ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ภาพยนตร์)

อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล

นายอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล เกิดเมื่อพุทธศักราช 2513 ที่กรุงเทพมหานคร แต่เติบโตที่จ.ขอนแก่น จบการศึกษาโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโทด้านวิจิตรศิลป์สาขาภาพยนตร์ จากสถานบันศิลปะมหาวิทยาลัยชิคาโก มีผลงานภาพยนตร์มา 4เรื่อง ได้แก่ “ดอกฟ้าในเมืองมาร” ตามด้วยงานที่สร้างชื่อ “สุดเสน่หา” ที่ได้รับรางวัลเซอร์เทน รีการ์ดประเภทหนังฉายโชว์ จากเทศการภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ปี 45ก่อนจะมาสร้าง “หัวใจทรนง” และผลงานอังทรงคุณค่าที่คว้ารางวัล “จูรี่ ไพรซ์” เรื่อง “สัตว์ประหลาด” จากเทศกาลภาพยนตร์ เมืองคานส์ ครั้งที่ 57 เป็นเรื่องที่ 4

อภิชาตพงศ์ ชื่นชอบหนังมาตั่งแต่เพิ่งย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หลังจากจบปริญญาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ลองหาประสบการณ์กับงานเขียนภาพ ถ่ายภาพ งานด้านเสียง ศิลปะจัดวาง ตลอดจนภาพสามมิติ อยู่ระยะหนึ่งจึงตัดสินใจหันมาทุ่มเทให้กับการสร้างภาพยนตร์อย่างเต็มที่ โดยการสร้างสมประสบการณ์ ไปพร้อมกับการเรียน เขาทำหนังทดลองอย่างต่อเนื่องจนพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะตัวอย่างเห็นได้ชัดในงานชิ้นหลังๆ ซึ่งจะเน้นเรื่องอารมณ์และสภาวะแวดล้อมมากกว่าโครงเรื่อง

อภิชาตพงศ์ ได้ห่อตั้งบริษัทหนังชื่อ ละอองดาวจำกัด หรือที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อ Kick the Machine ขึ้นในปี พ.ศ.2542 เพื่อทำหนังทดลองและหนังในเมืองอิสระในปี 2539 อภิชาตพงศ์ทำหนังสารคดีเรื่อง ดอกฟ้าในเมืองมารซึ่งเป็นหนังยาวเรื่องแรก หนังเรื่องนี้ได้ฉายในงานระดับนานาชาติต่อหลายแห่ง และทางนิตยสาร Film Comment และ Village Voice ยังจัดให้เป็นหนึ่งในหนังดีเด่นประจำปี 2000 ด้วย

ในปีพุทธศักราช 2547 ผลงานเรื่อง “ทรอปิคัล มาลาดิ์” หนังชื่อไทยว่า “สับประหลาด”ได้รับรางวัล “จูรีไพรซ์” รางวัลชมเชยสำหรับ

ผลงานทรงคุณค่าผลงานของ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งเข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ กลายเป็นม้ามืดที่คว้ารางวัล “จูรี ไพรซ์” รางวัลชมเชย สำหรับผลงานอันทรงคุณค่าในเทศกาลภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประเทศไทยได้รับรางวัลเวทีนานาชาติซึ่งเป็นเวทีที่ทรงเกียรติที่สุดของโลกภาพยนตร์ที่เน้นคุณภาพ

อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (ภาพยนต์) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2548 จากสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น