ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

สงคราม งามยิ่ง (หัตถกรรมทอผ้า)

สงคราม งามยิ่ง

นายสงคราม งามยิ่ง เกิดเมื่อพุทธศักราช 2494 ที่อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายสุนทร-นางสา ครอบครัวงามยิ่งมีบุตรทั้งหมด 7 คน เป็นครอบครัวเกษตรกร มีอาชีพทำนาอายุได้ 3 ขวบ คุณพ่อได้เสียชีวิตลง ครอบครัวจึงมีฐานะยากจนลง จึงไมได้มีโอกาสเรียนหนังสือต่อ แต่ได้ช่วยแม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

เนื่องจากเป็นคน ขยัน มานะ มุ่งมั่น อดทน กอปรกับต้องช่วยเหลือมารดาและครอบครัว จึงชวนพี่สาวและน้องสาวไปรับจ้างทอผ้าที่โรงทอดขาไหมทไย อำเภอชนบท สงครามฝิ่นฝึกการทอผ้าไหมพื้นฐานจากที่นั่น จึงถือว่าเปรียบเสมือนโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งของเขา เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสนใจในการทอผ้า และใฝ่รู้ท่านจึงสามารถทำผ้ามัดหมี่ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และทราบถึงกระบวนการขั้นตอนของการทำผ้าลายมัดหมี่ และคิดสร้างสรรค์ลวดลายลายเองได้ เพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น

ด้วยความสามารถและเชี่ยวชาญ ในการทอผ้าและออกแบบลวดลายเป็นอย่างดี ในปีพุทธศักราช 2520 กลุ่มเพื่อนมองเห็นว่านายสงคราม มีฝีมือดี จึงชวนกันทอผ้ามัดหมี่เข้าประกวดในงานเทศกาลไหม ของจังหวัดขอนแก่นในปีแรก ได้รับรางวัลชมเชยหลังจากนั้นจึงเดินทางไปกรุงเทพมหานครกับเพื่อนๆเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติดูลายผ้าโบราณ แล้วจดจำสีและลายฝ้านำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบลายผ้ามัดหมี่ หลังจากนั้นได้ส่งผ้าไหมเข้าประกวดเป็นประจำทุกปี นับแต่ พุทธศักราช 2521 เป็นต้นมาในงานเทศกาลไหมจะต้องรู้จักชื่อสงคราม งามยิ่ง เนื่องจากได้รางวัลชนะเลิศมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันทั้งในระดับจังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและระดับประเทศ จนมีตราสัญลักษณ์ผ้ามัดหมี่เป็นของตัวเองในชื่อสงคราม งามยิ่ง จนปีพุทธศักราช 2541 ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณรางวัลชมเชย ประเภทประกวดลายผ้าไหมลายสร้างสรรค์ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ซึ่งเป็นรางวัลที่สร้างความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

นายสงคราม งามยิ่ง ได้รับการยอมรับในฝีมือที่มีความงดงาม ประณีต ยากที่จะหาผู้ใดเทียบได้ จึงมีผู้นิยมมาว่าจ้างและมาศึกษาการทำผ้าไหมอยู่เสมอ จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมบ่มเพราะมายามนานจึงได้รับการเชื้อเชิญไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ นักศึกษาและคณาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆและชุมชนที่ทอผ้าไหมมัดหมี่ และการออกแบบลวดลายผ้า นับครั้งไม่ถ้วน

นายสงคราม งามยิ่ง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมทอผ้า) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2550 จากสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น