ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดวุฒิวราราม

วัดวุฒิวราราม

ประวัติความเป็นมา

เป็นวัดของชุมชนไท-ผู้ไท สิมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยศรัทธา พระกองมณี วิยะโล และศรัทธา พระครูลอน มารา เป็นหัวหน้า หลวงพ่อค้าซอน (ผู้ให้สัมภาษณ์) ยังเป็นเด็กอยู่ได้ช่วยปั้นดิน ทำอิฐเอาดินมาจากหนองไม้ท่า นวดเหยียบยำเองโดยไม่ได้ผสมอะไรเลย ก่อเตาเปิดมีช่องใส่ฟืนสำหรับเผาอิฐ สวนปะทาย (ปูนฉาบ) นั้น ใช้ปูนขาวจากหินผสมยางบงและนำหนังควาย ส่วนของสีที่นำมาแต้มตามรูปปั้นนูนประดับสิมหลังนี้นั้น หลวงพอกรุณาอธิบายว่า งมเอามาจากใต้แม่น้ำโขง และ ลำห้วยใกล้บ้าน มีสีเหลือง แดง แสด นำมาดำแล้วกรองเอาส่วนละเอียดแล้วผสมยางไม้สะเดาและขี้ซี่ไม้จึก ส่วนสีเขียวซึ่งเป็นสีกระป๋องนั้น นำมาผสมกับไข่ขาวก่อนจะใช้งาน พระประธานในสิมเป็นปูนปั้นหน้าตัก ๙๘ ซม. สูง ๑.๔๓ เมตร ฐานสูง ๑.๐๔ เมตร นอกจากนั้นยังมีพระไม้ที่เก่าแก่มาก่อนสิมหลังนี้ มีคุณค่าทางพุทธศิลป์แบบพื้นถิ่นอย่างสมบูรณ์ (หน้าตัก ๓๘ ซม. สูง ๙๐ ซม. ฐานสูง ๔๐ ซม.)ร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระกองมณี รูปที่ ๒ พระศรีแก้ว รูปที่ ๓ พระคำโพธิ์ รูปที่ ๔ พระจันทนี รูปที่ ๔ พระวาลิด รูปที่ ๖ พระแก้ว รูปที่ ๗ พระคำวุ่น รูปที่ ๘ พระจีรโร รูปที่ ๙ พระเชลยรัตน์ รูปที่ ๑๐ พระสัง ธมฺมรํสี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมา การศึกษามีศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖

ที่ตั้ง

วัดวุฒิวราราม ตั้งอยู่เลขที่ ๙๓ บ้านโพนสาวเอ้ หมู่ที่ ๓  ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่นั่นตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตารางวา น.ส.ก เลขที่๔๑๗  อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๕ เส้น ๔ วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ประมาณ ๕ เส้น ๔ วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๒ วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๒ วา จดทางสาธารณประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๕.๒๐ เมตร ยาว ๑๐.๔๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นอาคารคอนกรีต หอสวดมนต์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ด้วยคอนกรีต กุฎิสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างปูชนียวัตถุ มี พระพุทธรูปจำนวน ๔ องค์

สิมฝีมือช่างญวน

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

ด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

โหง่ ช่อฟ้า และแขนนางปูปั้น

สีหน้า หรือหน้าบันพระพุทธรูป

หน้าต่าง ประตูทางเข้าด้านข้าง

ซุ้มประตูโค้งแบบญวน และช่องระบายอากาศ