ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

แก่นจันทร์ นามวัฒน์ (การแสดงพื้นบ้านอีสานใต้)

แก่นจันทร์ นามวัฒน์

ภูมิลำเนาเดิม บ้านซับแดง ตำบลโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี (ขณะนี้คือตำบลซับสมบรูณ์ อำเภอโคกโพธิ์ไชย) จังหวัดขอนแก่นเกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2493 ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2503 ศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนประชาบาลบ้านซับแดง อำเภอมัญจาคีรี) จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ.2506 ศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนวัดน้อย ตำบลตลิ่งชัน จังหวัดนนทบุรี ปี พ.ศ.25109 ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนวัดน้อยในอำเภอตลิ่งชัน(ขณะนั้น) จังหวัดนนทบุรี ปี พ.ศ.2512 ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสุวรรณารารมวิทยาคม ตำบลบางกอกน้อย (ขณะนั้น) อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ปีพ.ศ.2512-2516 ศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรภาคค่ำ 6 ปี สาขาวรสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ได้ยุติการศึกษาในระบบเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองอาชีพ นายสมคิด สิงสง ทำงานดานวรรณกรรมศิลป์มาโดยตลอด และปัจจุบันได้ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน

ภูมิลำเนาเดิมเกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2505 ณ บ้านนาหมอม้า อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นจังหวัดอาจเจริญ) เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 5 คน ของพ่อบุญหลายและแม่ก้าน คุณวุฒิ สมรสกับนางสาวลัดลาวัณย์ก้องทอง มีบุตรี 2 คน คือ ขวัญข้าว และแพรวา คุณวุฒิ

ประวัติการศึกษา สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาขั้นสูง (ป.กศ.สูง) เอกวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี และศึกษาศาสตร์บัณฑิต (ศษ.บ) สาขาบริหารการศึกษา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปีพุทธศักราช 2545 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาชีพ รับราชการครูควบคู่กับการเป็นนักประพันธ์เพลง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 ได้อำลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพอิสระ เป็นนักประพันธ์เพลงรางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2542 ยอดศิลปินแห่งอีสานจากสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2543 ศิลปินดีเด่น จังหวัดอุบลราชธานี สาขาวรรณศิลป์ (การแต่งเพลง) จากสำนักวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2544 รางวัลเพชรสยาม สาภาษาและวรรณกรรมทางการประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี พ.ศ. 2546 รางวัลดีเด่น ในการผลิตงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี พ.ศ. 2546 ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 3 ด้าน ศิลปกรรม (การประพันธ์เพลง) จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2549 รางวัลเพชรในเพลงจากกรมศิลปากร จัดขึ้นเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงที่ให้ความสำคัญและมีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย โดยการประพันธ์เพลงดีเด่นประเภท เพลงลูกทุ่งจากเพลงหอมกลิ่นข้าวจี่ และรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลงานเพลงแรกในชีวิตคือ เพลงอดีตรักทุ่งนาแล้ง และเพลงที่ได้รับการบันทึกเสียงครั้งแรกคือ เพลงชาวหอ ขับร้องโดยรุ่งเพชร แหลมสิงห์ ผลงานเพลงแนวเพื่อชีวิต ได้รับการบันทึกเสียงประมาณ 30 เพลง เพลงลูกทุ่งประมาณ 500 เพลง กลอนลำสำหรับนักร้องหมอลำ ประมาณ 200 กลอน รวมทั้งเพลงประเภทอื่นๆอีกมากมายผลงานเพลงลูกทุ่งที่ครูสลาประพันธ์ขึ้น ล้วนเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น กระทงหลงทาง จดหมายผิดซอง ยาใจคนจน ขายแรงแต่งนาง พี่เมาวันเขาหมั้น น้ำตาผ่าเหล่า ติดร.หัวใจ รองเท้าหน้าห้อง เหนื่อยไหมคนดี ขอคนรู้ใจ ปริญญาใจ หัวใจคิดฮอด กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง แรงใจรายวัน ทำบาปบ่ลง นักสู้ ม.3 ต้องมีสักวัน สัญญากับใจ เพื่อรักเพื่อเรา เป็นต้น แล้วส่งผลให้ศิลปินเหล่านั้นประสบความสำเร็จ เช่น ไมค์ ภิรมย์พร สายัณห์ นิรันดร ศิริพร อำไพพงษ์ ปอยฝ้าย มาลัยพร ลูกแพร-ไหมไทย เอกราช สุวรรณภูมิ ชัยยา มิตรชัย มนต์สิทธิ์ คำสร้อยจักรพรรณ์ อาบครบุรี ต่าย อรทัย เป็นต้น