วัดประตูชัย (บ้านคำไฮ)
ประวัติความเป็นมา
วัดประตูชัย ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ชื่อเดิมคือ วัดบ้านคำไฮได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
ที่ตั้ง
บ้านประตูชัย ถนนแจ้งสนิท หมู่ที่ ๗ ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๑๓ อาณาเขต ทิศเหนือ จดที่เอกชน ทิศใต้ จดที่เอกชน ทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก จดทางสาธารณประโยชน์ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๘๐๖
อาคารเสนาสนะ
ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕
ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐
กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารไม้ และศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยไม้
ปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก สูง ๓ ศอก
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระสมงาม
รูปที่ ๒ พระหล้า
รูปที่ ๓ พระพล
รูปที่ ๔ พระชื่น
รูปที่ ๕ พระเนียม
รูปที่ ๖ พระสิม
รูปที่ ๗ พระทัน
รูปที่ ๘ พระเคน
รูปที่ ๙ พระสิงห์
รูปที่ ๑๐ พระไข
รูปที่ ๑๑ พระทา
รูปที่ ๑๒ พระเคน
รูปที่ ๑๓ พระหล้า สีละวันโต
รูปที่ ๑๔ พระปลัดสาย ธัมมะวะโร พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๔
รูปที่ ๑๕ พระอธิการบุญช่วย กะตะปุญโญ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๕
รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง
รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้
หน้าบัน เป็นเป็นภาพฮูปแต้ม เนื้อหาเป็นการสักการะพระธาตุ มีเทวดาอยู่รายรอบพระธาตุทั้งสอง
ด้านนอก รอบๆ สิมหลังนี้มีฮูปแต้มอยู่ทุกผนัง มีทั้งภาพพระพุทธเจ้า และ วรรณกรรมท้องถิ่น
ฐานชุกชีภายในสิม มีองค์พระประธาน ปูนปั้นแบบช่างพื้นบ้านอีสาน
ฐานชุกชีภายในสิม มีองค์พระประธาน ปูนปั้นแบบช่างพื้นบ้านอีสาน
โฮงฮด รางไม้แกะสลักรูปพญานาคนี้ มีไว้ใช้สรงน้ำพระโดยรดน้ำผ่านรางนี้ให้ไหลรดไปสู่ร่างกายของภิกษุสงฆ์ ด้านล่างขาตั้งเป็นรูปสิงห์หมอบ