วันที่ 27 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับหลักสูตรวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมจัดเสวนาในหัวข้อ “สภาวการณ์ งานช่างศิลปะในกรุงเทพ งานช่างศิลปะอีสาน ” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงเป็นวิทยากรในการเสวนา ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.นิยม วงษ์พงศ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประธานหลักสูตรวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference)
สำหรับการเสวนาในหัวข้อ “สภาวการณ์งานช่างศิลปะกรงเทพฯ งานช่างศิลปะอีสาน” เริ่มต้นขึ้นด้วยการบรรยายโดย รศ. ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ เรื่องราวของประวัติศาสตร์ “อีสาน” ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ อีสานก่อนสมัยประวัติศาสตร์ และ อีสานยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งความเป็นมาของประวัติศาสตร์นั้นสัมพันธ์กับสรรค์สร้างศิลปกรรม
ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม วิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ได้กล่าวไว้ว่า “ศิลปกรรมสะท้อนคน สะท้อนสังคม” ซึ่งศิลปะกรรมในทุกยุคสมัยได้สะท้อนเรื่องราวของผู้คน สังคมและประวัติศาสตร์ออกมา ดังเช่นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 – 3) จิตรกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นศิลปกรรมแนวประเพณี เน้นอุดมคติ จินตนาการ จนกระทั่งการรับอิทธิพลของชาวตะวันตกทำให้ภาพเขียนจิตรกรรม ศิลปกรรม นั้นเป็นศิลปกรรมแนวสมจริง(เรียลลิสติก) ซึ่งเล่าเรื่องราวปัจจุบันมากขึ้น ในขณะที่ศิลปะของกรุงเทพฯ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่ทางช่างอีสานได้สร้าง “สิม” และจิตรกรรมฝาผนังบนสิม หรือ “ฮูปแต้ม” ขึ้น แต่ด้วยความที่กรุงเทพฯ เป็นราชธานีจึงมีพลังในการสร้างสรรค์ศิลปะขนาดใหญ่ ได้มากกว่าอีสานซึ่งจะสร้างตามวิถีชนบท
ภายหลังการบรรยายโดย ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม ได้มีการถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ที่แม้ว่าจะเป็นการเสวนาออนไลน์ แต่บรรยากาศการเรียนรู้นั้นก็ไม่แตกต่างจากกาวเสวนาในรูปแบบปกติ นับว่าเป็นการเสวนาที่เปี่ยมด้วยหัวใจแห่งการเรียนรู้ท่ามกลางวิถีใหม่ หรือ New Normal นั่นเอง
สำหรับการเสวนาในหัวข้อ “สภาวการณ์งานช่างศิลปะกรงเทพฯ งานช่างศิลปะอีสาน” เริ่มต้นขึ้นด้วยการบรรยายโดย รศ. ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ เรื่องราวของประวัติศาสตร์ “อีสาน” ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ อีสานก่อนสมัยประวัติศาสตร์ และ อีสานยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งความเป็นมาของประวัติศาสตร์นั้นสัมพันธ์กับสรรค์สร้างศิลปกรรม
ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม วิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ได้กล่าวไว้ว่า “ศิลปกรรมสะท้อนคน สะท้อนสังคม” ซึ่งศิลปะกรรมในทุกยุคสมัยได้สะท้อนเรื่องราวของผู้คน สังคมและประวัติศาสตร์ออกมา ดังเช่นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 – 3) จิตรกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นศิลปกรรมแนวประเพณี เน้นอุดมคติ จินตนาการ จนกระทั่งการรับอิทธิพลของชาวตะวันตกทำให้ภาพเขียนจิตรกรรม ศิลปกรรม นั้นเป็นศิลปกรรมแนวสมจริง(เรียลลิสติก) ซึ่งเล่าเรื่องราวปัจจุบันมากขึ้น ในขณะที่ศิลปะของกรุงเทพฯ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่ทางช่างอีสานได้สร้าง “สิม” และจิตรกรรมฝาผนังบนสิม หรือ “ฮูปแต้ม” ขึ้น แต่ด้วยความที่กรุงเทพฯ เป็นราชธานีจึงมีพลังในการสร้างสรรค์ศิลปะขนาดใหญ่ ได้มากกว่าอีสานซึ่งจะสร้างตามวิถีชนบท
ภายหลังการบรรยายโดย ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม ได้มีการถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ที่แม้ว่าจะเป็นการเสวนาออนไลน์ แต่บรรยากาศการเรียนรู้นั้นก็ไม่แตกต่างจากกาวเสวนาในรูปแบบปกติ นับว่าเป็นการเสวนาที่เปี่ยมด้วยหัวใจแห่งการเรียนรู้ท่ามกลางวิถีใหม่ หรือ New Normal นั่นเอง
เนื้อหาข่าว : บุญยืน เปล่งวาจา ธิดารัตน์ สีหะกีรงไกร
ภาพ : กมลพร อรรคฮาต