วัดท่าคก
ประวัติความเป็นมา
วัดท่าคก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นคุ้มวังน้ำวน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “คก” จึงใช้นิมิตหมายอันนี้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดท่าคก” ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีถนนตัดผ่านยังไม่ได้เป็นอำเภอ วัดท่าคกจึงตั้งอยู่ในเมืองๆ หนึ่ง เรียกว่า เชียงคาน ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก ตามตำนานเล่ากันว่า บิดาของพระศรีอัคฮาด และชาวบ้านชวยกันสร้างวัดขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๗ เมตร ยก ๑๓.๖๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระอาจารย์พา รูปที่ ๒ พระอาจารย์ดี รูปที่ ๓ พระอาจารย์สาย รูปที่ ๔ พรไหล รูปที่ ๕ พระบุญมี รูปที่ ๖ พระศรีจันทร์ วิลาโภ รูปที่ ๗ พระสายใจ อคฺคปุญฺโญ รูปที่ ๘ พระคำมี คมฺภีโร รูปที่ ๙ พระมหาเมฆ ญาณพุทฺโธ พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๒๗ รูปที่ ๑๐ พระเสถียร สุธีโร พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๓ รูปที่ ๑๑ พระธีรพันธ์ สนฺติธมฺโม รักษาการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมา
ที่ตั้ง
วัดท่าคก ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕ บ้างเชียงคาน ถนนชายโขง หมู่ที่ ๒ ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน โฉนดที่ดิน เลขที่๑๗๐ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น ๓ ศอก จดถนนชายโขง ทิศใต้ประมาณ ๑ เส้น ๑๕ วา ๑ ศอก จดที่ดินชาวบ้าน ทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น ๕ วา ๑ ศอก จดซอย ๒๑ ทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น ๓ วา จดซอย ๒๒
รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง
รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้
เป็นสิมทึบมีมุขหน้า มีประตูเข้าด้านหน้าและด้านข้าง สิมยังคงใช้งานอยู่ ได้รับการดูแลรักษาและบูรณะเรื่อยมา มีลวดลายประดับสวยงาม
คันทวยรูปนาค
มอมสิงห์ และนาคเฝ้าทางขึ้นสิม
ประตู และหน้าต่าง ช่องระบายอากาศของสิม
ภายในสิม มีพระพุทธรูปโลหะประดิษฐานอยู่
พระไม้ที่เก็บรักษาไว้ในสิมเป็นพระไม้ที่เกิดจากช่างที่มีฝีมือดี
ใบเสมาบริเวณรอบวัด