ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดมัชฌิมาวาส (วัดหลวงพ่อนาค)

วัดมัชฌิมาวาส (วัดหลวงพ่อนาค)

ประวัติความเป็นมา

วัดมัชฌิมาวาส  เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นวัดร้างมาก่อนเพราะมีหลักฐานปรากฏคือ เจดีย์ศิลาแลง และพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก ครั้นสมัยรัชกาลที่ ๕ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้างโนนหมากแข้ง โดยมีหลวงวุฒิวัฒกีกรรม (เชย ไชยสิทธิ์) เป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้าง ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฐานะวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และได้รับคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนาด้าย ได้รับพระราชทาานวิสุงคามสีมาคือวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๒ ตร. ยาว ๔๒ เมตร

ที่ตั้ง

เลขที่ ๕  ถนนหมากแข้ง ตำบลหมากแข้ง  อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๑๒ ๓/๑๐ ตารางวา โฉนด เลขที่ ๑๒๑๑ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ  ๒  เส้น ๑๔ วา จดถนนโพนพิสัยและตลาดบ้านห้วย ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น ๑๒ วา ๒ ศอก จดถนนวัฒนา สาธารณสุขจังหวัดและที่ทำการเทศบาลเมืองอุดรธานี ทิศตะวันออกประมาณ ๑๒ เส้น ๕ วา จดถนนหมากแข้งและถนนอุดรดุษฎี ทิศตะวันตกประมาณ ๔ เส้น ๑๘ วา ๒ ศอก จดถนนพานพร้าว  วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี ศาลแขวง ศาลสถิตยุติธรรม และศาลากลางจังหวัด  มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน  ๒ แปลง เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒๑ ๘/๑๐ ตารางวาโฉนด เลขที่ ๒๙๕ และ ๒๙๖

อาคารเสนาสนะ

ประกอบด้วย พระอุโบสถ สร้าง  พ.ศ. ๒๔๘๕
ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น
วิหารทรงไทย สร้าง พ.ศ.๒๕๑๔ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓๒ หลัง
อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๒ หลัง และหอระฆัง ๔ หลัง
ปูชนียวัตถุมี พระพุทธนรสีห์มหามุนี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กปางมารวิชัย
พระพุทธรูปหินขาวภายนอกหุ้มปูนปางนาคปรก และพระพุทธาวศิษฐ์ เป็นพระพุทธรูปทองขัดปางมารวิชัย

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระครูธรรมวินยานุยุตต์ (เฟื้อย) พ.ศ. ๒๔๓๖ -๒๔๔๒
รูปที่  ๒ พระครูธรรมวินยานฺย์ตต์ (หนู) พ.ศ. ๒๔๔๒ -๒๔๕๐
รูปที่ ๓ พระเทพวิสุทธาจารย์ (บุญ) พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๕๑๓
รูป ๔ พระราชพุทธิมุนี (สิงห์) พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๖
รูปที่ ๕ พระเทพปริยัติสุธี (ปุ่น) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

สิมหลังนี้เป็นงานสถปัตยกรรมและศิลปกรรมช่างญวน มีความโดดเด่นที่การปั้นปูนประดับ เช่น กรอบหน้าต่าง หน้าบัน ซุ้มประตูทางเข้าสิม

ภาพด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

โหง่ และ ช่อฟ้าปูนปั้น

ช่อฟ้าปูนปั้น หน้าปันปูนปั้นรูปพระพุทธองค์และลายเถาไม้ อ่อนช้อยงดงาม

ลายปูนปั้นหน้าบัน และ ผนังด้านหลังสิม

หน้าต่างลายพันธุ์พฤกษา บัวหัวเสาลายกลีบบัว และเชิงชายลายดอกรัก

ซุ้มประตูทางเข้าสิม มีรูปทหารเฝ้าประตูด้านล่าง ด้านบนเป็นคนสวมชุดราชการ ด้านขวาเป็นรูปพระพุทธองค์

ภายในมีประประธานนาคปรก