ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์

วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์

ประวัติความเป็นมา

ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐ โดยมีญาครูตีนก้อมเป็นผู้นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้น  ต่อมา คุณยายศรีนวลเห็นว่าบริเวณวัดคับแคบจึงได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อวัดว่า วัดศรีนวล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๒.๓๐ เมตร ยาว ๑๗.๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ ญาตีนครูก้อม

ที่ตั้ง

บ้านชีทวน หมู่ที่ ๒ ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ศาลาการเปรียญ

ธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก      สร้างประมาณปี พ.ศ. 2468-2470 ตั้งอยู่ในศาลาการเปรียญ เป็นงานศิลปกรรมที่เกิดจากงานผสมผสานความคิดแบบไทย  กับฝีมือช่างชาวญวนเวียง  ธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก    มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์ ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้แกะสลักทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันลงมา อย่างสวยงาม มีทั้งภาพของเหล่าเทพและปราสาท  ส่วนตัวสิงห์ด้านหัวเป็นหัวสิงห์ ตรงกลางเป็นทรงเจดีย์มีช่องสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน มีรูปภาพเขียนสีเป็นรูปของเหล่าเทวดาและดอกไม้ของชาวฝรั่ง

ธรรม มาสสิงห์ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นด้านที่ใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนามากกว่า ทุกด้านและถือเป็นด้านหน้าทางขึ้นศาลาการเปรียญ
บริเวณ หลังคามีลายฉลุไม้ลดหลั่นกันอย่างลงตัว จุดเด่นของหลังคาธรรมมาสสิงห์ทางด้านทิศนี้ ก็คือ การฉลุลายไม้เป็นลายเมฆแบบจีน เช่น “ลายเมฆยู่อี่”และส่วนของลายฉลุหลังคาเรือนธรรมมาสยังมีตัวอักษรโซ่งจื้อ หรือซิ่วในวงกลม ซึ่งเป็นอักษรแห่งความยังยื่นโดยมีความหมายว่า ความสมบูรณ์ ความหวัง

ส่วนตัว เรือนธรรมมาสทางทิศเหนือนี้จะประกอบไปด้วย เทวดามีพาหนะเป็นค้างคาว ซึ่งหมายถึงเทพที่คอยปกป้องรักษาธรรมมาสตัวนี้ เทวดาแบบไทยในท่าฟ้อนรำ ซึ่งหมายถึง การร่วมยินดีในเวลาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีค้างคาวอยู่มุมบนทั้ง 2 ด้าน ซึ่งหมายถึงการมีโชคลาภ ถ้าค้างคาวคู่ก็หมายถึง โชคคู่ นั้นเอง และยังมีดอกโบตั๋น ซึ่งเป็นดอกไม้มงคล ของจีน และยังมีสัตว์ตามธรรมชาติ เช่นเสือ นก หงส์ กระลอก ที่ทุกตัวคาบดอกไม้ ซึ่งแสดงความเคารพ ศรัทธา ในศาสนา และยังมีหัวมังกรที่เป็นต้นกำเนิดของพันธ์พฤกษา

ส่วน ตัวสิงห์ นั้นเป็นศิลปะการปั่นแบบนูนต่ำ ซึ่งมีลวดลายของเกร็ดสิงห์ที่ผสมผสานกับพันธ์พฤกษาได้อย่างลงตัว และบริเวณตรงกลางลำตัวสิงห์ยังมีผ้าทิพย์ห้อยลงมาคล้ายกับฐานพระพุทธรูป ประดับให้ดูมีค่ามากยิ่งขึ้น

ธรรม มาสสิงห์ทางด้านทิศใต้ ซึ่งทางด้านทิศนี้นั้น มีเสาหงส์คู่ที่มีตุงติดอยู่ หมายถึงการบูชาพระรัตนตรัย ส่วนบริเวณทางขึ้นธรรมมาสยังมีซุ้มพระเหนือประตูทางเข้าธรรมมาส ซึ่งมีนาค 2 ตัว เอาหางพันกัน ซึ่งเป็นซุ้มที่คอยปกป้องรักษาธรรมมาสสิงห์ ส่วนตัวบันไดทางขึ้นสำหรับให้พระภิกษุแสดงธรรมเทศนานั้น ยังเป็นการฉลุไม่เป็นแม่บันไดนาคโดยมีเพาะรองรับบันไดไว้

บริเวณ หลังคาธรรมมาสมีลายฉลุเป็นลายพันธุ์พฤกษา ได้แก่ลายเครือเถา ลายดอกไม้ และยังมีลายฉลุรูปสัตว์ เช่น มังกร รูปนก ยังมีลายดอกไม้ขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง และยังมีรูปหงส์สลัก ทางกลางลายพันธ์พฤกษาบริเวณส่วนหัวของหงส์สลักเป็นรูปวงกลมคล้ายดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์

ส่วน ตัวเรือนธรรมมาสนั้น ยังมีรูปหงษ์ อยู่ตรงกลาง ซึ่งหมายถึงความสง่างาม ยังตัวธรรมาสยังมีลายพันธ์พฤกษา โดยมีหัวมังกรเป็นต้นกำเนิดของลาย ธรรมมาสทางทิศใต้นี้ ยังมีรูปบุคคลที่แต่งกายคล้ายทหาร ซึ่งความเชื่อของอีสานจะหมายถึงบุคคลที่คอยดูแลศาสนสถานเหล่านั้น

ส่วน ตัวสิงห์ นั้นเป็นศิลปะการปั่นแบบนูนต่ำ ซึ่งมีลวดลายของเกร็ดสิงห์ที่ผสมผสานกับพันธ์พฤกษาได้อย่างลงตัว และบริเวณตรงกลางลำตัวสิงห์ยังมีผ้าทิพย์ห้อยลงมาคล้ายกับฐานพระพุทธรูป ประดับให้ดูมีค่ามากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับทางทิศเหนือ

ธรรม มาสสิงห์ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศของหัวสิงห์ ส่วนหัวสิงห์นั้น ช่างได้คิดออกแบบตามลักษณะของศิลปะญวนเด่นด้วยของหงอนอยู่บนตัวสิงห์ลักษณะ คล้ายเปลวดวงตาจะใช้กระจกเงาแบบโบราณที่มีโลหะล้อมไว้ปากจะอ้า เห็นฟันและเขี้ยวชัดเจน การให้สีสันจะมีความอิสระของช่างมาก

บริเวณ หลังคาธรรมมาสมีลายฉลุเป็นลายพันธุ์พฤกษา ได้แก่ลายเครือเถา ลายดอกไม้ และยังมีลายมังกร 2 ตัว หันหน้าเข้าหาดอกไม้ขนาดใหญ่อยู่ตกกลาง และยังมีรูปไก่ 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันท่ามกลางลวดลายต่างๆ โดยเฉพาะก้อนเมฆด้านบน ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนหรือเวียดนาม

ส่วน ตัวเรือนธรรมมาสนั้นยังมีรูป หน้ากาล ซึ่งคติความเชื่อที่นิยมนำมาประดับตกแต่งซุ้มประตูหน้าต่างในงานศาสนสถาน และยังมีลายพันธ์พฤกษาต่างๆ ที่มีต้นกำเนิดจากหัวมังกร และทางด้านซ้ายจะมีรูปบุคคล 2 คน คนแรกแต่งกายในลักษณะชาวจีน และอีกคน ก็แต่งกายในลักษณะพม่า ส่วนด้านขวานั้น ยังมีบุคคล 3 คน ซึ่ง 2 คนแรกเป็นชาย หญิง เดินควงกันซึ่งต่างกายในชุดชาวฝรั่งเศส และยังมีคนรับใช้ที่บนหัวมีถาดใส่ปลา ดอกบัว และดอกโบตั๋น ซึ่งความเชื่อของจีนแล้วนั้นหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ และยังมีรูปสัตว์ต่างๆ อีกด้วยเพื่อช่วยให้องค์ประกอบของตัวธรรมมาสสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ส่วน ตัวสิงห์ นั้น ซึ่งทางดานทิศนี้จะเป็นทิศของหัวสิงห์รายละเอียดได้กล่าวไปแล้วนั้น นอกเหนือจากนี้ลำตัวด้านทิศเหนือนี้ ยังมีลวดลายของพันธ์พฤกษาที่ผสมผสานกับเกร็ดของสิงห์ ซึ่งแสดงถึงความสามารถของช่างที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืน

ธรรมมาสสิงห์ ทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของส่วนหางของธรรมมาสสิงห์ ในส่วนก่อนที่จะเป็นหางนั้นช่างได้ทำลายในส่วนของด้านหลังส่วนบนเป็นลายปูน ปั้นพันธ์พฤกษาก่อนจะมีโคนของหาง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกาบ 2 ชั้น มีกาบทั้งหมด 5 กาบ และจึงแยกหางออกเป็น 4 เส้น แต่ละเส้นมีความยาวลดลั่นกันได้สัดส่วนดูอ่อนซ้อยแต่เข้มแข็ง โดยมีลวดลายคล้ายก้อนเมฆหลากสี

บริเวณหลังคาธรรมมาสมีลายฉลุเป็นลาย พันธุ์พฤกษา ได้แก่ลายเครือเถา ลายดอกไม้ และยังมีลายมังกร 2 ตัว หันหน้าเข้าหาดอกไม้ มี 15 กลีบข้างในวงกลมเดินเส้น 2 เส้น และยังมีรูปลวดลายสานขัดแตะเลียนแบบลายสานในการทำเครื่องจักรสาน และยังมีรูปนางเงือก อยู่ในลักษณะท่าว่ายน้ำเล่นอย่างมีความสุข นางเงือกจะสวมมงกุฎ กรองคอ กำไล

ส่วน ตัวเรือนธรรมมาสนั้นยังมีรูป หน้ากาล ซึ่งคติความเชื่อที่นิยมนำมาประดับตกแต่งซุ้มประตูหน้าต่างในงานศาสนสถาน และยังมีลายพันธ์พฤกษาต่างๆ ที่มีต้นกำเนิดจากหัวมังกร และยังมีรูปคนจีนผมแกระทั้งสองข้าง ยืนอยู่บนหลังช้าง มือซ้ายถือดอกโบตั๋น และบุคคลอีกด้านยังชายที่สวมหมวกมียอดแหลม ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ถือดอกไม้วิ่งเข้าหาหน้าต่าง แสดงออกถึงอารมณ์ได้อย่างชัดเจน และยังมีรูปนก รูปม้า บริเวณตัวเรือนทางด้านทิศนี้ยังมีหน้าต่างฉลุไม้แกะสลักเป็นลวดลายพันธ์ พฤกษา

ส่วนตัวสิงห์ นั้น ซึ่งทางดานทิศนี้จะเป็นทิศของหางสิงห์ รายละเอียดได้กล่าวไปแล้วนั้น ซึ่งส่วนหางนี้จะมีลักษณะคล้ายกับหางนกในนิยายของจีนอีกด้วย

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

พระพุทธรูปปางประธานองค์ปัจจุบันที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ เป็นพระพุทธตรัสรู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530เป็นพระโลหะสำริด หน้าตักกว้าง 1.3 เมตร สูง 1.5 เมตร ฐานชุกชีกว้าง 1.9 เมตร สูง 1.5 เมตร ด้านข้างลึก 1.3เมตร
พระพุทธรูปปางประธานองค์เดิม ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์เดียวกันกับองค์ใหม่เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย สร้างในปี 2468 ซึ่งย้ายมาจากสิมเดิม หน้าตักกว้าง 1เมตร สูง 1.50 เมตร ตั้งอยู่บนโต๊ะสูงประมาณ 1 เมตร