วัดบ้านยางช้า
ประวัติความเป็นมา
วัดบ้านยางช้า ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ ๑ พระปุญ อัคคะปัญโญ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓
ที่ตั้ง
วัดบ้านยางช้า ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔ บ้านยางช้าออหมู่ที่ ๓ ตำบลลืออำนาจ กิ่งอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๗๓ ตารางวา อาค่รเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นอาคารไม้ กุฎิสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีต
อาคารเสนาสนะ
อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้า สร้างโดยเจ้าอาวาสเพ็ง กันยวิมล และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้น ขณะบวชอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๕
รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๖.๘๐ เมตร ยาว ๑๐.๗๐ เมตร สูง ๘.๐๐ เมตร ฐานปัทม์สูง หลังคาซ้อนกันสองชั้นมุงด้วยสังกะสีมาแต่เดิม โครงสร้างหลังคาเป็นไม้เนื้อเเข็ง เสาฝังไว้ในผนังเพื่อรับน้ำหนัก ผนังก่ออิฐถือปูนขาวหมัก มีจิตรกรรมฝาผนังภายในและภายนอกเป็นฝีมือเจ้าอาวาสเพ็ง กันยวิมล ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนทาด้วยสีทอง
หน้าบันมุขหน้าก่ออิฐถือปูนขาวหมักอยู่บนขื่อไม้ รวงผึ้ง โค้งคิ้วเป็นลายไม้จำหลัก บันได ก่ออิฐถือปูนขาวหมัก ราวบันไดทำเป็นรูปสัตว์ปูนปั้น นับเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานที่มีความงามสมตัว เป็นหลักฐานในด้านการศึกษาประวัติศาสตร์อาคารท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งนับวันจะหาชมและศึกษาได้ยาก
ศาลาการเปรียญ
รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้
ช่อฟ้าไม้แกะสลัก และลำยองรูปนาคเลื้อยสองชั้น
หางหงษ์รูปพญานาค และซุ้มบันไดทางเข้ารูปมอมปูนปั้น
แขนนาง และประตูสิม
ลวดลายแกะสลักไม้บริเวณซุ้มประตู
ประติมากรรมประดับเอวขัน
ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)