ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ 50 รูป

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกชั้นวรรณะ  โดยมุ่งเน้นถึงกลุ่มคนที่มีความวุ่นวายหรือมีความทุกข์  เพื่อดับตัณหาความอยากอันเป็นต้นเหตุความทุกข์  พระพุทธศาสนามีวิธีการแห่งหลักธรรมคำสอนที่เป็นจุดแห่งความคิดมากมาย  โดยอาศัยความศรัทธาเป็นพื้นฐานและมีปัญญาเป็นผลที่เกิดตามมา พระพุทธศาสนามีความสำคัญมากมายหลายประเด็นมีหลักคำสอนสำหรับพัฒนาบุคคลให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิตบนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง  ท่านได้กำหนดข้อปฏิบัติในการฝึกฝนอบรมตน ด้วยการให้ละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส  ซึ่งในขั้นตอนของการพัฒนาตนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยมีศรัทธา คือมีความเชื่อที่ถูกต้องในหลักเหตุและผลโดยอาศัยปัญญาเข้าไปกำกับทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ  แต่การที่คนเราจะมีปัญญาได้นั้น ตนเองก็ต้องรู้จักคิด รู้จักอบรมปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฟังจากบุคคลอื่นบ้าง จากการอ่านตำราบ้าง จากการคิดค้นด้วยตนเองบ้าง จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทั่วไปบ้าง จากประสบการณ์ต่างๆ บ้าง   เมื่อคนเรามีปัญญาความรอบรู้แล้ว จะสามารถใช้เป็นประทีปส่องทางไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิตและยังสามารถที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้เข้าถึงความมีอิสรภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย

พระพุทธรูปในอีสานตอนบน

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล(พระครูวิเวกพุทธกิ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล (พระครูวิเวกพุทธกิจ) วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    พระอาจารย์เสาร์  ฉายา กนฺตสีโล  เกิด ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ปีระกา วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองซาง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

เนื่องจากท่านเป็น พระวิปัสสนาธุระ รุ่นแรกก่อนที่จะมีการบันทึกจดจำประวัติของท่านได้โดยละเอียดถี่ถ้วน จึงทำให้ทราบแต่เพียงชีวประวัติย่อเท่านั้น

ภายหลังที่หลวงปู่เสาร์ ท่านสละเพศฆราวาสแล้ว ท่านอุปสมบทอยู่ที่วัดใต้จังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นพระธรรมยุต ที่วัดศรีทอง มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยลงไปในสมาธิวิปัสสนา และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางนั้นด้วย จึงเป็นผู้ใส่ใจในธุดงค์วัตร หนักในพระธรรมวินัย ชอบวิเวกและไม่ติดถิ่นที่อยู่ และท่านได้รับความสงบใจในการปฏิบัติอย่างมาก เพราะการปฏิบัติสมาธิเป็นชื่อแห่งความเพียรเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบซึ่งไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งไปกว่า

หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล มีความรู้ความเข้าใจขึ้นโดยลำดับแห่งองค์ภาวนา ต่อมาท่านมีความปรารภขึ้นว่า การที่ท่านปฏิบัติภาวนาอยู่นี้ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจแต่ทางที่ดีควรออกไปอยู่ป่าดงหาสถานที่สงบจากผู้คน จิตใจคงจะสงบลงกว่าเป็นแน่แท้ ดังนั้นท่านได้ออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าทันทีในวันรุ่งขึ้น ความปรารถนาของท่านก็เพื่อพัฒนาและพิจารณาสมาธิทำถ้าแม้เป็นไปจริงดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับสู่วัดท่านจะนำความรู้ที่เกิดจากจิตใจเหล่านั้นมาเผยแพร่ฝึกสอนศิษย์ที่หวังซึ่งความพ้นทุกข์ต่อไป

นอกจากหลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล จะเป็นพระผู้ปฏิบัติดีแล้ว ท่านยังมีความเคร่งครัดทางด้านพระวินัยอย่างมากลูกศิษย์ทุกคนสมัยนั้นท่านจะถือเอาวัตรปฏิบัติวิปัสสนาเป็นวิชาเอก หมายถึงว่า เมื่อท่านได้อบรมแล้วแสดงพระสัทธรรมให้เป็นที่เข้าใจแล้วท่านจะส่งเสริมลูกศิษย์ทุกรูปให้ถือข้อธุดงควัตร แยกออกจากหมู่มุ่งสู่เราป่าดง มุ่งสู่ความแจ่มแจ้งในธรรมที่องค์พระบรมศาสดาทรงรับรองผล

หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล พระบุพพาจารย์แห่งยุคได้อำลาละสังขารไปด้วยอาการสงบ ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์ต่างก็ยอมรับว่าหลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล ได้ปฏิบัติกิจเสร็จสิ้นที่วัดมหาอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ คืนวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมียวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี ๖๒ พรรษา

โอวาทธรรม

    จากหนังสือธรรมวิสัชนา เรื่องแนวปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์  กนฺตสีโล ดังนี้ โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนาพุทโธโทรและอานาปานสติเป็นหลักปฏิบัติ

การบริกรรมภาวนาให้จิตอยู่ ณ จุดเดียวคือพุทโธซึ่งพุทโธแปลว่า ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิตเมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่าพุทโธให้พิจารณาตามองค์ฌาน ๕  คือ การนึกถึงพุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับพุทโธไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจารณ์
หลังจากนี้ปีติและความสุขก็เกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขเกิดขึ้นแล้วจิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินสู่ความสงบเข้าไปสู่อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ รักสนะที่เจ็ดเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่ง สว่าง ไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ

ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต
ถ้าเรียกโดยสมาธิเรียกว่า อัปปนาสมาธิ
ถ้าเรียกโดยฌานก็เรียกว่า อัปปนาฌาน
บางท่านนำไปเทียบกับฌานขั้นที่ ๕

จิตในขั้นนี้เรียกว่าจิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้นนอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น

[/ultimate_modal]
_1_988
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”ท่านเจ้าประคุณปู่จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธาจารย์) วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์มีนามเดิมว่า จันทร์  สุวรรณมาโจ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑ (เดือนอ้าย) ปีมะเส็ง เป็นบุตรคนที่ ๓ (ในจำนวน ๖ คน) ของ นายวงศ์ เสนา และนางไข สุวรรณมาโจ มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน หมู่ ๓ ตำบลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ในวัยเยาว์ เด็กชายจันทร์  สุวรรณมาโจ มีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง เพราะป่วยเป็นโรคหืดครั้นเจริญวัยใหญ่โตขึ้นมาโรคนี้ก็หายขาดไป จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๖๐ ปี โรคนี้ก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก พ.ศ. ๒๔๓๑ เด็กชายจันทร์ ได้เรียนหนังสืออักษรไทยน้อย หัดเขียนหัดอ่านจากหนังสือผูกโบราณ วรรณคดีพื้นบ้านซึ่งประชาชนในสมัยนั้นนิยมอ่านกันมาก

ด้วยเหตุนี้พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณหลวงปู่พระเทพสิทธาจารย์เป็นพระเถระผู้ใหญ่มีอายุพรรษาสูง เปี่ยมล้นด้วยประสบการณ์ ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมมีพรหมวิหารธรรมเป็นที่ตั้ง กิริยามารยาทนุ่มนวล มีวาจาไพเราะ เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านจึงเป็นที่เคารพสักการบูชา ของพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป ผู้ที่เคารพนับถือท่านเจ้าคุณหลวงปู่มากก็มี สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งมักไปมาหาสู่ท่านเสมอ อีกรูปหนึ่งที่เคารพรักหลวงปู่มากถึงกับฝากตัวเป็นลูก คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหารองค์ปัจจุบันสมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรฯ มักจะเรียกหลวงปู่เจ้าคุณว่า “หลวงพ่อ” และหลวงปู่เจ้าคุณก็เรียกสมเด็จพระสังฆราชสมัยเป็นเจ้าคุณว่า “เจ้าคุณลูก”

หลวงปู่เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ นับว่าเป็นพระสุปฏิปันโน ชั้นเยี่ยมองค์หนึ่ง ท่านได้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเรื่อยมาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติและปฏิบัติ กาลเวลาผ่านไป วัยสังขารและรูปกายของหลวงปู่ก็เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ย่อมแตกดับสลายไปในที่สุด ดุจผลไม้สุกงอมเต็มที่ ย่อมร่วงหล่นหลุดจากขั้วฉะนั้นสุดวิสัยที่แพทย์จะช่วยไว้ได้ท่านถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา ในวันศุกร์ ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริรวมอายุได้ ๙๒ ปี พรรษา ๗๒ ศพของหลวงปู่เจ้าคุณได้เก็บรักษาไว้ให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาและบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเรื่อยมา จนถึงวันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่าน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ทางฝ่ายคณะสงฆ์ก็มีสมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระเถรานุเถระ และคณาจารย์ทั่วประเทศได้ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เหลือคณารับ

โอวาทธรรม

 พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ เป็นพระสงฆ์ที่แสดงธรรมได้จับใจไพเราะ มีโวหาร  ปฎิภาณดี ธรรมโอวาทของท่านที่พร่ำสอนพระภิกษุสามเณรและญาติโยมอยู่เสมอคือเรื่อง “การเตรียมตัวเตรียมใจ” ซึ่งมีใจความดังนี้

“เราเกิดมาในชาติหนึ่ง ๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายของเราเหมือนเรือไหลล่อง ผู้เป็นเจ้าของต้องเตรียมตัวระมัดระวังหางเสือของเรือไวให้ดี ผู้ใดเผลอผู้ใดประมาท ผู้นั้นมอบกายของตนให้เป็นเรือไหลล่องไปตามกระแสน้ำ ผู้นั้นเรียกว่า โง่น่าเกลียดน่าชัง เป็นยาพิษ เรือที่เรานั่งไปนั้นหากมันล่มลงในน้ำ จระเข้ก็จะไล่กิน กระโดดขึ้นมาบนดิน ฝูงแตนก็ไล่ต่อย คนเราเกิดมามีกิเลส เรียกว่า กิเลสวัฏฏะ เป็นเชือกผูกมัดคอ ผู้มีกิเลสต้องทำกรรม เรียกว่า กรรมวัฏฏะ ซึ่งก็เป็นเชือกมัดคออีกเส้นหนึ่ง ผู้ที่ทำกรรมไว้ย่อมจะได้เสวยผลของการกระทำ เรียกว่า วิปากวัฏฏะ เป็นเชือกเส้นที่สามมัดคอไว้ในเรือนจำ

เราทุกคนต้องสร้างสมอบรมปัญญา ซึ่งสามารถทำลายเรือนจำให้แตก ผู้ใดทำลายเรือนจำไม่ได้ ผู้นั้นก็จะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะนี้เรื่อยไป เพราะฉะนั้นเราทุกคนจะต้องเตรียมตัวเป็นนักกีฬา ต่อสู้ทำลายเรือนจำให้มันแตก อย่าให้มันขังเราไว้ต่อไป…คนเราจะไปสวรรค์ก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ไปสู่อบายภูมิก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องดำเนินชีวิตในทางที่ดีที่งาม อยากดีต้องทำดีเป็น อยากได้ต้องทำได้เป็น อยากดีต้องละเว้นทางเสื่อมตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ นินทาสีลี อย่าพากันนอนตื่นสาย สภาสีลี ผู้ใดอยากดี อย่าพากันพูดเล่น อนุฏฐาตา ผู้ใดอยากดี ให้พากันขยันหมั่นเพียร อลโส ผู้ใดอยากดี อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ผู้ใดอวดเก่ง ผู้นั้นเป็นคนขี้ขลาด ผู้ใดอวดฉลาด ผู้นั้นเป็นคนโง่ ผู้ใดคุยโว ผู้นั้นเป็นคนไม่เอาถ่าน อยากเป็นคนดีต้องทำดีถูก เรียนหนังสือเพื่อรู้ ดูหนังสือเพื่อจำ ทำอะไรต้องหวังผลเกิดมาเป็นคนต้องมีความคิด อุบายเครื่องพ้นทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อื่นไกล หากแต่อยู่ที่มีสติสัมปชัญญะรอบคอบในทุกอิริยาบถ…”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือศาสนาพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดีแลมีความขยันหมั่นเพียร ชอบเล่าเรียนการศึกษา

เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระพุทธศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่าง ๆ ในสำนัก จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมากเพราะเอาใจใส่การเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อยเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานของบิดามารดาเต็มความสามารถ

ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืม คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยายเพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายคอยสะกิดใจอยู่เสมอ

ครั้นอายุได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกำลังจึงอำลาบิดามารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุฯ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖  พระอุปัชฌายะขนานนามมคธให้ว่า ภูริทตฺโต  เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป

เมื่อแรกอุปสมบทท่านพำนักอยู่วัดเลียบเมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพารามเมืองอุบลบ้างเป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกรมนั่งสมาธิกับสมาทานธุดงควัตรต่าง ๆ

ในสมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้างทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาลิกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามและถ้ำสิงโตลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัยสิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับมีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน

ครั้นถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษย่นุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น สิริรวมอายุของท่านได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา

โอวาทธรรม

คำที่เป็นคติอันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อย ๆ เพื่อเป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้

๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกรรมฐานจบลงมักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่”

เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูกและละเลิกลัทธินั้นครั้นจบลงแล้วได้กล่าวคำเป็นคติขึ้นว่า “เหลือแต่เว้าบ่เห็นบ่อนเบาหนักเดินบ่ไปตามทางสิถืกดงเสือฮ้าย” ดังนี้แลการบำเพ็ญสมาธิเอาแต่เพียงเป็นบทบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้วส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้นก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตายเพราะเด็ดเดี่ยวทางความเพียร ผู้นั้นจะกลับมาตายอีกหลายภพหลายชาติไม่อาจนับได้

[/ultimate_modal]
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม(พระญาณวิศิษฏ์สมิท_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เกิดที่บ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู ท่านมีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท บิดาชื่อ เพีย อัครวงศ์ มารดาชื่อ หล้า บุญโท การศึกษาสมัยท่านเป็นฆราวาส ท่านได้ศึกษาจนเป็นครูสอนวิชาสามัญได้ดีผู้หนึ่ง พระอาจารย์สิงห์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ในสำนักพระอุปัชฌาย์ “ป้อง” ณ วัดบ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสานเป็นพระอุปัชฌาย์ นับว่าเป็นสิทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ ภายหลังอุปสมบทท่านได้ปฏิบัติและเจริญรอยตามโอวาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้โดยย่อว่า รุกขมูลเสนาสนะเป็นต้น ท่านได้มุ่งสู่ราวป่าและปฏิบัติตามเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา ด้วยความวิริยะอุตส่าห์พยายามด้วยวิสัยพุทธบุตร พระอาจารย์สิงห์ สามารถรอบรู้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายของกิเลสตัณหาได้อย่างแยบยลด้วยสติปัญญาและกุศโลบายอันยอดเยี่ยมเข้าพิชิตตามฆ่าเสียซึ่งอาสวกิเลสต่าง ๆ ที่เข้ามารุมเร้าจิตใจของท่านได้อย่างภาคภูมิจนสามารถรอบรู้ธรรม นำคณะพระกรรมฐานแห่งยุคนั้นออกเที่ยวอบรมสั่งสอนประชาชนผู้โง่เขลาเบาปัญญาให้หันมานับถือพระพุทธศาสนายึดมั่นในพระไตรสรณคมน์น้อมจิตใจให้หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างกว้างขวาง

พระอาจารย์สิงห์ ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้ฝึกอบรมสมาธิภาวนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่มั่น จนมีกำลังอันแก่กล้า และเนื่องจากท่านเป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านหลวงปู่มั่น เป็นอย่างมาก หลวงปู่มั่นจึงได้ให้แยกย้ายไปอบรมสั่งสอนประชาชน พระอาจารย์สิงห์ท่านเป็นพระที่สามารถให้อุบายธรรมแก่ลูกศิษย์โดยไม่ว่าผู้ใดติดขัดปัญหาธรรมแล้ว ท่านจะแนะนำอุบายให้พิจารณาจนกระจ่างเลยทีเดียว ด้วยอำนาจญาณวิเศษ สามารถรู้วาระจิตของศิษย์เป็นบางเวลาที่ศิษย์กลับเข้ามาหาท่านและขออุบายธรรมและขอให้ท่านแก้ไข ฉะนั้นท่านอาจารย์สิงห์ จึงต้องรับภาระหน้าที่แทนหลวงปู่มั่นนับว่าหนักหนาพอควรทีเดียว พระอาจารย์สิงห์ มักจะฝึกให้ศิษย์ทั้งหลายได้อสุภกรรมฐานจากซากศพที่ชาวบ้านเขานำเอามาฝังบ้าง เผาบ้าง หรือไม่ก็ใส่โลงไม้อย่างง่าย ๆ เก็บเอาไว้รอวันเผา บางครั้งท่านจะพาลูกศิษย์ไปเปิดโลงศพหรือขุดขึ้นมาดูเพื่อฝึกพระลูกศิษย์ของท่าน ดังที่พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร) ได้กล่าวถึง

พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านไว้และเมื่อท่านเห็นว่า คณะศิษย์องค์ใดพอฝึกสมาธิภาวนาแก่กล้าตามวาระความสามารถแล้วท่านจะแยกให้ไปอบรมเป็นแห่ง ๆ โดยลำพัง ท่านได้เคยพาคณะศิษย์ของท่านไปปักกลดโดยยึดเอาสถานที่เป็นป่าช้าเก่าแก่เรียกว่า ป่าช้าบ้านเหล่างา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในกาลต่อมาเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าวิเวกธรรม อุปมาเป็นกองบัญชาการฝ่ายประพฤติปฏิบัติธรรมส่งเสริมสานุศิษย์ทั้งมวลออกเผยแพร่ธรรมไปตามอำเภอต่าง ๆ จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกาลต่อมา พระลูกศิษย์ของพระอาจารย์สิงห์อีกองค์ซึ่งในกาลต่อมาท่านได้มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดท่านหนึ่งคือ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเคยธุดงค์ในคณะหรือกองทัพธรรมที่มีพระอาจารย์สิงห์เป็นพระหัวหน้าคณะ

ต่อมาหลวงชาญนิคมซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเลื่อมใสในธรรมของพระพุทธเจ้าและเลื่อมใสในพระธุดงค์กรรมฐานมาก มีประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นศูนย์รวมของพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจึงได้นิมนต์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ให้ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวันเพื่อเป็นวัดป่าตัวอย่างของฝ่ายวิปัสสนาธุระซึ่งพระอาจารย์สิงห์ก็รับนิมนต์ตามคำขอร้องของหลวงชาญนิคมสร้าง “วัดป่าสาลวัน” จนเป็นที่เรียบร้อย เดิมบริเวณวัดป่าสาลวันนั้นเป็นป่ารกและมีต้นไม้ที่เป็นมงคลอยู่ต้นหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา คือต้นสาละ ภายหลังสร้างวัดป่าสาลวันเสร็จแล้ว บรรดาพระลูกศิษย์ที่เป็นยอดขุนพลทางธรรมทั้งหลายได้เดินทางมาอยู่จำพรรษากับท่าน ต่อมาท่านได้พาคณะออกเดินธุดงค์ภายหลังจากออกพรรษาผ่านป่าเข้าผ่านไปในที่ต่าง ๆ จนมาถึง อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ท่านได้ปักกลดลง ณ บริเวณป่าช้า รกร้างว่างเปล่า ท่านพระอาจารย์สิงห์ และบรรดาลูกศิษย์ต่างก็ออกยังหมู่บ้านต่าง ๆ นำธรรมะของศาสดาเข้ามาสู่ประตูบ้าน ให้ชาวบ้านที่ยังติดขัดในความประพฤติยึดถือในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่าง ๆ หันมารับไตรสรณคมน์ พระอาจารย์สิงห์ ท่านได้ตั้งใจว่าจะพยายามสร้างวัดป่าขึ้นที่นี่ เพื่อให้เป็น   ปูชนียสถานสำหรับผู้มีความสนใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม แต่ท่านก็ได้ถูกชาวบ้านส่วนใหญ่คัดค้านอย่างรุนแรงและข่มขู่ท่านว่า “ถ้าหากมีการสร้างวัดป่าขึ้นพวกเราจะฆ่าท่าน” ท่านมาพิจารณาด้วยสติปัญญาอันรอบคอบไม่เกรงกลัวต่อคำขู่ ไม่เกรงว่าจะต้องตายด้วยน้ำมือชาวบ้าน ชีวิตนี้พระอาจารย์สิงห์ได้มอบกายถวายชีวิตไว้กับพระพุทธเจ้าแล้ว และด้วยกระแสแห่งพรหมวิหารธรรมของท่าน ซึ่งมีพลังอำนาจได้แผ่ไปยังบุคคลที่ประสงค์ร้ายต่อท่านจึงสามารถเปลี่ยนใจเขาเหล่านั้นให้รับฟังธรรมะที่ท่านแสดงยกเหตุผลอันสุขุมอ่อนโยนป้อนเข้าสู่จิตใจจนระลึกถึงความผิดของตนที่คิดชั่วร้ายต่อพระสงฆ์ ผู้มีความบริสุทธิ์ด้วยศีลธรรม และในที่สุดนอกจากยอมรับธรรมะอันวิเศษแล้ว ยังช่วยกันสร้างสำนักสงฆ์เพื่อถวายแก่พระอาจารย์สิงห์และคณะด้วยจนสำเร็จ

พระอาจารย์สิงห์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระนามว่า พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ และได้ละสังขารไปอย่างสงบเมื่อวันที ๘ กันยายน ๒๕๐๗ เวลา ๑๐.๒๐ น. สิริรวมอายุได้ ๗๓ พรรษา

โอวาทธรรม

การปฏิบัติธรรมกับการอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ
การปฏิบัติธรรมถ้าเราอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ย่อมจะเปลี่ยนจิตใจเราให้ไปอยู่ในลักษณะที่จะเข้าถึงธรรมชาติรู้จักความจริงตามธรรมชาติ การเข้าถึงธรรมะก็ง่ายเข้าเปรียบเหมือนต้นไม้ ในภาพเขียนย่อมจะไม่เหมือนกับต้นไม้จริง ๆ ในป่าฉันใดปริยัติเปรียบได้กับต้นไม้ในภาพเขียน ส่วนการปฏิบัติเปรียบเหมือนต้นไม้ในป่าจริง ๆ

พระพุทธเจ้าท่านประสูติท่ามกลางธรรมชาติ กลางดิน โคนต้นไม้ท่านตรัสรู้ที่พื้นดินที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งท่านปรินิพพานที่ใต้ต้นไม้กลางพื้นดินระหว่างโคนไม้สองต้นในสวนป่าอุทยานแห่งหนึ่งธรรมชาตินี่แหละช่วยให้เรามีจิตสงบแล้วการศึกษาไม่ว่าจะเป็นทางธรรม หรือทางใดก็บรรลุผลได้ดียิ่งขึ้นเป็นธรรมโอวาทที่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโมให้ไว้กับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เมื่อครั้งที่ท่านยังบรรพชาเป็นสามเณร

กายนี้คือก้อนทุกข์
“หากสละชีวิตตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันจริง ๆ แล้วพระพุทธศาสนาก็ไม่เป็นของยากลำบากและเหลือวิสัยอะไร
ทำได้จนเต็มความสามารถของตนทีเดียว” “กายนี้คือก้อนทุกข์ กายนี้เป็นที่หมายให้พ้นเสียจากทุกข์
ฝึกสติปัญญาให้ดีแล้วมาพิจารณากายนี้ให้แจ้ง
ก็จะพ้นทุกข์ได้…

[/ultimate_modal]
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงปู่แหวน  สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญานหรือยาน  รามศิริ เกิดวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ วันจันทร์ขึ้น ๓ ค่ำปีกุน ณ บ้านนาโป่ง บ้างก็ว่าบ้านหนองบอน ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นบุตรคนที่สองของนายใสหรือสาย นางแก้วรามศิริ ซึ่งมีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน ๑ คน

เมื่อหลวงปู่อายุประมาณ ๕ ปี พอจำความได้บ้างมันดาก็ถึงแก่กรรมท่านจึงตกเป็นภาระของตากับยายต้องเลี้ยงดูต่อมา ท่านเกิดมาในตระกูลช่างตีเหล็กเมื่อมารดาถึงแก่กรรมบิดาไปแต่งงานใหม่อีกถึง ๓ คน ก่อนมารดาจะเสียชีวิตได้เรียกลูกชายคนเดียวของท่านเข้าไปหาใกล้ ๆ จับมือลูกชายแน่นแล้วกล่าวกับลูกชายว่า “ ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูกสมบัติใด ๆ ในโลกนี้จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏิก็ตามแม่ก็ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วให้ตายกับผ้าเหลืองไม่ต้องสึกออกมามีเมียมีลูกนะ”

    คำพูดของแม่ครั้งนั้นเป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติตลอดเวลา จนในที่สุดท่านก็ได้ออกบวชตามความประสงค์ของมารดา แม้จะมีอุปสรรคใด ๆ เข้ามาขัดขวางก็มีอันพ่ายแพ้พลังแห่งความปรารถนาของมารดา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน

    จนกระทั่งอายุได้ ๙ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ชัย ซึ่งเป็นวัดในละแวกนั้น พักอยู่วัดโพธิ์ชัยอีกหลายปีจึงได้เดินทางไปศึกษาอยู่ที่วัดบ้านสร้างถ่อใน อ.หัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดบ้านสร้างถ่อในนั้นเองโดยมีพระอาจารย์แว่นเป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นวันอังคารที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๕๓ น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึงหลวงปู่ท่านได้และร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการอันสงบสิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี

โอวาทธรรม

    หลวงปู่แหวน  สุจิณฺโณ ท่านได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่น

“การต่อสู้กามกิเลสเป็นสงครามอันยิ่งใหญ่กามกิเลสนี้ร้ายนักมันมาทุกทิศทุกทางพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงก็ถอนได้”
“ กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียวทำให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงกัน ความรักความชังจะพึงเกิดขึ้นในจิตในใจเพราะกาม”
“ ตัดอดีตอนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุ บันรู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน”
“ ของเก่าปกปิดความจริง”
“ ของเก่าซึ่งไม่จีรังยั่งยืน จะต้องผุเน่าเปื่อยไปในที่สุด”
“ ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีความสำเร็จ”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่จูม พนธุโล(พระธรรมเจดีย์)_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่จูม พนธุโล (พระธรรมเจดีย์) วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม จันทร์วงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พ. ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๒๔๕๐ เป็นบุตรคนที่ ๓ (ในจำนวน 8 คน) ของนายคำสิงห์และนางเขียว จันทร์วงศ์ มีอาชีพทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

เด็กชายจูม จันทร์วงษ์ เป็นผู้มีอุปนิสัยดี สนใจในการทำบุญทำกุศลตั้งแต่เป็นเด็กชอบติดตามบิดามารดา หรือคุณตาคุณยายไปวัด ได้มีโอกาสพบเห็นพระสงฆ์เป็นประจำเมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียนหนังสือ ก็ไปเข้าโรงเรียนวัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จนจบหลักสูตรประถมศึกษาบริบูรณ์ในสมัยนั้น

พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์เป็นพระมหาเถระผู้มีบุญบารมีมากรูปหนึ่งมีคุณธรรมสูงมีวัดปฏิปทาอันงดงาม ซึ่งพอที่จะนำมากล่าวได้ดังนี้ ๑. ธีโร เป็นนัดปราชญ์ ๒. ปญโญ มีปัญญาเฉียบแหลม ๓. พหุสสุโต เป็นผู้คงแก่เรียน ๔. โธรยุโห เป็นผู้เอาจริงเอาจังกับธุระทาวพุทธศาสนา คือ คันถธุระและวิปัสนาธุระ ๕. สีลวา เป็นผู้มีศีลวัตรอันดีงาม ๖. วตวนุโต เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงควัตร ๗. อริโย เป็นผู้ห่างไกลจากความชั่ว ๘. สุเมโธ เป็นผู้มีปัญญาดี ๙. ตาทิโส เป็นผู้มั่นคงในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐. สปปุริโส เป็นผู้มีกาย วาจา และใจอันสงบเยือกเย็น เป็นสัตบุรุษ พุทธสาวก ผู้ควรแก่การกราบไหว้ บูชาโดยแท้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เริ่มอาพาธมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ จนถึงเดือน มีนาคม พ.ศ ๒๕๐๕ คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราชได้ถวายการรักษาโดยการผ่าตัดก้อนนิ่วออก รักษาจนหายเป็นปกติแล้วเดินทางกลับวัดโพธิสมภรณ์อุดรธานี ต่อมาปลายเดือนพฤษภาคมพ.ศ ๒๕๐๕ ท่านเริ่มอาพาธอีกคณะแพทย์ซึ่งมีศาสตราจารย์นพ. อวย เกตุสิงห์ เป็นประธานได้นิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชท่านเดินทางเข้ากรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๐๕ โดยมีพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมปนโน ร่วมเดินทางด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ถวายการรักษาด้วยการผ่าตัดถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว ๑๑ เม็ดอาการดีขึ้นเพียง ๓ วัน ต่อจากนั้นอาการก็สุดลงต้องให้ออกซิเจนและน้ำเกลือวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ก็ถูกเวทนาอันแรงกล้าครอบงำ แต่ท่านก้อม มิได้แสดงอาการใด ๆ ให้ปรากฏจนกระทั่งวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕ พระธรรมเจดีย์ก็ถึงแก่กรรมมรณภาพด้วยอาการสงบเมื่อเวลา ๑๕.๒๗ น. ณ โรงพยาบาลศิริราชท่านได้ละสังขารอันไม่มีแกนสารนี้ไปสิริรวมอายุได้ ๗๕ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน พรรษา ๕๕

โอวาทธรรม

พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) ได้แสดงความจริงในอารมณ์จิตของท่านและหาวิธีระงับดับอารมณ์นั้นโดยไม่ให้หลงใหลไปกับโลกธรรม อุบายนั้นท่านได้แสดงไว้ว่า “จิตเป็นธรรมชาติที่กวัดแกว่งดิ้นรน กระสับกระส่าย แส่ไปตามอารมณ์ที่ใคร่ พอใจเบญจกามคุณ ถึงแล้วนั้นก็ได้มี ทมะ คือความข่มจิตไว้ ไม่ให้ยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ พร้อมทั้งมีสติประคับประคองยกย่องจิตตามอนุรูปสมัยนับว่าได้ผล คือจิตสงบระงับจากนอวรณูปกิเลสเป็นการชั่วคราวบ้าง เป็นระยะยาวนานบ้างแต่ในบางโอกาสก็ควบคุมได้ยาก  ซึ่งเป็นของธรรมดาสำหรับปุถุชน  ต่อจากนั้นก็ได้บากบั่นทำจิตของตนให้รู้เท่าทันสภาวะธรรมนั้นนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นเต้นไปกลับโลกธรรม แต่ว่าระงับได้ในบางขณะเช่น ความรัก ความชัง อันเป็นปฏิปักขธรรมเป็นต้น เหล่านี้ยังปรากฏมีในตนเสมอถึงกระนั้นก็ยังมีปรีชาทราบอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นโลกิยธรรมนำสัตว์ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ฝึกหัดดัดนิสัยพยายามถอดตนออกจากโลกียธรรม ตามความสามารถ รู้สึกว่าสบายกายสบายใจอันแท้จริงธรรมนี้เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติในการละ พอใจยินดีอย่างยิ่งในความสงบ” และอีกครั้งหนึ่งท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์โดยมีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งติดตามไปด้วยคือพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมปนโน แข่งวัดป่าบ้านตาดจังหวัดอุดรธานีวันนั้นท่านได้แสดงธรรมไว้อย่างแยบคาย พอที่จะหยิบยกเอาใจความสำคัญมากล่าวไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้ จิตของพระอริยะเจ้าแยกอาการได้เสียอาการคืออาการที่ ๑ อโศกจิตของท่านไม่เศร้าโศกไม่มีปริเทวนา การร้องไห้เสียใจจิตของท่านมีความสุขล้วนล้วนส่วนจิตใจของปุถุชนคนธรรมดาอย่างหนาไปด้วยกิเลสเต็มไปด้วยความรักความสุขความทุกข์ครอบงำความสุขย่อมเกิดจากความรักเป็นเหตุ เมื่อมีความรักก็มีความโศก ถ้าตัดความรักเสียแล้วความสุขจะมีแต่ที่ไหน อาการที่ ๒ วิรช จิตของพระอริยะเจ้าผ่องแผ้วปราศจากฝุ่นไร้ธุลีคือปราศจากราคะโทสะและโมหะคงจะมีแต่พุทธะคือรู้ตื่นเบิกบาน อาการที่ ๓ เขม จิตของพระอริยเจ้ามีแต่ความเกษมสำราญเพราะปราศจากห้วงน้ำไหลมาท่วมท้นห้วงน้ำใหญ่เรียกว่า “โอฆะ” ไม่อาจจะท่วมจิตของพระอริยเจ้าได้ อาการที่ ๔ จิตของพระอริยะ ไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลสไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งวิชชา จิตของพระอริยะมีแต่อาโลโก สว่างไสวแจ่มแจ้งธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยพบเคยเห็น ตั้งแต่พบก่อนชาติก่อนและไม่เคยฟังจากใครเรานี้ก็แจ่มแจ้งไปเลยเพราะท่านตัดวิชชาเสียได้”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมว่า ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ เกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันจันทร์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๕๐ ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บิดาของท่านชื่อ นายปา มารดาชื่อ นางปัตต์หลวงปู่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย ๕ หญิง ๒ คนโตเป็นหญิงชื่อ นางคำมี คนที่สองเป็นชาย ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก คนที่สามชื่อ นายทอง คนที่สี่ชื่อ นายบัว ส่วนหลวงปู่เป็นบุตรคนที่ห้า คนที่หกชื่อนายตั้ว และคนสุดท้ายเป็นหญิงชื่อ นางอั้ว ทีสุกะ พี่น้องทุกคนรวมทั้งหลวงปู่มรณภาพหมดแล้ว เป็นไปตามวัยและตามธรรมดาของสังขาร ที่ยังเหลืออยู่ก็มีแต่ความดี และความชั่ว ยังให้คนระลึกถึงพูดถึงไปอีกนาน ในบรรดาเครือญาติของหลวงปู่ตื้อ นับเป็นครอบครัวที่ใกล้ชิดกับวัด ใฝ่ใจต่อการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า บรรดาผู้ชายล้วนแต่ได้บวชเป็นพระภิกษุ และถ้าเป็นหญิงก็สละบ้านเรือน มาบวชชีจนตลอดชีวิตก็มีหลายคน หลวงปู่จึงได้รับการปลูกฝังให้สนใจการบวชเรียน สนใจศาสนาโดยสายเลือดก็ว่าได้ ท่านเป็นศิษย์วัด รับใช้พระเณรตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเคยบวชเณรมาครั้งหนึ่ง ท่านจึงมีความคุ้นเคยกับวัด คุ้นเคยกับพระกับเจ้าเป็นอย่างดีและปรารถนาที่จะได้บวชเป็นพระภิกษุเมื่อถึงเวลาอันควร ท่านคิดเรื่องการบวชอยู่ตลอดเวลา

หลวงปู่ตื้อ ได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด ไปเรียนรู้ธรรมเนียมพระและฝึกขานนาคเตรียมตัวที่จะบวช ในบันทึกไม่ได้บอกถึงวันเวลาและสถานที่บวช ทราบแต่ว่า ท่านบวชในฝ่ายมหานิกาย บวชกับพระอุปัชฌาย์คาน ที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม  ตามประวัติ บอกไว้ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุ ๒๑ ปี บวชครั้งแรกในฝ่ายมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ บวชอยู่นานถึง ๑๙ พรรษา จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ จึงได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่ตื้อ อยู่ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๔๖ พรรษาจวบจนท่านละสังขารเมื่ออายุ ๘๖ ปี รวมอายุพรรษาทั้งสองนิกาย ๖๕ พรรษา หลังจากที่หลวงปู่ เข้าพิธีอุปสมบทที่อำเภอท่าอุเทนแล้ว ท่านก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยขั้นต้น และท่องบ่นบทสวดมนต์ต่าง ๆ ตามที่พระเณรใช้สวดกันเป็นประจำ เมื่อหลวงปู่ตื้อ บวชครบ ๗ วัน ปู่จารย์สิมของท่านได้มาที่วัด ถามพระหลานชายว่าต้องการจะสึกหรือยังไม่สึก ถ้าสึกจะได้กลับไปจัดเสื้อผ้ามาให้  หลวงปู่ตื้อ ท่านรู้สึกลังเลในตอนนั้น ใจหนึ่งก็อยากจะสึก ใจหนึ่งก็ไม่อยากสึก แต่มาคิดได้ว่า ถ้าสึกในขณะนั้น ชาวบ้านจะพากันเรียกว่า “ไอ้ทิด ๗ วัน” ทำให้อับอาย จึงบอกปู่จารย์สิมว่า “อาตมายังไม่อยากสึก ขออยู่ไปก่อน รอให้ออกพรรษาก่อนเถิด” หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บวชอยู่ได้จนครบพรรษาแรก ได้หัดท่องหัดสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จนจำได้ขึ้นใจ ออกไปสวดงานต่าง ๆ ในหมู่บ้านรวมกับพระอื่น ๆ ได้ พอออกพรรษาแรกได้เดือนเศษ ปู่จารย์สิมก็มาถามอีกว่าอยากจะสึกแล้วยัง พระหลานชายก็ทำเฉยเสีย เพราะรู้สึกว่าใจคอรู้สึกสงบสบายดีอยู่ ท่านคิดในใจว่า ท่านบวชเรียนแค่พรรษาเดียว การเล่าเรียนพระธรรมยังไม่ได้อะไรเลย การอาราธนาศีล ๕ ศีล ๘ อาราธนาเทศน์ ก็ยังทำได้ไม่คล่อง จำได้ผิด ๆ ถูก ๆ เมื่อสึกออกไป ถ้าถูกไหว้วานให้นำอาราธนาต่าง ๆ ถ้าว่าไม่ได้คงจะอายเขาแน่ หลวงปู่ตื้อ ท่านบอกจึงปู่จารย์สิมว่า “ตอนนี้ท่านยังรู้สึกสบายดีอยู่จะขอบวชไปเรื่อย ๆ ก่อน”

บรรดาศิษย์สายกรรมฐานส่วนใหญ่มักจะคุ้นชื่อและได้ยินกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นอย่างดี ท่านมีปฏิปทาที่แปลก น้ำใจเด็ดเดี่ยว โผงผาง ตรงไปตรงมา มีแง่มุมต่าง ๆ ที่ครูบาอาจารย์มักจะกล่าวถึงเสมอ ๆ และเล่าถ่ายทอดต่อกันมา ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่น่าสนใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพักจำพรรษาประจำที่และอยู่นานที่สุดที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่บนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงดาว อยู่ตรงมุมทางแยกขวาเข้าเขื่อนแม่งัด ทางไปวัดอรัญญวิเวก ของหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป นั่นเอง และครั้งสุดท้ายท่านกลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด ที่วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

ธรรมโอวาท

สำหรับการแสดงธรรมเผยแพร่พระพุทธศาสนาของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นั้น ท่านแสดงธรรมอย่างตรงไปตรงมา แสดงธรรมตามทัศนะของท่าน มีคนชอบฟังมาก หลวงปู่เล่าว่าโลกนี้เขามีเครื่องผูกอันเหนียวแน่น ยากที่จะตัดได้ด้วยอย่างอื่น นอกจากพระธรรมของพระพุทธเจ้า มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องทำบาป เมื่อทำแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมที่เราทำไว้ พ่อแม่เรานั้นทำกรรม เราเกิดมาก็ทำกรรมไปอะไรที่สุดของกรรมไม่มีใครรู้ได้ทำบาปแล้วมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย

๑. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นโสดาปัตติมรรค จิตก็เป็นโสดาปัตติผล จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
๒. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นพระสกิทาคามิมรรค จิตก็เป็นพระสกิทาคามิผล จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
๓. จิตตานุปัสสนา จิตไม่คิดมีผัวเมีย ออกบวช จิตก็เป็นพระอนาคามิมรรค จิต ก็เป็นพระอนาคามิผล จิตออกบวช จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
๔. จิตตานุปัสสนา จิตไม่กล่าวมุสาวาท จิตก็เป็นพระอรหัตมรรค จิตก็เป็นพระอรหัตผลอีกนัยหนึ่ง จิตไม่ขี้ปด จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

หลวงปู่สอนว่า “ธรรมะ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เองมิใช้อื่น พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้ เองมิใช้ใครอื่น เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกไข่ ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ” หรือ… “ธรรมะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการทำอะไรจริงจัง คือการตัดสินใจอย่างแน่นอนลงไป แล้วเลือกเฟ้นธรรมปฏิบัติอย่างแท้จริง  ไม่นานหรอกเราก็จะได้พบสิ่งที่เราต้องการความกลัวทุกอย่างจะหายไปหมด ถ้าเราตัดสินใจอย่างใดแล้วคือเราต้องเป็นคนมีจุดมุ่งหมายอย่างหลวงตา นับตั้งแต่บวชมาได้ตัดสินใจปฏิบัติธรรมะอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้ไม่เคยลดละและท้อถอยเลย” หรือ “นักธรรม นักกรรมฐานต้องมีนิสัยอย่างเสือโคร่ง คือ ๑. น้ำจิตน้ำใจต้องแข็งแกร่งกล้าหาญไม่กลัวต่ออันตรายใด ๆ ๒. ต้องเที่ยวไปในกลางคืนได้ ๓. ชอบอยู่ในที่สงัดจากคน ๔. ทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย” หรือ…. “สัตว์เดรัจฉานมันดีกว่าคนตรงที่มันไม่มีมายา ไม่หลอกลวงใคร มีครูอาจารย์ก็คือคนเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสาร คนเราซิโง่เป็นพุทธะได้ แต่หลอกลวงตนเองว่าเป็นไปไม่ได้ ร่างกายก็มีให้พิจารณาว่าเป็นของเน่าเป็นของเหม็น แต่เราพิจารณาว่าเป็นของหอมน่ารัก โง่ไหมคนเรา” และเมื่อเทศน์จบลงท่านชอบถามผู้ฟังว่า “ฟังเทศน์หลวงตาดีไหม” คำถามเช่นนี้ ท่านบอกว่า หมายถึง การฟังธรรมครั้งนี้ได้รับความสงบเย็นของจิตไหม และเกิดสังเวชในความชั่วไหม ท่านชอบตักเตือนเสมอว่าการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างที่ท่านบูรพาจารย์ทั้งหลายดำเนินมานั้น  ท่านพยายามไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติธรรม  พยายามให้เกิดความสนใจในธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ การที่เราเกิดความเบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัตินี้เป็นการที่เราจะดำเนินไปไม่ได้นาน และจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก แต่เกิดความสังเวชในธรรมบางอย่างนั้นเป็นการดี เพราะจะเป็นประโยชน์แก่เราผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วไม่เป็นไร เพราะถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วแล้วก็เร่งพยายามทำความดีต่อไป

ปัจฉิมบท

เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗  โดยอาการอาพาธ รวมสิริอายุได้ ๘๖ ปี บวชพระธรรมนิกาย ๑๙ พรรษา ธรรมยุติได้ ๔๖ พรรษา

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล(พระราชวุฒาจารย์)_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ดุลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) วัดบรูพาราราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ถือกำเนิด  ณ  บ้านปราสาท  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๐ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะนั้นพระยาสุรินทร์ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่  จังหวัดอุบลราชธานี  เนื่องจากเจ้าเมืองอุบลฯและกรรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่  ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

บิดาของท่านชื่อ  นายแดง  มารดาชื่อ  นางเงิน  นามสกุล ดีมาก แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า”เกษมสินธุ์” นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนัก ประจำอยู่ที่วัดสุทัศน์หน้ารามจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลา มีหลาน ชายคนหนึ่งชื่อพร้อมไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่าเกษมสินธุ์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า “เกษมสินธุ์” ไปด้วย

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลึ้ง

คนที่ ๒ เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)

คนที่ ๓ เป็นชาย ชื่อ แดน

คนที่ ๔ เป็นหญิง ชื่อ รัตน์

คนที่ ๕ เป็นหญิง ชื่อ ทอง

พี่น้องของท่านต่างพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเฒ่าวัยชรา  และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง ๗๐ปีทั้งหมดหลวงปู่ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง ๙๖ ปี

ชีวิตของหลวงปู่เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น  ก็ถูกกำหนดให้เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง  แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต  ดังนั้นท่านจึงมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน  งานในบ้าน เช่น  ตักน้ำ  ตำข้าว  หุงหาอาหารเลี้ยงดูน้อง ๆ ซึ่งมีหลายคน  งานนอกบ้านเช่นช่วยแบ่งเบาภาระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นา และเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย  เป็นต้น

สังขารขันธ์ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้ดับลงตามสภาวธรรม เมื่อ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ แม้ว่าหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทั้งร่างกายไปแล้ว  แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย  ยังเหลืออยู่  คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุก ๆ คนไม่ลืมเลือน

โอวาทธรรม

สำหรับหลวงปู่นั้น  ท่านเล่าว่าได้ตริตรอง พิจารณาตามหัวข้อกมมัฏฐานว่า “สพเพ สงขารา อนิจจา สพเพ สญญา อนตตา” ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มาในเวลาต่อมา  ก็เกิดความสว่างไสวในใจชัดว่า  เมื่อสังขารขันธ์ จับได้แล้ว  ความเป็นตัวตนจากมีไม่ได้  เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่  ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร  และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า

๑. จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย

๒. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหวเป็นทุกข์

๓. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค

๔. ผลเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ แล้วท่านเล่าว่าเมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจ ทั้ง ๔ได้ดังนี้แล้ว  ก็ได้พิจารณาทำความ

เข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย

คติธรรม  ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ

“อย่าส่งจิตออกนอก”

“จงหยุดคิดให้ได้”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เดิมชื่อ ปิ่น บุญโท เป็นน้องชายของ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม อายุห่างกัน ๓ ปี โดยหลวงปู่มหาปิ่นเกิด พ.ศ. ๒๔๓๕ ปีมะโรง เดือน ๔ วันพฤหัสบดี ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) เป็นบุตรของ เพียอินทวงศ์ (อ้วน)  และ นางหล้า บุญโท (เพียอินทวงศ์ เป็นตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองลาวกาว – ลาวพวน มีหน้าที่จัดการศึกษาและการพระศาสนา) ท่านเกิดมาท่ามกลางวงศ์ตระกูลที่อุดมสมบูรณ์ มีความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็ก มีความจำดี จดจำคำสอนของพ่อแม่ได้ขึ้นใจ รู้สิ่งใดควรไม่ควร เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนไม่เคยละเมิด มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง บิดาและมารดาของท่านมีความเข้าใจพิธีกรรมและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับพระสงฆ์ได้อย่างถูกต้อง อยากเห็นอนาคตของบุตรก้าวหน้า จึงตั้งใจให้บวชเรียน ดังนั้น เพียอินทวงศ์ (อ้วน) และ นางหล้า จึงส่งเสริมให้บรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ให้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในบวรพุทธศาสนา เป็นพระภิกษุปิ่น ปญฺญาพโล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ขณะที่ท่านมีอายุ ๒๒ ปี เป็นการบวชในตระกูลต่อจากที่ได้บวชพระภิกษุสิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้เป็นพี่ชายซึ่งบวชอยู่ที่วัดสุทัศนารามในปี พ.ศ. ๒๔๕๒

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินทางกลับมาจากจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ มายังจังหวัดอุบลราชธานี จำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพาราม พระภิกษุสิงห์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นครูสอนวิชาสามัญแก่นักเรียนวัดสุทัศนารามเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ท่านได้ยินกิตติศัพท์ว่า ท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ก็ใคร่ที่จะได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ จึงได้เข้าไปถวายตัวเป็นศิษย์ และต่อมาก็ได้นำพระปิ่นผู้เป็นน้องชาย ไปกราบฟังธรรมกับหลวงปู่มั่น ทำให้ท่านเกิดความศรัทธามาก และได้ให้ปฏิญาณว่า จะขอลาไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ สัก ๕-๖ ปีก่อน แล้วจึงจะออกมาปฏิบัติธรรมด้วย และด้วยความที่ท่านขวนขวายสนใจศึกษาเล่าเรียน ในปีประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ พระปิ่นจึงได้ออกเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานี เข้าไปอยู่จำพรรษาอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้ตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียนจากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นเวลา ๕ ปี และได้หาความรู้อย่างทุ่มเทชีวิต ความมุมานะอดทนทำให้ท่าน สอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก จนกระทั่งได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ตามลำดับ ท่านมีความเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างดี

ธรรมโอวาท

พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล ท่านได้รวบรวมสติปัญญาศึกษาธรรม ท่านได้จดจำคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้มาก ท่านได้เทศนาสั่งสอนประชาชนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง ส่วนใหญ่จะได้แก่เรื่องเหล่านี้ คือ ความธรรมจะเกิดขึ้นกับจิตใจได้จริง ถ้าเราตั้งใจ แต่จิตใจของบุคคลปกตินั้น มีกำลังอ่อน จึงไม่สามารถจะกำจัดความชั่วอันเป็นมารที่มีอารมณ์เป็นอาวุธ ซึ่งเข้ามา รบกวนจิตใจได้ ผู้ปรารถนาจะต่อสู้กับกิเลสมารภายในจำต้องทำศรัทธาความเชื่อให้เกิดขึ้น ด้วยการพิจารณาจับเหตุจับผลสอดส่องแสวงหาความจริง แล้วกำจัดความไม่เชื่อให้เสื่อมสูญไป คือ
๑. ความเชื่อเมื่อเกิดขึ้น เป็นกำลังกล้า ก็ได้ชื่อว่า เป็น ศรัทธาพละ กำลังคือศรัทธา
๒. ทำความเพียรให้เกิดขึ้น กำจัดความเกียจคร้านเสียได้ เมื่อความเกียจคร้านไม่มีเข้ามาครอบงำใจ ก็เป็นวิริยะ ความบากบั่น หรือ ความเพียรนี้ เมื่อมีกำลังกล้าก็เป็นวิริยะพละ
๓. ทำสติความระลึกได้ให้เกิดมีขึ้น กำจัดความหลงลืมสติให้เสื่อมไป เมื่อมีกำลังแก่กล้า ก็เป็นสติพละ
๔. ทำใจให้มั่นคงไม่คลอนแคลน กำจัดความฟุ้งซ่านเสียได้ เมื่อมีกำลังกล้า ก็เป็นสมาธิพละ
๕. ทำความพิจารณาตามความเป็นจริงในอารมณ์ที่ได้ประสบพบเห็น เป็นเครื่องกำจัด ความรู้ผิดเห็นผิดให้เสื่อมหายไป เมื่อมีกำลังกล้า ก็เป็น ปัญญาพละ

ฉะนั้น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จึงเป็นธรรมดาที่มีอุปการะเป็นเครื่องอุดหนุนใจ เพื่อเป็นกำลังเข้าต่อสู้กับข้าศึกภายในใจของตนเสียได้ ก็ถึงความเป็นใหญ่เป็นไทแก่จิตใจของบุคคลนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ กิเลสมารย่อมสงบไม่เกิดขึ้นครอบงำ จิตใจอีก ผู้ปฏิบัติเท่านั้น จะได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ เพราะทรงทำความเป็นผู้รู้ให้เกิดมีขึ้นด้วยอาศัยพละ ตลอดจนถึงอินทรีย์เป็นลำดับ ด้วยประการฉะนี้
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ว่า
อคติ แปลว่า ความลำเอียง พระพุทธองค์ทรงจัดเป็นสิ่งที่เป็นบาปทางใจ คือ
๑. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความพอใจ
๒. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความโกรธเคือง
๓. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความหลง
๔. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความกลัว

เพราะ บาปทางใจนี้ คือ อคติทั้ง 4 ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ธรรมบทนี้ เมื่อไม่ลุอำนาจด้วยอคติ ทั้ง 4 แล้ว ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องสำรวมระวัง พยายามปรารภความเพียร ชำระสิ่งที่เป็นบาปเหล่าน ี้มิให้ครอบงำจิตใจของท่าน

นอกจากนี้แล้ว พระพุทธเจ้ายังทรงชี้ เหตุแห่งความฉิบหายของโภคสมบัติอีก ๖ ประการ คือ
๑. ไม่ให้ดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์สมบัติ
๒. ไม่ให้เที่ยวกลางคืน
๓. ไม่ให้เที่ยวดูการเล่น
๔. ไม่ให้ประกอบการเล่นการพนัน
๕. ไม่ให้คบคนชั่วเป็นมิตร
๖. ไม่ให้ประกอบไว้ซึ่งความเกียจคร้านเนือง ๆ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีว่า ผู้มีศีล มีธรรม แม้จะใช้ชีวิตเป็นฆราวาสก็อยู่ด้วยความสันติสุข ไม่มีกิเลสเครื่องหยาบ ๆ ทะเลาะเบาะแว้งกัน ย่อมตั้งอยู่ใน สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ
๑. ทาน การให้
๒. ปิยวาจา วาจาอันไพเราะ
๓. อัตถจริยา ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่โลก
๔. สมานัตตตา ความมีตนเสมอในบุคคลนั้น ในธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นผู้ถือตัว ดังที่ท่านได้แสดงไว้ใน ทิศ ๖ นั้นเอง คือ
๑. อาจารย์กับศิษย์ ก็เคารพบำรุงซึ่งกันและกัน
๒. มารดาบิดากับบุตร ก็เคารพบำรุงซึ่งกันและกัน
๓. สามีภรรยา ก็สงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน
๔. เพื่อนกับมิตร ก็สงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน
๕. นายกับบ่าว ก็บำรุงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
๖. สมณพราหมณ์กับกุลบุตร คือ อุบาสก อุบาสิกา ก็บำรุงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน

ท่านอริยะย่อมอยู่เป็นสุขก็เพราะมีธรรมเป็นที่พึ่งและที่อาศัย ดังต่อไปนี้
๑. สักกายทิฐิ ไม่เห็นกายเป็นตน ไม่เห็นตนเป็นกาย ไม่เห็นกายมีในตน ไม่เห็นตนมีในกาย เหล่านี้เป็นต้น เช่น ใน เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็เหมือนกัน
๒. วิจิกิจฉา ท่านข้ามทิฐิทั้ง ๒ ได้แล้ว เชื่อต่อกรรม และ ผลของกรรม
๓. สีลัพพตปรามาส ท่านเป็นผู้ไม่ถอยหลัง มีแต่เจริญก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด

ท่านพิจารณาเห็นแล้วในสัจธรรมตามเป็นจริงว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่คือธรรม เป็นที่ดับทุกข์ นี่คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม อันเป็นที่ดับทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย

ปัจฉิมบท

พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวม ได้ ๕ พรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้ติดตามหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในจังหวัดปราจีนบุรี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณ พระปราจีนมุนี ตั้งแต่เมื่อยังไม่ตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ท่านพักที่สวนมะม่วงของอาจารย์พร บรรลือคุณ

ปี พ ศ. ๒๔๘๑ เมื่อครั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระมหาปิ่น กับ หลวงปู่สิงห์ได้ร่วมกันเรียบเรียงหนังสือที่ระลึก เรื่องกติกาวิธีสัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับสำนักชีกรรมฐาน ถวายมุทิตาจิตแด่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เพื่อพิมพ์แจกในงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลวงปู่สองพี่น้องนี้ก็ได้ร่วมกันแต่งหนังสือ แบบถึงพระไตรสรณคมน์ โดยถวายหลวงปู่ใหญ่ให้พิจารณาตรวจทานด้วย

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่จังหวัดปราจีนบุรีอีกในครั้งนี้ท่านพักที่สำนักสงฆ์ วัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ๕ พรรษา

ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในพิธีอุปสมบท พระอาจารย์สุวัจน์  สุวโจ (ทองศรี) ณ วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ครั้นเมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้มรณภาพลงที่วัดอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ หลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่น และคณะศิษย์ ได้เดินทางไปรับศพหลวงปู่ใหญ่ และยังเป็นกำลังสำคัญในการจัดงานถวายเพลิงศพของหลวงปู่ใหญ่ที่วัดบูรพา ในเมืองอุบลฯ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖

เมื่อกลับจากจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ในปี พ ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๘ หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้อาพาธอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงนั้น พระอาจารย์ฝั้นซึ่งได้รับคำสั่งจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งอาพาธอยู่ ให้เข้ามาถวายธรรมโอสถ ซึ่งสมเด็จพอใจในพระธรรมเทศนานั้น จึงได้สั่งให้พระอาจารย์ฝั้นอยู่ที่อุบลราชธานีเพื่ออุปัฏฐากสมเด็จ

ในพรรษานั้น ในช่วงเวลาที่พ้นเวลาอุปัฏฐากสมเด็จ พระอาจารย์ฝั้นก็ประกอบยารักษาโรค ถวายพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งปีนั้นกำลังอาพาธด้วยโรคปอด อยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ พระอาจารย์ฝั้นได้พยายามหาสมุนไพรต่าง ๆ มาปรุง แล้วกลั่นเป็นยาถวายพระอาจารย์มหาปิ่น หยูกยาที่ทันสมัยก็ไม่มี เพราะขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระมหาปิ่นอาพาธอยู่ ๒ พรรษา ไม่หายและได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙

หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระมหาเปรียญรูปแรกที่มีการศึกษาปริยัติธรรม ทรงจำไว้มาก แล้วหันมาสนใจปฏิบัติธรรม ออกธุดงค์รอนแรมไปยังถิ่นทุรกันดาร เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น อย่างไม่สนใจใยดีต่อ ลาภ ยศ สักการะ แม้ท่านสามารถที่จะสามารถตักตวงได้ แต่กลับไม่แยแส จนกลายมาเป็นพระนักปฏิบัติ นักแสดงธรรม สู่เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา จนเป็นที่ยอมรับเคารพนับถือ ของท่านผู้ใฝ่ในการปฏิบัติธรรม

ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม ท่านได้ปฏิบัติตนสมกับคำสวดพรรณนาคุณของพระสงฆ์ หรือ สังฆคุณ ที่ว่า สุปฏิปนฺโน อุชุปฏิปนฺโน ญายปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส โดยแท้

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ฝ่ายมหานิกาย ที่มีอาจาระงดงาม ไม่ติดที่ไม่ติดวัด สมณะสันโดษเป็นที่สุด ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวกับหลวงปู่ทองรัตน์ ครั้งหนึ่งว่า “จิตท่านเท่ากับจิตเราแล้ว จงไปเทศนาอบรมสั่งสอนได้” ด้วยเห็นว่าหลวงปู่เป็นพระแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว เป็นพระแท้จริง ท่านพระอาจารย์มั่นจึงไม่ญัตติให้เป็นธรรมยุตดังลูกศิษย์รูปอื่นๆ หลวงปู่ทองรัตน์จึงเป็นพระภิกษุผู้ประสานติดต่อภิกษุสงฆ์มหานิกายให้เป็นพระป่า ยึดธรรมปฏิบัติตามพระบูรพาจารย์ใหญ่ท่านพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่น

หลวงปู่ทองรัตน์ มีนามเดิมว่า ทองรัตน์ บรรพบุรุษของตระกูลเป็นชาวบ้านชี้ทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี แล้วอพยพย้ายถิ่นฐานครอบครัวไปอยู่บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีวันชัย (อำเภอศรีสงคราม) จังหวัดนครพนม ท่านเกิดที่บ้านสามผงหรือบ้านชี้ทวน ยังไม่ทราบแน่ชัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ซึ่งเป็นบ้านเดียวกับ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร แห่งภูลังกา จังหวัดหนองคาย ท่านมีพี่ชายคนหนึ่ง เป็นกำนันของตำบลนี้ คือกำนันศรีทัศน์ บิดาเป็นคหบดีคนมั่งคั่งในหมู่บ้าน และมีหน้าที่เก็บส่วย  ในวัยเด็ก ท่านเป็นคนค่อนข้างจะหัวดื้อ นิสัยออกจะนักเลง ในงานบุญประจำปีหรือเทศกาลของหมู่บ้าน ช่วงวัยเริ่มย่างเข้าสู่วัยหนุ่มฉกรรจ์ท่านชอบไปทางนักเลงสุรา สะพายบั้งทิงเหล้าหรือกระบอกสุราเหมือนนักเลงเหล้า หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม แห่งวัดสนามชัย บ้านสนามชัย ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งของหลวงปู่ทองรัตน์เล่าถึงภูมิหลังของท่าน จากชีวิตคฤหัสถ์ที่สนุกสนานคึกคะนอง ค่อนไปทางนักเลงสุรากลางบ้าน พูดจาโผงผาง พูดขำขันตลกขบขัน และช่วยบิดามารดาทำมาหากินอย่างขยันขันแข็ง จนล่วงเลยวัยเบญจเพศชีวิตของท่านจึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

เหตุที่จูงใจที่ทำให้หลวงปู่ทองรัตน์ตัดสินใจออกบวชก็คือ ท่านได้ไปจีบสาวต่างบ้าน สาวนั้นได้เกิดความชอบพอใจขึ้นมา และหลายครั้งได้คะยั้นคะยอให้ท่านนำญาติผู้ใหญ่ไปสู่ขอตามประเพณี ถ้าไม่ไปสู่ขอ สาวเจ้าได้ยื่นคำขาดว่าจะขอหนีตาม ท่านได้คิดอยู่หลายวัน ถ้าจะปล่อยให้สาวหนีตามก็ไม่อยู่ในวิสัยของลูกผู้ชายอย่างท่านจะทำ ถ้าบอกปฏิเสธก็กลัวว่าสาวเจ้าจะเสียใจ และได้ตัดสินใจว่าจะยังไม่ขอแต่งงาน ถ้าขืนอยู่ต่อไปก็คงจะไม่พ้นอยู่ดี ท่านจึงบอกกับบิดาว่า ให้พาไปฝากกับพระอุปัชฌาย์เพื่อบวช บิดาก็ไม่อยากให้บวช เพราะท่านเป็นกำลังสำคัญในบ้าน จึงอยากให้มีครอบครัวมากกว่าให้ออกบวช แต่ก็ต้องยอมตามคำอ้อนวอน และเหตุผลที่ได้อ้างต่อบิดาว่า “ยังไม่อยากมีเมีย” ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า “บวชหนีผู้สาว” (บวชหนีหญิงสาว)  แต่เมื่อหลวงปู่ได้บวชแล้วซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงไม่ยอมลาสิกขา หลวงปู่ทองรัตน์ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วลาสิกขาเป็นเซียงทองรัตน์ มีชีวิตเสพสุขสนุกสนานและช่วยงานการบิดามารดา จนประมาณว่าหลวงปู่อุปสมบทอีกครั้งราวอายุ ๒๖ ปี โดยบวชที่บ้านสามผง มี หลวงปู่คาร คนฺธิโย วัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “กนฺตสีโล” หลวงปู่สนใจและตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย ปริยัติธรรม ด้วยความเอาใจใส่โดยอยู่ในสายพระวัดบ้านนานถึง ๕ พรรษา จึงเป็นพระปาฏิโมกข์ ที่แตกฉานในการสวดปาติโมกข์

ในพรรษาที่ ๖ หลวงปู่เริ่มเบื่อหน่ายต่อการศึกษาปริยัติธรรม นึกเปรียบเทียบการปฏิบัติกับพระธรรมวินัยของตนแล้วดูจะห่างไกลกันมาก ยิ่งมีความสงสัยในการประพฤติปฏิบัติว่าจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง อีกทั้งได้ยินข่าวครูบาอาจารย์ในทางวิปัสสนากรรมฐานที่สกลนคร คือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส และวัดป่าในละแวกเขตอำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมสูง ชำนาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสศรัทธามาก

ดังนั้น ในพรรษาที่ ๖ หลวงปู่ทองรัตน์ได้เดินทางไปจังหวัดสกลนคร เข้านมัสการและขอโอกาสถามปัญหาในข้อวัตรปฏิบัติ ปกิณกะธรรมและวิสุทธิมรรค แล้วขอฝากตัวเป็นศิษย์

ธรรมโอวาท

พ่อใหญ่สอน นามฮุง ได้เล่าถึงการสั่งสอนคณะศิษย์และญาติโยมว่า หลวงปู่เอาใจใส่เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ ถือธุดงค์วัตรสม่ำเสมอ ท่านพูดน้อยทำมาก และเอาใจใส่ลูกศิษย์ทุกคน และสั่งสอนให้เอาตัวอย่างท่านในการปฏิบัติ ลูกศิษย์เคารพยำเกรงท่านมาก ไม่มีใครกล้าทำผิด การฉันจะฉันครั้งเดียว ฉันในบาตร ไม่ออกปากขอหากมิใช่ญาติ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถึงแม้ท่านจะอารมณ์ขัน บางคนหาว่าท่านไม่สำรวม แต่จริงๆ แล้วท่านสำรวมระวังและสั่งสอนพระเณรให้สำรวมระวังอย่างยิ่ง ข้าวที่ท่านฉัน ท่านจะแยกเอาไว้จากที่เขาเจตนาตักบาตร ส่วนที่ท่านออกอุบายให้เขาตักบาตร ท่านจะแยกไว้ต่างหากและให้ทานแก่ญาติโยม

หลวงพ่อปุ่น ฉนฺทาโร เล่าให้ฟังว่า การแสดงธรรมอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านครูบาจารย์ใหญ่ทองรัตน์นั้นสูงมาก กิริยาวาจาดุดันรุนแรง แต่จิตใจจริง ๆ ไม่มีอะไร ครั้งหนึ่งมีศิษย์ไปถามเรื่องวิธีการปฏิบัติธรรม ท่านครูบาจารย์พูดเสียงดังมากพร้อมกับชี้ไปที่ตอไม้ใหญ่ใกล้ ๆ กุฏิของท่านว่าเห็นตอไม้ไหม ทำอย่างตอไม้นั่นละ ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปุ่นและสานุศิษย์ได้ติดตามธุดงค์ ระหว่างทาง ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีหญิงชาวบ้าน มาร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญกับท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ที่ลูกชายได้ตายจากไป ให้ช่วยชีวิตคืน ท่านครูบาอาจารย์จึงพูดขึ้นว่า “ให้มันตาย ให้มันตายหมดโคตร หมดเชื้อหมดแนวมัน หมดพ่อ หมดแม่มัน” หญิงคนนั้นหยุดร้องไห้ฟูมฟายทันที แล้วท่านจึงเทศนาโปรดอบรมให้คลายทุกข์คลายโศกร่ำพรรณนา ให้เข้าใจรู้เท่าทันวัฏสังขาร

อีกครั้งหนึ่ง ขณะพักธุดงค์ระหว่างทางการแสวงหาที่วิเวก ชาวบ้านหามไก่มาหลายตัวทั้งตัวผู้ตัวเมีย ท่านครูบาจารย์ทองรัตน์จึงถามคณะลูกศิษย์ที่ติดตามว่า “เขาหามอะไรนี่” บางรูปก็ว่าไก่ตัวผู้ บางรูปก็ว่าไก่ตัวเมีย บางรูปก็ว่าไก่ตัวผู้ตัวเมีย ถกเถียงกัน ท่านครูบาจารย์จึงตะโกนดัง ๆ ว่า “มันสิไก่ตัวผู้ตัวเมียได้อย่างไร มันไม่ใช่ตัวผู้ตัวเมีย ไม่ใช่ไก่ เป็นสิ่งสมมติทั้งนั้นละ” อย่าติดสมมติ

หลวงพ่ออวน ปคุโณ ลูกศิษย์ที่ได้ศึกษาธรรมในช่วงตอนหลายชีวิตของท่านครูบาจารย์ทองรัตน์ ได้เล่าว่า ธรรมโอวาทที่ท่านครูบาจารย์ย้ำเตือนอยู่เสมอ คือ พระวินัยและศีล ใช้แนะนำปฏิบัติเบื้องต้นจะแนะนำวินัย มีวินัยเป็นวัตรวินัยจะทำให้เกิดศีลบริสุทธิ์ ทำศีลให้บริสุทธิ์ ศีลจะนำไปสู่การเป็นสมาธิ เกิดสมาธิจะนำไปสู่การเกิดปัญญา ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง รักษาวินัยให้แน่วแน่ตั้งจิตให้เป็นหนึ่ง พิจารณาขันธ์ ๕ ท่านครูบาจารย์จะไม่เทศน์พรรณนาอย่างกว้างขวางหรือแยบยล แต่ให้ปฏิบัติ

โอวาทที่ท่านเน้นในการสอนญาติโยม ก็คือ เน้นการให้ทาน การรักษาศีล และสมาธิ

สำหรับการสอนพระเณร หลวงปู่เน้นข้อวัตรปฏิบัติธรรมวินัย ให้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ให้สำรวมระวังรวมทั้งธุดงควัตร การปฏิบัติภาวนา การมีสติ เป็นคนมักน้อยสันโดษ

ปัจฉิมบท

หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ครูบาจารย์เฒ่า) ได้ละสังขารจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก ณ วัดป่าบ้านคุ้ม (วัดป่ามณีรัตน์) จังหวัดอุบลราชธานี สิริอายุรวมได้ ๖๘ ปี พรรษา ๔๒ คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนโดยทั่วไปที่ศรัทธาเคารพรักท่าน ได้ร่วมกันฌาปนกิจศพหลวงปู่หลังจากมรณภาพไม่นาน แต่ก็ไม่ได้ฌาปนกิจศพตามที่ท่านสั่งไว้ ศิษย์บางคนได้อัฐิท่านไปไว้สักการะ โดยอัฐิของท่านส่วนหนึ่งชาวบ้านคุ้มได้บรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างไว้กลางเนินวัดป่าบ้านคุ้ม (วัดป่ามณีรัตน์) เพื่อไว้เคารพสักการะมาจนถึงบัดนี้

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ขาว อนาลโย_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง วัดหนองบัวลำภู” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ขาว  อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง วัดหนองบัวลำภู นามเดิมของท่านชื่อ ขาว  โคระถา เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๑๐ ค่ำเดือนอ้าย ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โยมบิดาชื่อ พั่ว โยมมารดาชื่อ รอด โคระถา ท่านมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ อาชีพหลักของครอบครัวคือ ทำนาและค้าขาย เมื่อหลวงปู่ขาวยังอยู่ในวัยหนุ่มแน่นก็ดำรงชีพตามวิสัยของฆราวาสทั้งหลาย เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้จัดให้มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางมี และได้มีบุตรด้วยกัน ๓ คน ท่านพระอาจารย์มหาบัวเล่าว่า หลวงปู่ขาว มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจังมาก มาตั้งแต่เป็นฆราวาส เมื่อบวชแล้วนิสัยเอาจริงเอาจังจึงติดตัวมา ยิ่งบวชในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาจริงที่สอนให้คนทำจริงในสิ่งที่ควรทำด้วยแล้ว ท่านยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมมากขึ้นโดยลำดับ เกี่ยวกับอาชีพการงาน เมื่อครั้งหลวงปู่ยังเป็นฆราวาส ท่านพระอาจารย์มหาบัวได้เรียบเรียงเป็นคำพูดของหลวงปู่ไว้ในคำถามคำตอบปัญหาธรรม ในหนังสือ “อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ” ของหลวงปู่ ดังนี้ “อันว่าสกุลสูงสกุลต่ำนั้น บรรดาสัตว์โลกผู้อยู่ใต้อำนาจกฎแห่งกรรม ย่อมมีทางเกิดได้ด้วยกัน อย่าว่าแต่ปู่คนเดียวเลย แม้แต่ภพชาติสูงต่ำนั้นเป็นสายทางเดินของสัตว์โลก พรุ่งนี้กำจำต้องเดินต้องผ่านเหมือนกันหมด คนมีวาสนามากกว่าผ่าน คนมีวาสนาน้อยก็ผ่าน พบกำหนดสกุลต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว เช่นหลานเป็นพระเจ้าฟ้าเจ้าคุณมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ร้านจากที่นี้ไปกรุงเทพฯ ด้วยเท้าก็ดี ด้วยรถยนต์รถไฟก็ดี ด้วยเรือหัวเรือบินก็ดี ร้านจำต้องผ่านดิน ฟ้า อากาศ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ซึ่งมีอยู่ตามรายทางเรื่อยไปจนถึงจุดที่หมายคือกรุงเทพโดยไม่อาจสงสัย”

“การเกิดในสุกลสูง ๆ ต่ำ ๆ ตลอดภพชาติต่าง ๆ กันนั้น สัตว์โลกก็ตามวาระกรรมของตนมาถึง แม้จะทรงบุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่เมื่อถึงวาระกรรมของตนที่ควรจะเสวยอย่างไรก็จำต้องเสวยตามรายทาง คือภพชาตินั้น ๆ เท่าที่ปูมาเกิดในสกุลชาวนาปลุกก็ไม่เสียอกเสียใจไม่น้อยนัดทำใจ เพราะปู่ถือว่าปู่มาเกิดมาตามวาระกรรมของปู่เองปู่จะไม่ตำหนิติเตียนบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ตลอดญาติมิตรพี่น้องที่เกิดร่วมและใกล้ชิดสนิทกันว่ามาให้โทษปู่ มันเป็นกรรมของใครของเรา ดังธรรมท่านสอนไว้ไม่มีผิด ไม่มีที่คัดค้านปู่ยอมรับธรรมท่านยังสนใจไม่มีวันถอนเลย”

“สกุลชาวนานั้นมันต่ำต้อยที่ตรงไหน คนทั้งโลกได้อาศัยข้าวในท้องนาของชาวนาตลอดมา จึงพยุงชีวิตร่างกายมารอดมิใช่หรือ ที่ถูกต้องตามความจริง ควรชมเชยว่า สกุลชาวนาคือสกุลเลี้ยงโลก คือสกุลพ่อสกุลแม่ของมนุษย์ทั้งโลก ด้วยความเป็นคนกตัญญูรู้บุญรู้คุณของสิ่งเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดู แล้วสกุลชาวนานั้นต่ำที่ตรงไหนลองว่ามาซิ…ถ้าตำหนิว่าเขาต่ำจริง เราคนสกุลสูงและสูง ๆ ก็อยากกินข้าวและเผือกมันของเขาซิ มันจะเสียเกียรติของคนลืมตน เย่อหยิ่ง ปล่อยให้ตายเสียจะได้ไม่หนักโลกของชาวนาที่หาข้าวมาให้กิน กินแล้วไม่รู้จักบุญคุณ”

“ คราวเป็นฆราวาสมันก็คิดบ้า ๆ เหมือนโลกตื่นลมเขาเหมือนกัน ว่าตนเป็นลูกชาวนาวาสนาน้อย คิดอยากเป็นเจ้าเป็นนนายกับเขาเหมือนกัน อย่างน้อยไปเป็นครูสอนนักเรียนก็ยังดีแต่เราคนจนหาเลี้ยงแม่ เลี้ยงน้อง พอรู้สึกตัวว่ามีฐานะยากจนไม่มีเวลาเรียนและไม่มีทุนเรียนหนังสือ ดังนี้แล้วก็หยุดคิด หยุดกังวลใจกับเรื่องนี้ พอมาบวชปฏิบัติธรรมไปเรื่อย ๆ ความรู้สึกกับธรรมเริ่มซึมซาบเข้าถึงกันวันละเล็กละน้อย ความที่เคยคิดว่าตนเป็นคนอาภัพวาสนาเป็นลูกชาวนาก็ค่อย ๆ หายไป ๆ จนกลายเป็นความรู้สึกว่า จะเกิดในสกุลใดก็คือสกุลมนุษย์ ที่ต้องตะเกียกตะกายหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพื่อความอยู่รอดเหมือน ๆ กันไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าทุกวันนี้ซึ่งแก่มากแล้ว มันเลยมีความรู้สึกไปคนละโลกแล้วรู้สึกไปในแง่ที่รู้เขาไม่ค่อยคิดหรือไม่คิดกันเสียแล้วทุกวันนี้”

เมื่ออายุของหลวงปู่มากขึ้น ก็ให้เกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่และความวุ่นวายต่าง ๆ ของทางโลก จิตใจให้รุ่มร้อนอยากจะหาที่สงบ เพื่อทำจิตให้เงียบสงัด ผลจากความวุ่นวายทั้งหลายชีวิตในทางโลกของหลวงปู่ไม่ค่อยราบรื่นนัก เหตุการณ์สำคัญอันหนึ่ง ท่านพระอาจารย์มหาบัวได้เรียบเรียงเป็นคำพูดของหลวงปู่สอนหลานไว้ดังนี้

“ปู่จะพูดตรงไปตรงมาและสรุปความย่อ ๆ เลยนะหลาน เดิมปู่เป็นคนขยันขันแข็งรับผิดชอบต่อครอบครัวอย่างจริงใจ แต่การทำมาหาเลี้ยงครอบครัวไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่อยากให้เป็น ขัด ๆ เขิน ๆ ซึ่งทำให้ปู่คิดสงสารครอบครัวอยู่ไม่วาย จึงคิดและตัดสินใจลงไปรับจ้างทำนาทางภาคกลางพอได้เงินแล้วก็กลับมาบ้าน แต่เจ้ากรรมมาเจอเมียมีชู้ ตอนนี้ปู่เกือบเสียคนไปทั้งคนอย่างไม่คาดฝัน”
“ก็มาเจอเมียกำลังเริงรักหักสวาท อยู่กับชายชู้อย่างตำตาละซิหลาน ใครจะทนได้ปู่จนเกือบเสียคนไป คือขณะนั้นเองขณะที่ปู่แอบอ้อมมาดูตามคำบอกเล่าของชาวบ้านเวลาเงียบ ๆ ดึกสงัดพร้อมกับดาบอันคมกริบอยู่ในมือ เงือดเงื้อดาบสุดแรงเกิด จะฟาดฟันลงให้ขาดสะบั้นไปทั้งเมียทั้งชายชู้ แต่เผอิญชายชู้มองเห็นก่อน ยกมือขึ้นไหว้ปู่จนตัวสั่นเทา ๆ ขอชีวิตไว้ พร้อมทั้งยอมสารภาพความผิดที่ทำลงไปทุกอย่าง ขณะจิตสะดุดขึ้นเตือนว่าเขายอมแล้วอย่าทำ ๆ จะเป็นความเสียหายเพิ่มเข้าอีกหรือไม่มีผลดีอะไรเกิดขึ้นเลย ประกอบกับใจเกิดความสงสารชายชู้ผู้กลัวตายสุดขีด ใจเลยอ่อนลง แล้วเรียกร้องให้ชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ในขณะนั้นจนหายสงสัยในข้อเท็จจริงทั่วกัน แล้วประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้านจะเอาเรื่องอย่างหนัก ชายชู้ยอมรับทุกอย่างจึงปรับไหมด้วยเงินพร้อมกับประกาศยกเมียให้ชายชู้นั้นอย่างเปิดเผยในชุมนุมชน ตัดกรรมตัดเวรหายห่วงไปเสียที หลังจากนั้นมีแต่สลดสังเวชใจเป็นกำลังคิดเรื่องอะไรในโลกไม่มีความลงใจ ติดใจที่จะทำที่จะอยู่แบบโลกเขาอยู่กันต่อไป ใจหมุนไปทางบวชเพื่อหนีโลกอันโสมมนี้ให้พ้นมันโดยถ่ายเดียว อย่างอื่นใจไม่ยอมรับเลย มีการออกบวชหนีโลกเพื่อความพ้นทุกข์ปณิธานตามเสด็จพระพุทธเจ้าพระสาวกท่านอย่างเดียวเท่านั้น เป็นที่ลงใจและสมัครใจอย่างเต็มที่ไม่มีอะไรมาขัดแย้ง ปู่จึงได้มาบวชและปฎิบัติธรรมอย่างถึงใจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ นี่แลสาเหตุที่จะให้ปู่ออกบวชอย่างรวดเร็ว เพราะความสังเวชเบื่อหน่ายประทับใจปู่จริงและตอนนี้แลเป็นตอนที่ปู่บวชด้วยศรัทธาความอยากบวชจริง ไม่มีอะไรจะห้ามไว้ได้ เนื่องจากความเบื่อหน่ายในเหตุการณ์ที่ประสบมาและคิดกว้างขวางเท่าไหร่ก็ยิ่งเกิดความเบื่อหน่ายมากขึ้นถึงกับต้องบวชดังใจหมาย”

การที่จะพรรณนาถึงเมตตาธรรมและตปธรรมของหลวงปู่ขาวแล้วน่าจะไม่มีที่ไหนจะบรรยยได้ดีเท่าที่ท่านพระอาจารย์มหาบัว  ญาณสมฺปนฺโน บรรยายไว้ใน หนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ” หน้า ๑๕๔-๒๓๖ ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมาก …การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้อย่างสบาย… ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญกัดเหล็กกัดเพรชจริง ๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชยอนุโมทนาท่านอย่างถึงใจ…ท่านเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านเองร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าเป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่” และมีความอีกตอนหนึ่งว่า “พระอาจารย์องค์นี้ป็นพระที่พร้อมจะยังประโยชน์แก่โลกผู้เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ไม่มีความบกพร่องทั้งมารยาทการแสดงออกทังอาการ ทั้งความรู้ภายในที่ฝังเพรชน้ำหนึ่งไว้อย่างลึกลับยากจะค้นพบได้อย่างง่ายดาย ถ้าไม่รอดตายก็ไม่อาจรู้ได้ ฌพาะองค์ท่าน ผู้เขียนลอบขโมยถวายงานท่านว่า เพรชน้ำหนึ่งในวงกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่น มาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว โดยไม่กระดากอายคนหาว่าบ้าเลย เพราะเกิดจากศรัทธาของตัวเอง”

สุดท้ายขอนำข้อเขียนของคุณหมออวย  เกตุสิงห์ ในภาคผนวกของหนังสืออนาลโยวาทความว่า “วันหนึ่งมีชายแปลกหน้าผู้หนึ่งวัยฉกรรจ์ ปรากฏกายขึ้นที่วัด และขอเข้านมัสการท่านอาจารย์ พอได้พบก็เข้าไปกราถึงที่เท้า แล้วเอ่ยปากขอบพระคุณที่ท่านช่วยเขาให้พ้นจากโทษมหันต์ ทุกคนงงงันไปหมด เพราะไม่เคยเห็นผู้นั้นมาก่อน ท่านอาจารย์นั่งฟังโดยดุษณียภาพ ชายนั้นเล่าว่า เขาเป็นทหารไปรบที่ประเทศลาวอยู่เป็นเวลานาน พอกลับมาบ้านก็ได้รู้เรื่องว่าภรรยานอกใจ เขาโกรธแค้นมาก เตรียมปืนจะไปยิงให้ตายทั้งชายชู้ด้วย ได้ไปแวะร้านเหล้า ดื่มจนเมาหลับไปแล้วก็ฝันว่า มีพระแก่องค์หนึ่งมาขอบิณฑบาตรความอาตมาโกรธแค้น และเทศน์ให้ฟังถึงบาปกรรมของการฆ่า จนชายนั้นยอมยกความพยาบาทให้ และถามพระนั้นว่าท่านชื่ออะไรมาจากไหน พระบอกว่าเราชื่อขาวมาแต่เมืองอุดรฯ พอตื่นชายนั้นก็ตัดสินใจออกเดินทางมาเสาะหาท่านอาจารย์ จนได้พบที่วัด ท่านอาจารย์อนุโมทนาแล้วอบรมต่อไปให้เข้าใจหลักกรรม ตลอดผลของการงดเว้นจากการฆ่า ทำให้ชายผู้นั้นซาบซึ้งในรสพระธรรม จนตัดสินใจที่จะอุปสมบทต่อไป เรื่องนีเป็นหลักฐานว่า ความเมตตาของท่านอาจารย์เป็นเรื่องจริงเพียงใด และกินอาณาบิเวณได้กว้างขวางเพียงใด ถ้าไม่เกิดเหตุที่เล่านี้ก็คงไม่มีใครรู้ความจริง”

อนุสรณ์สถานท่ถือว่าสำคัญที่สุดของหลวงปู่ขาวน่าจะได้อก่วัดถ้ำกลองเพล อันเป็นสถานที่ที่หลวงปู่พำนักจำพรรษามาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑ จนกระทั่งมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ วัดถ้ำกลองเพลมีเนื้อที่กว้างใหญ่มาก (ประมาณพันกว่าไร่) ส่วนใหญ่ป็นป่าร่มรื่นตั้งอยู่บนที่ลาดสันเขา มีโขดหินก้อนหินขนาดใหญ่มากมาย ป่าโขดหินและเพิงผาเป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก ด้านหลังเป็นอ่างเก็บน้ำชื่อ อ่างอาราม เป็นโครงการชลประทานพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของวัดถ้ำกลองเพลคือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว  อนาลโย สร้างเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสวยงามควรแก่การศึกษาและเคาระบูชาเป็นอย่างยิ่ง “ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”

โอวาทธรรม

 ธรรมโอวาทของหลวงปู่ขาวได้รับการรวบรวมจากเทปบันทึกเสียงโดยคุณหมออวย  เกตุสิงห์ ไว้ในหนังสือ “อนาลโยวาท” ซึ่งมีทั้งหมด ๒๓ กัณฑ์ คือ กัณฑ์ที่ ๑ ถึง ๒๒ เป็นธรรมเทศนาของหลวงปู่ ส่วนกัณฑ์ที่ ๒๓ ซึ่งเป็นกัณฑ์พิเศษเป็นของพระอาจารย์จันทา  ถาวโร บรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการปฏิบัติธรรมได้ศึกษาค้นคว้า

ส่วนคติธรรมต่าง ๆ จากวัดถ้ำกลองเพล คุณหมอสุเมธ  นราประเสริฐกุล ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ “พระธรรมเทศนา พระคุณเจ้าหลวงปุ่ขาว  อนาลโย” ซึ่งรวมเอากัณฑ์ที่ ๑ ถึง ๒๒ จากหนังสืออนาลโยวาทเข้าไว้ด้วย

ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศานาของหลวงปู่ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยมบ้านบ่อชะเนง (ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน)

“จนก็จนลืมตาย ทำไมเกิดมาไม่เหมือนกันล่ะ ไม่เหมือนกันคือความประพฤติผู้นี้เขาประพฤติดี เขามีการรักษษศีล มีการให้ทาน มีการสดับรับฟัง เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี อยู่ไหนก็มีแต่กรรมดี เท่านั้นแหละ กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วจ่าง ๆ กันมันเป็นเพรคาะกรรม พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ว่าตายแล้วสูญหรือตายแล้วเกิดอีก ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ก็ต้องไปรับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน ครั้นทำแล้วจะไม่ได้รับผลตอบแทนนั้นไม่มี คิดดู เหมือนเขามายืมปัจจัยเราไป ยืมแล้วเขาก็ต้องตอบแทน ครั้นไม่ตอบแทนก็ต้องเป็นถ้อยเป็นความกัน ทำแต่ความเดือดร้อน เขาจะต้องตอบแทนทุกสิ่งทุกอย่าง คิดดูเหมือนพวกเราเหมือนกัน ทำกรรมกันอยู่ผู้นั้นก็ต้องตอบแทนเรา ทำดีผลดีก็ตอบแทน ทำชั่วผลร้ายก็ตอบแทนเราให้ได้รับความลำบาก มันตอบแทนกันอยู่อย่างนั้นเพราะเหตุนั้นพวกเราควรทำให้เป็นกุศลควรรักษาศีลให้สมบูรณ์ ศีลสมบูรณ์แล้วเราก็อบรมทำสมาธิต่อไป มันจะมีความสงบสงัดมันจะรวม มันขัดข้องก็ที่อาการของศีลเราอย่างใดอย่างหนึ่ง มันผิดพลาดมันขัดข้องมันจึงไม่รวม ถ้าศีลไม่บริสุทธ์ก็เหมือนกัน การรักษาศีลเหมือนกับการปราบ (ปรับ) พื้นที่ที่เขาจะปลูกบ้านปลูกช่อง เขาก็ต้องปราบ (ปรับ) พื้นทีเสียก่อนเขาจึงปลูกลงไป อันนี้ฉันใดก็ดี ถ้าพวกเรารักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้วเหมือนปราบพื้นที่ จิตมันจึงไม่มีความเดือนร้อน จิตมันจะรวมอยู่เพราะมันเย็นราบรื่นดีมันเรียบไม่มีลุ่มดอน พากันทำไป อริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน พระพุทธเจ้าไม่ห้าม แล้วก็ไม่ใช่เป็นของหนัก ของเบา เลือกในใจจะเอาอะไรก็ตาม แล้วแต่ความถนัดแล้วแต่จริตของเรา มันถูกกับจริตอันใดมันสะดวกใจสบายใจ หานใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ พฺทฺโธ พฺทฺโธ หมายความว่าให้ใจยึดเอาพฺทฺโธเป็นอารมณ์เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก อารมณ์ภายนอกมันก็ไปจดจ่ออยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสความถูกต้องทางกาย ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันไม่ลง นี่แหละเรียกว่ามาร เรียกว่ามารคือไม่มีสติ อย่าให้มันไปคอยควบคุมไว้ ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้มาเอาพระพุทธเจ้าเป็นอามรมณ์ หรือจะเอาพระธรรมเป็นอามรมณ์ธัมโม ธัมโม ก็ตาม สังโฆก็ตาม หรืออัฐิ ๆ กระดุก ๆ ก็ตาม ระลึกอยู่นั่งก็ตามใจนอนก็ตามใจ เดินอยู่ก็ตาม เอามันอยู่อย่างนั้น หลับไปแล้วก็แล้วไป นั่นเป็นของไม่เหน็ดไม่เหนื่อย พระพุทธเจ้าก็ว่าอยู่ ผู้ที่ภาวนาจิตสงบ ลงชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้น ชั่วไก่กินน้ำหนึ่งอานิสงส์อักโขอักขังตั้งใจทำไป มันลงไปบางครั้ง ลงไปมี ๓ ขั้นสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเรคาบริกรรมไป พุธฌธก็ตามอะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อยมันก็ขึ้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิลงไปนานหน่อยก็ถอนขึ้นมาไปสู่อารมณ์อีก ภาวนาอยู่ไป ๆ มา ๆ อย่าหยุดอย่าหย่อน แล้วมันจะค่อยเป็นไปหรอก ทำไป ทำไป จะให้มันเสียมันไม่เสีย เป็นก็ไม่ว่าไม่เป็นก็ไม่ว่าแล้วแต่เขา อย่าไปนึก อันเรื่องเราทำทุกสิ่งทุกอย่างมีกรรมอะไรก็ตาม เราก้จะเอาเนื้อและเลือดและชีวิตจิตใจถวายบูชาพระพุทธเจ้า ถวายบูชาพระธรรม ถวายบูชาพระสงฆ์ต่างหาก ความอยากนี้พึ่งเข้าใจว่านั่นแหละหน้าตาของตัณหา อยากให้มันเป็น อยากให้มันลงโดยเร็ว อันนี้แหละนิวรณ์ตัวร้าย ให้ตั้งใจว่า ไม่เป็นก็ไม่ว่าหรอก เราจะเอชีวิตจิตใจถวายบูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระธรรม บูชาพระสงฆ์ตลอดวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เราอยากนั่นก็เป็นตัณหายืนขวางหน้าอยู่จิตจึงไม่ลง

[/ultimate_modal]
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เดิมชื่ออ่อน กาญวิบูลย์ เกิดวันอังคารขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ (ตามพ่อแม่ของท่านบอก) หรือเกิดวันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำหรือ ๑๒ ค่ำ (ตามปฏิทิน ๑๐๐ ปี) ณ บ้านดอนเงิน ตำบลแซแล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของ นายภูมีใหญ่และนางบุญมา กาญวิบูลย์ ซึ่งมีลูกทั้งหมด ๒๐ คน เลี้ยงจนเจริญเติบโตเพียง ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๘ ของผู้ที่ยังมีชีวิตรอดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่  ท่านได้รู้จักทำงานช่วยเหลือพ่อแม่มาตั้งแต่อายุได้ ๑๔ ปี  พ่อภูมีใหญ่ได้บวชเป็นพระอยู่นานถึง ๑๔ ปี ก่อนได้ลาสิกขาบทมาแต่งงาน ถึงขณะนี้อายุท่านจึงมากแล้ว ได้ทำหน้าที่ปกครองช่วยเจ้าฝ่ายศักดิ์ขวา ซึ่งเป็นปู่นั่นเอง อัญญาลุงเจ้าเมืองร้อยเอ็ดจึงได้ตั้งชื่อให้ว่าเมืองกลาง (ชื่อใหม่ของภูมีใหญ่) เป็นนักปราชญ์ จำพระปาติโมกข์วิชาคาถาอาคม เสียเคราะห์เสียเข็ญได้อย่างดี ทั้งกลางเมืองและนางบุญมา ต่างเป็นคนมีศีลธรรมประพฤติปฏิบัติ จดจำคำสอนจากพุทธศาสนามาสอน บุตรธิดา และหลานให้เข้าใจบุญบาปได้เป็นอันดี

เด็กชายอ่อนได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๗ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๒) สามเณรอ่อนได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย เมื่อเลิกจากเวลาเรียนแล้ว ก็ต้องเข้าไปรับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ปัดกวาด ทำความสะอาด ล้างกระโถน รุ่งเช้าก็ออกบิณฑบาต ท่านมีฝีมือด้านการช่าง ได้ร่วมกับพระอาจารย์นำดินมาสร้างพระพุทธรูป แกะสลักไม้ทำบานประตูหน้าต่างที่สวยงามมาก ท่านมีมานะอดทน ขยัน หมั่นเพียร ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดจอมศรีกับท่านพระครูพิทักษ์คณานุการผู้เป็นอุปัชฌาย์ ๓ ปี ท่านมีอายุ ๑๙ ปี จึงเข้าอำลาอาจารย์ ไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ท่านอุปัชฌาย์หาว่าอวดดีจึงขับออกจาก วัดจอมศรีไปพักอยู่ที่วัดดอนเงินไปลาโยมพ่อโยมแม่ แต่ไม่ได้รับอนุญาตอ้างว่าคิดถึง

เมื่อสามเณรอ่อนอายุครบ ๒๐ ปี ในปี ๒๔๖๔ ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุในคณะมหานิกาย ที่วัดบ้านปะโค ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูจันทา (เจ้าอธิการ จันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านดอนเงิน ๑ พรรษา

ครั้นปี ๒๕๑๘ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เริ่มอาพาธด้วยโรคกระเพาะอาหาร ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดหลายครั้ง อาการพอทรงตัวอยู่ได้ ร่างกายทรุดโทรม แต่ท่านก็ยังปฏิบัติกิจด้วยความอุตสาหะ สงเคราะห์พุทธบริษัท ปฏิบัติธรรมตลอดมิได้เว้น วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔ อาการอาพาธทรุดหนัก จึงได้นำเข้ารักษาที่โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม อุดรธานี (๒๔ พ.ค.) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ (๒๕ พ.ค.) โรงพยาบาลรามาธิบดี (๒๖ พ.ค.) อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ คืนวันพุธ เวลา ๐๔.๐๐ น. ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ ท่ามกลางนายแพทย์และคณะศิษย์ที่ติดตาม สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี เป็นสามเณร ๓ พรรษา เป็นพระ ๕๘ พรรษา

หลวงปู่อ่อน  ญาณสิริ ได้ดำเนินชีวิตทุ่มเทให้กับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดตั้งแต่วัยเด็กได้เข้าถือเพศบรรพชิตเมื่ออายุ ๑๖ปี ออกศึกษาประพฤติปฎิบัติธรรมจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ได้ฝึกฝนอบรมศาสนิกให้ประพฤติปฏิบัติชอบตามท่านมากมาย ได้สร้างสถานปฏิบัติธรรมเพื่ออนุชนนับไม่ถ้วน ได้แต่งเติมพระพุทธศาสนาให้คงสีสันนำหลักธรรมปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจของชาวพุทธ นับได้ว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ชาวพุทธไม่อาจลืมเลือน

โอวาทธรรม

    “จิตเป็นสิ่งสำคัญ สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ คือ ตัวปัญญามันเกิดขึ้น พอปัญญาเกิดขึ้นเท่านั้นแหละ สัมมาทิฐิตัวเดียวชัดเจนขึ้นมา นั่นเป็นอาการของมัน ปัญญาสัมมาทิฐิ เกิดขึ้นมา มันเป็นองค์มรรค ๘ สมบูรณ์บริบูรณ์เลย เบื้องต้นเรายังฟุ้งซ่านอยู่ก็ต้องมาแก้ เราจะเข้าใจจะสงบระงับด้วยอุบายนี้ ความฟุ้งขณะปฏิบัติเพราะเราไปยึดมั่น เรายิ่งยึดเท่าไรมันก็ยิ่งฟุ้ง ดังนั้นท่านเรียกว่า สมุทัย ยุ่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง พอปัญญาสัมมาทิฐิเกิดขึ้น สมุทัยก็หาย นิโรธก็เกิดขึ้น การที่เรามาเห็นว่า นี้เป็นสัมมาทิฐิ คือ ตัวมรรคทั้ง ๘ มารวมกันอยู่ ณ ที่เดียวกันนี้

เมื่อจิตรวมกันในสมาธิแน่วแน่เต็มที่แล้ว สัมมาทิฐิความเห็นชอบก็เกิดขึ้น ณ สัมมาทิฐินั่นเอง คือ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย ส่วนจะละได้มากน้อยขนาดไหน ก็แล้วแต่กำลังของปัญญาสัมมาทิฐิของตน เมื่อละได้แล้วนิโรธ ความดับเย็นสนิทขนาดไหนก็จะปรากฏขึ้นเฉพาะตนในที่นั้น”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุต เกิดเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ตรงกับวันอังคาร ขั้น ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล ที่บ้านกุดเกษียร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  บิดาชื่อ ทัน มารดาชื่อ บับพา ครองยุต มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๓ คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ บาง ซึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต คนที่สองชื่อ คำแสน หลวงปู่ผางเป็นลูกคนสุดท้อง บิดาและมารดามีอาชีพทำนาเป็นหลัก

การศึกษาทางโลกของหลวงปู่มีความรู้สามัญชั้นประถมปีที่ ๔  หลวงปู่มีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ถือความซื่อสัตย์ พูดจริงทำจริง รักธรรมชาติ ชอบความสงบ เมตตาสัตว์มีแนวความคิดสร้างสรรค์ และชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

เมื่อหลวงปู่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาตามประเพณีลูกผู้ชายชาวไทย ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมีความรู้พอสมควร ต่อมาเมื่ออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศมาประกอบสัมมาอาชีพ หลังจากได้ลาสิกขาแล้วก็สมรสกับนางจันดี ตามประเพณี ได้ครองเรือนมาด้วยกันอย่างราบรื่นเป็นเวลานานหลายปีโดยไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรญาติมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาส หลวงปู่เป็นคนขยัน อาจริงเอาจังกับการงานได้ประกอบสัมมาอาชีพโดยช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา บางครั้งก็เป็นพ่อค้าเรือใหญ่บรรทุกข้าวจากแม่น้ำมูลไปขายตามลำน้ำชีน้อย บางครั้งก็เป็นพ่อค้าวัว นำวัวไปขายที่เขมรต่ำหลวงปู่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว

หลวงปู่ผางได้ใช้ชีวิตในเพศฆราวาสเป็นระยะเวลานาน สามารถรอบรู้เหตุการณ์ที่ผ่านมาพิจารณาดูความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและหมู่สัตว์ทั้งหลายบรรดามีในโลก เมื่อเกิดมาแล้วต่างก็สับสนวุ่นวายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเป็นที่เดือดร้อนไม่สุดสิ้น  หลวงปู่มีบุญบารมีมากทำให้ท่านมองเห็นความไม่แน่นอนและความไม่มีแก่นสารในชีวิต ทำให้จิตใจของท่านโน้มเอียงไปในทางแห่งความสงบ ท่านได้ทำทานเป็นการใหญ่ โดยได้ให้เกวียน วัว บ้าน ไร่ นา แก่ผู้อื่น สละทุกสิ่งทุกอย่างจนหมดสิ้น

ธรรมโอวาท

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เป็นพระนักปฏิบัติที่มั่นคงอดทนเป็นเลิศรูปหนึ่ง ชอบทำมากกว่าพูด บทโอวาทเทศนาสั่งสอนต่างๆ จึงไม่ค่อยมี ท่านมีอุดมคติอยู่ว่า “มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏมียศบ่อยากให้ลือชา”  ศีลข้อห้าเป็นข้อที่หลวงปู่ย้ำเน้นตลอดมา หลวงปู่มักจะให้โอวาทให้พรว่า “อย่าสิเอาพระรัตนตรัยไปกินเหล้า เด้อ” , “ให้สำบาย ๆ เด้อ” , “ให้อยู่ดีมีแฮง เด้อ”

เนื่องจากหลวงปู่ไม่เป็นพระนักพูดนักเทศน์ที่ดี แต่สอนคนอื่นแล้วตนเองไม่ปฏิบัติตามด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะนำบทเทศนาสั่งสอนมาลงให้เป็นเรื่องเป็นราวได้เหมือนอย่างที่เห็นโดยทั่วไป แต่ก็พอสรุปโอวาทที่หลวงปู่เคยพร่ำสอนบรรดาสานุศิษย์อยู่โดยมากได้ดังนั้น
– ให้พากันวางความตาย อย่าเสียดายความมี ตู้คัมภีร์ใหม่อยู่ในกายเฮานี่ (ให้พากันวางความตายอย่าเสียดายความมั่งมี ตู้พระไตรปิฎกอยู่ในกายของเรานี้)
– ให้พากันพายเฮือข่วมทะเลหลวงให้ม่นฝั่ง อย่าสิกลับต่าวปิ้นนำ พั่วหมากแบ่งดง (ให้พากันกายเรือข้าวทะเลหลวงให้รอดฝั่ง อย่าได้กลับมาวนเวียนอยู่กับวัฏฏสงสาร)
– ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีกะย่าน บ่กล้ามใกล้ดอก (ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีก็จะกลัว ไม่กล้าเข้ามาใกล้)
– หมอบๆ เข่าหัวเท่าง่ายาง ย่างโย่งๆ หัวแทบขี้ดิน (คนพาลถึงจะทำเป็นอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนพาลอยู่นั่นเอง หรือได้แก่คนที่เคารพแต่กายส่วนใจไม่เคารพ ส่วนคนดีมีความเคารพ ถึงแม้จะคุยโวไม่เคารพ แต่ใจนั้นเคารพอยู่)
– มีดพร้าโต้ควงแบกท่วมหู คนมันบางท่อคูคันต้อน ซุยซำซะ ลากขี้ดินจำก้น (คนผู้มีอาวุธคือปัญญาหรือศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ ถึงแม้ว่าจะแสดงตนว่าไม่ดีอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนดีอยู่นั่นเอง)
– คนสามบ้านกินน้ำส่างเดียว เที่ยวทางเดียว บ่เหยียบฮอยกัน (คนสามหมู่บ้านดื่มน้ำจากบ่อเดียวกัน เดินบนเส้นทางเดียวกันแต่ไม่เหยียบรอยเท้ากันหมายถึง คนทุกวันนี้ดื่มน้ำจากแหล่งเดียวกันคือ น้ำประปา และการเดินทางทุกวันนี้ใช้รถยนต์ไม่มีรอยเท้าให้เห็น)
– อย่างได้มัวเมาหม่นนำดวงดอกไข่เน่า เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าได้มัวเพลิดเพลินอยู่กับดอกไม้หอมในป่า หรือลูกไม้ในป่า จะทำให้ชักช้าไปไม่ถึงที่หมาย หมายถึงอย่าได้มัวเพลินอยู่ในกามารมณ์ จะทำให้เราชักช้าไม่พ้นวัฏฏสงสาร)
– ลิงกับลิงชิงขึ้นต้นไม้ บัดสิได้แม่นบักโกกนาโถ (เมื่อลิงทั้งหลายแย่งชิงกันขึ้นต้นไม้ ตัวที่แย่งได้เป็นตัวที่มีความคล่องแคล่วว่องไว กว่าเพื่อน)
– นักปราชญ์ฮู่หลง หงส์ทองถึกบ้วง ควายบักตู้ตื่นไถ (นักปราชญ์ยังมีโอกาสพลาด หงส์ทองยังมีโอกาสติดบ่วง และควายที่คุ้นกับไถก็ยังตื่นไถได้ หมายถึงบุคคลผู้รู้จักบาปบุญแล้วยังหลวงทำความชั่วได้ บุคคลผู้มีสติก็ยังขาดความระมัดระวัง และบุคคลที่เป็นผู้รู้แล้วยังเป็นพาลได้)
– อย่าพากันเที่ยวทางเวิ่งเหิงหลายมันสิค่ำ เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าพากันเถลไถลออกจากทางตรงเดี๋ยวจะมีค่ำก่อน อย่ามัวเพลินกับผลไม้ป่าจะทำให้ชักช้ามือค่ำในระหว่างทางได้)
– พุทโธ พุทโธ หัวใจโตกะรักษาบ่ได้ (รู้จักแต่พุทโธ พุทโธ แต่ไม่รู้จักจิตใจของตัวเอง)
– ศีลมีมากมายหลายข้อ บ่ต้องรักษาเหมิดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจเจ้าของอย่างเดียวให้ดีท่อนั้น กาย วาจา กะสิดีไปนำกัน (ศีลมีมากมายหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อหรอก รักษาแต่ใจตัวเองอย่างเดียวให้ดีเท่านั้น กายวาจาก็จะดีไปด้วยกัน)

ปัจฉิมบท

หลวงปู่ผางเป็นพระสงฆ์ผู้มีจิตใจเมตตาอยู่เสมอ ท่านบำเพ็ญพรหมวิหารธรรม เมตตาบารมีของท่านนี้เป็นกระแสธรรมที่นุ่มนวลเยือกเย็น ในวัดอุดมคงคาคีรีเขต มีบึงเป็นที่อาศัยของจระเข้อยู่แห่งหนึ่ง ทราบว่ามีหลายตัวบางคราวน้ำป่าหลากมามาก ทำให้จระเข้หนีไปอยู่ในถิ่นอื่น หลวงปู่ต้องตามไปบอกให้กลับมาเฝ้าวัดที่บึงแห่งเดิม และจระเข้ก็กลับมาจริง ๆ ด้วย เล่ากันว่าวันที่หลวงปู่มรณภาพ จระเข้ลอยไปทางด้านเหนือของบึงและร้องเสียงดังอยู่เป็นเวลานาน คล้ายจะบอกให้รู้ว่าหลวงปู่จะจากพวกเราไปแล้ว และเป็นการแสดงถึงความอาลัยอาวรณ์ของสัตว์ คราวหนึ่งได้มีการสร้างกุฏิในบึงดังกล่าว พวกช่างไม่กล้าลงไปปักเสาในน้ำเพราะกลัวจระเข้ หลวงปู่ต้องลงไปยืนแช่ในน้ำ คอยไล่ไม่ให้จระเข้เข้ามารบกวนพวกช่าง เมื่อถูกถามว่าไม่กลัวจระเข้หรือ หลวงปู่ตอบว่าเลี้ยงมันมาแต่เล็กแต่น้อยจะไปกลัวมันทำไม อีกเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพลังเมตตาของหลวงปู่คือ หลายครั้งที่เกิดเหตุไฟป่าใกล้กับบริเวณวัดบรรดาสัตว์ป่านานาชนิดกระเสือกกระสนหนีไฟเข้าไปอาศัยในเขตวัด ส่วนพวกที่หนีไฟไม่ทันเพราะหมดกำลังและยังอ่อนก็ถูกไฟไหม้ตายเป็นกองอย่างน่าเอน็จอนาถ หลวงปู่ย่อมเห็นเหตุการณ์โดยตลอด ด้วยพลังแห่งเมตตาธรรมที่มีอยู่ในใจเป็นเหตุให้หลวงปู่ต้องอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน เข้านั่งสมาธิเพื่ออุทิศกุศลผลบุญให้แก่สัตว์ที่ถูกไฟไหม้ตาย

หลวงปู่ผางเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยท่านเป็นผู้มีจิตใจเข็มแข็งแก่กล้ามาก ปฏิภาณไหวพริบเฉียบแหลม อีกทั้งวาจาของท่านที่พูดออกมาก็มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นจริงดังคำพูดของท่านเสมอ

“วาจาสิทธิ์” หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เป็นพระคณาจารย์ผู้เคยฝากตายไว้กับบุญบารมีกลางป่าเขา จนสามารถสร้างพลังจิตมหัศจรรย์เป็นที่ประจักษ์ บางคนที่เป็นศิษย์กล่าวว่า หลวงปู่เป็นผู้มีวาจาสิทธิ์มาก ถ้ากล่าวคำใดก็จะเป็นคำนั้น หลวงปู่เคยห้ามในการถ่ายรูป ต้องได้รับอนุญาตจากท่านเสียก่อน เรื่องนี้มีพระภิกษุที่ไม่ค่อยสำรวมรูปหนึ่ง ท่านมาจากวัดใดก็ไม่ทราบ พอท่านมาถึงแล้วอาศัยเป็นพระทันสมัย แขวนกล้องถ่ายรูปเดินอาดๆเข้าไปยังบริเวณวัด ติดตามด้วยลูกศิษย์ส่งเสียงดัง…ลั่นวัด พระรูปนั้นเดินเข้าไปพบหลวงปู่ผาง ซึ่งขณะนั้นกำลังสนทนากับพระอีกรูปหนึ่ง พระภิกษุทันสมัยรูปนั้นมาถึงก็ยกกล้องที่แขวนคออยู่ถ่ายรูปทันทีหลวงปู่ผาง หันมาพูดว่า “พระผีบ้าอันหยังมาถ่ายรูป…เป็นบ้าบ่” พอหลวงปู่พูดขาดคำพระทันสมัยตกใจกลัวจนตัวสั่น ต่อมาพระรูปนั้นเกิดเสียจริต…เป็นบ้าเป็นบอตามวาจาที่หลวงปู่พูดจริงๆ และตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงปู่พอได้ยินเรื่องนี้เข้าท่านก็ไม่เคยพูดว่ากล่าวใครอีกเลย แม้จะมีคนถ่ายรูปท่าน ท่านก็ไม่พูดอีกต่อไป ปล่อยจิตใจของท่านอย่างสบาย ๆ เฉย ปกติหลวงปู่เป็นพระเงียบ ๆ ถือสันโดษ ยิ้มยากที่สุดจนทำให้ผู้เข้าไปหาท่านเกิดความเกรงกลัวและคิดว่าท่านดุ ความจริงแล้วหลวงปู่เป็นผู้มีความเมตตา วางอุเบกขา นิ่งเฉยเป็นนิสัย มุ่งมั่นปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบมากกว่าสิ่งอื่น ถ้าผู้ใดได้น้อมคำถามเรื่องการปฏิบัติแล้วหลวงปู่จะเมตตาสอนแนะนำเป็นกรณีพิเศษ และที่สำคัญหลวงปู่จะนิยมนักในเรื่อง “สัจจะ” ท่านกล่าวว่า “ถ้าผู้ใดมีสัจจะแล้ว ผู้นั้นย่อมเจริญ ไม่ทุกข์ยากลำบาก”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี(พระราชนิโรธรังสีคั_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์) วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่เทสก์  เทสรํสี มีนามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวเเรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  บิดาชื่อ อุส่าห์  เรี่ยวเเรง  เดิมเป็นชาวำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย  หนีความทุกข์ยากมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนางิ้ว ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มารดาชื่อ ครั่ง เป็นชาวพวน ได้อพยพหนีพวกโจรขโมยมาจาดบ้างทุ่งย่างเมืองฝาง อำเภอลับเเล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้สมรสกับนายอุส่าห์ มีบุตรธิดาด้วยกัน ๑๐ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ ตายตั้งเเต่เด็ก ๒ คน เป็นหญิงหนึ่ง ชายหนึ่ง เติบโตมาด้วยกัน ๘ คน ชาย ๔ คน หญิง ๔ คน

เมื่อเป็นเด็กอายุ ๙ ขวบได้เรียนหนังสือภาษาไทยกับพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระกับเด็กๆด้วยกันกว่า ๑๐ คน และได้เรียนหนังสือประถม ก.กา มูลบทบรรพกิจ เรียนอยู่ปีกว่าพออ่านได้บ้างแต่ก็ยังไม่คล่อง แต่หนังสือสำหรับพระเรียนในสมัยนั้น ซึ่งเขาเรียกว่า หนังสือธรรม (จารเฉพาะธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า) อ่านได้คล่อง  ต่อมาพี่ชานสึกจากพระจึงไม่มีใครสอนเลยเลิกเรียนกันทั้งหมด  แล้วได้ออกจากวัดไปช่วยงานบิดามารดา จนอายุราว ๑๓ – ๑๔ ปี เกิดนิมิตความฝันว่า พระธุดงค์ไล่ตีด้วยแส้วิ่งหนีเอาตัวรอด กระทั่งวิ่งเข้าห้องนอนร้องให้บิดามารดาช่วยท่านทั้งสองก็เฉยอยู่เหมือนกับไม่มีเรื่องอะไร  พระธุดงค์หวดด้วยแส้สะดุ้งตื่นเหงื่อโชกทั้งตัว กรากฏรอยแส้ยังเจ็บแสบอยู่  หลวงปู่นึกว่าเป็นจริง เมื่อตื่นขึ้นมาจึงรู้ว่าเรื่องทั้งหมดเป็นความฝัน ต่อมาหลวงปู่ได้ใความคิดถึงเรื่องอาชีพของมนุษย์ที่กระทำกันอยู่ตั้งตาฝนตกดินชุ่มฉ่ำ ลงมือทำนา  และเรื่องจิปาถะตลอดถึงปีใหม่ ลงมือทำนาอีกอย่างนี้ อยู่ตลอดชีวิต  มาคิดเห็นว่าเกิดมานี้สนทุกข์ลำบากจริง ๆ ทำงานไม่มีวันหยุดยั้ง ซึ่งแต่ก่อนมาหลวงปู่ไม่เคยนึกคิดอย่างนี้เลยสักที มีแต่มัวเมาด้วยการเพลิดเพลินตามประสาชนบท

เมื่ออายุ ๑๖ ปี เจ้าพระญาณวิสิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) ได้เดินรุกขมูล มาถึงวัดบ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่อุปัฏฐากอยู่ จึงเป็นโอกาสดีที่หลวงปู่ได้มีโอกาสปฏิบัติพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม  แต่เนื่องจากวัดเป็นป่าทึบไข้มาลาเรียชุกชุม พระอาจารย์สิงห์เป็นไข้อยู่ จึงไม่ได้ออกไปจำพรรษาที่อื่นและได้ชักชวนหลวงปู่ให้ไปจำพรรษากับท่านด้วย หลวงปู่ได้ติดตามท่านไป โดยก่อนไปหลวงปู่ได้เอาดอกไม้ธูปเทียนใส่ขันแล้วไปขอขมาโทษผู้เฒ่าผู้แก่ที่หลวงปู่คุ้นเคย  ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ให้ศีลให้พรให้สำเร็จสมความปราถนาทุกประการ  หลวงปู่เทสก์ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์  รอนแรมไปในป่าและตามหมู่บ้านต่าง ๆ บางครั้งผจญกับไข้ป่าซึ่งเมื่อเป็นไข้ก็พักนอนตามร่มไม้ ไข้ส่างแล้วก็เดินต่อไป พร้อมกันนั้นก็ทำความเพียรภาวนาไปในตัว เป็นระยะเวลาเดือนกว่าจึงมาถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์ลุย บ้านดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีที่มีอายุครบ ๒๐ ปี และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงปู่ได้ไปเผยแผ่ธรรมะที่สิงคโปร์ อินโดนีเซียและออสเตรเลีย พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๓ องค์ ฆราวาส ๒ คน ตามคำชักชวนเป็นระยะเวลา ๓ เดือนกว่า และได้กลับไปที่สิงคโปร์อีกครั้งพัก ณ ที่แห่งเดิมอีกเป็นเวลานาน  เพราะมีผู้ที่อยากจะสร้างวัดที่นั่น แต่สถานที่ไม่เหมาะสมจึงไม่ได้สร้าง หลวงปู่เทสก์  เทสรํสี ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆาธิการหลายตำแหน่ง เช่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าคณะอำเภอภูเก็ต – พังงา – กระบี่ (ธรรมยุต) และในปี พ.ศ. ๒๕๐๐  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ สถิต ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

ครั้งสมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตไปพำนักทางภาคเหนือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้จาริกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อนสีไปกราบท่านอาจารย์ใหญ่ที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ และได้ปฏิบัติธรรมในภาคเหนือ ถิ่นมูเซอร์ และมาโปรดสาธุชนบริเวณจังหวัดลำพูน จนกลับมาภาคอีสาน พำนักที่วัดอรัญญวาสี  ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่นที่อาพาธ ที่วัดบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านพระอาจารย์ใหญ่ละสังขาร ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านไปจำพรรษาที่จังหวัดภูเก็ตและเผยแผ่ศาสนธรรมในภาคใต้ร่วมกับหมู่คณะ โดยพำนักที่ภูเก็ต พังงา และกระบี่นานถึง ๑๕ ปี ก่อนกลับมาพักจำพรรษาที่ถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร ปีต่อมาจาริกมาที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงบรรยากาศดีเหมาะแก่การเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติ

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นสมณะผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรอันงดงามยิ่ง เป็นผู้นำศรัทธาในการอบรมสั่งสอนธรรมและนำสร้างศาสนสถานเพื่อการจรรโลงพระพุทธศาสนาหลายแห่งในถิ่นแถบอีสาน เป็นปูชนียาจารย์ของชนทุกระดับชั้น

มรณภาพ

ในปัจฉิมวัยท่านไปพำนักที่วัดถ้ำขาม และละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เวลาประมาณ ๒๑.๔๕ น สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๗๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานหีบทองทึบ และทรงรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จัดขึ้นที่วัดหินหมากเป้ง นับเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเถราจารย์ครั้งประวัติศาสตร์ และในปัจจุบันวันที่ ๑๗ ธันวาคม สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จะให้ผู้แทนพระองค์นำแจกันดอกไม้วางหน้าพระอัฐิหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ณ วัดหินหมากเป้ง เป็นประจำทุกปี

ธรรมโอวาท
หลวงปู่ให้ธรรมโอสาวแก่พุทธศาสนิกชนมากมาย เช่น
๑. ธรรม คือ ของจริงของแท้ เป็นแก่นของโลก ธรรม แปลว่า ของเป็นอยู่ทรงอยู่สภาพตามเป็นจริง เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ธรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรมทั้งนั้น เรียก ชาติธรรม ชราธรรม พยาธิธรรม มรณธรรม ทำไมจึงเรียกว่า ธรรม คือทุกๆ คน จะต้องเป็นเหมือนกันหมด(ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะ)
๒. สมบัติที่มนุษย์ต้องการ ไม่ทราบว่าจะกอบโกยเอาไปถึงไหน ได้มาก็เพียงแต่เอาเลี้ยงชีวิตเท่านั้น เลี้ยงชีวิตให้นานตายหน่อย นั่นละ ประโยชน์ของมนุษย์สมบัติเพียงแค่นั้นแหละ
๓. เราเกิดมาในโลกนี้ จะเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ต่างๆ ก็ตามเถอะ เรียกว่าอยู่ในแวดวงของมัจจุราชทั้งนั้น หรือเปรียบเสมือนกับ อยู่ในคุกในตะราง (รอความตาย) ด้วยกันทุกคน จะทำอะไรอยู่ก็ตาม จะเป็นผู้ดีวิเศษวิโสเท่าไรก็ช่าง แม้แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สรีระร่างกายของพระองค์ยังปล่อยให้พญามัจจุราชทำลายได้ แต่ตัวจิตของพระองค์เป็นผู้พ้นแล้ว ไม่ยอมให้มัจจุราชข่มขี่ได้เลย (ธรรมเทศนาเรื่อง มัจจุราช)
๔. ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น แต่คนเราไปสมมติแล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก มันก็ต้องยุ่ง และเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง (อัตตโนประวัติฯ)
๕. มนุษย์เราพากันสมมติ เรียกเอาตามความชอบใจของตนว่านั่นเป็นคน นั่นเป็นสัตว์เป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ นานาไป แต่ก้อนธาตุนั้น มันก็หาได้รู้สึกอะไรตามสมมติของคนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นตามเดิม สมมติว่า หญิง ว่าชาย ว่าหนุ่ม ว่า แก่ ว่าสวย ไมสวย ก้อนธาตุอันนั้นก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมันเมื่อมาประชุมกันเข้าเป็นก้อนแล้ว อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง แล้วมันก็แปรไปตามสภาพของมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลายแยกกันไปอยู่ตามสภาพเดิมของมันเท่านั้นเอง (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์)
๖. เมื่อเรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรมจนเห็น เรื่องโทษของตนเองแล้ว ค่อยชำระสะสางให้มันหมดไปๆ ก็จะเป็นคุณแก่ตนในอนาคต ข้างหน้า ได้ชื่อว่าไม่เสียชาติเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ แล้วยังมาพบพระพุทธศาสนา และยังมาพบครูบาอาจารย์ที่สอนให้เราละกิเลส อีกด้วย (ธรรมเทศนาเรื่องแก่นของการปฏิบัติ)
๗. แท้ที่จริงธรรมะคือตัวของเรานี้ทุกคนก็มีแล้วครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เราไม่ได้สร้างสมอบรมให้เห็นธรรมะที่มันมีในต้นของ ตน ธรรมะแทรกอยู่ในขันธโลกอันนี้ หากใช้อุบายปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยวิธี ๓ อย่าง มีศีล สมาธิ ปัญญา ดังอธิบายแล้ว ธรรมะจะปรากฏในตัวของตน ๆ (ธรรมเทศนาเรื่องวิจัยธรรมออกจากโลก)
๘. การศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าจะให้เข้าใจถูกต้องแล้ว ต้องให้มีทั้งปริยัติคือ การศึกษาและปฏิบัติตามความรู้ที่ได้ศึกษามานั้นให้ ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติ ถ้าไม่ยืนตัวอยู่ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะไม่มีการถูกต้องอันจะให้เกิดความรู้ในสัจ ธรรมได้เลย มรรคปฏิปทาอันจะให้ถึงสัจธรรมนั้น ก็ต้องรวมศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วปฏิเวธธรรมจึงจะ เกิดขึ้นได้ (ธรรมเทศนา เรี่อง พุทธบริษัทพึงปฏิบัติตนเช่นไร)
๙. คนที่จะข้ามโอฆะได้ต้องมีศรัทธาเสียก่อน ถ้าไม่มีศรัทธาเสียอย่างเดียวก็หมดทางที่จะข้ามโอฆะได้ ศรัทธาจึงเป็นของสำคัญที่ สุด เช่น เชื่อมั่นในกรรม เชื่อผลของกรรม ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่าศรัทธาอันนั้น เป็นเบื้องต้นที่จะทำทาน ถ้ามีศรัทธาแล้วไม่ อดเรื่องการทำทาน อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ทำมากก็ได้ ทำน้อยก็ได้ ไม่ต้องเลือก วัตถุในการทำงาน จะเป็นข้าว น้ำ อาหาร หมากพลู บุหรี่ ฯลฯ สารพัดสิ่งเป็นทาน ได้ทั้งหมด แม้แต่ใบไม้ ใบตอง ใบหญ้า ก็เป็นทานได้เราทำด้วยความเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้ทำไปแล้วจะ เป็นประโยชน์แก่ผู้นั้นๆ ก็อิ่มอกอิ่มใจขึ้นมาเป็นบุญ นั่นแหละ ศรัทธา มันทำให้อิ่มอกอิ่มใจ ทำให้เกิดบุญซาบซึ้งถึงใจทุกอย่างไม่ ลืมเลย อันนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ข้ามโอฆะ (ธรรมเทศนา เรื่องหลักการปฏิบัติธรรม)
๑๐. กายและจิตอันนี้เป็นบุญกรรมและกิเลสนำมาตกแต่งให้ เมื่อนำมาใช้โดยหาสาระมิได้ถึงแม้จะมีอายุยืนนาน ก็ปานประหนึ่งว่า หาอายุมิได้ (คือไม่มีประโยชน์) สมกับพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสว่า โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยุโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ
แปลว่า บุคคลใดมีชีวิตอยู่ร้อยปี แต่เขามิได้พิจารณาเห็นความเกิดดับ (ของอัตภาพนี้) ผู้นั้นสู้ผู้เขามีชีวิตอยู่วันเดียว แต่พิจารณา เห็นความเกิดความดับไม่ได้ (ธรรมเทศนาเรื่องวันคืนล่วงไปๆ)
๑๑. คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจ ถือใจเป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของ กาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจหมดเรื่องหมดราวกันที (ธรรมเทศนาเรื่องกรรม)
๑๒. หิริ โอตฺตปฺป นี้เป็นธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของศีล เป็นต้นของศีล ผู้จะมีศีลได้ ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ ก็ตาม ต้องมีหิริ และโอตฺตปฺป ๒ อย่างนี้ เนื่องจากได้เห็นจิตของคน เห็นความนึกความคิดความปรุงของจิตของตน แล้ว ก็กลับบาปละอายบาป จึงไม่อาจจะทำความชั่วได้ ฉะนั้น ศีลก็บริสุทธิ์เท่านั้นเอง (ธรรมเทศนาเรื่อง เทวตานุสฺสติ)
๑๓. การภาวนา คือ การอบรมจิตให้มีความสงบ เป็นการชำระจิตใจให้สงบจากอารมณ์ต่างๆ ยิ่งเป็นการละเอียดไปกว่าการรักษา ศีลอีก จิตของเราถ้ายังไม่สงบตราบใดแล้วมันก็จะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่ตราบนั้น เมื่อมาฝึกหัดภาวนา เห็นโทษ เห็นภัย ของความยุ่ง ยากไม่สงบด้วยตันเองแล้ว เราก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะละความไม่สงบ เมื่อสิ่งใดที่ละได้แล้ว อารมณ์ใดที่วางได้แล้วเราก็จะ ต้องรักษาไม่ให้สิ่งนั้น มันเกิดขึ้นมาอีก ไม่ใช่ว่าเราละได้แล้วก็แล้วไปเลยไม่ต้องคำนึงถึงมันอีก อย่างไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจ สามารถที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีก ถ้ามันเกิดมาทีหลังจะยิ่งร้ายกว่าเก่า(ธรรมเทศนาเรื่อง มาร)
๑๔. ฝึกหัดจิตให้เข้าถึงใจ วิธีปฏิบัติฝึกหัดกรรมฐานมีเท่านี้แหละ ใครจะฝึกหัดปฏิบัติอย่างไรๆ ก็เอาเถอะ จะภาวนาพุทโธ สัมมา อรหัง ยุบหนอพองหนอ หรืออานาปานสติ ก็ไม่เป็นปัญหา คำบริกรรมเหล่านั้นก็เพื่อล่อให้จิตเข้ามาอยู่ในคำปริกรรม แต่คนที่เข้า ใจผิดถือว่าตนดีวิเศษโอ้อวดเพื่อนว่าของเขาถูกของเอ็งละผิด อย่างนั้นอย่างนี้อะไรต่างๆ นานา พุทธศาสนาแท้ไม่เป็นอย่างนั้น หรอก มันต้องเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครผิดใครถูก เมื่อปฏิบัติถึงจิตรรวมแล้ว จิตรวมเข้าไปเป็นอัปปนาแล้วปมเรื่อง จิตรวมเข้าถึง อัปปนาแล้วถึงที่สุดของการทำสมาธิเท่านั้น ไม่มีอะไรแตกต่างกัน (ธรรมเทศนาเรื่อง การปฏิบัติเบื้องต้น)
๑๕. การหัดภาวนาเบื้องต้น คือ หัดให้เข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง หัดเบื้องต้นก็จริง แต่มันถึงที่สุดได้ คือ จิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่ง มันก็ถึงที่สุด แล้ว การฝึกหัดจิต หัดมากหัดน้อยเท่าไรก็ตาม ต้องการให้จิตเข้าถึงที่สุด คือ จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น การฝึกหัดจิตไม่นอกเหนือไปจาก จิตเป็นหนึ่ง ส่วนอุบายปัญญาที่จะเกิดขึ้น มันเป็นของเฉพาะบุคคล (ธรรมเทศนาเรื่อง แก่นของการปฏิบัติ)
๑๖. ขอจงตั้งใจทำให้จริงจัง และทำความเลื่อมใสพอใจในกัมมัฏฐานของตนให้แน่วแน่เต็มที่ ทำนิดเดียวก็จะเป็นผลยิ่งใหญ่ ไพศาล เมื่อทำไปทุกๆ วัน วันละนิดวันละหน่อย มันหากจะมีวันหนึ่งโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็น มันหากเป็นเอง คราวนี้ละเรา จะประสบโชคลาภอย่างยิ่งอย่าบอกใครเลย ถึงบอกก็ไม่ถูกเป็นของรู้และซาบซึ้งเฉพาะตนเอง คำว่าภาวนาขี้เกียจและปวดเมื่อย แข้งขาจะหายไปเองอย่างปลิดทิ้ง จะมีแต่อยากทำภาวนาสมาธิอยู่ร่ำไป (ธรรมเทศนาเรื่อง ทุกข์)
๑๗. สติตัวนี้ควบคุมจิตอยู่ได้ ถ้าเผลอเวลาใดไปเวลานั้น ทำชั่วเวลานั้น จึงให้รักษาจิตตรงนั้นแหละ ควบคุมจิตตรงนั้นแหละ ให้ มันอยู่นิ่งแน่วเป็นสมาธิภาวนา เข้าถึงในสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ให้หัดตรงนี้แหละ พระพุทธศาสนาไม่ให้หัดอื่นไกล หัดตรงนี้แหละ ปฏิบัติศาสนาก็ปฏิบัติตรงนี้แหละ จะถึงศีล สมาธิ ปัญญา ก็ตรงนั้นแหละ…(ธรรมเทศนาเรื่อง เบื้องต้นของการปฏิบัติกัมมัฏฐาน)
๑๘. แก่นสารคือ จิตที่เป็นหนึ่ง จับเอาจิตที่เป็นหนึ่งให้ได้ ครั้งจับเอาจิตที่เป็นหนึ่งได้แล้วรักษาเอาไว้ให้มั่น ไม่ต้องเอาอื่นใดอีก เอาอันเดียวนั้นเท่านั้นเป็นพอแล้ว (ธรรมเทศนาเรื่อง แก่นของการปฏิบัติ)
๑๙. จิตเป็นสมาธิแล้ว นั่นจึงจะมองเห็นธรรม คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายได้ชัดเจน (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะ)
๒๐. จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละ คราวนี้ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่งเฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ (ธรรมเทศนาเรื่อง วิธีหาจิต)
๒๑. ใครๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้น แหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ ต้องเห็นตัวมัน เสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง (ธรรมเทศนา เรื่องความโง่ของคน โง่)
๒๒. นักฝึกหัดจิตทำสมาธิให้แน่วแน่ เป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว จะมองเห็นกิเลสในจิตของตนเองทุกกาลทุกเวลาว่า มีกิเลสหยาบและ ละเอียดหนาบางขนาดไหนเกิดขึ้นที่จิต เกิดจากเหตุอะไรและจะต้องชำระด้วยวิธีอย่างไร จิตจึงบริสุทธิ์ผ่องใส ค้นหากิเลสของตน เองอยู่ทุกเมื่อกิเลสจะหมดสิ้นไป (ของดีมีในศาสนาพุทธ)
๒๓. การฝึกหัดสมาธิภาวนา คือ การตั้งสติอันเดียว ให้รู้ตัวอยู่เสมอ มันคิดมันนึกอะไรก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ ยิ่งรู้ตัวชัดเจนเข้ามันยิ่ง เป็น เอกัคคตารมณ์ นั่นแหละตัวสมาธิ (อนุสสติ ๑๐)
๒๔. รู้สิ่งอื่นไม่สามารถจะชำระจิตของตนได้ รู้จิตของเรานี่แหละจึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ (อนุสสติ ๑๐)
๒๕. การฝึกหัดจิตนี้ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสียไม่เป็นเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่ อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ แล้วตั้งใจให้แน่วแน่ใจกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไปก็จะถึงซึ่งความ อัศจรรย์ขึ้นมาในตัวของตน แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร (อนุสสติ ๑๐)
๒๖. การเห็นจิตของเรานี่แหละดี มันคิดดี คิดชั่ว คิดหยาบ คิดละเอียด ก็รู้ดูจนกระทั่งมันวางลง ถ้าเห็นอยู่เสมอๆ แล้ว ก็วางหมด (อนุสสติ๑๐)
๒๗. ปหานปธาน ให้เพียรดูที่จิตของเรานั่นแหละ การกระทำสิ่งใดๆ ก็เกิดจากจิตเป็นคนบัญชา ถ้าจับจิตเห็นจิตอันนี้แล้ว จะรู้ได้ดี เห็นได้ชัด กายจะทำอะไรผิดหรือถูก ดีหรือชั่ว เป็นบุญหรือเป็นบาป รู้ได้ดีทีเดียว เอาสติไปตั้งไว้ที่จิต คิดค้นอยู่ที่จิต เห็นใจเป็นผู้ สั่งกายทำอะไรๆ เห็นอยู่ตลอดเวลา (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียรละความชั่ว)
๒๘. ผู้ใดชนะข้าศึกคือ ตัวของเราคนเดียวได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐว่าการชนะชนหมู่มากนับเป็นพันล้าน เพราะข้าศึกอันเกิดจากคน อื่นภายนอก เมื่อพ่ายแพ้ก็เลิกกันไปที่ แต่ข้าศึกภายในนี้จะแพ้หรือชนะอย่างไร ก็ยังต้องอาศัยกันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะแตกดับจาก กันไป ถึงแม้อายตนะภายในมีตาเป็นต้นที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้ เมื่อหลับเสียแล้วก็ไม่เห็น แต่อายตนะของใจอีกส่วนหนึ่งนั้นซีตาบอด แล้ว หูหนวกแล้ว มันยังได้เห็นได้ยินอยู่ กายแตกดับแล้วใจยังมีอายตนะได้ใช้บริบูรณ์ดีทุกอย่างอยู่ และนำไปใช้ได้ทุกๆ สถาน ตลอดภพภูมินั้นๆ ด้วย ฉะนั้น เมื่อเราจะเอาชัยชนะข้าศึกภายในจึงเป็นการต่อสู้อย่างยิ่ง (ธรรมเทศนาเรื่อง พละ ๕)
๒๙. ผู้ที่ยอมตัวมารับเอาศีลไปไว้เป็นเครื่องปฏิบัติ จะเป็นศีล ๕-๘-๑๐-๒๒๗ ก็ตามได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มต้นปฏิบัติศาสนะ พรหมจรรย์ เข้าไปทำลายบ่อนรังข้าศึกอันมีอยู่ในภายในใจของตนแล้ว (ธรรมเทศนาเรื่อง สติปัฏฐานภาวนา)
๓๐. หากจะเรียกกายใจของคนเรานี้ว่า ตู้พระธรรมก็จะไม่ผิด (ธรรมเทศนาเรื่อง สติปัฏฐานภาวนา)
๓๑. ธรรมเทศนาที่ท่านพูดที่ท่านสอนธรรมะนั้น ท่านสอนตรงนี้ คือสอนให้พิจารณากายกับใจตรงนี้ ไม่ได้สอนที่อื่น สอนเข้าถึงตัว สอนให้เห็นของจริงในกายตนที่จะพ้นทุกข์ได้ก็เพราะเห็นของจริงตรงนี้ จะถึงมรรคผลนิพพาน ฌาน สมาบัติ ก็ตรงนี้แหละ ไม่ใช่ อื่นไกลเลย เห็นเฉพาะในตัวของเรา ถ้าไปเห็นของอื่นละไม่ใช่ (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรม)
๓๒. ตัวจิตหรือตัวใจอันนี้แหละไม่มีตนมีตัว ถ้าเรารู้เรื่องจิตเรื่องใจเสียแล้ว มันง่ายนิดเดียวฝึกหัดปฏิบัติกันมัฏฐานก็เพื่อชำระใจ หรือต่อสู้กับกิเลสของใจนี้ ถ้าไม่เห็นจิตหรือใจแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปต่อสู้กับกิเลสตรงไหน เพราะกิเลสที่ใจสงครามไม่มีนาม เพลาะ ไม่ทราบว่าจะรบอย่างไรกัน ต้องมีสนามเพลาะสำหรับยึดไว้เป็นที่ป้องกันข้าศึก- มันจึงค่อยรู้จักรบ รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ขอให้ พากันพิจารณาทุกคนๆ เรื่องใจของตน เวลานี้เราเห็นใจแล้วหรือยัง ใจหรือจิตของเรานั้นมันอยู่ที่ไหนมีอาการอย่างไร (ธรรม เทศนาเรื่อง กิเลส)
๓๓. ความจริงกิเลสไม่มีตนมีตัว ไม่ได้เอาไปละที่ไหน หรือเอาไปทิ้งให้ใคร เป็นการละออกจากใจของตนเอง (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียงละความชั่ว)
๓๔. บ่วงของมารได้แก่อะไร อาการของจิตที่เที่ยวไปตามอารมณ์นั้น ย่อมมีทั้งอารมณ์ดีและอารมณ์ร้าย จึงต้องมีความสุขบ้างทุกข์ บ้างเป็นธรรมดา ตามวิสัยของปุถุชนจิตที่เที่ยวไปนั้นจะต้องประสบของ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ซึ่งเรียกว่า กามคุณ ๕ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นบ่วงของมาร
จิตของปุถุชนทั้งหลายเมื่อเที่ยวไปประสบอารมณ์ทั้ง ๕ นั้นหรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เกิดความยินดีพอใจก็ดี หรือเกิด ความเสียใจเป็นทุกข์ดี เรียกว่าเข้าไปติดบ่วงของมารแล้ว คำว่า “ติด” ในที่นี้ หมายความว่า สลัดไม่ออก ปล่อยวางไม่ได้ บ่วงของ มารผูกหลวมๆ แต่แก้ไม่ได้ ถ้าดิ้นก็ยิ่งแต่จะรัดแน่นเข้า
จิตที่สำรวมได้แล้วจะพ้นจากบ่งของมารได้อย่างไร ปุถุชน เบื้องต้นเมื่อเห็นโทษภัยในการเข้าไปติดบ่วงของมารแล้ว จึงต้องพึง สำรวมในอายตนะทั้งหลาย มีตา หู เป็นต้น พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครสำรวมจิตได้แล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของ มารดังนี้
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นโคจรที่เที่ยวแสวงหาอารมณ์ของจิต เมื่อเราปิดคือ สำรวมมีสติระวังอย่าให้จิตหลงไปในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้นได้แล้ว เป็นอันว่ามารผูกมัดเราด้วยบ่วงไม่ได้ (ธรรมเทศนา เรื่องสังวรอินทรีย์)
๓๕. ผู้ฝึกหัดปฏิบัติรู้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริงว่า วิสัยของอายตนะทั้งหกนั้น มีชอบกับไม่ชอบเท่านั้น แล้วปล่อยวางเสียง ไม่ ไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ จิตก็จะกลายมาเป็นเฉยอยู่กลางๆ นั่นแหละจึงเป็นธรรมเห็นธรรม ไม่เป็นโลกอยู่เหนือโลกพ้นจากโลก (ธรรมเทศนาเรื่อง จิตเหนือโลก)
๓๖. การทำจิตไม่ให้หมุนไปตามอายตนะหก คือ ปรุงแต่งส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ นั้นเป็นการหักกงกำแห่งล้อของวัฏจักร นัก ปฏิบัติผู้ฝึกหัดได้อย่างที่อธิบายมานี้ ถึงหักกงกำแห่งวัฏจักรไม่ได้อย่างเด็ดขาด ได้เพียงชั่วครู่ชั่วคราว ก็นับว่าดีอักโขแล้ว ดีกว่าไม่ รู้วิธีหักเสียเลย (ธรรมเทศนาเรื่อง จิตเหนือโลก)
๓๗. ผู้ฝึกจิต ถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่าง ก็จะสงบไม่ได้ และไม่เห็นสภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำให้จิตดิ่งแน่วแน่อยู่ใน อารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเบ่งรัศมี แห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็น กิเลส อะไรเป็นของควรละ (ธรรมเทศนาเรื่อง สมบัติอันล้ำค่า)
๓๘. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้นผู้ถือว่าเราถึงธรรมได้ ธรรมชั้นนั้นชั้นนี้ ผู้นั้นยังมีความอยากอยู่ จะได้ชื่อวาเป็นผู้ถึงธรรมได้ อย่างไร (ของดีมีในศาสนาพุทธ)
๓๙. คนเราเกิดมาเหมือนกับไปยืมของคนอื่นเขามาเกิด ตายแล้วก็ส่งกลับคืน มาเกิดอีกก็ยืมมาใหม่ ดังนั้นอยู่ไม่รู้จบรู้สิ้นสักที ขอ อย่าลืมผู้ไปยืมของเขามาเกิดยังมีอยู่ จึงต้องยืมของเขาร่ำไปไม่มีที่สิ้นสุด (ของดีมีในศาสนาพุทธ)
๔๐. ความสละเด็ดเดี่ยว ปล่อยวางสิ่งสารพัดทั้งปวงหมดเหลือแต่ใจ อันนั้นเป็นของดีนักความสละความตายเลยไม่ตายซ้ำ เลยมี อายุยืนนาน ถึงเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรต่างๆ ก็ทอดทิ้งหมด เลยกลับเป็นของดีซ้ำ ที่เป็นห่วงทั้งนั้นอยู่ในเรื่องความเจ็บป่วย อันนั้นป่วย ก็ไม่หาย สมาธิก็ไม่เป็น นั่นแหละเป็นเหตุที่ไม่เป็นสมาธิ เราจะทำอะไรต้องทำให้จริงๆ ซี (อนุสสติ ๑๐)
๔๑. จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต (ธรรมเทศนาเรื่องวิธีหาจิต)
๔๒. วิปัสสนาจริงแล้วไม่ต้องคิดต้องนึกไม่ต้องปรุงแต่ง มันเป็นเอง มันเกิดของมันต่างหาก เมื่อมันเกิดแล้วจะต้องชัดแจ้งประจักษ์ ในพระไตรลักษณญาณด้วยตัวของตนเองต่างหาก
๔๓. เมื่อปัญญาวิปัสสนาเกิดขึ้นในขณะจิตเดียวนั้นสิ้นสงสัยในธรรมทั้งหลาย เห็นสรรพสัตว์ในโลกเป็นสภาพอันเดียวกันหมดเลย ไม่มีต่ำ ไม่มีสูง ไม่มีน้อย ไม่มีใหญ่ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย มีแต่ธาตุ ๔ เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้น (ธรรมเทศนาเรื่อง ธัมมจักกัปปวัต รนสูตร)
๔๔. ปัญญาวิปัสสนา คือเห็นสิ่งทั้งปวงหมด เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งเหล่านั้นเป็นของไร้สาระ เป็นโทษเป็นทุกข์ เป็นภัย อันตรายแก่จิตใจ จึงปล่อยวางทอดธุระในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้เป็นปัญญาอันวิเศษสูงสุด เพราะคนจะพ้นจากโลกได้ก็เพราะ เห็นที่สุดของโลก คือ ได้แก่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา– (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักการปฏิบัติธรรม)
๔๕. ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อย ทั้งทานภายนอก ทานภายใน รักษาศีล คือรักษากาย วาจา และใจ ให้มันเป็นปกติ หรือรักษา จิตนั่งเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิดสิ่งใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเรา เป็นผู้มีศีล (ธรรมเทศนาเรื่อง สติควบคุมจิต)
๔๖. ผู้มีศรัทธา มีความเพียรด้วย และมีความอดทน กล้าหาญ ประกอด้วยปัญญาประกอบด้วยความเพียร รักษาความดีนั้นๆ ไว้ ติดต่อกันอย่าให้ขาด นั่นแลจึงสามารถขจัดกิเลสสานสัยให้หมดสิ้นไปได้ (อัตตโนประวัติฯ)
๔๗. ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่านจะยังปรากฏอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หา ได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้วสมุฏฐานคืออุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุข และได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค (ธรรมเทศนาเรื่อง โรค)
๔๘. ทำทานมีมากน้อยก็ต้องทำด้วยตนเอง รักษาศีลก็โดยเฉพาะส่วนตัวแท้ๆ ใครรักษาศีลให้ไม่ได้ ทำสมาธิยิ่งลึกซึ้งหนักแน่นเข้า ไปกว่านั้นอีก แต่ละคนก็ต้องรักษาจิตใจของตนๆ ให้มีความสงบหยุดวุ่นวายแส่ส่าย ถ้าเราไม่รู้จักวิธีทำสมาธิแล้วก็ทำสมาธิไม่ เป็น จิตใจก็เดือดร้อนดิ้นรนเป็นทุกข์ เหตุนั้นจึงว่า การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินี่เป็นกิจเฉพาะส่วนตัว ทุกๆ คนจะต้องทำให้ เกิดมีขึ้นในตน (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักศาสนา)
๔๙. ความเป็นเศรษฐีมีจนคนอนาถา ก็มิได้เป็นอุปสรรคแก่การจับจ่ายอริยทรัพย์ของผู้มีศรัทธาปัญญา ฉะนั้นอริยทรัพย์จึงเป็น ของมีคุณค่าเหนือกว่าทรัพย์ทั้งปวง (อัตตโนประวัติฯ)
๕๐. บุญกุศลที่สร้างสมถึงที่แล้วมันจะหมดเรื่อง ไม่มีอะไรอีก และไม่เอาไปด้วย บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ผู้ที่ยังเอาอยู่จึงได้บุญได้ บาป เป็นภพเป็นชาติขึ้น ผู้ทอดธุระแล้ว ไม่มีบุญและบาปแล้ว จึงได้เรียกว่า โลกุตระ เหนือโลก (ธรรมเทศนาเรื่องจิตที่ควรข่ม – ควรข่มขี่ – ควรละ)

[/ultimate_modal]
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    พระคุณเจ้าหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นศิษย์สำคัญยิ่งทุกด้านของพระคุณเจ้าท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ผู้เป็นบูรพาจารย์ เป็นบิดาแห่งวงศ์พระกรรมฐานในสมัยปัจจุบัน ศิษย์สำคัญระดับพระเถราจารย์ใหญ่ที่เป็นที่เคารพบูชา มีชื่อเสียงขจรขจาย เป็นที่คุ้นเคยนามของมหาชนทั่วประเทศ ถือเป็นรุ่นใกล้เคียงกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ทั้งสิ้น เช่น พระคุณเจ้าหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น พระคุณเจ้าหลวงปู่ต่างมีอายุ และอุปสมบทญัตติเป็นธรรมยุตใกล้เคียงกันก่อนหลังดังนี้

หลวงปู่หลุย เกิด ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ ญัตติเป็นธรรมยุต ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๖๘
หลวงปู่ขาว เกิด ๒๖ เมษายน ๒๔๓๔ ญัตติเป็นธรรมยุต ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๖๘
หลวงปู่เทสก์ เกิด ๒๖ เมษายน ๒๔๔๕ ญัตติเป็นธรรมยุต ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖
หลวงปู่อ่อน เกิด ๓ มิถุนายน ๒๔๔๕ ญัตติเป็นธรรมยุต ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗
หลวงปู่ชอบ เกิด ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ ญัตติเป็นธรรมยุต ๒๑ มกราคม ๒๔๖๗
หลวงปู่ฝั้น เกิด ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ญัตติเป็นธรรมยุต ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๖๘

    ดังนั้นหลวงปู่หลุยจึงญัตติเป็นธรรมยุตก่อนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๗ วันแต่ ญัตติเป็นธรรมยุต วันเดียวกันกับหลวงปู่ขาว ต่างก็เป็นคู่นาคซ้ายขวา ซึ่งกันและกัน แม้จะมีอายุน้อยกว่าหลวงปู่ขาวนับ ๑๐ ปี หลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบต่างก็มีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่หลุย แต่หลวงปู่เทสก์ อุปสมบท ก่อนท่าน ๒ พรรษา ส่วนหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบอุปสมบทก่อน ๒-๓ เดือน แต่นับพรรษาเท่ากันด้วยระยะนับวันขึ้นปีใหม่ส่งถึงวันที่ ๑ เมษายน หลวงปู่หลุยจึงเป็นแม่ทัพนายกองใหญ่และเป็นแม่ทัพหน้ารุ่นเริ่มยุคปฏิบัติธรรมของบูรพาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของคุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และเจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ เวลาอรุณรุ่งจวนสว่างมีพี่สาวต่างบิดา ๑ คน และน้องชายร่วมบิดา มารดาอีก ๑ คน

เมื่ออายุ ๗ ขวบ บิดาได้ถึงแก่กรรมทำให้มารดาท่านเป็นทุกข์จากการพลัดพรากของรักทั้งจากเป็นและจากตาย จึงอุทิศวิถีชีวิตส่วนใหญ่ ต่อพุทธศาสนา หลวงปู่ซึ่งเคยรื่นเริงสนุกสนาน พาเด็กในละแวกบ้านสนุกกระโดดน้ำ ปีนป่ายต้นไม้จนพลัดตก ซนไปต่างๆ นานา ก็แทบหมดสนุก ด้วยการสูญเสียร่มโพธิ์ร่มไทรของครอบครัว หลวงปู่จึงมักปลีกตัวไปดูสายน้ำ แม่น้ำเลยหลังบ้าน แล้วเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์เหมือนกับกระแสน้ำ ไปแล้วไม่ยอมกลับ ท่านได้แต่คิด…คิดเพ่งดูน้ำ ดูกระแสน้ำ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของความคิดทางธรรม ภาวนาโดยอาศัยน้ำเป็นอารมณ์ คิดเรื่องชีวิตจนหมกมุ่นเกินวัย จนกระทั่งอายุ ๙ ขวบ จิตตกภวังค์จมลง เกิดนิมิตแสงสว่างสีสรรคล้ายสีรุ้ง และในใจก็รู้สึกมาว่า ต่อไปจะต้องบวช และบวชแบบ กัมมัฏฐาน ทั้งที่ขณะนั้นยังเด็กไม่รู้จักกัมมัฏฐานมาก่อน

เดิมบิดามารดาตั้งชื่อบุตรชายคนโตนี้ว่า “วอ” แต่เมื่อเข้าโรงเรียน ความมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ช่างออกความเห็นเหมือน “ครูบา” จึงถูกเรียกว่า “บา”จนกลายเป็นชื่อใหม่ของท่าน เด็กชายบาจึงมีโอกาสศึกษาที่โรงเรียนวัดศรีสะอาดจนจบชั้นประถมปีที่ ๓ ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นการศึกษาที่สูงมาก สำหรับเมืองชายแดน หลวงปู่ตั้งใจจะไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ด้วยประสงค์จะรับราชการเป็นขุนหลวง พระ อย่างเพื่อนของบิดา และอยู่ในฐานะที่ มารดาส่งเรียนได้แต่มารดาเป็นห่วงจึงไม่อนุญาตหลวงปู่จึงเสียใจมากที่ไม่ได้ศึกษาต่อ
ต่อมาหลวงปู่ได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน ปี ๒๔๖๔ ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาคจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ขณะที่อยู่ที่เชียงคานด้วยหนุ่มคะนอง และชอบสวดมนต์ ประกอบกับอยากแกล้งมารดาและมีการติดต่อกับฝรั่งทางลาว หลวงปู่จึงรู้จักการเสิร์ฟ และผสมสุราอย่างฝรั่งเศส แล้วนับถือศาสนาคริสต์ จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่านเรียกชื่อว่า “เซนต์หลุย” ท่านจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่าหลุยแต่บัดนั้นมา ซึ่งไม่ใช่ความหมายของคำว่า “หลุย” ในภาษาอีสาน ซึ่งหมายถึง ไม่ถูกเป้าพลาดเป้าไป ไม่ถูกจุด
การคลุกลคลีอยู่กับการจัดอาหารเลี้ยงบ่อยๆ ทำให้ท่านได้เห็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทั้งไก่ หมู วัว ควาย ซึ่งบังเกิดความสังเวชสลดใจ จึงออกจาก คริสต์ศาสนาหลังจากนับถือมา ๕ ปี

การทำราชการของหลวงปู่ไม่สู้จะราบรื่นนัก ด้วยผู้บังคับบัญชาเกิดแคลงใจในตัวท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่ง ที่เคยรักใคร่เอ็นดู กลับเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับภาพสัตว์ที่ถูกเชือดในงานเลี้ยง ยังตามมารบกวนความรู้สึกอยู่ในมโนภาพ ท่านเคยได้ทราบว่า การบวช จะแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้วได้ จึงเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจจะละโลกฆราวาส ลาออกจากราชการแล้วเข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล ร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยมีอัยการภาคเป็นเจ้าภาพบวชให้ ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี หลวงปู่ได้พยายามศึกษา พระธรรมวินัยทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ เมื่อออกพรรษาท่านจึงลาพระอุปัชฌาย์กลับเพื่อไปเตรียมเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย หลวงปู่ได้เดินทาง ไปทางจังหวัดนครพนมเพื่อนมัสการพระธาตุพนม ระหว่างทางได้พบพระธุดงค์กัมมัฎฐานรูปหนึ่ง มาจากอำเภอโพนทอง สนทนาชอบอัธยาศัย ซึ่งกันและกัน และทราบความมุ่งมั่นของหลวงปู่ที่อธิษฐานปวารณาตัวเพื่อพุทธศาสนา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความหมดไป ท่านอนุโมทนา จึงมอบกลดและมุ้งให้หลวงปู่ ท่านรู้สึกในพระคุณเป็นที่สุด ได้ใช้ในการภาวนา จนซ่อมแซมปะชุนไม่ได้ และเป็นปัจจัยให้ท่านทำกลด แจกจ่ายพระเณร มาตลอดเวลา หลวงปู่ได้ถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฎฐานตลอดชีวิต

ท่านอำลาละสังขารคืนวันที่วันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  สิริรวมอายุ ๘๘ ปี ๖๕-๖๗ พรรษา

โอวาทธรรม

    ธรรมเทศนาของหลวงปู่มีมากมายหลายร้อยหลายพันกัณฑ์ เพราะหลวงปู่ได้เทศน์โปรดญาติโยม ลูกศิษย์มากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ยิ่งในระยะหลังที่ท่านออกไปเยี่ยมลูกศิษย์ตามบ้านต่างๆ หลังจากที่ปฏิสันถารถามทุกข์สุขของลูกศิษย์ด้วยความเมตตาแล้ว ท่านจะอบรมสั่งสอนด้วย ทุกครั้ง เป็นประจำมิได้ขาด…ทุกเช้า…ก่อนฉันขังหัน ทุกค่ำ…หลังทำวัตรเย็น… ท่านจะเทศนาสั่งสอนเสมอ

ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า “ศีล ๕ นี่ พระพุทธเจ้าท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ให้รักษาศีล ๕ อย่าดูถูกศีล ๕ นะ เพราะผู้รักษาศีล ๕ ย่อมสำเร็จโสดาบันได้สำหรับศีล ๘ ก็จะสำเร็จถึงอนาคามีได้ …” ท่านจะไม่บังคับว่าใครควรจะรักษาศีล ๕ ใครควรจะรักษาศีล ๘ โดยท่านจะกล่าวนำ เริ่มต้นจากศีล ๕ ซึ่งทุกคนจะต้องกล่าวตาม จากนั้นก่อนที่จะกล่าวนำศีลข้อ ๖-๘ ท่านจะแนะนำให้ผู้ที่รักษาศีล ๕ กราบแล้วนั่งอยู่ ไม่ต้องกล่าวตาม เฉพาะผู้ที่จะรักษาศีล ๘ ให้กล่าวตามคำที่ท่านกล่าวนำต่อไป

[/ultimate_modal]
หลวงปู่คำดี ปภาโส_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่คำดี  ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ ปีขาล ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของนายพร-นางหมอก  นินเขียว เกิดที่บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน คือ ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน รววม ๖ คน
หลวงปู่คำดี เมื่อเป็นเด็กท่านไม่ได้เข้าเรียน เพราะสมัยนั้นตามชนบทบ้านนอกไม่มีโรงเรียน ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตเป็นผุ้ใหญ่แล้ว โยเข้าเรียนโรงเรียนผู้ใหญ่จบชั้นประถมปีที่ ๔ บริบูรื ในสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนและมีจิตใจเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา ท่านนึกอยากจะบวชมาตลอด เมื่ออายุพอบวชเป็นสามเรรได้ ท่านขออนุญาติโยมบิดา มารดา บวชแต่ไม่ได้รับอนุญาต กลับบอกว่า เอาไว้อายุครบบวชเป็นพระแล้วค่อยบวชทีเดียวเลย เพราะตอนนี้ทางบ้านกำลังต้องการให้อยู่ช่วยทำงานก่อน ท่านก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรด้วยความอดทนมาตลอด จนกระทั่งอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ จึงได้ขออนุญาตบิดาและมารดาของท่านบวชอีกครั้งนึง ครั้งนี้จึงยินดีอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามต้องการ ท่านดีใจมาก เพราะสมใจที่คิดไว้ ท่านพูดว่าสมัยท่านเป็นเด็กมองเห็นภูเขาเขียว ๆ ที่ใกล้บ้านท่าน เป็นสถานที่ที่เหมือนว่าเคยอาศัยอยู่มาแต่ก่อนแล้ว และคิดว่าบวชครั้งนี้แล้ว คงจะได้ไปอยู่อาศัยทำความเพียรแน่ เกิดความปิติ และเกิดความชื่นใจตลอดเวลา

โอวาทธรรม

 ท่านมักจะอบรมลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอ ๆ ว่า “เรามีตาเท่ากับว่าไม่มีตา มีหูเท่ากับว่าไม่มีหู มีท้องก็ฉันอยู่ได้ไปวัน ๆ เท่านั้น ไม่ต้องแสดงความโลภและตะกละ” ให้พากันสำเนียกไว้เรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง จะต้องมีด้วยกันทุกคนถ้าพูดถึงความโลภ เมื่อมันมีเจตนาบรรดาลเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะมืด ไม่รู้จักบาปบุญ ไม่กลัวคุกกลัวตะราง อันนี้เรรียกฤทธิ์ของมัน ท่านจงให้ระวังดี ๆ ในเรื่องของสามประการนี้ท่านสอนว่า อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ให้มีสติรู้เท่าทันมัน เมื่อเราปฏิบัติได้อย่างนี้แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง เหล่านี้ก็จะเสื่อมอำนาจไป ตัวอย่างเช่น เมื่อเราประสงค์จะเอาสิ่งใด เราต้องพิจารณราเหตุสียก่อน เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันไม่ผิดศีลธรรม เราก็สามารถเอาได้ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันผิดศีลธรรม เราก็ละเสียไม่เอา นี่แสดงว่าเราไม่ปรุงแต่งตามมัน ในความอยากได้หรือความโลภ และเราก็มีสติรู้เท่ามัน คือมีการพิจารณาในเหตุในผลเสียก่อน ถ้าเราประพฤติได้ในลักษณะนี้ เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นคนดี กระทำแต่ในสิ่งที่ดี มีแต่บุญกุศล ถ้าพูดสั้น ๆ ก็หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีผลเท่านั้น คือถ้าเราทำเหตุดีก็จะได้รับผลดี แต่ถ้าเราทำเหตุชั่วก็จะได้รับผลชั่ว

“แต่การจะทำเหตุที่ดีนัน้ มนุษย์เราทำกันยากนักยากหนา ที่ว่าทำยากเพราะอะไร ? คือมนุษย์บางเหล่าไม่รู้จักเหตุและผล จึงไม่รู้จักเลือกเฟ้นทำเหตุที่ดีกัน และอีกอย่างหนึ่งก็คือพวกเรานี้ไม่ค่อยกระทำเหตุที่ดีกัน แต่ผลดีของมันนัน้ชอบกันทุกคน”

ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย คำว่าตายในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเราตายหมายถึงจิตใจของเราตาย คือตายจากมรรค ผล นิพพานต่างหาก ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย คือไม่ประมาทต่อการทำความดี ได้แก่ ศีล สมาธิปัญญา มีโอกาสจะได้ไปสวรรค์ พรหมโลก หรือมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่ง ตลอดถึงพระนิพพานข้างหน้าแน่นอน ช้าหรือเร็วแล้วแต่บุญบารมีหรือความพากเพียรของตนอง

“ความไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่ กาย และใจ ทุกอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีเผลอจากอิริยาบถทั้ง ๔ จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเข้าใจไหม (ท่านถามลูกศิษย์)” นี่คือเทศน์ครั้งสุดท้ายของท่ายนก่อนที่จะล้มป่วยลง

คำว่าฟังเทศน์หมายความว่า เอาใจฟังให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวอย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวให้รู้อยู่กับภาวนาหรือให้รู้อยู่เฉพาะใจ อย่าให้ร่างกายนั่งอยู่ที่นี่แต่ใจมันคิดไปที่อื่น ก็ชื่อว่าใจไม่ฟัง คำว่าใจฟังคือใจจดจ่อ

สอนให้ละลายความชั่วประพฤติความดี ความชั่วก็ได้แก่บาปนั่นแหละ ควงามดีก็ได้แก่บุญกุศลนั่นแหละ แต่เกี่ยวเนื่องอยู่กับจิตใจของเรา ถ้าพูดให้สั้น ๆ เอาเฉพาะใจความโอวาทของพระพุทธเจ้า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็ย่อลงมาเป็น ๓ ข้อด้วยกัน คือ

๑.    พระพุทธเจ้าสอนให้ละกายทุจริตและประพฤติกายให้ทุจริตนี้เป็นข้อที่หนึ่ง
๒.    ให้ละวาจาทุจริต และให้ประพฤติวาจาให้สุจริต
๓.    ให้ละมโนทุจริต และให้ประพฤติใจให้สุจริต

จะพูดถึงบาป อกุศลกรรมบทหมายความว่า การทำบาปทั้งหลายก็รวมมาอยู่ที่อกุศลกรรมบท ๑๐ ประการนั่นแหละ คำว่าบุญกุศลก็รวมอยู่ที่กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ ชื่อว่ากายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ถ้าพูดให้สั้นให้น้อยลงไปอีก กายกรรม ๓ และวจีกรม ๔ เป็นกิริยาการทำบาป ย่นลงมาทางใจ  คือ ใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง มี ๓ อย่างเท่านี้แหละที่เป็นเหตุ ตกลงอกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านี้แหละเป็นต้นเหตุ ตกลง อกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านั้น หมายใจดวงเดียวคือใจ ก็หมายอันเดียวเรียกว่า เอกังจิตตัง ที่เรียกว่า จิต หัวใจ ก็เรียกว่าเป็นใจดวงเดียว เอกมโนเรียกว่าใจอันเดียว ตกลงผู้ที่เบื่อความทุกข์ เบื่อความโง่ เบื่อความเป็นบาป ก้มาปฏิบัติแก้ให้กายทุจริตเป็นกายสุจริต แก้วจีทุจริตให้เป็นวจีสุจริต แก้มโนทุจริตเป็นมโนสุจริต นี่เป็นวิธีปฏิบัติ ถ้าเราจะเทียบในทางโลกเหมือนกับพวกชาวไร่ชาวนาที่มีไร่มีนา แต่ก่อนมันก็เป็นป่าเป็นดงเมื่อถือสิทธิ์แล้วก็จึงสร้างจึงถากถาง ทำให้เป็นไร่เป็นสวนทำให้บริสุทธิ์ ทำนาก็ให้เป็นนาจริง ๆ ทำสวนก็ให้เป็นสวนจริง ๆ

คนทุกข์คนจนในโลกนี้ไม่ใช่ทุกข์เพราะเสือกิน ไม่ใช่ทุกข์เพาะงูร้ายกัด ไม่ใช่ทุกข์เพาะช้างฆ่า แต่ทุกข์เพราความโลภความกรธความหลงของตน จะทุกข์เพราะสิ่งใด ๆ ก็ตาม ตัวความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละเป็นผู้ฆ่า

ความโลภ ความโกรธ ความหลง สามสิ่งนี้ร้ายกาจกว่าสิ่งใดทั้งหมด ร้ายกว่าผีร้าย ร้ายกว่าเสือร้าย ร้ายกว่างูร้าย ไม่มีสิ่งไหนจะร้ายกว่าตัวความโลภ ความโกรธ ความหลงสามประการนี้ มันสามารถทำให้ผู้รู้แจ้งเป็นคนมืดก็ได้ ฤทธิ์ของมันอยู่เหนือทุกคนในโลกนี้ ยกเว้นเสียแต่พระอรหันต์

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวำเภองสะพุง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐาสโม มีชาติกำเนิดในสกุลแก้วสุวรรณเดิมชื่อบ่อ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒กุมภาพันธ์พ. ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันพุธขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๓ ปีฉลู บ้านโคกมน  ตำบลผาน้อย  อำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย  โยมบิดาชื่อ  มอ โยมมารดาชื่อ  พิลา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คนเป็นชาย ๒ เป็นหญิง ๒ มีชื่อเรียงกันตามลำดับคือ

๑. ตัวท่าน บ่อ แก้วสุวรรณ
๒. น้องสาว ชื่อ พา แก้วสุวรรณ
๓. น้องสาว ชื่อ แดง แก้วสุวรรณ
๔. น้องชายสุดท้อง ชื่อ สิน แก้วสุวรรณ

ทั้งน้องสาวและน้องชายรวม ๓ คนนี้ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปตามกาลเวลาหมดแล้ว  ที่อำเภอด่านช้าง  จังหวัดเลย  มีอาชีพหลักคือการทำนา  แต่โดยพื้นที่เป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่การทำนาต้องอาศัยไหล่เขายกดินเป็นขั้นบันไดเป็นชั้น ๆ  ไปจึงจะปลูกข้าวได้  แม้จะลงแรงทำงานหาเลี้ยงกันอย่างไม่ยอมเหนื่อยต้องทำไร่ตามรอยเพิ่มเติมแต่ก็ไม่ค่อยพอปากพอท้อง  โดยเฉพาะบางปีถ้าฝนแล้ง ข้าวไม่เป็นผล   พืชล้มตายก็อดอยากแร้นแค้น จึงได้คิดโยกย้ายไปแสวงหาถิ่นทำกินใหม่ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มอันไม่เป็นที่โดยที่เขาเช่นแต่ก่อน
ตระกูลของท่านพากันอพยพมีความอัตคัดฝืดเคือง  มาหาภูมิลำเนาใหม่  ผ่านหุบเหวภูเขาสูงของอำเภอด่านช้าง  ผ่านป่าดงพงทึบของภูเรือ  ภูฟ้า  ภูหลวง  ได้มาพบชัยภูมิใหม่เหมาะ  คือที่บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย  อำเภอวังสะพุง  ยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าใกล้หุบห้วย  เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงช่วยกันหักร้างถางป่าออกเป็นไร่นาสาโท  คงยึดอาชีพหลักคือการทำนาเช่นเดิม

ณ ที่บ้านโคกมนนี่เอง  ที่เด็กชายบ่อ  บุตรชายคนหัวปีของสกุลแก้วสุวรรณได้ถือกำเนิดมาเป็นประโยชน์พญาช้างเผือกที่มีกำเนิดจากกลางไพรพฤกษ์  ทำให้ชื่อป่าที่เกิดของพญาช้างเผือกนั้นเป็นที่รู้จัก ขจรขจายไปทั่วสารทิศ  ฉันใด  หลวงปู่ก็ทำให้ชื่อ  “หมู่บ้านโคกมน” บ้านที่เกิดของท่านเป็นที่รู้จัก  เป็นที่จารึกแสวงบุญของบรรดาชาวพุทธทั่วประเทศ ฉะนั้นชีวิตตอนเป็นเด็กของท่าน  นับว่ามีภาระเกินวัย ด้วยเกิดมาเป็นบุตรหัวปี  ต้องมีหน้าที่ช่วยบิดาทำการงานในเรือกสวนไร่นา  พร้อมทั้งต้องทำหน้าที่ดูแลน้อง ๆ หญิงชายทั้ง ๓ ด้วย

บ้านโคกมนในปัจจุบันนี้  แม้ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะคุยให้เราฟังว่า  มีความเจริญขึ้นกว่าเมื่อเจ็ดสิบแดสิบปีก่อนอย่างหาที่เปรียบมิได้  แต่ในสายตาของเราชาวกรุงก็ยังเห็นคงสภาพเป็นบ้านป่าชนบทอยู่มาก  ดังนั้นหากจะนึกย้อนกลับไปสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กเล็กอยู่ ณ ที่นั่นบ้านเกิดของท่าน ก็คงมีลักษณะเป็นบ้านป่าเขาที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง  สมาชิกทุกคนในครอบครัว  ต้องช่วยกันตัวเป็นเกลียวโดยไม่เลือกว่าผู้ใดใหญ่หรือเล็ก  ระหว่างที่พวกผู้ใหญ่ต้องไถ  หว่านปากกล้า  ดํานา เด็ก ๆ ก็ต้องเลี้ยงควาย  คอยส่งข้าวปลาอาหาร  เด็กโตหรือลูกหัวปีอย่างท่าน  ก็ต้องช่วยในการไถ  ปักกล้า  ดำนา  ด้วยขณะเดียวกันก็ต้องคอยดูแลน้องน้อง กลับจากทำนา  ก็ต้องช่วยกันหาผักหญ้า  หนอหวาย  หน่อโจด หน่องบง  หน่อไม้ รู้จักว่ายอดอ่อนของต้นไม้ชนิดใดในป่าในท้องนาควรจะนำมาเป็นอาหารได้  ยอดติ้วใบหมากเม่าผักกระโดน

โดยมากเด็กชายบ่อจะพอใจช่วยบิดามารดา  ทางด้านเรือกสวนไร่นาส่วนมากกล่าวว่าคือ  จะช่วยเป็นภาระทางด้านเลี้ยงควาย  ไถนา  เกี่ยวข้าว  หาผักหญ้า  แต่ด้านการหาอาหารที่ต้องเกี่ยวเนื่องด้วยชีวิตผู้อื่น  เช่น  การจับปู  ปลา หากบ  เขียด มาเป็นอาหารประจำวันอย่างเด็กอื่น ๆ นั้นท่านไม่เต็มใจจะกระทำเลย  ยิ่งการเล่นยิงนก  กระรอก  กระแต  ที่เด็กต่าง ๆ เห็นเป็นของสนุกนั้น  ท่านจะไม่ร่วมวงเล่นด้วยอย่างเด็ดขาดพูดง่าย ๆ  ท่านไม่มีนิสัยปาณาติบาตมาแต่เด็กนั่นเอง

โอวาทธรรม

หลวงปู่มักจะเทศน์เรื่อง ไตรสรณคมน์หรือศีล ๕ มากกว่าธรรมข้ออื่น ซึ่งดูเผินเผินเหมือนเป็นหญ้าปากคอกแต่ท่านว่านี่แหละคือ รากฐานของการบำเพ็ญเพียรภาวนาถ้าไม่มีฐานไม่มีศิลป์รองรับก็ยากจะดำเนินความเพียรได้  เพราะ

อาทิ สีล ปติฏฐา จ             กลยาณญจ มาตก
ปมข สพพธมมาน             ตสมา สีล วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น             เป็นมาดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั่วไป         เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุมธิ์

หลวงปู่จะเทศ  เป็นวลีสั้น ๆ ประโยคสั้นๆ  แต่ก็เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง  ถ้าปฏิบัติได้ปฏิบัติจริง  ปฏิบัติถูก  ปฏิบัติตรง  ปฏิบัติชอบ  และพิจารณาได้  พิจารณา  จึงพิจารณา  ถูกพิจารณาตรง  พิจารณาชอบ

…แน่นอน  มรรคผลนั้นคงอยู่แค่เอื้อมนั่นเอง
เทศน์ที่สั้นที่สุด  วาง
พิจารณาตน  วางตัวเจ้า
ของจิตตะไนย์อิทธิบาท ๕ เอาใจใส่
มรณานุสสติ
ให้พิจารณาความตาย…
นั่งตาย
นอนตาย
ยืนตาย
เดินตาย

[/ultimate_modal]
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ เดิมชื่อกงมา  วงศ์เครือสวน เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีชวด ณ บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของ นายบู่ นางนวล  วงศ์เครือสวน ซึ่งมีพี่ร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน

ในวัยหนุ่มมีร่างกายกำยำล่ำสันสูงใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นนักต่อสู้ชีวิตแบบเอางงานเอาการ สมัยหนึ่งได้เป็นนายฮ้อยต้อนวัว ควาย หมู เที่ยวขายตามจังหวัดใกล้เคียงกับบ้านเกิด จนต่อม่ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อย พาคณะนายฮ้อนต้อนสัตว์ไปขายถึงกรุงเทพฯ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเท้ารอนแรมหลายเดือน การเป็นนายฮ้อยได้แสดงถึงความสามารถเฉพาะตัวของท่าน เช่น จดจำ ชำนาญ รู้ทิศทางดีหนึ่ง มีความสามารถอาจหาญป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดกับลูกน้องหนึ่ง มีคุณธรรมมีศีลธรรม รักษาคำสัตย์ มีความยุติธรรมหนึ่ง เป็นต้น

การที่ท่านได้ท่องเที่ยวค้าขายไปในต่างถิ่นหลายที่มีประสบการณ์นำความเจริญเข้าสู่หมู่บ้านจนเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในตำบลเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ เมื่อถึงกาลอันควรพ่อแมม่จึงได้ไปสู่ขอนางสาวเลา จัดพิธีแต่งงานให้มีครองครัวเมื่อท่านอายุได้ ๒๕ ปี (๒๕๖๘) ครั้นนางเลาตั้งครรภ์แก่ได้เกิดป่วยอย่างหนักสุดที่จะรักษาชีวิตไว้ได้ ในที่สุดนางเลาพร้อมบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง

การสูญเสียภรรยาสุดที่รักพร้อมลูกในครรภ์ครั้งนี้ ทำให้ท่านรู้สึกได้หมดสิ้นทุกอย่างที่เคยหวังและตั้งใจ เพราะตลอดเวลาได้ตรากตรำทำงานเพื่อเมียและลูก นี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านนึกถึงพระพุธศาสนา มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกอยู่เสมอว่า “ไม่มีอะไรดีเท่ากับการบวชพระ” การออกบวชเป็นพระจึงอยู่ในจิตสำนึกตลอดมา

ด้วยจิตอันแน่วแน่ได้ตัดสินใจไปกราบลาพ่อแม่ ญาติพี่น้อง พร้อมแจกจ่ายสมบัติทั้งหลายให้แก่ญาติพี่น้อง พร้อมแจกจ่ายสมบัติทั้งหลายให้แก่ญาติพี่น้อง ทุกคนเห็นใจและไม่คัดค้านลูกคนสุดท้องคนนี้ ทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้ครั้งนี้ก็จะเก็บรักษาไว้ เมื่อวันใดท่านสึกออกมาก็จะรักษาไว้ ทุกคนต่างคิดว่า การออกบวชเป็นทางออกที่ดีสำหรับบุคคลที่ประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้

หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาสก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพที่มีประสบการณ์มีคุณธรรม เมื่อพบเคราะห์กรรมก็รู้จักเลือกสรรหาสาระให้กับชีวิตถือเพศเป็นบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและรรมยุติกนิกายได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการประพฤติดปฏิบัติจนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิก ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทา ทำให้เกิดวัดอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้นในวงของพุทธศสนามากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาทของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่ขาดสาย

ท่านได้ชื่อว่า เป็นพระสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติ…และเป็นโลกบุญญเขต อย่างแท้จริง

โอวาทธรรม

หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ เป็นพระปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่มั่น ธรรมโอวาทมีดังนี้

“คำว่าทุกข์ แม้จะนิดเดียวก็ไม่มีสัตว์โลกรายใดรัก ชอบ และปรารถนาต่างก็กลัวและขยะแขยงกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่หากจะมีก็อาจได้พบเห็นในสมัยปัจจุบันเพราะศีลธรรมที่เคยให้ความร่มเย็นเป็นของเก่าก่อนกลับคร่ำครึ ล้าสมัยความสุขที่เคยได้รับเป็นสันดาน จนลืมทุกข์ทรมานแต่เก่าก่อนไปสิ้น”
“เราจะกลัวเสือ หรือเราจะกลัวกิเลส กิเลสมันทำให้เราตายนับพบนับชาติไม่ถ้วน เสือตัวนี้มันทำให้เราตายได้หนเดียว”
“อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา…อนิจจัง…ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่สามารถจะอยู่ยงคงทนต่อไปได้ ย่อมดับย่อมสลายไปตามกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เที่ยงแท้แน่นอนไปได้…ทุกขัง…เมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลก แล้วเขาไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของเราของเขายามจากไปยามดับไปสลายสิ้น สิ่งที่รักที่พอใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง อนัตตา…ความจริงในโลกนี้ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันเอง ไม่มีใครไปก่อเสริมเติมแต่งได้ถึงอย่างไรก็ยังเป็นธรรมชาติ แม้ร่างกายนี้จะยึดตัวตนว่าเป็นของเราของเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นเพียงธาตุ ๆ หนึ่งที่ประชุมกันเข้าเท่านัน พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา ทั้งสิ้น”
“การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตนคนอื่นทำให้ไม่ได้”
“เราต้องปฏิบัติให้รู้ยิ่ง เราต้องอาศัยในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตเข้าสู่สมาธิจิตสงบอยู่ในอารมณ์มาเป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นชัดแจ้ง เป็นความสว่างของปัญญาผู้บริสุทธิ์ได้ต้องอาศัยปัญญานี่เอง ทั้งนี้วิปัสสนาปัญญาจึงต้องยึดเอาตัวสังขารเรานี้เป็นพยานในการปฏิบัติจึงจะรู้แจ้ง อย่ามองไปนอกตัวเหตุอยู่ที่นี่”
“ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ล้วนเป็นเพื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้นทุกชีวิตเกิดมามีกรรมเป็นของ ๆ ตน”

นอกจากนี้หลักธรรมที่หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรมเป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมา ก็จดจำได้อย่างขึ้นใจ คือ ธรรมะ ๑๑ ประการ ได้แก่
๑. การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปทานเป็นหลัก
๒. การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉย ๆ ให้มันถ่ายถอนเอง
๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้นต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุธรรมดับไปเพราะเหตุพระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้
๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้นมิใช่เหตุและไม่สมควรแก่เหตุต้องสมเหตุสมผล
๕. เหตุได้แก่สมมติบัญญัติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มสมมุติว่าตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้วก็ไปหลงคนอื่นหลงว่าเราสวยแล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวยเมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้วก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัวกลับกลายเป็นราคะ โทสะ โมหะ
๖. แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิเมื่อเป็นสมาธิชั้นสูงการพิจารณราก้เป็นญาณชั้นสูงแต่อยู่ในกรรมฐาน ๕
๗. การสมเหตุสมผล คือคันที่ไหนก็เกาที่นั่น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึงหลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันที่นี่ คือเมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริงเกิดความเบื่อหน่ายเป็นวิปัสสนญาณ
๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้ว ตายแล้ว จึงได้ชื่อว่ากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณราตัวทุกข์ จริง ๆ
๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่นจึงเป็นทุกข์เมื่อพิจารณณาก็ละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รูปสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญ์ญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น
๑๐. ทุกขนิโรธ ดับทุกข์ เมื่อเห้นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศรีษะก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
๑๑. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือการเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธมัรค การเห็นจริง แจ้ง ประจักษ์ด้วยความสสามารถแห่งมัมมาฐิทิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค

[/ultimate_modal]
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร(พระญาณสิทธาจารย์)_j_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (พระญาณสิทธาจารย์) วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาท่านชื่อ นายสาน  วงศ์เข็มมา มารดาชื่อ นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน ท่านเป็นคนที่ ๕ สกุล “วงศ์เข็มมา” เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัวผู้เป็นต้นสกุลได้แก่ ขุนแก้วและอิทธิปัญญา ผู้เป็นน้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิดนั้นประมาณเวลา ๑ ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้มหลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจอย่างบกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต๊อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาดและจากนิมิตที่นางเล่าให้นายสานฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกตนเองว่า “สิม” ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นี้ก็ได้ครองผ้ากาสาวพักตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่สะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่มอายุ ๑๕-๑๖ ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่าตัวท่านเองเป็นหมอลำส่วนหลวงปู่สิมเป็นหมอแคน สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่อยากออกบวชคือความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า “ตั้งแต่เด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตายมันทำให้สะดุ้งใจทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช” มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่กำหนด “มรณํ เม ภวิสฺสติ” ของท่านมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัยของท่าน หลวงปู่ก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่าหลวงปู่เทศน์ครั้งใดมักจะมี “มรณํ เม ภวิสฺสติ” เป็นสัญญาณเตือนภัยจากพญัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

เมื่อท่านอายุ ๑๗ ปีได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร  ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัวนั่นเอง ตรงกับวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๖๙ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทองเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชนโดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิมจึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่คือหลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต  ท่านพระอาจารย์สิงห์  ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกตข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่น  ท่านพระอาจารย์สิงห์  และพระอาจารย์มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมากจึงได้ตัดสินใจถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นและได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยขณะนั้นยังไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ ๒ ลำทำเป็นโป๊ะลอยคู่กันเอาไม้ปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคาสมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธานและเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม  พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ที่วัดป่าบ้านสามผง   อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่วัดบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

เมื่อสามเณรสิมอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ ๑๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ตรงกับวันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์  (จันทร์  เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่นเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่สิม ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด เช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นหลวงปู่ได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่วัดโรงธรรมซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีนี้เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้จำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต, หลวงปู่ชอบ  ฐานสโม,  หลวงปู่แหวน  สุจิณฺโณ,  พระอาจารย์กู่  ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ  อจลธมฺโม เป็นต้น

หลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ “พระครูสันติวรญาณ” ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๒ และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ “พระครูสันติวรญาณ” เป็น “พระญาณสิทธาจารย์” ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ และในคืนวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ถ้ำผาปล่องหลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนาต่อจนถึงเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในผาถ้ำปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา

โอวาทธรรม

    ๑. คำว่าจิต ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัวในใจ นั่นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

๒. ตาเห็นรูปก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสตทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใด ๆ เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในบุคคลนี้ว่ามีเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้ (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

๓. การปฏิบัติบูชาภาวนานี้ เป็นการปฏิบัติภายใน เป็นการเจริญภายใน พุทโธภายในให้ใจอยู่ภายในไม่ให้จิตใจไปอยู่ภายนอก (พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์)

[/ultimate_modal]
หลวงปู่กินรี จนฺทิโย_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่กินรี จนฺทิโย วัดกันตศิอลาวาส อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย กำเนิดในสกุล “จันศรีเมือง” เดิมท่านมีชื่อว่า “กลม” โยมบิดาชื่อ โพธ์ โยมมารดาชื่อ วันดี เกิดเมื่อวันพุธที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ ตรงกับปีวอก แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ร.ศ. ๑๑๕ ณ บ้านหนองฮี ตำลบปลาปาก อำเภอหนองบึก (อำเภอเมือง) ปัจจุบัน เป็นตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม มีพี่น้อง ๗ คน หลวงปู่เป็นลูกหล้า น้องน้อยสุดท้อง ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวนา และมีพี่น้องหลายคน แม้จะมีใจรักในการศึกษา แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ จึงได้รับการศึกษาสามัญเบื้องต้น

หลวงปู่พระอาจารย์กินรี  จนฺทิโย ได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์  กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่เปิดเผยตน เก็ยตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก ไม่มักมากไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อย ไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หล่วงปู่อยู่อย่างสงบ ๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี

การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นยากที่จะเข้าใจเพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรมภายในนั้นเป็นคนละเรื่อง ดังคำปรารถของ พระอารย์ชา  สุภทฺโท ครั้นปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ ทั้งก่อนและหลังเดินธุดงค์สู่ภูลังกา นครพนม ได้กล่าวว่า ท่านเองทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวัน ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่องปฏิบัติมิได้หยุดหย่อน ยังไม่รู้ไม่เห็นอะไร แล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียงเดินจงกรมก็ไม่ค่อยเดินจะนั่งสมาธินาน ๆ ก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่แล้วจะไปถึงไหนกันแล้วหลวงปู่ชา ได้กล่าวภายหลังว่า เรามันคิดผิดไปท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์มากต่อมากหลายต่อหลายปี รู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหน ๆ คำเตื่อนสั้น ๆ ห้วน ๆ แม้จะนาน ๆ ครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียน การปฏิบัติแท้ ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอก ไม่ใช่การเดินด้วยเท้า ไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่ศึกษาจากตำราตัวหนังสือ มิใช่เพียงคำพูดและมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเปปป้นตนได้ แต่การปฏิบิภาวนาที่แท้จริงนั้นเป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิต ทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิเป็นหนึ่งอยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนา ทุกเวลาทุกอิริยาบท แม้การทำกิจอันใด ฉะนั้นการจะไปจับเอาการกระทำด้วยการนั่งสมาธิการเดินจงกรมของคราอาจารย์นั้นไม่ได้และถูก

หลวงปู่กินรี เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม อบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีลแม้สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ในพระวินัยจะประมาทมิได้เด็ดขาด แม้เพียงการตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา หลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่าประมาทในสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ การเป็นสมณะต้องเป็นผุ้มักน้อย สันโดษ เป็นอยู่ง่าย ๆ กินแต่น้อยมีทรัพย์สิ่งของน้อยและไม่สะสม จงต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นาน ๆ เป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดสติในการประคับประคองตัวให้อยู่ในครอบร่องรอยของสมณะ แล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินันั้ต้องมั่นคง และต่อเนื่องด้วยการสังวรระในวินัยสิกขาบท สติเราก็จะมั่งคงต่อเนื่อง ถ้าขาดวินัยย่อมขาดสติ จิตจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมา การมีสติอยู่กับข้อวัตรพระวินัย ย่อมเป็นเครื่องกั้นอามรมณ์ทั้งปวงและทำให้สติต่อเนื่อง จิตใจย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิจิตตลอดกิริยาบถ คำสอนของหลวงปู่จึงเป็นคำสอนที่ง่าย ๆ เป็นการสอนด้วยข้อปฏิบัติและการกระทำทันที

หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย ท่านเป็นคนพูดน้อย แต่ละคำที่พูดจึงมีแต่ความบริสุทธิ์และจิรงใจ ท่านยึดถือคติธรรม “สติโลกสฺมิ ชาคโร”  สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่เสมอ จงเอาสติตามรักษาจิตไว้ เพราะคนมีสติย่อมประสบแต่ความสุข จะพูดจะคิดจึงควรมีสติทุกเมื่อ ท่านมักจะอยู่คนเดียวไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ พยายามให้พระในวัดมีการร่วมกันน้อยที่สุด ให้เร่งทำความเพียรอย่าได้อยู่ด้วยความเกียจคร้าน อย่าเป็นผู้พูดมาก เอิกเกริกเฮฮาไม่จำเป็นท่านจะไม่ประชุมกัน แม้การสวดมนต์ทำวัตรยังให้ทำร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้อยู่คนเดียวทำคนเดียวมาก ๆ จิตจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มาก โดยเฉพาะเตือนลูกศิษย์ให้อยู่ในป่าช้าให้มาก อานิสงฆ์ของการอยู่ในป่าช้าให้จิตใจกล้า องอาจจิตตื่นอยู่เสมอพิจารณณาข้อธรรมได้ถี่ถ้วนเพราะจิตปราศจากนิวรณ์

หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย เคยอยู่กับหลวงปู่เสาร์นานถึง ๖ ปี อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ๒ ปี และอยู่กับหลวงปู่ทองรัตน์ ๔ ปี หลังจากนั้นได้กราบคารวะบูรพาจารย์ให้ทั้งสามอยู่เนืองนิจ ท่านได้กล่าวกับพระอาจารย์ชา จึงประกาศประดิษฐานพระพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติธรรม ขยายไปยังทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ชีวิตบั้นปลายของหลวงปู่กินรี  จนฺทิโย ทุกสิ่งทุกอย่างคือปกติพูดน้อย เก็บตัว อยู่เรียบง่าย หยุดการเดินทาง หยุดการธุดงค์ มีนาน ๆ ครั้งจะไปเยี่ยมพระอาจารย์ชา ผู้เป็นศิษย์ที่วัดหนองป่าพง ด้วยลักษณะนิสัยต้องการอยู่ลำพัง อยู่คนเดียว ไม่เปิดเผยตัว จึงไม่มีผู้ใดที่จะเคยได้ยินคำพูดที่จะเป็นไปในทางโอ้อวดการมีดี การอวดคุณธรรมวิเศษจากหลวงปู่ ท่านสมณธที่สงบเสงี่ยมเจียมตน จึงไม่อุดมด้วยศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส หลวงปู่ชา สุภทฺโท จึงส่งพระลูกศิษย์ ๒ รูปมาอุปัฎฐากดูแลท่าน

หลวงปู่มีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้น แต่ไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนัก ท่านจะไม่ยอมให้ใครนำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด จนกระทั่งวันพุธ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก หลวปู่จึงได้ละสังขารจากพวกเราไป สิริรวมอายุ ๘๔ ปี ๗ เดือน ๑๖ วัน ๕๘ พรรษา

โอวาทธรรม

     หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแพร่ศ่าสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพุด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่าแต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญษและลุ่มลึกมาก เช่น
–    เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดีถ้าท่านรักใครคิดถึงใครเป็นห่วงใครผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”
–    ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกลูกศิษย์เสมอ
–    สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจก็จะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็จะมีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงไหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น
–    ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมาก ๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจที่กำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีทึ่สุด
–    สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่นสารอะไรโดยมิได้ด้วยประการทั้งปวง
–    จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู
–    บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์
–    ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาทเข้าใจการเลี้ยงชีวิต ตามสมควรจึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
–    คนโกรธที่วาจาหยาบ
–    วาจา เช่น เดียวกับใจ
–    ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน
–    กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความไม่มี
–    ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น
–    โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ทา จารุธัมโม_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด จังหวัดนครราชสีมา” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ท่านเกิดในสกุล อารีวงศ์ ในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันอังคารที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่ตำบลคู่เมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นบุตรของนายลี – นางเขียว อารีวงศ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๗ น้อง ๒ คนเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก

ตอนเป็นเด็กท่านไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ ต้องช่วยบิดา มารดา เลี้ยงน้อง เลี้ยงควาย บิดา มารดา ของท่านเกิดในตระกูลสัมมาทิฏฐิใสบาตรเข้าวัดฟังธรรมอยู่เป็นประจำ พอท่านอายุได้ ๕ ขวบ โยมมารดาของท่านเสียชีวิต หลังจากนั้นไม่นานนัก โยมบิดาก็เสียชีวิตตามไปอีกคน ท่านต้องเป็นเด็กกำพร้าตั้งแต่ยังเล็ก ลูกทั้ง ๗ คน ต้องแยกย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ส่วนท่านไปอยู่กับโยมน้าหญิง ซึ่งท่านเรียกว่า “แม่น้า” ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันแยกเป็นจังหวัดยโสธร) โยมน้าไม่มีลูกจึงรับท่านเป็นบุตรบุญธรรม ให้การเลี้ยงดู ให้ความอบอุ่น เป็นอย่างดี ท่านได้ช่วยโยมน้าทำไร่ ปลูกอ้อย เลี้ยงควาย เมื่อว่างจากหน้าที่การงานทางบ้าน ท่านจะไปอยู่วัดรับใช้พระ

พอท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่ วัดใหญ่ชีทวน และได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดท่าชีทวน เป็นเวลา ๕ พรรษา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีอาจารย์ผู้สอนอุบายธรรม ท่านจึงได้ลาสิกขาบทเพื่อมาช่วยงานทางบ้าน มีอยู่วันหนึ่ง ท่านและเพื่อนได้ไปตัดต้นชาติ ที่ราวป่าติดลำโดมใหญ่ เพื่อเอาไม้มาทำฮวงหีบอ้อย (เครื่องหีบอ้อย) เพื่อนแต่ละคนแสดงอาการคึกคะนอง และพูดจาไม่สุภาพ ส่วนท่านสำรวมระวังตัวอยู่เสมอ

หลังจากนั้นไม่นาน เพื่อที่ไปตัดไม้ด้วยกันได้ล้มป่วยและเสียชีวิตไปทีละคนๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนท่านก็ล้มป่วย มีอาการหนักมาก นอนอยู่ที่ระเบียงบ้าน ฝนตกหนัก ฟ้าร้อง ท่านได้ยินเลย โยมแม่น้าได้พูดที่ข้างหูว่า จะตายจริงๆ หรือ และบอกให้ภาวนา “พุทโธ” ภาวนาไปสักระยะหนึ่ง จิตเริ่มสงบ หลังจากนั้น อาการไข้ได้ทุเลาลง และหายไปในที่สุด

กาลต่อมาคณะพระธุดงส์กรรมฐานมี หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นหัวหน้าคณะ และมี หลวงปู่มี ญาณมุนี พร้อมคณะได้เดินทางผ่านบ้านชีทวน และปักกลดที่ป่าบ้านชีทวน เพื่อเดินทางต่อไปยังบ้านข่าโคม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ชาวบ้านชีทวนพอทราบข่าวว่า คณะพระธุดงส์มาปักกลด ตกเย็นหลังจากเสร็จกิจการงานทางบ้าน ชาวบ้านชีทวนได้พากันออกไปฟังธรรม โยมพ่อน้า แม่น้า ก็ออกไปฟังธรรมกับเขา หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ได้มีโอกาสติดตามไปด้วย คณะพระธุดงส์ได้ผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม ท่านได้ฟังธรรมจาก หลวงปู่มี ญาณมุนี เกิดศรัทธาเลื่อมใส ตั้งใจว่า หากได้บวชจะบวชกับพระอาจารย์องค์น

หลังจากนั้น ราว ๓ ปี ท่านได้กราบลา พ่อน้า แม่น้า ผู้เปรียบเสมือนบิดามารดาคนที่สองของท่าน เพื่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มี ญาณมุนี ท่านได้เดินทางลงไปทำงานที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๑ เดือน แล้วจึงย้อนกลับมาหา หลวงปู่มี ญาณมุนี ฝากตัวเป็นศิษย์ ปรนนิบัติรับใช้ หลวงปู่มี ญาณมุนี อยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านสูงเนิน ปัจจุบันคือ วัดป่าญาณโสภิตวนาราม

ตลอดระยะเวลา ๓ ปี ท่านได้ทำกิจวัตร เหมือนพระทุกอย่าง ทำวัตรเช้า – เย็น ตกกลางคืนเดินจงกรมภาวนา ถึง ๖ ทุ่ม จึงขึ้นที่พัก เมื่อ หลวงปู่มี ญาณมุนี เห็นว่าท่านตั้งใจทำกิจวัตรมีกริยามารยาทเรียบร้อย สมควรที่จะบวชได้แล้ว จึงอนุญาตให้บวชได้

ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๓๔ ปี ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เวลา ๑๑.๒๔ น. ณ อุโบสถวัดใหญ่สูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมี
หลวงปู่มี ญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์เนียม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการถนอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้ฉายา “จารุธมฺโม” แปลความหมายว่า “ผู้มีธรรมประดุจทอง”

ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในองค์ หลวงปู่มี ญาณมุนี เป็นอย่างมาก ท่านได้ตั้งใจประพฤติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของ หลวงปู่มี ญาณมุนี ทุกประการ ท่านว่า ถ้าผู้ใดบวชมาอยู่กับ หลวงปู่มี ญาณมุนี แล้วไม่ตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่มี ญาณมุนี จะขับออกจากสำนักทันที ท่านอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่มี ญาณมุนี ที่เสนาสนะป่าบ้านสูงเนิน เป็นเวลาหลายปี พอออกพรรษาท่านก็เที่ยววิเวกไปตามที่ต่าง ๆ

ท่านเล่าให้ฟังว่า ในชีวิตของท่าน ท่านกลับบ้านเกิดเพียง ๒ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ไปเผาศพแม่ใหญ่ (ยายของท่าน)
ครั้งที่ ๒ ไปเผาศพพี่ชาย
ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่มี ญาณมุนี หลวงพ่อทองพูล จิตปญฺโญ และ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ได้ขึ้นไปวิเวกทางภาคเหนือ และอยู่จำพรรษาที่วัดดอยพระเกิ๊ด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ หลวงปู่ทา จารุธมฺโม อยู่ดูแลวัดป่าสูงเนิน เพื่อคุมงานก่อสร้างศาลาการเปรียญ ช่วงที่ หลวงปู่มี ญาณมุนี เที่ยววิเวกที่เชียงใหม่ หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ท่านเข้าออกอยู่ระหว่างวัดป่าสูงเนินกับวัดป่าสระเพลง วัดป่าสระเพลงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สัปปายะถูกจริตกับท่านมาก

ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำซับมืด ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นป่าดงดิบ ไข้มาเลเรียระบาดหนัก มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ เก้ง กวาง หมูป่า เป็นต้น พอออกพรรษาท่านได้กลับไปอยู่ที่วัดป่าสูงเนิน เพื่อเตรียมการฉลองศาลาการเปรียญ และท่านได้ขึ้นไปเชียงใหม่ เพื่อกราบนิมนต์ หลวงปู่มี ญาณมุนี ให้มาเป็นประธานฉลองศาลาการเปรียญที่วัดใหญ่สูงเนิน หลังจากจัดงานฉลองศาลาการเปรียญเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มี ญาณมุนี มีความประสงค์จะขึ้นไปเชียงใหม่อีกครั้ง โดยให้ หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ติดตามไปด้วย

ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ –๒๕๑๑ หลวงปู่มี ญาณมุนี หลวงปู่ทา จารุธมฺโม และ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดดอยพระเกิ๊ด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ได้เล่าถึง หลวงปู่มี ญาณมุนี ว่าท่านมีเมตตาต่อท่านมาก ท่านว่าไม่ว่าผมไปอยู่ที่ไหน หลวงปู่มี ญาณมุนี จะให้ผมมาอยู่กุฏิใกล้ๆ ท่าน ท่านว่าเวลาเรียกหาจะได้ยิน ส่วนพระรูปอื่นให้แยกกันอยู่ห่าง ๆ กัน

ท่านได้เล่าถึงอดีตกรรมของท่านว่า ในคราวที่ท่านไปบำเพ็ญเพียรภาวนาที่วัดป่าโคกมะกอก มีอยู่วันหนึ่งท่านเป็นไข้หนัก โยมมานิมนต์ไปสวดมาติกาบังสุกุล ขณะที่สวดมาติกา อาการไข้ก็หนักอยู่ พอกลับมาถึงกุฏิอาการไข้ก็ไม่ได้ทุเลาลง ท่านจึงนั่งสมาธิ ผินหน้าไปทางหน้าต่าง ภาวนาจนจิตสงบ เกิดนิมิตเห็นควายกับฮวงหีบอ้อย (เครื่องหีบอ้อย) จิตบอกว่า รู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว ท่านได้ลุกขึ้นอาเจียนที่หน้าต่าง หลังจากนั้น อาการไข้จึงค่อยทุเลาลง

ท่านได้ย้อนรำลึก ถึงครั้งเป็นฆาราวาส ท่านเคยบังคับควายให้หีบอ้อย ควายพึ่งกินหญ้ามาใหม่ ๆ มันไม่ยอมเดิน ท่านตีบังคับให้มันเดิน เมื่อบังคับมันมาก ๆ มันอวกหญ้าอ่อนที่เพิ่งกินเข้าไปออกมา ท่านเกิดความสลดสังเวชจึงเลิกบังคับมัน เพราะกรรมนี้เองปรากฏให้เห็นในนิมิต ทำให้ท่านเป็นโรคลม และอาเจียนเป็นประจำ

ท่านได้เร่งความเพียรอย่างหนัก ที่วัดป่าสระเพลง ถึงเนสัชชิกไม่นอนตลอด ๗ วัน ขณะนั่งสมาธิได้ยินเสียงเหมือนมีใครมาเทศน์อยู่ข้างหลัง เทศน์เรื่อง อริยสัจจ์ ๔ ประมาณ ๑–๒ ชั่วโมง เป็นธรรมะอันลึกซึ้ง ซึ่งท่านไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ท่านจึงนึกถึงคำพูดของ หลวงปู่มี ญาณมุนี ที่เคยกล่าวกับท่านว่า “ให้ภาวนาจนถึงขั้นพระพุทธเจ้ามาเทศน์ให้ฟัง นั่นถึงจะดี” ดังนั้น หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ท่านเป็นผู้สืบทอดข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทา จาก หลวงปู่มี ญาณมุนี ได้มากที่สุด อาจจะพูดได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวก็ว่าได้

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงปู่มี ญาณมุนี ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำซับมืด โดยมี หลวงปู่ปู่ทา จารุธมฺโม และ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ติดตามมาอยู่ด้วย ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่ปู่ทา จารุธมฺโม ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ไหนอีกเลย

ถึงแม้หลังจาก หลวงปู่มี ญาณมุนี จะได้มรณภาพไปแล้วก็ตาม ท่านก็ได้อยู่จำพรรษากับ หลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ด้วยการทำให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น ฉันน้อย นอนน้อย ปฏิบัติให้มาก ท่านครองสมณเพศ อย่างเรียบง่านสมถะ ถือสันโดษ เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใส ของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนสาธุชนทั่วไป รวมทั้งมีพระกรรมฐาน ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต ได้มาอยู่ร่วมกับท่าน ปฏิบัติตามธรรมวินัย อยู่ร่วมกันอย่างเย็นใจตลอดมา

ตลอดระยะเวลา ๔–๕ ปี ก่อนท่านมรณภาพ การอาพาธก็บ่อยขึ้น แต่ท่านก็ไม่พึงปรารถนาที่จะไปหาหมอ หรือเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลแต่อย่างใดเลย มีอนุโลมบ้างตามคำขอของลูกศิษย์ในบางครั้ง ท่านพูดเสมอว่า หมอเข้าก็รักษาตามหน้าที่ของเขา เราก็ดู เราก็รู้ของเราอยู่เสมอ แม้อาพาธจะรุมเร้า ท่านยังรักษาปฏิปทา ปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นอย่างดี เมตตาต่อลูกศิษย์อย่างไม่มีประมาณ
ท่านพูดเสมอว่าท่านจะตายที่นี่ (กฏิของท่าน) ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านได้ละสังขารด้วยอาการสงบ ที่กุฏิอันเป็นที่พักประจำของท่าน เข้าสมาธิแบบสงบนิ่ง ไม่มีอาการขึ้นลงทางธาตุขันธ์ ตรงกับเวลา ๒๑.๓๙ น. รวมสิริอายุ ๙๘ ปี ๖๕ พรรษา

โอวาทธรรม

“สติตั้งที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ มองอยู่ที่ใจ
เห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ
สติตั้งที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ พิจารณาอยู่ที่ใจ
อาริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน
สติอันเดียว ก็ไม่หลาย”
“สังขารไม่เที่ยง หลักเลี่ยงเสียให้พ้น
อนัตตาไม่ใช่ตัวตน อย่ากังวลว่าร่างกาย”
“รู้สิ่งใดแล้วติดสิ่งนั้น ก็เป็นสมมติ
แต่ถ้ารู้สิ่งใดแล้วไม่ติดสิ่งที่รู้ ก็จะเป็นวิมุตติโดยอัตโนมัติ”

“ขาดแต่การกระทำเท่าน้นแหละพวกเรา
ครั้นทำจริง ก็ได้จริง เห็นจริง เป็นจริง
พระพุทธเจ้ารอจะให้รางวัลพวกเราอยู่เสมอ ไม่ละเว้นเลย
ถ้าทำเข้าไป หนักแน่นเข้าไป ก็ให้รางวัลแล้ว ไม่ยาก
เดี้ยวก็พุ่งขึ้นที่ใจ แจ้ง สว่าง สงบขึ้นมา
ความสุขก็มีมาด้วย ต่อไปยิ่งจะได้หลายอีกกว่านั้น”
“มันต้องฝึก ฝึกให้เป็นสมาธิ หนักแน่น.. ใจของเรา
หนักแน่นอย่างดีแล้วก็เพ่งเข้าๆๆ มันก็เกิดแสงสว่าง
เกิดความแจ้งความสว่างขึ้นที่ใจ สุขก็มีมาพร้อม ก็เสวยสุขล่ะบัดนี้
เสวยสุขจนเบื่อสุข มันล้นแล้ว วิปัสนามันก็วิ่งเข้ามาเลย ถามเลยว่า
อันไหนเที่ยง อันไหนไม่เที่ยง อันไหนเที่ยง อันไหนไม่เที่ยง
หมดแล้ว สกนธ์กายไม่เที่ยงสักสิ่งสักอย่าง โยนทิ้ง โยนทิ้งหมดเลย
อยู่กับพระธรรมเท่านั้นแหละ ไปไหนก็ไปด้วยกันนั่นแหละ ไปไหนก็ไปด้วยกันนั่นแหละ สบายแล้วมันก็ยาก.. พูดนี่ไม่ยากหรอก มันยากผู้ทำ”

“รู้ซื่อ ๆ รู้จิตซื่อ ๆ
อาการของจิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันตรง ๆ
อย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างไร ให้รู้ซื่อ ๆ
อันนี้เป็นทางเดินของมรรค
รู้ซื่อ ๆ นี่แหละคือปัจจุบัน
จิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันขณะนั้น
นี่เป็นทางเดินของพระอรหันต์ทั้งหลาย
เราอย่าไปอยาก พอจิตมันไม่ดีก็อยากให้จิตมันดี
พอจิตมันเป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างโน้น
อันนี้ท่านว่ามันเป็นกิเลสตัณหา
ซึ่งเป็นทางตรงกันข้ามกับพระนิพพาน
ไม่ใช่ทางปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และของพระอรหันต์สาวก”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร เดิมชื่อ บุญมี สมภาค เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี ๑๑ คือปีจอ เป็นบุตรโทนของนางหนุก สมภาค และนายทำมา สมภาค ที่บ้านขี้เหล็ก ตำบลรังแร้ง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อครั้งเป็นเด็กหลวงปู่มีนิสัยรักความสงบและมีความใฝ่ใจในพระพุทธศาสนาอย่างมาก จนมีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านเลี้ยงควายอยู่กลางทุ่งนาร่วมกับเด็ก ๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน ท่านได้พบภาพพระพุทธรูปในกระดาษแผ่นหนึ่งเข้า ก็เกิดความสนใจมากเป็นพิเศษจึงได้เก็บกระดาษแผ่นนั้นซ่อนเอาไว้ พอมีเวลาว่างท่านก็จะเอามานั่งดูจนเกิดปิติ จึงเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป โดยมีเด็กเลี้ยงควายพากันนั่งดูและก็ปั้นบ่อย ๆ มีความสวยงามด้วย เมื่อมีมากขึ้นหลวงปู่จึงได้แจกและแบ่งปันให้เพื่อน ๆ เอาไป ตอนนั้นหลวงปู่บอกว่ามีอายุประมาณ ๘ – ๙ ปีเห็นจะได้  พออายุได้ประมาณ ๑๐ – ๑๒ ปี ท่านเริ่มเรียนหนังสือกับหลวงน้า ซึ่งบวชพระอยู่ที่วัดใกล้บ้าน ท่านช่วยโยมมารดาทำนาและช่วยงานบ้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบ้านของเด็กผู้หญิงก็ตาม ท่านทำทุกอย่าง นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป และที่สำคัญคือมีนิสัยชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ไม่ว่าเขาจะทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นงานหนักงานเบา ถ้าพอจะช่วยเหลือได้ท่านจะรีบช่วยทันที โดยไม่ต้องให้คนอื่นร้องขอและชอบถามคำถามเกี่ยวกับธรรมะอยู่เสมอ เช่นเห็นคนตายก็จะถามว่า คนไม่ตายไม่ได้หรือ คนไม่ป่วยไม่ได้หรือ อย่างนี้เป็นต้น

ธรรมโอวาท

หลวงปู่บุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปันโนที่เผยแพร่ธรรมด้วยการปฏิบัติ อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาสด้วยการทำจริง ทำตาม ปฏิบัติตาม มากกว่าการอบรม บรรยาย เทศน์ หรือแสดงธรรม แต่ในวาระวันสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือการได้รับอาราธนา หลวงปู่จะเมตตาแสดงธรรมเทศนาโปรด ซึ่งมักใช้ภาษาอีสาน และมีผญาภาษิตของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเปรียบเทียบให้ญาติโยมได้แปลความ ตีความ วิเคราะห์พินิจพิจารณานัยแห่งความหมายธรรมะ ซึ่งใกล้ตัวและใกล้วิถีชีวิตการดำรงอยู่ เป็นเนื้อแนวเดียวกันกับวัฒนธรรมการผลิตของชุมชน ดังที่จะได้ยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้

หลวงปู่บุญมีได้เทศนาอบรมในวันเข้าพรรษาครั้งหนึ่งว่า การปฏิบัติเหมือนการทำนา มีคราด มีไถ มีการเก็บหญ้า กว่าสิได้หว่านข้าว หว่านแล้วกว่าสิงอก มันกะขึ้นของมันเอง บ่ได้บังคับนี่ฉันใด หัวใจของคนก็คือกัน สงบราบคาบแล้วมันกะสิเกิดเอง เกิดแล้วจังค่อยพิจารณามัน พิจารณาให้มันแตก คันบ่แตก กะให้คาโตเอง ไปศึกษาเอาเองบ่ได้ มันเกิดของมันเอง เมื่อมันเกิดเองเฮาต้องแก้เอง ให้ตัวเองแก้เอง ถ้าแก้ถึกแล้ว มันกะบ่มีที่ไป กะเป็นสุขคือความบ่เป็นหยัง เป็นทุกข์คือบ่อเกิดทุกสิ่งทุกอย่าง กะไปอยู่ความสุขเป็นอารมณ์ของวิปัสนาคิดกะบ่แล้ว วิปัสนาเป็นการขุดฮาก สมถะเป็นการชำระ ผู้หลงหรือฮู้กะอยู่โตเดียวกัน ฮู้เรื่องการปฏิบัติบ่แม่น ฮู้ย่อนการศึกษา จั่งให้มีสติ ฮู้กะให้ฮู้ถึงใจ ฮู้ถึงตน ถึงตัวการอบรมสติ คันบ่ศึกษามันกะบ่แล้ว โตเฮาแก้โตเฮามันจั่งแก้ได้ แก้ให้มันถึงที่สุด มันกะสิแล้วนั้นแหละ

มันเป็นปัจจัตตังทั้งหมด สันทิฏฐิโก เห็นด้วยตัวเอง ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ วิปัสสนาสันทิฏฐิโก นอกจากความฮู้ความเห็นเป็นบ่ได้ ทุกข์เกิดความอยาก อยากกะอยากดี อยู่ทางโลกมีแต่ความทุกข์กับความอยาก สองอย่างนี่มันได้รับกัน ศาสนากะอาศัยมรรคอาศัยทางโลก เข้าพรรษาอยู่ในไตรมาส ๓ เดือน นับตั้งแต่มื้อนี้เป็นต้นไป ถึงกลางเดือนสิบเอ็ด บ่จำเป็นบ่ให้นอนบ่อนอื่น บ่ให้ไปแจ้งนอกวัด

สังเกตุเบิ่งวัดมีฮั้วล้อมเป็นเขต ถ้ามีความจำเป็นมีพ่อมีแม่เจ็บป่วยอนุญาติให้ไปดูแลรักษาได้ การอื่นไปบ่ได้ ไปกะด้วยสัตตาหะ ได้ ๖ มื้อ มื้อที่ ๗ ให้มาถึงวัด มื้อนี้คือมื้อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เป็นมื้อที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมจักรอนัตตาเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ก่อนแสดงพระธรรมจักรกับอริยสัจ ๔ ให้มีการอธิฐานตาม ความสามารถของเจ้าของในธุดงควัตร ๑๓ ข้อเอาข้อใดข้อหนึ่ง คันสิเอาทั้งเหมิด คือสิบ่ได้ เฮ็ดหยังให้เฮ็ดอีหลี อย่าเฮ็ดเล่น ๆ คันเฮ็ดเล่าบ่เป็นหยัง บ่มีสติสตังมันกะบ่อยากได้อีหยัง เลยพากันรักษาวินัย ธุดงค์เป็นวินัย ธรรมะรักษาใจ บำเพ็ญภาวนาให้ธรรมเกิดขึ้น ผู้ใดสิอธิฐานหยังกะให้อธิฐานเอา บิณฑบาตฉันเป็นวัตร ฉันเถื่อเดียว ฉันบ่อนนั่งเดียวห่อแนวกินใส่บาตร อย่าเอาแต่ถุงพลาสติกใส่บาตร ให้ใช้ใบตองห่อ แม่ออกกะต้องอธิฐานใส่บาตร หรือรักษาใจของตนให้มีสติสตัง อันนี้รักษาไว้ปฏิบัติเผื่อหยัง เมื่อนั่งภาวนาให้เป็นผู้มีสติ อย่าให้มันขาด ธรรมะจั่งสิเจริญขึ้น ซาดว่าเฮ็ดซื่อ ๆ บ่มีสติธรรมะมันบ่เกิด เกิดขึ้นมันบ่ดี แนวดีมันบ่ได้ มันบ่เกิดให้ ถ้าสิดีได้นอกจากความมีสติ

สำหรับผญา ปริศนาธรรม และภาษิตคำสอนที่หลวงปู่อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และจริตลีลา ในการอบรมธรรมของหลวงปู่เป็นต้นว่า
– หลงมันใหญ่ที่สุด
– ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยสติทั้งหมด
– อีลุมปุมเป้า สามเปาเก้าขอด สุดยอดพระคาถา บารมีงุมไว้ แก้บ่ได้ เมือบ้านอ่านสาร
– กกอีตู่เตี้ยต้นต่ำใบดก ฮากบ่ทันฝังแน่น ซ่างมาจีจูมดอกฮากบ่ทันหยั่งพื้น ซ่างมาปี้นป่งใบ
– อัศจรรย์ใจกุ้งพุงบ่มีซ่างมาเลี้ยงลูกใหญ่ ไส้บ่มีอยู่ท้องซ่างมาได้ใหญ่มา
– แก้วบ่ขัดสามปีเป็นหินแฮ่ พี่น้องบ่แหว่สามปีเป็นอื่น
– ชีวิตน้อยนักหนา พึงฮู้ว่าลมหายใจ ชีวิตยังเป็นไป ลมหายใจชีพจร
– แม่น้ำท่อฮวยงัว บ่มีผู้ใด๋ เฮ็ดขัวข้ามได้ เว้นไว้แต่ผู้ฮู้เหตุผล
– ผักหมเหี่ยนริมทางอย่าสิฟ้าวเหยียบย่ำ บัดมันทอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเดิน
– กินมำ ๆ บ่คลำเบิ่งท้อง
– สี่คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนั่งแคร่ สองคนพาไป
– ดีหรือชั่วเป็นของประจำตัว
– เป็นใหญ๋แล้ว เป็นน้อยบ่เป็น
– สกุณาเป็นเสียงฮ้อง ปฐพีเป็นหม่องเล่น แม่นทีเป็นหม่องอยู่
– ขวาแข็งแรงกว่า ขวาแข็งแรงที่สุด ปทักขิณา ปทักขิ
– มีตาให้ดู มีหูให้ฟัง
– เกิดมาหยัง เกิดมาเพื่อสร้างบุญบารมี หนีให้พ้นทุกข์
– การปฏิบัติให้มันฮู้ จั่งแบ่งเวลา ให้มันมีเช้า-สาย-บ่าย-เย็น ให้มันมีกิน มีนอน มีเฮ็ด มีทำ เฮ็ดกิจส่วนตัวแล้วกะมาเฮ็ดกิจส่วนรวม
– ใจประสงค์สร้างกลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะว่าดง
– มุดน้ำอย่าสิเฮ็ดก้นฟู จกฮูอย่าสิเฮ็ดแขนซั่น ๆ

ปัจฉิมบท

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปันโน บุตรของกองทัพธรรม พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น สานุศิษย์คาดว่าหลวงปู่บุญมี ไม่ได้พบหรือได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยตรง แต่การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ของหลวงปู่บุญมีอยู่สำนักเดียวกับหลวงปู่เสาร์ คือวัดเลียบและไปพำนักอยู่วัดบูรพาสำนักเก่าดั้งเดิมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตเถระ นั่นเอง ด้วยบริบทและสภาวธรรมของสำนักวัดเลียบ วัดบูรพารามและทราบประวัติของพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ขณะที่ศึกษาปริยัติอยู่วัดนี้ ซึ่งเป็นแบบอย่างของการแสวงหาโมกขธรรม เกิดแรงบันดาลใจและมองเห็นลู่ทางธรรมที่เหนือกว่าการศึกษาปริยัติ จึงเป็นสิ่งที่หลวงปู่ฝังใจตลอดเวลา เมื่อไปศึกษาปริยัติธรรมที่เมืองกรุง วัดปทุมวนาราม ก็ได้รับทราบเรื่องราวที่บูรพาจารย์และพระป่ามาพำนักที่นี่ หลวงปู่จึงทิ้งป่าคอนกรีตออกปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ ตามรอยพระพุทธองค์และบูรพาจารย์ทั้งสอง โดยมีสหธรรมมิกที่เคยปรนนิบัติรับใช้บูรพาจารย์ที่ธุดงค์ร่วมกันถ่ายทอดคำสั่งสอน มรรควิธีของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่จึงถือว่าบูรพาจารย์ทั้งสองเป็นพระอาจารย์ และมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับกลุ่มกองทัพธรรมสายนี้ที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าหลวงปู่เป็นที่เคารพนับถือของพระสุปฏิปันโน ทั้งรุ่นศิษยานุศิษย์หลวงปู่มั่น และรุ่นหลานศิษย์เป็นอันมาก นับตั้งแต่หลวงปู่มหาบัว ญานสัมปันโน หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงพ่อเมือง หลวงพ่ออุ่นวัดป่าแก้ว พระอาจารย์อินทร์ถวาย

ดังจะเห็นได้จากงานพระราชทานเพลิงศพ ที่เป็นวาระการชุมนุมของคณะศิษยานุศิษย์สายหลวงปู่มั่นมากที่สุดครั้งหนึ่ง และในงานรำลึกบูชาพระเถราจารย์ฝ่ายปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงปู่มั่น ณ วัดโพธิสมพรอุดรธานี ประวัติและรูปของหลวงปู่ก็ได้รับการเผยแพร่ในงานนิทรรศการครั้งนี้ด้วย

หลวงปู่เริ่มอาพาธหนักในช่วงเดือน พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ในระหว่างที่พักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีโพธิทอง สาเหตุเกิดจากการหกล้มในขณะเดินเข้าห้องน้ำแล้วเกิดอาการเข่าอ่อน หลังจากนั้นท่านเกิดอาพาธเดินไม่ได้ คณะศิษย์จึงได้พยายามช่วยกันรักษาพยาบาลอาการอาพาธของท่าน ทั้งด้วยยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน แต่ยังไม่ดีขึ้น ในที่สุดผู้ใหญ่สัญชัยและกำนันเซ็งจึงได้นิมนต์ท่านไปรักษาแผนโบราณที่  อำเภอสตึก พร้อมกับรักษาที่ ร.พ. ศิริราชด้วยในบางโอกาสจนอาการดีขึ้น

ภายหลังจากนั้น คณะศิษย์จากจังหวัดมหาสารคามได้พากันอาราธนานิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาที่วัดป่าเลิง และท่านก็ได้มาจำพรรษาที่วัดป่าเลิงเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๓

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่ก็เกิดอาพาธขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คณะศิษย์จึงได้นำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และตั้งแต่นั้นมาอาการอาพาธของหลวงปู่ก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอดตามลำดับดังนี้

เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ครั้งที่ ๑ วันจันทร์ที่ ๒๕ พ.ย. ๒๕๓๔ ออกจาก ร.พ. เมื่อ ๒ ธ.ค. ๒๕๓๔
ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๕๓๔ ออกจาก ร.พ. เมื่อ ๑๐ ม.ค. ๒๕๓๕
ครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๓๕ และในเช้าวันที่ ๒๘ มี.ค. ๒๕๓๕ ท่านก็ได้อนุญาตให้ นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ ทำการผ่าตัดใส่สายยางทางหลอดลม เข้าโออาร์ เวลา ๑๖.๑๕ ออกเกือบจะเวลา ๑๗.๐๐ น. และฟื้นเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.

หลังจากนั้นอาการอาพาธของหลวงปู่ก็ทรุดหนักมาเรื่อย ๆ จนในที่สุดหลวงปู่ก็ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เวลา ๑๐.๑๐ น. ตรงกับวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน เหลือเพียงภาพลักษณ์แห่งความเป็นพระภิกษุ ที่เยือกเย็น เบิกบาน เมตตาหาที่ประมาณมิได้ สันโดษ เรียบง่าย และเป็นแบบอย่างแห่งมรรควิธี ไปสู่ความหลุดพ้น ที่พุทธศาสนิกชนจะต้องปฏิบัติตาม

[/ultimate_modal]
หลวงปู่เทียน จิตฺตสุโภ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่เทียน จิตฺตสุโภ สำนักสงฆ์ทับมิ่งขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่เทียน จิตฺตสุโภ เกิดที่บ้านบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ตรงกับวันอังคาร เดือน ๑๐ ปีกุน ขึ้น ๑๓ ค่ำ บิดาของท่านชื่อ จีน มารดาชื่อ โสม นามสกุล อินทผิว

หลวงพ่อมีนามจริงว่า พันธ์ อินทผิว เหตุที่ท่านเป็นที่รู้จักในนามหลวงพ่อเทียน ก็เนื่องจากท้องถิ่นของท่านนิยมเรียกชื่อกันตามชื่อของลูกคนหัวปี บุตรชายคนแรกของหลวงพ่อชื่อเทียน ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านจึงเรียกท่านว่าพ่อเทียน ภรรยาของท่านชื่อหอม ก็ได้รับการเรียกขานว่าแม่เทียนเช่นเดียวกัน

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๖ คน คนแรกเป็นชายชื่อ สาย คนที่สองเป็นชายชื่อ ปุ้ย คนที่สามเป็นชายชื่อ อุ้น คนที่สี่เป็นหญิงชื่อ หวัน พิมพ์สอน ท่านเองเป็นคนที่ห้า และคนที่หกเป็นชายชื่อ ผัน พี่น้องของท่านที่ยังมีชีวิตอยู่คือพี่สาวคนเดียวของท่านชื่อ หวัน พิมพ์สอน หรือป้าหนอม พี่น้องคนอื่น ๆ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทั้งสิ้น  หลวงพ่อมีชีวิตในวัยเด็กเช่นเดียวกับเด็กชาวบ้านในท้องถิ่นชนบทห่างไกลความ เจริญทั่วไป ตื่นเช้าท่านก็ออกไปช่วยพ่อแม่ทำนาเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ตกเย็นก็ไล่ต้อนวัวควายกลับบ้าน ท่านเล่าว่าท่านไม่เคยได้มีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียน เนื่องจากในท้องถิ่นของท่านยังไม่มีโรงเรียน ถ้าจะเรียนก็ต้องเดินทางไปเรียนในท้องถิ่นที่เจริญกว่า ในสมัยนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก หลวงพ่อจึงไม่สามารถจะเดินทางไปเรียนในโรงเรียนที่อยู่ไกลจากบ้านท่านได้ ท่านเล่าว่าในท้องถิ่นของท่านไม่มีความเจริญทางวัตถุแต่อย่างใด รถไฟ รถยนต์ เครื่องบินหรือแม้แต่จักรยาน ท่านก็ยังไม่เคยเห็น สำหรับเครื่องบินนั้นแม้แต่ชื่อก็ยังไม่เคยได้ยิน

เมื่อหลวงพ่ออายุได้ราว ๑๐ ขวบ หลวงน้าของท่านซึ่งไปเรียนหนังสือมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาขอกับบิดามารดาของท่านให้ท่านบวชเป็นเณรคอยรับใช้หลวงน้า เรียกว่าเณรใช้ หลวงน้าของท่านชื่อยาคูผอง นามสกุลจันทร์สุข อุปสมบทเมื่ออายุยังน้อยและครองเพศบรรพชิตมาโดยตลอด หลวงพ่อเล่าว่าทางบ้านเกิดของท่านมีประเพณีรดน้ำพระภิกษุที่บวชมานาน รดครั้งแรกเรียกสมเด็จ รดครั้งที่สองเรียกซา รดครั้งที่สามเรียกยาคู และในพิธีรดน้ำครั้งต่อ ๆ ไปก็เรียกยาคูทั้งสิ้น

เมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อก็ได้มาบวชอยู่กับหลวงน้าอีกครั้งหนึ่ง โดยพระครูวิชิตธรรมาจารย์ เจ้าคณะอำเภอเชียงคานเป็นอุปัชฌาย์ ท่านได้ฝึกวิชาต่าง ๆ กับหลวงน้าต่อไปเช่นเดิม คือฝึกกรรมฐานและเรียนเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ท่านเล่าว่าไม่มีวิชาอะไรเพิ่มขึ้น แต่ทำที่สอนไว้ให้เจริญขึ้น นอกจากนั้นก็มีการเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นการทำตามประเพณี ยังไม่เข้าใจว่าธุดงค์หมายถึงอะไร การธุดงค์ที่หลวงพ่อทำในขณะนั้นคือ ไปอยู่ตามป่าช้า ตามสวน ใกล้ ๆ บ้านคน หรือตามกระต๊อบปลายนาไม่ห่างจากบ้านคนมากนัก เพื่อให้ออกบิณฑบาตได้โดยไม่ลำบากจนเกินไป

หลวงพ่อบวชเป็นพระครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่วัดศรีคุณเมือง ตำบลบ้านบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีพระ วิชิตธรรมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชุนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุบรรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๔๘ ปี

หลวงพ่ออบรมปฏิบัติธรรมที่วัดบรรพตคีรี บ้านบุฮม พ.ศ. ๒๕๓๐ เมื่อบวชเป็นพระแล้ว หลวงพ่อก็ได้ทำหน้าที่ของท่าน คือสอนธรรมะให้ทั้งพระสงฆ์และญาติโยม ท่านเล่าว่าท่านสอนไปทุกที่ ไม่จำกัดว่าอยู่ในวัดหรือกุฏิ แม้แต่คนเดินอยู่บนถนน ถ้าถามท่าน ๆ ก็แนะนำให้ หรือบางครั้ง ท่านก็ยังเคยเป็นผู้ถามนำขึ้นก่อนก็มี ท่านมักจะถามผู้ที่ได้พบปะสนทนากับท่านว่า เขาผู้นั้นมีความทุกข์เดือดร้อนอะไรบ้าง ถือศาสนาพุทธมากี่ปีแล้ว และความทุกข์ลดน้อยลงไปบ้างหรือไม่ หรือยังคงมีความทุกข์อยู่ตามเดิม เพราะหากยังมีความทุกข์อยู่ตามเดิม แสดงว่ายังไม่เข้าใจหลักพุทธศาสนา เพียงเข้าใจหลักศีลธรรม ศาสนาศีลธรรม ไม่ใช่เป็นพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาสอนให้คนมีปัญญา กำจัดเหตุแห่งทุกข์ลงได้

หลวงพ่อสอนธรรมะแก่พระสงฆ์และญาติโยมอยู่ที่บ้านเกิดของท่านราวปีกว่า ท่านจึงย้ายเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงคาน ขณะนั้น หลวงพ่อตั้งสำนักวิปัสสนาอยู่ที่อำเภอเชียงคาน ๒ แห่ง คือที่วัดสันติวนาราม และที่วัดโพนชัย นอกจากนั้น หลวงพ่อยังได้ข้ามไปเปิดสำนักอบรมวิปัสสนาที่เมืองลาวอีกแห่งหนึ่งด้วย

ธรรมโอวาท

ธรรมโอวาทของหลวงพ่อ เป็นคำกล่าวหรือคำพูดง่าย ๆ แต่มีความหมายอย่างลึกซึ้งสำหรับผู้รู้ ผู้เข้าใจด้วยสติปัญญา และการประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงพ่อกล่าวว่าคนฟังธรรมะ มี ๓ ประเภทประเภทที่หนึ่ง ฟังแล้วเข้าใจส่งเสริมสนับสนุนช่วยท่าน ประเภทที่สอง ฟังแล้วกลายเป็นฝ่ายตรงกันข้าม หาวิธีกลั่นแกล้ง ขัดขวาง ประเภทที่สาม ฟังแล้วก็แล้วไป ไม่มีความสนใจแต่ประการใด พวกที่ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของหลวงพ่อ ก็สงสัยหลวงพ่อว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ เช่น หลังจากที่หลวงพ่อเปิดอบรมวิปัสสนาอยู่ระยะหนึ่ง ก็เริ่มมีผู้กล่าวหาว่าหลวงพ่อเป็นคอมมิวนิสต์ เนื่องจากคำสอนของหลวงพ่อขัดแย้งกับสิ่งที่คนเหล่านั้นประพฤติปฏิบัติอยู่ หลวงพ่อสอนให้เลิกละธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งแท้จริงแล้วมิได้เกื้อกูลต่อการสร้างบุญสร้างกุศลแต่อย่างใด เช่น การฆ่าวัว ฆ่าควาย หรือการเลี้ยงสุกร เครื่องดองของเมา การเล่นการพนันในงานบุญ ท่านกล่าวว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่บุญ แต่เป็นบาป ผู้ที่ไม่เข้าใจจึงกล่าวหาว่าท่านลบล้างขนบธรรมเนียมประเพณี หลวงพ่อเล่าว่าบางคนไม่เข้าใจเรื่องการทำบุญ คนประเภทนั้นเมื่อไม่รู้จักบุญ ก็ย่อมเอาบุญไม่ได้ หรือทำบุญแต่อาจกลายเป็นบาปไปได้

ธรรมโอวาท มักปรากฏในการเทศนาธรรมของหลวงพ่อ หรือมีผู้สนใจธรรมะไปซักถามและสนทนาธรรมกับหลวงพ่อ ปัจจุบันสามารถหาฟังการเทศนาธรรมของหลวงพ่อจากเทปธรรมะที่มีผู้บันทึกเสียงเอาไว้ และสามารถหาอ่านหนังสือธรรมะของหลวงพ่อ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมและญาติธรรมได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม อยู่ประมาณไม่ต่ำกว่า ๔๓ เล่ม เช่น วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อเอาไปประยุกต์ใช้กับการงานทุกอย่าง วิธีปฏิบัติธรรมทางลัด การเจริญสติสว่างที่กลางใจ ความรู้สึกตัว ธรรมะแท้ต้องรู้อย่างเดียวกัน พลิกโลกเหนือความคิด การประจักษ์แจ้งสัจจะ รู้อย่างไม่รู้ รู้อย่างผู้รู้ ความหลุดพ้น เป็นต้น

ธรรมโอวาทที่ฟังแล้วเรียบง่าย มักไม่ปะปนไปด้วยสำนวนโวหาร เช่น

“การปฏิบัติธรรมะ นั้นวิธีใดก็ดี ถ้ามันทำประโยชน์ให้กับเรา หมดข้อข้องแวะ แต่ขอให้หมดจริงๆ ต้องปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อหลอกตัวเอง ต้องปฏิบัติจริงๆ คนจริงย่อมรู้ของจริง”

“คนโง่สอนคนฉลาดไม่ได้ คนฉลาดสอนคนฉลาดหรือคนโง่ได้”

“การถวายหมากพลู บุหรี่ เป็นเรื่องพอกพูนความชั่วให้พระมีความผิด เรียกว่าเอากิเลสไปให้พระ เราอยากละกิเลส แต่เราไม่รู้จักกิเลส”

“ความรู้สึกตัวเป็นรากเหง้าของบุญ ความไม่รู้สึกตัวเป็นรากเหง้าของบาป”

“ความสงบที่แท้จริงจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อเราหยุดการแสวงหา ต่อเมื่อเราไม่ต้องวิ่งหาบุคคลอื่นนั้น เรียกว่า ความสงบ”

“การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี แสวงหาตัวเรานี้ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอนี่แหละ จะรู้จะเห็น” ฯลฯ

จากประวัติของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ทำให้ทราบว่าหลวงพ่อได้แสวงหาและปฏิบัติธรรม ตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งในขณะนั้นมีอายุได้ราว ๑๐ ขวบ และขณะเป็นฆราวาสก็สนใจการทำบุญและแสวงหาธรรมะมาโดยตลอด จากคำนำในหนังสือ ปกติ : หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และสิ่งที่ฝากไว้ ซึ่งกลุ่มเทียนสว่างธรรม ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

“…นับเป็นประวัติชีวิตที่เรียบง่าย ไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ถึงความมหัศจรรย์ หรืออำนาจเร้นลับเกินมนุษย์ธรรมดา ไม่มีความพิสดาร หรืออิทธิปาฏิหาริย์ใดใดอันจะเป็นเครื่องโน้มน้าวให้ติดตามต่อไปจนถึงสาระสำคัญที่สุดคือ แก่นแท้ของธรรมะ เพราะสำหรับหลวงพ่อแล้วสิ่งนั้นเป็นเหตุให้บุคคลใช้เวลาในการเดินทางไปสู่ความหลุดพ้นยาวนานเกินความจำเป็น ด้วยอาจจะพลัดหลงหรือติดอยู่ในความมหัศจรรย์ของเปลือกของกระพี้นั้น หลวงพ่อท่านจึงมุ่งเน้นให้เข้าใจในหลักปฏิบัติ และให้ทุ่มเทความเพียรในการปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นภาระกิจที่มนุษย์ทุกคนพึงกระทำให้แก่ชีวิตของตน…”

“บุคลิกภาพ อุปนิสัย และปฏิปทาของหลวงพ่อ น่าเคารพเลื่อมใส มีความปกติกายปกติใจอย่างเห็นได้ชัด เรียบง่ายและมีความเกรงใจผู้อื่นอยู่เป็นนิจ มีความกตัญญูต่อบุคคลที่ได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลท่าน ท่านมีความระลึกถึงและหาโอกาสตอบแทนความดีของบุคคลเหล่านั้นอยู่เสมอ หลวงพ่อมีความอ่อนโยนและเกรงใจผู้อื่น แต่ท่านก็มีความมั่นคงและเด็ดขาด” นี่เป็นคำกล่าวของผู้ที่ได้มีโอกาสใกล้ชิดประพฤติปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐากหลวงพ่อ

ปัจฉิมบท

วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๑ หลวงพ่อเดินทางกลับจากจังหวัดเลยโดยมีศิษย์ที่เป็นพระภิกษุและฆราวาส กลุ่มหนึ่งไปส่งท่าน  ในขณะนั้นอาการของหลวงพ่อทรุดหนักเป็นที่น่าวิตกว่าร่างกายของท่านอาจจะไม่สามารถทนต่อความกระทบกระเทือนในการเดินทางได้  เมื่อเดินทางถึงทับมิ่งขวัญ  จังหวัดเลย หลวงพ่อปฏิเสธที่จะฉันยาทุกชนิด แม้ว่าหลวงพ่อจะมีวิบากสังขารหนักหนาเพียงใด  ท่านก็ยังมีเมตตาแสดงธรรมโปรดญาติโยมและศิษย์ที่เฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นวันอังคารที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑เวลา  ๑๘.๑๕  น.  หลวงพ่อได้ละสังขารอย่างสงบ  ณ  ศาลามุงแฝกของเกาะพุทธธรรม ทับมิ่งขวัญ สถานที่ปฏิบัติธรรมที่หลวงพ่อได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในช่วงสุดท้ายของชีวิต

[/ultimate_modal]
หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส(พระครูปัญญาวิสุท_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส (พระครูปัญญาวิสุทธิ์) วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

ท่านพระครูปัญญาวิสุทธิ์ มีนามเดิมว่า บัวพา แสงศรี เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นบุตรคนโต (ในจำนวน ๗ คน) ของนายหยาดและนางทองสา แสงศรี มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันนี้ขึ้นกับจังหวัดยโสธร) ต่อมาบิดามารดาได้อพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่บ้านกุดกุง ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร อุปนิสัยของเด็กชายบัวพา แสงศรี เป็นคนพูดน้อย มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นคนว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาทของบิดามารดาเมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียนหนังสือ ก็เข้าโรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้าน จนจบหลักสูตรของการศึกษาในสมัยนั้น

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ทางสำนักพระราชวังได้นิมนต์หลวงปู่บัวพาไปในงานพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลของสำนักพระราชวัง เป็นประจำทุกปี ส่วนมากหลวงปู่บัวพาจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมกับท่านเจ้าคุณพระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) หลวงปู่บัวพาได้บำเพ็ญศาสนกิจ ฝึกอบรมสานุศิษย์เรื่อยมา

ครั้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ หลวงปู่บัวพาได้รับนิมนต์ไปในพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในพระราชวัง หลวงปู่บัวพาได้เป็นลมอาพาธกะทันหันในงานพระราชพิธีนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จึงรับสั่งให้แพทย์หลวงถวายการรักษา และนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลวิชัยยุทธ และได้รับหลวงปู่บัวพาไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และเสด็จไปเยี่ยมในขณะที่หลวงปู่อยู่โรงพยาบาลถึง ๓ ครั้ง จนกระทั่งอาการของหลวงปู่บัวพาดีขึ้นจึงได้ออกจากโรงพยาบาลในปลายเดือน กันยายน ๒๕๒๘

พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงปู่บัวพาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นตรีที่ พระครูปัญญาวิสุทธิ์ เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านหม้อ เขต ๒ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ได้แนะนำสั่งสอนประชาชนให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักศีลธรรม ถือหลักกตัญญูกตเวทีเป็นสำคัญ ทางด้านการปกครองคณะสงฆ์ในฐานะที่หลวงปู่เป็นเจ้าคณะตำบล ท่านได้อบรมแนะนำพร่ำสอนให้พระภิกษุสามเณรเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เคารพกฎระเบียบของคณะสงฆ์ วางตนให้อยู่ในฐานะอันเหมาะสม

ธรรมโอวาท

หลักธรรมที่หลวงปู่บัวพาเทศนาอบรมสั่งสอนมักจะเป็นเรื่องการฝึกฝนอบรมจิตใจและการรู้จักสภาพที่แท้จริงของจิต ท่านสอนว่า “ธรรมชาติของปกติจิต คือพื้นที่ของภวังคจิต เป็นจิตที่ผ่องใสไพโรจน์ จิตที่แปรผันออกจากพื้นที่ของมันเพราะตัวอวิชชา คือ ความไม่รู้เท่าทันต่อโลก ไม่รู้เท่าทันต่ออารมณ์ จิตจึงได้ผันแปรออกจาก “ความปกติ” (หมายถึงความสงบ) แล้วกลายเป็นบุญหรือกลายเป็นบาป บุญก็ดีบาปก็ดีท่านเรียกว่า “เจตสิกธรรม” ซึ่งมีอยู่ประจำโลก เป็นกลาง ๆ ไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ บุญหรือบาปไม่ได้วิ่งเข้าไปหาใครมีแต่ตัวบุคคลเท่านั้นที่วิ่งเข้าไปหาบุญแลบาป บุญนั้นมีผลเป็นความสุข ส่วนบาปมีผลเป็นความทุกข์ อารมณ์ ๖  คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ จึงเปรียบเหมือนลม ๖ จำพวก ทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และหทัยวัตถุ เปรียบเหมือนฝั่งมหาสมุทร จิตใจของคนเราก็เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร เมื่อลม ๖ จำพวก เกิดเป็นพายุใหญ่ในเวลาฝนตกทำให้น้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นแล้วระลอกใหญ่โตเรือ แพ หลบไม่ทันก็ล่มจมเสียหายขึ้นนี้ฉันใด อุปมัยดังพาลชนไม่รู้เท่าทันโลก ไม่รู้เท่าทันอารมณ์ปล่อยให้โลกเข้ามาประสมธรรมปล่อยให้อารมณ์เข้ามาประสมจิต จึงเกิดราคะ โทสะ โมหะ ถ้าอยากเห็นวิมุตติ ก็ให้เพิกถอนสมมุติออกให้หมดเพราะโลกบังธรรม อารมณ์บังจิตฉันใด สมมุติก็บังวิมุตติฉันนั้น คนเราควรใช้สติปัญญาเป็นกล้องส่องใจจะได้รู้ว่าสภาพที่แท้จริงของจิตเป็นอย่างไร”

ปัจฉิมบท

หลวงปู่บัวพาได้บำเพ็ญสมณธรรม ปฏิบัติศาสนกิจ อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย และสำเหนียกในไตรสิกขา อันเป็นแนวทางแห่งอริยมรรค จนในที่สุดสรีระร่างกายของหลวงปู่ก็เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ เกิดมาแล้วก็มีอันเสื่อม สิ้นไปเป็นธรรมดา

หลวงปู่บัวพาได้มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษาพอดี หลวงปู่ได้ละกายสังขารอันเป็นภาระหนักและทรมาน ที่อาพาธมานานไปโดยอาการอันสงบเมื่อเวลา ๒๐.๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน นับพรรษาได้ ๖๑ พรรษา คณะสงฆ์พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้จัดงานฌาปนกิจศพ โดยขอพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ณ เมรุวัดป่าพระสถิตย์ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ วัดศรีสุทธาวาส (เลยหลง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ  ชื่อเดิม ศรีจันทร์ จันทิหล้า เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ เกิด ณ บ้านฟากเลย ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย บิดาของท่านชื่อ อมาตย์ เพี้ยฤทธิ์ มารดาของท่านชื่อ นางตุ๊ จันทิหล้า ท่านหลวงปู่ศรีจันทร์เป็นบุตรคนที่ ๑๒ ตระกูลจันทิหล้าเป็นครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์มากมีญาติมิตรมากมาย เพราะบิดาของท่านหลวงปู่เพี้ย ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งของข้าราชการในภาคอีสาน

นับได้ว่าหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เป็นบุตรของข้าราชการไทยในยุคหนึ่งนั่นเอง และท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งอย่างสมเกียรติ สมัยหลวงปู่ศรีจันทร์ยังเป็นเด็กท่านได้รับความอบอุ่นจากบิดามารดา ตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย พออายุได้เกณฑ์เข้าโรงเรียนบิดาของท่านได้นำไปฝากเพื่อศึกษาเล่าเรียน ณ โรงเรียนประจำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ในชีวิตปฐมวัย ท่านสามารถศึกษาเล่าเรียนในเกณฑ์ดีพอใช้ กิริยามารยาทของท่านนั้นตามปกติแล้ว เป็นเด็กที่เชื่อฟังบิดามารดาและญาติพี่น้องเสมอ เมื่อได้มาอยู่โรงเรียนจึงเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์มาก ท่านเป็นคนเงียบ พูดน้อย มีสติปัญญามาแต่เด็ก ใจของท่านนั้นมีความเมตตา ปรานี อ่อนโยน มีความสงสารสัตว์ไม่ชอบการเบียดเบียนไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ท่านมีความเข้าใจว่าทุกชีวิตที่เกิดมาย่อมมีความรักตัวกลัวตายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการเบียดเบียนจึงเป็นเหตุให้ผู้ถูกเบียดเบียนเกิดทุกขเวทนา มีเวรกรรมต่อกันหาที่สิ้นสุดลงไม่ได้

ส่วนผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่นก็ไม่มีความสุข เกิดทุกข์ มีบาปกรรม อีกทั้งยังส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนาเช่นกัน ฉะนั้นความคิดเช่นนี้ ท่านจึงพึงระวังไม่ให้เกิดบาปกรรมและระมัดระวังมาตั้งแต่สมัยเด็กจนได้รับบรรพชาอุปสมบท การศึกษาของท่านสามารถเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์ (ชั้น ป.๓) ในสมัยนั้น

ในกาลต่อมา หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ความคิดเห็นจากบิดามารดาของท่านให้เพิ่มวิชาความรู้เพื่อจะได้นำความรู้นั้น ๆ มาประกอบกิจชีวิตอันดีงาม การศึกษาในสมัยนั้นยังไม่กว้างขวางอย่างเช่นปัจจุบัน ถ้าบุคคลใดมีความประสงค์จะก้าวหน้าต่อไป ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาในแหล่งนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งเป็นวัดวาอารามนั่นเองที่เป็นแหล่งศึกษาแก่กุลบุตรผู้หวังความเจริญ

ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีชมชื่น ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้รับความเมตตาจากพระครูหวดเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๑๕ ปีเต็ม เนื่องจากได้บวชสามเณรแล้วท่านมีจิตใจรักในทางศึกษามากอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าศึกษาด้านพระปริยัติธรรม

การศึกษาพระวินัยนั้น ท่านมีความสนใจมากในการศึกษาด้านการปกครองหมู่คณะ ท่านจึงได้ออกเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพฯ และได้พำนักที่วัดสัมพันธวงศ์ ภายหลังท่านได้รับความเมตตาอันสูงสุดให้ได้ แปรญัตติเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุตเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยได้รับพระเมตตาจากพระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลวงปู่ศรีจันทร์ (ในสมัยเป็นสามเณร) ท่านได้มานะพยายามเป็นยิ่งยวด ศึกษาธรรมวินัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะท่านได้รับความเอ็นดูจากพระอุปัชฌาย์จารย์และครูบาอาจารย์ผู้ฝึกสอนจนมีความรู้ความเข้าใจขึ้นอีกมากมาย และยังเป็นที่ไว้วางใจจากครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทเข้าเข้ามาในทางพระพุทธศาสนา และได้มาอยู่จำพรรษาใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ที่เป็นมหาราชบัณฑิตและท่านนักปราชญ์ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ตลอดจนถึงความเจริญก้าวหน้ามีเหตุมีผลได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสั่งสอนไว้แล้วท่านยังได้มาอยู่ใกล้ชิดรับใช้พระอุปัชฌาย์จารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และยังมีพระเดชพระคุณเจ้าอีกหลายพระองค์ที่ประกอบด้วยสติปัญญาอันแหลมคมรอบตู่ในพระธรรมวินัย ท่านจึงได้นอบน้อมจดจำมาเป็นเยี่ยงอย่างใส่จิตใส่เกล้าของท่านมาตลอด

หลวงปู่ศรีจันทร์  วณฺณาโภ ท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2544 สิริรวมอายุ ๙๗ ปี แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่พุทธศาสนิกชนยังให้ความเคารพนับถือมาก ดังนั้น วัดศรีสุทธาวาส และคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีการจัดงานครบรอบวันมรณภาพของหลวงปู่ศรีจันทร์ประจำทุกปี

โอวาทธรรม

     สมัยนี้เป็นสมัยที่โลกวุ่นวาย เนื่องมาจากเศรษฐกิจบ้างจากภัยต่าง ๆ มีโจรภัยบ้าง อุทกภัยบ้าง อัคคีภัยบ้าง และเกิดอุปัทวเหตุต่าง ๆ มีรถชนกันบ้างและจี้ ปล้น ข่มขืน เรียกค่าไถ่กันบ้างทำให้เกิดความหวาดเสียว สะดุ้งกลัว หาความสงบสุขได้ยาก จึงมีบางท่าน บางหมู่ บางเหล่า อยากแสดงหาธรรมะสำหรับปฏิบัติทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น เป็นสุข มีความสุภาพอ่อนโยน นิ่มนวล มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส น่ารัก ไม่อิจฉา ไม่พยาบาทใคร เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรมเมื่อมีอุปสรรคหรืออันตรายเกิดขึ้นย่อมมีใจเข้มแข็งใช้สันติของตนโดยธรรม เอาชนะอุปสรรคหรืออันตรายเหล่านั้น ให้ผ่านพ้

[/ultimate_modal]
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ(พระสุธรรมคณาจารย์)__result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (พระสุธรรมคณาจารย์) วัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    นามเดิม เหรียญ นามสกุล ใจขาน เกิดเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ณ บ้านหม้อ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย บิดาชื่อ ผา มารดาชื่อ พิมพา ปฐมวัยครอบครัวของข้าพเจ้ามีอาชีพทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ มีพี่น้องเกิดด้วยกัน ๗ คน ข้าพเจ้าเป็นคนที่ ๒ บรรดาพี่น้องผู้ที่เกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คนนั้น ได้ตายเสียตั้งแต่ยังเล็กทุกคน จึงไม่มีชื่อปรากฏอยู่ในที่นี้ ส่วนมารดานั้นได้ตายจากไปตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุได้ ๑๐ ปี ครั้นอยู่ต่อมาไม่กี่เดือน บิดาก็ไปมีภรรยาใหม่ ข้าพเจ้าจึงได้อยู่กับคุณยายมาจนอายุได้ ๑๓ ปี และเรียนหนังสือไทยจบในปีนั้น

ต่อจากนั้นจึงได้ไปอยู่กับบิดา มารดาใหม่นั้นมีลูกกับสามีคนก่อน ๕ คน ซึ่งบังเอิญสามีก็ตายไปในปีเดียวกันกับมารดาข้าพเจ้าเหมือนกัน ต่อมาได้มีลูกกับบิดาข้าพเจ้าอีก ๒ คน รวมทั้งข้าพเจ้าด้วยเป็น ๘ คนพอดี เมื่อข้าพเจ้ามาอยู่ด้วยก็ได้ทำการงานช่วยบิดามารดาร่วมกับพี่น้องทั้งหลายตลอดมา และเคารพนับถือกันฉันท์พี่น้องที่เกิดร่วมท้องเดียวกัน ไม่เคยมีการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นอย่างรุนแรงจนถึงกับแตกสามัคคีกันเลย ข้าพเจ้านั้นมีนิสัยชอบทำการงานและทำจริงไม่ทำเหลาะแหละเหลวไหล ทำการงานอย่างใดก็ให้เสร็จไปอย่างนั้น ไม่ทอดทิ้งการงาน และไม่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ชอบทะเลาะกับใคร ๆ ถ้าจะมีเหตุให้ทะเลาะกันก็ต้องหาทางหลีกเลี่ยง และมีความอดทนต่อคำด่าว่าติเตียนต่าง ๆ ไม่ถือมั่นไว้ในใจ

พูดถึงความรักแล้ว นับว่าข้าพเจ้ามีความรักมาก เช่น รักพ่อแม่ ลุงป้า น้าอา และผู้อื่นที่เกิดร่วมวงศ์ตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้แล้ว ยังรักขยายออกไปถึงเพศตรงข้ามซึ่งอยู่ในวัยเดียวกันในทางชู้สาว และฝ่ายตรงข้ามก็รักข้าพเจ้าเช่นเดียวกัน โดยเข้าใจว่าเขาคงจะมองเห็นคุณธรรมอันมีอยู่ในใจของข้าพเจ้า คือ ความอดทนต่อความชั่วร้ายดังกล่าวมานั้นหนึ่ง และอดทนต่อหน้าที่การงานหนึ่ง เขาจึงได้มีความรักอย่างจริงใจต่อข้าพเจ้า

พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ  วรลาโภ) ได้อำลาละสังขารไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุถึง ๙๓ ปี ๔ เดือน ๗๒ พรรษา ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระสงฆ์แห่งจังหวัดหนองคายที่อาวุโสด้วยอีกรูปหนึ่ง

โอวาทธรรม

    “นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษทั้งนักบวชทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลสให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ให้โทษกับผู้นั้นไม่ใช่จะให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว”

เท่านั้น

[/ultimate_modal]
หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม(พระครูสิริหรรสาภิ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม (พระครูสิริหรรสาภิบาล) วัดป่าสามัคคีธรรม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

       พระครูสิริหรรสาภิบาล หรือ หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ในสมัยเป็นฆราวาส ชื่อ เพ็ง น้อยก้อม เกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันพฤหัสบดี บิดาชื่อ บัว มารดาชื่อ มื้ม นามสกุล น้อยก้อม มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน เป็นชาย ๒ และหญิง ๔ หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๓

เมื่อหลวงปู่เพ็ง อายุได้ ๖ ขวบ ครอบครัวท่านได้อพยพไปทำมาหากินที่บ้านจานทุ่ง ตำบลปาฝา อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่จึงใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่ที่นี่ ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านจานทุ่งตามความประสงค์ของบิดามารดา และตั้งใจว่าเมื่อครบพรรษาก็จะสึกหาลาเพศออกมาแต่งงานกับแม่สาวคนรักตามที่หัวใจตนปรารถนา และด้วยความยินยอมของบิดา มารดาทั้งสองฝ่าย หลังจากบรรพชาแล้ว ที่บ้านจานทุ่งทุกเช้า ชาวบ้านจะมายืนรอใส่บาตพระภิกษุและสามเณรเป็นประจำ ในเช้าวันนั้น มีสามเณรหนุ่มชื่อ สามเณรเพ็ง เดินในลำดับท้ายสุดของแถวด้วยอาการสำรวม ครองจีวรใหม่เอี่ยม โกนผมเกลี้ยงเกลา ยังความปลาบปลื้มแก่บิดามารดา และญาติพี่น้องชาวบ้านจานทุ่งเป็นอย่างยิ่ง

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ได้ละสังขารที่สถาบันประสาทวิทยา โรงพยาบาลประสาทพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๒๑.๒๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี ๖ เดือน ๗ วัน พรรษา ๓๖

โอวาทธรรม

       “ขอให้ สติ เราดีเถิด จิตนี้หมายถึงความระลึกรู้ ทางดีก็รู้ ทางชั่วก็รู้ ความระลึกรู้นี้ท่านเรียกว่า จิต สิ่งอื่นต่างๆ ไม่เอามาเป็นอารมณ์ สิ่งใดก็ตาม ถ้าเข้ามารบกวนจิตใจต้องปล่อยทิ้งให้หมด ภาวนาไปเอาตัวรู้ไว้กับเราอย่างต่อเนื่อง”

“จิต หรือ วิญญาณ ก็เป็นอันเดียวกัน เมื่อตาเห็นรูป รู้ดีรู้ชั่ว รู้สวยรู้ไม่สวย รัก-ไม่รัก สิ่งเหล่านี้มันลงมารวมที่จิต หู ได้ยินเสียงก็เหมือนกัน จมูกได้กลิ่นก็เหมือนกัน ลิ้นได้ลิ้มรสก็เหมือนกัน กาย ถูกสัมผัสก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่ต่อเนื่องมาจากประสาทสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่าวิญญาณ มันจะต่อเนื่องมาถึงใจ จึงเป็นเหตุพอใจ กับไม่พอใจเกิดขึ้น และสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอาการของจิต ท่านจึงให้มีสติระลึกรู้ในอาการเคลื่อนไหวของจิตจิตเคลื่อนไหวไปต่อเนื่องกับอารมณ์ หรือสิ่งที่มากระทบการพิจารณาอย่างนี้แหละเรียกว่า จิตตานุปัสสนา เพราะเราตามรู้จิตที่เคลื่อนไหว มีสติรู้ตาม

[/ultimate_modal]
พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) วัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงตามหาบัว หรือ หลวงตาบัว   ( ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทคณะธรรมยุติกนิกาย ฝ่ายอรัญวาสีวิปัสสนาธุระ ชาวจังหวัดอุดรธานีและเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) องค์แรก ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) ซึ่งมีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หรือ หลวงตามหาบัว เดิมมีชื่อว่า “บัว โลหิตดี” เกิดวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีพี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน ในวัยเด็กท่านเป็นคนที่เลื่อมใสในศาสนาพุทธ  โดยได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ เมื่อท่านอายุครบอุปสมบทแล้ว บิดาและมารดาของท่านปรารถนาให้ท่านบวชด้วยหวังพึ่งใบบุญ แต่ท่านก็ไม่ตอบรับ ทำให้บิดาและมารดาของท่านถึงกับน้ำตาไหล ท่านจึงกลับพิจารณาออกบวชอีกครั้ง ที่สุดจึงตัดสินใจออกบวชโดยท่านกล่าวกับมารดาว่า “เรื่องการบวชจะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้วจะสึกเมื่อไหร่ก็สึก  ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ”  ซึ่งมารดาก็ตกลงตามที่ท่านขอ ท่านอุปสมบทเมื่อ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้ฉายานามว่า “ญาณสมฺปนฺโน” แปลว่า “ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณ” ท่านมีความเคารพเลื่อมในเรื่องการภาวนาและกรรมฐาน ท่านได้สอบถามวิธีการภาวนาจากพระอุปัชฌาย์ของท่านและได้รับการแนะนำให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ท่านจึงปฏิบัติภาวนาและเดินจงกรมเป็นประจำ

ระหว่างนั้นท่านเริ่มเรียนหนังสือทางธรรมและศึกษาเกี่ยวกับพุทธประวัติ รวมทั้งพุทธสาวก โดยหลังจากพุทธสาวกเหล่านั้นได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้วจะเดินทางไปบำเพ็ญในป่าอย่างจริงจัง  จนสำเร็จอรหันต์ ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสและตั้งใจปฏิบัติเพื่ออรหัตผลให้ได้ จึงตั้งสัจอธิษฐานว่า เมื่อเรียนจบเปรียญธรรม ๓ ประโยคแล้วจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว ท่านเดินทางศึกษาพระปริยัติในหลายแห่ง อาทิ วัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา, วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรม จากนั้น ท่านเดินทางไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้นพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ขอให้ไปจำพรรษาที่จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์มั่นรับนิมนต์นี้และได้เดินทางมาพักที่วัดเจดีย์หลวงชั่วคราวจึงทำให้ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต  ครั้งแรก ท่านศึกษาทางปริยัติที่วัดแห่งนี้ จนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๓ ประโยคใน พ.ศ. ๒๔๘๕ นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ ๗  พรรษา หลังสำเร็จการศึกษาทางปริยัติ ท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาเพื่อปฏิบัติกรรมฐานได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางไปจังหวัดสกลนครโดยตั้งใจไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์มั่นรับท่านเป็นลูกศิษย์

ธรรมโอวาท

ธรรมโอวาทของพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงจามหาบัว ท่านได้แสดงไว้ในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น “พลธรรม ๕” หมายถึง หลักพระธรรมที่เป็นกำลังสำคัญในการประพฤติปฏิบัติธรรม อันได้แก่ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา ท่านได้ดำเนินชีวิตพลธรรมนี้ตลอดมา โดยให้เหตุผลว่า “ผู้ไม่เหินห่างจากธรรมเหล่านี้ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจม เป็นผู้มีความหวังความเจริญก้าวหน้าต่อไปตามลำดับ”

ตัวอย่าง  ความเพียรทำให้พ้นทุกข์ได้
การต่อสู้กับกิเลสให้ได้ผลนั้นต้องฝึกฝน ทรมานตนเองอย่างหนัก ทำความเพียรให้มาก ๆ แต่ผู้ปฎิบัติใหม่ ๆ มักจะทนไม่ได้ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ปรากฏชื่อลือนาม เราได้กราบไหว้บูชากันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ฝึกทรมานตนมาแล้ว ผ่านการทดสอบจนเป็นที่แน่ใจ ทั้งเจ้าผู้ฝึกฝนทรมานตนก็ไม่มีอะไรจะเสียหายเพราะการฝึกนั้น

ตัวอย่าง  ราคะก่อกวน
ราคะตัณหาเป็นเครื่องเขย่าก่อกวนให้ดิ้นรนกวัดแกว่ง ดิ้นรนกระวนกระวาย นั่นละตัวมันดิ้นที่สุดคือตัวนี้ เมื่อฆ่าสาเหตุตัวมาให้ดิ้นเสียแล้วอะไรจะมาดิ้น คนดิ้นตายมีความสุขไหม คนไม่ดิ้นต่างหากมีความสุข

ตัวอย่าง  มีทุกข์เหมือนติดคุก
เราจะไปโลกไหน ถามเจ้าของซิ โลกไหนโลกวิเศษ ถ้าลงได้กิเลสบีบหัวใจอยู่แล้วมันก็เหมือนกับนักโทษ ย้ายจากเรือนจำนั้นสู่เรือนจำนี้ ก็คือนักโทษย้ายถิ่นฐานนั่นเอง มันมีความสุขความเจริญความเลิศเลออยู่ตรงไหน พิจารณาเองซิ

มรณภาพ

พระธรรมวิสุทธิมงคล อาพาธลำไส้อุดตัน และมีปอดติดเชื้อมานานกว่า ๖ เดือน คณะแพทย์ถวายการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างกุฏิปลอดเชื้อให้แก่พระเดชพระคุณ แต่อาการอาพาธไม่ดีขึ้น จนเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๐๒.๔๙ น. ตรวจพบสมองของพระเดชพระคุณหยุดทำงานใน ต่อมา ตรวจพบม่านตาขยายไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ออกซิเจนในเลือดเป็น ๐ จากนั้นเวลา ๐๓.๕๓ น. ความดันโลหิตมีค่าเป็น ๐ หัวใจหยุดเต้นและหยุดการหายใจ สิริอายุได้ ๙๗ ปี ๕ เดือน ๑๘ วัน ๗๗ พรรษา

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ชา สุภทโท (พระโพธิญาณเถร)_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ชา สุภทโท (พระโพธิญาณเถร) วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

พระโพธิญาณเถระ(ชา สุภทโท) หรือหลวงพ่อชา หรือ อาจารย์ชาเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ ๒๔๖๑ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๗ ปีมะเมีย บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานีบิดาชื่อนายมาช่วงโชติมารดาชื่อนางพิมพ์ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน ๑๐ คน

หลวงพ่อชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาณโรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุอำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานีจนจบชั้นประถมปีที่ ๑ แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้ว ได้เรียนหนังสือธรรม เรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษา   พระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้นเอก
เมื่ออายุ ๑๓ ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนปฐมศึกษาแล้ว โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาส เพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้น เกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณร ชา โชติช่วง เมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ ๒๔๗๔ โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี พวง อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนารามอุบลราชธานี เป็นอุปัชฌาย์สามเณรโชติช่วง ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา ๓ ปีได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่อง สวดมนต์ทำวัตรศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระแล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไปด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมบทเป็นพระให้ได้เมื่อครบ ๒๐ บริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดาและท่านทั้งสองก็อนุญาต แล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อ ในที่ใกล้บ้านแล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลา ๑๓.๕๕ น. ณ พัทธสีมาวัดก่อในตำบลธาตุ  อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเถระสำคัญที่ให้การอุปสมบทดังนี้ พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสอนเป็นพระอนุสาวนาจารย์

พระชาสุภทุโทได้จำพรรษาอยู่ ณวัดก่อนอก ๒ พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกนี้ ศึกษาปริยัติธรรมต่างถิ่น เมื่อพระชาสุภทุโท สอบนักธรรมตรีได้ แล้วก็อยากเรียนให้สูงขึ้นเพราะมีจิตใจรักชอบทางธรรมอยู่แล้วแต่ขาดครูอาจารย์ในการสอนระดับสูงต่อไปนึกถึงภาษิตอีสานที่ว่า “บ่ออกจากบ้านบ่ฮู้ฮ่อมทางเทียว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความฮู้” ชีวิตช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่า พระชา สุภทุโท มุ่งเรียนปริยัติธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสำนักต่าง ๆมากมาย จนในที่สุดก็สอบนักธรรมได้ครบตามหลักสูตรคือ สอบนักธรรมชั้นโทได้ในสำนักของพระครูอรรถธรรมวิจารณ์ สอบธรรมนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักวัดบ้านก่อนอกถิ่นเกิด สู่การปฏิบัติธรรม เสร็จภารกิจการศึกษาประกอบกับเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรมโดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่าง ๆผ่านอาจารย์ก็มากมายเช่นหลวงปู่กินรี พระเถระชาวเขมร อาจารย์คำดี พระอาจารย์มั่น อินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อย ๆ โดยยังธำรงสำนักเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อพ. ศ. ๒๔๙๗ ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้นซึ่งเรารู้จักในปัจจุบันคือ วัดหนองป่าพง และท่านธำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ เวลา ๐๔.๓๐ น อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ

โอวาทธรรม

ธรรมโอวาท เป็นคำสอน เป็นคติ เป็นปรัชญาสั้น ๆ ที่คมลึกซึ้ง ใครได้ฟังแล้วจะเกิด ความรู้สึกซาบซึ้ง และบางครั้งอาจจะถึงกับอุทานออกมาว่า ท่านคิดและกลั่นกรองคำเหล่านี้ออกมาจากจิตได้อย่างไรถ้าจิตนั้นไม่บริสุทธิ์แจ่มใสเยี่ยมผู้บรรลุธรรม ขอท่านได้สังเกตคำสอนนี้ต่อไป

ธรรมดา ๆ

ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้ไม่มีอะไรทําไมใครเลย
ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารณ์เลย
ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ
เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดา ๆ
แต่เราพูดธรรมดาได้แต่มองไม่เห็นธรรมดา
แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ
ไม่มีอะไรเป็นอะไรแล้ว
มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้น
เราก็สงบ

การปฏิบัติคืออำนาจ

พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย แมงก้นทองคำก็ไม่มีราคาถ้าเราไม่มารวมกันว่ามันเป็นโลหะที่ดีมีราคา ทองคำมันก็ถูกทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ พระพุทธศาสนาตั้งไว้มีอยู่ แต่ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติจะไปมีอำนาจอะไรเล่า อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่ แต่เราไม่อดทนกัน มันจะมีอำนาจอะไรใหม ?

ชนะตนเอง
ถ้าเราชนะตัวเอง
มันก็จะชนะทั้งตัวเองชนะทั้งคนอื่น
ชนะทางอารมณ์ ชนะทั้งรูป ชนะทั้งเสียง ทั้งกลิ่น
ทั้งรส ทั้งโผฏัฐพพะ
เป็นอันว่าชนะทั้งหมด

สุขทุกข์
คนที่ไม่รู้จักสุข ไม่รู้จักทุกข์นั้น
ก็เห็นว่า สุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ
มันคนละราคา
ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว
ท่าน จะเห็นว่า
สุขเวทนา กับทุกขเวทนา
มันมีราคาเท่าเท่ากัน

เกิดตาย
เมื่อเราเกิดมาแล้วโยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเอง
ความแก่กับความตายมันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ
เหมือนกับต้นไม้ อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย
เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย
เมื่อมีปลายมันก็มีโคน
ไม่มีโคนปลายก็ไม่มี
มีปลายก็ต้องมีโคน
มีแต่ปลายคนไม่มีก็ไม่ได้
มันเป็นอย่างนั้น

งูเห่า
อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น
อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก
อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก
มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี
มันทำให้จิตใจไขว้เขวจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

ของจริง
ธรรมดาของจริงของแท้ที่ทำให้บุคคลเป็นอัจฉริยะได้
มิใช่เพียงศึกษาตามตำรา
และนึกคิดคาดคะเนเอาเท่านั้น
แต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นจริง ๆ
ของจริงจึงจะเป็นของจริงขึ้นมาได้

ได้เสีย
ทุกอย่างที่เรามีอยู่เป็นอยู่นั้น
มันเป็นสักแต่ว่า”อาศัย”เท่านั้น
ถ้ารู้ได้เช่นนี้ท่านว่ารู้เท่าตามสังขาร
ที่นี้แม้มันจะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี
ได้ก็เหมือนเสีย
เสียก็เหมือนได้

พิการ
เด็กทั้ง 2 พิการ เดินทางได้
จะเข้ารกเข้าป่าก็รู้
แต่เราพิการใจ (ใจมีกิเลส)
จะพาเข้ารกเข้าป่าหรือเปล่า
คนพิการเด็กนี้ มิได้เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
แต่ถ้าคนพิการใจมาก ๆย่
อมสร้างความวุ่นวายยุ่งยากแก่มนุษย์และสัตว์
ให้ได้รับความเดือดร้อนมากทีเดียว
คนดีอยู่ไหน
คนดีอยู่ที่เรานี่แหละ
ถ้าเราไม่ดีแล้ว
เราจะอยู่ที่ไหนกับใคร
มันก็ไม่ดีทั้งนั้น

ชีวิต
เมื่อเราทอดอาลัยในชีวิต
วางมันเสีย ไม่เสียดาย
ไม่กลัวตาย ก็ทำให้เราเกิดความสบายและเบาใจจริง ๆ

นั่งที่ไหนดี
จะนั่งหัวแถวหรือหางแถวก็ไม่แปลก
เหมือนเพชรนิลจินดา
จะวางไว้ที่ไหนก็มีราคาเท่าเดิม
และจะได้เป็นการลดทิฐิมานะให้น้อยลงไปด้วย

ไม่กลัวตาย
กลัวอะไร?
กลัวตาย
ความตายมันอยู่ที่ไหร?
อยู่ที่ตัวเราเอง จะหนีมันพ้นได้ไหม?
ไม่พ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
ในที่ มืด หรือในที่แจ้ง ก็ตายทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย
จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น
เมื่อรู้อย่างนี้
ความกลัวไม่รู้หายไปไหร
เลยหยุดกลัว
เหมือนกันที่เราออกจากที่มืดสู่ที่สว่างนั่นแหละ

สอนคนอย่างไร
ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนแล้ว
จึงสอนคนอื่นทีหลัง
จึงจักไม่เป็นบัสกปรก
สอนคนด้วยการทำให้ดู
ทำเหมือนพูด
พูดเหมือนทำ

มนุษยศาสตร์
มนุษยศาสตร์ทั้งหลาย มีแต่สัตว์ที่ไม่มีคมทั้งนั้น
ไม่สามารถจะตัดทุกข์ได้
มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์
ศาสตร์เหล่านั้น ถ้าไม่มาขึ้นกับพุทธศาสตร์แล้ว
มันจะไปไม่รอดทั้งนั้น

หลับ-ไม่หลับ
ถ้าหลับมันก็ไม่รู้
ถ้ารู้มันก็ไม่หลับ

มรรคผล
มรรคผลยังไม่พ้นสมัย
คนโง่เท่านั้นที่ปฏิเสธว่า
ในพื้นที่ดินไม่มีน้ำแล้วไม่ยอมขุดบ่อ

ไม้คดคนงอ
ต้นไม้เถาวัลย์ไม่มีพิษเป็นภัยกับใคร
คนคดคนงอนั้น ร้ายนัก
เป็นพิษเป็นภัยทั้งอยู่บ้านและอยู่วัด

หลง
คนหลงโลกคือคนหลงอารมณ์
คนหลงอารมณ์คือคนหลงโลก

นักปฏิบัติ
กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ
กินมาก นอนมาก พูดมาก คือ คนโง่

แสดงอาการ
การหัวเราะเป็นอาการของคนบ้า
การร้องไห้เป็นอาการของทารก
ฉะนั้นท่านผู้ถึงความสงบ
จะไม่หัวเราะไม่ร้องไห้

สอนอย่างไร
ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน
แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง
จึงจะไม่เป็นบัณฑิตสกปรก

ความอาย
เมืองนี้ยังไม่เคยมีพระบิณฑบาตเลย
เพราะเขามีความหมายกันเป็นส่วนมาก
แต่ตรงกันข้ามกับเรา
เราเห็นว่า
คำที่ว่าอายนี้
เราเห็นว่า อายต่อบาป
อายต่อความผิดเท่านั้น

เมืองนอก
เราได้เดินทางไปเมืองนอก
และเมืองในนอก
และเมืองในใน
และเมืองนอกนอก
รวมสี่เมืองด้วยกัน

ที่รวมสมาธิ
เมื่อนั่งหลับตาให้หยุดความรู้สึกขึ้นเฉพาะลมหายใจ
เข้าลมหายใจเป็นประธาน
น้อมความรู้สึกตามลมหายใจ
เราจึงจะรู้ว่าสติมันรวมอยู่ตรงนี้
ความรู้มันจะมารวมอยู่ตรงนี้

เกาะสีชัง
เรามาอาศัยอยู่ที่เกาะนี้ คือที่พึ่งทางใน
ซึ่งเป็นที่อันน้ำคือกิเลสตัณหาท่วมไม่ถึง
แม้เราจะอยู่บนเกาะสีชัง
แต่ก็ยังค้นหาเกาะภายในอีกต่อไป
ผู้ที่ท่านได้พบ และอาศัยเกาะอยู่ได้นั้น
ท่านย่อมอยู่เป็นสุข
ต่างจากคนที่ลอยคออยู่ในทะเล  คือความทุกข์

กินแบบไหน
ฉันอาหารไม่พิจารณา
จะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อ
ย่อมติดเบ็ด

บริขาร
บริขารทั้งปวงเป็นเพียงเครื่องประดับขันธ์ห้าเท่านั้น
การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคบริขาร
มีความกังวลในการจัดหา
ย่อมเป็นการยุ่งยาก
ขาดการปฏิบัติธรรม
ย่อมไม่ได้รับผลอันตนพึงปรารถนา

อยู่กับใคร
การคลุกคลีอยู่กับผู้มีปฏิปทาไม่เสมอกัน
ทำให้เกิดความลำบาก
ความรู้สึกจะมารวมอยู่ตรงนี้
อารมณ์เราเป็นอย่างนี้
เราจึงจะรู้จักที่รวมแห่งสมาธิ

ปล่อยลม-ได้สมาธิ-ปัญญา
เรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว
เราปล่อยลงให้เป็นธรรมชาติ
อย่าไปบังคับลมให้มันยาว
อย่าไปบังคับลมให้มันสั้น
ปล่อยสภาพลมให้พอดี
แล้วดูลมหายใจเข้าออก
เมื่อปล่อยอารมณ์ได้
เสียงอะไรก็ไม่ได้ยิน
ถ้าจิตเราวุ่นวายกับสิ่งต่าง ๆ
ไม่ยอมรวมเข้ามา
ก็ต้องสูดดมเข้าไปให้มากที่สุด
จนกว่าจะไม่มีที่เก็บ
แล้วปล่อย  ลมออกให้มากที่สุด
จนกว่าลมจะหมดท้องซัก ๓ ครั้ง
ถ้าเรามีสติอย่างนี้
อย่างวันนี้  เข้าสมาธิสัก ๓๐ นาทีหรือ ๑ ชั่วโมง
จิตใจของเรา  จะมีความเยือกเย็น  ไปตั้งหลายวัน
แล้วจิตใจสะอาด
เห็นอะไรจะรับพิจารณาทั้งนั้น
นี้เรียกว่าผลเกิดจากสมาธิ
สมาธิมีหน้าที่ทำให้สงบ
เมื่อจิตเราสงบจะมีการสังวร สำรวมด้วยปัญญา
เมื่อสำรวมเข้า  ละเอียดเข้า
มันจะเป็นกำลังช่วยศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาก
แล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาก
เมื่อสมาธิเต็มก็จะเกิดปัญญา

ปลดทุกข์
ทุกข์มีเพราะยึด ทุกยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกน้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย

นักอุปมาอุปมัย
หลวงปู่ชา  นับเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดดินที่สุด  ท่านสอนจากธรรมชาติที่ต่ำที่สุดเพื่อให้เกิดสิ่งที่สูงที่สุดคือมรรคผล   โดยมีคนเปรียบเทียบแง่มุมนี้ว่าคล้ายกับแนวคิดคำสอนของท่าน พุทธทาสภิกขุ
แต่จุดเด่นอันหนึ่งของแธรรมโอวาทของหลวงปู่ชาก็คือ “การเปรียบเทียบ” ท่านหาเรื่องมาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอนของท่านได้อย่างเหมาะเจาะและเข้าใจง่าย  ดังข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้

มะม่วง
ถ้าพูดให้สั้นเข้ามา
ศีลก็ดี  สมาธิก็ดี  ปัญญาก็ดี  มันก็เป็นอันเดียวกัน
ศีลก็คือ  สมาธิ  สมาธิก็คือศีล
สมาธิก็คือ  ปัญญา  ปัญญาก็คือสมาธิ
ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกัน
เมื่อมันเป็นดอกขึ้นมามันก็ดอกมะม่วง
เมื่อเป็นลูกเล็กก็เรียกว่าผลมะม่วง
เมื่อมันโตขึ้นก็เรียกมะม่วงลูกโต
เมื่อโตขึ้นไปอีกก็เรียกมะม่วงห่าม
เมื่อมันสุกก็เรียกมะม่วงสุก
มันก็มะม่วงลูกเดียวนั่นแหละ
มันเปลี่ยน ๆไป
มันจะโตมันก็โตไปหาเล็ก
มันจะเล็กมันก็เล็กไปหาโต

มีด
สมถกับวิปัสสนา
มันแยกกันไม่ได้หรอก
มันจะแยกกันได้ก็แต่คำพูด
เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะ
คมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง
สันมันก็อยู่ข้างนึงนั่นแหละ
มันแยกกันไม่ได้หรอก
ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้น
มันก็จะติดมาทั้งคมทั้งสันนั่นแหละ

งู
มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์
ต้องการแต่สุข
ความจริงสุขนั้นก็คือทุกอย่างละเอียด
เช่นเดียวกับทุกข์ก็คือ  ทุกข์อย่างหยาบ
พูดอย่างง่ายๆ
สุขและทุกข์ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง
ทางหัวมันเป็นทุกข์
ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูกทางหัวมันมีพิษ  มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข
แต่ถ้าจับไม่วาง  มันก็หันกลับมากับได้  เหมือนกัน
เพราะทั้งหัวงูและหางงู
มันก็อยู่ในตัวเดียวกัน
เช่นเดียวกับสุขและทุกข์
ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน

หมายังรู้
หมามันยังรู้จักอารมณ์ของมันเลย
เวลาหิวมันก็คราง “หงิง ๆ”
ใครไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเองก็ตายเสียดีกว่า

โคตรของสมาธิ
มีอุบาสกคนหนึ่งถาม  หลวงพ่อว่า  “ถ้าทำสมาธินี้ เอาแต่ขณิกพอ  ไม่จำเป็นต้องไปไกลกว่านั้นใช่ไหมครับ”
หลวงพ่อชา  ตอบว่า  “ก็ไม่เป็นไรอย่างนั้น  คือความหมายว่า  มันต้องเดินไปถึงกรุงเทพฯก่อนว่ากรุงเทพมันเป็นอย่างนี้  อย่าไปถึงแค่โคราชซิ…. คือไปให้ถึงกรุงเทพฯก่อน  และเราก็ผ่านอุบลราชธานีด้วยผ่านโคราชด้วย  ผ่านกรุงเทพด้วย  คือเรียกว่าสมาธินะ ขณิกสมาธิ อัปปฌาสมา มันจะไปถึงที่ไหนก็ให้มันไปถึงที่  มันจึงจะรู้จักโคตรของสมาธิว่ามันเป็นอย่างไรอัปปณาสมาธิที่มันมากกว่าอุปจารสมาธิ”

หัวกลอย
ให้กลับความรักที่มีอยู่ให้กลายเป็นความรักสากล
ให้กลายเป็นความรักที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
รักเหมือนแม่รักลูก  พ่อรักลูก  แม้ผมอยู่กับพวกท่าน
ผมก็รักพวกท่านเหมือนเป็นลูกเป็นหลาน ให้ล้างความใคร่
ออกจากความรักเหมือนหัวกลอย  ต้องแล่เอาพิษออกจึงกินได้
ความรักก็เช่นเดียวกัน  ต้องพิจารณา  มองให้เห็นทุกข์ของมัน
ค่อย ๆ ล้างเอาเชื้อแห่งความมัวเมาออก  เพื่อให้เหลือแต่ความ
รักล้วน ๆ เหมือนครูบาอาจารย์รักศิษย์

จิตคือควาย
เปรียบเสมือนกับการเลี้ยงควาย
จิตของเราก็เหมือนควาย
อารมณ์คือต้นข้าว
ผู้รู้เหมือนเจ้าของ
เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร
ปล่อยมันไป
แต่เราพยายามดูมันอยู่
ถ้ามันพยายามเดินไปใกล้ต้นข้าว
ก็ตวาดมัน
ควายได้ยินก็จะถอยออกไป
แต่เราอย่าเผลอนะ
ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง
ก็เอาไม้ค้อนฟาดมันจริง ๆ
มันจะไปไหนเสีย

วัวไม่กินหญ้าก็คือหมู
ทุกวันนี้  อาตมาไม่ค่อยได้เทศมาก  อยู่วัดอยู่ก็เหมือนกัน
ปีนี้เทศให้แม่ชีฟังถึงสองสามครั้งหรือเปล่า  ก็จำไม่ได้
พระเจ้าประสงฆ์ก็ให้อยู่เฉย ๆให้ดูเอาปฏิบัติเอง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะเข้าใจว่า  คนมีศรัทธา  จึงเข้ามาในวัด  จึงมาบวชเป็นปะขาว
จึงมาบวชเป็นเณร  จึงมาบวชเป็นพระ
เข้าใจอย่างนั้น
ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็เหมือนกับวัวเราน่ะแหละ
วัวมันกินอะไร
มันกินหญ้า
จับมันมาปล่อยใส่สนามหญ้าแล้ว
ถ้ามันไม่กินหญ้ามันก็เป็นหมูเท่านั้นแหละ

นักปฏิภาณ
บางครั้งหลวงพ่อชา   ท่านมีจิตใจแจ่มใส  เดาใจคนถามได้อย่างแม่นยำ  จึงมักจะมีการใช้ปฏิภาณโต้ตอบปัญหาอย่างเฉียบแหลมอยู่เสมอ

ใครรู้อัตตา
คนที่นับถือพระเจ้า  ไม่ยอมรับคำสอนเรื่อง “อนัตตา” ของพระพุทธศาสนา
เหตุผลของเขาคือ “จะเอาอะไรมารู้อนัตตาเหล่าถ้าไม่ใช่อัตตา”
วันหนึ่ง  มีชาวคริสต์มาถามหลวงพ่อว่า  “ใครรู้อนัตตา”
หลวงพ่อถามกลับทันที “ใครรู้อัตตา”

นกไม่รู้เรื่องปลา
มีชาวต่างประเทศถามหลวงพ่อว่า  ชีวิตพระเป็นอย่างไร?
หลวงพ่อคิดว่าตอบอย่างไรก็ไม่เข้าใจแน่  เพราะเขายังไม่รู้จักพระ
จึงตอบไปว่า
ถึงปลาจะบอกว่าอยู่ในน้ำเป็นอย่างไร
นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้
ตราบใดที่นกอย่างไม่เป็นปลา

ของแปลก
ในความเคร่งเครียดในการปฏิบัติธรรม  หลวงพ่อก็ยังมีแง่มุมที่ขบขันให้เราได้เห็นบ้างเป็นการหักมุมที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นมาก  ดังที่ท่านบันทึกไว้ในการเดินทางไป  ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๒๐ ว่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเดินทางในวันที่ ๖ ในขณะที่บินอยู่เครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุยางระเบิด ๑ เส้นบนอากาศ  พนักงานการบินจึงได้ประกาศให้ผู้โดยสารเตรียมตัวรัดเข็มขัดมีฟันปลอมก็ต้องถอดออกแม้กระทั่งแว่นตาหรือรองเท้า  เครื่องบริขารทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมหมดผู้โดยสารทุกคนเมื่อเก็บบริขารทุกอย่างเสร็จแล้ว  ต่างคนต่างก็เงียบ  คงคิดว่าจะเป็นวาระสุดท้ายของพวกเราทุกคนเสียแล้ว   ขณะนั้นเราก็ให้คิดว่าเป็นครั้งแรกที่เราได้เดินทางมาเมืองนอก  เพื่อสร้างประโยชน์แก่พระศาสนา  จะเป็นผู้มีบุญอย่างนี้เชียวหรือ   เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ตั้งสัจอธิษฐานมอบชีวิตให้พระพุทธ  พระธรรมพระสงฆ์  และก็กำหนดจิตรวมลงในสถานที่ควรอันหนึ่ง  แล้วก็ได้รับความสงบเยือกเย็นดูคล้ายกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น   พักในที่ตรงนั้นจนกระทั่งเครื่องบินได้ลดระดับลงมาถึงแผ่นดินด้วยความปลอดภัย  ฝ่ายคนโดยสารก็ปรบมือกันด้วยความดีใจ   คงคิดว่าเราปลอดภัยแล้วสิ่งที่แปลกก็คือ  ขณะเมื่อเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุต่างคนก็ร้องเรียกว่าหลวงพ่อช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเราทุกคนด้วย แต่เมื่อพ้นอันตรายแล้วก็เดินลงจากเครื่องบินเห็นประณมมือไหว้พระเพียงคนเดียวเท่านั้น  นอกนั้นว่าแอร์โฮสเตสทั้งหมดในที่นั้น  นี่เป็นสิ่งที่แปลก

[/ultimate_modal]
หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร _result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา) ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

          หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร มีนามเดิมว่า จันทร์โสม ปราบพลพาล เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ณ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกรม และนางอาน ปราบพลพาล ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

ณ บ้านนาสีดา ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีวัดป่าวัดหนึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งกว้าง ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าไม้ตะเคียนหนาทึบ บัดนี้ป่าไม้ได้หายไปแล้วหลังจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ตัดถนนเข้าไป กลายเป็นหมู่บ้านชาวไร่ชาวนา วัดนี้ชื่อ “วัดป่าจันทรังสี” วัดสาขาของวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อดีตสมภารเจ้าวัด คือ “หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร” พระเถระสายวิปัสสนากรรมฐานศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร ท่านเป็นมิ่งขวัญร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้าน คณะศรัทธาญาติโยม และคณะสงฆ์อรัญวาสี โดยเป็นพระวิปัสสนาจารย์รูปที่ ๓ แห่งภาคอีสานตอนเหนือ รองจาก ท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) แห่งวัดศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย และ พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) แห่งวัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

วัยเด็กคลุกคลีอยู่กับวัด เพราะโยมบิดาเป็นมัคนายกวัดบ้านนาสีดา อายุ ๑๐ ขวบ ก็เข้ารับการศึกษาประชาบาลที่วัดบ้านกลางใหญ่ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ระยะแรกที่เรียนหนังสือนั้นต้องไปๆ มาๆ ระหว่างวัดกับบ้าน ผลที่สุดได้ไปอยู่วัดเป็นประจำ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๔ ปี หลังจากออกจากโรงเรียนแล้วก็ได้กลับมาอยู่บ้าน ด้วยเหตุที่วัดไม่มีพระอยู่ประจำ ต่อเมื่อมีพระเณร โดยเฉพาะพระกรรมฐานเดินธุดงค์มาพัก ก็จะเข้าไปปฏิบัติรับใช้ท่านอยู่ที่วัดเป็นประจำ จนกว่าจะออกเดินทางหาวิเวกไปที่อื่นต่อไป

พออายุ ๑๕ ปี ได้ไปอยู่กับท่านพระอาจารย์เกตุ ขนฺติโก พระพี่ชายของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสระวารี อ.บ้านผือ และได้รับการสอนให้เขียนหนังสือขอม

เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ย้ายไปอยู่ที่ถ้ำพระนาผักหอก อ.บ้านผือ กับท่านพระอาจารย์วารี เรี่ยวแรง (ขณะนั้นได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว) ท่านพระอาจารย์วารี มีแต่พระอยู่ไม่มีเณรรับใช้ จึงจำเป็นต้องไปอยู่รับใช้จนตลอด ๓ เดือนจึงได้กลับบ้าน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๒

จากนั้นอายุ ๑๗ ปี โยมบิดาเสียชีวิตลงไม่มีใครช่วยทำนาทำไร่ มีแต่โยมมารดา พี่สาว และพี่เขยเท่านั้น หลวงปู่จันทร์โสมจึงจำเป็นต้องอยู่บ้านช่วยพี่สาวและพี่เขยทำนาทำไร่เลี้ยงครอบครัว เพราะน้องชายก็ยังเป็นเด็กเล็กทำงานอะไรไม่ได้ ในสมัยที่โยมบิดายังมีชีวิตอยู่ การทำนาก็ยังต้องอาศัยการจ้างแรงงานช่วยทำทุกปีกว่าจะแล้วเสร็จ ท่านจึงได้ช่วยครอบครัวทำนาอยู่จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ และได้พิจารณาถึงความศรัทธาที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา กับระลึกถึงกุศลเจตนาของโยมบิดา จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดอรัญญวาสี ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ ๑๘  เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง จ.หนองคาย เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูวิชัยสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ซึ่งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านมีศักดิ์เป็นพี่ชายโยมมารดาของหลวงปู่จันทร์โสม) ท่านได้รับนามฉายาว่า “กิตฺติกาโร” สังกัดธรรมยุตติกนิกาย

หลังจากพรรษาแรกผ่านพ้น ท่านออกวิเวกไปในสถานที่ต่างๆ อาทิ บ้านน้ำอ้อม อ.วังสะพุง จ.เลย และวัดหนองขาม อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ก่อนที่จะกลับมาเกณฑ์ทหารในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ในปีนั้น ท่านได้พำนักจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี จ.หนองคาย เข้าเรียนนักธรรมชั้นตรี ปรากฏว่าสอบได้ ทางการจึงยกเว้นไม่ต้องไปเป็นทหาร ต่อมาท่านจึงไปพำนักกับท่านพระอาจารย์เกตุ ขนฺติโก ที่วัดป่าช้าบ้านสว่าง

ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี เรียนนักธรรมชั้นโท ออกพรรษาสอบได้แล้วก็ออกรุกขมูลมาตามริมแม่น้ำโขง บุกป่าผ่าดงมาจนถึงวัดพระพุทธบาทคอแก้ง (เวินกุ่ม) ก่อนจะกลับไปบ้านนาสีดาในปี พ.ศ. ๒๔๘๘

ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จำพรรษาที่วัดศรีชมชื่น (วัดป่านาสีดา) เดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดอรัญญวาสี จ.หนองคาย และได้รับการฝากให้เป็นศิษย์รับใช้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่ปฏิบัติอาจริยวัตรกับหลวงปู่มั่น เป็นเวลา ๒ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๑ ก็กราบลาไปเที่ยววิเวกที่บ้านห้วยหวายกับ หลวงปู่อุ่น ชาคโร

ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ กลับมาอยู่กับหลวงปู่เทสก์ และช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จนเสร็จสิ้น ก็เที่ยววิเวกไปกับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งวัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร และหลวงปู่อรุณ อุตฺตโม แห่งวัดพระบาทนาสิงห์ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ต่อมาได้ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปเผยแผ่ธรรมที่ภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๙ และกลับมาอยู่วัดศรีชมชื่น ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ย้ายออกมาอยู่บริเวณป่าช้าดงบ้านเลา ซึ่งเป็นสถานที่กว้างขวางร่มรื่นเงียบสงบ ก่อสร้างกุฏิ เสนาสนะต่างๆ โดยลำดับ โดยตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “วัดป่านาสีดา” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑

การเผยแผ่พระธรรมและกรรมฐานที่ภูเก็ต
หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร ท่านมีศักดิ์เป็นหลานลุงแท้ๆ ของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จึงได้รับการอบรมบ่มสอนมาตั้งแต่เด็ก แม้บวชเรียนแล้วก็อยู่ในสายตา คอยแนะนำทางที่ถูกให้ประพฤติปฏิบัติไม่เคยทอดทิ้ง จนกระทั่งตัวท่านละสังขารจากไป เหตุการณ์สำคัญในชีวิตก็คือ การไปใช้ชีวิตกับหลวงปู่เทสก์นานถึง ๘ ปี ในการเผยแผ่พระธรรมและกรรมฐานที่จังหวัดภูเก็ต สมัยนั้น “พระป่า” ยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดปัญหาขัดแย้งจนถึงขับไล่ไสส่งกัน แต่คณะของหลวงปู่เทสก์ก็ต่อสู้แก้ไขจนสถานการณ์ลุล่วงไปด้วยดี

นอกจากนี้ จากการได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิดถึง ๒ ปี จึงได้รับ “ของดี” มาอย่างเต็ม ๆ ทั้งข้อวัตรปฏิบัติ การสำรวมกาย วาจา ใจ ปฏิปทาและหลักธรรมนานาของพระอาจารย์ใหญ่ ซึบซาบเข้าในสายเลือด สมัยนั้นการเข้าไปขอสมัครเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการกลั่นกรองเป็นขั้นเป็นตอน พระเณรที่ขาดการสำรวมทำอะไรไม่ถูกต้อง จะโดนดุว่าตรง ๆ แรง ๆ เป็นการถากถางกิเลส คนจิตไม่แกร่ง ไม่ทน จึงพากันถอย สำหรับหลวงปู่จันทร์โสม ท่านสอบผ่านโดยง่ายดาย เพราะอุปนิสัยเป็นคนที่มีความอดทนสูงมาแต่เยาว์วัย

โอวาทธรรม

หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัย

          ท่านจึงเป็นพระผู้ใหญ่ ที่ชาวบ้านชาวเมืองกราบไหว้ยกย่องนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา รวมทั้งการเทศนาสอนธรรมกรรมฐานแก่ญาติโยม ท่านบริหารวัดตามแนวของหลวงปู่เทสก์ ด้วยการสร้างศรัทธาปสาทะให้ญาติโยมรอบวัดเลื่อมใสก่อน ส่วนการปฏิบัติธรรมได้ยึดตามแนวหลวงปู่มั่น เทศนาหรือบทธรรมของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในชีวิตประจำวันของผู้คน อาทิ

“คนทุกคนสามารถสร้างคุณงามความดีได้ทุกคน แต่ที่เขาไม่อยากทำ เพราะเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง อย่าว่าแต่ฆราวาสเลย พระที่บวชในพุทธศาสนา ถ้าเชื่อจริงๆ จังๆ แล้ว ทำอะไรก็ได้ผล เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เรียกว่า สงสัยลังเล ก็เลยเดินไม่ถูก ไม่ว่าสมัยใด ทำเมื่อไหร่ได้เมื่อนั้น”

ใครก็ตามที่ต้องการปฏิบัติให้จิตสงบ ท่านให้คำแนะนำง่ายๆ ว่า

“ให้เลือกยึดอนุสติ 10 มาเป็นหลักพิจารณาเพียงหนึ่งอย่าง โดยเลือกให้ถูกกับอุปนิสัยของตนเอง และเลือกข้อที่นำมาปฏิบัติแล้ว เกิดความสลดสังเวช เกิดความเบื่อหน่ายเพื่อที่จะแก้ไขตัวเองได้ ลูกศิษย์ลูกหาที่ได้รับโอสถธรรมจากท่าน สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้มากมาย”

“เมื่อคนเราเกิดมามีวาสนาไม่เหมือนกัน วาสนาที่ว่าก็เกิดจากบุญกุศลที่เราได้ทำกันมา คนที่ยากจนในชาตินี้ก็เพราะชาติที่แล้วทำบุญมาน้อย ลงทุนน้อย พอเกิดมาชาตินี้ทุนก็เลยน้อยตามมา แต่ถ้าใครยากจนในชาตินี้ก็ต้องลงทุน ตั้งใจทำงานอย่างทุ่มเทให้มากโดยไม่ไปโกงใคร ในวันหนึ่งก็จะรวยได้เอง”

ในวัย 80 ปี หลวงปู่จันทร์โสม ผิวพรรณวรรณะท่านยังผ่องใส สุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมกับเป็นพระปฏิบัติ และไม่เคยละเว้นการสอนศีลสอนภาวนาแก่ญาติโยมที่สนใจ โดยจะย้ำถึงอานิสงส์แห่งการภาวนาอยู่เสมอ

“การภาวนา นอกจากให้ผลทางจิตใจแล้ว ความเอ็นดู เมตตาสงสารคนอื่นก็เกิดขึ้น ที่เราโกรธเกลียดพยาบาทก็หายไป เห็นโทษก็สงสารเขา มีธรรมะในใจ ความอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนก็ไม่เกิดขึ้น อยู่หมู่คณะใดก็ไม่เกิดขึ้น”

“ขออย่าประมาท อย่าละทิ้งการภาวนา ทำเป็นไม่เป็นก็ช่างเถอะ ขอให้ได้ทำอย่างเดียว นานๆ เข้าก็ติดจิตไปด้วย สะสมวันละนิด งานก็ใหญ่ขึ้น ทำให้จิตใจเราสบายเป็นอานิสงส์ จิตใจสบาย มันก็คลุกคลีทุกสิ่งทุกอย่าง มันเดือดร้อน เราภาวนาก็ทำให้จิตใจเย็น” ฯลฯ

ผู้อยากพบแสงสว่างทางใจ หมั่นภาวนาตามมรรคาที่ท่านวางไว้โดยพลัน !!

มรณภาพ

          หลวงปู่จันทร์โสม ในวัยชราเริ่มอาการเจ็บป่วยเข้ามาแผ้วพาน วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา หลวงปู่จันทร์โสม ได้มีอาการปวดท้องเจ็บหน้าอก คณะศิษยานุศิษย์ได้รีบนำตัวส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช  กระทั่งเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หลวงปู่มีอาการกำเริบหนักขึ้น ปวดท้องแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก คณะแพทย์ได้รีบช่วยกันปั๊มหัวใจรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้ออาการไว้ได้  ในที่สุดหลวงปู่จันทร์โสม ได้ละสังขารอย่างสงบด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริรวมอายุ ๘๔ พรรษา ๖๓ ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และคณะสงฆ์

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ศรี มหาวีโร(พระเทพวิสุทธิมงคล)_jp_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ศรี มหาวีโร (พระเทพวิสุทธิมงคล) วัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

นามเดิมของท่านชื่อ ศรี เกิดในสกุลปักกะสีนัง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โยมบิดาชื่อนายอ่อนสี โยมมารดาชื่อนางทุม ปักกะสีนัง

ในช่วงปฐมวัยท่านเข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำท้องถิ่น จบชั้นประถมปีที่ ๖ และได้ขวนขวาย เข้ามาเรียนต่อ ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ การศึกษาของท่าน ในยุคสมัยนั้น นับว่าอยู่ในขั้นดี ท่านได้เข้ารับราชการ เป็นครูในปีรุ่งขึ้น หลังจากสำเร็จการศึกษา ชีวิตการเป็นครู ท่านเริ่มที่ โรงเรียนวัดบ้านชาด ตำบลหัวเรือ มหาสารคาม และต่อมาที่โรงเรียน บ้านสวนจิก ตำบลปอภาร จังหวัดร้อยเอ็ด

ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระโพธิญาณมุนี (ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ทางพระพุทธศาสนา เป็นมคธว่า “มหาวีโร” พรรษาแรก ในชีวิตสมณะผู้ละวาง ท่านได้พำนักศึกษาปฏิบัติธรรม อยู่กับท่านพระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง มหาสารคาม ปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านได้จาริกไปจำพรรษ ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีโอกาสศึกษา ปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เมื่อออกพรรษาแล้วพระศรี มหาวีโรในครั้งนั้นได้ออกจาริกแสวงธรรม ไปตามวนาป่าเขาราวไพร อาทิ ภูเก้า ภูผักกูด บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม ซึ่งที่ภูผักกูด หรือภูผากูดแห่งนี้ เป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เคยธุดงค์จาริก มาพำนัก เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรม ได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสน ในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ ที่เหมาะแก่การพัฒนา ภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ธุดงค์ไปพำนักที่ถ้ำพระเวส ครั้นเข้าพรรษา ได้ไปจำพรรษา ที่วัดบ้านนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ซึ่งในยุคสมัยนั้น เป็นดินแดนที่ครุกรุ่นไปด้วยสถานการณ์ แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย จนกระทั่ง ออกพรรษา จึงจาริกไปยังจังหวัดสกลนคร และปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เข้าจำพรรษา ที่วัดโนนนิเวสน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ คือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเคยมาพำนักที่วัดแห่งนี้มาแต่ครั้งอดีต ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาบารมีธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งขณะนั้น อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่า บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
พระอาจารย์ศรี มหาวีโร จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ ขออนุญาต พำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับท่าน ซึ่งหลวงปู่มั่น ก็เมตตาอนุญาต นับเป็นโอกาส อันเป็นมหามงคล ในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปฏฺฐากพระบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธพระอาจารย์ศรี ก็มีโอกาสถวายการปฏิบัติ เมื่อท่านพระอาจารย์ใหญ่ถึงแก่มรณภาพ ก็นำความวิโยคอาดูร มาสู่ผู้เป็นศิษย์ ผู้เคารพศรัทธาครูอาจารย์ อย่างสุดจิต สุดใจ พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ถวายสักการะ สรีระ หลวงปู่มั่น เป็นครั้งสุดท้าย ในงานถวายเพลิง ฌาปนกิจ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๓ พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนอง ผักตบ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และปีต่อมา ได้มีโอกาส ไปพำนัก จำพรรษาที่ วัดบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้มีโอกาส ศึกษาธรรมกับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในสำนักแห่งนี้

ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้ร่วมสร้างวัดป่าหนองแซง โดยบัญชาของพระธรรมเจดีย์ (จูม  พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
ท่านพระอาจารย์ศรี ได้ออกจาริกห่างถิ่นมหาสารคาม และร้อยเอ็ดไปนานหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านจาริกมายังวัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาประมาณ ๑๗๐ ปี ท่านเป็นผู้นำศรัทธา ในการพัฒนาวัดป่ากุง ให้เรืองรุ่งโดยลำดับ จนกระทั่งเป็น “วัดประชาคมวนาราม” ที่งามสง่า เป็นศาสนสถาน อันไพศาล สำหรับชาวพุทธ ผู้ศรัทธาในธรรมะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และดำเนินตามธรรมวิถีของพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา ท่านเป็นผู้นำ เป็นธุระในกิจการงาน พระศาสนา อย่างจริงจังและ มั่นคง สร้างคุณูปการและสาธารณประโยชน์ เป็นจำนวนมาก

พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี  มหาวีโร) ละสังขารแล้วเมื่อเวลา ๕.๓๔ น. วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้วยโรคชรา ภายในศาลากลางน้ำ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด อายุ ๙๔ ปี ๓ เดือน ๑๓ วัน ( ๖๖ พรรษา) หลังจากหลวงปู่ฯอาพาธมาตั้งแต่ ปี๒๕๕๐ ศิษย์ยานุศิษย์นำเข้ารักษาตัวและเข้าออก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่นจำนวนหลายครั้ง

โอวาทธรรม

• “ของไม่ดีให้สลัดออก”
ขันธ์ห้า ก็หมายถึงตัวของเรา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านกล่าวไว้หมดแล้ว เดี๋ยวนี้เราต้องการอยากเอาของดีมาใส่ขันธ์ของเรา ของไหนไม่ดี ท่านอยากให้สละสลัดออก ล้างออก ซักฟอกออก หาสิ่งของมาขัดออก ให้มันเรียบร้อย ถ้ามันรั่ว หรือทะลุ ก็หาสิ่งของมาอุดรอยรั่วให้มันดี คอยรับเอาธรรมะ ที่ไปค้นคิดพินิจพิจารณา ดูว่า อะไรดี อะไรไม่ดี อีกทีหนึ่ง นี้ท่านว่าให้ซะล้าง หรือซักฟอก ทำความสะอาดขันธ์นี้ให้เรียบร้อย นี้ก็เป็นแนวธรรมะอันหนึ่ง หรือเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง

• ฝึกหัดดัดแปลงจริตนิสัย แก้ไขตัวเอง
ค้นให้มันรู้ให้มันเห็น เห็นธรรมะเห็นคุณค่าเลยละ
ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านจึงว่า
มีรสชาติ รสดีกว่ารสชาติต่าง ๆ ในโลก
เป็นของเลอเลิศกว่า ทุกรส ทุกชาติ
ศีลธรรมหละถ้าปรากฏขึ้นในจิตใจนี้แล้ว สดชื่นเบิกบาน
แม้ไม่นอนทั้งคืน ก็ไม่หิว ไม่กินข้าว ๖–๗ วัน ก็ไม่หิว
ยังสดชื่นอยู่ด้วยภายใน ท่านจึงว่า “อิ่มศีลธรรม”
ถ้าเราได้เห็นอย่างนั้น ..
เราก็จะเชื่อในคุณธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นของจริง เป็นของดีจริง ๆ ดียิ่งกว่าวัตถุภายนอก

•  ต้องเอาศีล ๕ เป็นหลัก พอได้เกิดเป็นคนในชาติต่อไป ถ้าศีล ๕ ขาดตัวไหนตัวหนึ่ง ไม่สมบูรณ์แบบ ถึงเป็นคนก็ไม่สมบูรณ์ บางทีอาจจะไม่ได้เกิดเป็นคน อาจเป็นสิงสาราสัตว์อย่างอื่นก็ได้ ฉะนั้น ศีล ๕ ที่ท่านเรียกว่าเป็น มนุสสธรรม เป็นธรรมะของมนุษย์ ผู้ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ ต้องมีศีล ๕

• ธรรมะนั้น ถ้าหากเป็นของจริง มันก็จริงอยู่ทุกระยะ ทุกเวลา ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ว่าเกลือมันเคยเค็ม แต่ครั้งพุทธกาลก็เค็ม ทุกวันนี้ ก็เค็มอยู่เหมือนเดิมนั่นหละ

• อันตรายของความคิดความจำ

• นักปฏิบัติธรรม ต้องมี “สติ-พร้อมเสมอ” ถ้าสติอ่อน มันจะติดสัญญาภาพเก่า ๆ ที่เรา ได้จดจำมา แล้วทั้งสิ้น

• กิเลส มันจะหลอกล่อจิตใจเรา ให้ลุ่มหลง เพ้อพกไปได้ แม้อาตมาเอง มันยังหลอก ให้หลงอยู่ กับนิมิต เกือบ ๖ ปี

[/ultimate_modal]
พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร)_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร) วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) จังหวัดกาฬสินธุ์” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

     พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร) ท่านมีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะเกิดวันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีฉลู ที่บ้านนาเชือก ตำบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตำบลนาเชือก) อำเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ บิดาชื่อ นายสอ ภูบุตตะ มารดาชื่อ นางบัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวมกัน ๗ ท่าน

ท่านถือกำเนิดในตระกูลที่มีฐานะดีในหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวมากกว่า ๓๐ ตัว มีที่นากว่า ๖๐ ไร่ มารดาเลี้ยงหม่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงที่สุดในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านมีความขยันหมั่นเพียร และความอุตสาหะ ท่านช่วยโยมบิดามารดาทำงานทุกอย่าง ท่านได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดบ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบในสงคราม และท่านได้เข้ารับการฝึกซ้อมรบ ภายหลังก่อนที่ท่านจะไปในสงครามจริงๆ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ได้ยุติลงก่อนในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ครั้งนึงท่านชอบการต่อยมวยมาก ท่านชอบไปต่อยมวยตามงานวัดต่างๆ ในเวลาว่างจากการทำนาและงานอื่น แต่โยมบิดาของท่านไม่ชอบที่ท่านเป็นนักมวยนัก พอช่วงอายุประมาณ ๒๐ ปี คุณยายของท่านก็ได้ปรารภกับท่านว่าอยากจะให้ท่านบวชให้คุณยายของท่านหน่อย อันเป็นที่มาของการออกบวชภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนา

ท่านอุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้า ๒๑ ปี ที่สิมน้ำ ณ วัดสว่างนิวรณ์นาแก ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดมหานิกาย เมื่อท่านบวชแล้วก็มาอยู่ที่วัดสุวรรณชัยศรี ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นที่นั่นการปกครองในคณะสงฆ์ยังไม่ทั่วถึงมากนัก การบวชของคณะธรรมยุตและคณะมหานิกายยังไม่มีการแยกจากกัน ยังคงใช้พระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศว่า พระอุปัชฌาย์สังกัดนิกายอะไรผู้บวชก็ต้องสังกัดนิกายนั้น พระครูประสิทธิ์สมณญาณ จนฺโทปโม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี (ศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านจึงได้ขึ้นไปอบรมการเป็นพระอุปัชฌาย์ของคณะธรรมยุต ต่อมาเมื่อท่านอายุ ๒๒ ปี ท่านได้ญัติติเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำ ณ วัดบ้านหนองโจด (ปัจจุบันเป็นที่นาชาวบ้าน) ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ วันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูปลัดอ่อน ขนฺติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระใบฎีกาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา ว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”

โอวาทธรรม

“บทเรียนราคาแพง”

โยม : หลวงปู่ครับ ทำไมผมยิ่งทำบุญ ยิ่งปฏิบัติธรรม ยิ่งทำสมาธิก็เหมือน ยิ่งทุกข์เหลือเกินครับทั้งปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเงิน ไม่รู้อะไรประเดประดัง เข้ามาตลอดครับผมหลวงปู่

หลวงปู่ : เวลาคุณทำบุญ เวลาคุณปฏิบัติ มันกระทบกับเงิน ทอง หรือเวลาปกติ ของคุณหรือเปล่า

โยม : เปล่าครับผม
เวลาผมทำบุญผมก็ ไม่ได้ลำบาก เงินทองก็เป็นส่วนเหลือจากการเก็บการดูแลครอบครัวแล้ว การปฏิบัติของผม ก็กระทำโดย ไม่กร ะทบกระเทือนใคร พ่อแม่ พี่น้อง ลูกเมียก็อนุโมทนา แต่มันก็มีปัญหา เรื่องอื่นๆเข้ามาไม่ขาด

หลวงปู่ : เวลาคุณปฏิบัติคุณต้องการพระนิพพานใช่หรือเปล่า นิพพานก็ต้องหนีโลก ต้องเบื่อโลก ถ้ามันไม่มีปัญหาเข้ามาคุณจะหนี โลกได้อย่างไร ถ้าคุณยังหวังสุขในโลกนี้ นิพพานของคุณก็เป็นนิพพานหลอกตัวเอง หล่ะสิ โลกเป็นโรงเรียน ที่ใหญ่ที่สุดปัญหาที่เข้ามาคือ บทเรียน มารทั้งหลายคือครูของเรา เมื่อคุณปฏิบัติ สูงๆขึ้นไป ปัญหามันก็จะสูง ขึ้นไปด้วย ปัญญาคุณแค่อนุบาล ปัญหามันก็อนุบาล บทเรียนก็อนุบาล ครูก็ครูสอนอนุบาล แต่เมื่อคุณเรียนปริญญา ปัญญาระดับปริญญา ปัญหามันก็ต้องปริญญา บทเรียนก็บทเรียนปริญญา ครูก็ครูสอนปริญญา คุณเรียนปริญา จะเอาข้อสอบเด็กน้อยอนุบาลมาสอบคุณมันจะสมกับภูมิปัญญาคุณหรือ ปฏิบัติเพื่อแสวงหาปัญญา เมื่อปัญญาเราสูงขึ้น ปัญหามันก็สูงขึ้น บทเรียนมันก็ยากขึ้น มารมันก็เก่งขึ้น คุณสอบตกจะหาว่า ครูออกข้อสอบยาก หรือจะโทษว่าตนเองเตรียมตัวสอบไม่ดี คุณเอ้ยโลกมันสอนเรา บางทีก็สนุกสำราญ บางทีก็เศร้าโศก บางทีก็ทารุณโหดร้าย คุณต้องได้เรียนทุกบท คุณจะบอกว่าไม่ชอบวิชานี้ไม่เรียน มันไม่ได้

[/ultimate_modal]
อาจารย์พวง สุขินทริโย_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”อาจารย์พวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

ประวัติของพระเทพสังวรญาณ หรือ หลวงตาพวง สุขิทริโย เป็นชาว จังหวัดยโสธร  นามเดิมว่า พวง ลุล่วง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ พ.ค. ๒๔๗๐ ณ บ้านศรฐาน ตำบลกระจาย อ.ลำเภอมพุก จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันคือ ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่สำนักสงฆ์บ้านหองโดก ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณาคม จังหวัดสกลนคร ตรงกับวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับฉายาว่า สุขินทริโย แปลว่า ผู้มีความสุขเป็นใหญ่

หลังจากอุปสมบท หลวงตาพวง ได้เข้าศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ และฝากตัวเป็นศิษย์และขอนิสัยจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุเวง ต.พังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูใบฎีกาพวง สุขินทริโย และเป็นเจ้าอาวาศวัดศรฐานใน จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ ๑๐ ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาศวัดศรธรรมาราม ตำบลใมอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชคณะชั้นราชที่ราชทินนาม พระราชธรรมสุธี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ราชทินนาม พระเทพสังวรญาณ และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ธรรมยุต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาศวันศรีธรรมาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

เมื่อเวลา ๑๐.๕๔ น. ของวันที่  ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พระเทพสังวรญาณ หรือหลวงตาพวง สุขินทริโย รองเจ้าคณะภาค ๑๐(ธ) ได้ละสังขารแล้ว อายุ ๘๒ ปี พรรษา ๕๗ พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบายศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จนมรณภาพ

คณะแพทย์โรงพยาบาลยโสธร ได้ให้การดูแลอาการของหลวงตาพวง อย่างเต็มขีดความสามารถ เนื่องจากหลวงตาพวง อาพาธค่อนข้างหนัก รู้สึกตัวเป็นบางครั้ง มีความดันโลหิตตกเป็นช่วงๆ คณะแพทย์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและยาลดความดันตลอดเวลา จวบจนเวลาประมาณ ๓.๐๐ น.  อาการของหลวงตาพวง แสดงอาการหนักขึ้นมาก คณะแพทย์ได้พยายามรักษาและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด จวบจนเวลา ๑๐.๕๔ น หลวงตาพวง ก็ได้ละสังขารอย่างสงบ สร้างความโศกเศร้าให้กับพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ที่ต้องสูญเสียพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกหนึ่งรูปไปอย่างไม่คาดคิด  หลังจากทราบข่าวศิษยานุศิษย์และประชาชนจำนวนนับพันต่างทยอยกันมากราบสังขาร หลวงตาพวงเป็นครั้งสุดท้ายแน่นโรงพยาบาลยโสธร

โอวาทธรรม

จากหนังสือ “ธรรมะหลวงตาพวง”ที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ แม้จะผ่านไปหลายเดือนแล้วแต่พึ่งได้อ่านในวันถวายทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยที่ผ่านมา บังเอิญเห็นหนังสือวางบนโต๊ะเรียนจึงถือวิสาสะหยิบอ่านเพื่อรอเวลาตามกำหนดการ กาลเวลาไม่อาจกีดกั้นพรมแดนแห่งความรู้ได้ อ่านเมื่อใดเมื่อนั้นก็เป็นสิ่งใหม่ จากหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจภายใต้หัวข้อว่า “กุญแจสี่ดอกเพื่อความสำเร็จ” สรุปความได้ว่าการที่คนเราจะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องมีกุญแจแห่งความสำเร็จสี่ดอกคือ “หวังผล ฝึกฝน สนใจ ใช้หัว”

๑. หวังผล หมายถึงการทำงานทุกอย่างต้องมีเป้าหมายว่าเป้าประสงค์สุดท้ายคืออะไรเช่นชาวไร่ปลูกแตงโม สิ่งที่ชาวไร่ต้องการคือผลแตงโม ที่สามารถรับประทานได้และขายได้ด้วยนั่นคือผล การทำงานทุกอย่างจึงต้องหวังผล การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกันต้องหวังผลของการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าแสดงผลของการบรรพชาอุปสมบทไว้ในสามัญญผลสูตรว่าบวชแล้วจะได้ผลเป็นอย่างไรเป็นต้น

 ๒. ฝึกฝน  การที่จะได้ผลตามวัตถุประสงค์ต้องมีความอดทนฝึกฝนให้มากจนมีความเชี่ยวชาญชำนาญในสิ่งที่ทำ การปลูกแตงโมก็ต้องหมั่นดูแลรักษา ค่อยๆรอจนได้ที่จึงจะเห็นผล อย่าให้สุกก่อนห่ามอย่างนี้ก็ได้ผลที่ไม่อร่อย บางคนปฏิบัติเอาเป็นเอาตายได้เพียงไม่กี่เดือน เมื่อไม่ได้ผลตามที่ตั้งไว้ก็เลยท้อแท้สิ้นหวังเลิกฝึกฝนอบรมไปเลย ธรรมะนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปคือทำไปเรื่อย ๆ จนถึงวันหนึ่งที่มีความพร้อมผลก็จะเกิดขึ้นมาเอง

๓. สนใจ คือจะทำงานอะไรต้องตั้งใจทำงานนั้นอย่างจริงจัง เอาใสใส่ ไม้ท้อแท้ หนักเอาเบาสู้ เช่นการปลูกแตงโมต้องคอยดูแลใส่ปุ๋ย กำจัดแมลง กำจัดวัชพืชที่จะมาแย่งอาหาร ธรรมะก็เหมือนกันจะทำอะไร ศึกษาอะไรก็ต้องมีความสนใจเป็นพื้นฐานก่อน บางคนชอบศึกษาปฏิบัติตามธรรมะตามแนวแห่งพระสุตตันปิฎก บางคนชอบอภิธรรม บางคนชอบคำสอนของอาจารย์คนนั้นคนนี้ ถ้าสนใจทำจริงศึกษาจากไหนก็ได้ทั้งนั้นที่สำคัญต้องเลือกให้เหมาะกับความสนใจของเราด้วย เพราะจริตหรือพื้นฐานทางจิตของคนไม่เหมือนกันชอบกันคนละอย่าง ซึ่งเป็นการดีเพราะทำให้โลกนี้มีอาชีพให้คนเลือกทำแตกต่างกัน จะได้ไม่แย่งกันทำมาหากินอย่างเดียวกันมากจนเกินไป

๔. ใช้หัว ไม่ได้หมายถึงการใช้หัวหรือศีรษะเช่นการโหม่งฟุตบอลนักฟุตบอลบางคนหัวดีคือถนัดลูกโหม่ง แต่การใช้หัวในที่นี้หมายถึงการใช้สติปัญญา ใช้สมอง ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน มนุษย์แม้จะมีอวัยวะเท่ากัน แต่มีความคิดและสติปัญญาไม่เท่ากัน ดังที่หลวงตาพวงได้ยกเรื่อง “เห็ดดอกเดียว” เป็นอุทาหรณ์ว่า “ย่ากับสะใภ้ถือตะกร้าไปเก็บเห็ดในป่า ข้างทางเห็นมีเห็ดดอกเดียว สะใภ้บอกว่าเห็ดดอกเดียวไม่อยากเก็บไว้ไปเก็บเอาข้างหน้า ย่าไม่ประมาท แม้เห็ดดอกเดียวก็เก็บเรื่อยไป ปรากฏว่าวันนั้น ย่าเก็บเห็ดได้เต็มตะกร้า ส่วนสะใภ้ได้กินอิ่มก็เพราะเห็ดดอกเดียวของย่านั่นเอง นี่แหละคนไม่ประมาท รู้จักเก็บ รู้จักออมไม่ละเลย หรือดูแคลนของเล็กน้อย” ย่ามีปัญญาเพราะได้มาจากประสบการณ์จึงค่อยๆเก็บเห็ดไปทีดอก ส่วนสะใภ้คงเป็นคนรุ่นใหม่มีประสบการณ์น้อย จึงมองไปข้างหน้าอย่างเดียวคิดว่าน่าจะมีเห็ดอยู่ข้างหน้ามากกว่าที่เห็น เลยทำให้ลืมมองย้อนหลัง

ในการทำงานแต่ละครั้งหากประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งสี่ประการนี้ ก็จะเป็นเหมือนมีกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จได้ เมื่อมีกุญแจอยู่ในมือย่อมสามารถเปิดประตูแห่งความสำเร็จได้โดยง่าย ครั้งหนึ่งลูกศิษย์ได้นวดเฟ้นหลวงตาพวงและถือโอกาสกราบเรียนถามหลวงตาเรื่องการดับทุกข์ หลวงตาตอบว่า “ถ้าหิวข้าวให้ทานข้าว ถ้าปวดหัวให้หายามาบรรเทา ถ้าเมื่อยขาก็ให้นวดนี้แหละ” ง่าย ๆ แต่ชัดเจน

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร(พระราชญาณวิสุทธิโสภณ)_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ท่อน ญาณธโร (พระราชญาณวิสุทธิโสภณ) ศรีอภัยวัน บ้านหนองมะผาง ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร มีนามเดิมว่า ท่อน ประเสริฐพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะโรง ณ บ้านหินขาว ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายแจ่ม และนางทา ประเสริฐพงศ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๙ คน ท่านบุตรคนที่ ๖ ปัจจุบัน สิริอายุได้ ๗๙ พรรษา ๕๙ (เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน บ้านหนองมะผาง ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย และเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต)

ในวัยเยาว์สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จาก โรงเรียนบ้านหินขาว ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น แต่ด้วยฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ลาออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาทำงานหาเลี้ยงครอบครัวต่อมาได้ เรียนต่อที่โรงเรียนผู้ใหญ่ที่บ้านหินขาว สอบเทียบได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้ว ท่านไม่ได้เข้าศึกษาต่อ เพราะต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว จึงเป็นเหตุให้ต้องออกจากโรงเรียนอีกครั้ง เพื่อมาทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

การอุปสมบท ช่วงวัยหนุ่มฉกรรจ์ เป็นคนติดเพื่อนฝูง กินเหล้าเมายา จีบสาวตามบ้านต่างๆ ในละแวกนั้น ทำให้โยมบิดา-โยมมารดา เป็นกังวลใจมาก หากเป็นเช่นนี้ต่อไป บุตรชายคงจะเสียคนเป็นแน่ จึงได้ปรึกษากันขอให้บุตรชายบวชเรียน โยมบิดาจึงนำตัวบุตรชายไปฝากกับหลวงปู่คำดี ปภาโส พระเกจิชื่อดังแห่งวัดป่าชัยวัน ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น แต่หลวงปู่คำดีมีข้อแม้ว่า ก่อนบวชจะต้องรักษาศีล นุ่งห่มขาว เจริญภาวนา กินข้าวมื้อเดียวก่อน ครั้นอยู่ทดสอบจิตใจได้ ๕ เดือน หลวงปู่คำดีได้อนุญาตให้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ขณะมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระเทพบัณฑิต (มหาอินทร์ ถิรเสวี สินโพธิ์ ป.ธ๕) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ อุตฺตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินทางไปพำนักจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่คำดี ณ วัดป่าชัยวัน โดยหลวงปู่คำดีเป็นอาจารย์กัมมัฏฐาน คอยสอนให้ทำภาวนา นั่งสมาธิกัมมัฏฐาน เน้นเรื่องสติ สมาธิ และปัญญา ระยะเวลาผ่านไปนานพอสมควร ท่านได้ช่วยครูบาอาจารย์แบ่งเบาภาระในการสอนคนที่จะมาบวช ด้วยการสอนขานนาค เป็นต้น ครั้นถึงช่วงออกพรรษา ได้เป็นหัวหน้าออกเดินธุดงค์เข้าป่าเป็นกิจวัตร

โอวาทธรรม

•       คำพูดที่ไม่พิจารณาก็ย่อมกระทบกระเทือนผู้อื่น ให้พิจารณากลั่นกรองให้ดีเสียก่อนจึงค่อยพูด
•       นิพพานใจจะต้องเด็ดเดี่ยวมากนะ ต้องไม่ห่วงใคร จะต้องไปคนเดียว
•       เกิดบังดับ โลกบังธรรม งามบังผี ดีบังจริง สมมติบังวิมุตติ หลักธรรมบังพระนิพพาน
•       แม้ภูเขาสูงแสนสูง หากบุคคลผู้มีความเพียรพยายามปีนป่ายขึ้นไปจนถึงยอด ภูเขาสูงแสนสูงก็ต้องอยู่ใต้ฝ่าตีนของคนผู้นั้น
•       จิตหรดี คือ จิตที่เด็ดเดี่ยว   ตั้งมั่น  ไม่หวั่นไหวไปกับอะไร   เป็นมงคลอย่างยิ่ง
•       หลวงปู่มักเตือนว่า  คนดีชอบแก้ไข  คนจัญไรชอบแก้ตัว  คนชั่วชอบทำลาย คนมักง่ายชอบทิ้ง  คนจริงชอบทำ  คนระยำชอบติ
•       อย่าส่งจิตออกนอก ส่งออกมันเป็นบ่วงแห่งมาร
•       อย่ากินของร้อน (ราคะ โทสะ โมหะ) อย่านอนบนไฟ (โลภ โกรธ หลง) ให้ไปอย่างแร้ง (ไม่ติด ไม่สะสม) แสวงหาบริสุทธิ์ (ของที่ชอบธรรม)
•       อย่าไปรีบ ไปเร่ง อย่าไปเคร่ง ไปเครียด ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ  เวลาจะได้ มาเองนั่นแหละ  อย่าไปยึดมั่นในสิ่งใด ๆ  แม้การปฏิบัติ
•       อย่าไปสนใจจิตของผู้อื่นจงสนใจจิตของตน
•       อาหารบิณฑบาต  ประเสริฐกว่ารับนิมนต์  หรือเขามาส่งตามวัด
•       หลวงปู่ไปเมตตาคนป่วยด้วยคำเตือนใจสั้น ๆ ว่ารู้อยู่ที่ใจได้ไหม
•       ใครจะเป็นอย่างไรก็ยิ้ม   ยืนยิ้มดูไปเฉยๆ
•       เราคนเดียวเที่ยวรัก   เที่ยวโกรธ  หาโทษใส่ตัว
•       ให้มีสติตามดูจิต เหมือนคนเดินบนถนนลื่น ๆ ต้องระวังทุกก้าว ให้มีสติจดจ่อไม่วาง ดูจิตมันจะปรุงไปไหน จะคิดไปไหน จดจ่อดูมันก็ได้ แน่ ๆ จะไปไหน ถ้ามันดื้อนัก ถ้ายังไปเราจะไม่นอนให้นะ
•       (หลวงปู่เมตตาเล่าเรื่องนางปฏาจาราเถรี) ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเธอในครั้งนี้ใครทำ ไม่ใช่เธอทำเองหรือ เพราะความรัก ความยึดมั่นในสิ่งรัก จึงทำให้ทุกข์ มีรักที่ไหน มีทุกข์ที่นั่น
•       เวลาไหนเราไม่ปรุงไม่แต่งไปตามสังขาร ราคะ โทสะ โมหะ สังขารปรุงไม่ได้ เรียกนิพพานชั่วขณะ
•       ให้พิจารณาจนเห็นทุกข์ในโลก   เห็นโทษของกาม
•       รักษาจิตให้ดี   มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่อยู่ของใจ
•       ให้สำรวมอินทรีย์   พิจารณาวิปัสสนาภูมิ อริยสัจ ๔ มรรค ๘ คือ ทางเดิน
•       ตามดูอาการหลับให้ละเอียด   มันค่อย ๆ หลับไปอย่างไร
•       เมื่อเกิดความปรุงแต่ง ก็ให้รู้ รู้แล้วพิจารณาตลอดสาย พิจารณาให้เกิดปัญญา รู้แล้วดับ
•       สมาธิ คือ สมาธิ ยังเป็นสมุทัย พอถอนให้พิจารณากาย เอาให้มันเบื่อหน่าย ไม่งั้นจะเกิดทิฐิว่าตัวได้ ตัวถึง   เป็นวิปลาส
•       พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงเอาชนะความเบียดเบียนด้วยความไม่เบียดเบียน ชนะคนไม่ดีด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
•       น้ำในน้ำนิ่ง จะเห็นปลา เห็นทรายชัด ถ้าน้ำกระเพื่อมก็ไม่เห็น เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่งหยุดนิ่งย่อมรู้หมด   มีอะไรรู้หมด รู้จิตผู้อื่นต้องทำให้เป็นวสีจึงจะรู้ได้ตลอด
•       วาจาใดที่ทำให้ตนเองบ้าง ทำให้ผู้อื่นบ้างไม่สบายหู ไม่สบายใจ วาจานั้นถือว่าเป็นวาจาที่ไม่ควรพูด
•       เมื่อนกจับต้นไม้ต้นใด มันก็ถือว่าสักแต่จับอยู่เท่านั้น เมื่อบินไปแล้วก็หมดเรื่องไม่มีความอาลัยกับต้นไม้นั้น
•       อริยทรัพย์เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิงได้  ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายใด ๆ ทำให้ใจไม่อ้างว้างยากจน เป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย
•       ต้องรวมพลังจิตไปอยู่จุดเดียวจึงเกิดพลังพิเศษจึงเห็นธรรม
•       ความสันโดษ มักน้อย  เป็นทรัพย์อันประเสริฐของผู้ต้องการความพ้นทุกข์
•       ผู้ใดได้รับความสงบมาก ๆ คนนั้นคนรวย ผู้ใดสะสมกองกิเลสมาก ๆ มีรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์มาก ๆ ฟุ่มเฟือยอยู่ในกามสุข คนนั้นเป็นคนจน มีหนทางถึงหายนะแน่นอน
•       อวิชชา คือความไม่รู้ ถ้ารู้อยู่เป็นวิชชา
•       อย่าเอาแต่จะชนะอย่างเดียว เสียงแข็งขึ้นเพราะจะเอาชนะกัน ยิ่งแข็งยิ่งแตกหักง่าย
•       ใจมันต้องเผ็ดเด็ดเดี่ยวลงไป ทำความเพียรแผดเผากิเลสให้หนักแน่น
•       จงอยู่กับพระวินัยให้เคร่งครัด
•       ผู้จะไปนิพพานต้องไม่มีอะไรข้องสักอย่าง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็ไม่ข้อง ต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย กินง่าย อยู่ง่าย นอนง่าย มีแต่ง่าย ๆ มันก็ไม่ข้อง
•       ใครจะว่าชั่วก็ตามที ใครจะว่าดีก็ตามชัง อยู่อย่างนั้นแหละ  ไม่มีดี ไม่มีชั่วตามใครทั้งนั้น   โลกธรรมถูกต้องไม่หวั่นไหว สบายตัวคนเดียวก็พอ
•       คนจะรวยก็เพราะรวยน้ำใจมาก่อน คนจะจนก็เพราะจนน้ำใจมาก่อน
•       ถ้าตั้งสติแล้วไม่ห่วงใคร ใครจะเป็นใครจะตายมันเรื่องของเขา เรื่องของเรามีหน้าที่ภาวนา
•       ความเกษมสุข ความไม่เศร้าโศก เป็นมงคล ใจจะรื่นเริงเสมอ ถ้าเศร้าโศก จะเสียมงคลไปหมด เหมือนต้นไม้มันเฉาแล้ว  น่าดูไหม เอาน้ำมารด เอาปุ๋ยมาใส่ชุ่มชื่นขึ้นมามันเป็นยังไง   มันสดชื่นน่าชม
•       ใจต้องให้ขาดจากความเกี่ยวความข้อง  ตัดน้ำยังตัดไม่ขาด สายสวาทตัดขาดอย่างไร ตัดบัวก็ยังไว้ใย ตัดน้ำใจยังมีเมตตา  มีเมตตาอยู่ ก็ข้องอยู่ ก็ติดอยู่นั้นแหละ
•       ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ให้ตกไปสู่โลกชั่วทุรกันดาร
•       กรรมฐานอะไรมันถูกจริต อะไรมันเป็นที่สบายก็เอาอันนั้น ไม่มีกฎบังคับกันหรอก
•       ใครจะว่านินทา ช่างเขาเฉยไว้ก็ดีเอง
•       การทำความเพียร อย่าหลอกลวงตัวเอง  ให้เอาจริงเอาจังกับมัน
•       ถ้าปล่อยใจคิดไปทางอื่นก็ใช้ไม่ได้ ทำให้เราหลง หมดท่า ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
•       สนิมกินเหล็ก กิเลสกินใจ
•       พระคุณต้องทดแทน  ถ้าเคียดแค้นต้องอโหสิ  อเวรัง อะสะปัตตัง พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่จองเวร   เป็นผู้อโหสิ
•       ทานัง เทติ การให้ทานเป็นเครื่องขัดเกลาอันแรก ทำบ่อย ๆ จะเกิดความไม่เห็นแก่ตัว  รู้จักเสียสละ ไม่หวงแหน ไม่เหนียวแน่น
•       สีลัง รักขติ เครื่องขัดที่สอง ให้รักษาศีล ๕ ให้ครบ เพราะศีล ๕ เป็นหลักประกันของสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข   รักในทุกๆ ชีวิตเหมือนเป็นญาติของตน
•       ศีลมีอยู่ ๓ แบบ คือ สัมปัตตวิรัต คืองดเว้นเอาเอง ตั้งใจงดโดยไม่ต้องขอศีลจากพระ สมาทานวิรัต คือ สมาทานศีลกับพระ สมุทเฉทวิรัต คือ ศีลของเหล่าพระอริยเจ้า  ไม่ต้องสมาทานอีกแล้ว
•       บางครั้งเราก็พูดแบบห้วน ๆ ให้หมู่อยู่เหมือนกัน ใครฟังเป็นก็ไม่โกรธ ใครฟังไม่เป็นก็โกรธ
•       ผู้ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล ภาวนา ได้ชื่อว่ามีใจที่พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว จะไม่มีทางเอารัดเอาเปรียบ มีแต่การเสียสละ จะอยู่ร่วมกันได้โดยสงบสุข
•       บุคคลใดเป็นคนเลี้ยงง่าย มีกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่าย ใจจะสบาย การปฏิบัติก็รวมใจเป็นหนึ่งได้ง่าย  ความวุ่นวายก็น้อยลง ความกังวลยึดติดจะไม่มี
•       ทรัพย์ภายใน ท่านว่า แสวงรู้ แสวงอ่าน แสวงฟัง แสวงเรียน นี่เป็นทรัพย์ภายในแต่ถ้าท่านผู้ใดปล่อยให้วันเวลาล่วงไป ๆ ไม่แสวงหาทรัพย์เหล่านี้ไว้ในใจ ก็จะโง่ไม่ฉลาด จะทำให้เป็นคนจนได้
•       ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อว่าบาป บุญ เวรกรรมนั้นมีจริงต้องสร้างศรัทธาให้เข้มแข็งขึ้น   จึงจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราทำแต่ความดี
•       ถ้าไม่ติดในตัวเจ้าของก็ไปได้แล้วสบาย
•       ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน จะทำบาปทำบุญก็ใจเป็นไปก่อน
•       โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อการทำบาปไม่กล้าทำบาป แม้ถูกจ้างวาน ถ้ารู้ว่าเป็นบาปเราก็ไม่กล้าทำ ยอมอด เราจะเกิดโอตตัปปะ เพราะฉะนั้นจิตใจเราจะสะอาดบริสุทธิ์มาก
•       เวลาพูด ให้พูดด้วยความมีสติ มันจึงเป็นสาระเป็นประโยชน์ ถ้าพูดด้วยความไม่มีสติมันเฟ้อ ดูอย่างเวลาที่หลวงปู่มั่นท่านพูด ไม่ว่าที่ไหน ๆ เป็นสาระออกมาน่าฟังทั้งนั้น เพราะท่านพูดด้วยความมีสติ
•       ถ้าตั้งใจที่จะภาวนา อย่าส่งจิตไปทางอื่น ให้รู้อยู่ในกายในใจของเรานี่แหละ ถ้ายังตามความคิดอยู่ไม่ใช่ภาวนา
•       ถ้าคนมีสติแล้วไม่พูดพล่ามอะไรหรอก อยู่กับสติของตัว ไม่พูดเสียเวลา
•       ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา ให้เคารพต่อการฟังธรรมด้วยใจจริง ไม่ส่งจิตไปทางอื่น เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระเข้ามาสู่ใจของเราจริง ๆ
•       เรื่องการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติอะไร ปฏิบัติจิตปฏิบัติใจของเรานี่แหละ ทำอย่างไรใจของเราจะสะอาดหมดจด   ปราศจากมลทิน ปราศจากโทษทั้งปวง
•       ผู้ที่มีจิตใจผ่องใส สะอาด ไม่มีโทษจะมีหน้าตาผ่องใส ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่น ไม่มัว เป็นที่น่าคบค้าสมาคมด้วย   บุคลิกลักษณะนั้นบ่งบอกถึงความสุขของใจ
•       เรื่องจิตไม่ใช่เรื่องอะไร นอกจากการตั้งสติไม่ให้เผลอ จะทำกิจอันใด ก็ทำด้วยความรู้ไม่ใช่ด้วยโมหะ โมหะ คือ ความหลงความไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้มันก็ปรุงเราแต่งเรา
•       วาง เฉย มันก็ไม่ติดภพติดชาติ
•       เวลาเรายืนเราก็มีสติ เราเดินเราก็มีสติ เรานั่งเราก็มีสติ เรานอนเราก็มีสติ จนกว่าจะหลับไป อยู่กับสติปัฏฐาน ๔ มีสติรู้อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรมนี่แหละ
•       หลวงปู่มักเมตตาเตือนพระเณร ให้รู้จักตน รู้จักบุคคล รู้จักกาล รู้จักประมาณ
•       คนเราถ้าไม่ปฏิบัติธรรมแล้ว เรียกว่า ย่ำต้นกิเลส เหยียบย่ำต้น กินแต่ผลย่อมมีแต่จะเสื่อมไปสิ้นไป   ถ้าปฏิบัติธรรมแล้ว เรียกว่าบำรุงต้นให้งามจึงออกดอกออกผลให้ได้บริโภคใช้สอย
•       พระเอาสิ่งใดที่พอเหมาะพอดี เราก็เอาสิ่งนั้น อย่าให้มันเกินไป เป็นธรรม
•       เราอยู่ในโลก อย่าฝืนโลก ถ้าฝืนโลกมันผิดธรรมดา ฝืนธรรมดา
•       ถ้าเป็นพระควรพิจารณาในการรับ แต่ถ้าเป็นแพะเอาแหลกทุกอย่าง ผิดธรรมผิดวินัยก็ไม่ใส่ใจ
•       สิ่งใดที่ผิดธรรมผิดวินัย พวกเราอย่าทำ อย่าฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาทำตามธรรมตามวินัย ให้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ก็เป็นธรรมไปเรื่อยๆ ไม่เหยียบไม่ย่ำจะมีแต่ความเจริญ
•       ราคะไม่มีโทสะไม่มีโมหะไม่มี ความดึงดูดของโลกดูดไม่ได้เลย เพราะไม่มีสิ่งที่จะดึงดูดกันได้แล้ว เพราะฉะนั้นพระอริยเจ้าท่านไปไหนมาไหน ท่านเหาะเอาเพราะโลกไม่ดึงดูด
•       ผู้ภาวนาชั้นยอด ท่านเพียรฆ่าความโกรธให้มันหมด ฆ่าความโลภให้มันหมด ฆ่าความหลงให้มันหมด
•       ไปเดือดร้อนอะไรกับคนนินทา ใครนินทาเราไม่ได้ยินไม่ใส่ใจก็สบาย คนนินทาน่ะเป็นยาชูกำลังที่จะเตือนตัวเอง เขาติดีกว่าเขาชม จะได้รู้ตัว ถ้าเราเป็นอย่างนั้นจะได้ปรับปรุง เราจะไปโกรธเขาทำไม ถ้าไปโกรธเขาก็เรียกว่าเราแพ้ตัวเอง
•       ใครเป็นคนประคบประหงม ใครเป็นคนเช็ดขี้เช็ดเยี่ยว ใครเป็นคนดูแลให้ความปลอดภัย   ผู้นั้นคือ บิดา มารดา
•       ไม่ต้องรู้อะไรมาก รู้ภายในน้อย ๆ ก็ตามคำสั่งสอนน้อย ๆ มันก็กว้างออกมาได้รู้ทุกขัง รู้อนิจจัง รู้อนัตตา รู้แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว
•       สังขารความคิดปรุงแต่ง มันไม่ใช่เรา แต่มันลากเราให้ติดให้ทุกข์ไม่รู้จักจบจักสิ้นเพราะฉะนั้นจงอย่าเชื่อสังขาร
•       เรียนทางโลก เรียนไป ๆ ก็ยิ่งหนาไปเรื่อย ไม่เบาบางได้เลย เรียนทางธรรมเรียนละ ละโลภ ละโกรธ ละหลง ละกิเลสตัณหา มันก็เบาไป ๆ จนไม่มีภาระ หมดภาระ
•       ธรรมะแสดงอยู่ทุกเมื่อ เกิดอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาย่อมโอปนยิโก คือ น้อมเข้ามาใส่ตัวเอง น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวเอง  เมื่อพิจารณามากเข้าก็จะปัจจัตตัง คือ รู้ได้เฉพาะตน
•       กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอันตรายเด้อลูกหลานเอ๋ย เป็นกิเลสอย่างน่ากลัว ร้อนกว่าไฟ ใสกว่าแก้ว บ่มีเขี้ยวกัดกินคน กิเลสมันกัดกินคน   เราจะทำตามมันอยู่หรือ เราต้องฝืนมันบ้างสิ  อย่าไปตามใจมัน
•       รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง รู้จักจับ รู้จักวาง รู้ทางพระนิพพาน
•       บุญกุศลเกิดขึ้นที่ใจเรา ถ้าใจเรามีศีล มีสมาธิ มันก็เกิดปัญญาขึ้นมา ถ้าใจของเราไม่มีศีลไม่มีสมาธิ ไม่มีความมั่นคงอะไรเลย มันก็ไม่เกิดปัญญา ไม่สิ้นสงสัยได้
•       ไม่ต้องถามปัญหาอะไรหลาย ไม่มีปัญหาไม่ต้องสงสัยอะไร มีความสงสัยเกิดขึ้น รู้อยู่ อย่าไปตาม ถ้าปล่อยให้มันสงสัย มันก็สงสัยเรื่อยไป รู้เท่าทันความสงสัยก็พอ
•       อยู่ในผ้าเหลืองเป็นเพศอันสงบ เป็นเพศอันสบาย เป็นเพศอันอุดม ให้รู้จักรักษา รู้จักทำความเพียร ถ้าละความเพียรก็จะเวียนไปหาความมักมาก
•       ใจมันหยุดนึกหยุดคิด มันสบายจริง ๆ ไม่มีเรื่องร้อนมาปรุงตัวเอง นั่งสบาย นอนสบาย เป็นเสรีเต็มตัว กิเลสมันปรุงออกไปมันร้อน พอเห็นหน้ามันมาก็รู้ทันทีพอแล้ว ๆ ตัวเองสอนตัวเอง รู้เท่าเอาทัน อย่าให้มันปรุง
•       เมื่อได้อะไรมาก็ว่าของกูๆ ไม่ปล่อยไม่วางได้เลย กอดทุกข์อยู่นั้นแล้ว ปล่อยไม่ได้เลย
•       จะเป็นพระ เณร อุบาสก อุบาสิกา ที่ดีได้ต้องมี สติสัมปชัญญะ ระลึกได้อยู่เสมอรู้ตัวอยู่เสมอ ต้องฝึกให้ยิ่ง
•       บวชให้พ่อให้แม่  อย่าทำศีลของเราให้ขาดมันไม่ดี อย่าเห็นแก่ความสนุกสนาน กิเลสมันบังคับไปอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำไปตามอำนาจกิเลสมันไม่ถูก อดกลั้นไว้บ้าง
•       อย่ากินสมอยาก อย่าปากสมเคียด เป็นคำที่หลวงปู่เตือนลูกศิษย์ลูกหาเสมอๆ
•       เรื่องที่แล้วไปแล้ว มันก็แล้วไปแล้ว จะเอามาคิดอะไรอีก ผ่านไปแล้ว อย่าเอามาคิด  จิตจะฟุ้งซ่านขุ่นมัว
•       ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบานร่าเริงแล้วเสียมงคลไปหมด ใจอภัย แต่ถ้าจิตใจไม่เศร้าไม่โศก   มีแต่ร่าเริงเกษมสำราญแล้ว  เป็นมงคลอย่างยิ่ง
•       ธรรมดาคนหลงทั้งหลายเขาไม่เคยพอ  มีหนึ่งมีสองแล้วเขายังหาเอาใหม่ต่อไปอีกเรียกว่าคนโลภ โลภในกาม ไม่รู้จักเบื่อจักหน่าย เมื่อไหร่ที่มันเบื่อมันหน่ายจะรู้จักเองหรอก โอ! มันทุกข์ขนาดนี้หนอ
•       แต่งงานแล้วมันสุขหรือทุกข์ มันทุกข์หนักจริง ๆ สุขนิดเดียวเอง อุ้มท้องก็ลำบากแสนสาหัส พอคลอดลูกก็แทบล้มแทบตายไป สร้างโลกเรียกว่าสร้างกองทุกข์
•       ต้องพิจารณาให้เห็นทุกข์ในโลก เห็นโทษของกามเสียก่อน จึงอยู่สบายในพรหมจรรย์
•       มัวแต่พูดสอนคนอื่น ตัวเองยังสงสัยอยู่เลย ยังไม่สิ้นอาสวะ ไม่ดีเท่าไรหรอก
•       มีสุขอยู่ที่ไหน มีทุกข์อยู่ที่นั่น หาสุขจากกาม หาสุขในโลก จะได้มาจากไหน มันคือการหาสุขในทุกข์ สุขไม่มี ตัวของเราไม่มีในนั้น
•       การทำความเพียรอย่าหลอกตัวเอง ให้เอาจริงเอาจังกับมัน ว่าจะตั้งก็ต้องตั้งสิว่าจะกำหนดก็ต้องกำหนดสิ ให้สติมันแก่กล้า ทำสัมปชัญญะให้มันแจ้ง
•       เห็นคนอื่นเห็นสัตว์อื่นมีความสุข เราผู้นั่งดูก็สุขด้วย
•       หลวงปู่มักนำข้อคิดของคนโบราณมาเตือนว่า ทำดีไว้ให้ลูก ทำถูกไว้ให้หลาน พัฒนาการไว้ให้ชาติบ้านเมือง
•       ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นเครื่องชำระจิตใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ที่เราทำกันนั้นมีความหมาย ถ้าทำแล้วกำจัดกิเลสของตัวได้เป็นการดี แต่ถ้าทำแล้วกำจัดไม่ได้  ก็ชื่อว่ามาทำเล่น ๆ ไม่ดี
•       อบรมตัวเองให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี อะไรที่มันผิดเราก็จะต้องพยายามละ ไม่ทำตามความคิดฝ่ายต่ำของตัวเอง ทำแต่คุณงามความดี
•       ดูตัวเองสิปัญญาเรามีไหม เราพิจารณาได้ไหม ทำอย่างนี้จะเจริญจริงไหม ทำอย่างนี้จะเสื่อมไหม พิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาอันชาญฉลาดของตนเองดู
•       เราไม่เก็บ ไม่กำ ไม่กอบ ไม่โกย ไม่โกง ไม่กิน ไม่เอาเปรียบผู้ใดเลย แต่ถ้าเราเก็บ กำ กอบ โกย โกง กิน ตัวเองก็มีแต่จะเสื่อม หมดสง่าราศี
•       เครื่องประดับใด ๆ ในโลก ก็สู้ธรรมะไม่ได้ ถ้ามีธรรมะประดับใจตนแล้ว ย่อมเป็นผู้เจริญรุ่งเรืองแน่นอน
•       ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดสติกันทั้งนั้นแหละ
•       อย่าปล่อยสติให้มันเป็นไปตามความชอบใจของมันเอง ทำอะไรก็ให้มีสติทำข้อวัตร ปฏิบัติอะไรก็ให้มีสติอยู่เสมอ จับแก้วก็ให้มีสติ จะวางตรงไหนก็ให้มีสติ  ถ้าไม่มีสติ เวลาวางเสียงจะดัง ข้าวของอาจเสียหายได้ ผู้ที่ไม่ปล่อยสติให้เลินเล่อดูแล้วงาม
•       ฟังเทศน์ถ้ามีสมาธิในการฟังชื่อว่าเคารพแล้ว อย่าเอาใจส่งไปไร่นาไปที่ไหน ให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้ยินอยู่ที่หู รู้อยู่ที่ใจ ใช้วิจารณาณอยู่ในตัว คบคิดเนื้อหาอยู่กับตัวนั่นแล เรียกว่าได้ความเคารพ
•       เห็นเงินหน้าดำ เห็นคำหน้าเศร้า เห็นข้าวตาโต พาโลอยากได้ เป็นคำที่หลวงปู่มักนำมาเตือนพระเณร ไม่ให้ตกเป็นทาสของความโลภ
•       โกรธเขาเราทุกข์เองนั่นแหละ ถ้าไม่โกรธก็ไม่ทุกข์ สบาย ฆ่าความโกรธได้อยู่เป็นสุข เราจะชนะความโกรธของเข ด้วยความไม่โกรธของเรา
•       ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ส่ง ไม่ส่าย ไม่วุ่น ไม่วายกับเรื่องใดๆ ทั้งนั้น ก็สบายแฮ อยู่อย่างนั้น สบาย
•       กินหลายบ่หายอยาก (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) นอนมากบ่รู้ตื่น รักคนอื่นกว่ารักตัว สิ่งควรกลัวกลับกล้า (ราคะ โทสะ โมหะ) ของสั้นสำคัญว่ายาว (ชีวิต)
•       ถ้ามีศรัทธาความเชื่อมั่นแล้ว ทำให้ไม่ลำบากในการบำเพ็ญกุศล เพราะไม่มีสิ่งมากีดขวาง
•       สัปปายะ ๕ ได้แก่ อาหารเป็นที่สบาย อากาศเป็นที่สบาย เสนาสนะเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย ธรรมะเป็นที่สบาย ท่านว่าอยู่ได้ มีโอกาสเจริญจิตตภาวนาไปได้สะดวก
•       เมื่อใจสงบลงไปแล้ว จะเห็นบาปเป็นบาป เห็นบุญเป็นบุญ
•       ถ้าจะสึก ตัวเป็นโยมแต่ใจเป็นพระได้ไหม มักน้อย ไม่แสวงหา ไม่แต่งตัว ไม่ห่วงหล่อ ห่วงสวย ถ้าไม่ได้ก็อยู่อย่างนี้ดีกว่า (อย่าสึกดีกว่า)
•       เวลาภาวนา ต้องไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีอะไร เป็นอาการว่างไปหมด แต่ความรู้ไม่ว่างให้ย้อนเข้ามาพิจารณาธรรมะว่า เราตกอยู่ในกองทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เราเป็นผู้รู้ผู้เดียว แม้ที่สุดก็ไม่มีเราในรู้นั้น ไม่ยึดมั่นยึดถืออะไรอีก วางหมด มันเบาไม่หนักแล้ว
•       ความโมโหพาตัวตกต่ำ อย่าไปโมโหโกรธผู้อื่น มันเป็นไฟ มันจะไหม้หัวใจเจ้าของเอง ถ้าเขาไม่ดีมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา
•       ทำทานแล้วต้องรักษาศีลด้วย เหมือนเอาถ้วยชามมาใส่ของ ใส่อย่างเดียว ไม่ล้างถ้วยล้างชามก็ไม่น่าใช้
•       นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ทำใจให้เป็นไปอย่างนั้นเด้อ
•       ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระอันหนัก ต้องรู้จักวาง รู้จักเฉยซะ หากเราวางได้ จะเบากายเบาใจอย่างยิ่ง
•       ถ้าท่านรู้ตัวท่านดีกว่าท่านไม่ได้ผิด ก็ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งนั้น ไม่เห็นจะต้องหวั่นไหวอะไรเลย ต่อให้คนทั้งโลกจะชี้หน้าว่าผิดแม้ตัวผมเอง (หลวงปู่ชี้นิ้วเข้าหาหลวงปู่ก็ไม่ต้องหวั่นไหว)
•       ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร ทำอย่างไรกับเราอย่าหวั่นไหว เฉยไว้ก็ดีเอง ๆ
•       เห็นธรรม คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำอย่างไรเราจะพ้นจากกองทุกข์ เห็นว่าของทุกอย่างไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา แม้ร่างกายที่อยู่ร่วมกันก็ไม่ใช่เราเลย มันอยากเจ็บมันก็เจ็บ มันอยากแก่มันก็แก่ มันอยากตาย มันก็ตาย ห้ามมันไม่ฟัง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นไม่กลัวตาย ตายเมื่อไรช่างมัน ทำความดี ดีกว่า

[/ultimate_modal]
พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก) เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

      หลวงพ่อท่านมีนามก่อนอุปสมบทว่า บุญเพ็ง เหล่าหงษา ท่านถือกำเนิดจากโยมบิดาคือนายเอี่ยม โยมมารดาคือนางคง ในวันมาฆบูชา ปีมะโรง จ.ศ.๑๒๙๐ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๑ ที่บ้านบัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม มีพี่น้องร่วมท้อง ๗ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๒ คน ได้แก่ นางแถว พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) นางสาย นายเลียบ นายเลี่ยม และนายสำเริง ตามลำดับ โดยมีหลวงพ่อเป็นลูกหล้า คือ บุตรคนสุดท้อง ปัจจุบันพี่ของท่านมรณภาพ และเสียชีวิตหมดแล้ว

ครอบครัวของหลวงพ่อมีอาชีพทำไร่ทำนาตามสภาพของคนในชนบท มีฐานะพอมีอันจะกินตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านบัวบาน หลวงพ่อมีโอกาสศึกษาถึงชั้นประถมปีที่ ๔ ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านเคยควบคุมดูแลการหลบลูกระเบิดสมัยสงครามอินโดจีนเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งแต่ท่านเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีความฉลาดเฉลียว และมั่นใจในตนเองมาตั้งแต่เด็ก

มูลเหตุที่หลวงพ่อท่านมีความตั้งใจอยากจะบวชเป็นพระแทนการสร้างครอบครัวเฉกเช่นชาวบ้านอื่น ก็คงเป็นเพราะท่านเกิดมาในตระกูลที่ฝักใฝ่ในทางศีลธรรม ประกอบกับพี่ชายของท่านคือพระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็ได้บรรพชาตั้งแต่หลวงพ่อท่านยังเป็นเด็กจนได้เป็นพระกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธบริษัทอย่างกว้างขวาง

หลวงพ่อท่านอุปสมบทในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๒ ที่วัดศรีจันทร ์(ธรรมยุต) จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระพิศาลสารคุณเป็นพระอุปัชฌายะ พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา “กัปปโก” ซึ่งแปลว่า “ผู้สำเร็จ”

หลวงปู่บุญเพ็งได้ละสังขารอย่างสงบเมื่อเวลา ๑๕.๓๙ น. เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สิริอายุ ๘๙ ปี พรรษา ๖๘

โอวาทธรรม

     “เอาให้มันได้วันนี้ คนไหนพอได้ก็ให้มันได้ มันทุกข์มันยากเหลือเกิน เกิดมาเป็นคน คิดว่าเรามาได้ก็คิดว่าเราดีหรือ มันก็ทุกข์เท่าเดิมนั่นล่ะ อย่ามัวมาเพลิดเพลินว่าตัวเองดี ตัวเองเก่ง อย่าเพลิดเพลินเกินไปต้องระมัดระวังให้ดี เวลามันหลงก็หลงจนลืมตัวเหมือนกันนะ มันยังไม่ได้แจ้งภายในจิต แจ้งก็ให้มันแจ้งในกิเลสบ้าง

[/ultimate_modal]
หลวงปูู่ประสาร
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ประสาร สุมโน (พระครูสุมนสารคุณ) วัดป่าหนองไคร้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

     พระครูสุมนสารคุณ มีนามเดิมว่า ประสาร นามสกุล “เผ่าเพ็ง” ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น “เผ่าพุทธ” และในปัจจุบันคือนามสกุล เผ่าพุทธ (พุทธะ) นั่นเอง เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในขณะนั้น ต่อมายกระดับขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยแยกการปกครองมาจากจังหวัดอุบลราชธานี) จึงถือตามเอกสารทางราชการในปัจจุบันว่า หลวงปู่ประสารเป็นคนบ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร  โยมบิดามีนามว่า นายกลม โยมมารดามีนามว่า นางขาว นามสกุล เผ่าพุทธ (นามสกุลเดิมฝ่ายโยมมารดา “หงส์คำ) มีพี่น้องชายหญิง ๒ คน

ในวัยเด็กหลวงปู่ประสารนั้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านหนองเป็ดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ชีวิตของท่านก็เหมือนเด็กในชนบททั่ว ๆ ไป ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงานในบ้านตามแต่กำลังของเด็กจะช่วยได้ แม้ว่าร่างกายของท่านในยามนั้นจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะเป็นคนที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากน้ำนมของโยมมารดาของท่านไม่มีพอให้ท่านดื่ม แต่การประกอบสัมมาอาชีพท่านเล่าว่าท่านไม่เคยท้อ จนถึงปัจจุบันร่างกายของท่านก็ไม่ค่อยแข็งแรง กระทั่งปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์ศรีอารย์ เป็นคนบ้านหนองเป็ดได้ไปจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ผั่น วัดนาหัวช้าง หรือ วัดป่าอุดมสมพร ในปัจุบัน ได้มารักษาตัวโรคนิ่วที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วมาเยี่ยมโยมทั้งสองที่บ้านหนองเป็ด โดยพักที่ วัดบ้านหนองค้อ

ในยุคนั้นหลวงปู่ประสารท่านออกจากโรงเรียนแล้วช่วยพ่อ-แม่ทำไร่ทำนา เมื่อเสร็จงานไร่งานนาแล้วว่างงานก็วิ่งเล่นตามประสาเด็กชนบทที่ว่างงาน พระอาจารย์ศรีอารย์เมื่อเห็นหลวงปู่ประสารย่างเล่นตามประสาคนชนบท จึงถามท่านด้วยความเมตตาว่า “มึงอยากบวชบ่” ท่านจึงตอบว่า “ก็อยากบวชอยู่แล้วล่ะขอรับพระอาจารย์” ท่านจึงพูดว่า “ให้บอกพ่อ-แม่เสียก่อน ท่านจะบวชให้” เมื่อนำเรื่องไปปรึกษาครอบครัว พ่อ-แม่บอกว่า “มึงจะบวชได้บ่ พระกรรมฐานฉันข้าวมื้อเดียว” หลวงปู่ประสารในขณะนั้นจึงตอบพ่อ-แม่กลับไปว่า “ฉันก็เป็นคนเหมือนพระท่านนั่นแหละ เมื่อท่านอดได้ฉันก็ต้องทำได้” เมื่อไปบอกขออนุญาตจากทางบ้านแล้วก็ไปพบพระอาจารย์ศรีอารย์ ท่านจึงให้โกนหัวบวชขาว (ประมาณว่าให้ถือศีล ๘ นั่นแหละ ผู้เขียน) ในต้นปี ๒๔๙๒ ที่วัดโนนค้อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่พักของพระสายกรรมฐาน ไม่มีพระอยู่ประจำ พระกรรมฐานผ่านมาพักแล้วก็จากไปเป็นอยู่เช่นนั้น พอบวชได้ไม่กี่วันกลาง ๆ เดือนมกราคมของปีนั้นเดินทางจากจังหวัดยโสธรไปวัดป่าอุดมสมพรของพระอาจารย์ผั่นที่จังหวัดสกลนคร

โอวาทธรรม

“..คนเราทุกข์เพราะความคิด ความปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ทุกข์เพราะยึด..”
“ในการทำงานหากเรามีศีล มีสติ มีปัญญา การทำงานของเราก็จะทำได้ดีและพัฒนาก้าวหน้า”

[/ultimate_modal]
พระอาจารย์แบน ธนากโร(พระภาวนาวิสุทธิญาณ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระอาจารย์แบน ธนากโร (พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร) วัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่แบน นามเดิมว่า สุวรรณ กองจินดา เกิดเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อนายเล็ก มารดาชื่อ นางหลิม กองจินดา มีอาชีพทำสวนทำไร่ ซึ่งเป็นอาชีหลักของชาวจังหวัดจันทบุรี
หลวงปู่แบนได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วัดเกาะตะเคียน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมีพระอมรโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์พิหารการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

เนื่องจากศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ภายหลังได้ติดตามหลวงปู่กงมามาที่วัดดอยธรรมเจดีย์ จนหลวงปู่กงมามรณภาพ ท่านเป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยว รักษาข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไว้อย่างเคร่งครัด เป็นที่เคารพของพระบรมวงศานุวงศ์นอกจากนี้ ท่านยังสร้างสาธารณะกุศลอีกมากมาย เช่น สร้างโรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร ที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร

โอวาทธรรม

มันทุกข์เพราะ ทุกข์ความเกิด ทุกข์ความแก่ ทุกข์ความตาย เดี๋ยวนี้ไอ้ความเกิดน่ะ ใครว่าเป็นเรื่องสนุก ความเกิดมันไม่สนใจ ไม่มีใครคิดความเกิดเป็นทุกข์ และไม่มีใครคิดว่าความตายเป็นทุกข์ ความทุกข์ก็ใคร ๆ ก็ว่า อะไรน้า บางคนก็อกหักทุกข์นะ ทุกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับ น้ำหูน้ำตาไหล ร้องห่มร้องไห้ บางคนจะตาย

ทุกข์เพราะอะไรนะ ทุกข์เพราะเป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีทางออก เป็นหนี้เป็นสินมีทางออกมันธรรมดานะ ไม่รู้จะออกยังไงไม่รู้จะหาทางออกยังไง ไอ้กู้ข้างนอกมันก็พอแรงแล้ว ไอ้กู้ในระบบมันก็ไม่มีทางแล้ว ทีนี้ทั้งข้างนอกข้างในถึงเวลาที่จะต้องส่ง อันนี้ทุกข์ ทุกข์ไม่มีทางออก อันนั้นเขาก็จะถูกยึด อันนั้นก็จะถูกยึด ส่วนมากคนที่เป็นทุกข์ทุกข์เพราะอย่างนี้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดว่าอันนี้เป็นทุกข์ ทุกข์ก็คล้าย ๆ กับว่า เกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์บ้างก็ว่าโอ๊ยตายแล้วจะไปทุกข์อะไร นอนสบาย ไม่ต้องกินข้าวก็อยู่ได้ กี่วันกี่วันก็ไม่ได้ทุกข์เลย แต่ความจริงนะ ตายอย่างว่าตายนะยิ่งทุกข์ ผัวตาย เมียตาย ลูกตาย แม่ตาย ก็ยังทุกข์ แล้วเจ้าของตายจะไม่ทุกข์เหรอคำว่าทุกข์มันไม่ได้ผมขนเล็บฟันหนัง ดินน้ำลมไฟทุกข์ ใจทุกข์ ทุกข์เพราะร่างกายที่เรียกว่าเป็นเป็นของที่รักยิ่ง เรียกว่าจะต้องพลัดพรากจากกัน คุณสามีตายภรรยาก็เป็นทุกข์ร้องห่มร้องไห้เพราะทุกข์ เรียกว่าไม่มีโอกาสที่จะคืนเจอหน้าเจอตากันใหม่กันอีก ทีนี้เจ้าของตายนี่ยิ่งทุกข์กว่านั้นอีก ความเศร้าโศกเสียใจในด้านจิตใจนี่จะทุกข์มาก แต่ทีนี้จิตใจของเราเราไม่มองเราไม่มองกัน นี่ มันก็ไม่เห็นว่า แต่เวลาไม่มองมันก็ยังรู้นะว่าจิตใจเป็นทุกข์ เสียอันนั้นเสียอันนี้นี่ก็เป็นทุกข์ แล้วเวลาเสียร่างกายที่เสียไปไม่มีโอกาสที่จะคืนมา อันนั้นยิ่งทุกข์มาก ท่านจึงว่าความตายคือทุกข์ สามีตายก็เป็นทุกข์ ภรรยาตายก็เป็นทุกข์ ลูกตายเป็นทุกข์ พ่อแม่ตายเป็นทุกข์ ญาติพี่น้องตายก็เป็นทุกข์ เพื่อนตายก็ยังเป็นทุกข์ ผู้บ่าวผู้สาวที่กำลังจะแต่งงานกัน เวลามีอุบัติเหตุตายไปคนหนึ่ง ทุกข์ทั้งนั้น ใครเป็นคนอยู่ก็ทุกข์ แต่คนตายยิ่งทุกข์กว่านั้น คนตายยิ่งทุกข์กว่านั้น คือร่างกายที่เป็นที่รักยิ่งของเจ้าของมันแตกมันเสียมันตายไป และไม่มีโอกาสที่จะคืนมาได้ เราก็เหมือนกันนะ ที่เรียกว่าแม้แต่คุณภรรยาตายคุณสามีตายเรายังเป็นทุกข์ แล้วเราตายจะไม่เป็นทุกข์เหรอ

พูดถึงว่าความรัก บางคนก็ว่าฉันตายแทนได้ฉันตายแล้วนั่นน่ะ แต่ความจริงน่ะอันนั้นนะมันพูด มันคล้าย ๆ ส่วนลึกของใจมันเป็นอย่างนั้น เคยให้เขาทดสอบ ผัวนั่งอยู่ตรงนี้เมียนั่งอยู่ตรงนี้นั่งอยู่นี่หละ อันนี้เอาไม้ขีดมาสองก้านจุดจี้ใส่ผมผัวจี้ใส่ผมเมีย เมียจะดับผัวก่อนหรือจะดับไฟที่ไหม้หัวเจ้าของก่อน ผัวก็เหมือนกันนี่ รักเมียนี่รักจริง ๆ เอ้า จี้ลงไปพร้อม ๆ กันนี่ หัวเจ้าของต้องดับก่อน อันนี้คล้าย ๆ ต้องเป็นอย่างนี้ทั้งหมด แต่เวลา เพิ่นนะบอกเพิ่นตายแทนได้ก็จะตายเท่านั้น นี่ในเมื่อรักของเจ้าของมากนะคนอื่นตายก็ยังทุกข์ เจ้าของตายจะทุกข์นาดไหน พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้ระลึกถึงบ่อย ๆระลึกถึงบ่อย ๆ จะได้เคยชิน คิดนึกจนกระทั่งเรานี่เป็นของเกิดมาตายจริง ๆ ของเกิดมาตาย เขายังไม่ทันได้ตาย แต่ถึงยังไม่ตายก็ของตายก็คืออันนี้อันนี้อันนี้อันนี้ของตายทั้งนั้น และถ้าหากว่าของตายเขาก็ตายทุกวันตายทุกวัน ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั่น มันตายไปชั่วลมหายใจเข้าออก ค่ำมาตะวันตกดินมืดอย่างนี้นะ อันนี้ก็ตายไปแล้วสิบสองชั่วโมง สว่างมาแล้วตายไปอีกสิบสองชั่วโมงกลางคืน ตายอยู่และตายทุกขณะ แต่อย่างเราเราไม่คิดกันนะ พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ความตายตายทุกขณะ ความตายทุกขณะ ท่านจึงสอนให้ระลึกถึงความตายทุกขณะ ถ้าหากว่าความตายนี่ตายไป เกิดมาตายไม่หายใจไปเผา คนจะระลึกถึงความตาย มันระลึกไม่เห็นดอก ถ้าตายอยู่ทุกขณะ บางทีมันระลึกมันก็ยังไม่เห็นนะว่าร่างกายอันนี้เป็นของตาย จึงให้ระลึกถึงมาก ๆ ถึงเวลาความตายของจริงเกิดขึ้น เราจะไม่ได้เศร้าโศก เพราะอันนี้เป็นของตายเท่านั้นเอง เป็นของที่เขาเกิดเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อตาย เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นของใคร ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นของเรา เขาเกิดมาเพื่อตาย อันนี้ธรรมชาติความจริงของเขาเป็นไปตามความจริงของเขานั้น ๆ จิตของเราไม่ได้ตาย จิตของเราไม่ได้ตาย ไอ้ที่เราระลึกถึงความตายความตาย ระลึกถึงความตายระลึกถึงความตายนะ ผมขนเล็บฟันหนังดินน้ำลมไฟเป็นของเกิดมาตาย จิตของเราไม่ได้ตาย ถึงว่าอันนี้มันตายจริง ๆ ตายไปไม่หายใจนี่ จิตของเราก็ยังเป็นจิตอยู่อย่างนั้นไม่ได้ตายร่างกายตายก็สักแต่ว่าของตาย เขาเกิดมาตายเท่านั้น จิตของเราไม่ได้ตาย แล้วเราจะไปเศร้าโศกทำไม การระลึกถึงความตายจึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง เข้าใจมั้ย แล้วคนอื่นตายก็ไม่เสียใจ คนอื่นตายก็ไม่เศร้าโศก จะเศร้าโศกอะไร ก็ของตายเขาตาย ของตายเขาแสดงความจริงของเขาว่าเขาตาย เขาก็ตายแล้ว เขาแสดงความจริงของเขา ว่าเขาเกิดมาตายและเขาก็ตายจริง ๆ แล้วเราจะไปทุกข์มีประโยชน์อะไร ระลึกถึงความตายให้มาก ๆ จะมีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนี่จากคนที่สนิทใกล้ชิดกันตายเราก็ไม่เสียใจ ถึงเราจะตายไปเราก็ไม่เกิดความเศร้าโศก การระลึกถึงความตายจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่มีใครสักคนหนึ่งต้องการทุกข์ต้องการเศร้าโศก การระลึกถึงความตายเท่านี้แหละ จะแก้ความเศร้าโศกได้เมื่อมีการพลัดพรากจากกัน ใครไม่อยากเศร้าโศกเวลามีการพลัดพรากซึ่งกันและกันและไม่มี เราจะไม่เศร้าโศกเวลาเราพลัดพรากจากเรา รีบระลึกถึงความตายมาก ๆ ได้ยินไหมล่ะชาวสุพรรณ กะมันก็ทั้งสุพรรณบุรีหรือว่าอ่างทองอยุธยา ตายทั้งนั้นหล่ะ อย่าว่าแต่เมืองมนุษย์เลย เมืองสวรรค์ก็ยังตาย เมืองสวรรค์ก็คือคนเกิดไปสวรรค์ จิตไปเกิดบนสวรรค์ ไปเสวยของทิพย์  อ่ะนี่ ในเมื่อหมดบุญมันก็ตาย สิ่งที่เกิดขึ้นนั่นแหละ ของตายทั้งนั้น ลูกหลานเราอุแว๊ ๆ  ดีอกดีใจเป็นผู้ชาย อุแว๊ ๆ  เป็นผู้หญิงน่ารักดีอกดีใจ ไม่คิดว่าของตายมันได้เกิดขึ้นแล้ว  คิดถึงว่าของตายได้เกิดขึ้นแล้วมันถูกไหม คิดว่าลูกเราหลานเราเกิดขึ้นแล้วมันถูกไหม ของตายเขาเกิด ของตายจะเป็นลูกเรายังไงจะเป็นหลานเรายังไง เอ้า เลี้ยงมันดีขนาดไหนก็ยังเถอะ บางทีมันยังไม่ทันจะโตมันตายก่อนเราก็มี ถึงว่าเราจะตายก่อนเขา นั่นแหละ เขาก็ยังจะต้องตายนั่นนะ เพราะว่าอันนี้คือของตายแล้วเขาได้เกิดขึ้น สมมุติว่าเป็นคน สมมุติเป็นสัตว์ สมมุติเป็นต้นไม้ต้นหญ้า อะไรก็คือของเกิดมาแล้วต้องตายทั้งนั้น ของเกิดขึ้นมาต้องตายทั้งนั้น ในเมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ เราจะไปเศร้าโศกรู้สึกว่าเราไม่ยุติธรรมกับเรา

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ลี กุสลธโร_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่ลี กุสลธโร เกิดเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ ที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ สาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมกัน ๙ คน สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็พาทำบุญเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป อายุได้ ๑๒ ปี เรียนจบชั้นป.๓ พออายุได้ ๒๐ กว่าปีก็ได้แต่งงานกับนางสาวตี ภรรยาตั้งท้องแล้วคลอดลูกออกมาตาย ท่านได้เกิดความสลดใจเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่าการแต่งงานก็มิได้แต่งกันด้วยความรัก แต่งงานกันตามประเพณีที่พ่อแม่บอกให้แต่งกันเท่านั้น ท่านเองไม่เคยมีคนที่รัก และยังไม่เคยรักหญิงใดเลย ท่านอยู่กินกับภรรยาได้ ๒ ปี ๖ เดือน จึงขอออกบวชเพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นที่เดินธุดงค์มาพักยังป่าแถบหมู่บ้านของท่าน

หลวงปู่ลี อุปสมบทที่ วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมือวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๙๓ โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
(หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชพระเมื่อครั้งงานเผาศพพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต และเมื่ออุปสมบทได้ฉายานามว่า “กุสลธโร” แปลว่า “พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี”)

โอวาทธรรม

บ่ทันนาน คั่นจิตเป็นปัจจุบันอยู่ฮั่น บ่เห็นหนึ่งต้องแนวหนึ่งหละ มันซิเกิดเฮ็ดให้มันเป็นปัจจุบัน อดีตที่ล่วงมาแล้ว ก็อย่าไปคำนึงเลย มันก็ออกไปจากปัจจุบันนั่นหละ อนาคตคือกัน มันออกไปจากปัจจุบันนี่ละ อย่าไปคำนึงมันเลย คุมมันเข้า เบิ่ง ให้เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่นละ อย่าไปเบิ่งหัวใจผู้อื่น คั่นคุมเจ้าของแท้ๆ ต้องเห็น คั่นพิจารณาสภาพร่างกายก็พิจารณาอยู่ฮั่น แต่พื้นเท้ามาศีรษะ แต่ศีรษะลงมาพื้นเท้า ให้พิจารณาอยู่ฮั่น เอาแหมะ ๒๔ ชั่วโมงนี่ บ่ให้มันปากมาเลย ต้องเกิดแน่ อันนี้หัวใจมันแลนอยู่นำโลกนำสงสารพุ่น มันบ่ปักมั่น แล้วซิเห็นหยังฮั่น คือกินข้าวเนี่ย กินนอนอยู่ ย้ายไปนั่น นอนอยู่ก็ไปฮั่น นอนก็ไปนี่ เลยบ่อิ่มจักที นี่เรื่องมัน เอ้า พิจารณามันซี คั่นคุมเข้าแท้ๆ มันซิต้องจับได้เงื่อน เดี๋ยวมันซิเกิดอันนั้นเกิดอันนี่โลด นี่เฮ็ดจริงทำจริงมันต้องรู้จริง ไอ้ พิจารณาโตนี่ละ โตสำคัญ ถ้าหากว่าได้จับจุดได้ละ เออ มันซิออกอุทานบัดทีนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจทั้งนั้น คั่นตีแตกอริยสัจนี่ได้แล้ว ฮ่วย! กราบพระพุทธเจ้ากราบครูอาจารย์ โอ๊ย มันก็กราบอยู่จังซั่นหละ หมดคืนหละ นี่ เพิ่นเว่าจริงเฮ็ดจริง มันซิประมวลมาหมดดอก อันพระพุทธเจ้าเพิ่นเห็นนะ มันซิมาเกิดจากใจเฮานี่ละ ให้พากันเร่งความพากความเพียร

[/ultimate_modal]
หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ มีนามเดิมชื่อ คำบ่อ พวงสี เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแม ณ บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดา – มารดาชื่อ นายทองและนางภู่ พวงสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ พระอาจารย์คำบ่อเป็นบุตรคนที่ ๑

ในปฐมวัยพระอาจารย์คำบ่อ ได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่ศาลาวัดศรีษะเกษ บ้านตาล จังหวัดสกลนคร จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อจบแล้ว โยมบิดา-โยมมารดาจะให้บวชเป็นสามเณร จึงตอบท่านไปว่า ยังไม่บวช จะอยู่ทำงานไปอีกสักระยะหนึ่งก่อนจึงจะบวช โยมบิดา-โยมมารดาท่านก็ไม่ว่าอะไรแม้แต่คำเดียว  ตั้งแต่วันนั้นข้าพเจ้าก็ทำหน้าที่การงานช่วยบิดามารดาให้ดีที่สุด จะไม่ทำให้ท่านเป็นทุกข์เพราะเรา ตระกูลนี้ไม่เจริญเพราะเราก็จะไม่ให้เสื่อมเพราะเรา ตระกูลเจริญเพราะเราก็จะไม่ให้เสื่อมเสียเพราะเรา นี้เป็นความรู้สึกลึกๆ อยู่ในหัวใจของข้าพเจ้า จนบิดามารดาไว้เนื้อเชื้อใจ จะซื้อจะขายอะไรที่จะต้องใช้เงินทองจำนวนมาก ท่านจะมาถามแทบทุกครั้ง ถ้าข้าพเจ้าตกลงอย่างไร ท่านก็จะเอาอย่างนั้น เพราะความไว้เนื้อเชื้อใจในตัวของข้าพเจ้า ท่านทั้งสองเป็นพุทธมามกะ เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าความดีก็มีเหตุ ความชั่วก็มีเหตุ ความดีก็เกิดจากการกระทำดีนั้น ความชั่วก็เกิดจากการกระทำชั่วนั้น ฉะนั้น ท่านทั้งสองจึงพยายามสร้างความดี ทำความดี ตามกำลังกายกำลังทรัพย์ กำลังปัญญาของท่าน จนกระทั่งท่านทั้งสองจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ  ฉะนั้น ตระกูลพวงสีนี้จึงเป็นตระกูลเคารพนับถือบวรพระพุทธศาสนาอย่างไม่ลืมเลือนไปจากหัวใจ ในตระกูลพวงสีนี้ ก็นับว่าโชคดีที่ยึดเอาคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักปฏิบัติในการครองเรือน จึงทำให้ชีวิตความป็นอยู่ของตระกูลพวงสีพอกินพอใช้ไม่รวยและก็ไม่จน พอมีพอกิน

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ปีมะโรง อายุได้ ๒๑ ปี วันนั้นคุณตามาที่บ้านประมาณ ๑ ทุ่ม ท่านถามว่ากินข้าวเสร็จหรือยัง เลยบอกท่านว่ายัง ท่านเลยบอกให้รีบไปกินข้าว วันนี้จะพาไปมอบนาคที่วัดตาลนิมิต บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แบบนี้เขาเรียกว่าแบบจู่โจมไม่ให้รู้ตัว โยมบิดา -โยมมารดาไม่บอกให้ทราบ แต่ข้าพเจ้ากลับรู้สึกดีใจ จะได้หมดหนี้บุญคุณของท่านเสียที หนี้บุญคุณของบิดามารดา ยังฝังอยู่ในจิตใจไม่หลงลืมตลอดมา ถ้ายังไม่ได้บวชให้ท่านก่อนแล้ว ก็จะไม่แต่งงานเป็นอันขาด เพราะได้ยินญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ตาของเธอเขาดีใจมากเพราะได้หลานคนแรกเป็นผู้ชาย ท่านบอกว่าท่านได้กำไรแล้ว คำว่ากำไรคงหมายถึงความดีเท่านั้น คำพูดของท่านคำนี้จึงไม่ลืมเลือนไปจากจิตใจของข้าพเจ้าตลอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้

เมื่อไปอยู่วัดป็นนาคแล้ว ก็ได้มีเพื่อนคนหนึ่งได้ตามไปเพื่อจะบวชเหมือนกัน เราก็ดีใจเพราะได้เพื่อน เมื่อเพื่อนไปเป็นนาคอยู่ด้วยกันได้ ๓ วันก็มีเรื่องให้แตกกัน เนื่องจากหลวงพี่สงฆ์ให้ไปช่วยงานที่บ้าน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ชวนให้ไปด้วยกันแกก็ไม่ไปตาม สุขเพราะความมีเพื่อนก็เลยหายไปอย่างง่าย ๆ แต่ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับครูบาอาจารย์แล้วก็ต้องไป คิดว่าไปไหนก็ต้องมีพระเป็นเพื่อน ไปหาพระก็ต้องมีพระเป็นเพื่อน ไปหาคนก็ต้องมีคนเป็นเพื่อน และไปช่วยสร้างพระอุโบสถที่ยังไม่แล้วเสร็จ ออกเดินทางประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่วัดเจริญราษฎร์บำรุง บ้านมาย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร มีทั้งหญิง ชาย คนหนุ่ม คนแก่ จำนวนมากช่วยงาน แต่อยู่ไปประมาณเดือนมีนาคม ครูบาอาจารย์อาจมองเห็นว่าจะมองว่าใกล้ไฟ มันร้อนใกล้ค้อนมันเจ็บ ท่านเลยลัดคิวบวชเป็นสามเณรให้

ท่านก็ได้จับบวชเป็นสามเณรที่โบสถ์น้ำ เรียกว่า อุทกุกเขปสีมา เป็นสามเณรจนกระทั่งเดือนเมษายนอุโบสถที่สร้างก็เสร็จ ทำพิธีพัทธสีมาแล้วทำพิธีบวช โดยมี พระมหาเถื่อน อุชุกโร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระลี ฐิตธัมโม เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระโง่น โสรโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลา ๐๙.๔๕ น. ณ วัดเจริญราษฎร์ เสร็จแล้วก็เดินทางกลับมาที่วัดตาลนิมิต อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ธรรมโอวาท

    พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ แสดงพระธรรมเทศนา เรื่องสุปฏิปันโน  ณ ศาลากาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ  วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๒

วันนี้ขออธิบายคำว่า สุปฏิปันโน คำว่า สุปฏิปันโน ก็คือ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ด้วยการเอากายและใจเป็นหลักของอรรถของธรรม ทำจิตใจให้ผ่องใส เมื่อใจผ่องใสหน้าตาก็ยิ้มแย้ม เบิกบาน ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว ไม่มืด ไม่มิด ไม่ปิดบังความรู้ความฉลาด เอากายเราเป็นหลักธรรมเพื่อศึกษาพิจารณาว่าธรรมะอยู่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร กายเป็นเพียง “หลักธรรม” ต่อเมื่อได้ลงมือฏิบัติจึงจะเป็น “ธรรม” จริง ๆ เรียกว่ามีปัญญามาปฏิบัติให้สมกับตน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ เอาฐานกายเป็นหลักในการกำหนด โดยมีอินทรีย์ทั้งห้า (อินทรีย์ทั้งห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา – deedi) ประกอบด้วย เริ่มต้นที่การมีสัทธินทรีย์ คือ เริ่มต้นด้วยการปลูกศรัทธาก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม ด้วยความเคารพ

กรรมฐาน คือ ฐานที่ตั้งแห่งความเพียร โดยดูที่กายและใจเป็นหลักปฏิบัติ เป็นหลักธรรม ตั้งใจทำความดีเพราะไม่มีใครที่อยากเป็นคนไม่ดี ไม่มีใครอยากทุกข์ อยากจน หรืออยากโง่ ทุกคนล้วนต้องการความเจริญรุ่งเรือง ต้องการเป็นคนดี ต้องการสุขสบาย และความสุขจะเกิดได้ก็เมื่อเรามีปัญญา เข้าใจในการปฏิบัติที่เรียกว่า “สุปฏิปันโน” นั่นเอง
ฝึกกายใจให้มีศีล

สุปฏิปันโน ต้องรู้ว่าการปฏิบัติดีเกิดขึ้นที่ไหน เรามีกายและใจเป็นต้นของหลักของธรรม จึงต้องฝึกหัด ประพฤติปฏิบัติกายและใจให้มี ศีล ขึ้นมา ลองพิจารณาดูว่าเรามี ศีลห้า หรือยัง และพยายามทำให้ศีลห้าเกิดให้ได้ ถ้ายังศีลห้าพร่องอยู่ ก็พยายามลดความบกพร่อง เพียรให้ศีลห้าสมบูรณ์ เพราะศีลเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เป็นคนดี ความดีนั้นจะเกิดได้ก็ต้องปฏิบัติ เพราะธรรมะเฉยๆ นั้น เป็นดุ้นๆ อยู่เฉยๆ เหมือนกับท่อนซุง และถ้ามีแต่กายและใจ ไม่นำมาใช้ก็แค่นั้น แต่ถ้าหากว่าเรานำกายและใจมาประพฤติปฏิบัติธรรม ทำให้มีศีลห้าเกิดขึ้นมา เราก็จะมีความสุขในครอบครัว ในบ้านเรือน ในหมู่คณะ จะเห็นว่าในหมู่ผู้มีศีลและธรรมก็จะร่มเย็นเป็นสุข สงบ เยือกเย็น อย่างนี้เรียกได้ว่า ปฏิบัติดีแล้ว ทางกายและทางใจ

อุชุปฏิปันโน คือ ผู้ปฏิบัติตรงแล้วต่อศีล ต่อธรรม มีความอดทน อดกลั้นทางกายทางใจ ไม่ขาดสติ ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ต้องภาวนา อย่างไรก็ตาม ศีล เพียงอย่างเดียวก็ไม่พอ ต้องทำใจให้สงบด้วยการภาวนา (สมถะภาวนา) เมื่อใจสงบ เยือกเย็นแล้ว ก็ต้องค้นหาสร้างปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) พิจารณาเหตุและปัจจัยแห่งความสุข ความทุกข์ พิจารณาโลกธรรมแปดทั้งด้านที่ปรารถนาและด้านที่ไม่ปรารถนา เอาสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาให้เป็นโลกุตตระ ทำตัวให้พร้อมในการปฏิบัติธรรม เพราะเมื่อทำปัจจุบันให้ดีแล้ว อดีตและอนาคตก็จะดีขึ้นมาเอง

บุญ นั่นแหละจะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า บุญ ก็คือ ความสุข คือ มี กาย วาจา และใจ ที่ดี มีปัญญา เฉลียวฉลาด สามารถรู้เหตุรู้ผล ทำการงานให้ชอบด้วยอรรถด้วยธรรม รู้เท่าทันว่าโลกียสุข หรือสุขที่เกิดจากลาภ ยศ สรรเสริญ นั้นไม่ถาวร รู้เท่าทันว่าสรรพสิ่ง คนสัตว์ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของใคร ใครก็สั่งไม่ได้ ใช้ วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้ได้พบกับความสุขที่แท้จริง ความสุขที่เที่ยงและยืนยาว ด้วยการประกอบความเพียรให้เป็นผู้มีปัญญา ต้องรู้จักเหตุแห่งสุขและเหตุแห่งทุกข์
เหตุแห่งความสุข ก็เกิดจาก กาย วาจา ใจ
เหตุแห่งความแก่ ก็เกิดจาก กาย วาจา ใจ
เหตุแห่งความตาย ก็เกิดจาก กาย วาจา ใจ

ต้องรู้เท่าทันว่า กายสังขาร นั้นเป็นของประจำโลก มีอยู่เป็นธรรมดา เมื่อรู้เช่นนี้จึงจะละได้ วางได้ ว่าเรามีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา มีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ให้ผล ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาเช่นนี้ จึงจะทำให้เข้าใจจริง ละจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน กายเราก็คือ ก้อนกิเลส ก้อนธรรมแท้ ๆ ที่จะนำให้เราฉลาด รู้ดี รู้ชั่ว ทำให้เรามีความสุข ความเจริญ รู้ว่ามีชาตินี้ ชาติหน้า รู้บาป รู้คุณ รู้โทษ ว่ามีจริง มีสติพิจารณากายให้เห็นแจ่มแจ้งชัดเจน

“เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เวทนาก็เกิดจากกายนี้

“จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” การรู้การเห็นในความเจริญ สุข ทุกข์ ดี ชั่ว รู้จักจิตที่เป็นอยู่ จะสุข – ทุกข์ –เสื่อม – เจริญ – ดี – ชั่ว – ทำดี – ละชั่ว อะไรทุกอย่างก็รู้ ถ้าเราไม่ทำชั่วก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เบียดเบียนตน ถ้าเราทำชั่วชาติหน้าเราก็จะเกิดมาไม่ดี พระพุทธองค์จึงสอนให้ปฏิบัติแต่กุศลธรรมและให้ละวางอกุศลธรรมเพื่อสร้างเหตุดีในอนาคต

กุศล คือ ความเฉลียวฉลาด นำสิ่งต่างๆ ที่เกิดกับกายใจมาศึกษาพิจารณา เกิดปัญญาแก้ปัญหาชีวิตตัวเองและปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์ได้ด้วย นั่นก็คือเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งศีลและทรงไว้ซึ่งธรรม นำความสุขมาให้ตัวเองและ สิ่งต่างๆ รอบตัว เรียกว่าเป็น สุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน เพื่อจะได้เลื่อนชั้นจาก มนุษยสมบัติ เป็น สวรรค์สมบัติ และเลื่อนจากสวรรค์สมบัติไปสู่ นิพพานสมบัติ ในที่สุด

พระพุทธองค์ได้ทรงทำตัวอย่างไว้ให้ดูแล้ว โดยทรงทำตัวอย่างการให้ทาน ไว้ในคราวที่ทรงเป็นพระเวสสันดร และทรงทำตัวอย่างการรักษาศีล ในพระชาติที่ทรงเป็นพญานาคภูริทัต

“ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” คือ รู้ธรรม เห็นธรรมแจ่มแจ้งชัดเจนได้ด้วยการพินิจพิจารณาจากจิตใจที่สงบสบายด้วยขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ สมาธิขั้นต้น – พจนากรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์) และอุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ – พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)

ปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วนี้ จึงจะนำความสุขความเจริญมาสู่พวกเราได้ จึงขอให้นำธรรมนี้ไปพิจารณา ปฏิบัติให้เกิดศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แล้วจะได้พบความสุขอย่างพระอริยเจ้าทั้งหลาย

[/ultimate_modal]
หลวงตาสรวง สิริปุญโญ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงตาสรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงตาสรวง สิริปุญ องค์ท่านถือกำเนิด ในสกุล “ลุล่วง” ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี

(ปัจจุบันคือ ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร) มีพี่น้อง ๖ คน โดยมีหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นพระพี่ชาย สมัยที่ท่านยังเป็นเด็กมารดาของท่านมักพาไปทำบุญที่วัดป่าศรีฐานในอยู่เสมอ วัดศรีฐานในนี้หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร ลูกศิษย์ของหลวงปู่เสาร์เป็นผู้มาสร้างขึ้น ปีที่องค์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พาพระสงฆ์มาวิเวกปักกลดในป่า ภายในวัดป่าศรีฐานในนั้น เป็นช่วงที่หลวงตาสรวง ท่านเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ (ตำแหน่งที่หลวงปู่เสาร์ มาปักกลดปัจจุบันอยู่บริเวณกุฏิหลังเก่าของหลวงตาสรวงนั่นเอง) ท่านได้ติดตามโยมแม่ มาถวายภัตตาหารหลวงปู่เสาร์ และยังได้มีโอกาสล้างเท้าหลวงปู่เสาร์ ประเคนอาหาร ล้างกระโถนให้ท่านและได้ก้นบาตรไปกินที่โรงเรียนอีกด้วย เมื่อหลวงปู่เสาร์ อำลาบ้านศรฐาน ไปวัดดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี พี่ชายท่านหลวงตาพวง ซึ่งตอนนั้นเรียนจบแล้ว ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่เสาร์ไปด้วยกันกับหลวงปู่สอ สุมังคโล ส่วนที่วัดศรีฐานใน ภายหลังหลวงปู่ดี ฉันโน ศิษย์เอกของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ได้มาเป็นเจ้าอาวาส ทำให้หลวงตาสรวง เมื่อครั้นยังเป็นเด็กได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระกัมมัฏฐาน และเป็นการปลูกฝังนิสัยในทา พระพุทธศาสนาเพิ่มเติมขึ้นไปอีก

หลวงตาสรวง ท่านอุปสมบท เมื่ออายุ ๒๓ ปี ตรงกับวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ณ วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร โดยมี พระครูพิศาลศีลคุณ(หลวงปู่โฮม วิสาโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่บุญสิงห์ สีหนาโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่คำสิงห์ อาภาโส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพุทธศาสนาว่า “สิริปุญโญ”

แปลว่า “ผู้มีบุญอันประเสริฐ” ภายหลังจากบวชแล้ว ได้ไปศึกษาธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์หลาย ๆ รูป
เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร , หลวงปู่ชอบ ฐานสโม , หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น

“..กรรมฐาน ๕ พระอุปัชฌาย์ให้แล้วตั้งแต่วันบวช ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้พิจารณา ให้จิตมันเบื่อหน่ายกาย
มันถึงจะได้ไม่มาเกิดอีก ถ้าไม่เบื่อมันก็มาเกิดอีก ถ้าเกิดอีกก็แสดงว่ายังมีบาปยังมีบุญ…”

มรณภาพ หลวงตาสรวง สิริปุญโญ ได้ละสังขารแล้วด้วยอาการสงบเมื่อเช้ามืดของวันนี้ เมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ นาฬิกา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ กุฏิภายในวัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร สิริอายุ ๘๖ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน พรรษา ๖๔

โอวาทธรรม

ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร

ช่วงที่อยู่ที่ถ้ำขามนั้น พระอาจารย์สรวงท่านเล่าว่า เสือมันร้องอยู่ตลอด ทำให้จิตไม่ค่อยเป็นสมาธิ เพราะกลัวเสือวันหนึ่งหลังสรงน้ำหลวงปู่ฝั้น เสร็จก็ไปนวดเส้นท่าน หลวงปู่ฝั้น ถามว่า “ท่านภาวนากันยังไง ภาวนาแบบไหนไม่มีพุทโธ ระวังพวกช้างพวกเสือจะมาคาบไปกินหล่ะ” พอหลวงปู่ฝั้น พูดเสร็จ ก็ยิ่งทำให้ท่านเกิดความกลัวยิ่งขึ้น หลวงปู่ฝั้นจึงบอกว่า “ขยับมานี่ จะบอกคาถาลี้ช้างลี้เสือให้” จากนั้นหลวงปู่ฝั้น ก็มาจับที่มือ ตอนที่เราประนมมือไหว้อยู่ ชี้ลงที่กลางหน้าอกและบอกว่า “ให้เอาจิตจี้ลงไปตรงนี้ จี้ลงไปลึก ๆ อย่าให้มันออกไปที่อื่น ให้มันเข้าไปที่โครงกระดูกลึก ๆ โน่น ให้ทำทุกวัน อย่าให้มันส่งออกไปที่อื่น”จากนั้นจึงได้ทำตามคำสอนของหลวงปู่ฝั้น พอกลับไปที่กุฏิก็ได้ยินเสียงเสือมันร้องอีก ก็เลยกำหนดตามคำสอน เอาจิตจดจ่อไปที่กลางอกเข้าไปที่กลางกระดูก พอจิตสงบก็เห็นโครงกระดูกทั้งร่าง ภาวนาต่อไปจนจิตมันสงบ มารู้ตัวอีกทีก็เช้าแล้ว พระอาจารย์สรวง ท่านเล่าว่า “พอจิตมันเข้าไปอยู่ที่ตรงนั้นแล้วมันมีอำนาจมาก ไม่รู้สึกกลัวช้างกลัวเสือเลย มีแต่ความกล้าหาญ หากเราเคยทำกรรมกับมันไว้ก็ขอให้เสือมันกินเลย จะได้หมดเวรหมดกรรม” นี่แหละ หลังจากนั้นก็ไม่กลัวช้างกลัวเสืออีกเลย

ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่วัดป่าเขารัง จ.อุดรธานี

ช่วงที่จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี ได้มีโอกาสอุปัฏฐากรับใช้องค์ท่านด้วย ในพรรษานี้พระอาจารย์สรวง ท่านได้ถือเนสันชิก คือถืออริยบท ๓ ยืน เดิน และนั่ง ไม่เอนกายนอนตลอดไตรมาส หลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็ต้องการทดสอบ ว่าจะมีความตั้งใจมากน้อยแค่ไหน วันหนึ่งได้ไปนวดจับเส้นที่เท้าหลวงปู่มหาบุญมี ขณะที่นวด ๆ อยู่ก็รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน และไม่รู้สึกตัว หลับฟุบคาขาของท่าน หลวงปู่มหาบุญมี ก็เลยใช้เท้าถีบยันพระอาจารย์สรวง ติดฝาผนังกุฏิ พอหลวงตาสรวงรู้สึกตัวก็ค่อย ๆ คลานเข้าไปจับเส้นที่เท้าต่อ พอเริ่มหลับก็โดนถีบอีกนับไปนับมาคืนนั้นโดนยันไป ๓ รอบ ต่อจากนั้น หลวงปู่มหาบุญมีก็ลุกขึ้นไปเดินจงกรม พระอาจารย์สรวง เห็นดังนั้นจึงลุกขึ้นไปเดินจงกรมเช่นกัน เมื่ออาจารย์ท่านเนจงกรมไม่หยุด ลูกศิษย์ก็ต้องเดินต่อทั้งง่วง ๆ อย่างนั้นแหละ เดินจนสว่าง หลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็สะพายบาตรไปที่ศษลา พระอาจารย์สรวง ก็เตรียมหาน้ำไปถวายหลวงปู่ ล้างหน้าบ้วนปาก และทำข้อวัตรตามปกติ หลวงปู่มหาบุญมี ได้ถาม พระอาจารย์สรวงว่า “เป็นอย่างไร กิเลสตัวใหญ่มั้ย มันตัวใหญ่ขนาดไหนนะกิเลส” พระอาจารย์สรวง ตอบว่า “ไม่ได้มีอะไรครับหลวงปู่ ดีแล้ที่หลวงปู่ตักเตือนให้ ทำให้มีสติขึ้นมาพอสมควรครับ” ถ้าเป็นพระรูปอื่นโดนแบบนี้คงหนีหายไปเลย หรือไม่ก็โกรธเคืองครูบาอาจารย์เป็นอย่างมาก แต่สำหรับพระอาจารย์สรวง ท่านกลับขอบพระคุณในความเมตตาของหลวงปู่มหาบุญมี ที่ให้ข้อคิด และทำให้ท่านสามารถตั้งฐานตั้งตัวนี้ให้มั่นคงในการประพฤติปฏิบัติต่อไปได้

ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดเลย

คืนหนึ่งท่านได้จับเส้นถวายหลวงปู่ชอบ หลวงปู่จึงถามถึงการทำความเพียรว่า “เอาจิตไว้ที่ไหน”
จึงกราบเรียนท่านไปว่า “หลวงปู่ฝั้น บอกให้ดูที่อก เอาไว้ในโครงกระดูกข้างใน กระผมจึงดูที่หัวใจตั้งแต่นั้นมา” หลวงปู่ชอบพูดว่า “เออดี ให้ทำอยู่ทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจเข้าออก ขอให้เร่งเร็ว ๆ ให้เดินหน้า อย่าถอยหลังนะ” พอจับเส้นเสร็จก็ออกจากกุฏิท่าน ไปเดินจงกรมต่อ ซึ่งทางจงกรมอยู่ไม่ไกลจากกุฏิหลวงปู่ชอบมากนัก สักครู่ได้มองเห็นแสงสว่างเจิดจ้าสว่างไสววยพุ่งสู่ท้องฟ้าทางด้านกุฏิหลวงปู่ชอบอยู่ที่เนินสูงๆ อีกสักครู่ได้ยินเสียงชาวบ้านตื่นตระหนกตกใจ พากันวิ่งกรูพร้อมถือถังน้ำ ร้องเรียกไฟไหม้ ๆ กุฏิหลวงปู่ชอบ พอไปถึงกุฏิ หลวงปู่ชอบท่านออกจากสมาธิ แล้วบอกลูกหลานชาวบ้านว่า “พากันมาทำไม ไม่เห็นมีไฟไหม้ที่ไหน แสงไฟอันนี้ไม่มีพิษภัยกับใคร เป็นแสงศีลแสงธรรมนั่นเอง การที่เกิดเป็นแสงรัศมีโชติช่วง ในบริเวณกุฏินั้นเป็นเพราะอานิสงส์จากการภาวนานั่นเอง

เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เวลาประมาณตี ๔ ตี ๕ ขณะที่หลวงตาสรวง ท่านกำลังพักอยู่ภายในกุฏิได้มีเทวบุตร เทวธิดา จำนวนมากมายมหาศาล ลอยผ่านมาทางอากาศ เมื่อผ่านมาทางวัดศรีฐานใน ก็ลงมากราบนมัสการท่าน แล้วลอยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อไปทางจังหวัดมุกดาหาร เป็นจำนวนมากเต็มท้องฟ้า มีเทวดาเป็นหมื่นเป็นแสนลอยอยู่เต็มท้องฟ้าเลย พอช่วงเช้า เวลาฉันจังหัน หลวงตาสรวง จึงได้เล่าเหตุการณ์นี้ให้พระสงฆ์ที่วัดฟัง เรื่องเห็นเทวดาจำนวนมากลอยอยู่บนอากาศ พอเมื่อเวลาสาย ๆ ใกล้ ๆ เที่ยง พระที่วัดจึงมากราบเรียนว่า มีโยมโทรศัพท์มาแจ้งว่า “หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ท่านละสังขารลงเมื่อเวลา ๐๙.๐๙ น. ช่วงเช้าวันนี้เอง (วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖)” หลวงตาสรวง ท่านจึงพูดว่า “มิน่าถึงได้เห็นเทวดามาจำนวนมากมายมหาศาลลอยมาทั่วทุกทิศทุกทาง ที่แท้ก็เพื่อไปรอรับหลวงปู่จาม เรานี่เอง” หลวงตาสรวง สิริปุญโญ ได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ ณ กุฏิภายในวัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๐ เมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ นาฬิกา สิริอายุ ๘๖ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน พรรษา ๖๔ ลูกหลานขอกราบน้อมส่งหลวงตาสรวง สิริปุญฺโญ สู่แดนพระนิพพาน ธรรมอันใดที่ท่านได้รู้ได้เห็นธรรมอันประเสริฐดีแล้ว ขอลูกหลานได้รู้ธรรมเห็นธรรมนั้นด้วยเทอญ

“ถ้าความเพียรของเรากล้า มันเผาได้หมดทุกอย่าง เผากิเลสได้หมด เผาความโลภ ความโกรธ ความหลงออกจากหัวใจของสัตว์โลก เผาได้หมดทุกอย่าง ในร่างกายของเรานี้อะไรจะมาขวางไม่ได้ จะมาปิดบังไม่ได้”

[/ultimate_modal]
หลวงพ่อคำพอง ขันติโก_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อคำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน อำเภอเมือง จังหวัดเลย” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

       หลวงพ่อคำพอง ขันติโก แห่งวัดป่าอัมพวัน  เกิดในสกุลแสงจันทร์ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่บ้านชนบท ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โยมบิดา-มารดา ชื่อนายภูและนางทองมาก แสง  จันทร์ อายุ ๑๙ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชา ณ พัทธสีมาวัดป่าธรรมวิเวก โดยมีพระครูศีลสังวราภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์  หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว ได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าธรรมวิเวก จนอายุครบ ๒๑ ปี ถึงวัยต้องถูกคัดเลือกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ปรากฏว่านายคำพองจับได้ใบดำ ไม่ต้องเป็นทหาร หลวงพ่อคำพอง บวชเป็นพระภิกษุสายธรรมยุต ได้ยึดหลักการในการปฏิบัติตนตามแบบอย่างหลวงปู่เสาร์ วัดเรียบ จังหวัดอุบลราชธานี

แนวปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ คือ การอยู่คนเดียวให้รักษาจิต อยู่กลางมิตรให้รักษาวาจา และยึดถือแนวปฏิบัติของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นแนวปฏิบัติมาตั้งแต่ท่านบวช และออกธุดงค์มาโดยตลอด เมื่อครั้งออกธุดงควัตรในครั้งหนึ่ง หลวงพ่อคำพองได้นิมิตว่าได้นั่งบนธรรมาสน์ใหญ่ เทศนาให้พระเถระฟัง จึงได้ตั้งอธิษฐานเอาไว้ตั้งแต่บัดนั้นว่า จะครองตนในเพศบรรพชิตตลอดชีวิต

ในการออกธุดงค์ของหลวงพ่อคำพอง ได้ท่องธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือบางครั้งข้ามไปประเทศพม่าและลาวในช่วงแรกจะอยู่ในภาคเหนือ ช่วงที่อยู่ภาคเหนือ หลวงพ่อคำพอง เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจริญธรรม อ.สันป่าตอง, วัดห้วยน้ำริน อ.แม่ริน, วัดสันติบถ อ.แม่แตง, วัดช่อแฮ อ.แม่แตง, วัดสระหลวง อ.แม่ริน, วัดผาเด้น อ.แม่ริม เป็นต้น ในส่วนของภาคอีสาน ก่อนที่จะมาอยู่จำพรรษาที่ จ.เลย เมื่อออกจากทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่หลวงพ่อคำพองจะอยู่ที่เชียงใหม่และลำปางก่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ทางภาคกลางระยะหนึ่งและเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนม สกลนคร รวมทั้ง ยังเคยไปจำพรรษาอยู่ที่วัดของหลวงปู่มั่นและอีกหลายวัดในภาคอีสาน

หลวงพ่อคำพองรู้จักและสนิทสนมกับหลวงปู่ซามาอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน บ้านไร่ม่วง อ.เมืองเลย ปัจจุบันท่านมรณภาพไปนานแล้ว ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อคำพอง พร้อมด้วยหลวงปู่ซามา ได้พากันเดินทางไปที่วัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อปฏิบัติและศึกษาธรรมกับหลวงปู่แหวน ต่อมา ได้พากันเดินทางกลับ จ.เลย หลวงปู่แหวน ได้มอบเงินมา ๔๐๐ บาท ให้มาแบ่งเป็นค่ารถคนละ ๒๐๐ บาท เพื่อเดินทางกลับ จ.เลย แต่หลวงพ่อคำพอง เดินทางท่องธุดงควัตรต่อไปในภาคกลางไม่ได้กลับจ.เลยพร้อมกับหลวงปู่ซามา ภายหลังหลวงปู่ซามา มรณภาพลง ญาติโยมที่บ้านไร่ม่วงและพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเลย ได้นิมนต์หลวงพ่อคำพอง ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ ตราบจนถึงปัจจุบัน ตามที่หลวงปู่ซามาได้ฝากฝังเอาไว้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ

หลวงพ่อคำพอง เป็นพระนักปฏิบัติรูปหนึ่ง แม้ชื่อเสียงจะไม่โด่งดัง ด้วยความเป็นพระที่มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายและสงบแต่หลวงพ่อคำพอง เป็นพระเถระที่พุทธศาสนิกชนชาวเมืองเลย ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาโดยตลอด

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงปู่คำพอง มรณภาพด้วยโรคอัมพฤกษ์และโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐

โอวาทธรรม

       “ภาวนาทุกลมหายใจ นึกเมื่อไหร่ทำเมื่อนั้น ทำได้ไม่จำกัดเวลาทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ภาวนาแล้วจะเห็นได้ในสิ่งที่ไม่เคยเห็น”

“ มันสำคัญนะ บางทีบารมีผู้หญิงแก่กว่าผู้ชายก็มี ถ้าทำถูกทาง ทำไม่ถูกก็อย่างว่าละ บารมีบุญกุศลมันฝังในใจลึก กว่าจะสว่างขึ้นมามันยากอยู่ ถ้าได้ฟังเทศน์ฟังธรรมถูกจุดอย่างกับตะไล หรือเปิดเทปวิทยุนี่ละ เปิดมันก็ดังขึ้นกรรมมันปิดไว้ เหมือนอย่างบุญกุศล มันมีกิเลสปิดบัง กิเลสมาจากไหน ว่าจากอายตนะหก ภายนอกหก ภายในหก นี่ละปิดบัง ต่อมานิวรณ์ห้ามาครอบงำอีกเลยหนาแน่น อนุสัยก็หนาเข้าๆ ปิดบังเหมือนเขม่าปิดบังตะเกียงเจ้าพายุ มันไม่สว่าง เหมือนราหูปิดบังพระจันทร์นั่นละหากราหูออกไป พระจันทร์ก็สว่างแจ้งเลยอันนี้ก็เหมือนกัน จิตใจมันประมาทไม่ได้ ประมาทกันไม่ได้ อย่างคนทุกข์ คนจน พอได้ดีแล้ว โอ้ ดูหน้าไม่ได้ อายเขาไปดูหมิ่นเขาไว้นะนี่ละคนชั่วเขาจึงว่า ทำบาปก็ได้บุญดี ทำบุญก็ได้บุญดี นี่ละคนชั่วมันไม่รู้จักเหตุรู้จักผล พระเทศน์ว่าให้ทำดี มันว่าอ้าวทำดีก็ทำอยู่แต่ทำชั่วก็ให้ผลดีเหมือนกัน มันอ้างว่าอย่างนั้นนะพวกขี้เหล้า”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ _result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ พระปีเตอร์ จอห์น มอร์แกน (Peter J. Morgan) วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    “หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ” ท่านเป็นชาวอังกฤษ มีนามเดิมว่า ปีเตอร์ จอห์น มอร์แกน (Peter J. Morgan) ท่านเป็นพระฝรั่งรูปแรกที่เป็นศิษย์พระป่ากรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โดยเป็นศิษย์ของ “พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)” แห่งวัดป่าบ้านตาด และเป็นสัทธิวิหาริกของ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)” แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร อีกทั้งยังเป็นพระอริยเจ้าที่เป็นฝรั่งรูปแรกที่บรรลุธรรมในประเทศไทย ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ศึกษาในทางพระพุทธศาสนา ค้นคว้าพระไตรปิฎก ท่องเที่ยวรอนแรมไปในหลายประเทศที่มีพระพุทธศาสนาหยั่งรากฝังลึก เช่น ประเทศเนปาล ศรีลังกา พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะประเทศอินเดียอันเป็นแผ่นดินต้นแบบ ท่านพยายามศึกษาค้นคว้าวิจารณ์วิจัยธรรมเรื่อยมา เมื่อทราบข่าวว่าประเทศใดมีพระภิกษุที่บรรลุธรรมตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็จะเดินทางไปถวายตัวเป็นศิษย์ทันที เพื่อแสวงหาสันติบท (ทางไปพระนิพพาน)

นอกจากนี้แล้วท่านยังมีศีลาจริยวัตรอันงดงาม มีความเพียรเป็นเลิศ และเป็นผู้แปลหนังสือธรรมะของพ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ชาวต่างชาติเกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใส หันมาให้ความสนใจในพระพุทธศาสนา และเข้ามาศึกษาข้อวัตรปฏิปทาตามรอยพระอริยเจ้าในประเทศไทยอย่างมากมาย

ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๘ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ณ ประเทศอินเดีย ในเหมืองทองโคลาร์ รัฐไมซอร์ (ปัจจุบันเรียกว่า การ์นาตากะ) ภาคใต้ของอินเดีย ที่อยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ตำบลบริน อำเภอแลนเนลี กรุงลอนดอน เป็นบุตรของ นายจอห์น วัตคิน มอร์แกน (J. W. Morgan) และ นางไวโอเลต แมรี่ มอร์แกน (V. M. Morgan) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน ชาย ๒ คน หญิง ๑ คน ท่านเป็นบุตรคนโต วิทยฐานะจบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากฟาราเดย์เฮาส์ วิทยาลัยเทคนิคในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีอาชีพเป็นวิศวกรไฟฟ้า ท่านใช้ชีวิตเป็นฆราวาสอยู่ ๓๐ ปี
โดยไม่แต่งงาน

เมื่ออายุได้ ๓๐ ปี ด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านจึงตัดสินใจเข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ณ พุทธวิหาร กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาสร้างไว้) โดยมี พระกปิลวัฑโฒภิกขุ (ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวศรีลังกา แต่อุปสมบทในประเทศไทย) เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่ออายุได้ ๓๑ ปี พระกปิลวัฑโฒภิกขุ พระอุปัชฌาย์ในคราวบรรพชาเป็นสามเณร ได้พาท่านเข้ามาในประเทศไทย แล้วได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๙ โดยมี พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์และศึกษาวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อสดอยู่ระยะหนึ่งจนเป็นที่กระจ่าง ในเดือนกรกฎาคมปีนั้นเอง ท่านได้เดินทางกลับประเทศอังกฤษ พักจำพรรษาอยู่ ณ พุทธวิหาร กรุงลอนดอน เป็นเวลากว่า ๕ ปี

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ ได้กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ได้พักจำพรรษาอยู่ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในความดูแลของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๖ ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาข้อวัตรปฏิบัติในสำนักวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นครั้งแรก ในความดูแลของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เกิดความเลื่อมใสในมรรคปฏิปทาเป็นอย่างยิ่ง มองเห็นช่องทางที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ได้ จึงถวายตัวเป็นศิษย์และอยู่จำพรรษาเรื่อยมา

อายุ ๓๙ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทครั้งที่ ๒ ในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ด้วยวิธีทัฬหีกรรม (คือทำการอุปสมบทซ้ำโดยไม่ต้องลาสิกขาไปเป็นฆราวาสก่อน) เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๘ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพญาณกวี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ปญฺญาวฑฺโฒ” ซึ่งแปลว่า “ผู้เจริญด้วยปัญญา” ฉะนั้น ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์ลูกหาทั่วไปจึงได้เรียกชื่อท่านสั้นๆ ว่า “ปัญญาๆ”ตั้งแต่นั้นมา (ท่านอุปสมบทพร้อมกันกับ พระอาจารย์เชอร์รี่ อภิเจโต แห่งวัดป่าบ้านตาด)

พระฝรั่งรูปแรกที่บรรลุธรรมในประเทศไทย  หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ท่านมีอุปนิสัยสุขุม ละมุนละไม เป็นกันเอง สนทนาธรรมรสกลมกล่อมหนักในโยนิโสมนสิการธรรม ไหวพริบดี เป็นที่ไว้วางใจของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้มีความเพียรสม่ำเสมอ อิริยาบถสมาธิภาวนาที่ท่านนิยมมากที่สุดคือ การเดินจงกรม วันหนึ่งๆ ในชีวิตนักบวชผู้ประพฤติพรหมจรรย์ของท่านผ่านไปด้วยการเดินจงกรม ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ท่านจึงได้รับการยกย่องจากองค์หลวงตามหาบัวว่า “สุขุม ฉลาด ไม่มีที่ต้องติ บรรลุธรรมในปี ๒๕๔๐”

พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน บางตอนเมื่อค่ำของวันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ณ สวนแสงธรรม เขตบางแค กรุงเทพมหานคร กล่าวถึง หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ ว่า

    “…ท่านปัญญาทำประโยชน์ให้วัดนี้มาก ท่านปัญญาเป็นพระชาวอังกฤษ ขอมาอยู่ที่วัดนี้ถึง ๕ หน หนที่ ๕ เราถึงได้รับไว้ ท่านมาอยู่ตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ จนกระทั่งป่านนี้เป็น ๔๑ ปี ท่านทำประโยชน์ให้ท่านก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำประโยชน์ให้โลกเฉพาะอย่างยิ่งในวัดป่าบ้านตาด ท่านทำประโยชน์ให้วัดนี้มากมายก่ายกองทีเดียว นี่ละพระชาวอังกฤษ ท่านมาอยู่ที่นี่แล้วก็เป็นกำลังให้บรรดาเมืองนอกเมืองนาที่เข้ามาได้ติดต่อกับท่าน เป็นกำลังใจจากท่านอยู่ตลอดทีเดียว ท่านให้อุบายวิธีการต่างๆ บรรดาพระที่มาจากต่างประเทศได้อาศัยท่านปัญญาเป็นแนวทางเดิน สำหรับเรานั้นนานๆ จะมีทีหนึ่ง ท่านปัญญาเป็นพื้นฐานที่จะเชื่อมโยงถึงบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่มาจากเมืองนอก ได้เข้ามาอาศัยท่าน เวลานี้พระต่างชาติเข้ามาอยู่ที่นี่มากมายก็ได้อาศัยท่านปัญญานั่นแหละ

ท่านปัญญาได้ทำประโยชน์ให้วัดป่าบ้านตาดมากมายนะ ทำให้มากจริงๆ ไม่ใช่ธรรมดา เพราะเป็นช่าง เป็นช่างได้ทุกแบบท่านปัญญา ถามตรงไหนไม่มีอั้นเลย ไม่ว่าเครื่องยนต์กลไกอะไรทำเป็นหมด รถไฟ เรือเหาะเรือบิน ทำเป็นหมด จนกระทั่งจรวดดาวเทียม เราถามว่าทำได้ไหม ทำได้ท่านว่า แต่ว่าสิ่งเหล่านี้คนต้องจำนวนมากมายที่จะทำ คนเดียวทำไม่สำเร็จ ท่านก็มีทางออกของท่าน เราถามไปตรงไหนนี้ไม่มีอัดมีอั้นนะ ท่านรู้หมด เขาเรียกว่าวิศวปรมาณูหรืออะไร เพราะฉะนั้นท่านจึงเก่งทุกด้านทุกทาง แม้ที่สุดรถยนต์เข้าไปในวัด ไปตายอยู่ในวัด ท่านก็แก้ให้ รถเข้าไปในวัด ไปตายในวัดออกไม่ได้ ท่านก็แก้ได้ ไล่ออกจากวัดไป ท่านเก่งหมดเรื่องนาฬิกงนาฬิกา พวกเทปพวกวิทยุเหล่านี้ทำเป็นหมด อยู่ในวัดท่านแก้ให้ทั้งนั้น ท่านเก่งมากทุกอย่าง ก่อสร้างอะไรมีแต่อุบายสติปัญญาของท่านปัญญา ท่านปัญญาวางรอยมือไว้หมดเลย จึงว่าท่านเป็นผู้มีบุญมีคุณต่อวัดมาก

เวลาท่านดับจิตก็สงบเงียบไป ว่างั้น นี่สมชื่อสมนามกับพระปฏิบัติดูจิตของตัวเอง ท่านปัญญาก็ดีอยู่ไม่มีที่ต้องติ เวลาจะดับก็ไปด้วยความสงบเงียบเลย…พอสิ้นลมพระก็โทรมาเลย เราก็ทราบแล้วอย่างนี้ เราได้สั่งไว้หมดแล้วไม่มีปัญหาอะไร ให้จัดโดยสมบูรณ์ตามที่เราสั่งไว้แล้ว เวลาเรากลับไปก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่เราจะพาดำเนิน

ท่านได้หลักใจจริงๆ แหละท่านปัญญา…จากพุทธศาสนาไม่สงสัย ถึงขนาดท่านยังพูดเอง พูดแบบไม่ลำเอียงให้เราฟังต่อปากต่อคำกัน ว่าท่านเสียดาย ท่านว่าอย่างนั้นนะ ถ้าพูดถึงเรื่องทางความฉลาดแล้วยกให้ว่าฝรั่งนี้ฉลาด แต่ทางธรรมนี้ฝรั่งโง่ ว่างั้นนะ คือพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาที่เลิศเลอ พวกฝรั่งไม่ค่อยเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงว่าดีอันหนึ่ง ก็มาเสียอันหนึ่ง แล้วท่านก็ฉลาดดีนะ อันนี้มันก็คงเป็นกรรมของสัตว์ แน่ะท่านว่า น่าฟังนะท่านพูด คือทางฉลาด ฉลาดไปทางโลกทางสงสาร ทางวัฏวนเสีย ให้ฉลาดมาทางธรรมนี้ไม่ฉลาด โง่เสียตอนนี้ จากนั้นท่านก็สรุปว่าคงเป็นกรรมของสัตว์นั้นแหละ ท่านว่า มันก็ถูกต้องหมดใช่ไหมล่ะ

เราจะถือเรื่องความฉลาดภายนอกมาวัดไม่ได้นะเรื่องธรรม ธรรมเป็นอันหนึ่ง กิเลสเป็นอันหนึ่งต่างหาก ท่านพูดเองนะ ท่านเสียดายอยากให้ฝรั่งที่ว่าฉลาด ๆ หันเข้ามาปฏิบัติทางพุทธศาสนา ทางด้านจิตตภาวนาบ้าง แล้วฝรั่งจะทำประโยชน์ได้มากมายทีเดียว ว่างั้นนะ ถูกต้อง แต่นี้มันก็เป็นอย่างว่านั่นแหละ มันไม่มาสนใจเสีย โง่ไปทางหนึ่งเสีย แล้วท่านก็สรุปว่า อันนี้ก็คงเป็นกรรมของสัตว์นั้นแหละ เราก็หมดท่า ท่านพูดฉลาดดีนะ ท่านปัญญาท่านพูดฉลาดดี

ท่านสุขุมมากท่านปัญญา ไม่มีที่ต้องติ ตั้งแต่วันมาอยู่กับเราไม่เคยได้ดุเลยนะ ไม่มี เรียบ สุขุมมาโดยตลอด ฉลาดมาตลอด พวกชาวเมืองนอกมาก็อาศัยท่านชี้แนะๆ พอท่านเสียไปก็จะเสียประโยขน์ไปทางหนึ่งเหมือนกัน อายุท่าน ๗๙ เกือบ ๘๐ นะ”

มรณภาพ

    หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ ท่านได้ละสังขารเข้าสู่แดนบรมสุขอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อวันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗ เวลา ๘.๓๐ น. ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีวอก ภายในกุฏิ ณ วัดป่าบ้านตาด สิริอายุรวมได้ ๗๘ ปี ๑๐ เดือนพอดี นับเป็นวันได้ ๒๘,๗๙๑ วัน อุปสมบทได้ ๘ พรรษาในมหานิกาย และ ๓๘ พรรษาในธรรมยุติกนิกาย รวมเวลาที่ได้พำนักอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด เป็นเวลา ๔๑ ปี (นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๖) หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มานาน แต่เนื่องจากท่านเป็นพระปฏิบัติสายวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงไม่ประสงค์ที่จะรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ จนทางโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีต้องส่งคณะแพทย์ พยาบาล มาคอยดูแลและให้คำแนะนำท่านในเรื่องนี้ และเนื่องด้วยหลวงปู่ปัญญาท่านประสงค์จะปฏิบัติกิจของสงฆ์ตามปกติ จึงทำให้อาการลุกลามของมะเร็ง ๒ จุดลามเข้าไปในตับ ต้องรับการตรวจ ดังนั้น เมื่อต้นเดือนสิงหาคมท่านจึงได้เข้าพักรักษาตัว ณ โรงพยาบาลศูนย์อุดร ๑ คืน และขอกลับไปที่วัดเอง จากนั้นในวันที่ ๙ – ๑๒ สิงหาคม ก็ต้องมารับการตรวจอีก คณะแพทย์ได้รับอนุญาตให้ทำได้เพียงให้ออกซิเจน และท่านก็ขอกลับไปที่วัด ซึ่งคณะแพทย์ก็ตามไปดูแลกระทั่งท่านละสังขารไปในที่สุด

[/ultimate_modal]
หลวงปู่อุทัย สิรินธโร_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่อุทัย สิรินธโร วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    หลวงพ่ออุทัย สิริธโร มีนามเดิมว่า นายอุทัย บุญทศ ซึ่งเป็นนามสกุลฝ่ายโยมคุณยาย ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙ ณ บ้านหนองบก ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จังหวัดยโสธร) โยมบิดาชื่อ นายเสาร์ กาประจง โยมมารดาชื่อ นางพันธ์ บุญทศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนโต คนรองเป็นชาย และคนสุดท้องเป็นหญิง

การศึกษาท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ นับว่าสูงสุดในชนบทสมัยนั้น เมื่อเรียนจบแล้ว ท่านออกมาทำงานช่วยโยมบิดา – มารดา เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นต้น กระทั่งอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ วัดสำราญนิเวศ ตำบลปุ่ง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จังหวัดอำนาจเจริญ) โดยมี พระครูทัศนประกาศ (บุ จนฺทสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระใบฎีกาอ่อน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สิริธโร” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งศิริ (ศรี)

ครั้นเมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าบ้านหนองบก บ้านหนองบก ต.ป่าหนองบก อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ซึ่งเป็นวัดสาขาของวัดป่าหนองไคร้ ของ หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก เป็นเวลา ๓ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๑) แล้วออกแสวงหาครูบาอาจารย์ โดยมาพักปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร และหลวงปู่แว่น ธนปาโล ณ วัดสันติสังฆาราม บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร เป็นเวลา ๒ พรรษา (พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๓) จากนั้นท่านมาพักปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และวัดป่าอุดมสมพร บ้านนาหัวช้าง ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนกระทั่งหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านได้ละสังขารลงเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐

หลังจากนั้นหลวงพ่ออุทัยได้ปลีกวิเวกมาพักจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำพระภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย (ซึ่งเป็นที่ปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร มาก่อน กระทั่งตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์จวบจนมาถึงปัจจุบัน)

เมื่อครั้นเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่ออุทัยก็จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระภูวัว ร่วมกับหลวงปู่เสถียร คุณวโร เรื่อยมา

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ได้แสดงธรรมเทศนากล่าวยกย่อง หลวงพ่ออุทัย สิริธโร ไว้เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ มีความตอนหนึ่งว่า

(หลวงตาท่านมองไปที่รูปครูบาอาจารย์เพชรน้ำหนึ่ง) “…นั่นองค์หนึ่งพระภาวนา ชื่อเสถียร ท่านเป็นคนอุดรแล้วท่านไปภาวนาอยู่ทางเขตต่อพม่า เมืองไทย-พม่าเขตต่อ นี่สำคัญมากนะ ชื่อเสถียร บ้านเดิมท่านอยู่อุดร พาพ่อพาแม่ไปอยู่ทางนู้น มีที่สะดวกสบาย การทำมาหาเลี้ยงชีพก็สะดวก ทุกอย่างสงบสงัดทั้งด้านธรรมทั้งด้านโลก ท่านเลยชวนพ่อแม่ท่านไป ท่านเข้าท่าอยู่นะ แล้วได้ประโยชน์ ทางนู้นชื่อเสถียร นู่นอาจารย์ชา ท่านบุญมีท่านอุทัย ท่านวันชัย หลวงพ่อตัน ท่านปัญญา นี่เพชรน้ำหนึ่งมีหลายองค์นะนี่ ท่านสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นสมัยครั้งพุทธกาลเป็นพระอรหันต์ ทุกวันนี่เทวทัตมันขวางหูขวางใจ ว่าอรหันต์ไม่ได้ เทวทัต คือพระที่ท่านจะรู้กันต้องเป็นนักภาวนาด้วยกัน ได้สนทนากันในวงภายในๆ รู้กันแต่ว่าภายใน นอกนั้นไปท่านเหมือนไม่รู้ไม่ชี้ เพราะฉะนั้นวงกรรมฐานกันมองเห็นกันรู้กันทันทีๆ เพราะทราบจากใจ”

และเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ มีความตอนหนึ่งว่า “…ท่านอุทัย ท่านปฏิบัติราบรื่นมาโดยลำดับนะ ทางด้านปฏิบัติท่านหนักในธรรมมาโดยลำดับ ไม่ค่อยเห็นยุ่งอะไรกับใคร กับงานอะไรไม่ค่อยไป เลยให้ท่านอยู่ที่นั่นเหมาะ การภาวนาหาอรรถหาธรรมจริงๆ ไม่ได้เกี่ยวกับผู้กับคนอะไรนะ เกี่ยวเฉพาะที่โคจรบิณฑบาตได้เท่านั้น นั่นละท่าน หาธรรมท่านหาอย่างนั้น”

ธรรมโอวาท

    “…รูปร่างกายของคนเรา ส่วนไหนมันเป็นสาระแก่นสารบ้าง ที่เราไปให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่เป็นสาระ แล้วไปหลงยึดมั่นในรูปนั้นว่า เป็นสาระแก่นสาร ความจริงแล้วรูปร่างกายอันนี้ ทุกสิ่งทุกอาการที่ปรากฏมันล้วนแล้วแต่จะผุพังไปตามสภาวธรรม คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แล้วสลายกลายไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟกันทั้งนั้น หรือจะพิจารณาไปในแง่อสุภะ ความไม่สวยไม่งาม ความปฏิกูลโสโครก ความสกปรกในโลกอันนี้ คำว่าสกปรกโสโครกนั้น มันไม่มีอะไรจะสกปรกโสโครกมากไปกว่ารูปร่างของมนุษย์นี้หรอก…”

สติเป็นเครื่องระงับอารมณ์ที่ไม่ดี

    “ให้สังเกตดูว่า เราฝึกทุกวัน ฝึกตั้งใจทุกวัน ใจของเรา ตั้งได้ดีมากน้อย ขนาดไหน ฝึกตั้งสติทุกวัน กำลังสติของเรา ตั้งได้มากน้อยขนาดไหน อันนั้นก็คือ เอาอารมณ์ของกิเลสตัณหามาเป็นเครื่องวัดว่า ตัวเราเองระงับ อารมณ์ประเภทนั้นได้ และปล่อยวางอารมณ์ประเภทนั้นได้มากน้อยขนาด ไหน ไม่ใช่ปล่อยวางแบบเห็นทุกข์เห็นโทษนะ ถ้าปล่อยวางแบบเห็นทุกข์ เห็นโทษ มันเป็นลักษณะของปัญญา การปล่อยวางแบบสมาธิ เพียงแต่เอา กำลังของสติ เอากำลังของสมาธิ ที่มีความหนักแน่น ระงับกลบมันไว้เฉยๆ ปิดมันไว้เฉยๆ แต่เรื่องกิเลสตัณหาอันนั้น มันยังมีโอกาสที่จะกลับขึ้นมา ใหม่ พุ่งขึ้นมาใหม่ได้อีก
ฉะนั้น จึงให้พิจารณาให้เข้าใจให้รู้แจ้งตามสภาวธรรมความเป็นจริงอันนั้น คือ ใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งนั้นๆ ที่จะให้เกิดปัญญารู้ตามสภาวะความเป็น จริงได้ ก็เรียนรู้จากร่างกายของตัวเอง เรียนรู้จากอารมณ์ฝ่ายเหตุคือกิเลส ตัณหาภายในใจของตัวเอง ดูสิว่า รูปร่างกายของคนเรา ส่วนไหนมันเป็น สาระแก่นสารบ้าง ที่เราไปให้ความหมายว่า เป็นสิ่งที่เป็นสาระ แล้วไปหลง ยึดมั่นในรูปนั้นว่า เป็นสาระแก่นสาร ความจริงแล้ว รูปร่างกายอันนี้ ทุกสิ่ง ทุกอาการที่ปรากฏ มันล้วนแล้วแต่จะผุพังไปตามสภาวธรรม คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แล้วสลาย กลายไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ กันทั้งนั้น หรือจะพิจารณาไปในแง่ “อสุภะ” ความไม่สวยไม่งาม ความ ปฏิกูลโสโครก ความสกปรก ในโลกอันนี้ คำว่าสกปรกโสโครกนั้น มันไม่มี อะไรจะสกปรกโสโครกมากไปกว่ารูปร่างของมนุษย์นี้หรอก”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่เนย สมจิตฺโต(พระครูวิมลสีลาภรณ์)__result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่เนย สมจิตฺโต พระครูวิมลสีลาภรณ์ วัดป่าภูทอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์  สิริจนฺโท (จันทร์) รูปนี้ นามสกุล ศุภสร เกิดในรัชกาลที่ ๔ ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๙ เป็นบุตรหัวปีของหลวงสุโภรสุประการ กรมการเมืองอุบลราชธานี นางสุโภรสุประการ (แก้ว  สุภสร) เป็นมารดา ชาติภูมิเดิมอยู่บ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักเจ้าอธิการม้าว  เทวธุมมี วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี

ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปจารย์  สิริจนฺโท (จันทร์) เปรียญ ๔ ประโยค เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร อาพาธเนื่องด้วยโรคชราถึงมรณภาพ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ คำนวณอายุได้ ๗๗ ปี พรรษา ๕๕ ได้พระราชทานโกศโถ มีชั้นรองสองชั้นฉัตรเบญจา ๔ ประกอบศพเป็นเกียรติยศ

โอวาทธรรม

ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์  สิริจนฺโท ท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้ในข้อความบางตอนของหนังสือ อัตตโนประวัติและธรรมบรรยายของท่านดังนี้ว่า…

การที่เล่ามาให้ฟังตลอดเรื่อง ได้เล่าทางลาภแลยศแลกิจจานุกิจให้เห็นว่า อัตตโนมีความสุขสบาย เจริญด้วยลาภยศโดยลำดับแต่อุปสมบทมาตลอดอายุได้ ๗๐ ปีบริบูรณ์

ต่อนี้จะเล่า อตฺตตฺถจริยา ในทางธรรมปฏิบัติไว้สู่ฟังอีกโสดหนึ่ง คือในระหว่างอัตตโนมีอายุ ๒๐ ปีล่วงแล้ว อัตตโนมีความจับใจพระพุทธโอวาทข้อที่ว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึงแก่ตน เมื่ออัตตโนยังไม่ฉลาด ก็ถือว่าร่างกายจิตใจนี้เอง เป็นตน จึงได้ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนพากเพียรรักษาตนให้ตั้งอยู่ในสุจริตทุกเมื่อ มีหิริโอตัปปะประจำอยู่เสมอ ครั้นภายหลังได้ศึกษาธรรมหนักขึ้น ได้อาศัยหนังสือสังขิตโตวาทของเจ้าคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ  พุทฺธสิริ) วัดโสมนัส แสดงว่า “เปล่าไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครตาย นามรูป ธาตุขันธ์ อายตนะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปต่างหาก” ดังนี้ก็ตั้งใจปฏิบัติตามแต่เกิดความลังเลไม่แน่ใจ เพราะผิดความเห็นเดิมไป แต่เดิมเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นตน คือ รูปนาม ธาตุ ขันธ์ อายตนะนั่นเอง ครั้นมาพิเคราะห์ตามตำราของท่านว่าไม่ใช่ตน ยิ่งเกิดความสงสัยใหญ่โตขึ้น แต่ก็คงเชื่อว่า นามรูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ตามท่านนั้นเอง แต่ติดอนัตตาอยู่ประมาณ ๑๐ ปี เมื่อสังเกตดูผล คือ ความสงบ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ไม่สู้จะมีอำนาจอะไรนัก ใจก็จางออกจากตำรา ยึดไตรสิกขา เชื่อแน่ว่าท่านที่เดินตามไตรสิกขาได้สำเร็จมรรคผลนับด้วยแสนด้วยโกฏิเป็นอันมาก เราจะมายึดมั่นในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เพียงเท่านี้ จะถือเอาว่าเป็นปัญญาก็ยังกระไรอยู่ จะเสียเวลามากไป แต่นั้นก็ตั้งหน้าเจริญสติ เพื่อจะให้เป็นองค์สัมมาสมาธิ แต่วิธีคุมใจเป็นของลำบากมาก เพราะเป็นผู้เกี่ยวอยู่ในหมู่ในคณะ พรักพร้อมอยู่ด้วยลาภแลยศ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีเวลาปลีกออกหากายวิเวกได้บ้างบางสมัย เนื้อความในธรรมนิยามสูตรทำให้เกิดความฉลาดขึ้นมาก เหตุที่ท่านวางท่ากระเหย่งไว้ทำให้เกิดวิจิกิจฉาขึ้นมาก ที่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้นไม่เที่ยง สังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์ ธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา ทำไมจึงไม่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์ ธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา ทำไมจึงไม่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้นเป็นอนัตตา เกิดความสงสัยว่า สังขารกับธรรมนี้จะต่างกันอย่างไร ? สังขารก็ชื่อว่า ธรรม ส่วนธรรมจะต่างกับสังขารอยางไร ? คงได้ความตามนัยคัคคัปปสาทสูตรที่ว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรมก็ดี ผู้รู้จริงย่อมกล่าวว่า วิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ คิดจัดเอาตามชอบใจ สงฺขตา วา คิดจัดเป็นสังขารโลก ได้แก่จิต เจตสิก รูป ๓ ประเภท เป็นอุปาทินนกสังขาร ที่ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั้น ท่านหมายถึงสังขตธรรม และอสังขตธรรม เป็นอนัตตาแต่มีวิเศษต่างกัน ส่วนสังขตธรรมนั้น อาจดับจากตัวได้ตามนัยที่ว่าเตสํ สุโข ความเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเป็นสุข คือเป็นของไม่มีอยู่แต่เดิมจึงระงับดับได้

ส่วนอสังขตธรรมนั้น ชีวิตยังมีอยู่ดับไม่ได้ เพราะเป็นของมีอยู่แต่เดิม เป็นแต่อนัตตาคงเป็นธรรมอยู่ตามหน้าที่ คงได้ความว่า ตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน จึงเป็นอตฺตทีปา ธมฺมทปา อตฺตสรณา ธมฺมสรณา ตรงกับวักกลิสูตรว่า โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ดังนี้ เมื่อปฏิบัติจนเห็นตัวเป็นธรรมเห็นธรรมเป็นตัวแล้ว ก็เป็นประโยชน์ในร่างกายจิตใจทุกแผนก ที่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน ก็ไดความชัดเจนขึ้น แต่ก่อนเห็นร่างกายจิตใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอสุจิเป็นอสุภัง หาแก่นสารมิได้ เมื่อสังขารดับแล้ว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุจิ อสุภัง ดับไปตามกันหมด ยังเหลืออยู่แต่ธรรมซึ่งเป็นของวิเศษให้เราได้พึ่งพาอาศัยอยู่เป็นสุขทุกวัน ร่างกายจิตใจนี้กลายเป็นแก้วสารพัดนึกสำหรับตัวเราทั้งสิ้น จะจำแนกให้ดู ดังที่ว่าร่างกายจิตใจนั้นได้แก่ สกลกายทั้งสิ้น คือ ตา หู จมูก ปาก ทวารหนัก ทวารเบา มือ เท้า อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ล้วนแต่เป็นสมบัติอันประเสริฐสำหรับตัวเราแต่ละอย่าง ๆ ล้วนแต่ของเป็นเอง สำเร็จมาด้วยปุญญาภิสังขารทั้งสิ้น จึงได้บริบูรณ์เช่นนี้ ถึงแม้เราจะเป็นคนฉลาด เป็นช่างวาดช่างเขียนจะตกแต่งเพิ่มเติมให้ดีขึ้นไปอีกก็ไม่ได้ ได้มาอย่างไรก็ต้องอาศัยใช้สอยกันไปจนวันตาย แต่งได้ก็แต่เพียงให้ประพฤติดีประพฤติชั่วเท่านี้เองที่จะแต่งให้สูงให้ต่ำให้ดำให้ขาวให้มีอายุยืนไม่รู้จักตาย แต่งไม่ได้ ที่ว่าร่างกายจิตใจเป็นแก้วสารพัดนึกนั้น พึงพิเคราะห์ดูเรามีตานึกจะดูอะไรก็ดูได้ เรามีหูนึกจะฟังอะไรก็ฟังได้ เรามีจมูกอยากจะรู้กลิ่นอะไรก็รู้ได้ เรามีปากมีลิ้นนึกอยากจะรู้รสอะไรก็รู้ได้ นึกอยากจะกินอะไรก็กินได้ เรามีมือนึกอยากจะทำอะไรก็ทำได้ เรามีเท้านึกอยากจะเดินไปทางใดก็ไปได้ เรามีจิตมีใจนึกอยากจะน้อมนึกตรึกตรองอะไรก็ได้สมประสงค์ ผู้รู้ตนว่าเป็นของวิเศษอย่างนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ได้ความสุข คือใช้ตามหน้าที่ ไม่ให้วัตถุเหล่านั้นเป็นข้าศึกแก่ตน คือ เกิดปฏิฆะโทมนัส ยินดียินร้ายเพราะวัตถุของตน นิสัยของผู้ฉลาดย่อมไม่ให้วัตถุวิเศษของตนเป็นข้าศึกแก่ตน อารมณ์ที่ผ่านไปผ่านมาเลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นประโยชน์ ส่วนที่จักเป็นโทษปล่อยให้ผ่านไปเสีย ไม่รับไม่เก็บเข้ามาไว้ คือ หัดชำระวัตถุภายในนี้ให้ผ่องใสสมกับที่ว่าเป็นแก้วสารพัดนึกอยู่ทุกเมื่อ อาศัยความหัดบ่อย ๆ สติก็แก่ขึ้น วัตถุภายในก็ปราศจากโทษ คือ ไม่เป็นข้าศึกแก่ตน    ให้ความสุขแก่ตนทุกอริยาบถ จึงสมกับพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนไว้ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแก่ตน

ถ้าว่าโดยสมมติสกลกายนี้เองเป็นตน ถ้าว่าโดยสกลกายนี้เองเป็นธรรม ที่ว่า อตฺตสรณา ธมฺมสรณา   ให้มีตนเป็นที่ระลึกนี้ คือ ให้เห็นว่าตนเป็นเป็นธรรม ธรรมเป็นตน ความรู้ธรรมเป็นพุทธะ สกลกายที่ทรงคุณความดีไว้เป็นธรรม ความประพฤติให้เห็นความดีมีขึ้นในตนเป็นสังฆะ ผู้ที่มีพุทธะ ธรรมะ สังฆะในตนอย่างนี้ ชื่อว่าผู้ถึงไตรสรณคมน์ในชาตินี้ ตลอดชาติชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา ชั้นวิมุตติ ชั้นวิมุตติญาณทัสสนะ สุดแท้แต่วาสนาของใครจะถึงได้ในชั้นใด จะต้องได้รับผลคือความสุขตามชั้นตามภูมิของตนทั้งนั้น เล่าความประพฤติธรรมไว้ให้ศิษยานุศิลย์ฟัง เพื่อให้พากันมีที่พึ่ง อย่าเป็นคนลังเลยึดให้มั่นคั้นให้ตาย อย่างมงายเชื่อเกจิอาจารย์ที่สอนนอกรีตนอกทาง ดังพวกที่สอนว่าให้ท่าน รักษาศีล เจริญสมถวิปัสสนาไหว้พระสวดมนต์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นเมถุน เว้นข้าวค่ำ เหล่านี้เป็นกิเลส ตัณหาทั้งนั้น การไม่ทำนั่นแลเป็นอันหมดกิเลสตัณหา สอนอย่างนี้เป็นลักษณะแห่งอกิริยทิฏฐิถือว่าความไม่ทำเป็นความบริสุทธิ์ เป็นมิจาทิฏฐิอย่าพากันหลงเชื่อ ถ้าใครหลงเชื่อจะพากันจนทั้งชาตินี้ชาติหน้า นิพพานเช่นนั้นเป็นนิพพานของอวิชชา อย่าพากันหลงใหลไปตามเขา

ส่วนนิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นนิพพานอันมั่งมี ที่เรียกว่านิพพานสมบัติ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา, แลโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐานเป็นต้น มีอัฏฐังคิกมรรคเป็นที่สุด เหล่านี้เป็นนิพพานสมบัติ ถ้าไม่มีสมบัติอย่างที่แสดงไว้นี้ มีในตนเต็มรอบหรือยัง    ถ้าไม่เต็มรอบยังเป็นคนจนอยู่ไปมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นเป็นคนจนก็ไปได้ แต่นิพพานจน ๆ คือนิพพานอนัตตานิพพานอวิชชาเท่านั้น พวกเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าต้องประพฤติตนให้มั่งมีเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบริบูรณ์ด้วยลาภยศด้วยความสรรเสริญแลด้วยความสุข พระพุทธศาสนาตั้งมั่นถาวรมาได้กว่าสองพันปีนี้ ไม่ได้ตั้งมั่นถาวรมาด้วยความจนเลยตั้งมั่นถาวรมาได้ด้วยความมั่งมีโดยแท้แม้ตัวของอัตตโนผู้แนะนำท่านทั้งหลาย ก็หัดเดินตามจรรยาของพระพุทธเจ้าจึงบริบูรณ์ด้วยลาภแลยศแลความสรรเสริญกับความสุข เป็นผู้มั่งมีทั้งสมบัติภายนอกแลสมบัติภายใน

ประวัติ

     พระครูวิมลสีลาภรณ์” หรือ “หลวงปู่เนย สมจิตฺโต” สมณะผู้ตั้งจิตไว้ตรง มีนามเดิมว่า เนย มูลสธูป เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ณ บ้านกุดแห่ ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี (จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน) โยมบิดาชื่อ นายเอี่ยม มูลสธูป โยมมารดาชื่อ นางสุรีย์ มูลสธูป มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๙ คน ครอบครัวมีอาชีพทำไร่

ช่วงชีวิตในวัยเด็ก เมื่ออายุ ๗ ปี ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านกุดแห่ อายุ ๘ ปี ป่วยเป็นโรคท้องเรื้อรัง ทำให้ขาดการเรียนอยู่ ๓ เดือน พออายุได้ ๑๑ ปี เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วออกมาช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาตามประเพณี ด้วยในสมัยนั้นการเรียนภาคบังคับอยู่ที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เท่านั้น สำหรับการที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้นนั้นต้องเดินทางไปเรียนต่อยังโรงเรียนต่างถิ่นต่างอำเภอ พออายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับมาช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาตามเดิม ด้วยความขยันหมั่นเพียรเต็มกำลังความสามารถ

พออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดา พร้อมทั้งเจ้าภาพผู้ที่จะถวายผ้าป่า นำท่านไปมอบถวายให้เป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นศิษย์พระกรรมฐานรุ่นใหญ่ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

ท่านได้ฝึกขานนาคอยู่เป็นเวลา ๓ เดือนเต็ม จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ เขตวิสุงคามสีมาวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมี พระครูภัทรคุณาธาร (บุญ โกสโล ป.ธ.๔) วัดพรหมวิหาร ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรศีลขันธ์ (พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์อุ้ยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้ารับฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ในขณะนั้น อยู่เป็นสม่ำเสมอและบ่อย ๆ

พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม โดยมีพระอาจารย์สิงห์ทอง เป็นผู้ให้นิสัยรับโอวาทการปฏิบัติธรรม และในพรรษา ได้ถือธุดงค์ห้ามภัตตาหารที่นำมาถวาย ภายหลังตลอด ๓ เดือน ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๘ ท่านได้จำพรรษาที่ภูถ้ำพระ ประกอบความเพียรด้วยความวิริยอุตสาหะแรงกล้า ไม่จำวัดตลอดกลางวัน

พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้จำพรรษาที่วัดกลาง บ้านหนองสูง อ.คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันเป็นจังหวัดมุกดาหาร) ท่านพระอาจารย์กงแก้ว ขันติโก เจ้าอาวาสวัดกลาง ให้ช่วยเร่งทำความเพียรอย่างแรงกล้า จนเป็นลม ๒ ครั้ง เนื่องจากฉันอาหารน้อย บางวันถึงกับอดอาหาร ทำให้การประกอบความเพียรเป็นไปได้ด้วยดี ต่อสู้กับกิเลสขันธมารตลอดเวลาอย่างไม่ย่อท้อ ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ถ้าจะตายขอให้ตายไปเลย อย่าได้เดือดร้อนญาติโยม ปรารถนาจะไม่ให้ใครเดือดร้อนลำบากด้วยเรื่องของสังขาร แม้ในปัจจุบัน รักษาร่างกายด้วยตัวเอง

ท่านเคยบอกว่าผู้คนมักมัวเมาลุ่มหลงด้วยถูกทรมานมาแสนสาหัสจากภพภูมินรก ภูมิสัตว์เดรัจฉาน ทำให้หลงลืมที่จะรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ ด้วยภพภูมินี้เป็นภพภูมิที่จะสามารถนำไปสู่นรก สวรรค์ หรหมโลก นิพพานได้ ภพภูมิต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยความเป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะบำเพ็ญไปสู่ภพนั้น ๆ เทวดาจะไปนิพพานต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ก่อน อย่างนี้เป็นต้น จึงได้ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไปตลอดพรรษา แต่ก็ยังเป็นแบบเคร่งครัด ปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย ทุกช่วงออกพรรษา หลวงปู่เนย มักเดินทางออกไปธุดงค์ แต่มาระยะหลังสุขภาพไม่แข็งแรง จึงเลือกที่จะปฏิบัติอยู่กับวัดป่าโนนแสน หลวงปู่เนย เป็นพระที่มีศีลาจาริยวัตรอันงดงาม เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง สงบเสงี่ยมเรียบร้อยงดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ

ท่านมักสอนเสมอ ๆ ว่าการรักษาศีลข้อวัตรปฏิบัติเป็นหัวใจของพระศาสนาและต้องปฏิบัติทุกลมหายใจเข้าออก ถือเป็นหน้าที่ จะหาข้อหลบหลีกปลีกหนีที่จะไม่ปฏิบัติไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้ข้อสิกขาบทเพียงเล็กน้อยก็ไม่มีการยกเว้นได้เลย ศีลสิกขาบทเป็นความงดงามของพระเรา ใครปฏิบัติได้มากยิ่งงดงามมาก ไม่มีอะไรจะงดงามเท่าการรักษาศีลได้เลย การสอนที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้ดู แม้ยามเจ็บป่วยหรือไม่แข็งแรง หลวงปู่เนย ไม่เคยบอกกล่าวให้ญาติโยมทราบ น้อยคนนักที่จะรับรู้ปัญหาสุขภาพ บางคณะถึงกับนิมนต์ท่านให้เดินทางไปในที่ไกล ๆ ท่านต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก บางครั้ง ท่านได้ปรารภกับพระในวัด ห้ามบอกว่าไม่สบาย ด้วยหลวงปู่ ต้องการทำคุณประโยชน์ให้กับโลกมากที่สุด

หลวงปู่เนย สมจิตฺโตละสังขารด้วยอาการสงบวันที่๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๓๒ น.ที่กุฏิของท่าน ณ วัดป่าโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร

โอวาทธรรม

      หลวงปู่ท่านบอกว่า การรับรู้เรื่องของคนอื่นมันไม่เหมือนรู้เรื่องตนเอง รู้ตนเองเห็นเองหายสงสัย ใครจะว่าอย่างไรก็หมดสงสัย เหมือนรับประทานอาหาร คนอื่นบอกว่าอร่อย แต่เราไม่ได้รับประทานด้วยก็ไม่หายสงสัย คนเคยไปกรุงเทพฯ มีพระแก้วมรกตก็ไม่สงสัย เพราะเคยไปเห็นมาแล้วด้วยตนเอง

ท่านสอนว่าเรียนรู้เรื่องทางโลกมันไม่รู้จบรู้สิ้น เรียนอันนั้นเหลืออันนี้อยู่ตลอดไป คนทั้งหลายไม่สนใจจิตใจตนเอง สนใจแต่เรื่องที่ก่อให้เกิดความทุกข์วิปโยควังเวง เรียนทางโลกไม่เหมือนเรียนทางธรรม เรียนทางธรรมไปสิ้นสุดที่นิพพาน ใครไปถึงนิพพานก็จบ

     หลวงปู่ให้ข้อคิดในเรื่องวัตถุมงคลไว้ว่า “วัตถุมงคลเป็นสิ่งที่ให้ระลึกถึงคุณงามความดีองค์ที่ท่านสร้าง ท่านสร้างด้วยความดี ท่านจะคุ้มครองคนทำดี ท่านเตือนให้กำหนดพุทโธตลอดเวลา ไม่มีอะไรเหนือกรรม กรรมดีพระคุ้มครอง ไม่มีอะไรศักด์สิทธิ์เหนือกว่ากรรม กรรมดีพระคุ้มครอง ไม่มีอะไรศักดิ์สิทธิ์เหนือกว่ากรรมได้เลย หมดอายุขัยก็คุ้มครองไม่ได้ แรงอะไรก็ไม่เท่าแรงกรรม วัตถุมงคลท่านจะช่วยได้บางโอกาสเท่านั้น อย่าประมาทกรรม ไม่มีอะไรเหนือกรรม จงทำดีให้มาก”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่วิไล เขมิโย_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพณาช้างเผือก อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    พระอาจารย์วิไล เขมิโย มีนามเดิมว่า วิไลย์ นามสกุล เตชะบุรมณ์ ถือกำเนิดเมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑ ปีระกา ตรงกับ วันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ณ บ้านดงบัง ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ (ปัจจุบันเป็นอ.ประทาย จังหวัดนครราชสีมา) โยมบิดา คือคุณพ่อสงค์ เตชะบุรมณ์ โยมมารดา คือ คุณแม่ทา เตชะบุรมณ์ มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกันรวม ๙ คน เป็นผู้ชาย ๘ คน และผู้หญิง ๑ คน โดยหลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๕ และมีน้องต่างบิดา ๓ คน เป็นผู้หญิง ๑ คน (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก) และผู้ชาย ๒ คน รวมจำนวนพี่น้องทั้งสิ้น ๑๒ คน หลวงปู่เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลบ้านดงบัง จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วออกมาช่วยเหลืองานของครอบครัว จนอายุได้ ๑๖ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร  ภายหลังท่านได้ลาสิกขากลับไปช่วยงานของครอบครัวอีก เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหาร หลวงปู่ไปเป็นทหารเกณฑ์ ๒ ปี เมื่อปลดประจำการแล้วก็กลับมาประกอบอาชีพทำไร่ไถนาดังเดิม

พ.ศ. ๒๕๐๑ ขณะอายุได้ ๒๕ ปี หลวงปู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนเข้าพรรษาของปีเดียวกันนั้น ท่านได้แปรญัตติมาเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยประกอบพิธีอุปสมบทใหม่ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เวลา ๑๙.๑๐ น. ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระวินัยสุนทรเมธีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาศรี ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจารย์ พระมหาเขียน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมิโย

พรรษาที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๑)     หลวงปู่จำพรรากับหลวงปู่บึ้ง ที่เสนาสนะป่าในละแวกบ้านที่อ.บัวใหญ่ เนื่องจากอยู่ใกล้กับโยมบิดา มารดา หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ มาจนถึงจ.อุดรธานี และได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ขาว อนาลโย ณ วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งหลวงปู่ขาวเพิ่งมาตั้งวัดถ้ำกลองเพล เป็นปีแรก

พรรษาที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๒) จำพรรษาที่วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร กับหลวงปู่จันทา ถาวโร หลวงปู่ขาน ฐานวโร รวมพระเณรทั้งสิ้น ๗ รูป ตามความประสงค์ของหลวงปู่ขาว อนาลโย เนื่องจากหลวงปู่ขาวจำพรรษาที่นั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และได้ย้ายมาตั้งวัดถ้ำกลองเพล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ทำให้วัดร้างไป ไม่มีพระอยู่จำพรรษา ชาวบ้านชุมพล จึงเดินทางมากราบเรียนขอพระจากหลวงปู่ขาวไปจำพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วพระเณรทั้งหมด ก็เดินทางกลับมาวัดถ้ำกลองเพล

พรรษาที่ ๓ – ๑๑  (พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๑๑) จำพรรษาที่วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันเป็นอ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) เพื่ออุปัฏฐากรับใช้ ศึกษาธรรม และปฏิบัติจิตภาวนากับหลวงปู่ขาว อนาลโย อย่างใกล้ชิดเป็นเวลา ๑๑ ปี ในระหว่างนั้น หลวงปู่มีโอกาสได้พบและฟังธรรมะจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายองค์ ที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนหลวงปู่ขาว อาทิ หลวงปู่หลุย จันทสาโร และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นต้น นอกจากนี้ หลวงปู่มีโอกาสเดินทางไปตามสถานที่ตางๆ ด้วย อาทิเช่น พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยพักที่วัดพระศรีมหาธาตุ และได้พบกับพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่เมตตาหลวง) ซึงเคยอยู่ที่วัดถ้ำกลองเพลเช่นกัน จากนั้นได้ไปวัดอโศการาม โดยขนะนั้นท่านพ่อลี ธัมมธโร ยังมีชีวิตอยู่ แล้วเดินทางต่อไปจังหวัดจันทบุรี และพักอยู่ที่วัดเนินเขาแก้วกับหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ในระหว่างนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศลที่วัดแห่งนี้ด้วย เนื่องจากอยู่ใกล้กับวังสวนบ้านแก้วของพระองค์

พ.ศ. ๒๕๐๘ หลวงปู่เที่ยววิเวกไปทางจังหวัดอุดรธานีและสกลนครโดยได้กราบนมัสการหลวงปู่ ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร และพักอยู่ที่นั้นประมาณ ๑๕ วัน จากนั้นได้ไปที่วัดป่าบ้านหนองผือ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จำพรรษาเป็นเวลา ๕ ปี ก่อนท่านจะมรณภาพอีกด้วย

ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงปู่กราบลาหลวงปู่ขาว เดินทางออกจากวัดถ้ำกลองเพล โดยตั้งใจจะไปออกหาประสบกาณ์ที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม แม้หลวงปู่จะไม่ได้จำพรรษาที่วัดถ้ำกลองเพลอีกเลย แต่ก็ได้มากราบนมัสการและศึกษาธรรมะจากหลวงปู่ขาวอย่างสม่ำเสมอ

พรรษาที่ ๑๒ – ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๑๗) จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองพวง ภูเวียง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
พรรษาที่ ๑๘ – ๒๒  (พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๒) จำพรรษาที่วัดจันทร์ประสิทธิ์ บ้านสร้างเสี่ยน ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.อุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจ.หนองบัวลำภู)
พรรษาที่ ๒๓ – ๒๕  (พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๕) จำพรรษาที่วัดพระบาทภูพานคำ (วัดพระใหญ่ เขื่อนอุบลรัตน์) อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
พรรษาที่ ๒๖ – ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗) จำพรรษาที่เสนาสนะป่า ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ หลวงปู่ได้ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพลด้วย
พรรษาที่ ๒๘ – มรณภาพ  (พ.ศ. ๒๕๒๘ – ปัจจุบัน)  นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่จำพรรษาที่วัดถ้ำพญาช้างเผือก บ้านปากช่อง ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ มาโดยตลอด

ด้วยปฏิปทาอันเรียบง่ายสมถะของหลวงปู่วิไลย์ คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก แม้กระทั่งหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ยังออกปากชมว่า “หลวงพ่อวิไลย์ สมเป็น ช้างเผือกจริงๆ ศิษย์หลวงปู่ขาวน่ะ อยู่อย่างช้างเผือก เป็นองค์ที่สำคัญมากอีกองค์หนึ่งของชัยภูมิ เป็นพระดี”

หลวงปู่วิไลย์ดำรงตนอย่างพระป่า เน้นสอนในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาเป็นสำคัญ เป็นพระที่มีความเมตตา สุขุม สงบเยือกเย็น สันโดษ มักน้อย อยู่แบบสมถะเรียบง่ายไม่หรูหรา เป็นพระที่ปฏิบัติดี กอปรด้วยศีลและธรรม มีศีลาจารวัตรที่งดงาม ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

ท่านอบรมสอนสั่งพระภิกษุสามเณร รวมทั้งประชาชนญาติโยมทั้งใกล้ไกล ให้รู้จักศีลธรรม เป็นคนดีของสังคม ไม่เบียดเบียนกัน ให้รู้รักสามัคคี รวมทั้งให้เป็นคนที่มีหลักธรรมประจำใจ และให้หมั่นกระทำบำเพ็ญในการให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา เป็นต้น ธรรมะที่หลวงปู่สั่งสอน เป็นธรรมะแบบพระป่าล้วนๆ เข้าใจง่าย

หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย องค์ท่านเป็นลูกศิษย์อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๐๑ ถึง พ.ศ.๒๕๑๒ ต่อจากนั้นองค์ท่านจึงได้ออกธุดงค์รอนแรมอยู่ตามป่าเขาแลเงื้อมถ้ำเพียงลำพัง จนมาปักหลักอยู่ที่วัดถ้ำพญาช้างเผือก จังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๘ กระทั่งหลวงปู่วิไลย์ ละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น สิริอายุ ๘๔ ปี

ธรรมโอวาท

   “…นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายส่วนใหญ่ก็เช่นเดียวกัน นั่งเข้าไปก้นยังไม่อุ่น ยังไม่เท่าหมานั่ง อยากเห็นนั่นเห็นนี่ อยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากรู้นั่นรู้นี่ มันเข้าในเกณฑ์อยากเกินประมาณ คำว่าเกินๆ นี่แหละ มันทำพิษ ทำโลกรุ่มร้อนอยู่ทุกวี่ทุกวัน

สมมุติเราทำน้ำพริกถ้วยหนึ่ง ในน้ำพริกถ้วยนั้นมีสิ่งที่เกินอยู่ในนั้น มันจะกินได้ไหม…น้ำพริกใส่พริกมากเกินไป น้ำปลามากเกินไป ใส่มะนาวมากเกินไป ลูกศิษย์เกินครู ลูกเกินพ่อแม่ พูดมากเกินไป คุยมากเกินไป โม้มากเกินไป บ่นมากเกินไป จู้จี้มากเกินไป หึงมากเกินไป ระแวงมากเกินไป สงสัยมากเกินไป ดีใจมากเกินไป เสียใจมากเกินไป รักมาก ชังมาก พระพุทธองค์ตรัสว่ามัชฌิมาปฏิปทา ให้พอดี น้ำพริกพอดีกินได้เอร็ดอร่อย ที่พูดมาทั้งหมดให้ระวังอย่าให้มันเกินประมาณ ประมาณคือขอบเขตอย่าให้มันเกินออกไป มันจะไม่พอดีพองามพอเหมาะพอสม

อาตมาคิดเห็นความอยากของคนที่เกินประมาณ จะทำสิ่งใดก็อยากได้ผลเร็วๆ ให้ทันจิตทันใจ ทำปุ๊บตอบปั๊บ ทำวันนี้เห็นวันนี้ สมมุติเราทำบาปเสร็จ เกิดหม้อนรกปุ๊ปขึ้นเดี๋ยวนั้น เห็นยมบาลเดี๋ยวนั้น หัวใจมันจะไม่ช็อคตายหรือ มันอัปรีย์จังไรจริงๆ สมมุติมีเด็กหญิงคนหนึ่งอายุ ๓ – ๔ ขวบ เกิดมีท้องตั้งครรภ์ขึ้นมา เราจะเห็นว่าเป็นอย่างไรในเมื่อมันไม่สมควรจะเป็น มันฝืนธรรมชาติ ปลูกข้าวลง คอยจะขยี้เอาเม็ดมากิน เคยมีไหม น้ำยังไม่เต็มตุ่มเต็มไห จะร้องขออ้อนวอนให้มันล้นออกมาจากปากหม้อปากไห ตายแสนชาติก็ไม่เจอ ความอยากมันเกินพระพุทธเจ้า เลยไปแล้ว เลยไปหาพระเทวทัตแล้ว อเวจีโน้น

พระพุทธเจ้าของเราสอนให้ดูเหตุดูผล ความสุขเกิดจากเหตุอะไร ดี-ชั่ว บาป-บุญ คุณ-โทษ มรรค-ผล สวรรค์-นิพพาน เหตุดีผลย่อมดี ตอบเหมือนชาวนาปลูกข้าว ชาวสวนปลูกกล้วยมะม่วง ชาวนาชาวสวนต่างบำรุงดูแลให้น้ำใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดี งอกงามสมบูรณ์ เมื่อถึงฤดูกาลของข้าวออกรวง ใครจะไปหักห้ามไม่ให้มันออกก็ไม่ฟัง ใครจะไปบ่นไปแช่ง ถึงจะเอาหมอเวทมนต์มานั่งบ่นนอนห้ามอยู่กลางทุ่งนา มันก็ไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น กล้วยมะม่วงของชาวสวนก็เช่นเดียวกัน อะไรทุกอย่างในโลกนี้พอเกิดถึงเกิด พอเป็นไปได้จึงเป็นไปได้ พอเป็นพระพุทธเจ้าจึงเป็นพระพุทธเจ้า พอเป็นพระสงฆ์จึงเป็นพระสงฆ์ พอเป็นพ่อจึงเป็นพ่อ พอเป็นแม่จึงเป็นแม่ ปู่ย่าตายายจะเอาเด็กมาเป็น ก็เป็นไปไม่ได้มันผิดวิสัย จะเรียกเด็กว่ายายนั่นตานี่ก็บ้าเท่านั้นแหละ…”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันพุธ ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ. คำเขื่อนแก้ว จ. อุบลราชธานี (บ้านศรีฐานนั้นปัจจุบันเป็น ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร) บิดาชื่อ นายบุญหนา มารดาชื่อ นางบุปผา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน เป็นผู้ชาย ๓ คน เป็นผู้หญิง ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖
การศึกษาเบื้องต้น เมื่ออายุได้ ๗ ปีได้เข้าโรงเรียนประถม ชื่อโรงเรียนศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เข้าโรงเรียนอยู่ ๕ ปีเพราะสมัยนั้นมีชั้นมูลด้วย เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้วได้ช่วยพ่อแม่ทำนาอยู่หนึ่งปี
การบรรพชาและอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๙๕ เมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีฐานใน ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ได้เรียนนักธรรมอยู่ ๒ ปี สอบได้นักธรรมชั้นโท แล้วได้ติดตามครูบาอาจารย์ไปทางจังหวัดสกลนคร และในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบนักธรรมเอกได้ ที่สำนักเรียนวัดเจริญสมณกิจ (วัดหลังศาล) บ้านบางงั่ว ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต (บวชเป็นสามเณรอยู่ ๗ ปี) ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีมงคลเหนือ ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร โดยมีท่านเจ้าคุณมุกดาหารโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระอาจารย์คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ญัตติเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านได้มาพำนักอยู่ที่วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร กับ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ครั้นต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ได้มรณภาพลง เจ้าคณะจังหวัดสกลนครจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓
หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยศีลและธรรม มีศีลาจาริยวัตรอันงดงาม เป็นผู้ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ดำเนินตามหลักปฏิปทาที่ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ผู้เป็นอาจารย์พาดำเนินมา

[/ultimate_modal]
หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ(พระปัญญาพิศาลเถร)__result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ (พระปัญญาพิศาลเถร) วัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

      พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ เป็นบุตรของนายอุทธา – นางจันทร์ นนฤาชา  เป็นบุตรคนที่ ๕  มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๑๐ คน เกิด ณ บ้านหนองค้อ  ตำบลดอนหว่าน  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  เกิดเมื่อวันจันทร์ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘  ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ  พ่อแม่ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านหนองแวง (แก้มหอม)  ตำบลไชยวาน  อำเภอไชยวาน  จังหวัดอุดรธานี  และได้จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านหนองแวงนี้เอง  การเข้าเรียนแต่ละชั้น เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนเดียวกันได้ตั้งให้เป็นหัวหน้าในชั้นเรียนทุกชั้นไป  เมื่อขึ้นชั้นประถมปีที่ ๔  เด็กชายทูลได้รับความไว้วางใจจากครูว่ามีการศึกษาดี  จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยสอนนักเรียนในชั้นประถม ก. กา และประถมปีที่ ๑  และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้านักเรียนทั้งหมดในโรงเรียนนั้น  เพราะในสมัยนั้นมีครูอยู่เพียง ๒ คน คือ คุณครูหัส และคุณครูอักษร  เมื่อครูมีน้อยการสอนไม่ทั่วถึง  เด็กชายทูลจึงได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยสอนนักเรียนด้วยกันเอง  และเป็นที่ยอมรับของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน  เพราะเด็กชายทูลมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน ๆ  ไม่ลักเอาของเพื่อน  และยังเก็บของเพื่อนนักเรียนที่ทำตกหายมาแจ้งครูให้ประกาศมารับของคืนไป  จึงเป็นที่ไว้ใจแก่เพื่อนนักเรียนทุกคนเมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ แล้ว  ครูทั้งสองมีความหวังดีต่อเด็กชายทูลเป็นอย่างมาก  จึงได้มาขอต่อพ่อแม่ว่า อยากให้เด็กชายทูลไปเรียนต่อที่จังหวัด  แต่พ่อแม่ยังไม่พร้อม จึงได้พูดว่าเพิ่งมาอยู่บ้านใหม่ อะไรยังไม่สมบูรณ์เลย  เด็กชายทูลเลยหมดโอกาสที่จะได้เรียนต่อ  จึงทำให้เรียนจบเพียงชั้นประถมปีที่ ๔ เท่านั้น

ช่วงแรกที่ออกปฏิบัติภาวนานั้น ท่านได้จาริกบำเพ็ญสมณธรรมไปยังสถานที่สัปปายะหลายแห่ง  ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล    หลังจากที่หลวงปู่ขาวละสังขารแล้ว ท่านจึงได้นำคณะศิษย์มาพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าบ้านค้อ

ท่านได้อุทิศชีวิตให้กับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านได้เขียนหนังสือธรรมภาคปฏิบัติเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่า เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา

จากการที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ นามว่า “พระปัญญาพิศาลเถร”

หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ มรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ วัดป่าบ้านค้อ รวมสิริอายุ ๗๓ ปี ๔๘ พรรษา และได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ณ วัดป่าบ้านค้อ

อัฐิธาตุของหลวงพ่อทูลได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ เป็นเครื่องประกาศคุณธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นพระอริยบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมดังความมุ่งมั่นตามที่ท่านได้ตั้งสัจจะในครั้งออกบวชว่า

“ท่านจะขอมอบกายและถวายชีวิตเพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า จะทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”

ด้วยสังขารนั้นไม่เที่ยง วันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ หลวงพ่อทูลละสังขารไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๕ เดือน ๔๘ พรรษา

โอวาทธรรม

      วัฏจักร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักแรมของจิตวิญญาณไม่มีกาลสมัย เมื่อใดใจยังมีตัณหาคือความอยาก เมื่อนั้นจิตวิญญาณยังต้องการอยู่ในสามภพนี้ตลอดไป มีทั้งสมหวังและผิดหวังมีทั้งสุขและทุกข์ ทั้งหัวเราะและร้องไห้ปนกันไป ในสามภพนี้เป็นสถานที่พักชั่วคราวเท่านั้น จิตวิญญาณจะไปอยู่แบบถาวรตายตัว ตลอดไปไม่ได้ จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยที่สร้างเอาไว้ จะอยู่ใน ภพนั้นบ้างอยู่ในภพนี้บ้าง แล้วก็ผ่านไปไม่คงที่ จะมีความพอใจยินดีอยากจะอยู่ เป็นหลักฐานตลอดกาลไม่ได้ หรือจะไปที่ไหนอยู่ที่ไหนเอาตามใจชอบก็ไม่ได้เช่นกัน เหมือนกับบุคคลอยู่ในแพกลางมหาสมุทร จะกำหนดทิศทางให้แก่ตัวเองไม่ได้เลย จะไปตกค้างอยู่ที่ไหนอย่างไรก็จะเป็นไปตามกระแสของลม ฉันใด ผู้จะไปเกิดในภพชาติใดจะมีกรรมเป็นตัวกำหนดให้ไปเกิดในที่นั้น ๆ ผู้ทำกรรมดี เอาไว้ก็จะได้ไปเกิดในภพชาติที่ดี ผู้ทำกรรมที่ไม่ดีเอาไว้ก็จะได้ไปเกิดในภพชาติที่ไม่ดี กรรมจะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกๆ คนแต่บุคคลไม่ยอมรับผลของกรรมชั่วที่ตัวเองทำเอาไว้ แต่ก็หนีไม่พ้นจะต้องได้รับผลของกรรมชั่วแน่นอน คำว่า กรรมดีและกรรมชั่วนั้นมันเป็นกฎของธรรมชาติ เป็นผลตอบแทนให้แก่เหตุอย่าง ตรงไปตรงมา จะเรียกว่าศาลโลกที่ตัดสินคดีให้แก่มนุษย์ทั้งหลายก็ว่าได้ ผู้ที่เวียนว่ายเกิดตายอยู่ในภพทั้งสาม จะต้องถูกศาลวัฏจักรตัดสินชี้ขาดให้ทั้งหมด ฉะนั้นจิตวิญญาณที่ชอบเที่ยวเร่ร่อนไปตามวัฏฏะ จะต้องอยู่ในขอบเขตของกฎแห่งกรรมด้วยกันทั้งนั้น ผู้ที่นับถือในศาสนาอะไร หรือผู้ที่ไม่นับถือศาสนาอะไร จะต้องอยู่ในอำนาจกฎแห่งกรรมด้วยกัน ไม่มีจิตวิญญาณใดอยู่เหนือกรรมนี้ไปได้เลย

[/ultimate_modal]
พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม(พระราชภาวนาวิก_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม (พระราชภาวนาวิกรม) วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) นามเดิม เลี่ยม จันทำ เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่บ้านโคกจาน ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บิดาชื่อนายเพ็ง จันทำ มารดาชื่อนางเป้ง จันทำ มีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๔
พระอาจารย์เลี่ยม ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ ๒๕๐๔ โดยมีพระครูถาวรชัยเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทิพย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระจันลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี ๒๕๐๗

ในปี ๒๕๑๒ พระอาจารย์เลี่ยม ได้ออกเดินทางเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อเรียนรู้ธรรม จนได้มาพบสำนักของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดที่ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน เสนาสนะมีระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วเย็นใจ และได้กราบนมัสการหลวงพ่อชา ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ในการนี้เอง หลวงพ่อชา ท่านได้เมตตาเปลี่ยนบริขารทุกอย่างให้หมด

ระเบียบปฏิบัติของหลวงพ่อชา ถือว่าเข้มงวดมาก แต่หลวงพ่อเลี่ยมก็ไม่ได้ย่อท้อแต่อย่างใด เพราะเคยฝึกมาตั้งแต่สมัยอยู่ที่วัดเดิม ซึ่งถือว่าตรงกับรูปแบบของตัวเองมากกว่าที่จะสร้าง ความยุ่งยากในฝึกฝนเพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของพระศาสนา ด้วยความพรากเพียร แม้แต่ในวันพระก็ถือ เนสัชชิก คือการไม่นอนตลอดคืน ก็อยู่ได้อย่างสบาย จนจิตรู้สึกสว่างไสวและมี ความสุขจากการปฏิบัติธรรม

โอวาทธรรม

เรื่องที่พูดกัน ก็พูดแต่เรื่องการปรุงแต่งของกริยามารยาท ของความรู้สึกที่เป็นเพลิดเพลินเท่านั้น อย่าไปมองว่าคนนั้นดี คนนั้นเลว คนนั้นเกลียดเรา คนนั้นรักเรา ถ้าเรามองในแง่อย่างนี้ เราจะหลงไปในทิศทางมืด
ถ้าเราวางความรู้สึกของเราในสภาพว่าเป็นสภาวะธาตุ สภาวะขันธ์ มันเป็นกฎธรรมชาติแล้ว จะทำให้เรามีอารมณ์เป็นปกติ

[/ultimate_modal]
พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

    พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ตรงกับปีระกา ที่บ้านหนองแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (จังหวัดนครพรมในขณะนั้น) โยมบิดาชื่อ คุณพ่อแดง โยมมารดาชื่อ คุณแม่จอมแก้ว ผิวขำ เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน เป็นหญิง ๓ คน เป็นชาย ๔ คน

ท่านบรรพชาขณะมีอายุ ๑๑ ปี ณ วัดกลางสนาม อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมี หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้ว ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) ตำบลหนองตูมใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลา ๙ ปี และได้รับการญํตติเป็นพระภิกษุที่วัดศิลาวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมีหลวงปู่คำ คัมภีรญาโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ในพรรษาแรกได้อยู่จำพรรษากับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต ที่วัดภูจ้อก้อ อีกหนึ่งพรรษา หลังจากนั้น ได้ไปจำพรรษากับหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ๑ พรรษา แล้วติดตามองค์หลวงปู่จาม ขึ้นไปจังหวัดเชียงใหม่ และไปจำพรรษากับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา ๑ พรรษา แล้วกลับลงมาจำพรรษาอีกครั้งหนึ่งกับหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ที่วัดป่าห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

หลังจากนั้น ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๒๕  ได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กับองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ช่วงออกพรรษา ได้ลงองค์หลวงตามาวิเวกในแถบจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย

ราว พ.ศ. ๒๕๒๓ เห็นว่าสถานที่ตั้งวัดป่านาคำน้อยในปัจจุบัน เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะสำหรับการภาวนา จึงได้รวมกับคณะศรัทธาญาติโยม พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าร่วมกัน จัดตั้งเป็นวัดปฏิบัติในพระพุทธศาสนา และได้พัฒนาให้มีความเจริญสืบเนื่องเป็นลำดับมา อำนวยประโยชน์สมตามปณิธานของท่านผู้ก่อตั้งวัด ที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานฝึกอบรมทั้งทางร่างกาย (ศีลธรรม) และจิตใจ (จริยธรรม) ให้เป็นผู้สมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชชาและจรณะควบคู่กันไป สมตามพุทธภาษิตที่ว่า “อัตตานัง ทะมะยันติ ปัณฑิตา บัณฑิตย่อมฝึกซึ่งตน)

ธรรมโอวาท

    “อกตฺ ทุกฺกฏํเสยฺโย (อะกะตัง ทุกกะตัง เสยโย) ความชั่วอย่าทำเสียเลยดีกว่า เพราะความชั่วย่อมตามเผาผลาญเมื่อภายหลัง”

“คนโกหกทั้งๆที่รู้ จะไม่ทำความชั่วอย่างอื่น เป็นไม่มี”

“ศีลห้านี้ ถ้าเราเปรียบเทียบประมวลแล้ว สรุปแล้วก็คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา

ถ้าว่าเราไม่ต้องการอย่างนั้น เราก็ไม่ควรทำให้คนอื่นเขา นี่แหละคือศีลของพระพุทธเจ้า ศีลธรรมของพระพุทธเจ้านั้น มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วสมควรให้ใครเป็นผู้รักษา เป็นหน้าที่ของพวกเราทุก ๆ ท่านพวกเราต้องการ ความสงบ ร่มเย็น เป็นสุขในชุมชนของพวกเรา พวกเราต้องเทิดทูนบูชาศีลห้า ศีลธรรมของพระพุทธเจ้า พวกเราจะได้รับแต่ความสงบ ร่มเย็น เป็นสุขถ้วนหน้ากัน แต่ถ้าพวกเราขาดศีลห้าแต่อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาความไว้เนื้อเชื่อใจกันไม่ได้ ในชุมชนสังคมของพวกเรา เป็นที่ระแวงแคลงใจกันตลอด ไม่รู้ว่าใครจะออกมาไม้ไหน ตรวจแล้วตรวจอีก ก็ยังไม่มั่นใจ ให้พวกเราคิดดูเอาก็แล้วกัน ว่าศีลห้า เป็นศีลคุ้มครองโลกนั้นจริงไหม ถ้าคนทั่วทั้งโลกนี้มี ศีลห้าทั้งหมด ก็ไม่ต้องออกกฏหมายมาเพื่อลงโทษคนที่กระทำความผิด จริงไหม?”
“แข่งกันดี ได้ดีบางคน แย่งกันดี ไม่ได้ดีซักคน แบ่งกันดี ได้ดีทุกคน”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่คูณ สุเมโธ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

     หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม ในสกุล “ชูรัตน์” เป็นบุตรของ พ่อบุญธรรม ชูรัตน์ และแม่จันทร์ ชูรัตน์ ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร (หมู่บ้านเดียวกับวัดป่าหนองแสงของหลวงปู่สอ พันธุโล) ครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อท่านอายุได้ขวบเศษๆ ญาติของท่านได้อุ้มไปเดินเล่นบริเวณทุ่งนา และได้ร้องเรียกลูกวัวเล่นๆ ว่า “แบ๊ แบ๊ แบ๊ แบ๊” เป็นเชิงล้อเล่นกับวัว ทันใดนั้นลูกวัวก็กระโจนพุ่งเข้ามาชนญาติซึ่งขณะนั้นกำลังอุ้มท่านอยู่ ลูกวัวได้ขวิดเด็กชายคูณบริเวณศีรษะเหวอะหวะจนเป็นแผลเป็นด้านข้างศีรษะด้านขวามาจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อคูณท่านเล่าว่า ท่านได้กำหนดสมาธิดูถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น จึงทราบว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมหรือบุพกรรม ครั้งอดีตชาติท่านเองเคยเกิดเป็นผู้ใหญ่บ้าน วันหนึ่งมีโจรมาขโมยวัว ท่านจับโจรคนนั้นได้ แต่โจรดื้อดึง พยายามจะหนี ท่านจึงเอาด้ามปืนทุบไปที่หัวของโจรจนหัวแตก ด้วยวิบากแห่งกรรม โจรนั้นได้มาเกิดเป็นลูกวัวในชาติปัจจุบัน ได้ผูกอาฆาตท่านไว้ ด้วยแรงพยาบาตเมื่อเห็นท่านด้วยสัญญาหมายรู้ แม้เป็นเด็กน้อยก็จำได้ จึงต้องมาชดใช้กันในชาตินี้

ท่านเองมีน้องชายอีกคนชื่อ อุดม ชูรัตน์ เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ นางจันทร์ ชูรัตน์ มารดาของท่านก็ได้เสียชีวิตลง ฉะนั้น ชีวิตในวัยเด็ก ๒ พี่น้องได้ช่วยบิดาทำไร่ไถนา ท่านจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นการศึกษาสูงสุดในขณะนั้น ณ โรงเรียนบ้านหนองแสง ครั้นเมื่อเติบใหญ่ท่านก็ลงไปปักษ์ใต้ รับจ้างขนหินขึ้นรถบรรทุกไปโรงโม่หิน ทำงานได้ ๓ ปีจึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ญาติพี่น้องได้ขอร้องให้ท่านบวช

เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร ตรงกับเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๐๙ โดยมี พระครูทัศนประกาศ (หลวงปู่คำบุ จันทสิริ) เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระอาจารย์จำปี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านพระมหาวิสุทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุเมโธ” แปลว่า ผู้มีปัญญาดี, ผู้มีความรู้ดี จากนั้นจึงไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดป่าหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ได้ ๖ เดือน ช่วงนั้น หลวงปู่สอ พันธุโล ได้แวะมาที่บ้านเกิด คือบ้านหนองแสง และได้ชักชวนให้พระอาจารย์คูณ ออกเที่ยววิเวกด้วยกัน ในครั้งนั้นมีพระติดตามด้วยกัน ๗ รูป ออกวิเวกพำนักอยู่วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีหลวงปู่สอ พันธุโล เป็นผู้นำอบรมสั่งสอนการภาวนา และได้พาท่านไปฟังธรรมะภาคปฏิบัติกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อยู่ ๑ อาทิตย์ หลวงปู่ขาวท่านเน้นสอบอบรมด้านจิตใจ

หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ แล้ว พระอาจารย์คูณจึงได้กลับมาทางภาคอีสาน และได้เข้าไปอยู่ร่วมเป็นกำลังหลักให้กับ ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ที่วัดป่าแก้วชุมพลต่ออีก ๕ พรรษา คือ ปี พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๘ ก่อนจะไปวิเวกอยู่กับ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ที่วัดถ้ำยา (ภูลังกา) บ้านนาโพธิ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม อีก ๔ พรรษา หลังจากนั้นหลวงปู่บุญมีได้พาคณะศิษย์ออกจากวัดถ้ำยา (ภูลังกา) แล้วมาจำพรรษายังวัดป่าบ้านใหม่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ร่วมกันอีก ๑ พรรษา จากนั้นหลวงปู่บุญมีได้ไปอยู่วัดป่านาคูณ ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ส่วนพระอาจารย์คูณก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูทอง บ้านภูทอง จ.อุดรธานี

หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ท่านเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ ความที่หลวงพ่อคูณเป็นผู้มีเมตตาสูงมาก อารมณ์ดี ใจเย็น เรียบง่าย ไม่ชอบพิธี ไม่สะสมปัจจัย มีมาใช้ไป แต่ใช้ในสิ่งเป็นประโยชน์ เช่น ช่วยเหลือวัด และโรงเรียนที่ขาดแคลน ท่านได้สร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ดำเนินตามรอยธรรมตามปฏิปทาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อีกทั้งท่านได้เห็นคุณประโยชน์ในการศึกษาได้ช่วยอุปถัมภ์โรงเรียนในเขตบ้านภูทอง และบ้านภูดิน และอุปการะให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนกว่า ๒๐ คน คนไหนตั้งใจเรียน ท่านก็ส่งเสียให้เรียนเท่าที่เขาจะเรียนได้ ใครมาขออะไร หน่วยงานไหนเขาจำเป็นเดือดร้อนก็มาขอ ท่านก็เมตตาไม่ปฏิเสธ บางที่ไม่มีปัจจัยเลย เห็นเขาจำเป็นก็รับคำให้เลย ส่วนการก่อสร้างในวัดท่านก็บอกว่าชาวบ้านได้งานทำด้วย

หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ละสังขารเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. ที่วัดเขารูปช้าง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ด้วยอาการอันสงบ สิริอายุได้ ๗๐ ปี ๕ เดือน ๑๒ วัน ๔๗พรรษา

โอวาทธรรม

      พระธรรมคำสอนที่หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ท่านเคยให้ไว้และพูดอยู่เสมอ คือ “ครูบาอาจารย์บ่อยู่ ก็บ่เป็นหยัง คำสอนของเพิ่นยังมีอยู่ ให้พากันปฏิบัติตามคำสอนของเพิ่น ก็เหมือนกันกับเพิ่นอยู่นำเฮานั่นหล่ะ”

“ธรรมดา”

ชะรา ธัมโมมหิ อะนะตีโต, พยาธิธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต, มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต ตีติ.
เอ้าตั้งใจฟัง คนเฮาเกิดมา คนเราเกิดมาไม่มีใครจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ไม่มีใครจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ไม่มีใครจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้นั้นแหละนั้น..“เป็นธรรมดา” อันนี้เป็นธรรมดาของคนที่อยู่ใต้ฟ้าอันนี้ไม่เลือกว่าใคร ผู้หญิงก็มีความแก่เป็นธรรมดา ผู้ชายก็มีความแก่เป็นธรรมดา เออ พอแต่เกิดมา พระก็มีความแก่เป็นธรรมดา เออ เณรก็มีความแก่เป็นธรรมดา นี้นั่นแหละให้เรารู้จัก “ธรรมดา” อันนี้เอาไว้เพราะเมื่อธรรมดาอันนี้เกิดขึ้นกับเราถ้าเรามารู้จักธรรมดาอันนี้แล้วเราก็จะไม่ได้เป็นทุกข์กับธรรมดาอันนี้ไม่ได้เป็นทุกข์ ไม่ได้กังวล ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้เดือดร้อน ไม่ได้วุ่นวายกับธรรมดา แก่นี้ คนเราทุกคนไม่ว่าหญิงไม่ว่าชายไม่ว่าพระว่าเณรอยู่ใต้โลกอันนี้ก็ต้องมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาด้วยกันทั้งนั้นฉะนั้นขอให้พวกเรารู้จักว่าเราอยู่กับธรรมดาอันนี้เออเมื่อธรรมดาอันนี้เกิดขึ้นกับเรา เราก็ให้เข้าใจว่า เออ..“ธรรมดา” ให้ว่า “มันเป็นธรรมดา” เราอย่ามาเป็นทุกข์กับธรรมดา เราอย่ามาเสียใจกับธรรมดานี้นั่นแหละ เราอย่ามาเดือดร้อนกับธรรมดาอันนี้ นั่นล่ะเราไม่ต้องไปกังวลกับมัน มันธรรมดาเกิดขึ้นมันจะเจ็บตรงไหน ปวดตรงไหน เป็นโรคอะไร เราก็ให้รู้ว่ามันเป็นธรรมดา นี่แหละไม่ต้องไปเป็นทุกข์กับมัน

[/ultimate_modal]
หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ วัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) นามเดิม เลี่ยม จันทำ เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่บ้านโคกจาน ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บิดาชื่อนายเพ็ง จันทำ มารดาชื่อนางเป้ง จันทำ มีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๔
พระอาจารย์เลี่ยม ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ ๒๕๐๔ โดยมีพระครูถาวรชัยเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทิพย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระจันลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี ๒๕๐๗

ในปี ๒๕๑๒ พระอาจารย์เลี่ยม ได้ออกเดินทางเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อเรียนรู้ธรรม จนได้มาพบสำนักของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดที่ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน เสนาสนะมีระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วเย็นใจ และได้กราบนมัสการหลวงพ่อชา ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ในการนี้เอง หลวงพ่อชา ท่านได้เมตตาเปลี่ยนบริขารทุกอย่างให้หมด

ระเบียบปฏิบัติของหลวงพ่อชา ถือว่าเข้มงวดมาก แต่หลวงพ่อเลี่ยมก็ไม่ได้ย่อท้อแต่อย่างใด เพราะเคยฝึกมาตั้งแต่สมัยอยู่ที่วัดเดิม ซึ่งถือว่าตรงกับรูปแบบของตัวเองมากกว่าที่จะสร้าง ความยุ่งยากในฝึกฝนเพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของพระศาสนา ด้วยความพรากเพียร แม้แต่ในวันพระก็ถือ เนสัชชิก คือการไม่นอนตลอดคืน ก็อยู่ได้อย่างสบาย จนจิตรู้สึกสว่างไสวและมี ความสุขจากการปฏิบัติธรรม

โอวาทธรรม

เรื่องที่พูดกัน ก็พูดแต่เรื่องการปรุงแต่งของกริยามารยาท ของความรู้สึกที่เป็นเพลิดเพลินเท่านั้น อย่าไปมองว่าคนนั้นดี คนนั้นเลว คนนั้นเกลียดเรา คนนั้นรักเรา ถ้าเรามองในแง่อย่างนี้ เราจะหลงไปในทิศทางมืด
ถ้าเราวางความรู้สึกของเราในสภาพว่าเป็นสภาวะธาตุ สภาวะขันธ์ มันเป็นกฎธรรมชาติแล้ว จะทำให้เรามีอารมณ์เป็นปกติ

ประวัติ

    หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ มีชื่อเดิมว่า คำเขียน เหล่าชำนิ ถือกำเนิดที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ก่อนที่จะมาเติบใหญ่ที่อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยเหตุที่บิดาได้จากไปตั้งแต่ท่านยังเยาว์วัย ท่านจึงต้องรับภาระในครอบครัวก่อนวัยอันควร เป็นเหตุให้บวชเณรได้ไม่นานก็ต้องลาสิกขามาช่วยแม่ทำนาและดูแลน้อง ๆ

เมื่อเข้าวัยฉกรรจ์ ท่านหันมาเป็นหมอธรรม มีอาชีพทางสะเดาะเคราะห์กับรักษาโรคด้วยเวทมนต์คาถาและน้ำมนต์ จนเมื่อได้มาพบกับหลวงพ่อเทียน  จิตตฺสุโภ และทดลองฝึกสติปัฏฐานตามแนวของท่าน ชั่วเวลาเพียงเดือนเดียว ก็เห็นผลของการปฏิบัติ เข้าใจแก่นแท้ของศาสนา จึงละทิ้งไสยศาสตร์ และตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ ๓๑ ปี ในพ.ศ. ๒๕๑๐

หลังจากที่ท่านติดตามหลวงพ่อเทียนได้ ๓ ปี ท่านก็ได้มีโอกาสจาริกไปยังภูโค้ง ซึ่งเป็นเทือกเขาไม่ไกลจากหมู่บ้านของท่าน และได้ธุดงค์แวะเวียนสำนักสงฆ์ที่ญาติผู้พี่ของท่านคือ หลวงพ่อบุญธรรม อุตฺตมธมฺโม ได้บุกเบิกเอาไว้ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้เริ่มจำพรรษาที่นั่น ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นวัดป่าสุคะโต

ในพ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านได้รับนิมนต์ไปจำพรรษา ณ วัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน ที่นั้นเองท่านได้เห็นความทุกข์ยากของชาวบ้าน ที่ต้องไปทำไร่ตามชายป่าพร้อมกับพาลูกน้อยไปด้วย เป็นเหตุให้มีเด็กป่วยไข้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นมาลาเรียก็มีไม่น้อย ด้วยจิตเมตตา ท่านจึงรับเด็กเล็กมาดูแลในวัดระหว่างที่พ่อแม่ออกไปทำไร่ ด้วยเหตุนี้ศูนย์เด็กเล็กแห่งแรกในจังหวัดชัยภูมิ จึงเกิดขึ้นในวัดเล็ก ๆ บนหลังเขาอันแสนกันดารแห่งนี้

นอกจากงานสงเคราะห์เด็กแล้ว ท่านยังเป็นผู้นำในการพัฒนาหมู่บ้าน จากเดิมซึ่งมีสภาพไม่ต่างจากบ้านป่าเมืองเถื่อนเต็มไปด้วยนักพนันและผู้ร้ายหนีคดี ท่ามะไฟหวานก็กลายเป็นหมู่บ้านที่สงบสุข ผู้คนและถนนหนทางเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยมีวัดเป็นทั้งแกนกลางทางด้านจิตใจ และศูนย์กลางทางด้านสงเคราะห์ชุมชน ท่านได้ย้ายกลับมายังวัดป่าสุคะโตในพ.ศ. ๒๕๒๕ และหันมาจับงานด้านอบรมกรรมฐานพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ป่าร่วม ๕๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาป่าไม่กี่ผืนที่หลงเหลือบนภูโค้ง ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการอนุรักษ์ป่าจำนวน ๓,๕๐๐ ไร่ที่ภูหลง อันเป็นที่ตั้งของวัดป่ามหาวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ท่านดูแลอยู่

ในช่วงเวลาดังกล่าว ท่านเห็นถึงความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วของภูโค้ง ไม่เพียงป่าหดหายเท่านั้น แม้แต่ลำน้ำก็เป็นพิษมากขึ้น เพราะการใช้สารเคมีอย่างหนักในหลายหมู่บ้าน ท่านจึงริเริ่มโครงการธรรมยาตราเพื่อชีวิตและลุ่มน้ำลำปะทาวขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยชักชวนพระสงฆ์ แม่ชี ชาวบ้าน และนักเรียนในพื้นที่มาร่วมกันเดินเท้าและพักแรมตามหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นเวลา ๘ วัน เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านตระหนักถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น และร่วมกันหาแนวทางการพิทักษ์ป่าและปกป้องลำน้ำ ปัจจุบันโครงการนี้ได้ดำเนินติดต่อจนกระทั่งปัจจุบันเป็นปีที่ ๑๕ แล้ว โดยมีผู้สนใจจากจังหวัดและประเทศต่าง ๆ มาร่วมเดินด้วย

เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๗ หลวงพ่อได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูบรรพตสุวรรณกิจ ๒ ปีต่อมา ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองขาม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ แม้ท่านจะมีงานบริหารคณะสงฆ์เพิ่มขึ้น แต่งานสอนกรรมฐานก็ยังเป็นงานหลักของท่าน ช่วงหลังนี้เองที่ท่านวางมือด้านงานพัฒนาชุมชนเกือบจะสิ้นเชิง และอุทิศตัวให้กับการสอนธรรมควบคู่กับการฟื้นฟูป่า ประกอบกับนับแต่พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ได้มีการอบรมกรรมฐานอย่างจริงจังมากขึ้น ถึงกับมีการตั้งเป็น “สถาบันสติปัฏฐาน” โดยมีลูกศิษย์หลายท่านมาช่วยงานหลวงพ่อด้านการอบรมฆราวาส ทำให้มีผู้มาปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสุคะโตมากขึ้น ไม่เว้นแต่ละเดือน จนต้องมีการขยับขยายเสนาสนะยิ่งกว่าเดิม

หลวงพ่ออาพาธด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ได้รับเยียวยารักษาจนก้อนมะเร็งยุบหายไป ก่อนที่จะปรากฏอีกครั้ง เมื่อต้นปี ๒๕๕๗ หลังจากที่ได้รับการเยียวยาที่โรงพยาบาลเกือบ ๒ เดือน ท่านขอกลับมาใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่วัดของท่านโดยมรณภาพ ณ วัดป่าสุคะโต ประมาณตี ๕ ของวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๗ สิริอายุรวม ๗๘ ปี ๔๖ พรรษา

[/ultimate_modal]
พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

       ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ จังหวัดระยอง บิดา มารดา ของท่านชื่อ นายบุ่งเลี้ยง และ นางเซี้ยม แซ่จึง ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน พี่น้อง ๑๔ คน ชีวิตในช่วงปฐมวัย ท่านได้มีโอกาสสัมผัสรสชาติของชีวิตที่ยากลำบาก แต่เต็มไปด้วยกำไรของชีวิต เพราะความไม่ร่ำรวยได้บ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ต้องรู้จักอดทนทางกาย อดกลั้นทางจิตใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดี ถือดี ครอบครัวของท่าน บิดา – มารดา มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความขยันขันแข็ง มานะอดทนพากเพียร อุตสาหะ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตร แม้จะลำบากขัดสนในเบื้องต้น แต่บิดา – มารดาของท่าน ก็มีความรักความเอาใจใส่ต่อบุตรทุกคนอย่างอบอุ่นยุติธรรมโดยถ้วนหน้า เหตุนี้เองจึงทำให้บุตรทั้ง ๑๔ คน มีความสมัครสมานปรองดองสามัคคีอย่างแน่นแฟ้น

ในวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดตรีรัตนาราม อ . เมือง จ .ระยอง โดยมีท่านพระครูประจักษ์ตันตยาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดตรีรัตนาราม 4 พรรษา เพื่อศึกษานักธรรม จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ แม้ในเบื้องต้นท่านต้องศึกษาเล่าเรียนทางด้านปริยัติ เรียนนักธรรมชั้นต่าง ๆ แต่เมื่อถึงฤดูแล้งทุกปี ท่านจะต้องกราบลาครูบาอาจารย์ ขึ้นไปหาที่พักภาวนากับท่านหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ หรือบางทีก็ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ณ วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ . เชียงใหม่

หลังจากที่ท่านสำเร็จนักธรรมเอกในพรรษาที่ ๔ แล้ว พอพรรษาที่ ๕ ท่านก็มุ่งหน้าสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติเป็นครั้งคราว ในหน้าแล้งของทุกปีที่ผ่านมา ดังนั้นพรรษาที่ ๕ ท่านจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ การเจริญภาวนาของท่านมีความก้าวหน้าตามลำดับ ท่านได้ปฏิบัติธรรมชนิดแลกเป็นแลกตาย ในที่สุดธรรมก็ได้แสดงผลให้เห็นอย่างทันตาทันใจ ไม่เป็นที่สงสัยของผู้ปฏิบัติจริง

เมื่อบังเกิดความอัศจรรย์แก่จิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าจะยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มีพลานุภาพเพียงพอที่จะทำให้ท่านประจักษ์แจ้งแก่ใจแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ จะมีคุณค่าสูงยิ่งไปกว่าการเดินทางตามรอยพระอรหันต์ ผลจากการปฏิบัติในป่าเขาในช่วงเวลานี้เองทำให้ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม บังเกิดความมั่นใจว่า ถ้าท่านดำเนินตามแนวนี้ต่อไป ในที่สุดท่านก็จะสามารถนำญาติพี่น้องให้เกิดความศรัทธาที่แน่นแฟ้นต่อพระพุทธศาสนาได้อย่างแน่นอน ท่านเกิดธรรมปีติ อุทานธรรมกับตนเองว่า “ ชีวิตในชาตินี้ ขอทิ้งไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่าหวนคืนสู่เพศฆราวาสอีกต่อไป ”

ด้วยเหตุที่วัดป่าหนองไผ่ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน นับเนื่องแต่การมาพักปฏิบัติภาวนาและอบรมสั่งสอน ชาวบ้านของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก่อนปี ๒๔๖๙ แล้วตามด้วยพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์องค์สำคัญ ๆ อีกหลายรูป อาทิ ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่พระธุดงคกรรมฐานว่า เป็นสถานที่อันวิเวก เหมาะสมแก่การปฏิบัติภาวนา ทำให้มีพระธุดงค์มาพักเพื่อปฏิบัติธรรมและจำพรรษาอยู่เสมอ จึงนับว่าวัดป่าหนองไผ่ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน เป็นสถานที่สำคัญเก่าแก่ ถือเป็นอนุสรณ์สถานที่ควรแก่การอนุรักษ์ และท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ได้พำนัก ณ วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนครแห่งนี้เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

โอวาทธรรม

       “ก่อนที่จะพัฒนาสิ่งอื่นใด ขอให้เราหันมาพัฒนาจิตพัฒนาใจของเราให้ดีก่อน จากนั้นจะพัฒนาสิ่งใดก็ดีไปหมด”

ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ความบริสุทธิ์ใจ ในการทำบุญสุนทร์ทานจะจืดจางจนหมดไปได้ หากมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยเงิน ผู้ที่จะรักษานโยบายนี้ไว้ได้จะต้องอาศัยความอดทนความแข็งใจเป็นอย่างสูง เพราะความเมตตาสงสารชาวบ้านที่ยากจนก็มีเต็มล้นใจ การสงเคราะห์ด้วยการจ่ายค่าแรงงานก็เป็นสิ่งที่สะดวกคล่องตัว เนรมิตสิ่งใดได้ดังใจ ได้ตามความประสงค์ เป็นไปตามเวลาที่กำหนด สิ่งเหล่านี้    เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ถ้าใช้เงินเป็นเครื่องตอบแทน ทว่านโยบายของท่านคือการสร้างคน  มิใช่สร้างวัตถุให้มีล้นเหลือ แต่ความเจริญทางด้านจิตใจกลับลดน้อยลง ๆ หาใช่ความประสงค์ไม่ สิ่งที่จะทำให้ชาวบ้านบังเกิดความศรัทธา และพร้อมเพรียงใจกันเสียสละมาทำนุบำรุงสถานที่ของวัด โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นวัตถุเงินทอง ก็มีเพียงสิ่งเดียวคือ “พระธรรม”

[/ultimate_modal]
หลวงปู่สาย เขมธัมโม(พระครูเขมสารสุธี)_jp_result
[ultimate_modal modal_on=”text” read_text=”หลวงปู่สาย เขมธัมโม (พระครูเขมสารสุธี) วัดป่าพรหมวิหาร ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู” modal_size=”block” modal_style=”overlay-fade” overlay_bg_opacity=”80″ img_size=”42″ txt_color=”#2b2b2b” trigger_text_font_style=”font-weight:bold;”]

ประวัติ

หลวงปู่สาย เขมธมฺโม มีนามเดิมว่า สาย แสงมฤค เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านกุดน้ำใส ตำบลกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาโยมมารดาชื่อ คุณพ่อทอก และคุณแม่เคน แสงมฤค

ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดบ้านนาชม ตำบลแสนสุข อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนลาออกมาช่วยครอบครัวประกอบสัมมาอาชีพ

การอุปสมบทครั้งแรก ในช่วงวัยหนุ่ม ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเดิมที่จังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และได้สมรสกับนางปาน ผายม มีบุตรด้วยกัน ๒ คน โดยท่านได้หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงปลาขาย เมื่ออายุได้ ๔๘ ปี จึงได้หันเหเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อันเนื่องมาจากท่านได้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ

ตอนแรก ท่านคิดว่าคงจะเป็นเพราะภูตผีเจ้าที่เจ้าทางมาทำให้ป่วย ตามความเชื่อของคนแถบนั้น จึงได้ทำเครื่องเซ่นไปไหว้ผีเจ้าที่เจ้าทาง แต่ปรากฏว่าอาการป่วยไม่ดีขึ้น จึงฉุกคิดว่าไม่ใช่การกระทำของภูตผีดังที่เข้าใจ ท่านคิดหาสาเหตุอื่นที่ทำให้ป่วย ดำริขึ้นมาได้ว่าครั้งหนึ่งเคยป่วยมาก่อน ครั้งนั้นได้เคยบนเอาไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะบวชแก้บน ต่อมาอาการป่วยหายไปเอง แต่ท่านยังไม่ได้บวช ทำให้ท่านคิดว่าอาจจะเป็นเพราะได้บนบานเอาไว้ แต่ไม่ยอมบวชแก้บน จึงทำให้ต้องกลับมาป่วยอีก เมื่อคิดได้ดังนี้ ท่านจึงตัดสินใจบวชแก้บน โดยเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิต ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีหลวงปู่อ่อนตา เขมงฺกโร เจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์

ภายหลังเข้ารับการอุปสมบทแล้ว อาการป่วยของท่านก็ได้หายเป็นปลิดทิ้ง แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการบวชเพื่อแก้บนก็ตาม ท่านก็หมั่นปฏิบัติภาวนาอยู่ไม่ขาด การบวชในครั้งนี้ ท่านครองเพศบรรพชิตอยู่ได้นานถึง ๖ พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมา สาเหตุเนื่องเพราะมีคนบอกว่าการบวชแก้บนจะต้องสึก ถ้าไม่สึกจะต้องมีอันเป็นไป เพื่อความสบายใจ ท่านจึงขอลาสิกขามาใช้ชีวิตเพศฆราวาส กลับไปอยู่กับครอบครัวเหมือนเดิม

การอุปสมบทครั้งที่ ๒ หันกลับมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสได้ไม่นาน ต่อมานายสาย แสงมฤค เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก ตัดสินใจขอบวชอีกเป็นครั้งที่ ๒ และนำเรื่องนี้ไปปรึกษาครอบครัวก่อน ซึ่งภรรยาและบุตรต่างยินดีไม่ขัดข้องในความประสงค์ของท่าน ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ณ พัทธสีมาวัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ) ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมี พระครูประสิทธิ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุวรรโณปมคุณ เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระครูโสภณคณานุรักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เขมธมฺโม” แปลว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

โอวาทธรรม

• ผู้หนีชาติ ขาดภพ จบเกิด ประเสริฐแท้ ไม่เหมือน ผู้ลอยแพอยู่ในวัฏฏะ เวียนไป วนมา ไม่มีเวลาจบสิ้น
• คำเขาด่า เขาว่าเสียดสีใดๆ มันไหลเข้าหูใด ให้ไหลออกหูนั้น ท่านจะไม่ทุกข์ใจ เมื่อไม่เก็บมันไว้ ถ่านไม่มีไฟ ความร้อนมันก็หาย
• แก้ความไม่ดีใดๆ ให้แก้ที่ใจ อย่าไปแก้ข้างนอก เพราะความไม่ดีไม่ชอบมันอยู่ที่ใจ ต้องแก้ไขตรงนี้ จุดนี้สำคัญที่มันฝังอยู่
• นักภาวนาอย่าปล่อยสติ ควบคุมมันไว้ให้อยู่กับปัจจุบัน อย่าปล่อยมันไปอดีต อนาคต อย่าพูดให้เสียคำ อย่าทำให้เสียชื่อ ตีนมือให้รักษา มารยาทจรรยาให้งามอยู่ตลอด
• จิตร้อนให้ถอนด้วยธรรม ใจดำให้ซักฟอกด้วยศีล จะอยู่กินเป็นสุขใจ เมื่อถอนได้ ฟอกได้ อาหารเต็มตา ข้าวปลาเต็มถ้วยเต็มจาน ผู้รับประทานให้รู้จักประมาณ คือ การพอดี อย่าให้โลกตำหนินินทา เหมือนพราหมณ์ผัวนางอมิตตตากินจนท้องแตก
• ผลไม้ก็มีผลดี ผลเน่า คนเราก็มีคนบุญ คนบาป มีทุกภาษาทุกชาติคนบาป คนบุญ ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เขาเป็นธาตุ ๔ ไม่วันหน้าก็วันนี้ เขาจะแตกจะดับกลับไปตามเรื่อง เถียงไม่ขึ้น เขาจะเลือกคืนวันไหนก็ได้ ไม่ใช่ของเราเลย
• เลิกยึดกายเสียบ้าง ปล่อยวางเสียที เขาเป็นธาตุ ๔ ไม่ใช่ตัวเรา เขาไม่เที่ยง เรื่องของเขา ให้เราปล่อยมือ อย่าถือให้หนัก เมื่อรู้จักความจริงว่ามันไม่เที่ยงตามเรื่องของสังขาร ไม่ยึดมันนั้นถูกทางแท้
• นักชก ระวังหมัด นักปฏิบัติ ระวังกิเลส นักชกก็หมดยกสุดท้าย ความตายก็สุดท้ายของชีวิต คบคนชั่วทำไม นักปราชญ์มีถมไปทำไมจึงไม่คบ
• กรรมดีกรรมชั่วมาจากตัวผู้เราทำ มาจากคำที่เราพูด อาหารใจคือธรรมพระศาสดา อาหารตาคือรูปที่ได้ดู อาหารหูคือเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
• ความอยากเป็นทุกข์ อยากน้อยทุกข์น้อย อยากมากทุกข์มาก ไม่อยากไม่ทุกข์ ผู้มีสุขคือผู้หมดความอยาก
• จิตมืดบอดด้วยกิเลสตัณหา เพราะขาดแสงปัญญา มันจึงมืดบอด จึงนอนกอดทุกข์ ไม่ลุกไปไหน
• ช้างเผือกมีกำลังแรงทำลายบ้าน ช้างสารมีกำลังแรงเต็มตัว ไม่เท่าแรงความชั่วของเราผลักดันให้เราหันตกไปในที่ต่ำ
• แก้ตัณหากิเลสต้องแก้ที่ใจ แก้ที่อื่นไม่หาย แก้ที่ใจก็สิ้นเรื่อง มันตั้งบ้านตั้งเมืองมานานอยู่ที่นั้น ตัดกิเลสตัณหาให้ขาด ผู้ใดตัดไม่ขาด ผู้นั้นจะเป็นทาสของมัน หาวันจบไม่พบ
• ตัวอยู่กับเรา เงามาจากตัว ความดีความชั่วมาจากตัวของเรา เหมือนกับเงามาจากตัวเราไม่มีผิด
• ปากเขาอยากไปนิพพาน แต่เขาทำงานอยู่ในนรก อะไหล่รถไม่ดี เขายังเปลี่ยนได้ ใจเราคิดไม่ดี เปลี่ยนความคิดใหม่เสียที ความคิดที่ดีๆ กว่านี้มีถมไป
• ก่อนไม้จะเป็นถ่าน เขาใช้ไฟเผา ก่อนความดีจะเกิดแก่เรา ต้องใช้ธรรมเผากิเลส โลภ โกรธ หลง หายหนี ความงามความดีก็ก้าวเข้ามา
• บุญมาจาก กาย วาจา ใจ บาปใดๆ ก็มาจากที่นี่ ที่อื่นไม่มีทางมา กาย วาจา ใจ เป็นที่ไหลมาของเขา สุขอยู่ที่กายกับใจ ทุกข์ก็อยู่ที่กายกับใจ บ้านสองหลังนี้เป็นที่อยู่ของสุขและทุกข์
• นายังไม่ถาง อย่าพึ่งทำทางเอาเกวียนมาขนข้าว ยังไม่รู้แจ้งธรรมของพระพุทธเจ้า อย่าว่าตัวสำเร็จธรรม
• ดูชีดูพระ ให้ดูข้อวัตรปฏิบัติ ดูคฤหัสถ์ให้ดูการทำมาหากิน ผิดธรรมผิดศีลหรือไม่ ให้ดูที่นี่ ดูคนอย่าดูแต่ร่างกาย ดูหญิงดูชายให้ดูความประพฤติ
• อย่าเชื่อคำโจร อย่าเชื่อคนพาล อย่าเชื่อการทำชั่ว ว่าตัวจะดี สามอย่างนี้จำไว้ เท่าวันสิ้นลมหายใจ ใครเชื่อใครทำจะนำพิษคิดให้ดี
• คนชั่วอย่าร่วมงาน คนพาลอย่าเอาเป็นมิตร คนสุจริตมีถมไปคบทำไมคนชั่ว มันจะเสียตัวผู้คบ
• อย่าพูด อย่าทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ คำที่ไม่ควรพูด ละอายมนุษย์ผู้มีหู มีตา ผู้เขามีศีลธรรมพระศาสดา เขาจะหัวเราะ
• ใจไม่คิด ปากไม่พูด ตัวไม่ทำ ความชั่วทรามไม่มีทางมา ใจคิด ปากพูด มือทำ ทำไม่ดีไม่งาม ความชั่วทรามไหลมาหาเราเลย
• ภพน้อยเราก็คงจะไป ภพใหญ่เราก็คงจะมา เพราะอวิชชาบังใจเราไว้ จึงไม่มองเห็นชาติภพของคนจนเท่าวันนี้ ไม่รู้กี่ล้านภพ ไม่จบสักที
• อย่าดีใจจนเกินไป อย่าเสียใจจนเกินไป อย่าร้อนใจจนเกินไป ให้อยู่ในความพอดีนี้สวยงามมาก ถูกหลักศีลธรรม
• ว่าวลอยฟ้าอยู่ได้เพราะลม ศาสนาพระโคดมอยู่ได้เพราะเราไม่ปล่อยให้ศีลธรรมสูญหาย สัตว์เขาไม่ดื่มสุรา ผู้ชอบนักหนาคือมนุษย์ ไม่หยุดสักวัน ดื่มกันอยู่เช่นนั้น วันศีล วันพระ ไม่ละอีกด้วย จนๆ รวยๆ ดื่มได้ไม่เลือกคน
• ผู้ทำความเพียรถึงสว่างคือผู้เดินทางไปพระนิพพาน ไม่มีการพัก พระกรรมฐานต้องอยู่กับความเพียร เหมือนดวงดาวดวงเดือนที่ลอยตัวอยู่บนฟ้า ความเพียรกล้าจึงจะเห็นธรรม
• ผู้ทำความดีเต็มตัว ไม่เหมือนผู้ทำความชั่วเต็มใจ ผู้ทำความดีเต็มตัว ใครเห็นก็บูชา ผู้ทำความชั่วเต็มใจ ใครเล่าเขาจะบูชา เขาเกลียดน้ำหน้า ไม่ฆ่าก็ขังคุก
• ดีเต็มตัวไม่เหมือนชั่วเต็มตน ดีเต็มตัวเขาว่าคนดี ไม่มีความชั่ว ชั่วเต็มตนเขาว่าคนทำชั่วไม่มีความดี ดีไปสุคติ ชั่วไปทุคติ เมื่อละโลกนี้ที่ไปของเขาและทั้งพวกเรา ผู้ทำดีชั่ว
• โจรปล้นไม่เหมือนความเกียจคร้านปล้น โจรปล้นเรายังหาทรัพย์ได้ ความเกียจคร้านปล้น เท่าวันตายเราก็ไม่มีทรัพย์

[/ultimate_modal]