ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

วัดศรีฐาน

ประวัติความเป็นมา

วัดศรีฐาน ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๐ เมตร  ยาว ๑๕ เมตร  การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระอธิการบาล
รูปที่ ๒ พระอธิการเปรม  จิตตะวัณโณ
รูปที่ ๓ พระอธิการสด
รูปที่ ๔ พระอธิการงวน
รูปที่ ๕ พระอธิการตั๋ว
รูปที่ ๖ พระอธิการพรมมา

ที่ตั้ง

ศรีฐาน ตั้งอยู่ที่บ้านหนาด  หมู่ที่ ๘ ตำบลเทิดไทย  อำเภอทวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๘๒ ตารางวา อาณาเขต  ทิศเหนือ  ประมาณ ๒ เส้น ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น ทิศตะวันออกประมาณ ๓เส้น ๕ วา ทิศตะวันตกประมาณ ๓ เส้น ๕ วา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ ๑๐๕ ไร่

อาคารเสนาสนะ

อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง  ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน ๑หลัง

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

ฐานและผนังใชัก่ออิฐซื่งชาวบ้านทำขึ้นเองจากดินเหนียวในบริเวณหมู่บ้าน ฉาบปูนด้วยชะทาย ดือปูนขาวผสมยางบงเเละน้ำหนัง  เครื่องบนหลังคาเป็นไมัเนื้อแข็ง ขนาต ๒” x๖” ทำเป็นขื่อ, อะเส, ดั้งและจันทัน ตั้งลดหลั่นขึ้นไปสูง ๓ ชั้น มีช่องระบายอากาศแต่ละชั้นได้รูปทรงที่สวยงามพร้อมไปกับประโยชน์ใช้สอยที่ถูกต้อง เสาใช้ไม้หนา ๖” ข้างละ ๔ ต้น ฝังอยู่ในผนังซึ่งหนา ๕ ซม. สภาพของสิมโดยทั่ว ๆ ไปยังแข็งแรงมั่นคงดีมาก มีเพียงลวดลาดด้านหน้าเท่านั้นที่ถูกแดดฝนทำลายอยูทุกฤดูกาล

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

เป็นสิมทึบอีสานบริสุทธิ์  ที่สวยงามอีกหลังหนึ่งของอีสาน  แปลนรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้า กว้างรวมผนัง ๔.๖๐ เมตร ยาว ๖.๔๐ เมตร สูงระดับแอวขัน ๒ เมตร สูงระดับพื้นสิม ๑.๕๐ เมตร  มีบันไดทอดยาวด้านหน้า ๗ ขั้น เพียงด้านเดียว หลังคาตับเตียวลด ๓ ชั้น ระหว่างช่วงลดทิ้งโล่งเป็นการระบายอากาศอันร้อนแล้งของอีสานได้ดีมาก เดิมมุงแป้นเกล็ด ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสังกะสี ฐานแอวขันก่ออิฐฉาบปูนชะทายปั้นบัวลดหลั่นเเบบปากพานดูแข็งแรงบึกบึนได้พละกำลังมากมาย ด้านข้างเจาะช่องเเสงใส่ลูกกรงไม่มีบานหน้าต่าง เพียงด้านละช่องเทานั้น ไม่มีฐานชุกชี  ช่างเพียงแต่ก่อแท่นยาวตลอดความกว้างของสิม เพื่อจัดวางพระพุทธรูปได้หลายองค์ ซึ่งส่วนใหญ่แกะสลักด้วยไม้ที่มีพุทธศิลป์แบบพื้นบ้านทั้งสิ้น

การตกแต่ง
ส่วนเครื่องบนหลังคาท้ำเป็นยอดปั้นลมแทนโหง่ ไม่มีชอฟ้า ลำยอง เป็นไม่เรียบแบบปั้นลมบ้านธรรมดา หางหงส์เป็นกนกหัวม้วน สีหน้าลายตาเวน ฐานล่างลงมาทำไม้คล้ายลูกฟักสองแถวแล้วลงมาเป็น ฮังผึ้ง ซึ่งส่วนนี้วิจิตรพิสดารมาก เป็นการแกะสลักไม้เเผ่นเดียวยาวเท่าความกว้างของสิม  มีลวดลายกนกเครือวัลย์ มีพระอินทรงช้างเอราวัณ มีอมนุษย์จับหางนาคมาพันที่คอ ซ้ายสุดด้านล่างแกะเป็นหัวล้านชนกัน  ด้านขวาสุดแกะเป็นหาบช้างซาเเมว  ขยับมาอีกหน่อยเป็นรูปหงส์หามเต่า ซึ่งเป็นภาพปริศนาธรรมที่ช่างแกะนิยมทำประดับสิมในแถบอีสานส่วนกลาง  (ส่วนฮังฮังผึ้งนี้ถือเป็นงานสุดยอดของสิมวัดศรีฐานหลังนี้) บานประตูทั้ง ๒ บานมีอกเลาแกะเป็นลายเครือวัลย์พื้นเมือง มีรูปบุคคลอยู่ด้านล่างทั้ง ๒ ข้าง กำลังต่อสู้ อีกฝ่ายด้านขวามือกำลังแผลงศร (พระราม) ด้านซ้ายกำลังถือสามง่าม  คล้ายตรีด้ามยาว (ยักษ์) มีรูปสัตว์ประกอบให้รู้ว่าเป็นป่าเขาลำนำไพรดูได้อารมณ์เรียบง่าย จริงใจ
สัตย์ซื่อ  สวนคันทวยนั้นแกะเป็นรูปพญานาคตัวค่อนข้างอ้วนใหญ่บึกบึนอีกเช่นกัน อกนาคส่วนล่างตั้งอยู่บน   แอวขันพอดี  หางม้วนขึนไปยันเต้าไม้รับเชิงชาย หงอนนาคบางตัวทำเป็นรูปผู้หญิงยืนจับปอยผมซึ่งยาวลงมาจรดกับหงอนที่คอนาค ดูแปลกไม่เหมือนที่ใด ยังมีพิเศษอีกแห่งหนึ่ง ก็คือบนพื้นดินหน้าบันได แทนที่จะเป็นรูปสัตว์ปูนปั้นกลับกลายเป็นรูปสลักด้วยไม้ทั้ง ๒ ข้าง เป็นรูปบุคคลยืนมีเด็กขี่หลังอยูด้านหนึ่ง และรูปยืนเดียวอีกด้านหนึ่ง บัดนี้ไม้ถูกแดดฝนชัจนสึกกรอนเลือนลาง

สรุป สิมหลังนี้มีคุณค่ามหาศาลในแง่ของความงามแบบพื้นถิ่นอีสาน มีความพอดีในสัดสวนและมีความอลังการ (ที่เหมาะเจาะ) ในการตกแต่ง