบออกมา กำลังสิยกดาบขึ้นฟันคอคนที่นอนหลับอยู่ เสียวสวาดกะจ่มคาถาให้เกิดเสียงดังขึ้น เจ้าเมืองจำปาได้ยินเสียงที่เสียวสวาดจ่มคาถากะย่างกลับเข้าไป จักหน่อยหนึ่งกะย่างถือดาบออกมาอีกเสียวสวาดจ่มเป็นปริศนาอีก เจ้าเมืองจำปาได้ยินเสียงย่างกลับไปอีกเทื่อหนึ่ง จนเกือยสิแจ้งจั่งได้ถือดาบออกมาอีกเสียวสวาดจ่มเป็นปริศนาอีก เจ้าเมืองจั่งได้ย่างกลับเข้าไปอีก เป็นอันว่าตลอดคืนที่สี่นั้นบ่มีผู้ได๋ถืกฆ่า พอฮุ่งเช้าพวกเวรยามต่างกะกลับบ้านจักของ ตกแลงมื้อนั้นเอง เจ้าเมืองเอิ้นเวรยามทั้งหมดมาประชุม แล้วถามว่า เมื่อคืนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นพร้อมกับถามว่าเป็นเสียงเว่าของผู้ได๋ เสียวสวาดรับว่าตนเป็นคนเว่า เจ้าเมืองถามเสียวสวาดว่า “คเตสิ คเตสี กิงการณา คเตสิ” หมายความว่าจั่งได๋ เสียวสวาดจั่งได้กราบทูลเว่าให้ฟังว่า หมายถึงชายสองคนเป็นมู่กัน คนหนึ่งมักหว่านแห อีกคนหนึ่งมักฟังธรรม มื้อหนึ่งคนที่มักหว่านแห ไปหว่านแหเบิดมื้อบ่ได้ปลาจักโต คิดอยากไปฟังธรรม ส่วนคนที่มักฟังธรรม ฟังธรรมตลอดเบิดมื้อแต่กะจำอีหยังบ่ได้เลย คิดอยากไปหว่านแหลองเบิ่ง ในลักษณะจั่งซี่ผลบุญที่ได้นี้ตกแก่คนหว่านแห แล้วคำว่า “อหังปิตัง ชานามิ ชานามิ” หมายความว่าจั่งได๋ เสียวสวาดกราบทูลว่า มีชายหนุ่มผู้หนึ่งชื่อ กุททาละมีบักจกกับเสียมเป็นเครื่องมือเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน ขนาดว่าไปบวชกะยังคิดฮอดบักจกกับเสียม พอแต่สิกข์ออกมาแล้วกะบวชอีกเป็นจั่งซี่จนครบเจ็ดเทื่อ เทื่อสุดท้ายเขาตัดสินใจโยนบักจกกับเสียมลงในน้ำ แล้วหันมาตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาจนบรรลุผล แล้วคำว่า อัศจรรย์ใจโอ้ โอนอสังเวช สังมาเป็นดังนี้ เป็นน่าอยากหัว หมายความว่าหยัง
เสียวสวาดก็กราบทูลว่า มีหญิงสาวผู้หนึ่งไปเที่ยวหาหน่อไม้ในป่า ได้แล้วเอามาปอกกาบที่แข็ง ๆ ออก แล้วเอาแหง่โยนีจักของ หน่อไม้นั้นหักคา ขณะนั้นมีพระเฒ่าแฮงองค์หนึ่งเดินไปหาเปลือกไม้มาย้อมจีวร ย่างมาพ่อเข้า หญิงสาวได้ขอให้เพิ่นซ่อย โดยตกลงกันว่าคันซ่อยได้สิให้เสพสังวาส ท่านกะซ่อยจนดึงหน่อไม้นั้นออกมาได้ แล้วหญิงสาวคนนั้นกะย่างกลับเฮือนไปแต่งโต พระองค์นี้ถ่านางอยู่ดนหลาย เกิดกำหนัดขึ้นจับองคชาตสอดเข้าในโพรงไม้ ถืกกับแก้คาบองคชาตของท่าน หญิงสาวกลับออกมาพ่อ ได้ซ่อยจนท่านปลอดภัย เป็นอันว่าทั้งหญิงสาวกับพระเฒ่านั้น บ่เป็นหนี้บุญคุณต่อกัน
พอเจ้าเมืองจำปาได้ขอให้เสียวสวาดอธิบายความคาถาพร้อมกับปริศนาเหล่านั้น เขาก็สามารถอธิบายได้เบิด เจ้าเมืองจำปาเห็นว่าเสียวสวาดเป็นคนฉลาดควรที่สิมอบตำแหน่งสำคัญให้ซ่อยชาติบ้านเมืองได้ในยามคับขันจั่งซี่ จั่งได้แต่งตั้งให้เสียวสวาดเป็น “อัครมหาเสนาบดี” มีหน้าที่สอนพร้อมกับอบรมศีลธรรม จารีตประเพณีแก่ประชาชน พร้อมทั้งได้ประทานเงินทองและข้าทาสชายหญิงให้เสียวสวาดอีก ๕๐๐ คน
อยู่มามื้อหนึ่งเจ้าเมืองจำปา อยากทดลองจิตใจของเสนาอำมาตย์ว่าสิซื่อสัตย์ต่อพระองค์ปานใด๋ จั่งได้มีรับสั่งให้หาหมากขี้กา (หมากขี้กา) เป็นหมากไม้รสขมแฮงมาแจกให้หมู่เสนาอำมาตย์กิน ต่างคนต่างกะกินหมากขี้กานั้นแล้ว เจ้าเมืองจำปาจั่งบอกว่าหมากขี้กานี้กามีรสหวานดี แล้วจั่งหันไปถามซุมเสนาอำมาตย์ ทุกคนตอบคือกันว่า “หวาน” เว้นไว้ผู้เดียวที่ตอบว่า “ขมและบ่หวาน” กะคือเสียวสวาด พระองค์ตรัสถามเสียวสวาดว่า เป็นหยังบรรดาเสนาอำมาตย์ซุมนั้นคือตอบว่า หวาน ล่ะ จั่งซี่สิบ่เอิ้นว่าตั๋วบ่ เสียวสวาดจึงกราบทูลเจ้าเมืองจำปาว่าคนซุมนี้กราบทูลไปย้อนความย่าน พระองค์บอกว่าหวาน เขากะเลยตอบว่าหวานไปนำสิเจตนตั๋วกะบ่แม่น เจ้าเมืองยกโทษให้ ต่อมาได้เอิ้นเสนาอำมาตย์ซุมนี้ว่า “เสนาหมากขี้กา”
วันเวลาผ่านไปอีกจนเจ้าเมืองจำปาเห็นว่า โอรสของพระองค์หลงมัวเมาติดการพนันกับเหล้า บ่ค่อยสนใจศึกษา บ่ค่อยสนใจราชการบ้านเมือง จั่งได้มอบให้เสียวสวาดเป็นผู้อบรมสั่งสอน จนสามารถเฮ็ดให้โอรสของเจ้าเมืองจำปาสำนึกในคุณธรรม กลับโตเป็นคนดี เจ้าเมืองจำปายอมรับนับถือเสียวสวาด ได้ยกย่องให้เป็นครูอีกคนหนึ่งของพระองค์พร้อม นอกจากนี้เสียวสวาดยังได้อบรมสั่งสอนเสนาอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเมืองจำปาตลอดมา ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่เสียวสวาดเป็นคนดีมีปัญหาเฉลียวฉลาดบ่ลืมโต เคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อคนทั่วไป ทั้งปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างขยันหมั่นเพียร เป็นที่รักใคร่ชอบพอของเจ้าเมืองจำปา หลังจากที่เมืองจำปาผ่านพ้นภัยพิบัติถึงขั้นยุคเข็ญมาได้กะย้อนความฉลาดหลักแหลมของเสียวสวาด จนเมืองจำปาเจริญฮุ่งเฮืองอุดมสมบูรณ์ทรัพย์สินเงินทอง กะย้อนว่าเจ้าเมืองกลับมีศีลธรรมปกครอง บ้านเมืองโดยสุจริตยุติธรรม ประชาชนขยันหมั่นเพียรถือศีลฟังธรรม เคารพในจารีตประเพณี เคร่งครัดกฎหมายอันดีงามของบ้านเมือง
ตัวละคร ท้าวเสียวสวาด เป็นบุคคลที่มีปฏิภาณไหวพริบ ฉลาด มีปัญญา แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดี เป็นอาจารย์สอนอำมาตย์ ราชปุโรหิต สอนชาวเมือง แท้แต่พระราชาก็สอน และเป็นที่ปรึกษาของพระราชาในการปกครองเมืองอีกด้วย
ต้นฉบับ เอกสารใบลานจารด้วยอักษรธรรม ๒๐ ผูก จากวัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปริวรรตและแต่งใหม่เป็นคากลอนโดย ปรีชา พิณทอง และขุนพรมประศาสน์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๐
เอกสารใบลานจารด้วยอักษรไทยน้อย ได้จากอุบาสิกาข้างวัดพระธาตุเชิงชุม จ. สกลนคร และ วัดอินทรนิมิต อ.เขาวง ปริวรรตโดยพระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ปี พ.ศ. ๒๕๒๓
เอกสารใบลานจารด้วยอักษรไทยน้อย ได้จากวันอินทรนิมิต อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ปริวรรต โดย เตชวโร ภิกขุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์บูราณ (กฎหมายเก่าของลาว) ต้นฉบับเดิมจารด้วยอักษรธรรม จำนวน ๔ ผูก จารเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ ปริวรรตโดยอรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและคณะ พิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องเสียวสวาดนอกจากให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลินแล้ว ยังมีคติ คือ เรื่องของความมีสติปัญญา หรือการใช้สติปัญญาให้ไปในทางที่ถูกต้อง ตัวละครเอกของเรื่องคือ ท้าวเสียวสวาด เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดมาก สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และทำให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต
แม่หมาจิ้งจองจึงไปหานางน้องสาว เมื่อนางเห็นแม่หมานางก็ดีใจวิ่งเข้ากอด อุ้มขึ้นสู่ปราสาท
และนางก็บอกกับพระราชาว่านางมีแม่เป็นสุนัข
เนื้อเฮื่อง
มีหมาจอกอยู่โตหนึ่งอยู่เทิงสวรรค์ เทวดาองค์หนึ่งสาบให้มาเป็นหมาจอกในโลก นางหมาจอกเหลียวเห็นเด็กน้อยรังแกหมา บาดนางสิคลอดลูกที่เป็นมารมาตั้งแต่อยู่เทิงสวรรค์ นางหมาจอกหนีไปอยู่ในถ่ำกะว่าจะออกลูก เมื่อออกมาลูกกลายเป็นคนทั้งสองเป็นผู้หญิงหน้าตาสวยงามนางหมาจอกจึงได้เลี้ยงอยู่ในป่านั้น หาแนวกินให้กิน หาเสื้อผ้าให้ใส่ จนลูกใหญ่เป็นสาวทั้งสองคน มื่อหนึ่งมีพระราชาจากกรุงพาราณสีเสด็จประภาทป่า พ่อสองคนนี้เล่นน้ำอยู่ เพิ่นกะเกิดหลงไหลในความงามของทั้งสองคนพระราชาจึงได้ฮับทั้งสองไปเป็นชายา ให้พี่สาวเป็นพระเหสีให้น้องสาวเป็นนางสนม หมาจอกกลับมาจากหาแนวกินกะบ่พ่อลูกสาวทั้งสองคนกะได้ออกนำหา นำดมกลิ่นไปทั่ว ส่วนลูกสาวผู้ใหญ่อยู่ในวังกะมีความสุข บ่คิอฮอดแม่เลย ส่วนลูกสาวหล่ากะคิดฮอดแต่แม่หมาว่าตอนนี้เพิ่นสิเป็นจั่งใด๋อยู่หม่องใด๋ มื่อหนึ่งแม่หมานำกลิ่นจนมาฮอดในวัง ลูกสาวใหญ่เปิดหน้าต่างเห็นแม่หมาจอกกะจำได้ กะฟ่าวปิดหน้าต่าง เพิ่นย่านว่าพระราชาสิฮู้ว่าเพิ่นมีแม่เป็นหมา แต่แม่หมากะแล่นเข้าไปหาลูกสาวจนได้ลูกสาวเห็นแม่หมากะสั่งให้คนไล่ออกไป แม่หมาจอกกะเลยไปหาลูกสาวหล่าเมื่อนางเห็นแม่นางกะดีใจแล่นเข้ากอด อุ้มขึ้นปราสาท แล้วนางกะบอกกับพระราชาว่านางมีแม่เป็นหมาจึงขออนุญาตเลี้ยงแม่ให้เทิ่งปราสาทนำ แต่เพราะว่านางเมื่อยที่นำหาลูกโดนนางหมาจอกกะได้สิ้นใจตาย เมื่อแม่เพิ่นตายเพิ่นกะขออนุญาตเก็บกระดูกแม่ไว้บูชา พระราชาก็อนุญาต เมื่อนางบูชากระดูกได้ ๗ มื่อ กระดูกกะกลายเป็นทองคำ เมื่อพระราชาฮู้เพิ่นกะได้ดำริว่าผู้เป็นน้องสาวเป็นผู้กตัญญูฮู้คุณมารดา แม่นว่าแม่สิเป็นหมากะบ่ขี้เดียด จนนางได้รับผลแห่งความดีมีเงินทองมากมาย พระราชาจึงได้ถามมเหสีผู้เป็นเอื้อยว่า นางยอมรับ พระราชดำริว่านางบ่ฮู้คุณผู้เลี้ยงมาเพิ่นเลยปลดออกจากการเป็นพระมเหสี และไล่ออกจากเมือง แล้วยกฐานะน้องสาวเป็นพระมเหสีแทน
ตัวละคร นางหมาจิ้งจอก หมาจิ้งจองที่มีบุญญาธิการ จึงถูกส่งมาเกิดยังมนุษยโลก
ลูกสาวคนโต เป็นหญิงที่ไม่รู้จักบุญคุณของแม่
ลูกสาวคนเล็ก เป็นหญิงที่มีจิตใจดี รักแม่ของตน แม้จะมีแม่เป็นหมาก็ตาม
ต้นฉบับ ในที่นี่คัดมาจากหนังสือ วรรณกรรมภาคอีสาน ของ ธวัช ปุณโณทก
จังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียง มีนิทานคติเรื่องหมาจิ้งจองกับลูกสาว ซึ่งมีแนวเรื่อคล้ายกับเรื่อง ศรีบัวทอง ที่ชาวลำปางเชื่อว่า ลานหินที่ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง มีรอยเท้าสุนัขในแผ่นหินจำนวนมาก เป็นที่อยู่อาศัยของสุนัขในเรื่องศรีบัวทอง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้คือ ความกตัญญูต่อบุพการีหรือผู้มีพระคุณ เป็นผลดีต่อผู้กระทำ ดังเช่นลูกคนเล็กที่มีความกตัญญูต่อแม่หมา บุญนี้ส่งผลให้นางได้เป็นมเหสีของพระราชา
อุสาเสียงสว่างสร้อย รัชนี
กลองกลั่นโลงทันที อ่านอ้อย
บารสเรียกมาลี เบงบาท ทุมเอย
ตรีโจกทูทุกถ้อย เถี่ยงก้องถามชัย
เนื้อเฮื่อง
พระเจ้ากรุงพานมีมเหสีและครองเมืองมาโดน แต่กะบ่มีโอรสหรือธิดาสืบสันติวงศ์ พระกรุงพานเพิ่นกะได้เฮ็ดพิธีขอโอรสต่อเทวดาทั้งหลาย เทื่อแรกกะบ่ได้ผล ในป่าเทิงเทือกเขานั่นกะมีฤๅษีตนหนึ่งบำเพ็ญชาญแก่กล้า มื่อหนึ่งฤๅษีเพิ่นอยากได้พระธิดา ก็ได้มีกุมารีมาเกิดในดอกบัวอยู่ในสระข้างอาศรมของเพิ่น ฤๅษีกะได้นำมาเลี้ยงเป็นลูกสาวบุญธรรมของเพิ่น ชื่อว่า “นางอุสา” บาดใหญ่นางอุสากะกลายเป็นผู้หญิงที่มีคิงงามหลาย ของความงามของนางอุสาพระธิดาฤๅษีกะเลืองลือไปฮอดกรุงพาน พระเจ้ากรุงพานกะได้เสด็จมาฮอดอาศรมของฤๅษีทันที และเห็นว่านางอุสามีศิริลักษณ์ลักษณะผู้มีบุญญาธิการ เพิ่นเลยขอนางอุสามาเป็นพระธิดาบุญธรรมของเพิ่น พระฤๅษีกะบ่ได้ขัดข้องอิหยัง กะยินยอมให้นางอุสามาอยู่ในวังของพระเจ้ากรุงพาน พระเจ้ากรุงพานกะได้จัดสนมนางกำนันมาคอยฮับใช้นางอุสาอย่างหลาย แล้วสร้างหอคำให้เป็นหม่องอยู่ เอิ่นว่า “หออุสา” นางอุสาเพิ่นกะมีความสุขอยู่กับเหล่านางสนม มื่อหนึ่งนางเสด็จประพาสสวนอุทยาน ไปพ่อลำธารที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา นางกะได้คึดว่าลำธารนี้คือสิไหลผ่านเมืองหลายเมือง นางกะเลยได้กรองมาลัยเฮ็ดเป็นกระทงลอยไปแล้วกะเสี่ยงทายหาเนื้อคู่ ขอให้กระทงลอยน้ำไปเมืองที่มีเนื้อคู้เจ้าของ แล้วดลใจให้ฮู้ความในใจของนางนำ
กล่าวเถิงเมืองพะโค มีโอรสชื่อว่า “บารส” ได้เติบใหญ่เป็นหนุ่มแต่ยังบ่มีพระชายา อยู่มา
มื่อหนึ่งเพิ่นกะได้ฝันว่ามีแก้วสว่างลอยมาจากฟ้า ลงมาใส่มือเพิ่น เพิ่นกะดีใจหลายกับแก้วดวงนี้ ตื่นขึ้นเพิ่นได้คึกหนักอุกอังใจแฮงเลยชวนอำมาตย์ไปเล่นน้ำ ในตอนนั้นเพิ่นกะเห็นกระทงตกแต่งกรองมาลัยอย่างงาม ท้าวบารสเพิ่นกะได้ไปเก็บกระทงนั้นแล้วซอมเบิ่งว่ากระทงนี้ผู้เฮ็ดคือเฮ็ดงามแท้ คือสิบ่แม่นฝีมือชาวบ้านธรรมดาเพิ่นกะซอมเบิ่งตั้งโดน กลิ่นไม้หอมจากกระทงกะเฮ็ดให้เพิ่นรัญจวนใจ อยากสิพ่อผู้เป็นเจ้าของกระทง ท้าวบารสเลยทูลลาพระราชาไปติดตามหาเจ้าของกระทงนี้ ท้าวบารสเพิ่นไปผู้เดียว ขี่ม้าไปลำพัง เทพเลยดลใจเพิ่นให้เข้ามาเมืองพาน ผูกม้าไว้อยู่คอก ปัจจุบันกลายเป็นหิน เอิ่นว่า “คอกม้าบารส” ท้าวบารสกะเข้าไปในเมือ ไปนำหานางในฝัน มื่อหนึ่งท้าวบารสหลงเข้าไปในอุทยานหลวงได้ยินเสียงเพลงลอยมาม่วนหลาย ท้าวบารสเลยนำหาเจ้าของเสียง แล้วกะพ่อนางอุสากำลังร้องเพลงอยู่ในสวนอุทยาน ทั้งสองพ่อกันกะได้มัก มีจิตสัมผัสกันและกันนำเทพบัลดาล ทั้งสองกะได้เว่าปราศรัยผูกไมตรีต่อกัน และนางอุสากะได้พาท้าวบารสไปเซี่ยงไว้อยู่หอคำ อยู่โดนมาข่าวลือเรื่องชายซู้ในตำหนักหอคำกะได้ฮอดหูพระเจ้ากรุงพาน พระเจ้ากรุงพานได้ให้ทหารไปจับโตท้าวบารสมาเข้าเฝ้า เพิ่นทรงเคียดอย่างหลายที่ท้าวบารถบังอาจบ่เกรงย่านพระราชอาญา เลยสั่งให้ประหารท้าวบารถโดยบ่ต้องไตร่สวนคดีความ ฝ้ายท้าวบารสเห็นแบบนั้นกะได้เว่าความจริงให้ฟัง พระเจ้ากรุงพานเลยส่งข่าวไปเมืองพะโค พระเจ้าเมืองพะโคเลยเห็นว่าสิเกิดสรงความใหญ่แท้ เลยยกทัพมาประชิดเมืองพาน แล้วต้อสู้กันโดยสงครามธรรมเพื่อสิบ่เป็นเวรกรรมต่อไปภายหน้า ในที่สุดทั้งสองเมืองกะพนันแข่งขันกันสร้างวัดให้เสร็จภายในคืนเดียว ทากพระเจ้ากรุงพานชนะสิยอมให้ประหารท้าวบารส หากท้าวบารสชนะพระเจ้ากรุงพานจะต้องยอมยกพระธิดาให้เป็นพระชายา วัดของพระเจ้ากรุงพานบ่เสร็จอันเป็นว่าท้าวบารสชนะและได้นางอุสาไปอภิเษกสมรสอยู่เมืองพระโค คือเมืองเวียงจันทร์สุมื่อนี้ วัดที่ทั้งสองสร้างแข่งกันยังมีซากโบราณสถานอยู่เทือกเขาภูพานน้อย อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี บ่ไกลจากหอนางอุสาเอิ้นว่า “วัดพ่อตา” และอีกวัดหนึ่งเอิ้นว่า “วัดลูกเขย” (ทั้งสองวัดเป็นโบราณสถานที่คนต่อเติมดัดแปลงจากหน้าผาธรรมชาติ มีพระพุทธรูปสลักรูปอยู่หน้าผาเป็นจำนวนหลาย มีอิฐโบราณแสดงให้เห็นว่ามีคนก่อสร้างเพิ่มเติม
ตัวละคร ท้าวบารส เป็นลูกกษัตริย์ที่มีความกล้าหาญชาญชัย
นางอุสา หญิงงามผู้มีความสามารถในการร้อยมาลัย ขับเพลง
ต้นฉบับ ในที่นี่คัดมาจากหนังสือ วรรณคดีภาคอีสาน ของ อ.ธวัช ปุณโณทก ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้นากรเรียนการสอนของภาคภาษาไทยและภาษาตะวันนออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี แสดงให้เห็นความเชื่อเรื่องกรรมเก่าที่ทำให้กลับมาพบกันอีกในชาตินี้ และเรื่องของบุพเพสันนิวาสก็เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องเวรกรรม คือตอนที่พระเจ้ากรุงพานขอธรรมสงครามธรรมกับเจ้าเมืองพะโค เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีใครเจ็บตาย และจะได้ไม่เป็นเวรเป็นกรรมต่อกัน ฉากหรือสถานที่ที่ปรากฏในเรื่องนี้ เป็นที่มาของสถานที่ในปัจจุบันหลายแห่ง เช่น คอกม้าบารส หอนางอุสา (ตั้งอยู่ที่ จ.อุดรธานี) วัดพ่อตา และ วัดลูกเขย และพระธาตุบัวบก ก็เป็นพระธาตุที่สำคัญของภาคอีสาน
ทศมาสถ้วนจวนมื้อแม่นยาม เลยประสูติลูกน้อยนามหน่อเป็นหญิง
โฉมพระนางคือดั่งอาชะนัยม้า ดูใบหน้าคือแนวม้ามิ่ง
แต่เป็นหญิงรูปโก้โตนั้นแม่นคน อันว่าตนโตนั้นคือคนเหมิดทุกบ่อน
หูตาคือดั่งม้าเป็นน่าหน่ายสะอาง…
เหตุที่นางคือม้าบิดาเลยใส่ชื่อ ชื่อว่าแก้วหน้าม้าปางนั้นต่อมา
เนื้อเฮื่อง
มีหญิงสาวผู้หนึ่งรูปร่างหน้าตาคือม้าคนทั่วไปเอิ่นนางว่าแก้วหน้าม้า นางอาศัยอยู่กับพ่อกับแม่อยู่นอกเมือง มาอาชีพเฮ็ดไฮ่เฮ็ดนาคือคนทั่วไป
มื่อหนึ่ง ท้าวปิ่นทองพระโอรสของพระยาภูวดลเจ้าเมืองมิถิลา ได้เฮ็ดพิธีปล่อยว่าวเลือกคู่ คือการเขียนจดหมายติดอยู่ว่าวแล้วปล่อยไป ถ้าว่าวขาดไปตกหม่องใดแล้วมีคนเก็บได้ถ้าเป็นแม่หญิงให้เอามาเป็นคู่ แต่ถ้าเป็นผู้เฒ่า เด็กน้อย หรือผู้ชายสิมีของมีค่าเป็นเครื่องตอบแทน ว่าวของท้าวปิ่นทองได้ไปตกอยู่บ้านของนางแก้วหน้าม้าแล้วนางกะเก็บได้ ท้าวปิ่นทองก็ให้เสนาอำมาตย์นำหาไปเอาว่าวของท้าวปิ่นทองคืนเพราะว่าเพิ่นบ่มักนาง เพราะว่าหน้าตาฮูปลักษณ์บ่งาม ขี่ฮ่าย แต่นางกะบ่ยอมคืน ท้าวปิ่นทองเลยจำใจพานางเข้าเมืองไปนำ แต่บ่ยอมนอนกับนางคือจั่งผัวเมียเพราะนางบ่งาม และทุกคนที่อยู่ในเมืองกะพากันซังนางเบิด
ต่อมาท้าวปิ่นทองกับเสนาอำมาตย์ได้พากันแกล้งนางให้นายหนีออกจากเมืองหรือตายไปกะได้ จั่งใช้ให้นางไปเอายาสมุนไพรในป่าเขา นางแก้วหน้าม้ากะไปเอามาได้ ต่อมาอีก ท้าวปิ่นทองกับเสนาอำมาตย์กะแกล้งนางด้วยเหตุอื่นๆอีกแต่กะบ่มีอิหยังแกล้งนางได้จึงจะส่งท้าวปิ่นทองไปอยู่เมืองอื่นโดยการส่งท้าวปิ่นทองไปแต่งงานกับธิดาเมืองอื่น ก่อนไปท้าวปิ่นทองสั่งนางแก้วหน้าม้าไว้ว่า “ในตอนที่ท้าวปิ่นทองบ่อยู่ให้เจ้ามีลูกให้ได้” สั่งเสร็จท้าวปิ่นทองกะลงเรือเดือนทางไป นางแก้วหน้าม้าจึงไปดักถ่าข้างหน้า แล้วได้ถอดหน้าม้าออกกลายเป็นแม่หญิงคิงงามราวนางฟ้า บาดท้าวปิ่นทองมาเห็นเข้ากะจำบ่ได้ กะตกหลุมรักนาง ท้าวปิ่นทองได้อยู่กินกับนางหลายมื่อจั่งเดินทางต่อไป ส่วนนางแก้วหน้าม้ากะกลับไปอยู่ในเมืองตามเก่า
กล่าวเถิงท้าวปิ่นทองเมื่อเพิ่นไปอยู่เมืองอื่น กะได้ธิดาของเจ้าเมืองนั้นเป็นเมีย อยู่ต่อมากะเกิดคิดฮอดบ้านเมืองเจ้าของจึงลากลับบ้าน ระหว่างเดินทางท้าวปิ่นทองได้พ่อกับยักษ์จึงได้รบกัน ท้าวปิ่นทองคือจั่งสิแพ้ พอนางแก้วหน้าม้าฮู้ว่าท้าวปิ่นทองกำลังตกอยู่ในอันตรายนางกะปลอมโตเป็นผู้ชายไปซ่อยรบจนชนะแล้วฟ่าวกลับเข้าเมือง เมื่อท้าวปิ่นทองมาฮอดเมืองก็ยังซังนางแก้วหน้าม้าอยู่คือเก่า แฮงฮู้ว่านางท้องกะหาว่านางมีชู้ ถึงนางสิเว่าเรื่องราวให้ฟังจังใด๋กะบ่ยอมฟัง เพราะบ่เชื่อว่าสิเป็นไปได้
อยู่มากะได้มียักษ์มาท้ารบ ท้าวปิ่นทองออกไปรบแพ้ยักษ์กลับเข้าเมืองมาหาคนที่เก่งกล้าสามารถที่สิออกไปรบกะบ่มีไผ๋อาสา แล้วนางแก้วหน้าม้ากะออกอาสาแทนแล้วนางกะไปรบชนะ ทุกคนในเมืองจั่งยอมรับนาง ยิ่งเมื่อนางถอดหน้าม้าออกก็กลายเป็นแม่หญิงที่สวยงามหยาดฟ้าท้าวปิ่นทองจึงฮับเอานางเป็นมเหสี แล้วทั้งสองกะอยู่ครองเมืองอย่างมีความสุข
ตัวละคร ท้าวปิ่นทอง เป็นโอรสที่ไม่เก่ง ขี้ขลาด ไม่กล้าหาญ และมองคนเพียงรูปร่างภายนอก
นางแก้วหน้าม้า เป็นสาวชาวบ้าน ถึงแม้หน้าตานางจะเหมือนม้า แต่นางมีจิตใจงดงาม ฉลาด มีความสามารถมาก และกล้าหาญเยี่ยงชายแท้
ต้นฉบับ หนังสือรวมนิทานอีสาน ชุดที่ ๓ รวบรวมโดย อ. กวีวงศ์ พิมพ์และเผยแพร่โดยโรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องแก้วหน้าม้าให้คติคล้ายเรื่องท้าวก่ำกาดำ คือ คือมนุษย์ไม่ยอมรับความสามารถ ความดีงาม ที่แฝงอยู่ในรูปกายที่อัปลักษณ์ ทั้งที่นางแก้วหน้าม้าเป็นคนดี จิตใจดี มีความสามารถ แต่ท้าวปิ่นทองและผู้คนในเมืองต่างก็รังเกียจนาง แต่เมื่อนางกลายร่างเป็นสาวงามกลับยกย่องสรรเสริญให้เป็นมเหสี
…ก็หากทรงครรภ์น้อยจวนถ้วนแก่เดือน จึงประสูติลูกน้อยนามหน่อกุมาร เป็นหมาหยุยรูปงามปานแต้ม เขาก็สวา ๆ ท้วงดาสนั่นทั้งเมือง สังว่าแนวนามคนเกิดมาเป็นหมาน้อย เฮาก็เกิดแต่น้อยจนใหญ่กายชาวนี้แล้ว
เนื้อเฮื่อง
มีเมืองกว้างใหญ่นครใหญ่ไพศาลนามว่า “กุศาวดี” ราชาผู้นั่งเมืองนามว่า ท้าวจันไต มีพระมเหสี ๒ องค์ ต่อมามเหสีฝ่ายขวาตั้งครรภ์ประสูติโอรสออกมาผู้หนึ่ง แต่ว่าด้วยบุญนำกรรมแต่งโอรสนั้นมีลักษณะผิดแผกแปลกตากว่าคนในด้าว มีรูปร่างเป็นหมางามขนดกปุกปุย จึงได้พระนามว่า ท้าวหมาหยุย
ชาวเมืองเห็นจั่งสั้น กะพากันเห็นว่าเป็นแนวบ่ดี ผิดฮีตผิดคอง ลูกคนกะต้องคือคน แต่เกิดมาเป็นหมา เป็นกาลีบ้านกาลีเมือง สิเฮ็ดให้บ้านเมืองมีเหตุเภทภัยเดือดร้อนกันไปทั่ว
เรื่องนี้ได้ยินไปฮอดหูของท้าวจันไต ท้าวจันไตเคียดหลาย รับสั่งให้ไล่ท้าวหมาหยุยหนีออกจากเมืองไป ท้าวหมาหยุยได้ยินรับสั่ง จั่งได้เข้าไปกราบขออดโทษที่เกิดมาเป็นหมาในชาตินี้ ถือว่าเป็นบาปเป็นกรรมคักพอแล้ว พ่ออย่าซ้ำเติมลูกเถาะ ขออย่าได้เนรเทศลูกให้ไปอยู่ผู้เดียวหม่องอื่นเถาะ ขอให้บิดาเลี้ยงไว้ก่อน ฝ่ายท้าวจันไตพอได้ยินหมาหยุยที่เป็นหมา ที่เว้าความคนได้กะคิดลิโตน พระทัยอ่อนอดโทษให้ท้าวหมาหยุย เซาไล่ท้าวหมาหยุย เลี้ยงท้าวหมาหยุยไว้ในเมืองต่อไป
ต่อมา พระมารดาท้าวหมาหยุยมีท้องอีก เทื่อนี้ออกลูกเป็นชาย สิริโฉมสง่างาม ถือธนูอาวุธคู่คีงออกมาพร้อม เป็นนิมติหมายบอกให้ฮู้ว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิด ท้าวจันไต ฮักแพงพระโอรสองค์นี้หลาย พระราชาตั้งใจว่าสิยกราชสมบัติให้โอรสผู้นี้ครอบครองต่อไป แล้วกะได้ตั้งพระนามให้ว่า ท้าวจันทร์ ย้อนว่า โอรสเกิดยามจันทรคลาสพอดี ต่อมาพระมเหสีตั้งท้อง ได้พระธิดาออกมาอีกองค์หนึ่ง พระมารดาของท้าวหมาหยุยและท้าวจันทร์ ได้สวรรคตหลังจากออกพระธิดาได้แค่ ๗ มื้อ ทั้งสามกะเลยกลายเป็นลูกกำพร้าแม่
มื้อหนึ่งมเหสีฝ่ายซ้ายได้ชวนท้าวจันทร์น้องชายของท้าวหมาหยุยไปเที่ยวเล่นอยู่ อุทยานหลวง แล้วกะผลักท้าวจันทร์ลงเขา แต่ท้าวจันทร์ค้างอยู่เครือไม้ ฝ่ายท้าวหมาหยุยแนมบ่เห็นน้องชาย จั่งได้ออกนำหาจนพ่อแล้วกะได้ซ่อยน้องชายออกมาจากเครือไม้ สองคนพี่น้องเห็นว่ามีคนคิดบ่ดีสิเฮ็ดอันตราย พากันหนีออกจากเมือง จนไปพ่อพระฤๅษีอยู่ป่าหิมพานต์ ขอฝากโตเป็นศิษย์เรียนวิชากับพระฤๅษีองค์นั้น
ต่อมา เมืองกุศาวดีมียักษ์มากินคน สั่งให้พระราชาหาคนให้มื้อละ ๑๐๐ คน จนมาฮอดสิกินลูกสาวหล่าพระราชาน้องสาวของท้าวหมาหยุย พระฤๅษีฮู้เรื่องด้วยฌาณ บอกท้าวหมาหยุยกับท้าวจันทร์ ท้าวหมาหยุยเหาะมาเร็วกับยักษ์ สามารถปราบยักษ์ได้ แล้วเอาน้ำเต้ามาชุบคนทั้งหลายที่ยักษ์กินจนฟื้นคืนมา คนทั้งหลายกะพร้อมใจกันขอร้องให้พระราชาเชิญท้าวหมาหยุยขึ้นนั่งเมืองแทน
ตัวละคร ท้าวหมาหยุย ถึงแม้จะรูปร่างหน้าตาไม่ได้ แต่เป็นผู้ที่มีจิตใจดี และความสามารถมาก
พระราชาจันไต มองคนที่รูปร่างภายนอก หูเบาเชื่อคนง่าย
ต้นฉบับ ท้าวหมาหยุย คำกลอนอีสาน เรียบเรียงโดน จินดา ดวงใจ พิมพ์ที่โรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
ต้นฉบับอักษรธรรม ๕ ผูก อยู่ที่วัดหนองเป็ด ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ. อุบลราชธานี
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องท้าวหมาหยุย ให้คติคล้ายเรื่องแก้วหน้าม้าและเรื่องท้าวก่ำกาดำ คือให้คติเรื่องการมองคน ว่าอย่ามองคนเพียงแค่รูปร่างหน้าตาภายนอก ควรมองให้ลึกลงไปถึงข้างในจริง ๆ ที่บุคคลนั้นเป็น
บัดนี้ จักกล่าวก้ำเถิงนางนาถเมียหลวงก่อนแหล่ว นับแต่ผัวใจพาลถีบนางลงน้ำ นางก็มารณเมี้ยนตายไปดับชาติก่อน ซิมรมิ่งเมี้ยนใจเจ้าฮ่ำคนิง นางก็คิดลูกน้อยคอยอยู่ทางเฮือน คิดอยากเอาปลาไปฝากอวนนางเอื้อย เจตสิดเจ้าคนิงเถิงปลาบู่ มรณาตเมี้ยนตายแล้วบ่ลืม นางนาถน้อยเลยเกิดเป็นปลา อาศัยคลองแม่นัททีวังน้ำ เป็นแต่สมภารยู้บุญนางปางก่อน เคยได้ก่อสร้างทำไว้แต่หลัง
เนื้อเฮื่อง
ณ หมู่บ้านหม่องหนึ่งมีเศรษฐีชื่อว่า ทารก มีเมียอยู่สองคน ชื่อ ขนิษฐาและขนิษฐี นางขนิษฐาเป็นเมียคนแรก มีลูกสาวชื่อว่า นางเอื้อย นางขนิษฐีเป็นเมียคนรอง เป็นคนที่ฮ่ายแฮง มีลูกสาวสองคน ชื่อว่า นางอ้ายกับนางอี่
นางอ้ายกับนางเอื้อยเป็นลูกคนละแม่ แต่ว่าพ่อเดียวกัน กะเลยเฮ็ดให้หน้าตาคือกันแฮงจนเป็นเหตุให้เกิดภัยฮ่ายในอนาคต
มื่อหนึ่ง นางขนิษฐากับเศรษฐีทารกได้ออกเฮือไปหาปลานำกัน แล้วอากาศฮ้อนอบอ้าว กว่าสิได้ปลากะแสนยากลำบาก จนกระทั่งเศรษฐีทารกได้ปลาบู่โตหนึ่ง นางขนิษฐาจั่งลักปล่อยลงน้ำ เศรษฐีทารกเคียดหลาย คว้าไม้พายได้จับฟาดเมียเจ้าของตกลงน้ำตาย นางขนิษฐีฮู้เพิ่นแฮงดีใจเพราะว่าผัวสิฮักเพิ่นผู้เดียว
พอแม่นางเอื้อยตายนางขนิษฐีกะได้แกล้งนางเอื้อยสารพัด ต่างๆนาๆ จนกระทั่งนางขนิษฐากลับชาติมาเกิดเป็นปลาบู่ทอง นางเอื้อยกะดีใจอย่างหลายเมื่อฮู้ว่าปลาบู่โตนั่นเป็นแม่เจ้าของ จากที่เคยโศกเศร้ากะยิ้มตลอดเวลา อารมณ์ดี เพราะว่าคิดฮอดแม่แล้วกะมาหาแม่อยู่ท่าน้ำสุมื่อ เป็นเวลาหลายอาทิตย์ที่เอื้อยมาหา มาเว่า มาคุย ไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบอยู่ทุกมื่อ จนอ้ายกับอี่จับได้จั่งได้แอบจับปลาบู่ทองให้นางขนิษฐาฆ่าแกงให้ผัวกิน เหลือไว้แต่เกล็ดสีทองที่เป็ดโตหนึ่งคาบมาให้
นางเอื้อยกะได้เอาเกล็ดปลาไปฝัง เกล็ดปลาบู่กะได้กลายเป็นต้นบักเขือ นางเอื้อยกะดีใจแล้วกะมาหาแม่ทุกมื่อ จนอ้ายกับอี่จับได้อีก กะมาทำลายกกบักเขือตายอีก นางเอื้อยกะได้เอาเม็ดบักเขือไปฝั่งอีกแล้วเกิดเป็นต้นโพธิ์ทองที่งามและบ่มีผู้ใด๋กล้าเฮ็ดแม่เอื้อยอีก
มื่อหนึ่งท้าวพรหมทัตได้เสด็จประพาสหมู่บ้านของนางเอื้อย ได้พ่อเอื้อยกับต้นโพธิ์ทองกะทรงพอพระทัย และได้ขออนุญาตครอบครัวของเอื้อย ขอเอื้อยไปเป็นมเหสีอยู่ในวัง พร้อมกับต้นโพธิ์ทอง ได้สร้างความบ่พอใจให้กับอ้าย อี่ แล้วกะนางขนิษฐีอย่างหลาย
บาดเศรษฐีบ่อยู่หลายเดือน นางขนิษฐีกะคิดแผนกำจัดนางเอยโดยให้นางเอื้อยกลับเฮือนมาเบิ่งพ่อที่ป่วยที่ใกล้สิตายแล้ว นางเอื้อยหลงเซื่อกะตามมาบ้าน นางอี่ได้เตรียมกับดักไว้ให้นางเอยย่างขึ้นบ้านแล้วตกกระทะน้ำฮ้อนตายใต้ล่างเฮียน นางเอื้อยมาฮอดด้วยความฟ่าวกะตกกระทะน้ำฮ้อนตาย นางอ้ายที่หน้าตาคล้ายนางเอื้อยเลยปลอมโตเข้าไปในวังแทนนางเอื้อย เฮ็ดโตในวังบ่ถืก มาลัยกะบ่เคยฮ้อยถวายท้าวพรหมทัตคือเก่า คนในวังกะเลยสงสัยแล้วกะแปลกใจ
ต่อมานางเอื้อยได้เกิดเป็นนกแขกเต้า บินไปทาท้าวพรหมทัต นางอ้ายจับได้กะเอาไปให้แม่แกงให้กิน แต่นกนั่นบินไปลี่อยู่ฮูหนูแล้วบินไปเพิ่งใบบุญพระฤๅษี เพิ่นกะได้แปลงโฉมชุบโตให้กลายเป็นนางเอื้อยคือเก่าแล้วชุบลูกให้นางเอยเลี้ยงพร้อม ลูกนางเอื้อยกะได้ส่อเกี่ยวกับพ่อของเจ้าของเอื้อยกะเล่าให้ฟังว่า อ้ายเพิ่นปลอมตนเป็นแม่แล้วไปสวมฮอยแทนแม่ ลูกนางเอื้อยแค้นเลยได้ลักไปหาท้าวพรหมทัตในวัง แล้วทูลความจริงให้ท้าวพรหมทัตฮู้ ท้าวพรหมทัตเลยได้ฮับโตเอื้อยเข้ามาอยู่ในวัง อ้ายฮู้ว่าเอื้อยกลับมาแล้วบ่ฮู้สิเฮ็ดจั่งใด๋กะเลยชิงฆ่าโตตายก่อน แต่ที่จริงเอื้อยเพิ่นกะทูลขอชีวิตอ้ายกับท้าวพรหมทัตไว้แล้ว ต่อมาเมืองพาราณสีกะอยู่อย่างเป็นสุขเรื่อยมา
ตัวละคร นางขนิษฐา เป็นคนดี มีบุญบารมี เมื่อตายไปแล้วก็เกิดมาเป็นปลา และด้วยบุญญาธิการทำให้นางระลึกชาติได้
นางเอื้อย เป็นหญิงที่หน้าตางดงาม มีอุปนิสัยเหมือนแม่ คือมีจิตใจดี
นางขนิษฐี ขี้อิจฉาริษยา ใจคอโหดร้าย
นางอ้าย รูปร่างหน้าตางดงามคล้ายนางเอื้อย แต่อุปนิสัยเหมือนแม่ คือ ขี้อิจฉา และชอบทำร้ายนางเอื้อย
ต้นฉบับ หนังสือ ปลาบู่ทอง คำกลอนภาคอีสาน เรียบเรียงโดย กัมพล สมรัตน์ พิมพ์ที่โรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องปลาบู่ทอง ให้คติหลายเรื่อง เช่น การคิดดี ทำดี ต้องได้ดี เหมือนที่นางเอื้อยเป็นคนดี รักและกตัญญูต่อผู้เป็นมารดา และวันหนึ่งพระราชาเดินทางมาพบเข้า จึงได้รับนางเข้าเป็นมเหสีในเมือง การให้อภัยซึ่งกันและกันทำให้จิตใจเราเป็นสุข อย่าอิจฉาริษยาคนที่ได้ดีกว่า อย่างตัวละครนางขนิษฐีกับนางอ้าย เป็นตัวอย่างของตัวละครที่ไม่ดี ไม่ควรถือเอาเป็นแบบอย่าง การอดทนอดกลั้น แม้จะถูกกลั่นแกล้งอย่างไร ก็ควรจะอดทนไม่ตอบโต้เขาไป ควรมีความกตัญญู ความเชื่อเรื่องกรรมแต่ชาติปางก่อน ดังที่นางขนิษฐามาเกิดเป็นปลาในชาตินี้ ก็เป็นเพราะกรรมที่นางได้ทำไว้ แต่ด้วยความที่นางมีบุญบารมีจึงทำให้นางสามารถระลึกชาติได้ และได้กลับมาอยู่กับลูกสาวอันเป็นที่รักของนาง
ของกินบ่ฮ่อนจับจ่ายซื้อ ขายแลกเงินคำ
มีแต่ขอกันกิน ฮ่อนแพงหวงไว้
เฮือนไกไก้ ก็คือดังเฮือนเดียว
เที่ยวไปกินของกัน โลดบ่มีความเว้า
เจ้าเลี้ยงข่อย ข่อยเลี้ยงเจ้า
แลงงาย กินกันไขว่
เนื้อเฮื่อง
เรื่องพื้นเมืองอุบลเป็นการเล่าหาประวัติของการอพยพกลุ่มพระวอ – พระตา ที่ย้ายมาจากวังเวียงฮอดการก่อตั้งเมืองอุบลในหม่องที่เป็นเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันนี้ เชื้อสายของคนที่อพยพมาก่อตั้งเมืองอุบล เพิ่นมาจากบ้านหินโงม อยู่เวียงจันทร์ โดยมีพระตาเป็นหัวหน้า พระตาเป็นผู้มีอำนาจหลายปกครองบริวารจำนวนหนึ่ง พระตามีลูกซายอยู่สามคน คือ ท้าววอ ท้าวคำผง ท้าวพรม กษัตริย์เวียงจันทร์ได้ตั้งท้าววอเป็นพระวอ เป็นนายกองคุมกองนอก บาดกษัตริย์เวียงจันทร์เพิ่นสวรรคตกษัตริย์องค์ใหม่กะได้ข่มเหงลูกสาวของพระตา พระตาบ่พอใจ กะได้พาไพร่พลลอบอพยพหนีจากเวียงจันทร์ โดยมีไพร่พลเป็นครัวเฮือนสามหมื่นกว่าๆ แล้วเป็นทหารอีกสี่พันคน เพิ่นกะได้แบ่งเป็นสามกอง คือ หลวงราชโภชนัย เป็นกองหน้ากำลังคนหมื่นเศษ ท้าวนาม เป็นกองกำลังคนหมื่นเศษ และ พระตา พระวอ เป็นกองกลาง และมีท้าวชม ท้าวสูน เป็นกองสอดแนม
บาดเดินทางได้เดือนหนึ่งฮอดหนองบัวลำภู โดยกองของพระตาอยู่ใกล้กับภูวง หลวงราชโภชนัย ตั้งอยู่หม่องบ้านผ้าขาวพรรณนาใกล้กับลำน้ำสงคราม ท้าวนามไปตั้งอยู่หม่องภูเวียง กษัตริย์เวียงจันทร์กะได้ยกทัพมาประมานหมื่นคนมาปราบโดยให้เมืองแสนกับเมืองจันเป็นแม่ทัพมาตั้งพักอยู่หม่องหนองคายในปัจจุบัน กองสอดแนมฝ่ายพระตากะได้รายงานให้พระตาฮู้ กองทหารเวียงจันทร์กะเลยถืกซุ่มโจมตีอย่างยับเยิน กองทัพเวียงจันทร์เสียทหารประมาณ ๕๐๐ คน ฝ่ายพระตาได้อาวุธ ช้าง ม้า ทรัพย์สินอันมากหลาย ในวันเสาร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ทัพเวียงจันทร์กะได้ยกทัพมาตีอยู่หนองบัวลำภูแต่กะแพ้กลับไป พระวอซนซ้างฆ่าอุปราชเวียงจันทร์ตาย พระตาได้ตั้งบ้านเมืองอยู่หนองบัวลำภู ๗ ปี ต่อมากษัตริย์เวียงจันทร์ได้ขอความฮ่วมมือกับเมืองเชียงใหม่ขอกองทัพมาซ่อยปราบพระตา กษัตริย์เชียงใหม่ยกทัพมาซ่อยรบ พระตากะเลยได้พาบริวารมาตั้งเมืองอยู่หม่องร้อยเอ็ดในปัจจุบัน รบกันตั้งแต่เดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ วันจันทร์จนฮอดเดือน ๓ วันเพ็ญจึงลาถอย แต่สูนเสียคนบ่หลาย เพราะรบไปถอยไป พระตาเดินทางไปจากร้อยเอ็ดอีก ๔ เดือน กะฮอดเมืองจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์บ่อยากให้อยู่เพราะว่าย่านสิเป็นชักศึกเข้าบ้าน ได้มาตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำพลึง คือบ้านดู่ บ้านแก ตั้งอยู่บริเวณนี้อีก ๑๐ ปี เจ้านามตั้งอยู่พรรณนาผ้าขาวร้อยเอ็ด กษัตริย์เวียงจันทร์ยกกองทัพเรือมีกำลังพลประมาณสองหมื่น รบกันตั้งแต่เดือน ๔ ฮอดเดือน ๕ ข้างแรม รบอยู่สองเดือนกะบ่แพ้ชนะแก่กัน พระวอขี่ม้าออกมารบอย่างกล้าหาญต่อสู้ฆ่าคนตายไปประมาณพันคน แล้วพระวอกะขาดใจตายในหม่องรบเพราะว่าเมื่อยและบอบช้ำจากการรบ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรม ได้ซ่อยกันฮักษาเมืองให้มั่นคงไว้ พระตาได้มีสาส์นมาทูลบอกพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินจึงส่งทัพมาซ่อย รบกันตั้งแต่เดือน ๔ ฮอดเดือน ๘ วันจันทร์ ขั้น ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง กษัตริย์จำปาศักดิ์ออกมาอ่อนน้อมส่งส่วยต่อฝ่ายไทย ท้าวคำผงได้เป็นแม่ทัพยกไปตีเวียงจันทร์ฮ่วมกับทัพไทยลาวในอีสาน เวียงจันทร์ หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ได้ขึ้นต่อไทย ตั้งแต่นั้นมาพระไทยกะได้นำเอาพระแก้วมรกต และนางเขียวค่อมราชธิดาเวียงจันทร์กลับไทย พระตาเพิ่นได้สิ้นชีวิตตอนเพิ่นอายุ ๗๘ ปี สอนให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติตนตามประเพณี และมีหลักการปกครองแทรกอยู่นำ และสั่งให้อาศัยหม่องใกล้ๆแม่น้ำมูล พระตาสิ้นในวันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ และในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เฮ็ดศพกลางท่งใหญ่ จัดตั้งวางศพเทิงเมรุนกหัสดีลิงค์สมโภชศพ ๗ มือ ๗ คืน และก่อพระธาตุพระวอพระตาไว้นอกเมือง
ตัวละคร –
ต้นฉบับ พื้นเมืองอุบล ; ข้อวินิจฉัยบางประการและภาพสะท้อน เรียบเรียงโดย อรรถ นันทจักร์ สนับสนุนโดย กลุ่มผู้สนใจอีสานคดีศึกษายโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศูนย์วัฒนธรรมอีสานอำนาจเจริญ
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องพื้นเมืองอุบลเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ เล่าถึงการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี จากการเคลื่อนย้ายพลกลุ่มพระวอ – พระตา จากเมืองลาว ในเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต การสร้างเมือง การสร้างครอบครัว ความสามัคคีกันของคนในกลุ่ม และการทำสงครามที่ต้องอาศัยยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่แยบยล เพื่อให้ได้ชัยชนะ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิต การปกครอง หรือกระทั่งการทำสงคราม
ลาวนั้น หักแต่ค่าย มูลเค้งจึ่งมา แท้แล้ว
เขาก็คองว่า ไทยเดียวแท้ เวียงจันทน์ก้ำฝ่าย ตนนั้น
ก็จึ่ง ตามไต่เต้า ทางแท้ด่วนคือ หั้นแล้ว ฯ
เนื้อเฮื่อง
จักกล่าวเถิงเมืองเวียงจันทร์ มีกษัตริย์ซื่อว่าพระอนุรุทธาธิราชเจ้า (พระเจ้าอนุวงศ์) มีมเหสีฝ่ายขวาซื่อคำปอง มเหสีฝ่ายซ้ายซื่อคำจันทร์ มีพระธาตุพนมเป็นหม่องยึดเหนี่ยวจิตใจของซาวลาว ต่อมาได้เกิดพายุแผ่นดินแยกแล้วเกิดฟ้าผ่าพระธาตุพนมอันเป็นหม่องสักการะกราบไหว้บูซาได้พังพินาศลง ซ่างเป็นลางฮ่ายของบ้านเมืองมาฮอด หลวงบกบัตรเมืองโคราชขออนุญาตราชสำนักสยามเพื่อขอปราบ ไล่ พวกข่าอยู่ดอนโขงบ้านด่าน บาดได้ฮับพระบรมราชานุญาต หลวงยกบัตรกะได้ออกมาขูดฮีดซาวบ้านซาวเมือง ยกทัพไปโจมตีซาวพื้นเมือง คนล้มตายเป็นจำนวนหลาย
พระยาไกรเจ้าเมืองภูขันบ่ยอมอ่อนต่อเมืองโคราชกะได้ฮ้องมายังสำนักสยาม ราชสำนักสยามกะได้ส่งคุณมหาอมาตย์ขึ้นไปไต่สวนความ บ่พ่อกับหลวงยกบัตรเมืองโคราชกะได้พ่อคำเว่าเพ็ดทูลแล้วได้ฮับสินบน คุณมหาอามาตย์กะเดินทางต่อเพราะสิไปราบงานต่อราชสำนัก พระยาไกรกะได้ฮ้องไปอีก คุณมหาอามาตย์กะได้เดินทางไปอีกคือเก่า หลวงยกบัตรเพิ่นกะได้จัดแต่งเครื่องบรรณาการข้าทาสถวายราชสำนักนำ หลวงยกบัตรได้ฮับแต่งตั้งให้เป็นพระยาพรหมภักดีแล้วสัญญาว่าพอเจาเมื่องโคราชฮอดแกกรรมแล้วสิให้พรหมพระยาภักดีขึ้นครองเมืองแทน พระยาพรหมภักดีเพิ่นได้เป็นคนโปรดของราชสำนักสยาม ได้กดขี่ขูดฮีดซาวเมืองหลายขึ้นในที่สุดซาวเมืองที่มีซาวข่ารวมอยู่นำ มีหัวหน้าคือเจ้าหัวสาตั้งอยู่หม่องเขาเก็ดโง่ง บ้านหนองบัว แขวงจำปาศักดิ์ มีพวกข่าจำนวนหลายขึ้นมาเผาเมืองจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์หนีไปหาพระพรหม พระอนุรุธาธิราชเจ้าเมืองเวียงจันทร์กะได้ออกมาปราบแล้วจับเจ้าหัวสาได้ บาดได้สอบสวนเจ้าหัวสากะสารภาพว่าพระยาพรหมภักดีเป็นผู้ยุแหย่ แต่พระยาพรหมภักดีเพิ่นกะว่าบ่ได้เฮ็ด
จากเหตุดั่งกล่าวเฮ็ดให้ทั้งสองขัดแย้งกันหลายกว่าเกิดจากการสอบสวนแม่ว่าพระยาพรหมภักดีสิมีความผิดแต่กะทรงเป็นว่ามีคุณต่อแผ่นดินกะยกความผิดให้ พระอนุรุทธาธิราชทูลขอให้ราชบุตรของพระองค์ครองเมืองจำปาศักดิ์กะทรงอนุญาต พระยาพรหมภักดีกะเห็นว่าพระยาอนุรุทธาธิราชสิมีอำนาจขึ้นสุมื่อ พวกลาวสิกลับไปวังเวียงได้เบิด ทางแก้กะคือสักเลกพวกลาวไว้ก่อน ทางราชสำนักสยามก็เห็นนำจั่งใดสั่งโปรดให้หมื่นภักดี หมื่นพิทักษ์ไปเป็นแม่กองสักเลกพวกลวงอยู่กาฬสิน ละคร เหมราษฐ์บังมุขอุบล ฯ
เจ้าเมืองโคราชถึงแก่อสัญกรรม พระยาพรหมภักดีได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให่เพิ่นได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน พญาพรหมภักดีเฮ็ดความเดือดฮ้อนให้กับซาวลาวและข่าหลายขึ้นสุมื่อ พระอนุรุทธาธิราชเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้ยกทัพมาเพื่อจับนายกองสักเลกแล้วกะได้กดขี่ราษฎรฆ่าเสีย แล้วหลายสิล้มอำนาจพระยาพรหมภักดีนำ
ในที่สุดทัพเวียงจันทน์กะได้ย่างทัพเข้าเมืองโคราช กรรมการเมืองกะยอมอ่อนน้อมให้ ทัพเวียงจันทน์กักคนไว้อยู่หม่องค่ายมูลเค็ง (ทุ่งสัมริด) อีกส่วนหนึ่งกะออกนำล่าพระยาพรหมภักดีโดยที่มีพระยาไกรเป็นหน้า พระยาพรหมภักดีได้ปลอมโตเป็นไพร่ลอบเข้ามาค่ายมูลเค็ง พระยาพรหมภักดีเพิ่นคึดว่าสิเซาการกวาดต้อนคนของทัพเวียงจันทร์ให้เป็นไปอย่างซ่าๆ แล้วได้รวมคนของเมืองกาฬสินธุ์ ละคร แปะ (บุรีรัมย์) ปัก (ปักธงชัย) ร้อยเอ็ด ในตอนที่ค่ายมูลเค็งก่อความบ่สงบ กะได้ฆ่าพวกทหารเวียงจันทร์ไปเกือบเบิด เจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ฮู้ข่าวกะทรงเคียดอย่างหลายแล้วจัดให้ถอยทัพ ฟ่าวยกไพร่พลกลับเวียงจันทร์ ฮู้ฮอดราชสำนักสยามกรุงเทพฯ ฮู้แค่ว่าเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏ จึงโปรดให้พระยามุนินทร์ เจ้าเมืองลือเดช (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อทัพทางกรุงเทพขึ้นไป ทัพลาวแพ้ยับเยินเจ้าเมืองเวียงจันทร์หนีไปฮอดแกว (ญวน) แต่ในที่สุดพระองค์ถือทัพไทยจับได้แล้วถือส่งโตไปกรุงเทพฯ ในที่สุดกะฮอดแก่ทิวงคต
ตัวละคร –
ต้นฉบับ พื้นเวียง (กลอน ๗) พงศาวดารเวียงจันทน์ สมัยพระเจ้าอรุรุทธาธิราช (พระเจ้าอนุวงศ์) สืบค้นโดย จารุบุตร เรืองสุวรรณ สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชอุปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
หอสมุดแห่งชาติท่าสุกรี กรุงเทพมหานคร มีต้นฉบับใบลายเขียนด้วยอักษรไทน้อย มีความยาว ๙๗ ลาน เจาะรูตรงกลางใช้เชือกสายสนองผูกร้อยไว้เป็นมัดรวมกัน เขียนบันทึกติดกันเป็นพืดไม่เว้นวรรค จดบันทึกไว้ทั้งสองด้าน คือด้านหน้าอ่อนและหน้าแก่
ต้นฉบับเอกสารเรื่องพื้นเวียง (ฉบับอักษรธรรมและอักษรไทยน้อย) ในภาคอีสานตามที่ศูนย์
ประสานงานการพระพุทธศาสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้สำรวจวรรณกรรมอีสานและขึ้นบัญชีไว้ เมื่อปี ๒๕๑๖ มีดังนี้
– พื้นเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดทุ่งสันติวัน ต.พะลาน อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
– เวียงจันทร์ อยู่ที่วัดป่าแซง ต.พะลาน อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
– พื้นเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดบ้านบุตร ต.นาคำใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
– พื้นเมืองเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดป่าสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
– เวียงจันทน์ อยู่ที่วัดศรีสะอาด ตงหนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม
– เวียงจันท์ อยู่ที่วัดสระแก้ว ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
– พื้นเมืองเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดดอนแก้วเชียงดา ต.สร้างค่อม อ.นากลาง จ.อุดรธานี
– พื้นเวียงจันทน์ อักษรธรรม ๕ ผูก อยู่ที่วัดป่าก้าว ต.โนนสมบูรณ์ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องพื้นเวียง เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็น รูแปบการทำศึกสงคราม รูปแบบการปกครอง และความสามารถในการปกครองบ้านเมืองของกษัตริย์สมัยก่อน ทั้งกษัตริย์ลาวและกษัตริย์ไทย
เมืองฟ้าแดดสูงยาง ซึ่งปัจจุบันยังคงทิ้งรุ่งรอยของความเจริญมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มแห่งประวัติศาสตร์ไว้ ณ บ้านเสมา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นเมืองลี้ลับ มาด้วยประวัติและตำนาน ชื่อเมืองนั้นฟังดูก็อาจจะใหญ่โตและรุ่งเรืองอยู่มาก หากสะภาพการเวลาอันผันแปรนั้นเอง ที่ทำให้นครแห่งนี้เหลือไว้เพียงความทรงจำในอดีตที่สืบสาวราวเรื่องเล่าสู่กันฟังมาจนบัดนี้ ด้วยความเชื่อ ความภูมิใจ ของชาวบ้านละแวกนั้น ซึ่งใครเล่าจะบอกได้ว่าเขาเหล่านั้นมิได้เป็นลูกหลาน พระยาฟ้าแดดสูงยาง
เนื้อเฮื่อง
เจ้าเมืองฟ้าแดดชื่อว่า “พระยาฟ้าแดด” มีมเหสีชื่อว่า “จันทาเทวี” มีราชธิดาที่มีหน้าตาและคิงงดงามชื่อ “นางหยาดฟ้า” พระยาแดดเพิ่นฮักแล้วกะแพงแฮง เพิ่นฮอดสร้างปราสาทกลางน้ำให้เป็นหม่องอยู่และบ่มีคนเข้าออก ปราสาทที่อยู่บริเวณซึ่งปัจจุบันเอิ้นว่า “โนนสาวเอ้” ต่อมาเจ้าเมืองเซียงโสมชื่อ “พระยาจันราช” เสด็จออกล่าเนื้อต่อไก่ในป่า ได้พ่อกวางทองเป็นเทวดาแปลงกายมา พระนาจันทราช กะได้พยายามนำกวางทองจนหลงกับไพร่พลที่นำเพิ่นมาและหลงเข้าไปในเมืองฟ้าแดด เมื่อเพิ่นได้ฮู้กิตศัพท์ความงดงามของนางหยาดฟ้ากะลอบเข้าไปพ่อนางฟ้าหยาดพระธิดากะได้ลักลอบเข้าไปพ่อนางฟ้าหยาด และสมสู่จนนางมีครรภ์ พระยาจันทราชก็ลานางกลับเมืองเชียงโสม เพื่อสิสู่ขอนางฟ้าหยาด เมื่อพระยาจันทราชกลับฮอดเมืองเชียงโสมกะส่งอำมาตย์ชื่อขุนเส็งกับขุนคนเป็นทูตถือสาส์นมาทูลขอนางฟ้าหยาด พระยาฟ้าแดดบ่ยอมยกนางให้ พระยาจันทรมีความเคียดเลยยกทัพมาล้อมแล้วได้ต่อสู้กัน ในที่สุดพระยาจันทราชกะเสียท่า
ถืกพระยาฟ้าแดดฟันเสียชีวิตเทิงคอซ้างในการเฮ็ดยุทธหัตถี นางฟ้าข่าวบาดได้ฮู้ข่าวกะเศร้าโศกเสียใจอย่างหลายจนเป็นลมเสียชีวิต พระยาฟ้าแดดได้สำนึกจึงจัดงานพระศพของพระธิดาและพระยาจันทราชและได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้สององค์ และให้พระยาธรรม น้องชายของพระยาจันทราชเป็นเจ้าเมืองครองเมืองเชียงโสมในฐานะเมืองขึ้น และให้ส่งบรรณาการให้เมืองฟ้าแดด พระยาธรรมยังคงเคียดแค้นพระยาฟ้าแดด จึงทำนุบำรุงบ้านเมืองแล้วร่วงไพร่พล เมื่อแข็งแรงพอกะยกทัพมาตีเมืองฟ้าแดด พระยาฟ้าแดดกะเฒ่าแฮงแล้วกะบ่สามารถต่อสู้ได้กะยอมอ่อนน้อมแก่เมืองเชียงโสมเมื่อทั้งสองเมืองรวมเป็นเมืองเดียวกันกะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฟ้าแดดสูงยาง
ตัวละคร –
ต้นฉบับ นิยายเมืองฟ้าแดดสูงยาง เรียบเรียงโดย ปิยพร ในหนังสือ เสมาเมืองฟ้าแดดสูงยาง เอกสารทางวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ เรียบเรียงโดย ถาวร ชุปวา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องฟ้าแดดสูงยาง เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องราวการสร้างเมืองกาฬสินธุ์ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ตามแบบอย่างของกษัตริย์สมัยโบราณ
เชิญน้องปากกล่าวเว้า พอน้อยท่อเม็ดงา แด่ถ้อน
คือดังเฮาตกกล้า ในนาน้ำเขิดขาด
ฝนบ่ตกราดกล้า นาซิแห้งเปล่าดาย น้องเอย
เนื้อเฮื่อง
มีนกจอกสองสองผัวเมียอยู่คู่หนึ่ง ได้ขออาศัยพระฤๅษีผู้เข้าฌานแก่กล้าเฮ็ดฮังอยู่เทิงหนวดเพิ่น เพิ่นกะได้อนุญาต
มื่อหนึ่งพ่อนกได้ออกไปหาเหื่อมาเลี้ยงแม่นกกับลูกน้อยปกติ พ่อนกไปหากินในเกสรดอกบัว บาดสวยแดดแฮงขึ้นกลีบดอกบัวกะหุบ พ่อนกบ่ทันฮู้สึกโตกะเลยติดอบู่ในดอกบัวนั้นบ่สามรถออกมาหาลูกหาเมียได้ พอแจ้งเช้าดอกบัวกะบานออกพ่อนกจึงสามารถบินออกมาได้ บาดกลับมาได้กะเกิดการเถียงกันกับแม่นกอย่างใหญ่โตย่อนเพิ่นคิดว่าพ่อนกไปติดกับนางนกโตอื่นจนลืมลูกลืมเมีย พ่อนกอธิบายจั่งใด๋แม่นกก็บ่ยอมเชื่อ ซ้ำเพิ่นยังสาบานว่าหากเพิ่นเว่าเท็จให้เพิ่นนั้นโตใหญ่ซ่ำพระฤๅษี นางแม่นกบาดเว่าว่าเชื่อบ่ได้เพราะฤๅษีเป็นคนบาป ฤๅษีได้ยินกะสะดุ้งจากณาน ฤๅษีเพิ่นเลยถามแม่นกว่าเป็นหยังเพิ่นคือเป็นคนบาป นางนกก็ตอบว่า พระฤๅษีเป็นคนบาปเพราะฤๅษีบ่มีบุตรชายสืบสกุลได้ ตายไปตกนรก (คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู) พอฤๅษีได้ยินแบบนั่นเพิ่นกะได้ไล่นางนก พ่อนก และลูกนกไปอยู่หม่องอื่น เพราะเพิ่นสิเซาบำเพ็ญตะบะ โกนหนวดเคราออก เพื่อขอไปมีชีวิตครอบครัวแบบคนอื่เขา นกสองผัวเมียจึงพาลูกไปอาศัยอยู่ในป่าเลา
อยู่มามื่อหนึ่ง ไฟไหม้ป่าเลาไกล้ๆฮังนกพ่อนกแม่นกสิพาลูกบินหนีแต่กะหนีบ่ทัน เลยให้คำมั่ยสัญญาว่าเพิ่นสิตายไปพร้อมๆกัน หากพ่อนกผิดสัญญาแม่นกนางอธิษฐานว่าเกิดชาติหร้าสอบ่ยอมเว่ากับพ่อชาย บ่ว่าสิเป็นผู้ใด๋กะตาม พอไฟลามมาฮอดพ่อนกเพิ่นทนความฮ้อนบ่ไหวเฮ็ดให้บินออกไปก่อนแต่กะบินบ่พ้น ทั้งแม่นก ลูกนก พ่อนกกะตายไปในกองไฟนำกัน
ภายหลังต่อมา พ่อนกกับแม่นกต่างพากันกลับชาติมเกิดเป็นมนุษย์ นางกระจอกเกิดเป็นลูกเจ้าเมืองกาสี ชื่อว่า นางจันทะจร เลามีคิงงดงาม มาหยาดฟ้า แต่ว่าบ่ยอมเว่าจากับพ่อชายเลย ฝ่ายพ่อนกกระจอกลาวกะเกิดมาเป็นชายหนุ่มรูปงาม เป็นลูกชายของเจ้าเมืองหนึ่ง เพิ่นมีนามว่า ท้าววรกิต
บาดเพิ่นใหญ่เป็นบ่าว เพิ่นกะได้ยินกิตติศัพท์ความงามของนางจันมะจรจึงมาหา พระราชบิดาของนางจันทะจรได้ป่าวฮ้องว่าให้ผู้มีวิชาดีมารักษาโรคที่นางบ่ยอมเว่ากับผู้ชาย ถ้าชายใด๋สามารถเฮ็ดให้นางเว่านำได้สิยอมยกให้เป็นคู่ครองนำ
ท้าววรกิตได้ฮู้ข่าวพระธิดาจันทะจรและรู้ด้วยณานเมื่อปางหลังว่า พระธิดาจันทะจรคือนางนะกระจอกที่เป็นเมียของเพิ่นในชาติปางก่อน จึงไปเรียนวิชาเวทมนต์กับพระฤๅษีจนเรียนวิชาถอดดวงใจได้สำเร็จ เพิ่นกะได้เดินทางไปเมืองกาสี และอาสารักษาพระธิดาจันทะจร ท้าววรกิตกะได้เฮ็ดกลถอดดวงใจใว้กับกระจกแน่ หมอนแน่ ไปจนเครื่องใช้ต่างๆ ในห้องนอนของพระธิดา เฮ็ดให้เครื่องใช้ต่างๆเว่ากับพระธิดา โดยแกล้งตั้งคำถามแล้วกะแกล้งเฉลยผิดๆเผื่อที่จะให้พระธิดาทนบ่ได้แล้วกะบอกคำเฉลยของปริศนานั้นๆให้ถือต้อง เมื่อำมาตย์ได้ยินเสียงเว่าของพระธิดาก็ตีฆ้องเพื่อให้ฮู้ว่าพระธิดาเว่าแล้ว พระธิดาจั่งได้ฮู้ความจริงว่าท้าววรกิตคือพ่อนกที่เคยเป็นสามีของเพิ่นในอดัตชาตมาก่อน เพิ่นกะได้เรื่องราวจากหมอนที่ท้าววรกิตได้ถอดดวงใจไว้ นางกะต่อว่าว่าเป็นหยังคือได้ผิดสัญญาที่ให้ไว้
เจ้าเมืองกาสีกะฮู้ข่าวว่าพระธิดาเว่าได้แล้วกะดีพระทัยอย่างคัก จึงจัดงานอภิเษกให้ท้าววรกิตเป็นเจ้าเมืองแล้วกะยกพระธิดาจันทะจรเป็นพระมเหสี ทั้งสองกะครองฮักกันอย่างมีความสุข บาดบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดี ท้าววรกิตก็สละราชสมบัติเพื่อนออกบวชบำเพ็ญบารมี
ตัวละคร ท้าววรกิต เป็นตัวละครที่มีบุญญาธิการ มีความสารถสูง สามารถเข้าฌานจนระลึกชาติได้ และเมื่อได้กษัตริย์ ดูแลบ้านเมืองจนสงบสุขแล้ว ก็ยอมสละราชสมบัติเพื่อออกบวชบำเพ็ญบารมี
นางจันทะจร เมื่อครั้งยังเป็นนกมักจะพูดจาให้ร้ายสามี และพูดจาออกไปด้วยความไม่มีสติ
ต้นฉบับ วัดเกสรเจริญผล บ้านมะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ไดถอดมาเป็นอักษรไทย และพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๕ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
นิทานท้าวนกกระจอก เรียบเรียงโดย เตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) น.ธ.เอก พิมพ์จำหน่ายที่ บริษัท ขอนแก่นคลังนานาธรรม จำกัด
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องนี้ให้คติเรื่อง สัจจะ การรักษาคำพูดและความเชื่อเรื่องกรรมเก่า ที่ทำให้ตัวละครเอกทั้งสองได้มาพบกันอยู่ชาตินี้