ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดหายโศก

ประวัติความเป็นมา

วัดหายโศก สร้างเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้รับพระราชทานวิสงคามสีมาคือวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๘ ตรงยาว ๒๒  เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ  รูปที่ ๑  พระกั่ว พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๔ รูปที่ ๒ พระหนู พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๘ รูปที่ ๓ พระครูสุนทรธรรมขันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๗๔ รูปที่ ๔ พระอโสกเขมาจารย์ พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๕๑๐ รูปที่ ๕ พระครูจันโทปมคุณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอน  พ.ศ. ๒๕๐๐ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๐๐ ไม่ทราบนามผู้สร้าง การสร้างและบูรณะพัฒนาวัด ได้อาศัยบารมีหลวงพ่อพระใสที่เป็น ได้อาศัยบารมีหลวงพ่อพระใสที่เป็นที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองหนองคาย ได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์และอื่น ๆ พัฒนาวัดมาเป็นลำดับเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระครู รูปที่ ๒ หลวงพอสังข์ รูปที่ ๓ หลวงพอจันทร์ รูปที่ ๔ พระเหมือย  รูปที่ ๕ พระมุ้ย  รูปที่ ๖ หลวงพ่ออุ่น รูปที่ ๗ พระครูใบฎีกาเมือง พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๙ รูปที่ ๘ พระอ่าง พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๖ รูปที่ ๙ พระครูลัดเรือง พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๙ รูปที่ ๑๐ พระมหานวน เขมจารี พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๑ รูปที่ ๑๑ พระเวทีวุฒิกร (ชัชวาลย์ ชุตินธโร) พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๑๕ รูปที่ ๑๒ พระราชปรีชาญาณมุนี ปรีชาญาณมุนี (นวน เขมจารี) พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๓๒ รูปที่ ๑๓ พระสุวรรณธีราจารย์ (คำบ่อ อรุโณ) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๔๘๒ แผนกบาลี เปิดสอน พ.ศ. ๒๔๘๒ นอกจากนี้มีมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์เพื่อการศึกษา และปฏิบัติธรรมวัดโพธิ์ชัย

ที่ตั้ง

วัดหายโศก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐๘ ถนนหายโศก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ไร่ ๒ งาน ๒ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๘๗๔๐ เมตร จดแม่น้ำโขง ทิศใต้ประมาณ ๗๔ เมตร จดห้องสมุดประชาชน ทิศตะวันออกประมาณ ๑๑๐ เมตร จดถนนหายโศก ทิศตะวันตกประมาณ ๑๑๐.๔๐ เมตร จดคลองหายโศก อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฎิสงฆ์ ๓ หลัง ปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ปางมารวิชัย พระพุทธรูปทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓๐ และ ๒๕ นิ้ว

อาคารเสนาสนะ

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

เป็นสิมซึ่งมีความชำรุดทรุดโทรมสูงมาก ทางวัดอยากรื้อถอนนานแล้ว แต่ว่ามักเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีแก่ผู้ทำการรื้อถอนมาโดยตลอด ทางวัดเกรงว่าสิมเก่าหลังนี้จะหักโค่นลงจึงได้ปลูกต้นไม้ไว้รอบสิมเพื่อประคองไม่ให้แตกหักพังทะลายลง

ด้านข้าง (อีกด้านหนึ่งมีรถจอดอยู่ถึง 3 คัน) และ ด้านหลัง
ด้านขวาของวัดมีสิมใหม่ รูปทรงใหญ่โตแต่ก็ชำรุดทรุดโทรม
สิมเก่าตั้งอยู่กลางวัดมีการบูรณะเพิ่มเติม เช่น ฝ้า หลังคา พื้น
และ โครงเหล็กด้านหน้าซึ่งทำให้เกิดการบดบังทัศนียภาพของสิมไปเสีย

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

แขนนางไม้แกะสลัก

สีหน้า  หรือ หน้าบัน ทำเป็นรัศมีโดยรอบ หน้าต่างฝีมือแนวภาคกลาง

ซุ้มประตูทางเข้าและบานประตูแกะสลัก

ภายในสิม พระประธานองค์เดิม ฐานชุกชีมีการปั้นปูนที่ละเอียดอ่อนมาก