ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th
ข่าวศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

มข.มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ 18 ศิลปินมรดกอีสาน

วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566  รศ.นพชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้ผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2566  โดยมี รศ.ดรนิยม  วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น นายวรศักดิ์  วรยศ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินมรดกอีสาน ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติจำนวนมากเข้าร่วมในงาน  ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้ประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ อมรศิลปินมรดกอีสาน ศิลปินมรดกอีสาน และผู้มีผลงานดีเด่น  ด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน 18 ราย ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพชาญชัย  พานทองวิริยะกุล  กล่าวว่า  “เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน 2566  จึงเป็นโอกาสอันดียิ่งที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้คัดเลือก อมรศิลปินมรดกอีสานผู้ล่วงลับ ศิลปินมรดกอีสาน และผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 ที่อนุรักษ์สืบสาน ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่และยั่งยืน เพื่อเข้ารับการประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติด้านความสามารถทางศิลปวัฒนธรรมสัมพันธ์  รวมทั้งผู้มีบทบาทดีเด่นในการส่งเสริมวัฒนธรรมสัมพันธ์ นับเป็นพลังวัฒนธรรม หรือ soft Power ที่ขับเคลื่อนส่งเสริมวัฒนธรรมให้มีคุณค่า และมูลค่าสู่สากล อันเป็นแบบอย่างอันดียิ่งของประเทศชาติสืบไป”

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลากหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์ และดนตรีไทยซึ่งพระองค์ได้นำมาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศเป็นเอนกอนันต์ จากพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจในด้านศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่นนี้ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสมัญญาว่า เอกอัครราชูถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย และ วิศิษฏศิลปิน

รศ.นพชาญชัย  พานทองวิริยะกุล ประธานในพิธี พร้อมด้วย รศ.ดร.นิยม  วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ นำถวายความเคารพและกล่าวคำถวายอาเศียรวาทราชสดุดี  เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  โดยผู้มีเกียรติร่วมประกอบพิธีถวายราชสดุดีอย่างพร้อมเพรียงกัน

ดรฉวีวรรณพันธุศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี 2536  ร้องหมอลำถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และการแสดงแคน โดย อ้น  แคนเขียว  จากนั้นรศ.นพชาญชัย  พานทองวิริยะกุล ได้ให้เกียรติมอบโล่เชิดชูเกียรติให้แก่ ศิลปินมรดกอีสาน ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์  ประจำปีพุทธศักราช 2566  ตามลำดับ ดังนี้

รางวัลเชิดชูเกียรติอมรศิลปินมรดกอีสาน

  1. นายแสนคม พลโยธาหรือ สุมทุม ไผ่ริมบึง  สาขาศิลปะการแสดง

รางวัลศิลปินมรดกอีสาน

  1. นายเลอพงษ์ พุฒิชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมร่วมสมัย)
  2. นายนคร เหล่าหล้า สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมแนวประเพณีอีสาน)
  3. นายชาตรี เสงี่ยมวงศ์หรือ บุญมา ภูเม็ง สาขาวรรณศิลป์ (อนุรักษ์กาพย์กลอนถิ่นอีสานโบราณ)
  4. นายสิทธิพงษ์ โทไข่ษร (หมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์)ศาขาศิลปะการแสดง (หมอลำเรื่องต่อกลอนทำานองกาฬสินธุ์)

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์

  1. พระเทพวิสุทธิคุณ (ถนอม ชิน นะ วัง โสสาขาศาสนาและประเพณี
  2. พระครูปลัดศรีธรรมวัฒน์ (เจนยุทธนา จิรยุทโธ) “หลวงปู่ภูพาน” สาขาศาสนาและประเพณี
  3. นายบุญตา  ซ้ายสิริ (ช่างทำแคนสาขาหัตถกรรม
  4. นาเกษร โพพันธราช สาขาการแพทย์หรือเภสัชกรรมแผนไทย (หมอนวดขิดเส้น)
  5. นางดาว พานโนหรือ หมอลำดาว พานโน สาขาการแพทย์หรือเภสัชกรรมแผนไทย (หมอลำทรง)
  6. นายประพัฒน์ มะนิสสา(ช่างปื๊ด ปูนปั้น) สาขาศิลปกรรม (ประติมากรรมพุทธศิลป์)
  7. นางพวงพันธ์ คำกอง(พวงพันธ์ เสียงเรไร) สาขาศิลปกรรม (หมอลำกลอน)
  8. นางธัญพร พิมพุกหรือหมอลำอรวรรณ รุ่งเรือง สาขาศิลปกรรม (หมอลำเรื่องต่อกลอนทำานองขอนแก่น)
  9. ศาสตราจารย์ ดร.ดวงมน จิตร์จำานงค์ สาขาภาษาและวรรณกรรม
  10. นางเกษร แสนศักดิ์(สาวลำชี) สาขาสื่อสารวัฒนธรรม
  11. นายวาท ภิญโญ(พ่อน้อยพิณงาม) สาขาสื่อสารวัฒนธรรม (ผลิตลายแกะสลักพิณอีสาน)
  12. นายวิฑูรย์ ไตรรัตน์วงศ์ สาขาสื่อสารวัฒนธรรม
  13. นายเจริญพงศ์ ชูเลิศ สาขาสื่อสารวัฒนธรรม

นายชาตรี เสงี่ยมวงศ์หรือ บุญมา ภูเม็ง ศิลปินมรดกอีสาน  สาขาวรรณศิลป์ (อนุรักษ์กาพย์กลอนถิ่นอีสานโบราณ)  ได้เป็นตัวแทนศิลปินอมรศิลปิน และศิลปินมรดกอีสาน กล่าวแสดงความรู้สึก และขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นกาพย์กลอนถิ่นอีสานโบราณได้อย่างงดงาม  นายวิฑูรย์ ไตรรัตน์วงศ์ เป็นผู้แทนผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน ประจำปีพุทธศักราช 2566 กล่าวแสดงความรู้สึกต่อการได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติในครั้งนี้   นายโกวิฐ วัฒนกุล (โกวิท วัฒนกุลศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปการแสดง ประจำปี 2562  กล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน และผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ และขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้จัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน 2566

งานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน สืบสานวัฒนธรรมสัมพันธ์ในครั้งนี้ ปิดท้ายด้วยการแสดงจากศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 ประกอบด้วย การแสดงหมอลำกลอน โดยนางพวงพันธ์ คำกอง (พวงพันธ์ เสียงเรไร)และการแสดงหมอลำเรื่อง โดยนางธัญพร พิมพุก (อรวรรณ รุ่งเรือง) และการแสดงมรดกแผ่นดินศิลปินมรดกอีสานสืบสานงานศิลป์ โดย นายทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2562  การแสดงของ นายสมจิตร  บ่อทอง  ศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2558  และการแสดงหมอลำโดย หมอลำวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์  ศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2566

ชมภาพและดาวโหลดภาพบรรยากาศในงานทั้งหมดได้ที่

ข่าว/ภาพ  :   วัชรา  น้อยชมภู กองสื่อสาร มข.

  • Date

    สิงหาคม 20, 2021

Share