ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
en th

วัดดอนยานาง

ประวัติความเป็นมา

วัดดอนยานาง ตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมีพระสี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  นำชาวบ้านในการสร้างวัด  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ วันที่ ๑๐ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๒๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร  ยาว ๔๐ เมตร  การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม  คือ
รูปที่ ๑ พระสี
รูปที่ ๒ พระกัณหา
รูปที่ ๓ พระนาม
รูปที่ ๔ พระโสม
รูปที่ ๕ พระปัตถา
รูปที่ ๖ พระจันที
รูปที่ ๗ พระแปล
รูปที่ ๘ พระครูปัญญาภิวัฒน์  พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๑๘
รูปที่ ๙ พระครูอนุสรธรรมคุณ พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๓๑
รูปที่ ๑๐ เจ้าอธิการสุวรรณ สุนทะโร  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑
การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๑๔๕๔ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๓

ที่ตั้ง

วัดดอนยานาง  ตั้งอยู่ที่บ้านดอนยานาง หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสมบูรณ์  อำเภอยางตลาด  จ.กาฬสินธุ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑งาน อาณาเขต  ทิศเหนือ  จรดถนนหมู่บ้าน  ทิศใต้จดถนน หมู่บ้านทิศใต้จดถนนหมู่บ้าน  ทิศตะวันตก  จดถนนหมู่บ้าน  อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ  กว้าง ๕เมตร ยาว ๑๖ เมตร  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ กุฎิสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง เป็ฯอาคารไม้  และครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาอเนกประสงค์  กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ และศาลาบำเพ็ญกุศล  จำนวน ๑ หลัง ปูชนียวัตถุ  มีพระประธาน ๓ องค์ และพระพุทธรูป ๕ องค์

อาคารเสนาสนะ

รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง

กว้าง ๕เมตร ยาว ๑๖ เมตร  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ซุ้มประตูโค้งแบบช่างญวณ มีปีกนกต่อเติมยื่นอยู่ด้านซ้ายขวาและด้านหลัง รอบตัวสิมมีการนำหินแกะสลัก

ภาพด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

โหง่ ไม้แกะสลักช่างพื้นบัาน ทำอกใหญ ลำยอง สลักไม้เป็นตัวนาคเลื้อยสะดุ้ง

ปูนปั้นประดับส่วนต่างๆ เป็นของดั้งเดิม มีจิตรกรรมฝาผนังแบบสมัยปัจจุบันอยู่รายรอบนอกอาคาร

งานแกะสลักหินจัดวางรอบสิม ส่วนมากเป็นของใหม่ฝีมือพระในวัด

ด้านในสิมตกแต่งแบบสมัยใหม่ เป็นที่เก็บของเก่า

ด้านในสิมตกแต่งแบบสมัยใหม่ เป็นที่เก็บของเก่า

บริบทของวัดมีงานสมัยปัจจุบันกระจายอยู่รอบๆ วัด