ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดพุทธสีมา

ประวัติความเป็นมา

วัดพุทธสีมา ตั้งเมื่อ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ ศ. ๒๔๖๒
การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
ความโดดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่ฮูปแต้ม ที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ โดย นายคำสิง ไชโย

 

ที่ตั้ง

เลขที่ ๑๓๗ บ้านฝั่งแตง ถนนเรืองศรี หมูที่ ๒ ดำบลฝั่งแตง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๑ งาน ๙๘ ตารางวา        น.ส. เลขที่ ๑๙๖๒ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๕ เส้น ๔๐ วา จดกำแพง ทิศใต้ ประมาณ ๕๐ เส้น ๙๕ วา จดถนน ทิศตะวันออกประมาณ ๕ เส้น ๓๕ วา จดถนน ทิศตะวันตก ประมาณ ๕ เส้น ๘๕ วา จดถนน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ ๘ ไร่ ๑ งาน ๔๕ ตารางวา

อาคารเสนาสนะ

ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๑.๕๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๐  เป็นอาคารฉาบอิฐถือปูน
ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๓
กุฎิสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารไม้ สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๓
ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๗ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นอาคารคอนกรีต

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระครูไพโรจน์ คุณสาร พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๘๘
รูปที่ ๒ พระเรือง สิริปญโญ พ.ศ.๒๔๘๘-๒๕๐๐
รูปที่ ๓ พระสุวัฒน์ สุภทฺโท พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๑๓
รูปที่ ๔ พระหาญ พ.ศ.๒๕๑๓-๒๕๒๔
รูปที่ ๕ พระครูปัญญาวัฒนคุณ  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นมา

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

ภาพด้านหน้า ด้านข้าง และ หน้าปบันปูนปั้น

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

ซุ้มประตูทางเข้า ทำกรอบ มีฮูปแต้มเขียนประดับไว้

ฮูปแต้มเที่บนซุ้มประตูทางเข้า

ภาพเขียนประดับซุ้มหน้าต่าง มีลักษณะเป็นลายเส้นสีขาวดำ

ด้านนอกของคัวอาคารทั้งสีด้าน แต่ละห้องจะมีเสาหลอกนูนออกมาจากผนังประดับด้วยฮูปแต้มตั้งแต่เสาลงมาจรดเหนือบานหน้าต่าง ยกเว้นผนังด้านหลังแต่เพียงด้านเดียว
การจัดองค์ประกอบ ช่างแต้มพยายามสะท้อนภาพออกมาในรูปแบบของความง่าย ตลอดจนนำเอาจดเดนทีเป็นสาระสำคัญของเรื่องราวมาบรรยายให้เป็นเป็นภาพที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมเกิดความรู้ความเข้าใจ และมองเห็นความงามทีเป็นศิลปะทางด้านรูปธรรมที่เกิดจากเส้น สี และองค์ประกอบภาพ

ภายในสิมมีงานฮูปแต้ม ปรากฏอยู่บนพื้นผนังภายในทั้งสีของตัวอาคารบนพื้นผนังหลังองค์พระประธานปรากฏฮูปแต้มตั้งแต่บริเวณเหนือขององค์พระประธานไล่ไปจนตกกรอบพื้นผนังด้านบน แบ่งกรอบภาพของพื้นผนังออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ คันด้วยลายเครือเถาตรงกับแนวหน้าต่างด้านบนของผนังด้านรี ด้านล่างสุดของกรอบหน้าต่างจะมีลายเครือเถาที่เป็นกรอบภาพอีกเช่นกัน กรอบภาพที่เห็นมีเฉพาะกรอบภาพในลักษณะแนวนอน

ลักษณะการจัดองค์ประกอบศิลปะของงานจิตรกรรมเช่นนี้ทำให้เสริมความคิดจากข้อสมมติฐานที่ว่า น่าจะมีต้นเค้าหรือเอาแบบอย่างมาจากภาพเขียนบนผืนผ้าพระเวสนำมาผนึกไว้ภายในสิมให้มั่นคงถาวร
บนผนังด้านนอกตัวอาคาร ปรากฏฮูปแต้มอยู่เหนือกรอบประตูและหน้าต่างด้านรีทั้ง ๒ ด้าน ภายในกรอบอาร์คโค้งเหนือบ้านหน้าต่างมีฮูปแต้มเน้นความสำคัญด้วยเส้น ใช้สีแซมแต่เพียงบางส่วน มีสีส่วนรวมเป็นแบบเอกรงค์

โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีเอกรงค์ (Monochrome) โดยเฉพาะผนังด้านหน้าองค์พระประธานแทบจะไม่ได้ใช้สีอะไรเลย คล้ายกับภาพลายเส้น (Drawing) อีกกรณีหนึ่งสีอาจจะมีไม่เพียงพอหรือเป็นความตั้งใจของช่างแต้มเอง ที่ประสงค์จะใช้สีแต่เพียงน้อยสีแต่เน้นให้เห็นคุณค่าความงามด้วยเส้น เส้นรอบนอกที่เป็นฟอร์มบอกรูปทรงของตัวละคร ต้นไม้ ปราสาทราชวัง และบรรดารูปสัตว์ที่เป็นพญามารต่าง ๆ ช่างแต้มใช้สีดาเพื่อแสดงให้ทราบว่าเป็นเรื่องอะไร ๆ ลายเส้นที่เป็นตัวแทนของน้าในมหาสมุทรที่นางธรณีบีบมวยผมจนพญามารปั่นป่วนนั้น ช่างแต้มใช้เป็นสีเทาอ่อนหรือฟ้าอ่อน หากไม่สังเกตจะไม่เป็นเพราะสีเกือบจะกลืนไปกับผนังสีขาว
สีที่เด่นออกมามีส่วนช่วยให้ภาพมีความสดใสโดดเด่นขึ้นบ้าง ได้แก่ สีเขียวไพล เช่น สีของแท้เป็นพญามาร สีหน้าของรามสูร หน้าพญามาร ปีกนกหัสดีลิงค์ ปีกนกแก้ว ต้นหญ้า ตลอดจน
สีของกล้วยไม้

สีเขียวเข้มเป็นสีของพุ่มไม้ใหญ่ สีแดงเป็นสีรัศมีของพระพุทธเจ้า สีหน้าบันปราสาท สีดอกกล้วยไม้ยามเบ่งบานเต็มที่หรือสีแดงของปากนกแก้ว และเพื่อต้องการให้ภาพของพญามารร้ายที่ม่งหวังทำลายพระพุทธเจ้า เช่น จระเข้ หรือ ปลายักษ์ เกิดความดุร้าย น่าเกลียดกลัว ช่างเขียนจะระบายสีดำคล้ามีน้ำหนักอ่อนแก่ เกิดคุณค่าของสี แต่มิได้สีดำที่ทึบตัน แสดงให้เห็นว่าช่างแต้มมีความชำนาญต่อการใช้เส้นและสีแต่เพียงพอผลนั่นคือความชำนิชำนาญและเสน่ห์ของช่างแต้มที่มีรูปแบบในการสร้างภาพให้เกิดความงาม

โดยทั่วไปช่างแต้มใช้สีดำสำหรับการตัดเส้นโดยให้มีขนาดเส้นบางหรือหน้าต่างกัน หากเขียนภาพคนจะใช้เส้นที่ประณีต เมื่อต้องการจะเน้นให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของทิวเขาก็จะใช้เส้นหนามและเข้ม เมื่อประสงค์จะเขียนภาพให้เกิดความอ่อนช้อน เช่น ต้นหญ้า หรือก้อนเมฆ ช่างแต้มจะใช้สีส้มอ่อนๆ ใบไม้ หรือ ผลไม้ก็จะให้สีเขียวอ่อนร่างเป็นรูปฟอร์มของใบไม้หรือผลไม้ทำให้เกิดความรู้สึกแผ่วเบาไม่กระด้างเหมือนกับการจงใจใช้สีดำตลอด ช่างแต้มวัดพุทธสีมาดูจะมีความกล้าหาญและชำนาญต่อการใช้เส้นมากเป็นพิเศษ เส้นจะมีความหนาและมีพลัง เนื่องด้วยช่างแต้มวัดพุทธสีมามีความสำคัญเหนือสกุลช่างพื้นบ้านโดยทั่วไป ช่างแต้มจะแตะแต้มสีแสดจางๆ ลงบนพื้นผิวผนังสีขาว เพื่อทำให้ภาพเกิดมีความลึกทางรูปธรรมเพิ่มขึ้น และโครงสีส่วนใหญ่จำกัดความรู้สึกอบอุ่น นุ่มนวล เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ช่างแต้มผู้นี้มีความสามารถแตกต่างไปจากช่างแต้มพื้นบ้านในอีสาน

แขนนาครูปพญานาค ลงสีบนเกล็ดสลับไปมา