วัดโพธิ์ชัย
ประวัติความเป็นมา
วัดโกเสยเขต หรือวัดโกเสยเขต สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยพระเฉพาะพรหมมาโกสโล ได้นำศรัทธาญาติโยมในหมู่บ้านบุกเบิกที่วัดจนราบเตียน แล้วได้สร้างเสนาสนะขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เขตวิสุคามสีมา กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนพระปริยัตติธรรมแผนกบาลี เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๒๘ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๒๗ และโรงเรียนผู้ใหญ่วัด เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๐๕
ที่ตั้ง
เลขที่ ๑ บ้านปะโค ถนนแก้วจรวุฒิ หมู่ที่ ๑ ตำบลปะโค อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ไร่ ๒ งาน ๑๘ ตารางวา โฉนด เลขที่ ๔๕๐๖๓ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๑๙ วา ๑ ศอก จดทางสาธารณะ ทิศใต้ประมาร ๑๑ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณะ ทิศตะวันอกประมาณ ๓ เส้น ๑๐วา ๒ ศอก จดถนนแก้ววรวุฒิ ทิศตะวันตกประมาณ ๓ เส้น ๑๐วา ๒ ศอก จดที่ดินนายอ้ม นายน้อย นายบุญธรรม นายทองมี
อาคารเสนาสนะ
อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ๓ หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปสำริด
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระอธิการปุย พนมใหญ่
รูปที่ ๒ พระอธิการทุม บุตรโท
รูปที่ ๓ พระอธิการเบ้า
รูปที่ ๔ พระอธิการอ้วน บุตรโท
รูปที่ ๕ พระปลัดอาน บุตรโท
รูปที่ ๖ พระอธิการลือ สุวัณโณ
รูปที่ ๗ พระครูอดุลศีลพรต
รูปที่ ๘ พระสมุห์พิบูลย์ สุจิตโต ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔
พระธาตุเจดีย์ รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๓๐ เมตร
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ซึ่งมีฐานะเป็นวัดอารามหลวง
พระใส วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดหนองคาย มีพุทธลักษณะแบบ พระพุทธปฏิมาสกุลช่างเวียงจันท์มากกว่าองค์ที่กล่าวถึงข้างต้น นอกจากนั้นแล้ว ฐานที่มีบัวตอนบน และตอนล่างอ่อนโค้งก็เป็นลักษณะเฉพาะของสกุลช่างนี้เช่นกัน จึงน่าจะสร้าง ขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๗๖ – ๒๒๓๓ / ค.ศ. 1633 – 1690) มากกว่า สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้อล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้วของช่างไม้
ประวัติการสร้าง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้องมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
การประดิษฐาน
เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า “เวินแท่น”
การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินสุก” และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯและอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะ อัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า “หลวงพ่อเกวียนหัก”
ประวัติเกี่ยวกับการหล่อ ตามความสันนิษฐานเข้าใจว่าหล่อในสมัยเชียงแสนช่วงหลังๆ จะหล่อที่ไหน เมื่อไรนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เชื่อแน่ว่าไม่ใช่หล่อที่เมือง เชียงแสนดังที่บางท่านเข้าใจ ทั้งนี้เพราะมีคำที่รับรองกันได้โดยมากว่าเป็นพระพุทธรูปลานช้าง ซึ่งสมัยนั้น(สมัยเชียงแสน) ประเทศลานช้างยังเป็นประเทศที่รุ่งเรืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็กำลังเจริญรุ่งเรือง พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงฝักใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการหล่อพระพุทธรูปยิ่งสนพระทัยเป็นพิเศษ
อนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ลงความเห็นไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยาม หน้า ๑๐๒ ว่า “ พระพุทธรูปลานช้างที่งามยิ่งกว่าองค์อื่นคือ “พระเสริม” อยู่ในพระวิหารวัดประทุมวัน” นี้แสดงให้เห็นว่า พระใสต้องเป็นพระพุทธรูปที่หล่อในประเทศลานช้างแน่เพราะพระพุทธรูป ๓ องค์คือ พระสุก พระเสริม พระใส หล่อในคราวเดียวกันและเคียงคู่กันมาเสมอเท่าที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อจะให้เป็นเหตุสนับสนุนทางที่จะเล่าทางหนึ่งว่า หลวงพ่อพระใสหล่อที่ประเทศลานช้าง โดย มีธิดา ๓ พระองค์แห่งกษัตริย์ลานช้างเป็นเจ้าศรัทธา ทั้งหมดเป็นพี่น้องร่วมพระวงศ์เดียวกัน (บางท่านว่าเป็นธิดาของพระไชยเชฏฐาธิราช) มีพระนามตามลำดับว่า สุก เสริม ใส มีพระทัยร่วมกันเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะหล่อพระพุทธรูปประจำองค์ จึงได้พร้อมกันขอพรจากพระบิดาพระบิดาประทานพรให้ จึงให้ช่างหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ ขนาดลดกันตามลำดับ ครั้นแล้วจึงขนานนามพระพุทธรูปเหล่านั้นโดยขอฝากพระนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระสุก (ประจำผู้พี่ใหญ่) พระเสริม(ประจำคนกลาง) พระใส (ประจำคนเล็ก)
ในการทำพิธีหล่อนั้นทั้งทางบ้านและทางวัดได้ช่วยกันเป็นการใหญ่โต มีคนทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นับเป็นเป็นเวลา ๗ วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพล (๑๑.๐๐น) เหลือพระภิกษุแก่ กับเณรน้อยรูปหนึ่งทำการสูบเตาอยู่ ในขณะนั้นได้ปรากฎมีชีปะขาวตนหนึ่งมายังที่นั้นและขอทำการสูบเตาช่วยซึ่งพระ ภิกษุและสามเณรน้อยนั้นก็มิได้ขัดข้อง เมื่อชีปะขาวทำการสูบเตาแทนแล้ว พระภิกษุและสามเณรก็ได้ขึ้นไปฉันเพลบนศาลาตามปกติธรรมดาทุกวัน เมื่อพระกำลังฉันเพลอยู่ญาติโยมที่มาส่ง เพลย่อมลงมาทำการสูบแทนเสมอ แต่วันนั้นญาติโยมแลเห็นคนสูบเตามากกว่าปกติท่อเตาก็มีมาก แต่ละคนเป็นชีปะขาวเหมือนกันหมด ด้วยความอัศจรรย์ใจยิ่งจึงได้ถามพระ ภิกษุ แต่พระภิกษุแลไปก็เห็นเพียงชีปะขาวรูปเดียวเท่านั้น พอฉันเพลเสร็จ คนทั้งหมดก็พากันลงมาดู ครั้นถึงก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เพราะเหตุที่ได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้าโดยเรียบร้อยแล้ว และไม่ปรากฏเห็นชีปะขาวนั้นเลยสักคนเดียว
ที่ประดิษฐานพระสุก พระเสริม พระใส คราวแรกประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ นานเท่าไรไม่ปรากฏ ครั้นพ.ศ ๒๓๒๑ เมื่อรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกิดสงคราม ขึ้นระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทร์) ครั้นนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึก ได้เป็นจอมพลยกทัพมาตีเวียงจันทร์ เมืองเวียงจันทร์จึงเกิดยุคเข็ญขึ้น พระเจ้าธรรมเทวงศ์จึงได้อันเชิญไปไว้ที่เมืองเชียงคำ ครั้นต่อมาด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ พระใสจึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัด โพนชัย เมือง เวียงจันทร์อีก
ต่อมารัชการที่ ๓ แห่งจักรีวงศ์ปรากฏว่าที่เมืองเวียงจันทร์ (เจ้าอนุฯ ) เกิดเป็นขบถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสีย พระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทน์ สงบดีแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส มาประดิษฐาน ณ ที่วัดโพธิ์ชัยเมืองหนองคาย
ในตอนที่อัญเชิญพระใสจากเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยเมืองหนองคายนี้ คราวอัญเชิญมาไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรงแต่ได้อัญเชิญมา จาก ถูเขาควายซึ่งชางเมืองได้อัญเชิญไปซ่อนไว้แต่ครั้งเวียงจันทน์เกิดสงคราม การอัญเชิญมาได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ซึ่งอัญเชิญมาทั้ง ๓ องค์ ล่องมาตามลำแม่น้ำโขงเมื่อถึงตรงบ้านเวินแท่นที่นั้นได้เกิดอัศจรรย์คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำโดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอนเอียงแพไม่ สามารถรับน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ อาศัยเหตุที่แท่นของพระสุกได้จมลง ณ ที่ตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินแท่น” มาจนบัดนี้
ครั้นเสียแท่นพระสุกแล้วก็ยังอัญเชิญล่องมาตามลำน้ำโขง (น้ำงึ่ม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เล็กน้อย พอถึงที่นั้นได้บังเกิดพายุใหญ่เสียงฟ้าคะนองร้องลั่น จนในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ พอพระสุกจมลงในน้ำแล้วอาการวิปริตต่างๆ ก็สงบเงียบอาศัยเหตุนี้ ที่นั้นจึงได้นามว่า “เวินสุก” (จนบัดนี้พระสุกยังจมอยู่ในน้ำโขงตรงนั้นตราบเท่าทุกวันนี้ ) เมื่อเป็นเช่นนี้ยังคงเหลืออยู่แต่พระเสริมกับพระใส ที่ได้นำเข้ามาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัยส่วนพระใสได้ประดิษฐานไว้ ณ วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ (วัดหอก่อง) ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวงอัญเชิญ พระเสริม จากวัดโพธิ์ชัยลงไปกรุงเทพฯ ขุนวรธานีเมื่อมาถึงหนองคาย ได้ทราบว่าพระใสเป็นคู่กับพระเสริมจึงได้อัญเชิญจากวัดหอก่องขึ้นสู่เกวียน นัยว่า จะอัญเชิญไป กรุงเทพฯ กับพระเสริม แต่พอมาถึง ณ วัดโพธิ์ชัย พระใสได้แสดงปาฏิหาริย์ไม่สามารถขับเกวียนซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อ พระใสให้เคลื่อนที่ไปได้ แม้ใช้เครื่องฉุดก็ไม่สามารถเช่นเดียวกัน ได้ทำการอ้อนวอนด้วยประการต่างๆ ก็ไม่เป็นผล จนในที่สุดเกวียนไดหักลง คราวนี้ได้หาเกวียนใหม่มาเป็นที่ประดิษฐาน แต่ก็อัศจรรย์อีกเพราะเกวียนไม่สามา รถจะเคลื่อนที่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงปรึกษากันว่าจะอัญเชิญหลวงพ่อพระใสประดิษฐานไว้ที่วัด โพธิ์ชัยแล้วก็ทำการอธิษฐานเป็นผลดังใจนึกพอเข้าหามไม่กี่คนเท่านั้นองค์ หลวงพ่อพระใส ก็ถูกยกขึ้นประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดโพธ์ชัยได้โดยง่ายให้พวกเราได้เคารพ สักการะเป็นการกุศล ส่วนพระเสริมนั้นได้อัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ประดิษฐานอยู่วัดปทุมวนารามจนถึงทุกวันนี้
ส่วนพระสุกซึ่งจมน้ำอยู่ที่เวินสุกนั้นได้ทราบว่า เมื่อหลายสิบปีก่อนทางฝ่ายบ้านเมืองที่จังหวัดหนองคาย ได้ทำการปรารภจะอันเชิญขึ้นจากน้ำ เพื่อจะได้นำมาประดิษฐานไว้คู่เคียงกับพระใส แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะมีเหตุขัดข้องบางประการที่ได้ทราบมา คือ อาศัยความที่ พระสุกได้จมอยู่ในน้ำเป็นเวลาช้านานทำให้ดินทับทมไม่สะดวกในการที่จะอันเชิญ ได้โดยง่าย อีกอย่างหนึ่งเป็นเพราะชาวบ้านแถวนั้นไม่ยินยอมให้นำขึ้นเพราะเกรงกลัวต่อ ภยันตรายอันจะพึงมีมา ทั้งนี้ เนื่องด้วยประชาชนในถิ่นนั้น (รวมทั้งถิ่นอีสานส่วนมากด้วย) ถือว่า การกระทำเช่นนี้ย่อมให้เจ้าภูมิท้องถิ่น เกิดความไม่พอใจแล้วอาจบันดาลให้มีเหตุเภทภัยนานาประการ
จิตรกรรมฝาผนังสมัยใหม่เขียนเรื่องราววัฒนธรรมอีสานและตำนานต่างๆ