ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดลัฎฐิกวัน

ประวัติความเป็นมา

วัดลัฏฐิกวัน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ โดย  พระนันทวิโร (บุ) เป็นผู้สร้างขึ้น ณ บริเวณป่าโนนรัง ถึงห่างจากวัดเดิม (วัดมโนภิรมย์) ไปทางเหนือ ๒๓๑ วา เดิมเป็นป่ามีซากปูนปรักหักพัง สันนิษฐานว่าเป็นวัดร้างและโบสถ์น้ำเก่าแก่ไม่ทราบประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใดด้วยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีเพียงพระพุทธรูปที่ชำรุดแเละป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป เป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอ (อัญญาท่านหอ) อยู่ก่อนแล้ว พระนนทวโร (บุ) ได้มองเห็นเป็นที่เหมาะจึงได้สร้างวัดลัฏฐิกาวัน  ขึ้นในสถานที่ดังกล่าว หลังจากที่พระนันทวโร (บุ) หรือ ปัญญาท่านบุ มาประจำอยู่วัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่นี้ไม่นานนัก คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ นั้นเอง ท่านก็ได้รับตำแห่งเป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูนันทวโร (บุ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้รับหน้าที่ปกครองเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอมุกดาหาร อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ปกครองคณะสงฆ์ทั่วมุกดาหาร แต่ประจำอยู่วัดลัฏฐิกวันตามเดิม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้ภายในวัด

ที่ตั้ง

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนโบราณ มีอายุร่วม ๓๐๐ ปี (ถึง พ.ศ. ๒๕๓๓) ตั้งอยู่ริ่มฝั่งขวาแม่น้ำโขงห่างจากตัวเมืองมุกดาหารขึ้นไปตามแม่น้ำโขงทางทิศเหนือ ๑๘ กม. และอยู่ห่างจากพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม ตามริมฝั่งโขงลงมาทางทิศใต้ราว ๓๓ กม. (คำว่า “ชะโนด” เป็นชื่อพืชยืนต้นตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายมะพร้าว ใบคล้ายตาล แต่แฉกริ้วใบบอบบางกว่า มีผลกินได้ ชาวไทยอีสานเรียกว่า “ค้อเขียว”)

อาคารเสนาสนะ

  • พัทธสีมา (สิม) เป็นอันดับแรก
  • พระธรรมเจดีย์ขึ้นเป็นอันดับต่อมา
  • พระพุทธรูปปางประสูติไว้ภายใต้ต้นรัฐทั้งคู่
  • พระพุทธรูปปปางตรัสรู้ และผจญมารไว้ภายใต้ร่มต้นพระศรีมหาโพธิ์
  • พระพุทธรูปปางเทศนาพระธรรมจักรแก่พระปัญจวัคคีย์ไว้ในพัทธสีมา)
  • พระพุทธรูปปางเสด็จปรินิพพานระหว่างต้นรังทั้งคู่
  • สถานทีถวายพระเพลิงไว้ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นยังมีศาลา โรงธรรม กุฏิสงฆ์ สร้างสระโบกขรณีจำลอง และปลูกต้นตาลเป็นกำแพงชั้นใน จึงให้ชื่อว่า “วัดลัฏฐิกวัน” แปลว่า สวนตาลหนุ่ม

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

เป็นสิมขนาดค่อนข้างเล็กและเตี้ย แปลนรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ภายในขนาด ๕.๔๐ ม. x ๕.๑๐ ม. แอวขันกออิฐฉาบปูนทำเป็นบัวคว่ำขึ้นไป เสาก่ออิฐขนาดใหญ่ ๐.๔๐ ม. ด้านละ ๔ ต้น หลังคาทรงปั้นหยายกเป็นจั่วซ้อนบน เดิมมีไม้แกะสลักเป็นยอดปั้นลม และหลังคาก็มุงด้วยกระเบื้อง ดินขอตลอดทั้งหลัง (เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสังกะสีภายหลัง) ผนังก่อทึบ เฉพาะด้านหลังพระประธาน นอกนั้นทำเป็นระเบียงเตี้ย ใช้ขวดเหล้าไวน์ฝรั่งเศสสีเขียวเข้มทำเป็นลูกกรง เว้นเป็นทางเข้าโดยไม่ทำบานประตูสวนสะดุดตาภายในสิมหลังนี้ก็คือ พระประธานปางมารผจญเป็นปูนปั้นปิดทอง มีปัญจวัคคีย์นั่งพนมมือ อยู่รอบด้านหน้า ซึ่งแปลกกว่าที่อื่น ด้านหลังพระประธานก็ทำลวดลายปูนปั้นเป็นตัวกนกให้นูนชะโงกออกมาปกเกตุมาลาพระพุทธรูป ทีผนังสวนอื่นและทีตัวเสานั้น ช่างได้เขียนฮูปแต้มเป็นเรื่องไตรภูมิบ้างทศชาติบ้าง เป็นฝีมือหยาบ ๆ แบบช่างพื้นบ้านอีสาน โดยทั่ว ๆ ไป สวนผนังนอกของด้านหลังนั้นทำปั้นปูนนูนต่ำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ และทวารบาลเอาไว้ โดยรอบสิมหลังนี้จะมีเต้าไม้ยื่นออกมารับเชิญชาย และมีคันทวยยันรับโดยรอบ รูปแบบของคันทวยนั้นได้รับอิทธิพลจากช่างทางเวียงจันท์อย่างแน่นอน (รูปแบบเดียวกับทวยในระเบียงคตของวัดพระธาตุหลวงนครเวียงจันท์) ฐานและเสาใช้ก่ออิฐถือปูนพื้นเมือง โครงสร้างเครื่องบนหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็งขื่อใช้ไม้ ๔ เหลี่ยมขนาด ๓๐ ซม. หลังคาเดิมมุงกระเบื้องดินขอทั้งหมด สภาพของวัสดุดูยังคงทนแข็งแรง ใช้งานได้อีกหลายปี

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

หน้าบัน แขนนาง และลายปูนปั้นประดับระเบียง

ภายในสิม

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)

อาคารเสนาสนะอื่นๆ

ศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ซึ่งแสดงถึงฝีมือการปั้นปูนและการสลักไม้

อาคารคล้ายมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง มีการปั้นปูนประดับ และมีคันทวยไม้แกะสลัก

ประติมากรรมภายในอาคาร