ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

วัดมัชฌิมาวาส

วัดมัชฌิมาวาส

ประวัติความเป็นมา

วัดมัชฌิมาวาส ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๐ โดยมีท่านกำนันอวน เป็นผู้นำในการสร้างวัดเดิมมีชื่อว่า วัดกลาง ไดัรับพระราชฑานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระเถือน วิมโล พ.ศ.  ๒๔๖๕-๒๔๘๐
รูปที่ ๒ พระนาถ่าน ศรีจันทร์ พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๙๓
รูปที่ ๓ พระครูโสภณศีลาจาร ตั้งแต พ.ศ. ๒๔๙๓
การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓

ที่ตั้ง

วัดมัชฌิมาวาส ตั้งอยู่บ้านดอนตาล ถนนรามบำรุง หมู่ที่ ๑ ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน โฉนดที่ดิน(เลขที่ ๑๐๗๗ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๔ แปลง เนื่อที่ ๒๙ ไร่

อาคารเสนาสนะ

ประกอบด้วย อุโบสถ  กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นอาคารคอนกรีต

ศาลาการเปรียญ กว้าง  ๑๗ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕  เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง  เป็นอาคารไม้ ๒ หลัง และครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

เป็นลักษณะสิมที่อยู่ในประเภท ข.๒.๒ คือ ใช้ช่างญวนหรือได้รับอิทธิพลช่างญวน ในแบบที่มีระเบียงรอบ (ข.๒.๒.๔) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะต้องใช้เงินในการก่อสร้างมากกว่าสิมพื้นบ้านชนิดอื่น ตัวสิมรูป ๔ เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ชั้นใน มีระเบียงเดินได้รอบด้านหน้าทำซุ้มประตูยอดแหลมเป็นบันไดทางขึ้นและมีบันไดข้างอีก ๒ บันได ทำเยื้องมาทางด้านหน้าของสิม แนวกำแพงระเบียงโดยรอบ (ด้านข้างละ ๕ ช่วงเสา) ทำซุ้มโค้งครึ่งวงกลมตลอด บันไดทั้ง ๓ ทางทำผายออกตามความนิยมของช่างญวนทั่ว ๆ ไป พนักบันไดหน้าปั้นปูนรูปพญานาคหน้าแบบญวนประกอบกับปัจจุบันมีผู้ศรัทธาซื้อสิงโตญวนดินเผาเคลือบมาตั้งไว้บนแทนข้างละ ๒ ตัว ใกล้กับหัวพญานาค จึงดูผสมกลมกลืนกันไปดังหนึ่งว่านาคออกลูกเป็บสิงโตญวนส่วนหลังคานั้นได้รับการบูรณะเปลี่ยนมาเป็นสังกะสีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ มีโหง่และหางหงส์ไม้แกะสลัก สวนตกแต่งอย่างอื่นก็มีการแกะสลักบานประตูของสิมทั้ง ๒ บาน เป็นลวดลายเครือเถาที่ดูแปลกตาดี ส่วนคันทวยไม้นั้นดูคล้ายคันธนู เป็นรูปแบบที่ช่างญวน นิยมใช้กันมากในอาคารรุนเกา เช่น แบบเมืองฮานอยเป็นต้น พื้นระเบียงนอกและด้านในปูกระเบื้องซีเมนต์สีที่นิยมกันมากในสมัยนั้น ด้านวัสดุและโครงสร้างโดยทั่วไปยังมั่นคงแข็งแรงดี สามารถใช้งานได้อีกนาน นับเป็น สิมอีกรูปแบบหนึ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษาต่อไปในอนาคต ถึงอิทธิพลจากช่างญวนที่ได้เข้ามาพึงบรมโพธิสมภาร อาศัยอยู่แถบอีสานเหนือและได้ประยุกต์รูปแบบของสิมจนปรากฏออกมาดังกล่าวแล้ว

ด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

หน้าบัน แขนนาง และนาคปูนปั้นบันไดทางขึ้น

ซุ้มทางเข้า ประตู และช่องระบายอากาศ

ลายบนเพดาน ในเสมาประดับรอบสิม และมอมเสือปูนปั้นเฝ้าหน้าบันได

หอไตรบนศาลาการเปรียญ