วัดกกต้องกุดหว้า
ประวัติความเป็นมา
วัดกกต้อง ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ ชาวบ้านเรียกว่าวัดใต้ เดิมชื่อว่า วัดคำหว้า ผู้ตั้งวัดนี้ คือ พระโย้น นายสอน นายโอ้ง นายโต้น นายเตี้ยง ในปี ๒๔๒๕ ได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ทางทิศเหนือห่างจากที่เดิมประมาณ ๕๐๐ เมตร (ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์) ได้สร้างสมมติสีมาขึ้น ๑ หลัง เพื่อเป็นที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ ต่อมาได้เกิดโจรภัยปล้นวัด จึงย้ายกลับมาตั้งที่เดิมอีกใน พ.ศ. ๒๔๓๓ วัดได้รับการพัฒนาเรื่อยมา เช่นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ขยายอาณาเขตวัดให้กว้างขว้างขึ้น ได้สร้างกุฎิขึ้น ๑ หลัง (ทรุดโทรมรื้อถอนแล้ว) ได้เปลี่ยนชื่อวัดจากบ้านคำหว้าเป็นกกต้อง ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้สร้างศาลาโรงธรรมขึ้น ๑ หลัง เป็นอาคารไม้ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร (ศาลาหลังนี้ได้พังถล่มลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ ได้สร้างธรรมมาสน์ขึ้น ๑ หลัง โดยช่างชิน ชิณเทศน์ และในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เริ่มสร้างอุโบสถขึ้นแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ในปี ๒๕๐๐ ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง แล้วเสร็จในปีเดียวกัน และได้สร้างกุฎิขึ้น ๑ หลัง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ วัดนี้ได้รับการบูรณะและพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระโย้น พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๒๘
รูปที่ ๒ พระแก้ว พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๓๔
รูปที่ ๓ พระแล พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๘
รูปที่ ๔ พระหนู พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๕๒
รูปที่ ๕ พระหงษ์ พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๖๔
รูปที่ ๖ พระเนียม พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๖๙
รูปที่ ๗ พระพุทธ พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๗
รูปที่ ๘ พระจันทา พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๕
รูปที่ ๙ พระสุพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๙๓
รูปที่ ๑๐ พระสงกา กิตติโก พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๑๘
รูปที่ ๑๑ พระทองสอน พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๗
รูปที่ ๑๒ พระใบฎีกาหมี จิตปุญโญ พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๘
รูปที่ ๑๓ พระเสรี อินทะโชโต พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙
รูปที่ ๑๔ พระคำวาร วายาโม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓
ที่ตั้ง
วัดกกต้อง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐ บ้านกุดหว้า ถนนกุฉินาราย-มุกดาหาร หมู่ที่ ๑ ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินาราย จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๗๗ ตารางวา ส.ค.๑ เลขที่ ๗๒๙ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๓เส้น ๑๔วา จดที่นายเย็บ ดุลยชาติ ทิศใต้ประมาณ ๓ เส้น ๕ วา จดที่นายแชง แสงสี มีที่ธรณีสงค์จำนวน ๑แปลง เนื้อที่ ๕ไร่ ส.ค.๑ เลขที่ ๗๐๓ อาคารเสนาสณะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๗.๖๐ เมตร ยาว ๑๓.๖๐ เมตร เป็นอาคารตึกทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐ เมตรยาว ๒๕.๓๐ เมตร เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ วิหาร กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๒ เมตร เป็นอาคารทรงปั้นหยา สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ กุฎิสงฆ์ ๑ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ๑ หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุธรูปนามว่า พระเจ้าองค์แสน ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว เนื้อทองเหลือง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระพุธรูปนามว่า พระเจ้าองค์หมื่น ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ นิ้ว เนื้อทองเหลือง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ พระพุธรูป ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๖ นิ้ว ๒ องค์ และขนาดหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว ๑ องค์
อาคารเสนาสนะ
รูปแบบสิม วัสดุและโครงสร้าง
รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้
ลวดลายประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นทั้งหมด ขณะเก็บข้อมูล (พ.ศ.2553) ทางวัดกำลังบูรณะ แกะสลักไม้เพื่อประดับส่วนต่างๆ เช่น ช่อฟ้า ลำยอง หางหงส์ แขนนาง จากช่างสมัยปัจจุบัน