ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัดจังหาร

ประวัติความเป็นมา

วัดจังหาร  ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ เดิมบริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าไม้ชื่อว่าไม้จังหาร เมื่อตั้งบ้านและวัดขึ้น จึงชื่อว่าวัดจังหาร

การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒

ที่ตั้ง

บ้านจังหาร  หมู่ที่ ๓  ตำบลจังหาร กิ่งอำเภอจังหาร  จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๘ไร่  ๑ งาน ๗๐ ตารางวา  โฉนดที่ดิน  เลขที่ ๖๐๕๑ อาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น  ๑๗ วา  จดโรงเรียนจังหาร  ทิศใต้ประมาณ ๓ เส้น ๑๐ วา จดถนน  ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๑๗ วา จดทางสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๘ วา จดทางสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ เเปลง  เนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๘ ตารางวา

อาคารเสนาสนะ

ประกอบด้วยศาลาการเปรียญ  กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๑ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๖.๙๐ เมตร ยาว ๑๙.๒๐ เมตร เป็นอาคารไม้  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕
และกุฏิสงฆ์จำนวน ๕ หลัง เป็นอาคารไม้ ๓หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง และตึก ๑ หลัง

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระครูเกษมวุฒิคุณ พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๕๑๒
รูปที่ ๒ พระครูสุนทรสัจจคุณ พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๓๒
รูปที่ ๓ พระครูสังฆรักษ์สงบ ยโสธโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓

หอระฆัง

เป็นหอระฆังที่มีความสวยงาม แม้หลังคาจะเป็นสังกะสี แต่ส่วนยอดนั้นแกะสลักไม้ และส่วนประดับอื่นๆ ก็สลักลวดลายเถา และเขียนสี มีตัวละคร อย่างหนุมาน เมขลา และ รามสูร แบบพื้นบ้าน